ประวัติสมเด็จโต ของตรียัมปวาย (ย่อความจากหนังสือ)

ประวัติสมเด็จโต ของตรียัมปวาย (ย่อความจากหนังสือ)

หนังสือสมเด็จโต ของตรียัมปวาย ปัจจุบันหายากมาก ผมได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยความเคารพนับถือต่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงอยากเผยแพร่ประวัติ และเกียรติคุณของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยย่อความจากหนังสือดังกล่าว ออกมา ดังนี้
ประวัติ สมเด็จโต
ภูมิสมภพ
เกิดในแผ่นดีน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับจากคำบอกเล่าของ นายกลิ่น ญาตฺนายโทน หลาน ของสมเด็จโต ท่านเกิดวันพฤหัส เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ เวลาพระบิณฑบาต ย่ำรุ่ง 9บาท จุลศักราช 1150 ปีวอก ตรงกับ วันที่ 17เมษายน 2331 หลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 7 ปี
เจ้าพระยาทิพยโกษา ได้อธิบายว่า ดวงชะตาสมเด็จนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรางคำนวณถวายรัชกาลที่ 5 แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งประทานให้พระยาทิพยโกษา คัดลอกไว้ ดังนี้ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรมรังสี เป็นผู้ทรงกิตติคุณ มหานิยมยิ่ง เป็นผู้มีพื้นเพดีเป็นที่รักของมุขมนตรี และท้าวพระยามหากษัตริย์ เป็นผู้มีอุตสาหะอันแรงกล้า มักน้อยสันโดษ มีศิษยานุศิษย์มาก และมีศิษย์ที่ทรางกิตติคุณสูง ทรงคุณปัญญายอดเยี่ยมแตกฉานในพระปริยัติธรรม เชี่ยวชาญในอักษรสมัย ช่ำชองในพระกรรมฐาน และเป็นเกจิอาจารย์ชั้นเยี่ยม ปราศจากการสะสมทรัพย์ใดๆ และเป็นผู้มีอายุยืน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในพุทธาคม และศาสตร์อันลี้ลับ

นาม
โต ในวัยเด็กท่านมีร่างกายบอบบาง ไม่แข็งแรง จึงตั้งชื่อว่า โต เพื่อเป็นศิริมงคล

โยมมารดา
ชื่อเกตุ โยมตาชือ ไชยเป็นชาวท่าอิฐ อ.ท่าโพธิ์ (ปัจจุบันเป็นอ.เมือง) จงอุตรดิษถ์ ต่อมาฝนแล้งจึงย้ายมาที่ ต.สระเกศ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นที่ที่โยมบิดาพบกับโยมมารดา จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่ อ.ท่าเรือ จงพระนครศรีอยุธยา

โยมบิดา
เป็นที่ทราบกันว่า คือ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แต่เกิดนอกราชฐาน แต่ได้รับการนับถือจากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร โดยเฉพาะ สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงเรียกว่า หลวงพี่ ทุกคำ

การศึกษา
เบื้องต้น เรียนหนังสือไทยและขอม ที่วัดไชโย อ่างทอง ต่อมามารดา นำท่านมาศึกษาต่อที่สำนัก พระอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก) พระนคร ท่านเป็นพระกรรมฐาน ชาวเวียงจันทร์ ได้เข้ามาตามการอารธนาของ เจ้าอินทร์ น้าชาย เจ้าเขียวน้อย พระชายา ในพระพุทธยอดฟ้า ราชตระกูลเวียงจันทร์ ผู้ปฏิสังขรวัดอินทรวิหาร

การบรรพชา
เมื่ออายุ 12 ปี พ.ศ.2343 โดย พระบวรวิริยเถระ อยู่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพูบน )
สามเณรน้อยนี้ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ครั้งดำรงพระยศเป็น กรมขุนอิศรสุนทร มาก ทรงรับอุปถัมภ์ ถึงกับทรงประทาน เรือกราบกันยาหลังคากระแซง ไว้ใช้สอย ซึ่งเป็นเรือที่สำหรับพระราชวงศืชั้นพระองค์เจ้าเท่านั้น เป็นการแสดงออกว่า ทรงยอมรับว่าเจ้าพระคุณเป็นโอรส โดยพฤตินัย
การศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นาค เปรียญเอก เจ้าอาวาสวัดระหัง วันหนึ่งทรงฝันไปว่า มีช้างเผือกเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎก ในตู้ของท่านจนหมด ชะรอยจะมีเด็กมีปัญญามาฝากเป็นศิษย์ จึงทรงสั่งว่าถ้ามีใครมาฝากเด็ก ให้รอคอยพบท่านให้จงได้ แล้วพระอรัญญิก แก้ว ก็พาสามเณรโต จากวัดอินทรวิหาร มาฝากจริงๆ จึงทรงรับไว้ทันที
การอุปสมบท ปีพ.ศ. ๒๓๕0 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ทรงรับเป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมี องค์สมเด็จพระสังฆราช ศุข วัดมหาธาตุ พระสังฆราชองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จโต ทรงศึกษาต่อกับ สมเด็จพระสังฆราช ศุข ด้วย วันหนึ่ง ทรงรับสั่งว่า ขรัวโตศิษย์เธอเขามาแปลหนังสือให้ฉันฟังน่ะ ไม่ได้มาเรียนหนังสือ ดอก หลัง สมเด็จโตเข้าโบสถ์ไปแปลบาลีให้พระประธานฟังเสร็จแล้วกราบ 3 ครั้งแล้วเทินหนังสือบนศรีษะกลับไป

การศึกษาพระกรรมฐาน
ทรงศึกษาจากพระอาจารย์พระอรัญญิกแก้ว และพระบวรวิริยเถระอยู่ วัดสังเวชวิศยาราม ตั้งแต่เป็นสามเณร จากนั้นทรงเรียนวิชากรรมฐานและพุทธาคมจาก สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถ่อน สมัยที่ดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระณาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ทรงเล่าเรียน พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือครั้งทรงผนวชอยู่ ทรงเรียนอักขรเลขยันต์ การทำผงวิเศษ 5 ประการจากพระสังฆราช ดังนั้นพระสมเด็จของท่านจึงคล้ายกับสมเด็จอรหังของพระสังฆราชสุก มาก โดยสมเด็จอรหังสร้างก่อนสมเด็จวัดระฆัง 44-46 ปี ( สมเด็จอรหังสร้างประมาณ พ.ศ.2363-2365 สมเด็จโตสร้างประมาณ พ.ศ. 2409 )

การสร้างพระให้ศักดิ์สิทธิ์ นั้น ต้องอาศัยการลงอักขรเลขยันต์การเรียกสูตร จากวิชามยฤทธิ์ และการนั่งปรก จากวิชาสมาธิปผารฤทธิ์ ท่านสร้างเต้าปูนนำไปแจกพระในวัดตั้งแต่เป็นเณร มีพระภิกษุนำไปปั้นเป็นลูกกลมๆ มีคนนำไปใช้ กลายเป็น ลูกอมศักดิ์สิทธิ์ ไป
จากนั้นทรงศึกษาต่อกับ พระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี ร.5ทรงบันทึกไว้ว่า พระองค์นี้เดินจากลพบุรีตอนเช้า มาฉันเพลที่กรุงเทพได้

เปรียญยก
สมัยก่อนการสอบเปรียญของพระภิกษุต้องทำการแปลบาลีต่อหน้าพระพักต์ของพระเจ้าอยู่หัวและกรรมการสอบ เมื่อแปลได้กี่ประโยคก็จะได้เปรียญตามนั้น บององค์อาจแปลได้รวดเดียว 9 ประโยคก็มี แต่เจ้าพระคุณสมเด็จโต ก็มีการเข้าแปลทุกปี แต่เมือแปลไปเรื่อยๆ ใกล้จะจบได้ประโยคก็มักจะหยุดกลางคันกลับวัดไปเฉย ๆ โดยไม่มีใครว่ากระไรเลย แสดงว่าท่านไม่ต้องการยศศักดิ์แต่อย่างใด

สมณศักดิ์
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงดำริจะพระราชทานแต่งตั้ง สมเด็จโตเป็นพระราชาคณะ แต่ขรัวโตก็ถวายพระพรขอตัวเสีย บางครั้งก็หนีไปอยู่ถึงกัมพูชาเลยก็มี แต่ก็ไม่สามารถหนีได้ในสมัยรัชกาลที่4 เพราะทรงนับถือเกรงใจและสนิทสนมกันมาก
ในปี พ.ศ. 2395 จึงทรงตั้งเป็นที่ พระธรรมกิตติ วัดระฆัง โดยสมเด็จพระจอมเกล้าทรงถามว่าคราวนี้ทำไมไม่หนี สมเด็จโตทรงตอบว่า สมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงมิได้เป็น เจ้าฟ้า แต่ทรงเป็นจ้าแผ่นดิน แต่พระจอมเกล้าทรงเป็นทั้งเจ้าฟ้า และเจ้าแผ่นดิน โวหารแยบคายนัก เพราะสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงเป็นพระองค์เจ้าเท่านั้น ไม่ใช่พระยศชั้นเจ้าฟ้า ต่อมาอีก 2 ปี พ.ศ. 2397 เป็นที่ พระเทพกวี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์สน วัดสะเกศ มรณภาพ จึงทรงตั้งเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วันที่ 8 กันยายน 2407 เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ 5 ของกรุงรัตนโกสินทร์

รายนามสมเด็จพระพุฒาจารย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนี้
1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ไม่ทราบนาม) วัดอมรินทร์ (วัดบางหว้าน้อย) ได้รับทัณฑืโบยถอด พร้อมพระสังฆราช ศรีวัดระฆัง และ พระพิมลธรรม วัดโพธาราม ด้วยถวายวิสัชชนไม่สบพระทัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมือรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ทรงถวายพระยศคืนทั้ง 3 องค์
2. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อยู่) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
3. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป้า) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ (วัดสะแก)
5. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
อนึ่ง แต่เดิมใช้คำ สมเด็จพระพุทธาจารย์ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ 4

ศิษย์เอกเจ้าพระคุณสมเด็จ
1. หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ป.7 วัดระฆัง
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มรว.เจริญ วัดระฆัง
3. พระธรรมถาวร ช่วง จันทโชติ
4. พระครูธรรมานุกุล ภู จันทสโร หรือ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร

ขอขอบคุณ : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=421625

. . . . . . .