ไตรทวาร : กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร โดย ท่านพุทธทาส
หน้าที่ 1 – วิริยะความพากเพียร
ไตรทวาร : กายทวาร – วจีทวาร – มโนทวาร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ
ณ บัดนี้จะได้วิสัจนา พระธรรมเทศนา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า
ตามทางแห่งพระศาสนาของท่านบรมสมเด็จพระศาสดา นั้นเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลายกว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนานี้เป็นธรรมเทศนาปติแห่งธรรมะสวรรณะและเป็นวันพระเป็นวันอุโบสถ ซึ่งพุทธบริษัทจะทำหน้าที่ของตน เข้าวัดโดยสมควรแก่ความมุ่งหมายนั้นๆ ที่เป็นวันอุโบสถ ก็คือการเข้าไปอยู่ประพฤติปฎิบัติในวัด ถือศีลอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเคร่งครัด อย่างนี้ก็เรียกว่า เป็นวันอุโบสถ เช่นถือ
อุโบสถเรื่องศีล เป็นต้น เป็นวันพระก็หมายความว่า เป็นวันที่จะต้องทำทุกอย่างให้ดีเป็นพิเศษที่สุด สำหรับวันนี้ เพราะว่าเป็นวันพระ ส่วนวันธรรมะสวรรณะคือวันฟังธรรม นี่ก็เป็นวันสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ ควรจะทำให้เป็นประโยชน์ตามความมุ่งหมายของสิ่งนั้นๆ ธรรมเทศนานี้วิสัจนา เนื่องในวันธรรมะสวรรณะเพิ่งได้วิสัจนาสืบต่อเป็นลำดับกันมาโดยเฉเพาะในพรรษานี้ว่าด้วยเรื่องสิ่งที่ เป็นหมวดสาม หมายความว่าสิ่งสามอย่างที่ควรจะทราบพวกนึงก่อน นับตั้งแต่พระรัตนตรัยคือแก้ว 3 ดวง ไตรสิกขา สิกขาสาม โลอุตระธรรมสามคือ มรรคผลนิพพาน ไตรลักษณ์สามคือ อนิสจัง สุขังอนัสตา ไตรลักษณ์หมุนสามคือ กิเลส ไตรภพหรือไตรภูมิระดับแห่งจิตใจทั้งที่อยู่ในรูป ในกาม ในตัณหา ความอยากที่ประกอบด้วยอวิชา 3 ชนิดอยากไปในทางกาม
ในทางภพ อยากไปในทางปราศจากภพ ในวันนี้จะว่าด้วยไตรทวาร คือทวารสามเป็นลำดับไป ขอให้ตั้งใจฟังคือศึกษาให้เข้าใจ เพราะเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่จะต้องทราบ และจะต้องปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ ที่เกี่ยวกับทวารทั้งสามนั้น ในชั้นแรกจะต้องรู้ก่อนว่าคำว่า ไตรทวาร นั้นคือกาย วาจา ใจ คำว่าทวารหมายถึง ทวารสำหรับออกส่วนสำหรับทวารสำหรับเข้านั้นมีถึง6 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ้าพูดถึงไตรทวารก็หมายถึงทวารสำหรับออก ออกมาจากข้างในมาในรูปของกรรม ต่างๆกัน คือทวารกาย และทวารปากคือวจีทวาร ทวารใจคือมโนทวารนี้เป็นทวารออกทั้งนั้น ถ้ารู้เรื่องกายทวารทั้ง 3นี้ก็ควรจะรู้เรื่องทวารเข้าคือทวาร 6 กันเสียบ้างตามสมควร ดังนั้นจึงต้องพูดถึง
ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย ทางที่จะเข้าไปมี 6 ทวารเรียกว่า อายตนะ ภายใน 6 ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกชื่อตามทวารนั้นๆ ทวารตา ทวารหู ทวารจมูก ทวารลิ้น ทวารกาย ทวารใจ เป็นบาลีก็ว่า จตุทวาร ปานะทวาร โสธะทวาร จีรทวาร กายทวาร มโนทวาร สิ่งที่เข้าไปคือ เสียง กลิ่น รส อารมณ์ มีอยู่ 6 อย่าง เข้าไปแล้วทำหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ของมั้นแล้ว จะออกมาในรูปของกรรม คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ออกมาทางกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ที่เราพูดถึงกันว่า ไตรทวารนั้นก็หมายถึงทวารสำหรับออก ถ้าเป็นทุจริตก็มีสุจริตก็มีแล้วแต่เรื่อง แล้วแต่กรณี ที่จะเกิดขึ้น
เมื่อพูดกันก็พูดกันแต่เรื่องสุจริตโดยไตรทวาร นี่เป็นความมุ่งหมายว่าให้ประกอบกรรมแต่สุจริต จะออกมาเป็นกายกรรมก็ให้สุจริต ถ้าออกมาเป็นวจีกรรมก็ให้สุจริตเป็นมโนกรรมก็ให้สุจริต เรียกว่าสุจริตโดยไตรทวาร หรือจะเรียกว่าปกติโดยไตรทวารไม่มีเรื่องยุ่งยากเป็นความทุกข์ร้อน แต่ประการใด แต่ว่าการที่จะรักษาทวารทั้ง 3 ให้สุจริตให้ถูกต้องได้นี้นั้น เป็นเรื่องที่อยู่กับการประพฤติธรรม เกี่ยวกับทวารทั้ง 6 ที่มันจะเข้าไปข้างในแล้วกลับออกมา พูดถึงความที่มันเกี่ยวข้องกันระหว่างทวาร 2 จำพวกนี้ ในขาเข้าก็คืออารมณ์ต่างๆ รูป เสียง กลิ่น รส กามอารมณ์ ที่จะเข้าไปทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปอารมณ์ อารมณ์คือรูปที่ผ่านไปทางตา กระทบที่ตา สัทธารมณ์เป็นเสียงก็เข้าไปทางหู กระทบทางหู กลิ่น เข้าทางจมูกกระทบกับจมูก อย่างนี้เป็นคู่ๆไปจนครบ 6 คู่ ทำไมจงเรียกว่า หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าทวาร คำว่าทวารแปลว่าประตู จะขอเตือนแล้วเตือนอีกว่า จะต้องฟังให้บ่อยๆว่า คำบัญญัติเฉเพาะในทางธรรมศาสนานั้นเขายืมมาจากคำชาวบ้านธรรมดาทั้งนั้น ทุกคำไป
จำไว้แล้วนึกให้ได้ ที่เอ่ยชื่อว่าคำอะไร ในทุกคำทางศาสนาแล้ว นึกถึงคำธรรมดาของชาวบ้าน ตามบ้าน ตามเรือนนั้นได้ ตัวอย่างที่เคยยกให้ฟังคือ นิพพานหมดกิเลสหมดความร้อน ความทุกข์นี้ก็ยืมมาจากคำว่านิพพานของชาวบ้าน หมายถึงความเย็นเป็นปกติของอะไรก็สุดแท้ แม้แต่อาหารร้อนๆต้องรอให้นิพพานเสียก่อนถึงจะกินได้ เพราะว่านิพพานจะใช้สถานะเมื่อก่อนเป็นของเย็น พอมาเป็นทางศาสนาก็เย็น ทางจิตก็เย็น ทางวิญญาณก็ไม่มีกิเลสและความทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
มรรคผลแห่งทางปฎิบัติและผลเกิดขึ้น นี่ก็เป็นคำชาวบ้านที่ไปใช้ คำว่าเดิน ปฎิบัติ ปฎิปธา นั้นมันก็แปลว่าเดิน ไปใช้คำว่าปฎิบัติ นี่ก็ลองคิดว่าคำว่าทวารนั้นมาจากคำว่าอะไร ที่ยืมมาจากภาษาชาวบ้าน ซึ่งแปลว่าประตู หรือทางเข้าทางออกก็เรียกว่าประตู ประตูรั้วก็เรียกว่าทวาร ประตูเมืองก็เรียกว่าทวาร ประตูเรือนก็เรียกว่าทวาร ปกติเรียกกันอย่างนี้ แม้ทวารที่ใช้ปัสสวะ อุจจาระ ก็เรียกว่าทวาร ก็เป็นที่เข้าที่ออกนั้นรู้กันอยู่ทั่วไปก่อนนานแล้ว ต่อมามีผู้คิดค้นทางธรรมรู้เรื่องของจิตใจในภายใน ก็มองเห็น รูป รส กลิ่น เสียง
อารมณ์ 5 อย่างนี้เข้าออกทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เลยมีคำเกิดขึ้นใหม่ว่า จตุทวาร โสทะทวาร ถานะทวาร ทวารคือตา ทวารคือหู ทวารคือจมูก ทวารคือลิ้น ทวารคือกาย ทวารคือใจ ยืมคำชาวบ้านแท้ๆมาใช้นั้นคือประตูสำหรับเข้าออก ของอารมณ์ต่างๆจะเข้าไปในภายใน ประตูเข้ามีอยู่ 6 อย่างก็จริง แบ่งว่ามันเป็น5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ภายในมีอีก 1 คือ ใจ มโนทวาร อารมณ์จะผ่านมโนทวารแล้วจะเข้าไปที่ไหน มันก็ผ่านเข้าไปในมโน สันฐานมโนที่ตั้งแห่งการปรุงแต่งทางจิตใจ ต่อ1 ที่อยู่ข้างใน จะเรียกว่าอะไรก็ลำบาก จะเรียกว่าจิต ว่าใจ มโน อะไร อยู่เฉยๆ เพราะมันไม่มีอะไรที่บ่งชี้ตายตัวนานพอที่จะบัญญัติอย่างนั้นอย่างนี้ได้ มันมีแต่การปรุงแต่งแล้วเปลี่ยนไปเรื่อย นั้นควรจะพูดว่ามโนทวารนั้นเป็นที่สำหรับอารมณ์ผ่านเข้าไป
เพื่อให้เกิดการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจ ตามกระแสจิตตุบาต กระทั่งเกิดเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้วก็ล้นออกมา อย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ดูกันให้ละเอียดอีกนิดนึง สำหรับทวารทั้ง 6 หู ตา จมูก ลิ้น กาย นั้นมันอยู่ข้างนอก เห็นอยู่แล้วว่าต้องผ่าน เห็นอยู่แล้วว่ามันสิงอยู่ข้างใน ด้วยความรู้สึกทางใจ จึงจะกำหนดประโยชน์ แม้ผ่านทางมโนทวารก็เหมือนกัน ผ่านทวารแล้วก็จะเป็นความรู้สึก ทางใจ ทุกๆทวารให้เกิดผลอย่างเดียวกัน แม้ว่าข้างนอกดูมันยังไกลกันอยู่ ถ้าเปรียบเทียบเหมือนรูปเข้ามาทางตาก็แปลว่ามีตาจตุประสาทอยู่ มีรูปมากระทบที่ตาเป็นสิ่งที่ 2 ทันใดนั้นก็เกิดจตุวิญญาณ วิญญาณทางตาขึ้นมาเป็นสิ่งที่ 3 สามสิ่งนี้สิงกันเข้าเมื่อใด เรียกว่าตัสสะ เข้ามาทางตาก็เรียกว่าจตุสัมผัสของ 3 อย่างถือกันเข้าเรียกว่าจตุสัมผัส ที่ตาอย่างหนึ่ง จตุวิญญาณอย่างหนึ่ง ทางหูก็เหมือนกันมี หูคือจตุปราสาท
มีเสียงเข้ามาสิงกันเข้าก็เกิดโสธะวิญญาณ วิญญาณทางหู 3 อย่างนี้พอสิงกันเข้าก็จะเรียกว่า โสธะสัมผัสคือสัมผัสทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ทางกายก็เหมือนกัน ทางใจไม่ต้องเกี่ยวกับทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย 5 อย่างนี้ เพราะมันมีทวารของมันเอง หยิบเอาอารมณ์ภายในส่วนใหญ่ก็เป็นพวกสัญญาทั้งหลาย น้อมระลึกได้ก็เกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมา ที่ใจ ก็ผ่านมโนทวารเข้าไป คือกระทบกับมโนทวาร ก็เกิดมโนวิญญาณ มโนธรรมมารมณ์ กับมโนวิญญาณ 3 ประการนี้สิงกันเข้าเรียกว่า มโนสัมผัส
สัมผัสทั้ง6 ชนิดมีหลักเกณฑ์เหมือนกันหมด ก็ถือเป็นหลักได้เลยว่า กายะภายในพวกหนึ่ง กายะภายนอกพวกหนึ่ง วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะการสิงกันของอายทนะทั้ง 2 นั้นพวกหนึ่ง 3 พวกนี้กระทบกันเข้าแล้วก็เรียกว่าตัสสะ คือสัมผัส เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเวลา ทุกวัน เวลานาทีก็ว่าได้ ที่เกิดสัมผัสนั้นก็ยังมีเรื่องซับซ้อน ตามปกตินี้สัมผัสนี้จะให้เกิดเวทนา รูปสวยๆเข้ามาทางตาเกิดจตุวิญญาณ และก็สัมผัสรูปที่สวยนั้นก็เกิดเวทนา สบายหรือเป็นสุขทางตาขึ้นมา ถ้ารูปไม่สวยเป็นที่เกลียดชัง หรือรูปของสิ่งที่โกธรแค้นเข้ามานี้ มันก็เป็นสัมผัสที่ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาเวทนา ก็แปลว่าให้เกิดเวทนาได้กันทั้งนั้น
ถ้าเกิดเวทนาแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไปอีก ถ้าในเวลานั้นมันมี อวิชชา มันโง่ มันเผลอสติ มันไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมพระอริยเจ้า มันเป็นคนโง่เง่าต่ออารมณ์ทั้งหลายที่จะมากระทบทางทวารเหล่านี้แล้ว มันก็เป็นโอกาสของอวิชชา ที่จะเกิดขึ้นมาผสมกันทั้งแต่ในขณะสัมผัส ขณะที่สัมผัสมันมีอวิชชา สัมผัสนั้นก็เป็นสัมผัสด้วยอวิชชา มันก็เกิดเวทนา ชนิดที่มาจากอวิชชา ดังนั้นมันจึงเกิดปัญหาเฉเพาะคือกิเลส แต่ถ้าในกรณีของบุคคลที่เป็นสาวกของอริยเจ้า เคยฟังธรรมทั้งหลายมาแล้ว เมื่อมีการกระทบและสัมผัสแล้ว มีสติสัมปชัญะ มีวิชชาเข้ามา แม้ในกรณีที่รูปสวยมันก็มีวิชชา และสติสัมปชัญะ รู้สึกแม้ในรูปที่ไม่สวยเข้ามามันก็มีสติสัมปชัญะ
แม้ว่าจะรู้สึกเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขก็ตาม มันไม่รู้สึกด้วยอวิชชา แต่มันรู้สึกด้วยวิชชา สติสัมปชัญะอยู่กับเนื้อกับตัว เวทนาชนิดนี้มันไม่ได้เกิดด้วยอวิชชา ไม่ได้ผสมด้วยอวิชชา อวิชชาชนิดนี้ไม่มีทางเกิดตัณหา กิเลส นั้นคือมันแยกทางกันเดิน มันจะเข้ามาทางทวารทั้ง 6 ด้วยกัน เฉเพาะเป็นตัสสะแล้วด้วยกันโอกาสนั้นสำคัญมากที่จะต้องเรียกว่า เป็นนาทีหรือวินาทีที่มันสำคัญที่สุด จะวิชชาหรืออวิชชามันก็ที่ตรงนี้ ปราศจากความรู้โดยประการใดๆก็ตามมันก็เป็นอวิชชาก็เกิดเวทนามันก็เป็นเวทนาที่เกิดจากอวิชชา ทุกข์ก็ตาม สุขก็ตาม ในขณะนั้นมันมีวิชชาเพราะสติมันมาทันท้วงที เวทนานั้นก็ไม่เกิดจากจากอวิชชา มันเกิดจากปัญญาเกิดจากวิชชา แม้จะเป็นเวทนาก็ว่าเวทนาไป สติมีจะจัดการกับเวทนานี้อย่างไรก็จัดไปโดยไม่ต้อเกิดตัณหา ทั้ที่ว่ามันจะเกิดเป็นกรรม 3 คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมออกมา ทางกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร มันเป็นเรื่องของอวิชชาโดยพื้นฐาน แม้ว่าจะเป็นกุศลกรรมนั้นก็เป็นกุศลวิชชาประเภทหนึ่ง เพียงไม่รู้เรื่องทุกข์เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ มันยังต้องการบุญ ต้องการกุศล
มันก็เป็นเหตุในทางที่ดีที่เราเรียกว่า กุศล ในระดับทั่วไปก็พอใจที่จะให้มันเป็นกุศล คือดี แล้วก็เกลียด อกุศล แต่ในระดับสูงสุด
โลอุตระนั้นไม่ต้องการทั้งกุศลและอกุศล เพราะว่าอกุศลมันก็พาไปอย่างอกุศล กุศลก็พาไปอย่างกุศล เป็นไปอย่างเวียนว่ายทั้งนั้น เวียนว่ายดีหรือเวียนว่ายเลวก็สุดแท้ มันเป็นการเวียนว่ายทั้งนั้น เวลาเราเห็นการเวียนว่ายเป็นสิ่งไม่พึงปราถนา ก็ต้องมีวิชชาหรือปัญญาที่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา อย่าให้มันเกิดการปรุงแต่งที่เป็นกิเลสขึ้นมา มีวิชชามีปัญญาเกิดขึ้นทันในกรณีนี้ แล้วก็ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เรื่องมันก็เลิกกัน มันก็จบกัน มันไม่ทำให้เป็นอะไรขึ้นมา ถ้ารู้ว่าจะต้องทำอย่างไรก็ทำไป อย่างตัวอย่างที่มันเจ็บ มันพ่าย มันปวดก็รักษาเยียวยากันไป โดยไม่ต้องยินดียินร้าย
ถ้าคนมันไม่รู้มันก็ต้องโวยวาย มันต้องเดือดร้อน มันต้องเสียใจ มันต้องยินดียินร้าย พวกนั้นแหละที่จะนำไปสู่การปรุงแต่งที่เป็นกรรม ก็ว่ากันต่อไปอีกว่า เมื่อมีตัสสะด้วยอวิชาก็เกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอวิชชา โดยอวิชชาที่มาจากอย่างใดอย่างหนึ่งอวิชชานี้ทำให้เกิดปัญหา คือความอยาก ตรงนี้ก็เหมือนกันต้องเตือนกันอยู่บ่อยๆว่า ในภาษาบาลีเขาใช้กันว่า ตัณหา มันจำกัดตายตัว มันดิ้นไม่ได้ คือเป็นความอยากที่มาจากความโง่ ต้องเป็นไปกิเลสและทุกข์เสมอ ส่วนในภาษาไทยเราใช้ว่าความอยาก คำในภาษาไทยนี้มันคำกวม อยากทางดีก็ได้ อยากทางชั่วก็ได้ อยากด้วยวิชาก็ได้ อยากด้วยอวิชชาก็ได้ ใช้คำว่าความอยากเสมอกัน อันนี้เป็นสิ่งที่ทำให้สับสน ทำให้ชาวบ้านรู้ธรรมะไม่ได้ รู้ผิด เถียงกัน ทะเลาะกันเป็นเรื่องความอยาก ความโลภ เป็นต้น
เช่นบางคนจะสอนเขาว่าความอยากนี้เป็นกิเลสทั้งนั้นแบบนี้มันผิด มันก็เป็นความอยากที่มาจากอวิชชาต่างหากที่มาจากกิเลส แต่ความอยากที่ถูกต้อง จะดับทุกข์จะฆ่ากิเลสอย่างนี้ไม่ใช่ตัณหา ภาษาไทยก็เรียกได้ว่าความอยาก อยากจะนิพพานอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ตัณหาเว้นไว้อยากนิพพานด้วยความโง่ เพราะเห่อๆตามเขาไปด้วยความโง่ ถ้าอยากนิพพานอย่างนี้ก็เป็นตัณหาเหมือนกัน และถ้าเห็นทุกข์นั้นเกิดจากอะไรก็พยายามดับทุกข์นั้นเสีย เพื่อดับทุกข์นั้นไม่ใช่ตัณหา แต่มันเป็นการดับตัณหา ดับความอยาก เราจะต้องดูให้ดี ถ้าเราพูดว่าอยาก อยากที่มาจากเวทนาที่มาจากอวิชชาแล้วมันเป็นอยากด้วยกิเลส ก็เรียกว่าตัณหา เห็นรูปสวยเกิดจากจตุวิญญาณสัมผัสด้วยอวิชชา ก็เกิดเวทนารู้สึกอร่อยในทางตา ด้วยอำนาจของอวิชชานั้น เวทนานั้นก็เกิดตัณหาในความอยากที่มาจากอวิชา ตามปกติก็อยากได้ อยากเอา อยากยึด อยากดื่ม อยากเสวย อยากหลงใหลด้วยความมัวเมานี้เขาเรียกว่าตัณหา นี้ปรุงมาจากเวทนา เวทนาปรุงตัณหาแล้วตัณหาปรุงอุปาธาน คือความยึดถือ ตัณหาเป็นเพียงความอยาก เกิดขึ้นในจิตใจเป็นความอยากล้วนๆ เกิดความอยากแล้วมันเกิดความรู้สึกรับช่วงกันไป เป็นความรู้ว่ากูอยาก อย่างนี้เรียกว่าอุปาธาน มีตัวกู มีความรู้ว่าตัวกู ก่อนหน้านี้ยังไม่มีตัวกู
ที่แท้มันก็ไม่ได้มี มันก็เกิดขึ้นมาว่าตัวกูอยากและต้องการสิ่งนั้น เพื่อเป็นของกู ความรู้สึกว่าตัวกูหรือว่าตัวกูนั้นคือ อุปาธาน ได้เกิดขึ้นมาแล้วต่อลำดับจากตัณหา พอเกิดความรู้สึกประเภทอุปาธาน ตัวกูของกูแล้ว ก็ปรุงใหม่ต่อไปก็คือ ภพ เป็นการทำกรรมเป็นกรรมภพ คือจิตมันก็คิดไปตามอำนาจของอุปาธานนั้นเป็นตัวกูอย่างไร กระทำอย่างไร การคิดกระทำลงไป การยึดมั่นถือมั่นนั้น มันก็เป็นมโนกรรมสำเร็จ เป็นกรรมมาจากกิเลส คือตัณหาแล้วก็ออกมาแล้วทางมโนทวาร มโนทวารทำหน้าที่การกระทำกรรมในทางมโน ความคิดนี้มันคิดที่จะเอาความน่ารักนี้ถ้ามันทำต่อไปจะไปคิด จะไปพูดจาหลอกลวงเขาเอามา
มันก็พูดว่าทุจริตออกมาทางวจีทวาร วจีทวารก็ทำหน้าที่แล้ว บางทีทำด้วยวาจาไม่ได้มันก็ทำด้วยกาย ไปลัก ไปขโมย ไปปล้นไปจี้เขาเอามา มันก็เป็นกรรม ที่เป็นทุจริตทางกายกรรม ออกมาทางกายทวารแล้ว มันจะออกมาจาก 3 ทวาร คือทั้งกายทวาร วจีทวาร มโนทวารก็ได้ ในบางกรณีมันก็ไม่ครบทั้ง 3 คือเพียงมโนทวาร และก็วจีทวารก็ได้ ในบางกรณีมันหยุดอยู่ที่มโนทวารก็ได้ ก็ต้องเป็นกรรมเหมือนกัน เราต้องรู้ว่าทวารทั้ง 3 นี้ กล่าวไว่อย่างหมดจดสิ้นเชิงว่ามันมีอยู่ 3 ทวารมันจะออกมาครบทั้ง 3 ทวารก็ได้ เพียง 2 ก็ได้ เพียง 1 ก็ได้มันแล้วแต่กรณีนั้นๆจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่ามันมีความรู้สึกที่ไม่ใช่ตัณหา คิดในทางดีในทางบุญกุศล ก็ได้เหมือนกัน
ถ้าแสดงออกมา ก็แสดงออกมาโดยทวารทั้ง 3 นี้เหมือนกัน เขาก็เรียกกันว่ากุศลกรรม เป็นสุจริตออกมาทางทวารทั้ง 3 แต่ด้วยเหตุที่อวิชาบางชนิดนั้นละเอียดมากมีความถือมั่น ยึดมั่นในความดี ในบุญ ในกุศลอย่างนี้ เขาจัดอย่างนี้ว่ากรรมในทางกุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่นำไปสู่นรก นำไปสู่สวรรค์ ซึ่งก็เวียนว่ายตายเกิดเหมือนกันก้ได้ ถ้ายังต้องการเช่นนั้น ก็กลายเป็นกรรมที่น่าดู กายกรรมที่น่าดู วจีกรรมน่าดู มโนกรรมที่น่าดู สำหรับคนธรรมดาสามัญเท่านั้น ถ้าสำหรับพระอริยะเจ้าแท้จริงท่านไม่ต้องการให้มีกรรม ไม่ต้องการให้เป็นกรรม ต้องการให้หยุดทุกสิ่งกรรม นั้นก็ต้องตัดตอนที่จะมีสัมผัส แล้วก็ไม่มีอวิชา เหมือนอย่างว่าเราเห็นคนเขามีความสุข แล้วก็เกิดอยากมีความสุขบ้าง ก็ทำให้เป็นอย่างนั้น อันนี้ก็ทำด้วยความยึดถือ สุจริต แล้วก็ได้ความสุข
อันนี้ก็ไม่มีใครว่าอะไร ก็ออกมาในรูปกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ได้เหมือนกัน ทวารว่าในเรื่องที่เป็นกรรม ที่ยังมีกรรมก็ทำไปด้วยอำนาจของกิเลส กิเลสก็มีอย่างเลวและอย่างดี คือทั้งอย่างสวยงามและอย่างน่าเกลียด ขึ้นชื่อว่ากิเลส แล้วก็ต้องเป็นไปเพื่อกรรม เพื่อผลกรรมแลวก็เวียนว่ายอยู่ในวัสสะ ทวารทั้ง 3นี้ก็เป็นเครื่องมือตอนหนึ่งเท่านั้น ที่จะเวียนว่ายไปในวัสสะ ถ้าอยากมีความรู้สึกประเภทกิเลส ไม่มีกรรม ไม่มีการกระทำกรรมแล้ว ก็กล่าวได้เลยว่าไม่มีทวารทั้ง 3 สำหรับบุคคลนั้น เมื่อพูดอย่างนี้ก็ต้องระลึกให้ได้ว่า ได้อธิบายมามากแล้ว ว่าตามหลักธรรมะที่แท้จริงชั้นสูงสุดที่ฝึกในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้ถือว่าอะไร มีอยู่ตายตัวหรือเป็นประจำ ไตรทวาร มโนทวารนี้ ไม่ได้ใช้ภาษาของคนธรรมดาพูด
ให้ภาษาธรรมะพูดเขาไม่พูดว่า มีอยู่เป็นประจำ ทวารมีชั่วขณะ เมื่อเกิดความคิดเป็นกายกรรมออกมา วจีทวารก็มีแวบเดียว มีความคิดมประเภทวจีกรรมออกมา มโนกรรมก็แวบเดียว ไม่ใช่มีกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ตั้งอยู่เหมือนประตู หน้าต่างของบ้านเรือนตลอดเวลาอย่างนั้นเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้แต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้นนี้ ในทางธรรมะแท้ไม่ได้มีอยู่เลย มันมีอยู่เป็นขณะเกิดขึ้นเป็นขณะมันทำหน้าที่เท่านั้น ตามีก็ต่อเมื่อตาทำหน้าที่เห็นรูปโดยเฉเพาะอย่างยิ่ง
ในกรณีที่เกิดกิเลสตัณหาอุปาธาน จึงจะเรียกว่าตามี รูปที่มากระทบตาก็เหมือนกันที่มีอยู่ตลอดเวลา ที่เราลืมตาจะเห็น รูปที่มีก็ต่อเมื่อมากระทบตา แล้วปรุงแต่งกันขึ้นมีกิเลสตัณหาในรูปเกิดขึ้น ตาก็พึ่งเกิด รูปก็พึ่งเกิด วิญญาณเนื่องด้วยตากพึ่งเกิด สัมผัสก็พึ่งเกิด ตัณหาก็พึ่งเกิด อุปาธานก็พึ่งเกิด กรรมก็พึ่งเกิด เกิดกรรมแล้วก็เกิดทวาร
สำหรับกรรมนั้นจะแสดงออกมาทางทวารกาย ทวารวาจา ทวารใจนี้เห็นได้ว่าทวารก็พึ่งเกิด พึ่งมีถ้าเข้าใจว่ามีอยู่ตลอดเวลามันก็ว่าเอาเอง คิดเอาเอง รู้สึกเอาเองตามแต่ความรู้สึกของอวิชชา ถือว่ามีอยู่ตลอดเวลา มันก็เป็นเรื่องผิดสำหรับหลักธรรมะ มันอาจจะถูกสำหรับความรู้สึกของชาวบ้านตามธรรมดา จำไว้เสมอว่าในทางศาสนาในทางธรรมนี้ ไม่ได้ถือมีอะไรอยู่จริง อย่างนั้นตลอดเวลา ทุกอย่างพึ่งเกิด แม้แต่ตัวกูของกูก็พึ่งเกิด ทุกคราวที่มีอวิชชาปรุงแต่ง ในเมื่อมีตากระทบรูปเป็นต้นเป็นลำดับไป ทบทวนกันซักทีนึงให้เข้าใจว่ากรรมนี้ก็พึ่งเกิด เมื่อมีกิเลสแล้ว โดยหลักใหญ่แล้วมีกิเลสแล้วจึงจะมีกรรม กรรมไม่ได้มีตลอดเวลา มันก็มีกิเลส และกิเลสก็ได้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
มันก็มีอารมณ์ให้เกิดกิเลส แล้วไม่ใช่ว่ามีอารมณ์แล้วมันจะเกิดได้เป็นกิเลส มันต้องมีอวิชชา ความโง่ไม่รู้จริงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการรับอารมณ์นั้นๆด้วย อารมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่ถือว่ามีอยู่ตลอดเวลา ถือว่ามีแต่ไม่มาเกี่ยวข้องกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ไม่ได้มีตลอดเวลา แต่จะมีก็ต่อเมื่อมันทำหน้าที่ของมัน รู้สึกได้อีกว่าแม้แต่โลกนี้ก็ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา มันจะมีก็ต่อเมื่อเรารู้ว่ามันมี เช่นเดียวกับความทุกข์ เราจะรู้สึกว่าทุกข์ก็ต่อเมื่อมันทุกข์ อย่าเข้าใจว่ามันเที่ยงมันมีอยู่ตลอดเวลา เรื่องประตูทั้ง 3 ทวารทั้ง 3 นี้มีก็ต่อเมื่อมันมีอะไรจะเข้าหรือจะออก โดยทวาร 3 นั้นมีสำหรับออก สำหรับทวาร 6นั้นมีสำหรับเข้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 ทวารนี้มีสำหรับเข้าไป เวลาออกมา จะออกมาเพียง 3 ประตู กาย วาจา ใจ ไตรทวาร เข้าไป 6ประตูก็จริงแต่มันก็ไปรวมอยู่ที่จุดหนึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง สำหรับที่จะปรุงเป็นกิเลสตัณหาแล้วเป็นกรรมออกมาทางทวารทั้ง 3 นี้เป็นเรื่องที่จริงอยู่ตลอดเวลา เรียกในพระบาลีว่า ปติจตุบาต แต่เราก็ไม่รู้เราก็ไม่ได้เรียก เราจึงไม่เข้าใจว่าปติจตุบาตนั้นคืออะไรอยู่ที่ไหน เลยกลายเป็นเรื่องลึกลับพูดกันก็ไม่รู้เรื่อง ที่แท้มันก็เวียนวนอยู่ที่ประตูเข้าประตูออกของคนๆหนึ่งในแต่ละวันตลอดเวลา กลางคืนก็ยังได้แม้หลับก็ยังฝันได้นั้นเป็นจิตใต้สำนึก
แต่มันก็เป็นลักษณะอย่างเดียวกันนั้นจึงรู้จักทวารเข้าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับ รูป เสียง กลิ่น รส อารมณ์ มาสิงเข้าเกิดจตุวิญญาณ โสธะวิญญาณเป็นต้น 3 อย่างนี้ คือ ตา รูป และวิญญาณ พบกันแล้วเรียกว่าตัสสะ แลัวก็ตัสสะกันอยู่ตลอดเวลา เรามีวิชชาหรือไม่ ถ้าไม่มีวิชชามันก็มีอวิชาเท่านั้นเอง ในสภาพที่มันปราศจากความรู้ มันก็เดินไปทางกิเลสตัณหา ถ้ามีวิชชามันก็เดินไปทางสติปัญญาทางการศึกษา จนเราเห็นรูปเราก็รู้ว่าอะไร จะทำอย่างไร ใช้อย่างไร มีข้อเท็จจริงอย่างไร กลายเป็นการศึกษาค้นคว้าไปทางกิเลส ตัณหาอย่างที่ว่า เดี๋ยวนี้ดูให้ดีจะพบว่า มันไม่ได้เกิดกิเลสตัณหาเสียทั้งหมด เพราะว่ามันเฉยหรือว่ามันละเลยกันไปก็ได้ ตาเราก็เห็นรูปอยู่ตลอดเวลา
เห็นว่าเป็นรูปอะไรแล้วมันก็ดับไป เพราะอวิชามันไม่เข้ามายุ่งด้วย มันไม่ได้เกิดความสนใจที่จะเอาจะยึดครอง หูก็เหมือนกันเดี๋ยวนี้ก็ได้ยินเสียงเรไร เสียงนก ได้ยินเสียงต่างๆอยู่ มันสัมผัสแล้วมันก็เฉยไปไม่มีอวิชชาแทรกเข้ามาเป็นเจ้ากี้เจ้าการ เรื่องโอตภะก็อย่างเดียวกัน อย่างเรานั่งอยู่ที่นี่นั้งพิงต้นไม้ พิงก้อนหินหรือพิงพำหนัก เป็นโอตภะอันหนึ่ง แต่ไม่มีอวิชชาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมันก็ไม่มีเรื่องอะไร มันเฉเพาะกรณีที่มันทำให้เกิดความสนใจเป็นพิเศษ อวิชชามันเข้ามาจึงทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย แล้วจะได้ จะเอา จะยึด จะครอง จะเสวย จะบริโภค
จึงจะเป็นกรณีที่ให้เกิดกรรม แล้วก็ผลของกรรมตามทวารทั้ง 3 ขอให้เข้าใจเรื่องทวารในลักษณะอย่างนี้ จากทวาร 6 ไปสู่ทวาร 3 มีลักษณะปติจตุบาตอยู่ ถ้ามันแค่สัมผัสนี้เขาเรียกว่าปติจตุบาตที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมันไม่ประกอบด้วยอวิชชา จะไม่เรียกว่าปติจตุบาตก็ได้ เป็นเพียงอิพะสัจตาธรรมดาที่ไม่ได้ประกอบด้วยอวิชชา ถ้าอิพะสัจตาประกอบด้วยอวิชชาเราจะเรียกว่า ปติจตุบาต เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งนั้นสิ่งโน้นจึงเกิดขึ้น นี่เป็นลักษณะของอิพะสัจตาล้วนๆ แต่ถ้าในนั้นมีกิเลส อวิชาเข้ามาช่วยเราเรียกว่า ปติจตุบาต เป็นคำบัญญัติไว้เฉเพาะที่จะเกิดความทุกข์ หรือในทางตรงกันข้าม ปติจตุบาตในทางที่จะดับทุกข์ เรามีจตุบาตก็ต่อเมื่อเรามีความทุกข์ มีความทุกข์ก็เป็นแค่อิพะสัจตาเฉยๆ จะไม่เรียกว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แค่ประการใด ทวารทั้ง 3 ยังไม่เกิดยังไม่ปรากฏ
ในกรณีที่เป็นเพียงอิพะสัจตาเฉยๆ แต่เป็นอิพะสัจตา ปติจตุปาโท ขึ้นมาแล้วมันไม่มีทางหลีกต้องมีความทุกข์ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ที่เห็นได้ชัดนี้คือทวารทั้ง3 มีไว้สำหรับความทุกข์ อย่างหยาบๆก็เป็นทุกข์คติ หรือเป็นอุบายไปเลย อยากเป็นสุข อยากเป็นสวรรค์ก็เป็นไปเลย เป็นทวารแล้วก็เป็นสิ่งที่ควรระวัง ในขั้นแรกนี้ให้สุจริตเข้าไว้ก่อน พอมีเวลาหายใจที่จะขยับขยายต่อไปให้อยู่เหนือกรรม เหนือทวารทั้งปวง จึงอยากจะให้จำกันไว้ให้มันสูงขึ้นมาจากนรกโดยฉับพลัน แล้วนั่งพักบนสวรรค์กันซักครู่ มีเวลาเนานิพพานนานโขอยู่ ชีวิตผู้ประเสริฐศรีอย่างนี้แล มันไม่สร้างทวาร มันไม่สร้างบ่อสร้างหนองสำหรับไปตกไปจม ถ้าตกนรกก็ปรุงขึ้นมาทันทีออกมาทันทีเหมือนกับแหย่มือไปแตะไฟชักมือกลับทันที อยู่ในสวรรค์ก็อย่าให้มันนานครู่เดียวก็พอ เพราะรู้ว่านี่มันก็หลอกเล่นๆ หยุดอยู่ที่มันไม่ใช่นรก ไม่ใช่สวรรค์ ไม่ใช่ดี ไม่ใช่ชั่ว ไม่ช่บุญ ไม่ใช่บาป ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ อยู่ว่างๆปกตินั้นแหละให้มันนาน มันก็สบายมันมีความสุข มันจึงเห็นได้ว่าทวารทั้ง 3นี้ ไม่ใช่เรื่องที่น่ารักน่ายินดีเลย มันเป็นทางออกของกรรมเข้าไปปรุงแต่งภายในแล้วออกมาอาระวาด ระวังทวารทั้ง 6 ให้ดี มันก็ไม่มีเรื่องที่จะปรุงแต่งในกรรมทั้งหลายก็ไม่มีทวารเกิดขึ้นไหลออกมาให้อาระวาดให้เราต้องเดือดร้อน เดี๋ยวก็ร้องไห้เดี๋ยวก็หัวเราะเหมือนกับคนบ้า
จึงหวังว่าพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้จักทวารทั้ง 3 ควบคุมให้ดีอย่าให้เกิดเรื่อง อย่าให้ออกมาในทางทุกข์ อย่าให้ปรุงแต่งขึ้นมาได้ ก็ยิ่งพิเศษสุด เรื่องไตรทวารเป็นอย่างนี้ คือวิปัสสนาสำหรับประดับสติปัญญาของท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพุทธบริษัทควรจะทราบพื้นฐานทั่วไปของความรู้ในพุทธศาสนาพอสมควรแก่เวลาขอยุติธรรมเทศนา
http://www.vcharkarn.com/varticle/35483