รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 6 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

แสง แห่งปัญญา มีอานุภาพใหญ่ยิ่ง

ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา ปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญาดัง

นั้น ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถควบคุมความคิดมิให้ก่อให้เกิดความทุกข์ได้ นั่นคือผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถพา

ใจหลีกพ้นความเศร้าหมองของกิเลสได้ ผู้ไม่มีปัญญาหาทำได้ไม่ ความทุกข์ทั้งหลาย หลีกไกลได้ด้วยปัญญา ปัญญามี

อำนาจเหนือความคิด ก็คือ ปัญญามีอำนาจเหนือกิเลสนั่นเอง เพราะเมื่อปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดก็จะไม่ปรุง

แต่งไปกวนกิเลสที่มีอยู่เต็มโลก ให้โลดแล่นเข้าประชิดติดใจ จึงเป็นการควบคุมกิเลสได้พร้อมกับการควบคุมความคิด

ความเกิด เป็นทุกข์ เพราะความเกิดนำมาซึ่งความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจและ

ความไม่ประจวบด้วยสิ่งปรารถนาทั้งปวง ความทุกข์เหล่านี้หนีไม่พ้น เพราะเป็นผลตามมาของความเกิดอย่างแน่นอน

ความทุกข์ทางกาย…หนีพ้นได้ด้วยการไม่เกิดเท่านั้น ส่วนความทุกข์ทางใจ…หนีได้ด้วยความคิด อานุภาพแห่งแสงของ

ปัญญาสติต้อง รู้ก่อนว่า กิเลส คือ โลภะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัวใดกำลังเข้าประชิดจิตใจ เมื่อมีสติรู้..ก็ให้ใช้ “ปัญญา

วุธ” คือ ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ ด้วยความคิดง่าย ๆ ว่า กิเลสเป็นความเศร้าหมอง กิเลสไม่ว่าความโลภ ความโกรธ หรือความ

หลง จะนำความมืดมัวเศร้าหมองให้เกิดแก่จิตใจ ยังให้เป็นทุกข์เป็นร้อนไปร้อยแปดประการ เมื่อปรารถนาความไม่เป็น

ทุกข์ ต้องไม่ยอมตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง ต้องไม่โลภ ต้องไม่โกรธ ต้องไม่หลง ไม่มีสิ่งใดที่น่า

กลัวเสมอความไม่สบายใจ ไม่มีอะไรเลยที่มีค่าเสมอกับจิตใจ สมบัติทั้งปวงที่จะเกิดแต่ความโลภ ก็มีค่าไม่คุ้มกับความ

เสียหายที่จะเกิดแก่จิตใจ จึงความรักษาใจไม่ให้เสียหาย ไม่ให้เศร้าหมอง ด้วยความบดบังของกิเลส ความคิดอัน

ประกอบด้วยปัญญา ความคิดอันประกอบด้วยปัญญา สามารถหยุดยั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง มิให้เคลื่อนตัวเข้า

ห้อมล้อมจิตใจได้จริง ดังเช่นเมื่อจะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ว่าไม่ได้รับความรักความสนใจจากคนนั้นคนนี้ ความรู้สึก

น้อยเนื้อต่ำใจจะสิ้นสุดได้ ถ้าจะคิดได้ด้วยปัญญา ใจของทุกคนเปรียบดังบ้านของเขา บ้านของใครใครก็มีสิทธิที่จะต้อน

รับใครอย่างใดก็ได้ ตรงไหนของบ้านก็ได้ หรือแม้แต่จะไม่เปิดประตูรับให้เข้าบ้านก็ยังได้ ความสำคัญอยู่ที่ตัวเรา ต้องวาง

ตัวให้เหมาะสมกับสถานที่ที่เจ้าของบ้านต้อนรับ เขาให้ยืนอยู่หน้าประตูบ้าน ก็ยืนให้เรียบร้อยสงบอยู่ อย่าให้เป็นเป้าสาย

ตาผู้ผ่านไปมา อย่าให้เขารู้สึกว่าเราเป็นตัวตลก เต้นเร่า ๆ ต่อว่าต่อขานการต้อนรับของเจ้าของบ้าน เรียกร้องจะเข้าบ้าน

เขาให้ได้ หรือถ้าเขารับเราที่ห้องรับแขก เราก็ต้องวางตัวให้สมกับที่เขาต้อนรับเรา หรือถ้าเขาต้อนรับเราถึงห้องนอน เราก็

ต้องปฏิบัติให้ควรแก่ความสนิทสนม หยิบจับช่วยเขาจัดห้องให้เรียบร้อยได้ ก็ทำให้เกิดประโยชน์แก่เขาผู้ถือเราเป็นเพื่อน

สนิท ความคิดที่ต้องคิดก็คือ บ้านเขา…เขาจะรับเราตรงไหน เราก็ต้องรักษากิริยามารยาทอยู่ตรงนั้นให้งดงามเหมาะสม

ใจเขารับเราอย่างไรก็เช่นเดียวกัน เป็นสิทธิของเขา ถ้าคิดไปให้น้อยใจ เราก็ทุกข์เอง หาสมควรไม่ ความไกลกิเลสได้ พา

ให้ไกลทุกข์ได้ ชีวิตนี้ของทุกคนน้อยนัก น้อยจริง ๆ และวาระสุดท้ายจะมาถึงวินาทีใดวินาทีหนึ่งหารู้ไม่ จึงไม่ควร

ประมาทอย่างยิ่ง คิดให้ไกลกิเลสให้ได้จริง ๆ เถิด เพราะความไกลกิเลสเท่านั้นที่จะพาให้ไกลทุกข์ได้ ความคิดนั้นแก้

กิเลสได้ ดับกิเลสได้ คือ ทำที่ร้อนให้เย็นได้ ความสำคัญอยู่ที่ต้องคิดให้เป็น คิดให้ถูกเรื่อง ถูกจริตนิสัยของตน ความ

สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ต้องมีความจริงจังที่จะดับความร้อนในใจตนเมตตา : เครื่องดับความร้อนของกิเลสความโกรธ

เป็นความร้อนที่รู้สึกได้ง่าย เพราะเป็นความรู้สึกที่รุนแรงและเด่ชัด ยิ่งกว่าความรู้สึกรักหลง สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เมตตาเป็นเครื่องดับความโกรธได้ และเมตตาก็หาใช่การคิดหรือการพูดว่า “จง เป็นสุดเป็นสุข

เถิด” เท่านั้นไม่ ผู้ปรารถนาจะเป็นผู้มีเมตตา เห็นใจในความทุกข์ของเพื่อร่วมทุกข์ทั้งปวง ไม่ว่าเห็นหน้าใครก็จะเห็น

ความทุกข์ของเขาเสมอไป แม้เป็นเพียงคิดเอาเท่านั้นว่าคนนั้นคนนี้อาจจะกำลังมีทุกข์เช่นที่ตนเองเคย มี อันการคิดถึง

ใจตนเมื่อยามทุกข์ร้อนนั้น เป็นวิธีที่จะทำให้เข้าใจซาบซึ้งในความทุกข์ของผู้อื่นได้ เราทุกข์เป็นอย่างไร คนอื่นทุกข์ก็

เช่นเดียวกัน ปรารถนาจะได้รับความเมตตาเห็นใจ ช่วยคลายทุกข์ให้ด้วยกันทุกคนบางคนโชค ดี ได้พบด้วยตนเองว่า ผู้

ที่ดูมีความสุขนั้น เมื่อหมดความอดกลั้นระบายความทุกข์ออกมา ก็จะเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อว่ากิริยาท่าทีของเขา สามารถ

พรางความเร่าร้อนในหัวอกของเขาไว้ได้มิดชิดเหลือเกิน จนเมื่อพบเห็นแล้วไม่ได้รู้สึกเลยว่าเขาเป็นผู้หนึ่งซึ่งกำลังมี

ความทุกข์ นักหนา ต้องการความเมตตาเห็นใจอย่างยิ่ง เพื่อนร่วมโลกของเราทั้งนั้นเป็นเช่นนี้ อย่าคิดว่าคนอื่นมีความ

สุข ตนเองเท่านั้นที่มีความทุกข์ ความคิดเช่นนั้นผิดแน่นอน เมตตาก็ไม่เกิดจริงเมื่อมีความคิดเช่นนั้น จะเกิดก็แต่เพียง

ปากว่าเท่านั้น นั่นน่าเสียดายนัก ตั้งใจคิดให้เห็นถึงความทุกข์ของผู้อื่นการเฝ้า แต่คิดว่า ทุกคนมีความทุกข์ ทั้ง ๆ ที่ ภาย

นอกของเขาดูเป็นสุข ก็น่าสงสัยว่าจะมีเป็นการคิดในแง่ร้ายจนเกินไปหรือ ผู้ช่างคิดเช่นนี้จะมีเป็นคนหาความสุขใจไม่ได้

หรือ จะมีเต็มไปด้วยความทุกข์ทั้งชีวิตจิตใจทุกเวลานาทีหรือ ที่จริงก็น่าสงสัยเช่นนี้เหมือนกัน แต่ความจริงนั้นอยู่ที่ว่า ผู้

ตั้งใจคิดให้เห็นความทุกข์ของผู้อื่นนั้น เป็นผู้มีเมตตาจิตเป็นพื้น มุ่งคิดเช่นนั้นเพื่ออบรมเมตตาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้นผลที่จะ

เกิดจากการเห็นความทุกข์ของผู้อื่น จึงจักไม่เป็นอื่น นอกจากเป็นความเมตตาที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเท่านั้น ดับความ

โกรธ…ด้วยพลังแห่งความเมตตา เมื่อใจกำลังจะร้อนด้วยความโกรธ เพราะการกระทำคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง ผู้มุ่ง

มั่นอบรมเมตตาให้เกิดในใจตน จะสามารถหยุดความโกรธได้อย่างไม่ยากจนเกินไปนัก เพียงด้วยความมีสติรู้ว่า กำลัง

โกรธเขาแล้ว เพราะเขาพูดเขาทำที่ไม่เหมาะไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อสติรู้อารมณ์ตนเช่นนั้น ผู้มั่นคงอยู่ในการอบรมเมตตา ก็

ดำเนินวิธีดับความโกรธต่อไป ด้วยการตำหนิหรือเยาะเย้ยตัวเองว่า นี่หรือคนมีธรรมะ คนมีเมตตา เพียงเท่านี้ก็เมตตาไม่

พอแล้ว เมตตาไม่พอ เมตตาไม่พอ เมตตาไม่พอ ความคิดเช่นนี้จะดับความโกรธได้จริง ในเวลาไม่เนิ่นช้าทุก ชีวิต ล้วน

เป็นไปตามกรรม คนไม่ได้เกิดมาเสมอกันทุกคนไป มีเกิดในตระกูลสูง เกิดในตระกูลต่ำ เกิดในเครื่องแวดล้อมดี เกิดใน

เครื่องแวดล้อมไม่ดี ทั้งนี้ก็เพราะเป็นไปตามกรรม กรรมในอดีตชาติของผู้ใดดี ผู้นั้นก็ได้เกิดดีในภพชาตินี้ การที่จะให้

กิริยาวาจาใจของทุกคนเหมือนกันหมด…จึงเป็นไปไม่ได้ ต่างก็เป็นไปตามกรรมของตน ความคิดให้ถูกต้องจะทำให้

คลายความขัดเคืองใจ เมื่อได้พบ ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังกิริยาท่าทาง หรือถ้อยคำน้ำเสียงที่ไม่สุภาพเรียบร้อย แต่รุนแรง

หยาบคาย คนเราเกิดมาไม่เสมอกันได้รับการอบรมมาแตกต่างกัน เป็นความบกพร่องของแต่ละคน แต่ละอดีตชาติ ที่

ประมาทในการทำกรรม ไม่ทำกรรมดี…จึงเลือกเกิดให้ดีในภพชาตินี้ไม่ได้ ความโกรธ…เป็นโทษแก่จิตใจอย่างมหันต์ ทุก

วันนี้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผู้รับรู้มีความหวั่นไหวไปตามกัน ด้วยความสลดสังเวชสงสาร ก็ยังนับว่าไม่เป็นโทษ

แก่จิตใจมากมายนัก แต่ด้วยความโกรธแค้นผู้ก่อกรรมทำเข็ญนั้น นับว่าเป็นโทษแก่จิตใจอย่างมาก ไม่พึงปล่อยปละ

ละเลยให้เกิดความรู้สึกดังกล่าวอีกต่อไป ควรแก้ไขให้หยุดความรู้สึกโกรธแค้นในความโหดเหี้ยมใจดำอำมหิต ของผู้ก่อ

กรรมร้ายแรงให้จงได้ จะได้ไม่เป็นการรับเอาความเศร้าหมองของผู้ก่อกรรมร้ายมาเป็นความเศร้าหมอง ของตนด้วย ซึ่ง

เป็นความไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง อกุศลจิตอกุศลกรรมของใคร ก็ให้เป็นผลเกิดแก่คนนั้น อย่าข้าไปร่วมรับมาเป็นผลของตน

ต้องไม่ยอมปล่อยใจให้หวั่นไหวไปด้วยความขัดเคือง โดยมีความสงสารผู้รับเคราะห์กรรมร้ายเห็นเหตุ เพราะไม่ถูก

ต้องอย่างยิ่ง เหตุร้ายแรงอันเกิดจากกิเลสของมนุษย์ เหตุร้ายแรงอันเกิดจากกิเลสของมนุษย์นั้น ควรนำมาเป็นครูผู้อบรม

จิตใจได้อย่างดีที่สุด เพราะความโลภหรือความโกรธหรือความหลงแท้ ๆ ที่คนสามารถทำร้ายถึงเข่นฆ่ากันได้อย่างโหด

เหี้ยมอำมหิต ปราศจากเมตตาแม้แต่นิดในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นผู้อยู่ร่วมโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ร้อน

นานาประการด้วยกัน กิเลสแผลงฤทธิ์ให้เห็นอยู่ชัด ๆ เป็นฤทธิ์ที่ร้ายแรงนักหนา จนสามารถทำให้กระทบกระเทือนถึง

ชีวิตจิตใจอย่างรุนแรง พึงหาประโยชน์จากความรุนแรงอันเกิดแต่กิเลสผู้คน จำนวนมาก พลอยได้รับความกระเทือนจา

กิเลสร้ายแรงของผู้ปราศจาสิ้นซึ่งแสงสว่างของเมตตา เราเป็นคนนอกพึงถือเอาประโยชน์จากเหตุการณ์รุนแรงอันเกิด

แต่กิเลสให้ได้ทุก ครั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ร้าย แม้เพียงด้วยการได้รู้ได้เห็น พึงมองให้เห็นความน่าสะพรึงกลัวของ

กิเลส พึงหนีไกลให้เต็มสติปัญญาความสามารถ มีความคิดเป็นเครื่องนำทาง คือ นำให้รู้สึกชัดแจ้งว่า กิเลสนั้นมีห้อมล้อม

จิตใจผู้ใด ย่อมนำผู้นั้นให้คิดพูดทำที่ผิดร้ายได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขีดสุด ถึงฆ่าได้กระทั่งผู้ปราศจากความผิด

ไร้เดียงสา แม้ว่ากีดขวางทางกิเลสอยู่ แสงแห่งปัญญาที่แรงกล้า…ผลักดันกิเลสได้ การที่ใครคนใดคนหนึ่ง ยังอยู่ได้เป็น

ปกติสุขพอสมควร ไม่แผลงฤทธิ์ต่าง ๆ นานา ก็เพราะกิเลสยังห่อหุ้มครอบคลุมจิตใจไม่หนักหนา ไม่ถึงกับทำให้ก่อกรรม

ทำบาปรุนแรงแต่ถ้า ประมาท ไม่พยายามหนีกิเลสที่แวดล้อมอยู่ให้ห่างไกลไว้เสมอ พอเผลอกิเลสที่มีอยู่เต็มโลกทุกแห่ง

หน ก็จะเข้ารุมล้อมมากมายยิ่งขึ้น เรื่องของกิเลสกับจิตนั้นเป็นเรื่องแลเห็นได้ยากมาก เพราะเป็นนามธรรมทั้งหมด ต้อง

ยอมเชื่อท่านผู้รู้ที่ปฏิบัติรู้แจ้งแล้วว่ามีกิเลสห้อมล้อมจิตใจอยู่ จริงจัง ถ้ายังเป็นจิตใจของผู้ยังมิได้มีจิตใจของพระอรหันต์

ที่ไกลกิเลสแล้วสิ้นเชิง แต่มีความแตกต่างกัน ที่จิตบางดวงกิเลสห้อมล้อมเพียงบางเบา เพราะยังมีแสงแห่งปัญญาที่

แรงกล้ากว่าแรงของกิเลส คอยขจัดปัดเป่าให้หนีไกลอยู่ แต่จิตบางดวงกิเลสห้อมล้อมหนาแน่นยิ่งขึ้นทุกที เพราะไม่มี

แสงแห่งปัญญาที่แรงกล้าพอจะผลักดันกิเลสได้เลย ทางเกิดของปัญญา ปัญญาหรือเหตุผลจะแสดงออกในรูปของความ

คิด คือ ต้องคิดให้ดีให้ถูกให้ชอบ ปัญญาจึงจะทำงานได้ ที่กล่าวว่าให้ใช้ปัญญาก็คือ ให้คิดให้มีเหตุผลนั่นเอง ความคิด

เป็นความสำคัญ ไม่คิดให้ถูกให้ชอบก่อน ปัญญาก็ไม่ปรากฏขึ้นได้ คือ ไม่คิดให้ปัญญาฉายแสงขจัดความมืดก่อน ความ

เศร้าหมองก็จะสลายไปจากใจไม่ได้ในทางตรง กันข้าม ไม่คิดให้ผิดให้ไม่ชอบก่อน ความรู้ไม่ถูกก็ไม่ปรากฏขึ้น คือ ไม่

คิดให้มืดมน ความทุกข์ร้อนใจก็จะไม่เกิด ความคิดจึงสำคัญนัก พึงระวังความคิดให้จงดี ให้เป็นความคิดที่เปิดทางให้

แสงแห่งปัญญาฉายออก อย่าให้เป็นความคิดที่ปิดกั้นทางมิให้แสงแห่งปัญญาปรากฏได้คนตกอยู่ ในความมืด หรือคน

ตาบอด อยู่ในสภาพเช่นไร คนใจบอดก็เช่นเดียวกัน จะไม่ก้าวเข้าไปสู่ความทุกข์ ความเดือดร้อนนั้นใจกายนั้น…ไม่มี

ความคิด…เครื่องมือทำลายกิเลสพระพุทธ ศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญาสูงสุด คือ เป็นศาสนาที่อบรมให้ไม่เป็นทาสของ

ความมืดมิด คือ กิเลส เครื่องมือทำลายความมืดมิดมีอยู่ด้วยกันทุกคนแล้ว แต่ต้องลับให้คมให้กล้าให้มีกำลังเครื่อง มือ

นั้น คือ “ความคิด” ที่ต้องอบรมให้เป็นความคิดที่ดี ที่ถูก ที่ชอบ จึงจะปรากฏแสงแห่งปัญญาสว่างไสว ขับไล่กิเลสเหตุ

แห่งความมืดให้ห่างไกลได้ ตั้งแต่ชั่วครั้งชั่วคราว จนถึงตลอดไปทุกคนมี ความคิด ทุกคนคิดอยู่ตลอดเวลานอกจากหลับ

หรือปฏิบัติธรรมถึงเข้าภวังค์ คุมความคิดให้ดี อย่าให้ความคิดด้วยความโลภ ความโลภเกิดขึ้นได้ง่ายทุกเวลานาทีอยู่

แล้ว ความอยากได้นั่นได้นี่เป็นความโลภ และความอยากได้อะไรต่อมิอะไร เป็นต้นว่า อยากได้แก้วแหวนเงินทอง ความ

อยากนั้นก็มิได้เกิด เพราะแก้วแหวนเงินทอง อันเป็นของที่ใคร ๆ ก็ต้องอยากได้ แต่ความอยากนั้น เกิดแต่ความคิดปรุง

แต่งของแต่ละคนเองว่าสวย ว่างาม ว่ามีค่า มีราคา สามารถเพิ่มชื่อเสียงเกียรติยศให้ได้ ถ้าความคิดปรุงแต่งเช่นนั้นไม่

เกิดขึ้น ความอยากได้ก็จะไม่เกิดขึ้นด้วย สมบัติล้ำค่าที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน ผู้มุ่งความไกลจากทุกข์ พึงควบคุมความ

คิดให้ดี เมื่อต้องรู้เห็นเกี่ยวแก่แก้วแหวนเงินทองของสวยงามใด ก็อย่าปล่อยใจให้คิดปรุงแต่งไปในความสวยงามมีราคา

คุมความคิดไว้ให้ดี แม้จะคุมความคิดไม่ได้ ก็ให้คุมด้วยการท่องพุทโธ ธัมโม หรือสังโฆก็ได้ คิดถึงสรณะทั้งสามที่

ประเสริฐสุด คิดให้ได้ให้ทันเวลาก่อนที่จะไปไขว่คว้าเอาของเหล่านั้นมาเป็นของตน ซึ่งแม้จะเป็นการได้มาอย่างถูกต้อง

ทุกประการ แต่ก็จะเป็นการปล่อยความโลภให้เข้าครอบคลุมใจ…ได้ไม่เท่าเสีย สมบัติล้ำค่าใดก็ไม่มีค่าเสมอใจที่บางเบา

ด้วยกิเลส โลภ โกรธ หลง สมบัติทั้งหลายเป็นของสวยงามน่าใคร่น่าปรารถนา ต่อเมื่อใจคิดปรุงแต่งให้เป็นเช่นนั้น สำหรับ

ใจที่ไม่คิดปรุงแต่งให้เห็นเป็นของสวยงามน่าใคร่น่าปรารถนา สมบัติทั้งหลายก็หามีความหมายไม่ ก็จักเป็นเพียงวัตถุ

ธรรมดา ที่ผู้มีปัญญาสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น คือ ทั้งแก่ส่วนตนและแก่ส่วนรวม

ความคิดปรุงแต่งเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู ความคิดปรุงแต่งเป็นได้ทั้งศัตรูและมิตร คิดปรุงแต่งผิดก็จะเป็นศัตรู พาไปสู่

ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความปรารถนาต้องการ อันเป็นโลภะความโลภ คิดปรุงแต่งถูกก็จะเป็นมิตร พาไปสู่ความสงบ

ความมีปัญญา ด้วยอำนาจความรู้เท่าทันว่า สมบัติทั้งนั้นไม่ควรถือเป็นของน่าปรารถนาต้องการ อันจักเป็นการเพิ่มความ

มืดมิดแห่งกิเลสกองโลภะ หรือราคะ ให้ยิ่งขึ้น ความคิดที่ไม่ดี เป็นเหตุไม่ดีด้วย ความคิดสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน

ความคิดทำให้โลภ ความคิดทำให้โกรธ ความคิดทำให้หลง และทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความไม่ดีอย่าง

ยิ่ง สิ่งที่ทำให้เกิดความไม่ดี หรือเหตุแห่งความไม่ดี จึงต้องเป็นความไม่ดีเป็นเหตุไม่ดีด้วย วิธีแก้ไขที่จะให้ความคิดเป็น

เหตุดี เป็นความดีก็มี คือ ต้องควบคุมระวังความคิดให้ดีให้ได้ โดยนำเหตุผลหรือปัญญามาเป็นกรอบบังคับไว้ มิให้ออกไป

นอกรอบ ความคิดที่อยู่ในกรอบของเหตุผลของปัญญาย่อม เป็นเหตุดี ยังให้เกิดผลดีได้จริง เมื่อความคิดอยู่ในกรอบของ

เหตุผลของปัญญา ก็ย่อมเป็นเหตุดี ยังให้เกิดผลดี คือ ความคิดไม่ทำให้โลภ ความคิดไม่ทำให้โกรธ ความคิดไม่ทำให้

หลง เป็นคุณเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเอง และแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งปวง8. ธรรมทานที่ บริสุทธิ์ แท้จริง หัวใจพระพุทธ

ศาสนาหัวใจพระ พุทธศาสนา 3 ประการ ที่โปรดประทานไว้เป็นหลักประกาศพระพุทธศาสนา คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง

การทำกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตให้ผ่องใส และธรรมะหมวดอื่นที่ทรงสอน เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล

ภาวนา ล้วนแสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาและพระปัญญาใหญ่ยิ่งจริงแท้ และทรงแสดง

ไว้แจ้งชัดในพระพุทธศาสนาพระ พุทธองค์ ผู้ยิ่งด้วยพระปัญญาคุณพระ กรุณาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ทุกคนมีการ

กระทำคำพูดเป็นเครื่องแสดงออกของจิตใจ ใจเป็นเช่นไร การกระทำคำพูดจะเป็นเช่นนั้น พระพุทธศาสนาเป็นการ

กระทำของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเครื่องแสดงพระพุทธหฤทัยอย่างชัดเจน เป็นเครื่องรองรับพระพุทธประวัติว่าเป็นจริง ดัง

แสดงเรื่องราวไว้ต่าง ๆ ที่ล้วนทรงยิ่งด้วยพระคุณ ทั้งพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระผู้มีมหากรุณาคุณ

อย่างหาผู้ใดเปรียบไม่ได้ ในพระประวัติของพระพุทธเจ้า มีกล่าวแสดงไว้ว่า เหตุเพราะได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์

ของคนแก่ คนเจ็บ คนตาย จึงทรงมีพระมหากรุณา ปรารถนาจะช่วยมิให้มีผู้ต้องได้รับความทุกข์เช่นนั้นต่อไป จึงตรงตัด

พระหฤทัยสละความสูงส่ง ความสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการที่ทรงเสวยอยู่ เสด็จออกทรงเผชิญความทุกข์ยากนานา

ประการ เพื่อแสวงหาทางที่จะทรงสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง พระพุทธศาสนามีจุดเริ่มเกิดที่ตรงนี้

ตรงที่ทรงมีพระมหากรุณาอย่างบริสุทธิ์แท้จริงต่อสัตว์โลก ไม่มีความกรุณาของผู้ใดเปรียบได้ ผู้นับถือพระพุทธศาสนา

จึงควรดำเนินตามพระพุทธองค์ พระมหากรุณาอันบริสุทธิ์แท้จริงพระพุทธ ศาสนา มีพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าเป็น

จุดเริ่มต้น และมีพระมหากรุณาสืบเนื่องโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ก็ปรากฏพระ

มหากรุณาที่ประทับลึกซึ้งจิตใจ ยากที่ผู้ใดจะสามารถพรรณนาได้ถูกต้อง ทรงรับประเคนสุกรมัททวะ อาหารที่นายจุนทะ

ถวาย แล้วรับสั่งให้นำส่วนที่เหลือไปฝังเสียทั้งหมด มิให้ถวายพระรูปอื่นต่อไป เสวยอาหารของนายจุนทะ แล้วต่อมาทรง

ลงพระโลหิต ก่อนแต่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงมีพระมหากรุณาห่วงใยจิตใจของนายจุนทะ ว่าจะต้องเศร้าเสียใจยิ่ง

นัก เมื่อทราบว่าพระพุทธองค์เสวยอาหารของนายจุนทะแล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน และผู้คนทั้งหลายเมื่อล่วงรู้ก็จะ

กล่าวโทษนายจุนทะ ด้วยพระมหากรุณาล้นพ้น ทรงมีพระพุทธดำรัสให้พระอานนทเถระไปปลอบนายจุนทะไม่ให้เสียใจ

แต่ให้โสมนัสด้วยรับสั่งว่าผู้ที่ถวายอาหารมื้อสุดท้าย ได้บุญเสมอกับผู้ถวายอาหารก่อนแต่จะทรงตรัสรู้กล่าวได้ ว่า แม้

พระชนมชีพก็สิ้นสุดลงด้วยพระมหากรุณาอย่างบริสุทธิ์…แท้จริง หามีความกรุณาของผู้ใดจะเปรียบได้ไม่มีเลย ผู้นับถือ

พระพุทธศาสนา จึงควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินตามรอยพระพุทธบาท ยกพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ เมือง

ไทยร่มเย็นเป็นสุขเพราะเป็นเมืองพระพุทธศาสนา คนเย็นอยู่ที่ใดที่นั้นย่อมเย็น ศาสนาเย็นอยู่บ้านเมืองใด บ้านเมืองนั้นก็

ย่อมเย็น พระพุทธศาสนาเย็นนัก เพราะพระพุทธเจ้าทรงเย็นยิ่ง พระอรหันต์พุทธสาวกทั้งปวงก็เย็น พุทธศาสนิกแม้

ศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนาจริง ย่อมมีโอกาสเป็นผู้เย็นด้วยกันทั้งนั้น เย็นด้วยความไกลจากกิเลสอันร้อย เย็นด้วยความ

ดี ถึงวันนั้นเมื่อใดย่อมได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตผู้มั่นคนในความดีของตน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ย่อม

สามารถยังความเย็นให้เกิดขึ้นได้ในทุกที่ที่เข้าไปสู่มากน้อยตามความ เย็นแห่งตน วาจาอันชนผู้ใดกล่าวดีแล้ว วาขานั้น

เป็นมงคลอันสูงสุด พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “พึง กล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใคร ๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย

เป็นเครื่องให้ความรู้ได้และเป็นคำจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์” นี้แสดงถึงพระกรุณาคุณอย่างยิ่งประการหนึ่ง พระ

กรุณาที่หยั่งลงในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า ทรงปรารถนาที่จะถนอมรักษาทุกจิตใจ ไม่ให้ขัดเคืองขุ่นข้องบอบช้ำแม้เพียง

ด้วยวาจาอันวาจา นั้น สามารถยังให้เกิดได้ทั้งความรู้สึกที่ดี และทั้งความรู้สึกที่ไม่ดี ความเบิกบานแช่มชื่นแจ่มใสเป็น

สุขอย่างยิ่งก็เกิดได้เพราะวาจา ความสลดหดหู่เร่าร้อนรุนแรง เป็นทุกข์แสนสาหัสก็เกิดได้เพราะวาจา วาจาจึงมีความ

สำคัญอย่างยิ่งด้วยพระ มหากรุณา พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระพุทธประสงค์เกี่ยวกับวาจาไว้ในธรรมทั้งปวง ให้เป็นที่

ปรากฏแก่โลก ว่าถึงสังวรระวังวาจาเช่นเดียวกับกายและใจ พึงปฏิบัติธรรมพร้อมทั้งกายวาจาและใจ เป็นต้น ใน

มงคลสูตรได้แสดงไว้ว่า “วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด”ธรรม ทาน ยิ่งกว่าทานทั้งปวงทาน คือ การให้

สิ่งที่สมควรแก่ผู้ที่สมควรให้ แก่ผู้ที่สมควรได้รับ ความสมควรเป็นความสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรง

สอนให้เป็นผู้ให้ ย่อมมิทรงหมายให้ให้ โดยไม่พิจารณาความสมควร แต่ย่อมทรงหมายถึงความสมควรให้สิ่งที่สมควรแก่

ผู้ที่สมควรแก่สิ่งนั้น ผู้รับไม่ปฏิเสธที่จะรับเห็นค่าของสิ่งที่จะได้รับนั้น รับแล้วจะเป็นคุณประโยชน์ แม้การดุว่าตำหนิ

ติเตียนผู้ที่สมควรได้รับการดุว่าตำหนิติเตียน เพื่อเป็นการช่วยเหลืออบรมปมนิสัยให้เป็นคนดี พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็น

ทาน เป็นธรรม เป็นธรรมทาน ที่ทรงกล่าวว่า ยิ่งกว่าทานทั้งปวง ธรรมทานที่บริสุทธิ์ แท้จริง ต้องเริ่มต้นจากการมี

อภัยทาน ธรรมทานอันเป็นการดุว่าตำหนิติเตียนสั่งสอน ด้วยหวังให้กลับตัวกลับใจจากความไม่ถูกต้องมาสู่ความถูกต้อง

จากความไม่ดีงามมาสู่ความดีงาม นี้จะเป็นธรรมทานที่บริสุทธิ์ได้จริง จะต้องเริ่มต้นด้วยมีอภัยทาน คือ ผู้จะให้ธรรมทาน

ดุว่าตำหนิติเตียนสั่งสอนด้วยหวังดี หวังให้เปลี่ยนจากร้ายกลายเป็นดี เปลี่ยนจากผิดเป็นถูก จะต้องให้อภัยในความ

ร้ายกาจของความไม่ถูกที่ตนพบเห็นให้ได้ก่อน ธรรมทานเช่นนี้จึงต้องมีอภัยทานเป็นส่วนประกอบสำคัญ ผู้จะให้ธรรม

ทานเช่นนี้ จะต้องสะอาดจากความโกรธแค้นขุ่นเคืองใจ อันเกิดจากได้รู้ได้เห็นการกระทำคำพูดที่ไม่ดีงามไม่ถูกต้อง เป็น

ที่กระทบกระเทือนใจ ทานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ จึงมีความหมายลึกซึ้งและกว้างขวางอย่างยิ่งพรที่ ประเสริฐการ

บำเพ็ญกุศลนั้น น่าจะถือได้ว่าเป็นการให้พรตัวผู้ทำกุศลเองประการหนึ่ง นอกไปจากพรที่ได้รับจากผู้อื่นที่มีผู้อื่นให้ พร

ทั้งสองประการนี้ ผู้รับจะรับได้เพียงไรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการทำใจเป็นสำคัญที่สุดพร คือ ความดี การให้พรก็เช่นเดียวกับ

การรับวัตถุสิ่งของ จะต้องมีเครื่องรับ การรับวัตถุต้องมีเครื่องรับเป็นวัตถุ เช่น มือ ภาชนะ อื่น ๆ ไม่เช่นนั้นจะรับวัตถุใดไม่

ได้ แม้มีผู้ส่งให้ ผู้รับไม่มีเครื่องรับ ไม่ยื่นมือมารับ ของก็จะหายหกตกหล่นหมดสิ้น จะรับไว้เป็นสมบัติของตนไม่ได้ ไม่มี

อะไรจะรับพรได้…นอกจากใจการรับพร ก็เช่นกัน แต่เมื่อพรมิใช่เป็นวัตถุ จะเตรียมเครื่องรับที่เป็นวัตถุเช่นมือหรือภาชนะ

อื่น ๆ ย่อมรับไม่ได้ พรเป็นเครื่องของจิตใจ คือ ผู้ให้ตั้งใจด้วยปรารถนาให้พร โดยเปล่งเป็นวาจาบ้างหรือเพียงนึกในใจ

บ้าง การจะสามารถเป็นผู้รับพรอันเป็นเรื่องของจิตใจได้ จะต้องเตรียมเรื่องรับที่เกี่ยวกับจิตใจเช่นกัน และก็มีเพียงอย่าง

เดียวคือ ใจ ไม่มีอะไรอื่นจะทำให้สามารถรับพรได้นอกจากใจใจเท่า นั้น ที่สามารถรับพรได้ ทั้งพรที่ตนเองให้ตนเอง และ

พรที่ผู้อื่นให้ นั่นก็คือ ต้องทำใจให้พร้อมที่จะรับพรได้มีใจอยู่ เหมือนมีมืออยู่ เมื่อมีผู้ส่งของให้ ก็ต้องยื่นมือออกไปรับไป

ถือ จึงจะได้ของนั้นมา ไม่ยื่นมือออกรับออกถือ ก็รับไม่ได้ ก็ไม่ได้มา และแม้เป็นของที่ดีที่สะอาด มือที่รับไว้เป็นมือที่

สะอาด ของดีที่สะอาดก็จะไม่แปดเปื้อนความสกปรกที่มือจะเป็นของดีของสะอาดควรแก่ ประโยชน์จริง พึงพิจารณาถึง

เหตุของพรที่ได้รับให้ถ่องแท้การรับพร ต้องน้อมใจออกรับ คือ ใจต้องยินดีที่จะรับ และต้องเป็นใจที่สะอาด ไม่เช่นนั้นจะ

รับพรไม่ได้ พรที่ตนเองพยายามให้แก่ตนเองก็รับไม่ได้ พรที่ขอจากผู้อื่นก็รับไม่ได้ เพื่อให้สามารถรับพรอันเกิดจากการ

บำเพ็ญกุศลด้วยตนเอง ผู้ทำกุศลต้องมีใจผ่องใสเตรียมรับ ขณะกำลังรับ และเมื่อรับไว้แล้ว และด้วยใจที่ผ่องใสนั้นพึง

พิจารณาที่มีผู้ให้ ให้เข้าใจกระจ่างชัด ว่าพรนั้นเป็นผลของเหตุใด เพราะธรรมดา เมื่อให้พร พรนั้นก็เป็นการแสดงชัดแจ้ง

เพียงส่วนผล ส่วนเหตุเร้นอยู่เบื้องหลัง เมื่อให้พรสั้น ๆ เพียงผล แม้มิได้แสดงเหตุแต่ก็เท่ากับให้พรที่รวมทั้งเหตุแห่งผลนั้น

ด้วย การรับพรที่ให้ผลสมบูรณ์จริงเช่น เมื่อมีผู้ให้พรว่า ขอให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ผู้จะสามารถรับพรนั้นได้จะต้องมี

ใจผ่องใส พิจารณาให้เห็นตลอดสาย ให้เข้าใจว่าพรที่แท้จริงสมบูรณ์ คือ ขอให้รักษาตัว รักษาใจให้ดี อย่าให้เศร้าหมอง

จะได้มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุข มีกำลังแข็งแรง พรนี้มีทั้งส่วนเหตุที่เร้นอยู่ไม่แสดงแจ้งชัด คือ ขอให้รักษาตัว

รักษาใจให้ดี อย่าให้เศร้าหมอง ส่วนผลของพรนี้ที่แสดงแจ้งชัด คือ ขอให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ผู้จะรับพรที่มีผู้ให้แล้ว

ได้จึงต้องทำใจให้ผ่องใส พิจารณาให้เห็นส่วนเหตุของพรนั้นและปฏิบัติให้ได้ในส่วนเหตุ จึงจะได้รับส่วนผล เป็นการรับ

พรสมบูรณ์จริง

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/1996—5

. . . . . . .