รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เสนอโดย admin group วันที่ 31 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย สมุทรสงคราม วันที่ 1 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สมุทรสงคราม

รายละเอียด
รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ที่ตั้งวัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
สมเด็จพระญาณสังวรพระฉายาว่า “สุวัฑฒโน” พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล “คชวัตร” ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2456 เวลาประมาณ 10 ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อ กิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508 บรรพชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ไต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาวมืองไชยา 2 คน ชื่อ ทับ กับชื่อ นุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรัง เมืองสงขลา จึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูล คชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน 1.นายน้อย คชวัตร 2.นายวร คชวัตร 3.นายบุญรอด คชวัตร นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คน
ดังนี้ 1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร ) 2.นายจำเนียร คชวัตร 3.นายสมุทร คชวัตร โยมบิดาและโยมมารดา นายน้อย คชวัตรโยมบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนตรา อำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2445 จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.2451 ต่อมาไปตรวจราชการเกิดอาการป่วยมากจึงต้องลาออกจากราชการเมื่อหายดีแล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการใหม่จนปี พ.ศ.2456 จึงได้บุตรชายคนโตคือ สมเด็จพระญาณสังวรฯและได้ย้ายตำแหน่งเป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย( ท่าม่วง ) เมื่อปี พ.ศ.2458 ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าได้มีโอกาสซ้อมรบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จฯ เมืองกาญจนบุรีนายน้อยได้นำสมเด็จพระญาณสังวรฯ ขณะนั้นอายุเพียง 2 ขวบ เข้าเฝ้าด้วยต่อมาได้ไปรับราชการที่จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเจ็บป่วยจึงเดินทางกลับเมืองกาญจนบุรีเพื่อพักรักษาตัวและถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง 38 ปี สมเด็จพระญาณสังวรฯได้นางเฮงผู้เป็นป้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กเมื่อโยมบิดามารดาย้ายไปสมุทรสงครามก็ไม่ได้ตามไปด้วย อาศัยอยู่กับป้าที่เมืองกาญจนบุรี การศึกษา สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา เมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดใต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียนต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468 ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรงสวรรคตก่อน ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้ง เช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน บรรชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2469 มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆาราม โยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปี มีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัด เพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณร เพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษา หลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470 ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่
วัดเทวสังฆารามเมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า “สุวัฑฒโน” ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์ ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ ดังนี้
พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯทรงอุสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน
พ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้
พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค
สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรี
ีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 – ป.ธ.9 นอกจากนั้น ยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ สมณศักดิ์
พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญษณสังวรฯ
พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ
ปริณายก องค์ที่ 19

คำสำคัญ
วัดประดู่ รูปปั้นสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

หมวดหมู่
บุคคลสำคัญทางศาสนา ศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยว

สถานที่ตั้ง
วัดประดู่
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล วัดประดู่ อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม

รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดประดู่

บุคคลอ้างอิง พระมหาสุรศักดิ์ อติสกโข

ชื่อที่ทำงาน วัดประดู่
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล วัดประดู่ อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75110
โทรศัพท์ 0-3473-5237

http://www.m-culture.in.th/album/85223

. . . . . . .