บทสวดมนต์พาหุงมหากา ฉบับพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)
บทสวดมนต์พาหุงมหากา ฉบับพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ตธมฺโม) วัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
เนื้อหา [ซ่อน]
1 คำบูชาพระรัตนตรัย
2 ปุพพภาคนมการ
3 ไตรสรณคมน์
4 บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
5 บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
6 บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
7 พุทธชัยมงคลคาถา
8 ชยปริตร
9 พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
10 บทแผ่เมตตา
11 บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
12 ที่มา
13 คำประกาศสิทธิจากเว็บไซต์วัดอัมพวัน
คำบูชาพระรัตนตรัย[แก้ไข]
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ (กราบ)
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
ปุพพภาคนมการ[แก้ไข]
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ไตรสรณคมน์[แก้ไข]
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ[แก้ไข]
อิติปิ โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติฯ
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ฯ
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ[แก้ไข]
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏโก
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัตึพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญูหีติฯ*
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ฯ
หมายเหตุ: อ่านว่า วิญูฮีติ
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ[แก้ไข]
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติตรงแล้ว
ายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏะ ปุริสะปุคคะลา
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย*
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย*
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย*
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัชลีกรณีโย*
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุกเขตตัง โลกัสสาติฯ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ฯ
หมายเหตุ: อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ
พุทธชัยมงคลคาถา[แก้ไข]
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ค๎รีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๑. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๒. พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ดุร้ายเหี้ยมโหด
มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร ผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก จนตลอดรุ่ง
ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี
(คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็น ๑ ในพระบารมี ๑๐ ประการ)
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์) ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๔. พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม
ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ
มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
กัต๎วานะ กัฏะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิจายะ ทุฏะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา
ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๖. พระจอมมุนี ทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์ (อ่านว่า สัจจะกะนิครนถ์, นิครนถ์ คือ นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล) ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๗. พระจอมมุนีทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
ทุคคาหะทิฏภุชะเคนะ สุทัฏะหัตถัง
พ๎รัห๎มัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
าณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหมผู้มีนามว่าพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิต๎วานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัโ ฯ
นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน
สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุก ๆ วัน
นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายมีประการต่าง ๆ
เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (คือ ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล
ชยปริตร[แก้ไข]
มหาการุณิโก นาโถ
หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรต๎วา ปาระมี สัพพา
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา
ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม
เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ชะยันโต โพธิยา มูเล
สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ
ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก
สีเส ปะะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง
อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ
ขอท่านจงมีชัยชนะ
ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร
ที่โคนโพธิพฤกษ์
ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก
ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง
เป็นจอมมหาปฐพี
ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่
เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ
สุยิฏง พ๎รัห๎มะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ
ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์)
ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี
และขณะดี ครู่ดี
บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
กายกรรม เป็นประทักษิณ
วจีกรรม เป็นประทักษิณ
มโนกรรม เป็นประทักษิณ
ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ
สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็นประทักษิณ*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
หากสวดให้ตัวเอง ให้เปลี่ยน เม เป็น เต ทุกแห่ง
หมายเหตุ : ประทักษิณ หมายถึง การกระทำความดีด้วย ความเคารพ โดยใช้มือขวาหรือแขนด้านขวา หรือที่หลายท่าน เรียกว่า “ส่วนเบื้องขวา” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาช้านานแล้ว ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่า การประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตนเคารพนั้น เป็นการให้เกียรติ และเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้นบาลีที่แสดงไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนาและการที่กระทำกรรมทั้งหลาย เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแลฯ
พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)[แก้ไข]
หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
บทแผ่เมตตา[แก้ไข]
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)[แก้ไข]
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม าตีนัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ าตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ
สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
ที่มา[แก้ไข]
เว็บไซต์พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ตธมฺโม) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
คำประกาศสิทธิจากเว็บไซต์วัดอัมพวัน[แก้ไข]
Copyright © 2006-2007 jarun.org All Rights Reserved Version 6.0
ตามเจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ เนื้อหาทุกส่วนในเว็บไซต์นี้ (http://jarun.org/) ท่านสามารถนำไปเผยแผ่ หรือเก็บไว้ใช้ส่วนตัวได้โดยมิต้องขออนุญาต ยกเว้นนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ต้องได้รับอนุญาตจากคณะที่ปรึกษาเสียก่อน
ขอบคุณข้อมูล : http://th.wikisource.org/