หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สอนเรื่องการกินเจ

“คนเรามันไม่ได้วิเศษเพราะการกินผักกินเนื้อนะ แต่มันวิเศษด้วยการกินเพราะการพินิจพิจารณาโดยแยบคาย อันผักหญ้าเนื้อนั้นมันไม่ได้รู้เรื่องดี เรื่องชั่ว เหมือนคนเรา จิตเราดอก

พระธรรมคำสอนแง่หนักเบาต่างหา
ก ที่เรานำมาพินิจพิจารณา แล้วนำมาสอนตนจะทำให้เราดีขึ้นได้ เรื่องกิน อยู่หลับนอน อะไร ๆ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงบัญญัติไว้หมดแล้ว ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรกับกินเจไม่กินเจ กินเนื้อ ไม่กินผัก กินแต่ผักไม่กินเนื้อ อันไหนกินได้ ฉันได้ ท่านก็บัญญัติไว้หมดแล้ว

ถ้าท่านคิดว่าการกินแต่ผักทำให้ท่านเลิศเลย เป็นผู้วิเศษขึ้นมาได้ อันนี้ผมก็สุดปัญญาที่จะสอนท่าน ถ้าการกินแต่ผักอย่างท่านว่า เป็นผู้บริสุทธิ์สิ้นกิเลส จบพรหมจรรย์ได้ มนุษย์ไม่ได้สิ้นกิเลสหรอก วัวควายเป็นต้นนั่นแหละมันจะสิ้นก่อน เพราะมันไม่ได้กินเนื้อ มันกินแต่ผักแต่หญ้า เต็มปากเต็มพุง มันกินแต่ผักแต่หญ้า ทำไมลูกมันถึงเต็มท้องไร่ทุ่งนา

ถ้าการกินแบบท่านว่าเป็นของเลิศ วัวควายมันเลิศก่อนแล้ว เพราะมันเกิดมามันก็กินแล้ว โดยไม่ต้องมีใครคอยสอน ถึงท่านกินยังไง มันก็ไม่เท่าวัวเท่าควายกินหรอก เพราะวัวควายมันปฏิเสธเนื้อโดยประการทั้งปวง กินแต่ผักแต่หญ้า

ถ้าจะกินเจ ฉันเจ กินผักไม่กินเนื้อ ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่การไปหาตำหนิคนโน้นคนนี้ ว่ากินเนื้อเป็นเป_รตเป็นผี มันไม่สมควร แล้วก็มาหลงตน ยกยอตนว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าคนอื่นเขา ท่านดูใจของท่านเองก็ได้นี่ ว่ามันประเสริฐตรงไหนหรือยัง ถ้ายังไม่ประเสริฐให้รีบแก้ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เผาหัวอยู่นั่นล่ะ มันเป็นสิ่งที่ท่านต้องแก้เสียโดยเร็วพลัน ไม่ใช่วัน ๆ เที่ยวแต่ชวนหาคนมากินผัก ไอ้ผักนั้นผมก็กิน

คนเรามันประเสริฐเลิศได้ด้วยความประพฤติ มิใช่เพราะการกิน ส่วนเรื่องการกินเป็นเรื่องรอง ๆ อย่าเอามาเป็นเรื่องเอก ท่านจะกินก็กินเถอะเจ ผักของท่านนั้น ผมไม่เอาด้วยหรอก”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เทศน์แก่พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน เมื่อท่านพูดจบลง คณะญาติโยมที่มาด้วยเงียบกริบ มองตากันปริบ ๆ ไม่มีใครกล้าพูดกล้าแสดงอะไรอีก บางคนคงจะรู้สึกว่า เหมือนฟ้ามันผ่าลงที่กบาลฤดูแล้ง บางคนก็คงจะเห็นเหตุผล ที่ท่านแสดงอย่างคมคาย แต่สำหรับบางคนที่จิตใจไม่ยอมรับความาจริง ก็ถือว่าเป็นกรรมของสัตว์ไป

http://www.siamfishing.com/content/view.php?nid=94773&cat=article

. . . . . . .