ประวัติพระสีวลี อรหันต์แห่งโชคลาภ

พระสีวลี จาก พระสีวลี.com

พระสีวลี หรือ พระสิวลี เป็นโอรสของพระนางสุปปวาสาซึ่งราชธิดาแห่งโกลิยนครตั้งแต่ท่านจุติลงถือปฎิสนธิในครรภ์ของพระมารดาได้ทำให้ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระมารดาเป็นอย่างมาก พระสีวลีทรงอาศัยอยู่ในครรภ์ของพระมารดานานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ครั้นเมื่อใกล้เวลาพระสีวลีจะประสูติพระมารดาได้รับทุกขเวทนาเป็นอันมาก พระนางจึงทูลขอให้พระสวามีไฟกราบบังคลทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าและทรงได้ตรัสประทานพรแก่พระนางว่า “ขอพระนางสุปปวาสาพระราชธิดาแห่งโกลิยนครจงเป็นหญิงที่มีความสุขปราศจากโรคาพนาธิ ประสูติพระโอรสที่หาโรคมิได้เถิด” และด้วยอำนาจแห่งพระพุทธานุภาพจึงทำให้ทุขเวทนาของพระนางอันตรธานหายไป พระนางสามารถประสูติพระโอรสได้อย่างง่ายดายดุจน้ำที่ไหลออกจากหม้อ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขนานนามพระราชโอรถของพระนางสุปปวาสาว่า “พระสีวลีกุมาร” และเมื่อพระนางสุปปวาสามีพระวรกายแข็งแรงดีแล้ว จึงมีพระประสงค์ที่จะถวายมหาทานเป็นระยะเวลา 7 วันติดต่อกัน จึงแจ้งความประสงค์แก่พระสวามีให้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มารับมหาทานอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งในวันที่ถวายมหาทานนั้นพระสิวลีกุมารทรงมีพระวรกายเข้มแข็งดุจกุมารผู้มีพระชนม์ 7 พรรษา ได้ทรงช่วยพระบิดาและพระมารดาจัดแจงกิจต่างๆ มีการนำธมกรก (กระบอกรองน้ำ) มากรองน้ำดื่มและอังคาสพระบรมศาสดาและบรรดาพระภิกษุสงฆ์ ในขณะที่พระสีวลีกุมารช่วยพระบิดาและพระมารดาอยู่นั้นพระสารีบุตรได้สังเกตุดูอยู่ตลอดเวลา และทรงเกิดความพึงพอพระทัยในตัวพระสีวลีกุมารเป็นอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม

พระสิวลีผู้เป็นเลิศด้านโชคลาภ

พระสิวลี ตามตำนานเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ สมัยพุทธกาลที่มีบุญบารมีมาก สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่อง พระสิวลี
ว่า เป็นเลิศทางโชคลาภ อุดมไปด้วยโภคทรัพย์ หากท่านทั้งหลายผู้หวังในโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง ขอให้บูชาพระสิวลี

หากใครที่มีรูปเคารพพระสิวลีอยู่แล้ว แต่ยังไม่รู้วิธีการบูชา ไม่รู้คาถาพระสิวลี และวิธัการบูชาให้เกิดลาภผล
เริ่มต้นก่อนเลย นั่งเบื้องหน้าองค์เคารพพระสิวลี จะเป็นพระผง ลอยองค์ หรือรูปภาพก็ได้

ตั้ง นะโม 3 จบ

อ่านเพิ่มเติม

พระสีวลี ผู้มีลาภมาก

3.1-3-56(500)

เพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไปของพระอริยสาวกอันเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าพุทธบริษัท ขอเริ่มเล่าตั้งแต่อดีตชาติครั้งพุทธกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าพระนามว่าพระปทุมุตตระ ท่านได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเป็นเวลาเจ็ดวันโดยตั้งความ
ปรารถนาขอให้ได้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภ พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาดังกล่าวจักเป็นผลสำเร็จในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม
ในชาติต่อมา ครั้งพุทธกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้มีส่วนร่วมกับชาวเมืองถวายมหาทานอีกครั้งหนึ่งแด่พระพุทธ
เจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ (ตามประวัติระบุว่า ถวายน้ำผึ้งสด) แล้วกราบทูลแสดงความปรารถนาต่อพระพุทธองค์ว่า ขอให้เป็นผู้เลิศทั้ง
ลาภและยศในทุก ๆ ชาติที่ตนไปเกิด และพระพุทธองค์ได้ประทานพรให้ว่าขอจงเป็นผลสำเร็จตามปรารถนาเถิด อ่านเพิ่มเติม

เหตุเกิดแห่งเรื่องที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์

ในสมัยหนึ่ง พระขทิรวนิยเรวตเถระ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ได้หนีการแต่งงานที่บิดามารดาจัดการให้ มาขอบวชในสำนักพระภิกษุ ซึ่งมีภิกษุอยู่ประมาณ ๓๐ รูป เหล่าพระภิกษุสอบถามดู ทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ที่ท่านได้เคยแจ้งไว้ก่อนว่าถ้าน้องชายมาขอบวชก็อนุญาตให้บวชได้ จึงได้ทำการบวชให้แล้วส่งข่าวมายังท่านพระสารีบุตร

ครั้งนั้น เมื่อพระสารีบุตรทราบข่าวดังนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาเพื่อขอไปเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียรเจริญวิปัสสนา จึงทรงห้ามพระสารีบุตรถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อพระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้วจึงทรงอนุญาตและตรัสว่าจะทรงไปด้วยพร้อมเหล่าพระสาวกอื่น

ดังนั้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร ก็ได้เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่าจะไปเยี่ยมพระเรวตะ ครั้นเดินทางมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทาง ๒ แพร่ง

อ่านเพิ่มเติม

พระสีวลี–พระสีวลีทดลองบุญ

ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนาครสาวัตถี พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ

ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่าปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘

อ่านเพิ่มเติม

พระสีวลี–พระสีวลีบวชเมื่อเกิดได้ ๗ วัน

ตั้งแต่เวลาที่ได้เกิดมาแล้ว ทารกนั้นได้เป็นผู้แข็งแรง อดทนได้ในการงานทั้งปวง เพราะค่าที่อยู่ในครรภ์มานานถึง ๗ ปี ครั้นถึงวันที่ ๗ พระนางสุปปวาสาตกแต่งพระสีวลีกุมารผู้โอรส ถวายบังคมพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระกุมารถูกนำเข้าไปสักการะพระสารีบุตรเถระเจ้านั้น พระเถระเจ้าได้กระทำปฏิสันถารกับเธอว่า สีวลี เธอยังจะพอทนได้หรือ ? สีวลีกุมาร ได้ตรัสตอบพระเถระเจ้าว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจะมีความสุขที่ไหนได้เล่า กระผมนั้นต้องอยู่ในโลหกุมภีถึง ๗ ปี

พระเถระได้กล่าวกะสีวลีทารกนั้นอย่างนี้ว่า ก็ถ้าเธอได้รับความทุกข์ถึงขนาดนั้นแล้ว บวชเสียไม่สมควรหรือ สีวลีตอบว่าถ้าบวชได้ก็จะบวช พระนางสุปปวาสาเห็นทารกนั้นพูดอยู่กับพระเถระ ก็คิดว่าบุตรของเราพูดอะไรหนอกับพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า บุตรของดิฉันพูดอะไรกับพระคุณเจ้า เจ้าคะ พระเถระกล่าวว่า บุตรของท่านพูดถึงความทุกข์ที่อยู่ในครรภ์ที่ตนได้รับ แล้วกล่าวว่า ถ้าท่านอนุญาต ก็จะบวช

อ่านเพิ่มเติม

พระสีวลี–กำเนิดในพุทธกาล

ครั้นพ้นจากนรกอเวจีแล้ว ก็เที่ยวเกิดไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าของเรานี้ จึงได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของ พระนางสุปปวาสา ราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ กษัตริย์พระนครโกลิยะ ซึ่งทรงอภิเษกกับเจ้าศากยวงศ์พระองค์หนึ่ง พระนางนั้นพระบรมศาสดาได้ทรงสถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต และได้ทรงปฏิบัติธรรมจนบรรลุโสดาบันปัตติผล

ด้วยกุศลกรรมแห่งการที่ท่านเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เพราะอานุภาพที่ถวายมหาทาน แล้วตั้งความปรารถนาในสมัยแห่งองค์พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และอานิสงส์ที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐ กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี นับแต่วันที่ท่านถือปฏิสนธิ ก็มีคนถือเอาเครื่องบรรณาการมาให้พระนางสุปปวาสา วันละร้อยเล่มเกวียน ทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า

อ่านเพิ่มเติม

พระสีวลีเถระ–บุรพกรรมที่นำไปสู่อเวจีและต้องอยู่ในครรภ์พระมารดา ๗ ปี ๗ วัน

เมื่อท่านได้สิ้นอายุในสมัยนั้นแล้ว ท่านก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนาน ต่อมาในสมัยหนึ่งท่านได้จุติจากเทวโลก บังเกิดเป็นราชโอรสแห่งพระเจ้ากาสี (อรรถกถาบางแห่งว่า พระเจ้าพรหมทัต) ผู้ครองกรุงพาราณสี ต่อมาพระเจ้าโกศลทรงกรีธากองพลใหญ่มายึดกรุงพาราณสี ทรงปลงพระชนม์พระเจ้ากาสีและได้สถาปนาพระอัครมเหสีของพระราชานั้นให้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ในเวลาที่พระบิดาถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงหนีออกทางประตูระบายน้ำ รวบรวมญาติมิตรและพวกพ้องของพระองค์ไว้เป็นอันเดียวกัน รวมกำลังโดยลำดับแล้วเสด็จมายังกรุงพาราณสี ตั้งค่ายใหญ่ไว้ในที่ไม่ไกล ทรงส่งพระราชสาสน์ถึงพระราชาองค์นั้นว่า จะคืนราชสมบัติหรือจะรบ

พระมารดาได้สดับสาสน์ของพระราชกุมารแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ลับแนะนำไปว่า จงอย่ามีการต่อสู้ จงตัดขาดการสัญจรทั่วทุกทิศ โดยการล้อมกรุงพาราณสีไว้ พวกคนในกรุงก็จะพากันลำบากเพราะหมด ไม้ น้ำและอาหาร และจะจับพระราชามาถวายเอง พระราชกุมารได้สดับสาสน์ของพระมารดาแล้ว จึงล้อมประตูใหญ่ทั้ง ๔ ด้านไว้ ๗ ปี แต่การณ์ก็มิได้เป็นอย่างที่ทรงดำริ เนื่องจากพวกคนในกรุงพากันออกทางประตูเล็ก นำเอาไม้และน้ำเป็นต้น มาทำกิจทุกอย่าง

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระสีวลีเถระ เอตทัคคะผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ-ความปรารถนาในอดีต

พระสีวลีเถระ เป็นพระมหาเถระที่มีประวัติค่อนข้างแปลกไปกว่าพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ท่านต้องอยู่ในครรภ์พระมารดาอยู่ถึง ๗ ปี กับอีก ๗ วัน ด้วยอำนาจบุรพกรรมตามมาส่งผล และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ แม้พระมารดาคือ พระนางสุปฺปวาสา ผู้เป็นราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ ก็ทรงเป็นเอตทัคคะผู้กว่าพระสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายสิ่งของอันประณีต การที่พระพุทธองค์ได้ทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวก็เป็นไปตามความปรารถนาของท่านมาแต่ในอดีต

ความปรารถนาในอดีต

ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งนั้น ท่านได้เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครหงสวดี ได้ยินพระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ชื่อสุทัสสนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีลาภมาก ดังนั้น ทรงปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้นิมนต์ พระชินสีห์พร้อมทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภในอนาคตกาล พระปทุมุตตระบรมศาสดา จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จะสำเร็จในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป ท่านจะบังเกิดในนาม สีวลี ได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระโอกกากราช ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป

อ่านเพิ่มเติม

พระสีวลีเถระ

พระสีวลีถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

ชาติภูมิ
พระสีวลีเถระ เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาส ผู้เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงโกลิยะ อยู่ในพระครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เมื่อทรงพระครรภ์ทำให้พระมารดาสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะมาก เมื่อประสูติก็ประสูติง่าย ด้ายพุทธานุภาพที่ทรงพระราชทานพรว่า “ขอพระนางสุปปวาสาจงมีความสุข ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้ไม่มีโรคเถิด”

อ่านเพิ่มเติม

การบูชา “พระสีวลี” เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภ ยศ ชื่อเสียงที่ขจรไปไกล

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

พร้อมรับความร่ำรวย มั่งคั่ง ที่จะเข้ามาอย่างรวดเร็ว เราจึงควรบูชา“พระสีวลี” เป็นประจำ

สาเหตุที่ท่านได้รับการยอมรับว่า เป็นพระอรหันต์แห่งโชคลาภนั้น เพราะในสมัยที่ท่านยังอยู่ในครรภ์มารดา คือ พระนางสุปฺปวาสา ผู้เป็นราชบุตรีของเจ้าเมืองโกลิยะ ท่านอาศัยอยู่ในครรภ์มารดานั้นนานถึง 7 ปี กับอีก 7 วัน เพื่อชดใช้กรรมเก่าจากการที่ในชาติก่อนนั้น

(โดยปกตินั้น คนธรรมดาอยู่ในท้องแม่ไม่เกิน 9 เดือน 10 เดือนก็ต้องคลอดออกมาแล้ว)

ซึ่งครั้งนั้น พระองค์ทรงเป็นพระราชาในเมืองแห่งหนึ่ง ทรงมีอุบายร่วมกับพระมารดา พยายามจะแย่งชิงเมืองอีกเมืองมาเป็นของตน แต่ไม่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่น อาศัยกลยุทธ์เข้าล้อมเมืองนั้น

ทำให้เมืองนั้นขาดการติดต่อจากโลกภายนอก ชาวเมืองล้วนประสบโรคภัยไข้เจ็บ เผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ดำรงชีวิตอยู่ด้วยคงวามทุกขเวทนา ด้วยความทุกข์เวทนามากว่า 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ผลจากกรรมนั้น จึงส่งผลมาดังกล่าวแก่ท่าน ให้ท่านนั้นต้องทนอุดอู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น

แต่ด้วยด้วยอำนาจบุรพกรรมตามมา ได้ทำให้เกิดโชคลาภแก่พระมารดาผู้ทรงครรภ์เป็นอันมาก โดยกล่าวว่าในเวลาใกล้ประสูติ แม้พระมารดาของท่านจะได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า แต่ยังมีสติที่ดี จึงขอให้พระสวามีไปกราบบังคมทูลขอพร จากพระบรมศาสดา

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ–ความกลัว

ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง
ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ
หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน

ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ
ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต

เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่
หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา
แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป

ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด
แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราวที่ตนรับ
เข้าไว้ในสมอง

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ–พุทธศาสนา ศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง

เมื่อกล่าวสรุปให้สิ้นเชิง ในแง่แห่งการกระทำ หรือ การปฏิบัติแล้ว
“พุทธศาสนาคือ ศาสนา แห่งการบังคับตัวเอง”:
มิใช่ศาสนา แห่งการ อ้อนวอน พระเป็นเจ้า ผู้มีอำนาจ
หรือ เป็น ศาสนาแห่งการแลกเปลี่ยน ทำนองการค้าขาย
ทำบุญทำทาน แลกนางฟ้าในสวรรค์
หรือ อะไรทำนองนี้ แต่ประการใดเลย และเพราะ
ความที่พุทธศาสนา เป็น ศาสนา แห่ง การบังคับตัวเอง
โดยมีเหตุผล เพียงพอแก่ตนเอง จึงได้ชื่อว่า เป็น
“ศาสนาแห่ง เหตุผล” ด้วย

พุทธศาสนา คือคำสั่งสอน อันเป็นแบบฝึกหัด บังคับตนเอง
แต่ว่า ลำพังคำสั่งสอน อย่างเดียว หาใช่เป็น แก่น
หรือ เป็นตัวพุทธศาสนา อันแท้ไม่
แม้ว่า คำว่า “ศา สนา” จะแปลว่า คำสอน ก็ตาม
ตัวศาสนาแท้ หรือ ตัวพรหมจรรย์ นั้น ได้แก่
การปฏิบัติ ตามคำสั่งสอน นั้นๆ
ซึ่งเรียกโดย ภาษาศาสนาว่า
สีลสิกขา – จิตตสิกขา – ปัญญาสิกขา

พุทธมามกะ เป็นอันมาก เข้าใจว่า “สิกขา” ตรงตามรูปศัพท์เกินไป
คือ สิกขา แปลตามรูปศัพท์ ว่า การศึกษา

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ–พุทธศาสนา เป็น Pessimism หรือ Optimism

พุทธศาสนา ไม่ใช่ทั้ง Pessimism (ลัทธิเห็นสิ่งทั้งปวงเป็นไปในแง่ร้าย)
และ Optimism (เห็นเป็นไปในแง่ดี) เพราะ Pessimism และ Optimism
เป็นลัทธิ ที่ดิ่งลงไป จนถึงที่สุด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งสองอย่าง
ส่วนพุทธศาสนา สั่งสอนสัจธรรม อันเดิน ไปตาม สายกลาง,
Pessimism นั้น จัดได้ว่าเป็นมูลแห่ง อัตตกิลมถานุโยค,
Optimism ก็เป็นทางมาแห่ง กามสุขัลลิกานุโยค
ทั้งสองลัทธินั้น ไม่กล่าวถึง การแก้ไข ให้ความ เป็นเช่นนั้นๆ
กลายเป็นตรงกันข้าม กับที่เป็นอยู่หรือที่เป็นมาแล้วได้

ส่วนพุทธศาสนา สอนให้ดูโลกในแง่ของ Pessimism ก่อนแล้ว และสอน
หนทางแก้ไข ให้มันกลายเป็นดีไป ซึ่งเป็นอันว่า ไม่ปัด Optimism เสียทีเดียว
พุทธศาสนาสอนว่า ชีวิตนี้ เต็มไปด้วย อาการที่ทนยาก เป็น มายา เหลวไหล
ถูกกักขัง และทรมาน อยู่โดยอวิชชา ไม่ได้อย่างใจหวัง สักอย่างเดียว
ทั้งส่วนร่างกาย หรือ ส่วนจิตใจ ก็ตาม นี่แสดงว่า คล้ายกับ จะเอียงไปฝ่าย
Pessimism แต่ พุทธศาสนา ไม่ได้สอน เพียงเท่านั้น ได้สอนวิธี ที่จะทำชีวิตให้
ตรงกันข้ามกับอาการเช่นนั้นได้ด้วย คือ อัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา
อันมีหลักสั้นๆ ว่า ชีวิตอาจบริสุทธิ์และหลุดพ้นจากการทรมานได้ด้วยการประพฤติ
อย่างถูกต้อง ของเราเอง จนเราอาจเป็นผู้ที่มีความเยือกเย็นใจของเราเองได้เสมอ
ทุกๆ ฉาก ที่โลกมันจะปรวนแปรไป ความคิดนึกในใจของพุทธบริษัท ไม่ได้ถูก
บังคับให้เชื่อ หรือเห็นอยู่ในวงจำกัด ดุจพวก Pessimist หรือ Optimist เมื่อ
เขายังพอใจที่จะหมุนกลิ้งไปกับโลก อันเอิบอาบไปด้วยความดีใจและเสียใจ เขาก็
มีอิสระที่จะทำเช่นนั้น เมื่อเขาเห็นว่ามันน่าเบื่อหน่าย เขาก็มีอิสระและหนทางที่จะ
เอาชนะมันเสียได้อย่างเด็ดขาด เพราะเหตุนี้เอง พุทธศาสนาจึงมิใช่ Pessimism
หรือ Optimism เลย เป็นแต่มีแง่บางแง่ ที่อาจลวงตา คนบางคน ให้เห็นเป็น
Pessimism หรือ Optimism อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ เขาจะเห็น ไปใน
บางคราวเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ–เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที

นับตั้งแต่กาลที่โลกว่างเปล่า เริ่มกลายเป็น มนุษย์โลกขึ้น เมื่อหลายแสนปี มาแล้ว
มนุษย์ ได้ใช้ มันสมอง แสวงหา ความสุข ใส่ตน เป็นลำดับๆ มาทุกๆ ยุค,
จนในที่สุด เกิดมีผู้สั่งสอน ลัทธิแห่งความสุข นั้น ต่างๆ กัน,
ตัวผู้สอนเรียกว่า ศาสดา,
คำสอนที่สอนเรียกว่า ศาสนา,
ผู้ที่ทำตาม คำสอน เรียกว่า ศาสนิก,
ทุกอย่าง ค่อยแปรมาสู่ ความดี ยิ่งขึ้นทุกที,
สำหรับคำสอน ขั้นโลกิยะ หรือ จรรยา ย่อมสอน มีหลักตรงกันหมด ทุกศาสนา,
หลักอันนั้นว่า จงอย่าทำชั่ว จงทำดี ทั้งต่อ ตนเอง และผู้อื่น,
ดังที่ทราบกันได้อยู่ทั่วไปแล้ว:

แต่ส่วนคำสอนขั้นสูงสุด ที่เกี่ยวกับ ความสุขทางใจ อันยิ่งขึ้นไปนั้น
สอนไว้ต่างกัน.
ศาสนาทั้งหลาย มีจุดหมาย อย่างเดียวกัน เป็นแต่ สูงต่ำ กว่ากัน เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาสภิกขุ–มาเป็นพุทธทาสกันเถิด

มีการเป็นทาสชนิดหนึ่ง เป็นทาสที่ไม่ต้องเลิก ยิ่งมีมาก ยิ่งดี
ยิ่งเป็นทุกคนด้วยแล้ว โลกยิ่งมีสันติภาพ ไร้วิกฤตกาล
นั้นคือ การเป็นทาสของพระพุทธองค์ เรียกว่า “พุทธทาส”

พุทธทาส แปลว่า ผู้รับใช้พระพุทธองค์อย่างถวายชีวิต
ในฐานะเป็นหนี้ในพระมหากรุณาธิคุณด้วย
เพราะความกตัญญูด้วย และ
เพราะเห็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ด้วย
จึงสมัคร มอบกายถวายชีวิตหมดสิ้นทุกประการ
เพื่อรับใช้พระพุทธองค์
เพื่อกระทำสิ่งที่เชื่อว่าเป็นพระพุทธประสงค์

พระพุทธองค์ไหน?
ตอบอย่างภาษาคน ก็พระพุทธองค์ที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์
ที่ทรงอุบัติขึ้นในโลก ตรัสรู้ แล้วสั่งสอนสัตว์ จนตลอดพระชนมายุ
เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–สวนโมกข์ในอนาคต

แม้ชีวิตในวันนี้ของท่านอาจารย์ จะต้องอยู่กับความเจ็บป่วยตามเหตุปัจจัยแห่ง
ธรรมชาติ แต่ก็เป็นความเจ็บป่วยที่ไม่เคยแยกห่างออกจากธรรมะ จนกล่าวได้ว่า
ท่านพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติแห่งพุทธทาสภิกขุ ตราบวาระสุดท้ายของชีวิต ตาม
รอยแห่งพระบรมศาสดานั่นเอง

นับจากวันวิสาขบูชา ๒๔๗๕ ซึ่งพระมหาหนุ่มนาม “เงื่อม”
เริ่มต้นการเดินทางเพื่อตามรอยแห่งพระอริยเจ้ามาจนกระทั่ง
ถึงวิสาขบูชา ๒๕๓๕ นี้ การเดินทางของท่านและสวนโมกข
พลารามได้ยาวนานมาถึง ๖๐ ปีแล้ว อุดมคติอันมุ่งมั่นที่จะ
ค้นหาให้พบในวันเริ่มต้น ได้ค้นพบแล้ว ปณิธานที่จะประกาศ
ธรรมซึ่งค้นพบนั้นแก่ชนร่วมสมัย ก็ได้บรรลุแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–สวนโมกข์วันนี้

แม้สวนโมกข์จะก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ๖๐ แห่งการก่อตั้ง
แต่ปณิธานแห่งการทำงานเพื่อรับใช้พระศาสนาและ
เพื่อนมนุษย์ ก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กิจวัตร
ของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต
กิจวัตรของคณะสงฆ์ยังคงดำเนินไปดังเช่นที่เคยเป็นมา
ในอดีต เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่สิ่งที่จำต้อง
เปลี่ยนแปลงไปคือ การหมุนเวียนของพระเณรทั้งเก่าและ
ใหม่และกายสังขารของท่านอาจารย์ที่ล่วงเข้าสู่วัยชราตามเหตุปัจจัยแห่งธรรมชาติ

ท่านอาจารย์พุทธทาส อาพาธหนักครั้งแรก
เมื่อ ปี ๒๕๑๘ ขณะอายุได้ ๖๙ ปี โดยเข้า
รับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และ
อาพาธหนักอีกครั้งในปี ๒๕๒๘ เมื่ออายุ
ได้ ๗๙ ปี จนเมื่อปลายเดือนตุลาคม
๒๕๓๔ ขณะอายุได้ ๘๕ ปีเศษ หลังจาก
การแสดงธรรมติดต่อกันถึง ๖ วัน วันละ
๒ ชั่วโมง ท่านก็มีอาการอาพาธรุนแรง
อีกครั้งหนึ่ง การอาพาธในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกับเมื่อ ปี ๒๕๒๘ คือท่านตัดสินใจ
ขอรับการรักษาตัวอยู่ที่สวนโมกข์ โดยขณะที่กำลังอาพาธหนัก มีอาการอันน่าวิตก
ว่า อาจจะดับขันธ์ได้ทุกเมื่อนั้น ท่านได้กล่าวแก่คณะสงฆ์และแพทย์ที่กราบ
อาราธนาท่านเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลว่า “ขอบใจ ขอบใจอย่างสูง
ขอให้การอาพาธครั้งนี้เป็นการศึกษาของอาตมาอย่างยิ่ง ขอรับการรักษา
อย่างธรรมชาติ อย่างครั้งพุทธกาลอยู่ที่วัด” (๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔)
ท่านอาจารย์เห็นว่า สาวกของพระพุทธเจ้าไม่ควรหอบสังขารหนีความตาย
(ดังที่การแพทย์สมัยใหม่มักใช้วิทยาการต่อชีวิตของผู้ป่วยอย่างผิดธรรมชาติ
ด้วยเครื่องมือและสายระโยงระยางจำนวนมากมาย) ท่านอาจารย์ได้แสดงออก
ซึ่งรูปธรรมของ “การเตรียมตัวตายอย่างมีสติ” ให้ผู้ใกล้ชิดได้เรียนรู้

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–ธรรมะเพื่อสังคมและโลก (พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๔)

แม้ท่านอาจารย์พุทธทาสจะเป็นพระภิกษุใน
พุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่การศึกษาจนเข้า
ถึงแก่นแท้แห่งพระธรรมคำสอน ได้ทำให้ท่าน
ก้าวพ้นไปจากการติดยึดในนิกายอย่างงมงาย
และไร้ประโยชน์ ตั้งแต่แรกตั้งสวนโมกข์ ท่าน
ได้ศึกษาพุทธศาสนานิกายอื่นๆ อย่างกว้างขวาง
ไม่ว่ามหายาน วัชรยาน เซ็น โดยเฉพาะ
พุทธศาสนานิกายเซ็น ท่านได้แปลหนังสือ
เรื่อง “สูตรเว่ยหล่าง” และ”คำสอนของฮวงโป”
ฯลฯ แม้ว่าการปฏิบัติดังนี้ของท่านจะเป็นเหตุ
ให้ท่านถูกโจมตีว่า กระทำนอกรีต ผิดแบบแผน
ของพระฝ่ายเถรวาท ก็ตาม

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–ประยุกต์ธรรมนำยุคสมัย (พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๒๔)

พร้อมๆ กับที่เวลาล่วงผ่านเข้าสู่ยุคหลังกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐) นั้น ประเทศไทย
ก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาไปสู่ “ความทันสมัย” ตามแบบตะวันตกด้วยวิถีชีวิต
การศึกษา วัฒนธรรม การทำมาหากิน ต่างมุ่งจะไปสู่ความสมบูรณ์มั่งคั่งทางวัตถุ
ภายใต้คำขวัญของการพัฒนาที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ผู้คนใน
สังคมได้ถูกกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวัตถุยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด จนเกิด
การแสวงหาและแข่งขันกันสะสม ระหว่างบุคคลในสังคมโดยทั่วไป

ในโลกแห่งความทันสมัยนี้ พระพุทธศาสนาซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปี ได้ถูก
มองว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย คร่ำครึไร้ประโยชน์ และไม่จำเป็นแก่การพัฒนาแบบนี้

ท่านอาจารย์พุทธทาสกลับมองตรงกันข้ามว่า
ในกระแสแห่งการพัฒนาเช่นนี้ ยิ่งมีความจำเป็น
ที่จะต้องนำ “แก่นพระพุทธศาสนา” ออกเผยแผ่
ให้มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมองการณ์ไกลไปถึง
อนาคต ท่านเห็นว่าการพัฒนาที่มุ่งแต่การ
ปรนเปรอชีวิตด้วยความสุขทางวัตถุนั้น จะ
นำไปสู่ความทุกข์ทั้งของปัจเจกชนและสังคม
โดยรวม เพราะเป็นการพัฒนาที่ขาดความ
สมดุล คือมองข้ามคุณค่าของการพัฒนาจิตใจ
มนุษย์จะตกเป็นทาสของวัตถุ จนเกิดการ
เบียดเบียน แย่งชิงและทำร้ายกัน ทั้งทางตรง
และทางอ้อม เพื่อจักให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้อง
การศีลธรรมจะเสื่อมถอย ชีวิตและสังคมจะ
เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ขาดความสงบสุขมากขึ้นทุกขณะ ท่านจึงเห็นความ
จำเป็นที่จะต้องนำแก่นพุทธศาสน์ มาสั่งสอนเพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีชีวิตอยู่
เหนือการเป็นทาสวัตถุมี “จิตสว่าง” ที่ปลอดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นแห่งตน
รู้จักการแบ่งปัน และดำรงชีวิตโดยพอดี

อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .