รวมคติธรรม คำสอนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่น่าเคารพสักการะเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่มีเมตตา ปฏิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม ท่านเป็รพระอริยสาวก ที่สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฎิปทา คุณธรรม ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไป ก่อให้เกิดแรงศรัทธาปสาทะ ผู้คนมากมายเดินทางเข้าไปกราบขอศีลขอพร ถึงแม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แล้ว ท่านก็ยังละคำสั่งสอนทางธรรม คติธรรม ไว้ให้เราได้ตระหนัก ให้เราได้พิจรณา ให้เราได้รู้
“บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตน มีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา
ไม่ใช่แก่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง”
การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้าง ต้องทำเอาเอง
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
มันเกิดขึ้นมาแล้ว
เกิดดีเกิดชั่ว เกิดผิดเกิดถูก
มันก็ดับไป ถ้ารู้เท่าทันมัน
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ของดีที่หลวงปู่มอบให้ลูกหลานทุกคน
“ของดีอะไร อะไรคือของดี ของดีก็มีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว”
การที่ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้พยาธินั้น ก็มีของดีแล้ว การมีร่างกายแข็งแรง มีอวัยวะ ครบถ้วน ไม่บกพร่องวิกลวิการ อันนี้ก็เป็นของดีแล้วของดีมีอยู่ในตน ไม่รู้จะไปเอาของดีที่ไหนอีก สมบัติของดีจากเจ้าพ่อ เจ้าเแม่ให้มา ก็เป็น ของดีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วทุกคน จะไปเอาของดีที่ไหนอีกของดีก็ต้องทำให้มันเกิดมันมีขึ้นในจิตใจของตน ความดีอันใด ที่ยังไม่มี ก็ต้องเพียรพยายาม ทำให้เกิดให้มีขึ้นนี่แหละของดีของดีอยู่แล้ว ในตัวของเราทุกๆ คน มองให้มันเห็น หาให้มันเห็น ภายในตนของตนนี่แหละ จึงใช้ได้ ถ้าไปมองหาแสวงหาของดี ภายนอกแล้วใช้ไม่ได้
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
“เรื่องราวเต็มโลก เต็มบ้านเมือง เราก็วางเสีย ละเสีย ละอยู่ที่กาด ที่ใจตนนี่แหละ
อย่าไปละที่อื่น การหอบอดีจ และอนาคต มาหมักสมไว้ในใจ ก็เป็นทุกข์ ตัดออกให้หมด…”
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ตา เป็นเหตุ หู เป็นเหตุ จมูก เป็นเหตุ เป็นเหตุแห่งความรักความชัง ตา เป็นเหตุ เมื่อได้เห็นรูปสวย รูปงาม รูปอัปลักษณ์ น่าเกลียดน่าชัง หู เป็นเหตุ ได้ยินเสียงการประโคมขับร้องอันไพเราะ หรือเสียงน่ารำคาญ จมูกและใจก็เหมือนกัน ถ้าดีเป็นน่ารัก มันก็ติดก็หลง ถ้าตรงกันข้าม มันก็เกลียดก็ชัง จึงว่ามันเป็นเหตุ
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ส้วมเคลื่อนที่
ภายใต้หนังกำพร้าของคนเรามีแต่ความโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน มีอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ขังอยู่ภายในร่างกายโดยมีหนังกำพร่าห่อหุ้มอยู่
ถ้าลอกหนังออกจะเห็นร่างมีเลือดไหลโซมกาย เนื้อที่ปราศจากผิวหนังห่อหุ้มจะมองไม่เห็นความสวยสดงดงามเลย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ที่พอจะมองเห็นว่าสวยงามก็ตรงผิวห
นังห่อหุ้มเท่านั้น ผิวหนังนี้ก็ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปไม่ คนเราต้องคอยอาบน้ำชำระล้างทุกวันเพราะสิ่งโสโครกเหงื่อไคลภายในหลั่งไหลออกมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวกายอยู่ตลอดวัน
ถ้าไม่คอยชำระล้างก็จะสกปรกเหม็นสาบน่ารังเกียจ ทางช่องทวารขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ก็หลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาของมันทุกวัน น่ารังเกียจ เลอะเทอะโสมม ซึ่งเจ้าของไม่ปรารถนาจะแตะต้องทั้งๆ ที่เป็นของในกายของตัวเองยิ่งพิจารณาไปคนเราก็คือส้วมเคลื่อนที่ หรือป่าช้าที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่ และเป็นผีเน่าที่เดินได้ดีๆ นี่เอง
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
คนเราหลงกันอยู่ที่ หนัง หนังเป็นเครื่องปกปิดสิ่งที่ไม่น่าดูเอาไว้ ถ้าถลกหนังออก อวัยวะทุกส่วนก็หาส่วนที่น่าดูไม่ได้เลย
เน่าเปื่อย ผุพัง สลายไป ไม่มีส่วนไหนที่จะถือได้ว่าเป็นของมั่นคง
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
การเทศน์การสอนของหลวงปู่ ท่านมักสอนให้ละอดีต ให้ละอนาคต โดยท่านบอกว่า “นั่นมัน ธรรมเมา ถ้าจะให้เป็นธรรมา ต้องให้จิตแน่วนิ่งลงในอารมณ์ปัจจุบัน”
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่พูดอยู่เสมอว่า คนเรานี้แปลก เอาของจริงคือธรรมะให้ไม่ชอบ ไปชอบเอาวัตถุภาย นอกกันเสียหมด ที่พึ่งที่ประเสริฐ คือพระรัตนตรัย นั้นประเสริฐอยู่แล้ว แต่กลับไม่สนใจ พากันไป สนใจแต่วัตถุภายนอก
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง ความพอใจ ก็คือ กิเลส ความไม่พอใจ ก็คือ กามกิเลส กามกิเลสนี้อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี กามตัณหา ที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อความเดือดร้อน ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมด อยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็ อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละ คือ ตัวเหตุ ทำความพอใจ ให้อยู่ที่ใจนี่
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
โอวาทธรรมที่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ ให้เป็นคติแก่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ….
….มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกาย
แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว….
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีวันสำเร็จ
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
การต่อสู้กามกิเลสเป็นสงครามอันยิ่งใหญ่
กามกิเลสนั้นมันร้ายนัก มาทุกทิศทาง
พิจารณาให้รู้แจ้ง เห็นจริง ก็ถอนได้
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
จิต ของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
คำสอน : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ใกล้ตาย จึงนึกถึงพระ
มีทุกข์มาถึง จึงนึกถึงพระศาสนา
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
บรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อไม่มีทุกข์มาถึงตัว มักไม่เห็นคุณพระศาสนา
มัวเมาประมาท ปล่อยกายปล่อยใจ ให้ประพฤติทุจริตผิดศีลธรรมอยู่เป็นประจำนิสัย
เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต่อเมื่อได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งอื่นไม่มีนั่นแหละ
จึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา แต่ก็เป็นเวลาที่สายไปแล้ว
ทำความดีให้เป็นที่อยู่ของจิต
ความดีนั้นเราต้องทำอยู่เสมอให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค
คือ ทางดำเนินไปของจิต มันจึงจะเห็นผลของความดี
ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้วให้ไปรับศีล
เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด
เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา ไฉนจะมาสนใจไยดีกับศีลได้
เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะระลึกได้
เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็นอารมณ์ของจิตแล้ว แต่ส่วนมากใกล้ตายแล้วจึงเตือนให้รักษาศีล
ส่วนคนตายแล้วไม่ต้องพูดถึง เพราะคนตายนั้นร่างกายจิตใจจะไม่รับรู้ใดๆ แล้ว
แต่ก็ดีไปอย่างเหมือนพระเทวทัต ทำกรรมจนถูกแผ่นดินสูบ
เมื่อลงไปถึงคางจึงระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ขอถวายคางเป็นพุทธบูชา
พระเทวทัตยังมีสติระลึกถึงได้ จึงมีผลดีในภายภาคหน้า
ความดีเราทำเองดีกว่า
แม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้วจึงมาขอส่วนบุญ
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ทำอันตรายแม้พระพุทธรูป แผ่เมตตาให้ไปได้รับหรือไม่ก็ไม่รู้
สู้เราทำเองไม่ได้ เราทำของเรา ได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปิติ อิ่มเอิบใจเท่านั้น
ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง
ใจก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ทางของบุญหรือบาปเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเราเอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน
เราทำเอง สร้างเอง อย่ามัวมั่วอดีต เป็นอนาคต มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่เป็น “ธรรมดา”
ความดีต้องทำในปัจจุบัน
สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถไปตัด ไปปลงมันได้อีกแล้ว
สิ่งที่เราทำไปนั้น ถ้ามันดีมัน ก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว
ถ้ามันชั่วมันก็ชั่วไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เช่นกัน
อนาคตยังมาไม่ถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง เราก็ยังไม่รู้เห็นว่ามันจะเป็นอย่างไร
อย่างมากก็เป็นแต่เพียงการคาดคะเนเอาเอง ว่าควรเป็นยังงั้น เป็นยังงี้
ซึ่งมันอาจจะเป็น ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคะเนก็ได้
ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริง ได้สัมผัสจริง
เพราะฉะนั้นความดีต้องทำในปัจจุบัน ทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี
ต้องทำเสียในปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่
เราต้องการความดี ก็ต้องทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้
ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ ก็ต้องทำให้เป็นไปในปัจจุบันนี้…
” ตา หู จมูก เป็นเหตุ ”
( หลวงปู่แหวน สุจิณโณ )
ภาวนา กำหนดใจ ถ้ากำหนดใจได้แล้ว มันจึงรู้ พุทโธ เป็นมรรคของใจ
ถ้าภาวนากำหนดจิตยังไม่ได้ มันก็แพ้กิเลส กิเลสมันอยู่ก่อน
ต้องมีสติรักษาใจจึงจะดี ถ้าไม่มีสติจิตก็จะไปเกาะเกี่ยวอันนั้นอันนี้ทั่วไป
พาให้หลงไป เวลาหลงไป เช่นหลงอะไร ให้ยกอันนั้น ขึ้นสู่การพิจารณา
ตัวอย่างกาย ให้เพ่งแยกส่วนของกายออก แต่ละส่วนเต็มไปด้วยของไม่สะอาด
ไหลเข้าไหลออกตลอดอยู่ทกขณะ
การที่พิจารณาแยกแยะจนเห็นเป็นของไม่งาม ไม่ใช่ของง่าย
ในเมื่อจิตยังแส่ส่ายหาอารมณ์อยู่
ต้องอาศัยความพากเพียรอดทน เมื่อจิตมีกำลังมันจึงสงบ
ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จิตมันก็ไม่เป็นไป
ตัวขี้เกียจขี้คร้านนี้แหละเป็นตัวทำให้เสีย เป็นตัวกิเลส
เวลานั่งประเดี๋ยวหนาว ประเดี๋ยวหาว
พวกนี้เป็นกิเลสทั้งนั้นแหละถ้าพร้อมด้วยการกระทำจึงจะได้กำลัง
ถ้าไม่พร้อมมันก็ไม่มีกำลัง
ร่างกายของเรานั้นที่เราเห็นว่างาม ก็เพราะมีของไม่สะอาดเต็มท้องเต็มไส้อยู่
ถ้าในท้องในไส้ไม่มีอะไรเลย ลองดูซิมันจะงามไหม
ถ้าของในท้องในไส้ไหลออกหมด มันก็เหี่ยวแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น
ถ้าพูดกับความจริงแล้ว ทั้งร่างกายเต็มไปด้วยของเสียทั้งหมด
ถึงอย่างนั้นก็ยังหลงไปว่าเป็นของสวยงาม แต่ใจมันไม่ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดหนา
เราต้องภาวนาพิจารณากลับไปกลับมา ทบไปทวนมาอยู่นั้นแหละ
เราไปหลงของไม่งาม จับอันนั้นต่ออันนี้เลยเห็นว่างามจนติดจนหลง
การภาวนาถ้านอนภาวนา มันเป็นภาวนอนไปเสีย
การฉันอาหารถ้าฉันมากเกินไป เวลาภาวนาก็นั่งหลับไปเสีย
มันหลายเรื่องหลายราว ถ้าอะไรมันมากไป จิตมันไม่สงบ ห้ามมันไม่ฟัง อาหารมันทับ
พวกเรานอนกันอยู่ในท้องของมารดาตั้ง ๙ เดือน ๑๐ เดือน
จึงจะออกมาพ้นร้องไห้ อุแว้ ๆ ได้ ถ้าดีใจก็หัวเราะ เสียใจก็ร้องไห้…
กามนี้เราเคยติดมาแล้วนับอเนกอนันต์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เร่งความเพียรจนรู้แจ้งเห็นจริง
กามตัวเดียวที่ทำให้สัตว์ตาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
เอาเข้ากลายเป็น กามตันหน้าภวตันตา วิภวตันใจ
เมื่อกามเหล่านี้เข้าไปอุดไปตัน หน้า ตา ใจ
แล้วก็เกิดความหลง ความรัก ความชัง ความพอใจ ก็เพราะกาม
ความไม่พอใจก็เพราะกาม มันเกิดขึ้นกับใจ
ตา เป็นเหตุ หู เป็นเหตุ จมูก เป็นเหตุ เป็นเหตุแห่งความรักความชัง ตา เป็นเหตุ
เมื่อได้เห็นรูปสวย รูปงาม รูปอัปลักษณ์ น่าเกลียดน่าชัง
หู เป็นเหตุ ได้ยินเสียงการประโคมขับร้องอันไพเราะ หรือเสียงน่ารำคาญ
จมูกและใจก็เหมือนกัน ถ้าดีเป็นน่ารัก มันก็ติดก็หลง
ถ้าตรงกันข้าม มันก็เกลียดก็ชัง จึงว่ามันเป็นเหตุ
การฆ่ากันก็เพราะกาม รักกันก็เพราะกาม ทั่วอากาศ ทั่วพื้นน้ำและบนบกเต็มไปด้วยกาม
กามตันหน้า ภวตันหู วิภวตันใจ ถ้าจะขยายออกไป มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกกาม
เพราะความพอใจและไม่พอใจก็เกิดจากกามทั้งสิ้น
พิจารณาให้ดี ๆ เป็นอย่างไรมันจึงหลงไป จนกลายเป็นบ๋อยรับใช้ไป
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
แผ่เมตตาไม่มีประมาณ
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสอนให้ศิษย์ทุกคนได้หัดแผ่เมตตา คือส่งความปรารถนาดีแก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร โดยแผ่ไปให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มาก ก็ยิ่งทำให้ในสบาย รักชีวิตและทรัพย์สิน คนอื่นเหมือนกับของตนเอง สังคมก็จะมีความสุขสงบอย่างถ้วนทั่ว
หลวงปู่แนะวิธีแผ่เมตตาให้บังเกิดผล โดยให้ทำตนและจิตใจเหมือนมารดาที่เลี้ยงลูก ให้ความรัก ความเอ็นดูสงสาร มุ่งหวังจะให้ลูกสุขกายสบายใจ มีอาชีพการงาน มีวิชาเลี้ยงตนเอง ได้ ความรักที่แม่ให้กับลูกเป็นความรักที่บริสุทธิ์ไม่มีพิษภัย และไม่ต้องการผลตอบแทนจากลูก มีแต่ให้อย่างเดียว
ถ้าเราแผ่เมตตาเหมือนกับพระอาทิตย์ส่องแสง เมตตานั้นจะมีพลังสูงยิ่ง เพราะธรรมชาติของพระอาทิตย์ขณะที่ส่องแสงไม่ได้เลือกชุมชน สรรพสัตว์ยากดีมีจน อยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ จะใกล้หรือไกล ก็ได้รับความร้อนเท่ากัน
เมตตาธรรมก็เช่นกัน ขอให้แผ่ไปให้แก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะรับได้มากน้อย สุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น
ผู้เขียน (รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์) เพิ่งประจักษ์ในความวิเศษของพระพุทธศาสนาเมื่อปี ๒๕๒๖ นี้เอง ก่อนหน้านั้นมัวไปลุ่มหลงศึกษาวิทยายุทธจากฝรั่งชาติตะวันตกอยู่นาน และเพิ่งมารับสัมผัสบารมีธรรมของหลวงปู่แหวน ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เมื่อครั้งติดตามหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ไปกราบหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป ที่วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
หลวงปู่แหวน ท่านเคยอยู่ที่วัดป่าบ้านปง (วัดอรัญญวิเวก ในปัจจุบัน) นานถึง ๑๑ ปี ก่อนจะย้ายไปพำนักที่ดอยแม่ปั๋ง และหลวงพ่อเปลี่ยน ก็ได้ตามไปอุปัฎฐากหลวงปู่เสมอมา จนกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน
หลวงพ่อเปลี่ยน เล่าให้ฟังว่า “ทุกคืน หลวงปู่แหวน ท่านจะแผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แต่แปลก ที่ประเทศรัสเซีย กับประเทศบริวารรับกระแสเมตตาของท่านได้บ้างเล็กน้อย ส่วนเวียตนามไม่ยอมรับเลย สะท้อนกลับคืนหมด ประเทศเขาจึงวุ่นวายตลอด มาภายหลังก็เริ่มรับได้มากขึ้น และหลวงปู่ บอกให้หลวงพ่อเปลี่ยน ช่วยแผ่เมตตาให้ประเทศเวียตนามมากๆ ให้ทำทุกคืน
หลวงพ่อเปลี่ยน ท่านว่า “พลังจิตของหลวงปู่เปรียบได้กับแสงพระอาทิตย์ ของอาตมา เป็นแค่แสงหิ่งห้อย เปรียบกันไม่ได้ แต่อาตมาก็ทำตามที่หลวงปู่บอกทุกคืน ตอนนี้เขาเริ่มดีขึ้น และจะดีขึ้นเรื่อยๆ …”
หลวงพ่อปรารภว่า ท่านอยากเอาหนังสือธรรมะไปแจก โดยเฉพาะแจกให้ “พวกตัวใหญ่ๆ”ซึ่งท่านรู้ว่าควรจะแจกให้ใคร และที่ใด เป็นการช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้เขียนจึงได้มีส่วนร่วม ด้วยการไปหาผู้แปลและจัดพิมพ์หนังสือ “เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” ซึ่งเป็นคำเทศน์ของหลวงพ่อ ออกมาเป็นภาษาเวียตนาม ตามความ ประสงค์ของท่าน
ณ จุดนั้นเป็นต้นมา ผู้เขียนและครอบครัว จึงได้เริ่มสัมผัสกระแสเมตตา และได้รับรู้เรื่องราว เกี่ยวกับบารมีธรรม ของหลวงปู่แหวนมาโดยลำดับ นับเป็นบุญและเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต ตลอดมา
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
” การกระทำส่งถึงผล ”
( หลวงปู่แหวน สุจิณโณ )
เงินทอง ส่งถึงโรงพยาบาล
ลูกหลาน ส่งถึงหลุมศพ
บุญกุศล ส่งถึงภพหน้า
ภาวนา ส่งถึงนิพพาน
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ของเก่าปกปิดความจริง ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด
จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน
ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน
ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีความสำเร็จ
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
“คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง”
“คนเราเกิดมา นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ในใจ ปล่อยผ่านไปเสีย”
“ตัดอดีด อนาคต ลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ ในปัจจุบัน”
“ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร ไม่มีความสำเร็จ”
“มองดูท้องฟ้า เห็นดวงดาวเต็มไปหมด การเกิด การตาย ไม่รู้ว่าอีกเท่าไหร่ เกิดแล้วตาย เกิดแล้ว ตาย…..”
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ และเทวดา
ได้ถูกไฟ 11 กอง เผาอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์นานาประการ 11 กอง คือ
1. ราคะ ความกำหนัดชอบใจ อยากได้กามคุณ 5 มีรูปเป็นต้น
2. ไฟโทสะ คือ ความโกรธ มีความไม่พอใจเป็นลักษณะ
3. ไฟโมหะ ได้แก่ ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง
โผฎฐัพพะ ลังเล ใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์
4. ชาติ คือ ไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์
5. ชรา คือ ไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์
6. มรณะ คือ ไฟแห่งความตายอันเป็นทุกข์
7. โสกะ คือ ไฟแห่งความเศร้าโศก
8. ปริเทวะ คือ ไฟบ่นเพ้อร่ำไร รำพัน
9. ทุกขัง คือ ไฟแห่งความทุกข์ลำบากกายใจ
10. โทมนัส คือ ไฟแห่งความเสียใจ
11. อุปายโส คือ ไฟแห่งความคับแค้นใจ
ไฟทั้ง 11 กองนี้แหละเผาลนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ต้องพากันงมงาย เวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์ต่างๆ
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
” นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ”
( หลวงปู่แหวน )
ทำใจของตนให้แน่วแน่
มันจะไปสงสัยที่ไหน
ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้น
เป็นความพอใจไม่พอใจ
มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน
ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป
ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป
ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด
จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน
ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน
แจ้งอยู่ในปัจจุบัน
การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน
พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง
เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วมันก็วางเอง
( หลวงปู่แหวน สุจิณโณ )
” ให้ตั้งสัจจะ ”
( หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ )
การปฏิบัติเราจะเดินก็ให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น
หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหวเราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริงๆ
กำหนดตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด
คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัจจะว่าจะภาวนาเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้
หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนด ระวังรักษาจิตใจของเราให้แช่มชื่นเบิกบาน
ไม่ปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม
อย่าละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกัน
จะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอน
อย่างนี้ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละ ให้ผ่องใสตลอดไป
บุคคลที่ทนในสิ่งที่คนอื่นทนได้ยาก ทำในสิ่งที่คนอื่นทำได้ยาก
บุคคลนั้น จะเข้าถึงความสำเร็จของชีวิต
ความอดทน ความขมขื่น
จะเกิดขึ้นในเบื้องต้นของการทำความดี
แต่จะได้รับความชื่นชมในบั้นปลาย
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
“ทำตัวให้เหมือนทองคำ วางอยู่เฉยๆ”
ใครจะด่า…ใครจะว่าก็ให้เฉยๆ เหมือนกับก้อนทองคำนี้
“ทองคำเป็นของมีค่า”
ฉะนั้น…ต้องทำตัวทำใจ ให้เหมือนกับทองคำ
คติธรรม : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dookorea.com