ตอนท้ายชีวิตของหลวงพ่อปาน

ตอนท้ายชีวิตของหลวงพ่อปาน

ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานวัดบางนมโคอายุล่วงเข้า ๖๑ ปี ตอนนี้ท่านป่วยครั้งแรก ความจริงเรื่องของการป่วย ก็ป่วยกันอยู่เป็นปกติ แต่ทว่าอาการป่วยที่จะตายคราวนี้ท่านป่วยมาก เมื่อป่วยมาก คณะศิษยานุศิษย์ในกรุงเทพฯ ก็รับไปรักษาที่บ้านหลวงประธานถ่องวิจัย ที่บ้านหม้อ รักษาอยู่ประมาณ ๑ เดือนท่านก็กลับ เป็นอันว่าหาย
หลังจากการป่วยคราวนี้แล้ว ท่านแจ้งให้แก่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ แล้วก็ท่านพระครูรัตนาภิรมย์เจ้าอาวาสวัดบ้านแพนอีกองค์หนึ่ง ทราบว่า นับตั้งแต่นี้อีกเป็นต้นไปอีก ๓ ปีท่านจะตาย ท่านบอกไว้ว่ายังงั้นนะ ท่านบอกว่าอีก ๓ ปีจะตาย ท่านจะตายวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ เวลาประมาณ ๖ โมงเย็น นี่ท่านประกาศไว้ก่อนนะ ว่าท่านจะตาย
ตอนนั้นฉันก็กำลังเป็นลิงหน้าพลับพลา ท่านสั่งให้ฉันเขียนจดหมายถึงหัวหน้าลูกศิษย์ของท่านแต่ละจังหวัด แต่ละสถานที่ ส่งไปเฉพาะหัวหน้าลูกศิษย์นะ ว่าท่านให้บอกไปว่าท่านจะตาย อีก ๓ ปีท่านจะตาย คณะศิษยานุศิษย์ทุกคนมีความประสงค์ต้องการอะไรจากท่านก็ขอให้พากันมา
ข่าวลือว่าท่านจะตายนี่แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วที่สุด ก็ปรากฏว่ามีคณะศิษยานุศิษย์บ้าง แล้วก็ที่ไม่ใช่บ้าง คือว่าเป็นลูกศิษย์ใหม่บ้าง ก็พากันมาหาท่าน ตอนนี้ท่านสงเคราะห์ทุกอย่าง คำว่าสงเคราะห์ทุกอย่างก็หมายความว่า สงเคราะห์ทั้งด้านการรักษาโรค คาถาอาคมที่เป็นประโยชน์ คำว่าคาถาอาคมที่เป็นประโยชน์นะ ที่เป็นโทษท่านไม่ให้กับใครแล้ว นอกจากนั้นท่านก็สอน เวลาคนเขามาหาท่าน ท่านก็พูดเฉพาะศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสำคัญ ให้คนทุกคนรู้ตัวว่าตัวเองจะต้องตาย แล้วก็จงอย่าประมาท ให้สร้างแต่ความดี

อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์ตายของหลวงพ่อปานวัดบางนมโค

ประสบการณ์ตายของหลวงพ่อปานวัดบางนมโค

หลวงพ่อปานวัดบางนมโค
อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
“สมัยหลวงพ่อปานอายุ ๓๘ ปี ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นผู้มีความดีประกอบไปด้วยความเมตาปรานี ท่านเป็นพระที่ช่วยปกป้องกันคนอื่นมามากก็ตาม แต่ขึ้นชื่อว่ากฏของกรรมไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ วันหนึ่งหลวงพ่อปานไปวัดประตูสาน จังหวัดสุพรรณบุรี วัดนี้อยู่ทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดสพรรณบุรี เป็นต้นทางที่จะไปวัดป่าเลไลย์ในสมัยนั้น ตอนเย็นท่านเข้าไปอาบน้ำในห้องน้ำ ก็ถอดอังสะ อังสะของท่านมีพระเครื่องอยู่ด้วย แล้วท่านก็ล้มลุกไม่ได้ ท่านถูกบังฟัน เขาใช้คาถา ตั้งใจจะฟันคนไหน เขาก็ฟันผักฟันฟักแฟงก็ตามเขาก็ว่าคาถาจะฟันให้ถูกตรงนั้น เขาฟันวัตถุแต่แผลมันปรากฏในร่างกาย ผิวหนังภายนอกไม่ปรากฏรอยแผล ท่านถูกบังฟันเป็นแผลยาวในอกข้างในและยังเป็นรอยนูน

อ่านเพิ่มเติม

คำสอน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

คำสอน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

ร่างกายของคนและสัตว์มันเป็นอนิจจัง มีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ แต่ในที่สุดก็เป็นอนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลาเผาศพอย่าตั้งหน้าตั้งตาเผาเขา เวลาเราไปเผาศพก็เผากิเลสในใจของเราเสียด้วย กิเลสส่วนใดที่มันสิงอยู่ที่เรา คิดว่าเราจะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายน่ะ เผามันเสียให้หมดไป เราคิดว่าวันนี้เราเผาเขาไม่ช้าเขาก็เผาเรา คนเกิดมาแล้วตายอย่างนี้เราจะเกิดมันทำไม ต่อไปข้างหน้าเราไม่เกิดดีกว่า เราไปพระนิพพานนั่นละดีที่สุด เรื่องอัตภาพร่างกายสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีอะไรเป็นความหมาย ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตายแล้วหาสาระหาแก่นสารไม่ได้ หาประโยชน์ไม่ได้ ให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะตายได้ ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจให้สะอาด มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงวางภาระว่า เราของเรา เสียให้สิ้นด้วยไม่มีอะไรเลยเป็นของเรา แม้แต่ร่างกายก็มีเจ้าของคือ มรณภัยมันมาทวงคืน ให้คิดว่าเราไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เรามีนิพพานเป็นที่ไป

อ่านเพิ่มเติม

พระเครื่องหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระเครื่องหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงไก่ 5เส้น

พระเครื่องหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค
ชั่วโมงเซียน-๖ พิมพ์ ๖ พุทธคุณ พระหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบันนี้ นักสะสมพระเครื่อง หรือพุทธศาสนิกชนหลายท่าน อาจมองหาที่พึ่งทางจิตใจ หรือพลังพุทธคุณจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาช่วยเสริมพลังในการทำงานให้มีความสดใสเพิ่มขึ้น และพระเครื่องก็เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นแก่ ผู้ติดตัวอยู่เสมอ แต่ใช่ว่าจำเป็นจะต้องเป็นพระดังมากๆ เท่านั้น ที่จะมีปาฏิหาริย์ ถ้าในเรื่องพุทธคุณที่เข้มขลังของพระเครื่องนั้นอดที่จะกล่าวถึง พระหลวงพ่อปาน ไม่ได้

อ่านเพิ่มเติม

ปาฏิหาริย์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา ( อานุภาพ แห่ง ยันต์เกราะเพชร )

ปาฏิหาริย์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา ( อานุภาพ แห่ง ยันต์เกราะเพชร )

พระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระเครื่องเนื้อดินเผา สร้างโดยหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนพระเครื่องอื่นใด คือเป็นพระเนื้อดิน บรรจุผงพระพุทธคุณ ถือว่าเป็น “พระหมอ” โดยอาจอาราธนาเพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ มีอายุการสร้างกว่า 80 ปี จึงเป็นพระที่น่ามีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ ปาน นามสกุล สุทธาวงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2418 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 เมื่ออายุครบ 21 ปี เข้าอุปสมบท ณ พัทสีมาวัดบางนมโค เมื่อ พ.ศ.2439 มีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “โสนนโท” อุปสมบทแล้วได้ศึกษาและได้ปฏิบัติในสำนักอาจารย์พอสมควร แล้วได้ไปศึกษาคันธาธุระ และวิปัสสนาธุระ ณ วัดสระเกศราชวรวิหาร กับวัดสังเวชวิศยาราม ในกรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในสมัยนั้น) และวัดเจ้าเจ็ดในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีประวัติ(เป็นคำบอกเล่าจากพระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี) ว่าท่านได้เรียนวิชามาจากหลวงพ่อเนียม วัดน้อย และหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

ปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

– หลวงพ่อปานท่านมีความกตัญญูกตเวทีกับแม่ท่านมาก ทั้งพ่อทั้งแม่นั้นแหละ พ่อก็ดีแม่ก็ดี เวลาป่วยท่านไม่ยอมให้อยู่ที่บ้าน ท่านเอามารักษาตัวที่วัดให้นอนในกุฏิท่าน ผ้านุ่งแม่ของท่านท่านซักเอง ท่านเอาผ้านุ่งแม่ของท่านไปตากไว้บนขื่อ ไอ้ขื่อบ้านนี่มันสูงกว่าหัวคน เวลาเดินไปเดินมาหัวคนก็ต้องลอดขื่อ แต่ผ้านุ่งแม่ของท่านท่านไปตากไว้บนขื่อ เวลาแม่ท่านลุกไม่ถนัดท่านก็อุ้มลุกอุ้มนั่ง ถึงได้บอกว่าแม่ท่านเป็นผู้หญิง แต่ว่าเวลานั้นท่านเป็นพระ มีคนหลายคนเขามาตำหนิท่าน ผู้หญิงเขาติว่า “คุณปาน โยมของคุณน่ะเป็นผู้หญิง ผ้านุ่งเอาไปตากบนขื่อ ซักผ้านุ่งแม่เอง อุ้มลุกอุ้มนั่ง ป้อนข้าวป้อนน้ำ เช็ดขี้เช็ดเยี่ยวอย่างนี้ แม่จะบาป”

อ่านเพิ่มเติม

การเรียนวิชาของหลวงพ่อปาน

การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้

เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่ วัดเจ้าเจ็ด กับ พระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน

จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้

เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
(ฉบับนอกวัด)

เนื่องในวันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๕๓ ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ จึงขอนำประวัติของหลวงพ่อปาน ซึ่งพระมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน มาให้อ่านกัน

เพื่อร่วมกันน้อมระลึกในพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของหลวงพ่อท่าน ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และศิษยานุศิษย์

วัดบางนมโค

วัดบางนมโคนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ปรากฏ บางท่านก็ว่า มีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดนมโค

ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในคราวที่ควันแห่งศึกสงครามกำลังรุมล้อมกรุงศรีอยุธยา พม่าข้าศึกได้มาตั้งค่ายหนึ่งขึ้นที่ตำบลสีกุก ห่างจากวัดบางนมโค ซึ่งย่านวัดบางนมโคนี้มีการเลี้ยงวัวมากกว่าที่อื่น พม่าก็ได้ถือโอกาสมากวาดต้อนเอาวัวควายจากย่านบางนมโคไปเป็นเสบียงเลี้ยงกองทัพ

ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย วัดบางนมโค จึงทรุดโทรมไปบ้างตามกาลเวลา ต่อมาก็ได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ก็ยังมีการเลี้ยงโคกันอยู่อีกมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดบางนมโค

อ่านเพิ่มเติม

พระคาถาหลวงพ่อปาน

พระคาถาหลวงพ่อปาน

(ว่า “นะโม ฯลฯ ” ๓ จบ )
พระคาถาบทนำ ว่าครั้งเดียว
” พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ ”
พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ก็ได้ แต่ต้องสม่ำเสมอ จึงจะเกิดผล
” วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม ”
คาถามหาพิทักษ์
” จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง ”
ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่างฯ
คาถา มหาลาภ
” นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา ธะนังวา พึซังวา อัตถังวา ปัตถังวาเอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมึมา นะมามิหัง ”
ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ
พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์

http://www.dharma-gateway.com/

หลวงพ่อปานรักษาโรค

หลวงพ่อปานรักษาโรค

ในเรื่องการรักษาโรคช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปาน เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่กันมาที่วัดจนแน่นขนัด จนไม่มีที่รับรองแขกเพียงพอ
วิชาการรักษาโรคและวิชาการบางอย่างที่หลวงพ่อปานสำเร็จและนำมาช่วยเหลือผู้ได้รับทุกข์ เท่าที่เกิดปาฏิหาริย์และได้รับการบันทึกไว้มีมากมาย ตัวอย่างเช่น รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์ เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น บางครั้งก็ต้องแป้งเสกควบคู่ด้วย
ในตอนเพล ขณะที่ท่านพักผ่อนท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านได้ใช้เวลาในการอาบนั้นบริกรรมเสกเป่าเฉพาะรายอีกด้วย
น้ำมนต์ของท่านนี้ศักดิ์สิทธิ์นักและกรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะ คือ
ช่วงแรก ท่านจะเรียกคนไข้มาหาแล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการแล้วยื่นหมากให้คำหนึ่ง คาถาที่ใช้เสกหมากนี้ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่า ใช้ดังนี้จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ
“ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วว่า โสทาย นะโม พุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเทติ ยาทาโลเทตีติ” อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานนมัสการพระพุทธฉาย

หลวงพ่อปานนมัสการพระพุทธฉาย

เมื่อคณะธุดงค์ทั้งห้า มีหลวงพ่อปานเป็นประมุข นมัสการพระพุทธฉาย และอยู่ในบริเวณนั้นรวม 3 วัน เมื่อมีความอิ่มในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอสมควรแก่ความประสงค์แล้ว ปูชนียสถานที่คณะธุดงค์ทั้งห้าต้องการนมัสการอีกก็คือ พระพุทธฉาย เขตสระบุรีเหมือนกัน แต่ต้องเดินทางไปทางตะวันออก และล่องใต้นิดหน่อย เรื่องทางที่จะไปเป็นภาระของหลวงพ่อปาน
แล้วแต่ละท่านก็ออกเดินทางไปพระพุทธฉาย การเดินทางรอนแรมจากพระพุทธบาทไปพระพุทธฉายระยะทางไม่ไกลนัก แต่คณะธุดงค์ชุดนี้ก็เดินทางอย่างพระธุดงค์ คือเดินประมาณวันละ 5 กิโลเมตร ไปตามสบาย พักตามสบาย ไม่ผ่านตัวเมืองสระบุรีเพราะไม่ต้องการพบบ้าน ไม่อยากรบกวนอาหารจากชาวบ้าน ได้อาศัยอาหารจากต้นไม้เป็นอาหารหลัก
ด้วยคณะธุดงค์เชื่อว่าเทวดาประจำต้นไม้มี ไม่เป็นเรื่องของพราหมณ์พูดเล่นพล่อย ๆ เมื่อเชื่อว่าต้นไม้มีเทวดา ก็เลยถือโอกาสขอข้าวจากเทวดากิน เมื่อขอจริง เทวดาก็มีอาหารให้จริง เมื่อได้เท่าไรก็ตาม กินแล้วอิ่มตลอดทั้งวัน และอิ่มจนกว่าจะถึงรอบใหม่ ไม่หิว ไม่เพลีย แม้น้ำก็ไม่กระหาย
เมื่อถึงพระพุทธฉาย เรื่องก็เป็นไปเช่นเดียวกับที่พระพุทธบาท คือ หลวงพ่อปานท่านให้พระทุกองค์เข้าอาโลกกสิณเต็มระดับ เมื่อได้รับบัญชาทุกองค์จึงเข้าอาโลกกสิณเต็มระดับ ต่างก็ทราบว่าหลวงพ่อจะได้พิสูจน์ความจริงเรื่องพระพุทธฉายอีกแล้ว ต่างก็เข้าฌาน 4 ในอาโลกกสิณทันที เมื่อท่านตรวจเห็นว่าทรงฌานดี อารมณ์สะอาด ท่านบอกให้ทดสอบเรื่องพระพุทธฉายว่าพระพุทธเจ้ามาฉายไว้จริงหรือเปล่า มีใครเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้ามาฉาย อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานพาคณะศิษย์ออกธุดงค์

หลวงพ่อปานพาคณะศิษย์ออกธุดงค์

พบโขลงช้างที่สระบุรี

หลวงพ่อฤๅษีฯ ได้เล่าเรื่องหลวงพ่อปานนำคณะศิษย์ อันมี หลวงพ่อฤๅษีฯ พระเขียน และพระเพื่อนของหลวงพ่อฤๅษีฯ ที่ท่านเรียกว่า “จ้าลิงขาว และ “เจ้าลิงเล็ก” รวมเป็น 4 รูป ออกธุดงค์ไว้ว่า

หลวงพ่อปานท่านสมาทานกับหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พระอุปัชฌาย์ของท่าน เมื่อสมาทานแล้ว (คำว่าสมาทานคือ ขอเรียนวิธีปฏิบัติตนเมื่อขณะไปธุดงค์) ท่านก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปพระพุทธบาท สมัยนั้นหารถยนต์เรือยนต์ได้ที่ไหน ต้องใช้รถเท้าหรือถ่อกันทั้งนั้น
เมื่อเข้าเขตสระบุรี ท่านเห็นป่าแห่งหนึ่งว่าทุ่งว่างประมาณร้อยไร่ เห็นหมู่บ้านไกลจากทุ่งประมาณ 2 กม. ท่านเป็นหัวหน้า มีพระติดตามมาอีก 4 องค์ รวมเป็น 5 องค์ทั้งท่าน สมัยนั้นพระออกธุดงค์อย่างมากไม่เกินชุดละ 5 องค์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลำบากชาวบ้านที่จะสงเคราะห์ เมื่อท่านเห็นเหมาะ ท่านสั่งพลพรรคปักกลดตามระเบียบของธุดงค์ เมื่อปักกลดแล้วจะมีอันตรายขนาดไหนก็ตามจะถอนกลดหนีไม่ได้ ต้องยอมตายเพื่อธรรมเสมอ
เมื่อท่านจะปักกลด ท่านเลือกชัยภูมิที่ท่านเห็นว่าเหมาะสม คือ เลือกเอาปากทางที่ออกมาจากป่า มีทางเดินออกจากป่าทางเดียว ตรงนั้นมีแอ่งน้ำแต่แห้ง แล้วท่านปักกลดตรงแอ่ง กลดของท่านคลุมปากแอ่งน้ำ ทุกองค์ต่างปักกลดเสร็จ พอเรียบร้อย ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ในป่าที่มองเห็นมีบ้านประมาณ 4 หลังคาเรือน เมื่อเขามองเห็นสีเหลืองก็ทราบว่าเป็นพระมาปักกลด ต่างก็พากันออกมา นำน้ำตาลน้ำดื่มมาถวาย เมื่อพระฉันครบแล้ว เขาก็บอกว่าที่ทุ่งนี้มีโขลงช้างอยู่ 1 โขลง มันอาศัยอยู่ในป่านี้ มันออกมาอาละวาดเสมอ พระที่มาปักกลดทุ่งนี้ตายเพราะช้างหลายองค์แล้ว เขาขอให้ถอนกลดไปปักใกล้บ้านเขาจะได้ไม่มีภัย ถ้าหากมีก็จะได้ช่วยทัน
หลวงพ่อท่านรักธรรมวินัยยิ่งกว่าชีวิต ท่านบอกว่า เมื่อปักกลดแล้วถอนไม่ได้ ถ้าจะมีอันตรายถึงตายก็ยอม เพราะมาเพื่อตายกับธรรม ไม่ใช่มาแสวงหาความสุขทางกาย ชาวบ้านจะอ้อนวอนเท่าไรท่านก็ยืนยันระเบียบ พวกเขาก็จนปัญญา เมื่อเขาหวังดีแต่ไม่มีผล ต่างก็สั่งว่าถ้าบังเอิญช้างออกมาให้เคาะฝาบาตรเขาจะรีบมาช่วย
เมื่อเวลาใกล้ค่ำ เขาก็พากันกลับ ก่อนกลับแสดงความห่วงใยมาก เมื่อชาวบ้านกลับ พระก็ต่างเข้าเจริญกรรมฐานตามความสามารถของตน อ่านเพิ่มเติม

อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน

จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมาพอจะอนุมานได้ดังนี้
จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า

“ปกติท่านเป็นคนขยัน เวลาพวกเราทำงาน ท่านไม่หยุดเหมือนกัน เป็นคนขยันจริง ๆ ขยันงานภายนอก ขยันงานภายในทุกอย่าง จุกจิก หมายความจุกจิกรอบ ๆ ดูของรอบ ๆ ตรวจตราของรอบ ๆ แล้วคำว่าไม่มีไม่ได้ ของท่านมีสั่งให้ไปหาอะไร ถ้าไม่มีให้เลย ไปเลย ห้ามกลับ ถ้าวันหลังไปพบเขา ถามว่า ทำไมไม่เอามาให้ บอกว่าไม่มีนี่ครับ ถ้าไม่มีจัดซื้อทันที ของท่านต้องมีทุกอย่าง”
“หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วนเสียงดังกังวานไพเราะมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือกเศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมั่วเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”
ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนก็เรียกว่า หลวงพ่อบางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆ ท่านๆน่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 4 หรือ 5 ทุ่ม นั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ
“ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไปตามกำลังความสามารถเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานได้คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์จากครูผึ้ง

หลวงพ่อปานได้คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์จากครูผึ้ง

พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์นี้ หลวงพ่อปาน ได้เรียนมาจากครูผึ้ง จ.นครศรีธรรมราช (ท่านทำทานให้ขอทานครั้งละ ๑ บาท สมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวข้าวแกงจานละห้าสตางค์เอง)
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อปาน พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปทุกภาคของประเทศไทย ทิศเหนือได้ไปถึงเชียงตุงของพม่า ทิศตะวันออกไปสุดภาคอีสาน และได้ขออนุญาตข้ามเขต ไปในอินโดจีนของฝรั่งเศส ถึงประเทศญวน ทิศใต้ได้ไปถึงปีนังของอังกฤษ
พบท่านครูผึ้ง

เมื่อไปถึงนครศรีธรรมราช ในเย็นวันที่ได้ไปถึงนั่นเอง ขณะที่หลวงพ่อปานเข้าห้องจำวัดพักผ่อน โดยมีพระภิกษุอุปฐากกับทายก คอยเฝ้าอยู่หน้าห้องพักนั้น ประมาณเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้มีท่านผู้มีอายุท่านหนึ่ง รูปร่างเพรียว ท่าทางสง่า ผิวขาว นุ่งห่มผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อนอกราชปะแตน กระดุมห้าเม็ด ถุงเท้าขาว รองเท้าคัชชูสีเทา สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ได้มาหาพระอุปัฏฐาก ถามว่า
“หลวงพ่อตื่นแล้วหรือยัง?”
ก็พอดีได้ยินเสียงหลวงพ่อพูดออกมาจากห้องว่า
“ไม่หลับหรอก แหมนอนคอยอยู่ คิดว่าผิดนัดเสียแล้ว”
แล้วหลวงพ่อก็เดินออกมาจากห้องพัก เมื่อนั่งลงแล้ว ผู้เฒ่าผู้มาหาพูดว่า
“ผมไม่ผิดนัดหรอกครับ เห็นว่าท่านเพิ่งมาถึงใหม่ๆ กำลังเหนื่อย และมีคนมาคอยต้อนรับกันมาก ก็เลยรอเวลาไว้ก่อน ตอนเย็นนี้คิดว่าว่างจึงเลือกเวลามา” อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อปานเรียนวิชากับอาจารย์ต่าง ๆ

หลวงพ่อปานเรียนวิชากับอาจารย์ต่าง ๆ

เรียนวิชาปริยัติธรรมกับพระอาจารย์จีน ที่วัดเจ้าเจ็ด
ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน
จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง
ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเองเวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้
เวลาสอนหนังสือลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้องทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธาเอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่าจนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิมหลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไรก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง
ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่านท่านจึงหยุดเรียนและเตรียมตัว สำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่ หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย
เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)

ประวัติ พระครูวิหารกิจจานุการ
(หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ)
วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชาติภูมิ

หลวงพ่อปาน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ ที่ย่านบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาชีพทางครอบครัว คือ ทำนา ครอบครัวของท่านนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ สมัยนั้นเขายังมีทาสกันอยู่ ที่บ้านท่านก็มีทาส เมื่อตอนท่านเกิดมา มีปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว โยมบิดาจึงตั้งชื่อท่านว่า “ปาน”
ประวัติของท่านในวัยเด็ก เมื่อตอนอายุสัก 3 – 4 ขวบ ก็มีเหตุที่ทำให้ท่านได้ยินคำว่า “พระอรหัง” เป็นครั้งแรก โดยในเรื่องนี้ท่านเล่าให้หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ (วีระ ถาวโร หรือ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ซึ่งหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ (ซึ่งต่อๆ ไปในนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า หลวงพ่อฤๅษีฯ ) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติหลวงพ่อปาน พอสรุปได้ว่า อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .