ธรรมบรรยาย มรรครวมตัว

ธรรมบรรยาย มรรครวมตัว

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ไตรสิกขาเป็นเหตุ วิมุตติเป็นผล
(จะเข้าถึงวิมุตติต้องปฏิบัติให้บริบูรณ์ ในศีล สมาธิ ปัญญา)
อริยมรรคมีองค์ ๘ ตัวปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ที่สติปัฏฐาน ๔
(คือ กาย เวทนา จิต ธรรม)
ปฏิบัติ เพื่อละอภิชฌา และโทมนัส (ซึ่งมีอัตตาเป็นเหตุ)
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นธรรมะทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นทุกข์ทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นอนิจจังทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นอนัตตาทั้งหมด
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บทใดที่ท่านให้เราละ เราละเว้นแล้วหรือยัง?
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บทใดที่ท่านให้เราเจริญ เราเจริญแล้วหรือยัง?
คำว่า รูป – นาม คำว่า มรรค – ผล คำว่า นิพพาน

กายเบา – จิตเบา เกิดความสุขซาบซ่าน และธรรมะปีติอย่างแรง
ย่อมกำจัดวิปัลลาสทั้ง ๔ ได้ ย่อมเกิดวิปัสสนูปกิเลสครอบงำได้
ย่อมรู้ว่าปฏิบัติได้บริบูรณ์ในบารมี ๑๐ ประการ
ย่อมกำหนดทุกข์โทษภัยของสังสารวัฏฏ์ได้ชัดเจน
ย่อมกำหนดเห็นธรรมในทุกสิ่งทุกอย่าง (เป็นธรรมะหมด)
มองเห็นว่าไม่มีภาวะใดๆ รอบๆ ตัวเรา น่าหลง น่ามัวเมา น่ายึดถือ น่าเอา น่าเป็น
มองเห็นกามคุณ ๕ มิใช่อุปสรรค แต่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
กามคุณ ๕ มิได้เป็นโลกิยะ หรือโลกุตระ (แต่เป็นเครื่องวัดจิตใจของนักปฏิบัติต่างหาก)
เห็นว่า…ไม่ไป ไม่อยู่ ไม่สู้ ไม่หนี มีแต่อาการ
จิตสะอาด – สว่าง – สงบ – ร่าเริงเบิกบาน จิตไม่วุ่นวาย
ศีล – สมาธิ – ปัญญา เป็นอัญญ มัญญปัจจัย (คือเสมอกัน)
เห็นทุกข์ในโลก เบื่อโลก หมดหวังในโลก สิ่งใดๆ มาหลอกให้รัก ให้หลงไม่ได้
เพราะรู้ความจริง แม้จะยังอยู่ร่วม แต่ก็ทิ้งทางใจอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต ย่อมมีสติระลึกได้เสมอ
จะอยู่ในที่ใดๆ ก็ไม่ถูกความทุกข์ขบกัด (ทุกขโทมนัส)
ย่อมเกิดภาวนามยปัญญาชัดเจน (ปัญญาที่เข้าไปเห็นความเกิดดับของนามรูปทั้งปวง)
อยู่ในที่ใดก็มีโคนไม้ และห้องกรรมฐานในที่นั้น (เพราะมีพุทธะเห็นความเกิดดับอยู่ตลอดเวลา)
ไม่สะดุ้งกลัวต่อมรณภัย คือความตาย พร้อมที่จะตายไม่กลัวตาย
มีเมตตาหาประมาณมิได้ ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกทั่วหน้า จะมีความสุขที่สุดจนนึกถึงพ่อแม่ พี่น้อง
ถ้ามรรคไม่เกิด จะมองทุกอย่างสวยหมด ผม-ขน-เล็บ-ฟัน-หนัง-เนื้อ-นิ้วมือ-แขนขา-จมูก-ใบหู-แก้มคาง-ลูกตา ฯลฯ เรียกว่าตาบอดสี เพราะมองเห็นสิ่งที่เป็นมายาว่าเป็นของจริง

——————————
ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00064.htm

. . . . . . .