สนทนาเรื่องธรรมคำเดียว โดย พุทธทาสภิกขุ

สนทนาเรื่องธรรมคำเดียว โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – ธรรมคือหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต
ฟังเรื่องธรรม อาตมาอยากถวายความคิด รู้สึกถึงคำๆนี้ ให้พิจารณา ถ้าไปใช้ให้มีประโยชน์ได้ก็ดีมาก มีคนเห็นด้วยว่า ธรรม แค่พยางค์เดียว แก้ปัญหาหมดทุกปัญหาในสากลจักรวาล อย่างที่เราพูดกันมาแล้วว่า ธรรมคือหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่ แล้วจะมีปัญหาอะไรเหลือ หรือถ้ามันทำหน้าที่ผิดไป มันจะเป็นธรรมที่ผิด เป็นบาปอกุศล ในบาลีเขาว่า คือธรรมดำ ธรรมขาว กรรมดำ กรรมขาว มีใช้กันมาก เราไม่เคยนำมาพูดกันเอง เราใช้คำอื่นว่า บาป กุศล อกุศล เขาควรจะทำหน้าที่ให้มีชีวิตรอด ก็เป็นธรรมที่ผิดไปเสีย เป็นธรรมที่ดำ ตรงข้ามกับขาว ซึ่งเป็นธรรมที่ถูก แต่ที่เราใช้ธรรมเพียงคำเดียว คือการทำหน้าที่ที่ถูกต้อง ตามการมุ่งหมายของการมีชีวิต ขอให้จำความหมาย และหลักนี้ ซึ่งเป็นหลักที่ตรงความหมายตามวิทยาศาสตร์มากที่สุด

ที่จะพูดในวันนี้ก็คือธรรม ธรรมะของวิทยาศาสตร์ จากธรรมชาติ สัจธรรมของธรรมชาติ คือวิทยาศาสตร์ของธรรมชาติ ช่วยกำหนดไว้ด้วยว่า เราต้องเผยแผ่ธรรมะ ในฐานะวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาต้องเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้าเป็น Philosophy ก็ยังไม่ถึงหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นการศึกษาคาดคะเน เทียบเคียงเกี่ยวกับพุทธศาสนา ถ้าเป็นไสยศาสตร์มันก็เป็นเปลือกหุ้มนอกสุดของศาสนา ติดมาในสมัยดึกดำบรรพ์ ไม่ใช่พระศาสนาที่แท้จริง ขอให้ยึดหลักธรรมะ ตามวิทยาศาสตร์เสมอ เพราะมันคือหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต ตามกฎของธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมจะให้ชีวิตอยู่รอด ที่ว่า The fitted is survival ถ้าไม่เหมาะสมก็คือไม่รอด แล้ว fitted มันก็คือมัชฌิมาปฏิปทา ที่เรารู้ดีว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอย่างไร แต่เรากลับจำได้แค่ตัวหนังสือ ไม่ไกลไปถึงวิทยาศาสตร์ บางทีก็เลยไปไสยศาสตร์ ธรรมะคือหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต ตามธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติ เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อสะดวก ขอให้สนใจธรรม ตามที่อาตมาพยายาม ศึกษา สังเกต ประมวล รวบรวมมาหลายปี แล้วบอกกล่าวเพื่อนฝูงมากขึ้นไปว่า ถ้าจะเข้าใจธรรม ตามหลักวิทยาศาสตร์ นั้นแยกออกได้เป็นสี่อย่าง แต่สี่อย่างนั้นเอามาจากบาลี ไม่ใช่ว่าเอาเอง ธรรมะในความหมายที่หนึ่งคือธรรมชาติ ทั้ง รูปธรรม นามธรรม สังคตธรรม อสังคตธรรม นี่ก็แปลว่าธรรมชาติทั้งนั้น นั่นเป็นตัวธรรม ตามสภาวะธรรมตามธรรมชาติ ทีนี้ลึกเข้าไปอีกในความหมายที่สอง ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ที่จะเป็นไปอย่างถูกต้องจึงจะรอดชีวิต กฎนี้คือเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กฎแห่งเหตุและปัจจัย สรุปได้และที่เน้นได้ คือกฎอิคะปัจญตา คือสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าเคารพอย่างสูงสุด สัจธรรมคือ Truth คือความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดที่รวมเป็นกฎของธรรมชาติเราเรียกว่าสัจธรรม แต่ถ้าเราเลือกมาใช้เฉพาะกรณี อาตมาขอเรียกว่า ธรรมะตัจจะ เหมือนตู้ยา มียาตั้งหลายอย่าง แต่จะกินยา ก็เลือกเอายามาอย่างเดียว ให้ถูกกับโรค ธรรมะมีตั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ รวมเรียกว่าสัจธรรม แต่พอจะใช้จริงๆมันมาทีละข้อเฉพาะโรค เฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณี ทีนี้ธรรมะความหมายที่สามคือ ปฏิปติธรรม คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฏิบัติ ในกฎของธรรมชาติที่กล่าวไปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องเคารพ เชื่อถือเหมือนพระพุทธเจ้า และพอมาถึงหน้าที่ ก็เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ มิฉะนั้นมันตาย ตายทางร่างกายก็ได้ ทางวิญญาณก็ได้ หรือตายทั้งสองอย่างก็ได้ หน้าที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทุกระดับ ไล่ขึ้นมาตั้งแต่ ต้นไม้ จนถึงสัตว์เดรัจฉาน จนถึงมนุษย์ ทีนี้ความหมายสุดท้าย ธรรมะในความหมายที่สี่คือ ปฏิเวธธรรม คือผลของหน้าที่ ที่ได้ดื่ม ได้กิน ได้เสพ อยู่กับใจ เป็นสันทิฐิโก ถึงที่สุดเป็นผลของธรรม ดังนั้นเราได้สี่ความหมายอย่างนี้ ทั้งสี่ความหมาย ยิ่งดู ยิ่งเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นวัตถุสำหรับการศึกษาของวิทยาศาสตร์ เราจะเรียกว่า สังคตธรรม ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือ อสังคตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ได้ พอฝรั่งนึกถึงคำสองคำนี้ ที่เราเรียกเป็นธรรมชาติ แต่เขาไม่ได้เรียกว่าธรรมชาติ ฝรั่งเรียกว่า s uper natural เราเรียกทั้งสังคต และอสังคตธรรม ว่า ธรรมชาติ ไม่ได้เรียกว่า เหนือธรรมชาติ เหมือนฝรั่ง เราเลยมีธรรมชาติ ที่มีความหมายไม่ตรงกับฝรั่ง เราชาวพุทธว่าทุกสิ่งเป็นธรรมชาติ ไม่มีอะไรนอกเหนือธรรมชาติ สิ่งนี้ต้องระวังให้ดี สภาวะธรรมที่เปลี่ยนแปลง คือเป็นสังคตธรรม คือมีการปรุงแต่งเรื่อยไป เปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยงนั้น ความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นตัวมันเอง ทรงตัวมันเองด้วยความเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง มันก็เปลี่ยนแปลงตัวมันเอง จะเห็นชัดว่าเป็นธรรมชาติทั้งนั้น นี้ความหมายที่สองที่เป็นกฎ แต่ในบาลีมีความหมายในทางสัจจะ คือกฎที่บังคับให้เป็นไปตามกฎ แม้ว่าเป็นอสังคตธรรม หรือพระนิพพานก็ต้องมีกฏ ที่ว่านิพพานไม่สามารถปรุงแต่งได้ มันก็ถูก แต่มันเนื่องอยู่ด้วยกฏอิคะปัจญตาจนถึงที่สุดแห่งกฏอิคะปัจญตาจนนิพพาน เช่นอริยสัจเป็นเรื่องของพระนิพพานโดยแท้ ก็มาบัญญัติเอาไว้เป็นสัจจะอันหนึ่ง เราได้ยินแต่ ทุกขสัจ สมุหสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ แต่มีคำที่เราไม่เคยได้ยินอย่าง ทุกขตถา สมุหตถา นิโรธตถา มรรคตถา ตถาคือความเป็นเช่นนั้นเอง คือสัจจะนั้นเอง คือ Truth นั้นเอง ดังนั้นคำว่ากฎ ในภาษาไทยเรานั้นคือ สัจจะ หรือคำว่า ตถา

หน้าที่ 2 – ธรรมะดำ ธรรมะขาว
ในธรรมชาติทั้งหลายมันมีกฎ มันจึงเป็นไปตามกฎ แม้แต่ก้อนหิน มันก็มีกฎของมัน พอเวลาผ่านไป ก้อนหินนั้นก็เปลี่ยนแปลงไป จนสักวันหนึ่งจะไม่เป็นก้อนหิน จะเหลือแต่สสารพลังงาน ไม่ยกเว้นอะไร เพราะทุกสิ่งเป็นธรรมชาติมันก็อยู่ใต้กฎ เป็นสิ่งสูงสุด บางคนว่า พระเจ้าสร้างกฎ ระวังให้ดี ความคิดเรื่องพระเจ้านี่ คิดเมื่อมีมนุษย์แล้ว คนว่าความคิดนี้ขึ้นมาเป็นพระเจ้า คำว่าธรรมถ้าไม่เอาความหมายทางวิทยาศาสตร์อย่างนี้ ให้เป็นในแง่ของศีลธรรม ก็มีคนพูดไว้ดี คือ ระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับมนุษย์ เป็นผาสุกทุกขั้นตอนแห่งชีวิต บอกชาวต่างประเทศว่าเรามีความหมายของคำว่าธรรมอย่างนี้ คุณแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ไหม สั่นหัวทั้งนั้น จะแปลเป็น Technical term ก็ไม่ได้ ต้องแปลเป็นบทบัญญัติ หรือ definition เป็น Code of conduct ว่า Right is to the man at every stages of his evolution. คือว่าถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา มันเป็นคำสั้นๆไม่ได้ มันต้องเป็นประโยคยาวอย่างนี้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าธรรม หน้าที่ของสิ่งมีชีวิต เพื่อความมีชีวิต ที่เป็นไปอย่างถูกต้อง จึงจะรอดอยู่ได้ ถ้าไม่ถูกต้องก็เป็นธรรมะผิด ธรรมะดำ จะทำอันตราย ชาวบ้านเรียกว่าอธรรมแต่จริงแล้วมันเรียกไม่ได้ เพราะมีธรรมอย่างเดียว ถ้าผลดี เรียกว่า ธรรมะขาว ไม่ได้ผลดีเรียกว่า ธรรมดำ ท่านพระพุทธเจ้า ท่านตรัสทั้งภาษาคน คือ มีถูก มีผิด มีแพ้ มีชนะ และทางภาษาธรรม จะเป็นธรรมชาติล้วนๆ ดังนั้นขอให้เราทำหน้าที่เพราะเป็นสิ่งสูงสุด เป็นธรรม เรารักพระธรรม พอใจพระธรรม เราก็ทำหน้าที่สนุก เพราะพอใจ จึงทำได้มาก อาตมาเขียนหนังสือได้ ก็เพราะพอใจในหน้าที่นี้ มันทำงานได้ เมื่ออยู่สวนโมกข์เก่า ทำงานวันละสิบแปดชั่วโมง เห็นว่างานนั่นคือพระธรรม มันก็สนุกในหน้าที่ ถ้าไม่มีอะไรจำเป็นก็ไม่เว้น ถ้าง่วงก็ต้องนอนบ้าง ต้องฉันอาหารบ้าง ที่เหลือทำหน้าที่หมด เขียนไปบ้าง อ่านไปบ้าง ท่องจำไปบ้าง มันก็ทำงานได้มากกว่าธรรมดา แต่ก็ไม่เกินธรรมชาติ ดังนั้นขอให้ทุกคนพอใจในหน้าที่ ชื่นอกชื่นใจเมื่อได้ทำหน้าที่ แล้วจะทำให้ลืมสึก อาตมาลืมสึกได้เพราะเหตุนี้ เห็นธรรมะเป็นของสนุก จึงอยู่ได้ ทำโดยไม่มีอะไรบังคับ เพราะมันสนุก ไม่เหน็ดเหนื่อย เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ถ้าสั้นๆเหมือนคำว่า กรณี แปลว่า ต้องทำ ต้องทำก็คือหน้าที่ จนเป็นพระอรหันต์ก็กรณียัง หมายถึงทำหน้าที่จนเสร็จแล้ว ถึงแล้วซึ่งสิ่งสูงสุด แล้วก็ยังมีคำที่เราเข้าใจไม่ค่อยจะถูก คือ ตถาคต ตถา แปลว่า สัจจะหรือกฎ ที่พูดไปแล้ว ตถาคต จึงแปลว่า การถึงแล้วซี่งตถา ถึงแล้วซึ่งความคงที่ ซึ่งความไม่เปลี่ยนแปลง ก็คือพระอรหันต์ พระอรหันต์ทุกองค์เป็นตถาคต นี่มีหลักทางบาลีและทางธรรมะ แต่เราไม่สนใจกัน ค้นดูเองเถิด มันมีเหตุผล ความหมายมากมายอยู่ในบาลีนั้น ฉะนั้นเราจะยังมีหน้าที่อยู่จนถึงตถาคต ธรรมะเป็นไปเพื่อจุดนั้น คือหน้าที่ ในเมืองไทย ธรรมะไม่ได้แปลว่าหน้าที่ แต่เขาแปลกันว่าเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่ขอให้เปลี่ยนใหม่ ให้ธรรมะแปลว่าหน้าที่ แล้วประชาชนจะปฏิบัติธรรมะ และทำหน้าที่สนุก แล้วประชาชนก็จะไม่ยากจน ไม่มีปัญหาของประเทศชาติ เพราะเขาบูชาหน้าที่ ทำหน้าที่สนุก ทำงานวันละสิบแปดชั่วโมง เดี๋ยวนี้มันทำงานวันละแปดชั่วโมง ยังเรียกร้องขึ้นค่าแรง อย่างนี้มันไม่รู้จักหน้าที่ และพูดถึงความหมายสุดท้ายคือ ผลของหน้าที่ เมื่อทำหน้าที่แล้ว มันต้องมีผล เราก็ได้ผล อยู่ในโลกนี้สบาย แล้วก็เลื่อนขึ้นไปเหนือโลก คือ บรรลุมรรคผลนิพพาน การทำหน้าที่จะให้ผลทั่งทางโลกียะ และทางโลกุตร ซึ่งเราอยู่รอดได้ เพราะผลทางโลกียะ และเราจะถึงที่สุด เป็นฝ่ายโลกุตร ธรรมมีสี่ความหมายอย่างนี้ แล้วก็หมด จะเรียกสั้นๆว่า ธรรมชาติ กฎ หน้าที่ แล้วก็ผล ทีนี้คำถามที่คุณจะถาม จะกี่ล้านคำถาม คำตอบก็มีธรรมะคำเดียว ทำไมจึงเป็นสุข ทำไมจึงเป็นทุกข์ ทำไมจึงเกิดอีก มีคำตอบธรรมะคำเดียว แล้วมันเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย ไม่ใช่เรื่องเหลวไหลอะไร นี่คือธรรม ที่อาตมานำมาพู ด เพื่อถวายความคิด ความเห็นอะไร แล้วแต่เรียก ขอให้เอาไปใคร่ครวญ พิจารณาศึกษา แล้วใช้ให้เป็นประโยชน์ ถ้าแสดงธรรม เราก็บอกเขาในหน้าที่ที่เขาจะต้องทำ ไม่อย่างนั้นไม่ใช่แสดงธรรม เวลานี้เป็นเวลาธรรม เพื่อแสดงธรรม เรื่องธรรม ก็หมดแล้วสำหรับการพูดนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/17846

. . . . . . .