ประวัติพอสังเขป พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี)

ประวัติพอสังเขป
พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี)

๑. ตำแหน่ง
ชื่อ พระครูสุภัทรสีลคุณ ฉายา สุภท ? โท อายุ ๑๐๒ ปี พรรษา ๘๒
วิทยฐานะ น.ธ.เอก
วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

๒. สถานะเดิม
ชื่อ ดวงดี นามสกุล สุทธิเลิศ เกิดวัน ๓ ฯ ๒ ๖ ค่ำ ปี มะเมีย
วันที่ ๒๔ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๙
บิดา นายอูบ สุทธิเลิศ มารดา นางจันทร์ สุทธิเลิศ
เลขที่ ๒๔ หมู่ ๘ ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

๓. บรรพชา
วัน ๗ ฯ ๑๕ ๖ ค่ำ ปี ชวด วันที่ ๑๗ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
พระอุปัชฌาย์ พระโสภา วัด ทุ่งเกี๋ยง ตำบล ทุ่งสะโตก
อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

๔. อุปสมบท
วัน ๓ ฯ ๑๔ ๖ ค่ำ ปี มะโรง วันที่ ๑๗ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
วัด ท่าจำปี ตำบล ทุ่งสะโตก อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
พระอุปัชฌาย์ พระโสภา วัด ทุ่งเกี๋ยง ตำบล ทุ่งสะโตก
อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่

๕. วิทยฐานะ
(๑) พ.ศ.๒๔๕๘ บิดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก
อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จพออ่านออกเขียนได้ หนังสือไทยและหนังสืออักษรล้านนา
(๒) การศึกษาพิเศษ – ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
– อ่านเขียนภาษาล้านนาได้คล่อง
(๓) ความชำนาญการ – ด้านนวกรรมการกำกับการก่อสร้าง
– ด้านอักขระภาษาล้านนา
– ด้านการแสดงธรรมเทศนาแบบพื้นเมือง (ธรรมวัตร)
– ด้านการแสดงพระธรรมเทศนา แบบพื้นเมืองล้านนา เนื้อหา
มหาชาติ กัณฑ์, กุมารบรรพ์, ฉกษัตริย์
– ด้านการเทศนาธรรม, ปาฐกถาธรรม, บรรยายธรรม
– ด้านประเพณีพิธีกรรมต่างๆ การอบรมสมโภช

๖. การปกครอง
(1) พ.ศ.๒๔๘๐ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี
พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี
พ.ศ.๒๔๙๒-๒๔๙๖ เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก

(๒) พ.ศ.๒๕๔๖ มีพระภิกษุจำพรรษา ๔ รูป
สามเณร ๕ รูป
ศิษย์วัด ๔ คน
พ.ศ.๒๕๔๗ มีพระภิกษุจำพรรษา ๕ รูป
สามเณร ๖ รูป
ศิษย์วัด ๔ คน
พ.ศ.๒๕๔๘ มีพระภิกษุจำพรรษา ๖ รูป
สามเณร ๕ รูป
ศิษย์วัด ๖ คน
พ.ศ.๒๕๔๙ มีพระภิกษุจำพรรษา ๗ รูป
สามเณร ๕ รูป
ศิษย์วัด ๖ คน

(๓) มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น ทุกวัน

(๔) มีการทำอุโบสถกรรม สวดพระปาติโมกข์ทุกครึ่งเดือน มีพระภิกษุสวดพระปาติโมกข์
ได้จำนวน ๑ รูป

(๕) มีระเบียบการปกครองวัดคือ
๑. พระภิกษุ-สามเณรต้องทำวัตร เช้า-เย็น ทุกวัน
๒. ทุกวันโกนสามเณรต้องรับไตรสรณคมน์และสมาทานสิกขาบทและรับฟังโอวาท
เจ้าอาวาสหรือพระเถระที่ได้รับมอบหมาย
๓. พระภิกษุต้องลงอุโบสถเพื่อรับฟังพระปาฏิโมกข์ทุกปักษ์ทั้งข้างขึ้นข้างแรม
๔. พระภิกษุ-สามเณรทุกรูปต้องศึกษาพระปริยัติ
๕. เมื่อมีความประสงค์จะออกไปนอกวัดถ้าค้างคืนต้องบอกลาเจ้าอาวาสหรือพระเถระที่
เจ้าอาวาสมอบหมาย

(๖) มีกติกาของวัดดังนี้
๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามกติการะเบียบข้อบังคับของวัดอย่างเคร่งครัด
๒. ข้าพเจ้าจะไม่โยกย้ายเสนาสนะในกุกฏิออก ก่อนได้รับอนุญาต
๓. ข้าพเจ้าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
๔. ข้าพเจ้าจะศึกษาวิชาเฉพาะที่ทางวัดอนุญาต
(๗) ในระยะ ๓ ปี ที่ผ่านมาไม่มีอธิกรณ์เกิดขึ้นในวัด

๗. งานเผยแพร่
(๑) มีการทำพิธีมาฆบูชา คือ ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๙๐ คน
(๒) มีการทำพิธีวิสาขบูชา ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๑๒๐ คน
(๓) มีการทำพิธีอัฏฐมีบูชา ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๓๐ คน
(๔) มีการทำพิธีอาสาฬหบูชา ทำบุญตักบาตร เทศนา ปฏิบัติวิปัสสนา เวียนเทียน มีผู้มาร่วม
ประชุมทำพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๑๒๐ คน
(๕) มีการอบรมพระภิกษุดังนี้ ทุกวันโกน วันพระ ตลอดปี
(๖) มีการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนนักศึกษา ประชาชน ตลอดปี
(๗) มีผู้มารักษาศีลฟังธรรมที่วัดตลอดปีจำนวน ๑๒๐ คน
(๘) มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่คือ มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ให้แก่นักเรียนนักศึกษาผู้สนใจ
(๙) มีความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์เกี่ยวกับการเผยแพร่คือ มีการจัดงานดำหัวปี เพื่ออนุรักษ์
วัฒนธรรมล้านนา
(๑๐) มีผู้มาทำบุญที่วัดประจำ จำนวน ๔๐ คน

๘. สมณศักดิ์
(๑) พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูประทวนสมณศักดิ์
(๒) พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส
วัดราษฎร์ ชั้น โท ในราชทินนามที่ พระครูสุภัทรสีลคุณ (จร.ชท.)
(๓) พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส
วัดราษฎร์ ชั้นเอก ในราชทินนาม (จร.ชอ.)
(๔) พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ใน
ราชทินนาม ที่ พระมงคลวิสุต (สย.)

๙. ขอรับรองว่า ได้ทำประวัติถูกต้องตามความเป็นจริงในรายการทุกประการ

บุญผู้เจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์

หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท ถือกำเนิดที่บ้านท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนพื้นเพบ้านท่าจำปีมาแต่กำเนิด บิดามารดา เป็นชาวไร่ชาวนา โยมบิดาชื่อ พ่ออูบ โยมมารดาชื่อ แม่จั๋นติ๊บ (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) หลวงปู่ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงกับสมัยพ่อเจ้าอินทวิชยานนท์(เจ้ามหาชีวิต) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๖ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน เป็นชาย ๔ คน เป็นหญิง ๔ คน หลวงปู่เป็นลำดับที่ ๗ และมีน้องสุดท้องชื่อแม่นิน

เริ่มต้นชีวิตในผ้ากาสาวพัตร

เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาถูกทางการจังหวัดลำพูน นำตัวมากักขังบริเวณที่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน) ในข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนไม่มีหนังสืออนุญาตบวชพระ เมื่อท่านครูบาเจ้าฯได้เห็นเด็กชายดวงดี ท่านก็มีเมตตาอย่างสูงเรียกเข้าไปหาพร้อมกับบอกพ่อแม่ว่า “กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน” นับเป็นพรอันประเสริฐ ยิ่งในการที่ท่านครูบาเจ้าฯได้พยากรณ์พร้อมกับประสาทพรให้หลวงปู่ตั้งแต่ยังเด็ก
หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน ไม่กี่วันต่อมา บิดาก็นำขันข้าวตอกดอกไม้ พร้อมกับนำตัวเด็กชายดวงดีไปถวายฝากตัวเป็นศิษย์(ขะโยม)ในท่านครูบาโปธิมา ซึ่งเป็นอธิการวัดท่าจำปี ใกล้ๆบ้านนั่นเอง ครูบาโปธิมาก็ได้พร่ำสอนหนังสือของทางการบ้านเมืองสมัยนั้น หลังจากสั่งสอนเด็กชายดวงดีจนพออ่านออกเขียนได้ ท่านครูบาโปธิมาก็ย้ายจากวัดท่าจำปีไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ห่างจากวัดท่าจำปีไปเล็กน้อย ท่าครูบาสิงหะ เจ้าอาวาสท่านต่อมาได้ให้เด็กชายดวงดีศึกษาเป็นขะโยม(เด็กในวัด) อยู่กับคณูบาสิงหะได้ไม่นาน ครูบาสิงหะก็มรณภาพ คงเหลือสามเณรสิงห์แก้วดูวัดท่าจำปีแทนและทำหน้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ไปด้วย หลังจากทำบุญประชุมเพลิงครูบาสิงหะแล้วสามเณรสิงห์แก้วก็ลาสิกขาจึงทำให้วัดท่าจำปีร้างรกไม่มีเจ้าอาวาสติดต่อกันถึง ๓ ปี ในขณะที่วัดร้างรานั้น หลวงปู่หรือเด็กชายดวงดีขณะนั้นก็ทำหน้าที่ดูแลวัดอย่างที่เคยปฏิบัติมา เช่น ปัดกวาดกุฏิวิหาร จัดขันดอกไม้บูชาพระ ตักน้ำคนโท(น้ำต้น)ถวายพระพุทธรูปตลอดเวลา

ต่อมาคณะศรัทธาวัดท่าจำปี ได้อาราธนานิมนต์ท่านครูบาโสภามาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกอีกตำแหน่งด้วย ทำให้วัดท่าจำปีเกิดความสำคัญขึ้นมาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากท่านครูบาโสภณจะเป็นเจ้าคณะตำบลแล้ว ท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกที่มีอายุพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันกับม่านคณุบาศีลธรรมศรีวิชัย มีผู้คนเคารพนับถือมากมายถึงกับขนานนามท่านว่า “ตุ๊เจ้าตนบุญตนวิเศษแห่งล้านนา” จริงๆ เพราะท่านมีบุญญาอภินิหารปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ร่ำลือถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างไม่ลดละตราบจนทุกวันนี้

หลังจากเด็กชายดวงดีศึกษาภาษาพื้นเมืองได้คล่องแคล่ว อายุได้ ๑๓ ปีพอดีท่านครูบาโสภาจึงนำเด็กชายดวงดีไปปรึกษากับท่านครูบาศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านได้ขึ้นมาบูรณะปฏิสังขรณ์ทางเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๒ ท่านครูบาศรีวิชัยมีความพอใจเด็กชายดวงดีมาก ท่านครูบาโสภาก็เล่าเรื่องการบวชเณรให้ท่านครูบาศรีวิชัยฟัง ท่านก็บอกกับครูบาโสภณว่า “ถ้าบวชพระแล้วก็หื้อขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดพระสิงห์นี่แหละ จะได้เป็นเพื่อนกับนายสิงห์ดำ” (ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของท่านครูบาศรีวิชัย)ซึ่งมีหน้าที่ปลงเกศาให้กับท่านครูบาศรีวิชัย

ครั้นหลวงปู่ดวงดีบรรพชาเป็นสามเณรแล้วโดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะบรรพชา ได้ไม่กี่วันก็ส่งตัวเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ อยู่จำพรรษาและช่วยเหลือท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย คอยปฏิบัติพัดวีตามอาจาริยวัตรที่ครูบาอาจารย์ในยุคสมัยนั้นสั่งสอน ไหว้พระสวดมนต์ นั่งกรรมฐาน บูชาขันดอกไม้ และช่วยเหลืองานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในขณะนั้นท่านครูบาเจ้าศริวิชัยต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อสร้างสรรค์บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ วัดวาอารามต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือ เมื่อหลวงปู่ดวงดีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้กลับไปนมัสการพระอาจารย์ท่านครูบาโสภาที่วัดท่าจำปีเพื่อปรึกษาเรื่องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นท่านครูบาโสภาจึงได้เดินทางไปขออนุญาตกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เรื่องส่งมาจำพรรษาอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเหมือนเดิม

ลุ วันอาทิตย์ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีเมืองเหม้า(ปีเถาะ) ตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๐ สามเณรดวงดีจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ โดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะ ท่านครูบาธัมมะเสน วัดดอนบินเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูปัญญา วัดมะกับตองหลวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พระอุโบสถวัดสารภี ตำบลทุ่งรวงทอง กิ่งอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นามฉายาว่า “สุภทโท” หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่ดวงดีก็เดินทางไปอยู่จำพรรษากับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเช่นเดิม โดยเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติอุปฐากบำรุง
ช่วงของการปฏิสังขรณ์วัดท่าจำปีในเวลาของหลวงปู่

ในขณะที่หลวงปู่อยู่จำพรรษากับท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยนับตั้งแต่เป็นสามเณรใหม่ๆนั้นและเดินทางปฏิบัติเล่าเรียนอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านอายุได ๒๘ ปี เป็นช่วงที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ข้องกล่าวหาต่างๆนาๆ เช่นการบุกรุกป่าสงวน ซ่องสุมผู้คน ตั้งตนเป็นผีบุญ จนถึงกับถูกจับส่งตัวไปตัดสินความที่กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่โต เมื่อคณะสงฆ์ในเขตปกครองแขวงบ้านแมง (อ.สันป่าตอง)ขอลาออกจากการปกครองเมืองเชียงใหม่ถึง ๖๐ วัด ท่านครูบาโสภาวัดท่าจำปี ท่านครูบาปัญญา วัดท่ากิ่งแลหลวง ก็ถูกไต่สวนจนต้องนำคณะศิษย์หนีหนีไปแสวงบุญก่องสร้างวิหานพระพุทธบาทฮังฮุ้ง ในเขตประเทศพม่าจนไม่ยอมกลับมาอีกเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านครูบาศรีวิชัยต้องแยกย้ายกันไปแสวงบุญคนละทิศละทาง คงค้างแต่ท่านครูบาขาวปีทำหน้าที่ดูแลวัดสิงห็ และเป็นหัวแรงในการก่อสร้างวัดวาอารามที่ค้างไว้

ลุ พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ท่านครูบาศรีวิชัยถูกชำระความพ้นผิดเดินทางกลับเมืองลำพูนอยู่ได้ไม่นาน ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดจามเทวี เมื่ออายุได้ ๖๑ ปี ๕ เดือน กับ ๒๑ วัน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ดวงดีอายุได้ ๓๒ ปี หลวงปู่ได้เดินทางไปก่อสร้างวัดวาอารามเจริญรอยตามท่านครูบาศรีวิชัยผู้เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นก็ติดตามครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวปีมาสร้างวิหารวัดท่าจำปี
ลุ พ.ศ.๒๔๘๔ ขณะพลวงปู่อายุได้ ๓๕ปี หลังจากถวายพระเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วนั้น ท่านครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกระโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งหลวงปู่นำมาเก็บรักษาสักการะบูชาจนถึงทุกวันนี้ หลวงปู่ได้อยู่ช่วยครูบาอภิชัยผ้าขาว สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาติของท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสารแล้ว ก็รับขันดอกนิมนต์จากคณะศรัทธาป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไปสร้างวัดป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย เนื่องจากอารามอยู่ในป่าดง เหมาะที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งถูกกับจริตวิสัยของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่อยู่ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้นานถึง ๗ ปี ท่านครูบาโสภาก็ขอให้หลวงปู่ลงมาก่อสร้างวัดท่าจำปีต่อจากท่าน เนื่องจากวัดท่าจำปีมีศรัทธาญาติโยมน้อยเพียง ๒๐ หลังคาเรือนเท่านั้น

หลวงปู่เดินทางกลับมาก่อสร้างวัดท่าจำปี ขณะนั้นอายุได้ ๔๒ ปีได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกจากท่านครูบาโสภาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าหลวงปู่จะมีตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ก็ตาม ท่านก็มิได้ละเลยข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ในระหว่างที่มาดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากท่านครูบาโสภา หลวงปู่ก็มิได้สร้างแต่เฉพาะวัดท่าจำปีเท่านั้น ทุกวัดในละแวกเดียวกันหลวงปู่ก็ช่วยเหลือเป็นแรงสำคัญไม่ว่าถนนหนทาง อุโบสถ วิหาร เจดีย์ สะพาน หรือแม้แต่โรงเรียน โรงพยาบาล หลวงปู่ก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุง แม้กระทั่งวัดในเขตอำเภอสันป่าตอง หรือต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด จนไม่สามารถนำมาบรรยายได้ทั้งหมด

หน้าที่การคณะสงฆ์และสมณศักดิ์

หลวงปู่ครูบาดวงดีสุภัทฺโท ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๒
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับสถาปนาประทวนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวนเจ้าคณะตำบล
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ “พระสุภัทรสีลคุณ” ณ พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม

ปัจจุบันหลวงปู่เจริญอายุครบ ๑๐๔ ปี(๘๓ พรรษา)

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จส่วนพระองค์

ปิดหีบหลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท วันที 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.00 น.

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และซาบซึ้งในพระเมตตา ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรราชาทินัดดามาตุ สเด็จส่วนพระองค์ฯ “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ”

ข้าราชการ พ่อค้า ประชาขน คลื่นมหาชนจำนวนหมื่นร่วมรับเสด็จ และ ใว้อาลัยพระเกจิย์ล้านนา สายครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นสุดท้าย

http://www.krubaduangdee.com/history.htm

. . . . . . .