พระพุทธเจ้าชนะมาร

พระพุทธเจ้าชนะมาร

“ลูกหลานเอ๋ย อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เจ้าจะปัญญาดี”

พระเทพสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

ผลบุญที่ลูก-หลานได้รับจากการสวดมนต์ “พาหุง มหากา” เป็นประจำทุกวัน

อนุโมทนา

สวดมนต์ไหว้พระเป็นธรรมประจำชีวิต เป็นข้อคิดประจำใจ เกิดผลผลิตงอกงามเพื่อสร้างความดีให้แก่ตน ผลกำไรเป็นความดีเพื่อมอบให้แก่เพื่อนร่วมชาติ ร่วมโลกได้อยู่ด้วยความมีโชคดีทุก ๆ ท่าน

ขอให้ท่านพร้อมสมาชิกในครอบครัวได้สวดมนต์กันทุกคน ทุกครอบครัว เพื่อเป็นมงคลในชีวิต จะเกิดฐานะดี มีปัญญา จะได้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในชีวิต

ขอให้ท่านชวนลูกชวนหลานทุก ๆ คน สวดมนต์ก่อนนอน ถ้าท่านทั้งหลายตั้งใจ-ศรัทธา เชื่อมั่น ลูกหลานได้สวดมนต์ตามหนังสือนี้แล้ว ผลที่ไ้ดรับจากการสวดมนต์นั้น

๑. ลูกหลานจะมีระเีบียบวินัยดี
๒. ลูกหลานจะไม่เถียง จะเคารพเชื่อฟังพ่อ-แม่ เขาจะรู้ว่าเขาเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่-จะวางตัวได้เหมาะสม
๓. เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว ก็จะเป็นลูกหลานที่ดีของพ่อ-แม่ เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
๔. ผู้ที่สวดและปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเจริญรุ่งเรืองพัฒนาสถาพร จะรวย จะสวย จะดีมีปัญญา จะสมประสงค์ในสิ่งที่ดีงาม
ตลอดไปทุกประการ

ขออำนวยพร

พระเทพสิงหบุราจารย์
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน และเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

เมื่ออาตมาได้พบกับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

คืนวันหนึ่ง อาตมานอนหลับแล้วฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่ง ครองจีวรคร่ำสมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโส ผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมา แล้วกล่าวกับอาตมาว่า

“ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทยจากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้จดจำมาเผยแพร่ออกไป ุึถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว”

ในฝันอาตมาัรับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้ แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่า เราเองนั้นกำหนดจิตด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้วัดอัมพวันซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้นหลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีนั่งร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาด้วยเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง ขณะนั้นเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วพบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ

อาตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือ บทสวดที่เรียกว่า “พาหุง มหาการุณิโก” ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า “เราสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พาหุง มหากา ก็คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสหัส ไปจนถึง ทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ และ จบด้วย ภะวะตุสัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต อาตมาเรียกรวมกันว่า “พาหุง มหากา” อาตมาจึงเข้าใจในบัดนี้เองว่า บทพาหุงนี้ คือ บทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระมหาราชวัง และในระหว่างศึกสงคราว จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้จะเพียงสำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคน ก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ด้วยเดชะ พาหุง มหากา ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

อาตมาพบนิมิตแล้ว ก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไป ใช้เวลาเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า “หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั้นมาหรือ” แต่อาตมาไม่ตอบ

ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุง มหากา ให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุง มหากานั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภููมิ

“ขอให้ญาติโยมสวดพาหุง มหากกันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มครองตัวแล้ว ยังคุ้มครองครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศ มีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า”

ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุง มหากา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีการบันทึกโบรานบอกไว้ดังนี้

“เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไป จะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุง มหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ”

สวดพาหุง มหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มาก ๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุง มหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จ ท่านใช้สวดบูชาองค์พระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุง มหากา ก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชร ให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต

พระเทพสิงหบุราจารย์
เ่จ้าอาวาสวัดอัมพวัน และ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

คำบูชา่พระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

คำบูชาพระรัตนตรัยแปล

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส ดับเพลิงทุกข์โดยสิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

นมัสการพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
( ๓ จบ)

นมัสการพระรัตนตรัยแปล

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ขอบได้โดยพระองค์เอง

ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ไตรสรณคมน์แปล

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม เป็นสรณะ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ เป็นสรณะ

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเข้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ

พระพุทธคุณ

อิติปิโส ภะคะวา

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน

สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง

พุทโธ

ภะคะวาติ.

พระพุทธคุณแปล

พระผู้ผีพระภาคเจ้านั้น

เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์

พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

สันทิฏฐิโก

อะกาลิโก

เอหิปัสสิโก

โอปะนะยิโก

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

พระธรรมคุณแปล

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลไม่จำกัดกาล

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย

อัญชะลีกะระณีโย

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

พระสังฆคุณแปล

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่อง
ออกจากทุกข์แล้ว

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่บุคคุลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้่ควรแก่ทักษิณา

เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี

เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)

๑. พาหุง สะหัส สะมะภินิม มิตะสา วุธันตัง

ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเส นะมารัง

ทานาทิธัม มะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) แปล

๑. พระจอมมุนีได้ทรง ชนะพญามาร ผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึกด้วยธรรมวิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๑. แม่พระธรณีบีบน้ำที่พระพุทธองค์กรวดลงพื้นดินทุกครั้งที่บำเพ็ญ บารมีมาแต่ปางก่อน น้ำจากมวยผมหลั่งไหลออกมาไม่จบสิ้น เหล่า พญามารถูกกระแสน้ำพัดพ่ายแพ้ไปหมดสิ้น

๒. มาราติเร กะมะภิยุช ฌิตะสัพ พะรัตติง

โฆรัมปะนา ฬะวะกะมัก ขะมะถัท ธะยักขัง

ขันตีสุทัน ตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๒. พระจอมมุนีได้ทรง ชนะอาฬวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้างดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามารผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนี้

๒. อาฬวกะยักษ์ อสูรร้ายที่ไล่ฆ่ากัดกินผู้คนเป็นอาหาร เป็นที่น่าหวาดกลัว ยังต้องสยบพ่ายแพ้ต่อพระพุทธเจ้า

๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัต ตะภูตัง

ทาวัคคิจัก กะมะสะนีวะ สุทารุ ณันตัง

เมตตัมพุเส กะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์) ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๓ “พระเทวทัต” ปล่อยช้างที่กำลังตกมัน ชื่อ “นาฬาคิรี” ให้วิ่งตรงมาทำร้ายทิ่มแทงพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ทรงแผ่พระเมตตา จน
ช้างนาฬาคิรีกลับเปลี่ยนทีท่าที่ดุร้ายกลับกลายเป็นแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์

๔. อุกขิตตะขัค คะมะติหัต ถะสุทา รุณันตัง

ธา่วันติโย ชะนะปะถัง คุลิมา ละวันตัง

อิทธีภิสัง ขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๔. พระจอมมุนีได้ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะโจรชื่อ องคุลีมาล (ผู้มีพวงมาลัยคือนิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ มีฝีมือถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพทุธชัยมงคลนั้น

๔. “จอมโจรองคุลีมาล” ที่เหี้ยมโหดน่าเกรงขาม ประหารผู้คนมากมาย เพื่อตัดนิ้วมาทำพวงมาลัยคล้องคอ วิ่งไล่ฟันพระพุทธเจ้า หวังจะได้นิ้วให้ครบพัน แต่ก็ไม่สามารถติดตามได้ทัน พระพุทธองค์จึงตรัสเทศนาสั่งสอนจนองคุลีมาลสำนักบาป ตามเสด็จออกบวช จนได้บรรลุพระอรหันต์ในที่สุด

๕. กัตวะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา

จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกา ยะมัชเฌ

สันเตนะโสมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้มีสัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย ในท่ามกลางหมู่ชน ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๕. นาง “จิญจมาณวิกา” รับจ้างเหล่านักบวชเดียรถีย์ ทำไม้มากลึงผูกติดซ่อนไว้กับท้องและกล่าวร้ายว่ามีครรภ์กับพระพุทธเจ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงวิ่งหนีออกมานอกวัดพระเวฬุวัน ทันทีที่ก้าวพ้นวัด ธรณีก็แยกสูบนางลงไปยังขุมนรกด้วยผลแห่งกรรมนั้น

๖. สัจจังวิหายะ มะติสัจจะ กะวา ทะเกตุง

วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอัน ธะภูตัง

ปัญญาปะที ปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๖. พระจอมมุนีทรงรุ่งเรืองด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิกรนถ์ ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตน ให้สูงล้ำดุจธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๖. เหล่าเดียรถีย์นักบวชผู้หลอกลวง ท้าประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดง “ยมกปาฏิหาริย์” ลอยไปประทับยังยอดต้นมะม่วง ทรงปล่อยน้ำอุทกหลั่งไหลและเปล่งเปลวไฟออกจากพระวรกาย ซึ่งมีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทำได้ เหล่าเดียรถีย์ได้เห็นประจักษ์ พากันเลื่อมใส ขอบวชเป็นสาวก

๗. นันโทปะนัน ทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง

ปุตเตนะเถ ระภุชะเคนะ ทะมา ปะยันโต

อิทธูปะเท สะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๗. พระจอมมุนีได้ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๗. “นันโทปะนันทะ” นาคราชหลงผิดคิดว่าตนมีฤทธิ์มากกว่าพระพุทธเจ้า เนรมิตกายใหญ่โตพันเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานบดบังแสงอาทิตย์ปิดหนทางเสด็จจนมืดมิด พระองค์จึงทรงให้ “พระโมคคัลลานะ” แปลงกายเป็นนาคราชใหญ่กว่าหลายพันเท่า กระหวัดรัดทรมาน “นันโทปนันทะ” จนยอมพ่ายแพ้ในที่สุด

๘. ทุคคะหะทิฏ ฐิภุชะเคนะ สุทัฏ ฐะหัตถัง

พรัหมังวิสุท ธิชุติมิท ธิพะกา ภิธานัง

ญาณาคะเท นะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมัง คะลานิ

๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหม ผู้มีนามว่า พกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น

๘. แม้แต่ “พกาพรหม” ผู้ที่ถือตนว่าบริสุทธิ์กว่าผู้ใดในสามโลก ยังต้องยอมลดตนลงมาเมื่อเทียบกับความีศีลบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์

มหาการุณิโก

มะหาการุณิโก นาโถ

หิตายะ สัพพะปาณินัง

ปูเรตวา ปาระมี สัพพา

ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

ชะยันโต โพธิยา มูเล

สักยานัง นันทิวัฑฒะโน

เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ

ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปาราชิตะปัลลังเก

สีเส ปะฐะวิโปกขะเร

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง

อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง

สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ

สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง

วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง

ปะณิธีเต ปะทักขิณา

ปะทักขิณานิ กัตวานะ

ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะพุทธานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เม

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะธัมมานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เม

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง

รักขันตุ สัพพะเทวะตา

สัพพะสังฆานุภาเวนะ

สะทา โสตถี ภะวันตุ เม

มหาการุณิโกแปล

ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะ เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดี แก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ

เวลาที่สัตว์ ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และ ขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารี บุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็นประทักษิณ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเืมื่อเทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเืมื่อเทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเืมื่อเทอญ

( กราบ ๓ ครั้ง )

เริ่มสวดเท่าอายุ บวกด้วย ๑ จบ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน

สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุส

สานัง พุุทโธ ภะคะวาติ.

( เช่น อายุ ๕ ขวบ ให้สวด ๖ จบ )

นั่งขัดสมาธิ คือ นั่งขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตาทำจิตให้สงบ ทำใจให้สบาย หายใจยาว ๆ เอาสติมาจับไว้ที่สะดือ หายใจเข้าท้องจะพอง (กำหนดว่าพองหนอ) หายใจออกท้องจะยุบ (กำหนดว่ายุบหนอ) ใจนึกถึงท้องที่พองหรือยุบตลอดเวลา แล้วกำหนดในใจว่า “พองหนอ…ยุบหนอ” ให้ทันกับภาวะปัจจุบันทุกครั้ง

แผ่เมตตา (หลับตากำหนดจิตไว้ที่ลิ้นปี่)

( อโหสิกรรม คือ การขอโทษที่หนูได้ล่วงเกินทำสิ่งที่ไม่ดีไว้กับผู้อื่น )

คำแผ่เมตตาแก่ตน

อะหัง สุขิโต โหมิ

นิททุกโข โหมิ

อะเวโร โหมิ

อัพยาปัชโฌ โหมิ

อะนีโฆ โหมิ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

คำแผ่เมตตาแก่ตนแปล

ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

ปราศจากทุกข์

ปราศจากเวร

ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

อุทิศส่วนกุศล ( หลับตากำหนดจิตไว้กลางหน้าผาก )

โปรดรับผลบุญ กุศล ในการที่หนูได้ตั้งใจสวดมนต์ในครั้งนี้ด้วยเทอญ

ข้อควรจำ ขณะหลับตานั่งสมาธิ แผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงลืมตา

( บทแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล ท่องจำให้ได้ และกำหนดจิตตามจึงจะถึงผู้รับได้เร็ว )

คำกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

อิทัง เม มาตุปิตูนัง โหตุ

สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ

สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

อุทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ

สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ

สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ

สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ

สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหนตุ

สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

คำกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแปล

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า

ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า

ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า

ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง

ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง

ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง

ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://palipage.com/watam/cartoon/Pahung.htm

. . . . . . .