งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม

งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม

ด.ต.ปิยะวัฒน์…(ดาบต้น):
งานศพท่านพุทธทาส ยึดแนวทางปฏิบิติ “เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”

แม้แต่งานศพของท่านพุทธทาส อินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม ของท่านที่ทำไว้ก่อนมรณภาพ ท่านเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้เผาศพท่านในสามเดือนโดยจัดการอย่างง่ายที่สุด ไม่จัดงานพิธี โดยให้เผาศพในบริเวณเขาพุทธทอง โดยปักเสาสี่มุมและคาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น นี่เป็นเจตนาของท่านที่ต้องการให้งานศพของท่านเป็นแบบอย่างเหมือนสมัยพุทธกาล โดยมุ่งหวังให้สงฆ์รุ่นหลังยึดถือปฏิบัติต่อไปในภายหน้า

งานศพแบบสวนโมกข์ได้ปรากฏขึ้นแก่สายตาของพระ และฆราวาสจำนวนมากที่มาร่วมงานตามจุดประสงค์ของอินทปัญโญทุกประการ นี่เป็นการจัดการ ศพโดยวิธีเผากลางแจ้ง โดยตั้งโลงศพบนกองฟืน แล้วจุดไฟเผาต่อหน้าสายตาของผู้มาร่วมรับการสอนธรรมอย่างไม่มีสิ่งปิดบัง

ในประเทศนี้มีชาวพุทธจำนวนนับไม่ถ้วนที่ได้พยายามด้วยวิธีการต่างๆ ตาม “ความจริง” และ “ความเชื่อ” ของตน เพื่อที่จะเข้าใกล้พระพุทธเจ้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะมีใครสักกี่คนกันที่สามารถเป็นผู้อยู่ใกล้พระพุทธองค์อย่างที่สุด เหมือนอย่างท่านผู้ที่กำลังถูกเผาไหม้อยู่เบื้องหน้านี้
/\ /\ /\

ด.ต.ปิยะวัฒน์…(ดาบต้น): ประวัติท่านพุทธทาส

ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ถวาย แด่พระพุทธเจ้า,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า,
พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า
เพราะเหตุดังว่ามานี้
ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า”พุทธทาส”

8 กรกฎาคม 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มรณภาพด้วยวัย 87 ปี

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้น แปดเปื้อน บิดเบือน ไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้ง

ด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน

/\ /\ /\
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3712.0;wap2

. . . . . . .