ความมีจุดหมายปลายทาง โดย ท่าน พุทธทาส
หน้าที่ 1 – อวิชชา
ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย การบรรยายประจำวันเสาร์ ในครั้งที่ 12 แห่งภาควิสาฆบูชาในวันนี้อาตมาก็ยังคงกล่าวในเรื่อง สิ่งสำคัญที่พากันมองข้ามต่อไปตามเดิม และเนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายด้วย ก็จะถือโอกาส สรุปใจความทุกครั้งด้วย สำหรับในวันนี้จะได้กล่าว โดยหัวข้อเฉพาะว่า ความมีจุดหมายปลายทาง เป็นสิ่งที่พากันมองข้าม เราไม่ให้ความสำคัญแก่จุดหมายปลายทาง จึงไม่ได้สนใจ ว่าจะมีใครมีจุดหมายปลายทางกันอย่างไร เช่น ไม่รู้ว่า เกิดมาทำไม เพื่อจะได้อะไร ในฐานะเป็นสิ่งที่ดี ที่สุด ของมนุษย์ หรือว่าเราจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้น เป็นอันไม่รู้กันเสียทั้งหมด ก็เลยไม่รู้ว่ามีจุดหมายปลายทางอย่างไร
แต่ว่าคนแต่ละคนมันก็มีความคิดและความหวังของตนอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เขาถือเอานั้นเป็นจุดมุ่งหมาย แต่ก็ไม่ได้คิดจนถึงว่ามันเป็นสิ่งสุดท้าย หรือดีที่สุด ดังนั้นจึงมีแตกต่างกันไป ตามความรู้สึกเฉพาะคนเฉพาะวัย จนลูกเด็กๆเขาก็มีความรู้สึกไปอย่างอันหนึ่งว่าอะไรดีที่สุดเท่าที่เราต้องการ ผู้ใหญ่ก็ต้องการอย่างหนึ่ง ไปตามความรู้สึกของตัวแล้วแต่ว่าจะได้รับการศึกษา อบรมมาอย่างไร มันจึงไม่ตรงกัน หรือว่าเราจะมีจุดหมายปลายทางกันอย่างไรและไม่ได้มีไว้ในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชีวิต นี้คือสิ่งสำคัญที่พากันมองข้าม ในสมัยปัจจุบัน สมัยโบราณเขามีการบอกการสอนการกล่าว ในฐานะเป็นวัฒนธรรม ประจำบ้านเรือนอบรมลูกหลานที่เพิ่งเกิดมาให้รู้ว่ามนุษย์เรานี้ทำไมถึงที่สุด ที่จบกันที่ตรงไหน ขอให้สังเกตดูให้ดี ความมีจุดหมายปลายทางประจำตัวที่แน่นอนนั้นมีความสำคัญอย่างไร ถ้าว่าทุกคนมีความตั้งใจต่อสิ่งซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแล้วสิ่งนั้นมันจะเกิดเป็นสิ่งสูงสุดในชีวิตสำหรับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งทำเล่นไม่ได้ ขอให้ลองไปคิดดูกันทุกคน ว่าเรามีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ในฐานะเป็นจุดหมายปลายทาง เมื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไปโดยทางศีลธรรม หรือในทางศาสนา จุดหมายปลายทางอย่างคนธรรมดา ก็เรื่องรวย เรื่องสวย เรื่องอำนาจวาสนา เรียกว่า ตั้งอยู่ในฐานะอันสูงในทางสังคม อย่างนี้กันเสียมากกว่า อย่างนี้มันไม่ใช่จุดหมายปลายทางอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดหรือยังไม่ถูกต้องก็ว่าได้ เรามีจุดหมายปลายทางสำหรับควบคุมความเป็นไปในชีวิต ให้มันเป็นไปแต่อย่างนั้น ไม่วอกแว่ก ไม่หันเหไปในทางอื่น ในที่สุดก็จะถึงจุดหมายปลายทางที่ควรจะไปถึง ไปที่ประเสริฐที่สูงสุดได้จริงที่ว่ามีอย่างถูกต้องก็หมายความว่ามันจะไม่ทำความยุ่งยากลำบากให้ ล้วนแต่มีความราบรื่นไปตามลำดับ ตามลำดับ จนกว่าจะถึงที่สุด ที่คนเขาไม่เห็นความสำคัญก็เปล่าไปตามอารมณ์ ไปตามความรู้สึกของตน ของตน ตามแต่ที่มันจะเกิดขึ้นอย่างไร เมื่อเราไม่จุดหมายอันแน่นอนสูงสุดอย่างนี้ คนเราก็เอาตามความรู้สึก ตามอายะขันนะ คือตามแต่ว่าตารู้ จมูก ลิ้น กาย ใจ มันจะเอร็ดอร่อยที่ตรงไหนอะไรอย่างไร แต่ถ้าเรามีจุดหมายปลายทางอันแน่นอน ก็ควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กายใจไว้ได้ ไม่ไปมัวหลงใหลอยู่แต่ที่ตรงนั้น เมื่อไม่มีความแน่นอน มันก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาเอง ที่เรียกว่าความรู้สึกทางอายัตนะ ถ้าเกิดปล่อยไปตามความรู้สึกตามอายัตนะแล้วมันก็คือตามอำนาจของ อวิชชา เพราะว่าคนเราไม่มีความรู้มาแต่ในท้อง เกิดมาแล้วก็ไม่ได้ศึกษาว่าอะไรเป็นความหลุดพ้นจากความทุกข์นี้ เรียกว่ามีอวิชชา เมื่อได้สัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเวทนา เกิดตัณหา ตามที่อวิชชาจะพาไป มันก็พาให้วนเวียนอยู่แต่ในวงกลมของกิเลศ ของกรรมและของวิบาก เมื่อเป็นเฉพาะเรื่องเฉพาะขณะ ขณะแต่ก็วนซ้ำกันอยู่ ในเรื่องของกิเลศของกรรมของวิบาก ในที่สุดมันก็รู้แต่เรื่องทางวัตถุที่ทางสิ่ง คือในสิ่งบรรดา สิ่งที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะรู้สึกได้ ในลักษณะเช่นนี้ เราโดยมากจึงไม่สามารถ ที่จะควบคุมจิตใจ ไม่สามารถที่จะควบคุมเกิดแห่งกิเลศ ถือกลายเป็นของธรรมดาไป ในการที่จะมีกิเลศ มันก็วนเวียนอยู่แต่ในกองกิเลศ ซึ่งก็จะเข้าใจกันได้มันไม่ได้ออกไปจากวงกลม ของกิเลศ ของกรรม ของผลกรรมเพราะเหตุนี้ ที่นี้ก็มาดูถึงข้อที่ คนเราโดยเฉพาะสมัยนี้ ไม่มีจุดหมายปลายทางตามหลักพระศาสนา เพราะว่าก็เป็นเพราะการศึกษา ไม่มีคือไม่เป็นไปในลักษณะเช่นนั้น การศึกษาที่เด็กๆได้รับไม่มีการชี้แนะ ให้เด็กๆ มีจุดหมายปลายทางในลักษณะที่เป็นอุดมคติ ในระบบการศึกษาไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะสอนให้รู้ว่าเกิดมาทำไม เป็นต้น
หน้าที่ 2 – นิพพานะปติโยโหตุ
ผู้จัดการศึกษาเหล่านั้น จะเห็นไปเสียว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของการศึกษาแห่งโลกปัจจุบันนี้ที่จะมาสอนกันอย่างนี้ ผู้ใดมาสอนกันอย่างนี้ก็จะพากันเห็นเป็นของกรึ คนไทยที่ไปตามก้นฝรั่งก็จะถือว่าเพราะฝรั่งไม่ได้สอนกันอย่างนี้ เราก็ไม่สอนเรื่องนี้ เพราะว่าเขาไปตามก้นฝรั่ง การศึกษาในโลกที่จึงไม่มีส่วนที่สอนให้รู้ธรรมมะหรือหลักพระศาสนา ซึ่งทำให้มีความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง การศึกษาในโลกมีแต่เรื่องให้รู้หนังสือคือทำให้ฉลาด และก็สอนอาชีพรวมเรียกกันว่าเทคโนโลยีสามารถใช้เทคนิคแห่งการงานที่ตนต้องการจะทำนั้นให้มันสำเร็จประโยชน์ถึงที่สุดได้ผลมาเป็นวัตถุเป็นที่พอใจ ก็แล้วกัน เรื่องมันก็จบกันเพียงเท่านี้ ไม่ได้สอนเลยไปถึงเรื่องทางจิต ทางวิญญาณ ว่ามนุษย์คืออะไร มนุษย์เกิดมาทำไม อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
สำหรับมนุษย์ ถ้าเราจะไปถามนักศึกษาขั้นสูงสุดพวกนี้ ว่าเกิดมาทำไม เขาก็ตอบว่ายังไม่ได้ถามคอมพิวเตอร์ มนุษย์จะไปข้างไหนกันก็ยังไม่ได้ถามคอมพิวเตอร์ อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ก็ยังไม่ได้ถามคอมพิวเตอร์ เขาตอบไม่ถูกหรือไม่สนใจที่จะรู้ ก็ได้แต่ตอบว่ายังไม่ได้ถามคอมพิวเตอร์อยู่เรื่อยไป นี้คือการจัดการศึกษาแต่เพียง 2 สอน ซึ่งมันควรจะมีถึง 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ที่รู้หนังสือได้เฉลียวฉลาด ส่วนที่ 2 รู้อาชีพ ส่วนที่ 3 ให้มีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ถูกต้องจริงๆ ส่วนนี้มันไม่มีไม่ได้สอนพูดกัน คงสอนแต่ 2 ส่วนแรก เมื่อมาจึงขอโอกาสอย่าเรียกการศึกษาระบบนี้ว่าเป็น การศึกษาระบบหมาหางด้วน สุนัขหางขาด หรือสุนัขหางหาย ก็แล้วแต่จะเลือกเอาคำไหน แต่ใจความมันก็ไปอยู่ตรงที่ว่า หมาหางด้วนนั้นเอง การศึกษามีลักษณะเป็นหมาหางด้วน มันก็ได้เกิดมนุษย์หางด้วน หรือฉะนั้นก็จะกลายเป็นมนุษย์ที่มีหางแทนสุนัขไปก็ได้เพราะไม่ได้สอนความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้องมนุษย์อาจจะมีหางงอกออกมาแทนระบบการศึกษาที่มันด้วน ที่หางมันด้วน จึงขอให้มองกันบ้าง อาตมาขอร้องว่าอาจขอให้ช่วยมองกันบ้าง คือเขาไม่มอง ไม่เชื่อก็ไม่อยากจะมอง ก็ต้องขอร้องว่าขอให้ช่วยมองกันบ้างว่าลูกเด็กๆ ของเรา ยังขาดสิ่งสำคัญอยู่สิ่งหนึ่ง คือความมีจุดหมายปลายทาง ของความเป็นมนุษย์นั้นเอง นี้ถ้าบิดามารดาเป็นผู้ไม่มองเสียเอง ก็คือมองข้าม นี้ก็ไม่สามารถที่จะสั่งสอนลูกเด็กๆให้เขามีจุดหมายปลายทาง บิดามารดาแก่ชราขึ้นมาถึงป่านนี้แล้ว ก็ยังไม่รู้ว่า เราจะไปทางไหนกัน เราจะไปที่ไหน ความที่ไม่รู้กันมาจนเป็นธรรมดานี้เรียกว่า การมองข้าม แต่ข้อนี้ต้องยกเว้น บิดามารดายุคเก่า ยุคก่อนๆ นู้น ท่านมีจุดหมายปลายทาง ที่มอบหมายสั่งสอนสืบต่อๆกันมา เรียกว่า นอกโรงเรียน คือไม่ต้องสอนในโรงเรียน คือสอนกันในวัฒนธรรม ในตัววัฒนธรรมประจำบ้านเรือน คนแก่คนเฒ่า ก็พร่ำพูดแต่ว่าเราต้องการจะไปนิพพาน ข้าพเจ้าต้องการจะไปนิพพานเป็นที่สุด มันจะทำอะไรสักนิดหนึ่ง จะรู้สึกว่าเป็นความดี ความงาม ก็จะอธิษฐาน ว่านิพพานปติโยโหตุ คำว่านิพพานะปติโยโหตุเขียนอยู่ตามศาลาบ้างตามโบสถ์ วิหารบ้าง ที่ไหนๆ จะเกือบจะทุกแห่งในสมัยนั้น ที่เหลือตกค้างมาถึงสมัยนี้ก็ยังมี จบคำอธิษฐาน คำว่านิพพานะปติโยโหตุนั้นแหละ เช่นสร้างศาลาให้คนพักทางสักหลังหนึ่งจบโดยคำเขียนว่านิพพานะปติโยโหตุ สร้างโบสถ์สักหนึ่งก็เขียนนิพพานะปติโยโหตุ แม้ไม่ได้เขียนเป็นเรื่องเล็กน้อยพูดด้วยปากก็พูดว่านิพพานะปติโยโหตุ เนี่ยคือวัฒนธรรม ในบ้านเรือนในสายเลือด ที่สืบต่อๆกันมา จนลูกหลานมันก็ได้ยินได้ฟัง รับเอามาถือเป็นประจำทั้งที่ยังไม่ค่อยจะรู้ว่านิพพานนั่นคืออะไร แต่มันก็ยังดีตรงที่ว่ามีจุดหมายอันแน่นอนว่าเราต้องการนิพพาน นั้นทำอะไร ที่นี่ เวลานี้ เพราะเป็นปัจจัยแก่การบรรลุถึงนิพพานในอนาคต ถึงจะทำบุญสักนิดหนึ่งก็อธิษฐานว่าเป็นปัจจัยในการนิพพานในอนาคต ยิ่งทำบุญมากทำบุญใหญ่ก็ต้องการอธิษฐานให้เป็นปัจจัยแก่พระนิพพานเด็กๆ ทำอะไรดีสักนิดหนึ่ง ก็จะรู้จักสงเคราะห์ลงไปว่าเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน นั้นเราก็อุตส่าห์สะสมความดีทีละเล็กทีละน้อยเรื่อยไป เรื่อยไปตลอดทั้งวันทั้งเดือนทั้งปี ให้มันเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน นี้คนโบราณเขามีจุดหมายปลายทางที่พระนิพพานเป็นวัฒนธรรมถ่ายทอดกันมาจากประเทศอินเดียก็ได้ เพราะว่าพระพุทธศาสนา เกิดในประเทศอินเดีย เมื่อพูดถึงประเทศอินเดีย ก็อยากจะพูดว่าพวกนอกพุทธศาสนา พุทธศาสนาอินดู ชั้นสูงสุดเขาก็อบรมมนุษย์กัน ในข้อที่ให้ปรารถนาสิ่งที่เราชาวพุทธเรียกว่า นิพพาน แต่เขาเรียกกันทั่วๆ ไปว่า มุขติ มุดติในภาษาบาลี ที่แปลว่าความหลุดพ้น มุขคติ ในภาษาสันสกฤต ก็แปลว่าความหลุดพ้น เขาต้องการความหลุดพ้น คนยากจนขอทานอยู่ตามท่าน้ำ คนแก่ คนชรา คนขอทาน ผอมเรียกว่าผอมโซ ไปถามเขาว่าต้องการอะไร เขาว่าต้องการ มุขคติ แทนที่จะบอกว่าต้องการอาหารหรือต้องการสตางค์ เขาบอกว่าเขาต้องการ มุขคติ ก่อนอาหาร เล่นเอาผู้ถามนี้งงหรือหงายไปทีเดียว เพราะว่าเขาไปหาตั้งใจจะให้สตางค์ นี้ก็แสดงว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่ฝังลงไปในสายเลือด
หน้าที่ 3 – พระนิพพาน
บางคนเหล่านั้นต้องการ มุขคติ คือความหลุดพ้นในที่สุดเท่ากับนิพพานนั้นเอง เรามานั่งรถไฟไป รถเทียบกันสองขบวนพอดี รถขบวนหนึ่งนั้นมีนักบวชสาธุอย่างอินดูนั่งอยู่ที่ริมบันได บอกให้พวกเราเอาสตางค์ให้ เขาปฏิเสธพัดไม่ยอมรับ ก็ทำชูมือขึ้นบนหัวเป็นวงกลมๆแล้วชี้พุ่งขึ้นไปบนฟ้า ทำมือรอบหัวเป็นวงกลมๆ แล้วก็ชี้ขึ้นไปบนฟ้า ตั้งสามสี่ครั้งเพราะว่าเขาไม่ต้องการสตางค์เพราะว่าเขาต้องการไปที่นู้นที่มือที่เขาชี้ขึ้นไป ก็คือ มุขคติ นั้นเอง เราพูดกันไม่ได้ เราพูดกันไม่รู้เรื่อง เขาพูดภาษาใบ้กันอย่างนี้ นี้แสดงว่าคนอินเดียแบบพระธรรมโบราณ ต้องการ มุขคติ นักบวช ขอทาน ก็ยังไม่ต้องการสตางค์ เขาต้องการ มุขคติ แต่มันยังดีอยู่ ถ้าเป็นนักบวชสมัยหลังนักบวชในเมืองไทยก็ต้องการสตางค์ ก่อนที่ต้องการ มุขคติ
ในอินเดียยังมีนักบวชที่ไม่ต้องการสตางค์ สั่นหัวต้องการมุขคติ หญิงขอทานผอมโซตามท่าน้ำยังต้องการมุขคติ ก่อนแต่ที่ต้องการอาหารเนี่ยไว้คิดดูเถอะว่าคนเหล่านี้มี มุขคติ หรือพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางอะไรอะไรยอมสละได้หมดแม้กระทั้งชีวิต ก็เพื่อมุขคติ และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้คนมีจุดหมายปลายทางที่แน่นอนที่ถูกต้อง ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สูงสุด ประจำตัวกันอยู่ทุกคน ดังนั้นมันจึงเป็นการง่ายดาย ที่จะหลีกห่างจากความชั่ว เพราะเขาจะทำอะไรเขาเองก็จะรู้สึกว่ามันเป็นความชั่วหรือไม่เหมาะสม ก็ทำไม่ได้ เขารู้สึกว่ามันขัดกัน กับอุดมคติ คือสิ่งสูงสุดที่เราต้องการเมื่อเราต้องการพระนิพพาน เรามาทำบาปเล็กบาปน้อยอย่างนั้น อย่างนี้ อยู่อย่างไรได้ จะโกหกใครได้จะหลอกลวงใครได้เพราะจิตมันต้องการพระนิพพาน มันมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่นั้น เพราะป้องกันไม่ให้ทำบาปทุกๆอย่าง มันจึงไปได้โดยสะดวกหรือโดยเร็ว ถ้าไม่มีจุดหมายปลายทางอย่างนี้ประจำใจ ก็เถลไถลไปข้างคู ต้องการนั้นต้องการนี้ สนองตัณหากิเลศของตนมันก็ไปได้เพราะว่าถ้ามันไม่มีจุดหมายปลายทาง ขอให้ท่านทั้งหลาย หยิบขึ้นมาพิจารณาดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลูกเด็กๆ ของเรา ขอให้เราพยายาม จนทำให้ลูกเด็กๆ ของเรารู้จักมีจุดหมายปลายทางอันแน่นอน อันสูงสุดแม้แต่ชีวิตก็สละได้เพื่อสิ่งนั้นเถอะ ความปลอดภัยหรือบุญอันใหญ่หลวงก็จะเกิดขึ้นแก่เขา เพราะมันจะแน่วไปแต่ในทางของความถูกต้อง แต่โบราณเขามีจุดหมายปลายทางกันทั้งนั้น ไม่ว่าชนชาติไหน ภาษาไหน ศาสนาไหน ถ้าเป็นศาสนาที่มีพระเจ้า เขาก็มีพระเจ้าเป็นจุดหมายปลายทาง คือให้ไปอยู่รวมกับพระเจ้าในที่สุด นั้นเป็นจุดหมายปลายทาง บทบัญญัติมีว่าอย่างไร สำหรับปฏิบัติเพื่อไปอยู่รวมกับพระเจ้า เขาก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อว่าตายจะไปอยู่รวมกับพระเจ้า จึงกล่าวได้ว่าพวกที่ถือศาสนาก็มีพระเจ้า เขาก็มีพระเจ้าเป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งถ้าเราไม่มีพระเจ้าเป็นศาสนาที่ไม่มีพระเจ้าเช่นมีพระนิพพานเป็นสิ่งสูงสุด เด็กเขาก็สอนให้รู้จักมีพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทาง และบางลัทธิบางพวกไม่ใช้คำว่านิพพานใช้คำว่ามุขคติ บ้างใช้คำว่า วรรณริยะ บ้างเขาใช้คำเหล่านั้นแหละ เป็นจุดมุ่งหมายปลายทาง ก็เป็นอันว่าทุกคนเขาก็มีจุดหมายปลายทาง เขาอบรมเด็กๆ ให้พอใจ ให้เชื่อ ให้ยอมรับที่จะมีสิ่งนั้น เป็นจุดหมายปลายทางแม้เด็กยังเล็กอยู่ ยังไม่อาจจะรู้ว่า พระเจ้านั้นคืออะไร มุขคติคืออะไร นิพพานคืออะไร ก็ยังอุตส่าห์อบรมให้มันพอใจ ให้มันสมัครใจ ที่จะมีพระเจ้าหรือมีนิพพานหรือมีมุขคติเป็นจุดหมายปลายทางจนได้ เพราะว่าพ่อแม่ทำอยู่ทุกวัน พูดอยู่ทุกวัน แสดงอาการอยู่ทุกวัน มันก็ติดไปในความรู้สึก ในจิตใจของลูกเด็กๆ เชื่อว่าเราต้องไปนิพพานเหมือนกับพ่อแม่ที่เขาต้องการไปนิพพาน นี้ความปลอดภัยมันก็มีขึ้นสำหรับผู้ที่มีจุดหมายปลายทางว่า ตกลงจะไปที่ไหนกัน อย่างนี้เรียกว่ามันอยู่ในรูปของวัฒนธรรมประจำบ้านเรือน หรืออยู่ในรูปขนบธรรมเนียมประเพณีประจำมนุษย์ หมู่นั้น หมู่นั้น พูดกัน กระทำกัน แสดงกันอยู่ตลอดทุกวัน ทุกปี ที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมประจำบ้านเรือน บางคราวก็เอามาพูด มาทำ มาท่อง มาทำกันเป็นกิจลักษณะ มันก็ฝังเข้าไปในจิตใจของบุคคลเหล่านั้น ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่ และทั้งที่เป็นเด็กๆ สำหรับผู้ใหญ่เรา ก็ขอยังคงมีนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางคือทำอะไร อะไรก็ขอความเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน คำว่านิพพานปติโยโหตุ นั้นอย่าเลิกเลย เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุด จะช่วยคุ้มครองมนุษย์เรา ขอให้รักษาเอาคำว่านิพพานปติโยโหตุไว้ให้ได้ พึ่งเข้าใจแจ่มแจ้งในภายหลังมันจะใกล้ๆ เขาไปและก็เห็นชัดยิ่งขึ้นชัดยิ่งขึ้น แล้วก็จะถึงได้จริง มีได้จริง บรรลุได้จริง ขอให้ตั้งความหวังไว้อย่างนี้ ถ้าว่ามีพระเจ้าหรือมีนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางที่หวังอยู่ มันก็ทำให้ บุญหรือบาป เป็นคำที่มีความหมาย บาปเป็นสิ่งน่าเกลียดน่ากลัว บุญเป็นสิ่งน่ารักน่าปรารถนา เพราะว่าเราต้องกันไปถึงจุดหมายปลายทาง บาปนี้คือเครื่องขัดขวาง เป็นอุปสรรค แต่บุญนั้นเป็นเครื่องส่งไปให้ถึง เมื่อมองเห็นชัดอย่างนี้ พวกเด็กๆ ทั้งหลายของเราก็จะกล้าบุญและก็กลัวบาป เขาก็กล้าร่าเริง พอใจที่จะบำเพ็ญบุญ และเกลียดและกลัวบาป เขารู้สึกว่า บุญบาปมีความสำคัญ บาปมีความสำคัญที่จะทำอันตรายทำความล้มเหลวให้บุญมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ เมื่อความคิดอย่างนี้มันมีมากเข้ามากเข้า นานเข้า นานเข้ามันก็เกิดเป็นสิ่งที่แน่นแฟ้นอยู่ในสันดาน เรียกว่าอยู่ใต้สำนึก สมัยใหม่นี้เขาจะพูดว่า มันอยู่ใต้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก มันกลัวบาปมันกล้าบุญอยู่ได้ด้วยจิตใต้สำนึก อย่างนี้มันมีอำนาจแรง มันไม่ทำบาปจริงๆ อยากจะทำบุญจริงๆ จนเรียกว่ากล้าบุญและกลัวบาป เมื่อลูกเด็กๆ ของเรากล้าบุญและกลัวบาป ปัญหามันก็ควรจะหมดไป เดี่ยวนี้มันจะตรงกันข้าม ที่เขาจะไปกล้าบาปและกลัวบุญ หรือว่าไม่รู้ไม่ชี้มันทั้งบาปและทั้งบุญ อยากนี้อันตรายมากพออยู่แล้ว ยิ่งเขาไปกล้าบาปและก็กลัวบุญอย่างนี้ก็ยิ่งอันตรายถึงที่สุดทีเดียว อะไรที่ป้องกันได้เราควรจะรีบกระทำ ให้ลูกเด็กๆ มีสิ่งสูงสุดเป็นจุดหมายปลายทาง อะไรจะช่วยให้ไปถึงที่นั้น ก็พอใจยินดีประพฤติปฏิบัติ อะไรที่ทำให้ล้มละลาย เขาก็เกลียดและกลัวและก็หลีกห่าง นี้แหละอาตมายังรู้สึกว่า แม้เด็กๆ จะไม่ได้รู้จักพระนิพพานเหมือนผู้ใหญ่ ก็ไม่เป็นไร ให้เขาถือเอาพระนิพพาน ตามผู้ใหญ่ไปก่อนก็แล้วกัน ถ้าจะใช้คำธรรมดาสามัญ ซึ่งจะใช้คำว่า สิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้รับนั้นก็คือพระนิพพาน
หน้าที่ 4 – พระนิพพานโดยสำบูรณ์
ทีนี้เขาไม่เข้าใจคำว่าพระนิพพานโดยสำบูรณ์ เข้าใจแต่เพียงว่าเป็นสิ่งที่ควรปรารถนาอย่างยิ่ง นี้มันก็ถูกต้องมากอยู่แล้วแต่ว่ายังไม่สมบูรณ์ก็ค่อยๆบอก ค่อยๆกล่าวกันไป ให้เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ว่านิพพานนั้นคืออะไร นิพพานมีทางที่จะอธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้ กระทั่งถึงลูกเด็กๆ ถ้าหากว่าคนแก่ๆ เหล่านี้ แก่ชวนกันศึกษาเรื่องนี้ให้เพียงพอ เราก็ได้ยินได้ฟังและรับคำสั่งสอนมาแล้วว่า นิพพาน คือความหมดกิเลศ ดับไฟกิเลศหมด และก็ดับทุกข์หมด ก็ดับทั้งไฟกิเลศและไฟทุกข์ นี้เรียกว่า พระนิพพาน ก็สอนให้เด็กๆ รู้ว่า คำว่า พระนิพพาน นั้น แปลว่า เย็น เพราะความร้อนดับ ความร้อนคือไฟ ไฟคือความร้อนดับ ผลคือความเย็น ความเย็นนั้นเรียกว่า พระนิพพาน คำว่านิพพาน ภาษาชาวบ้านทั่วไปก็แปลว่าเย็น นี้ไม่ค่อยเอามาสอนกัน สอนแต่คำว่า นิพพาน
สำหรับใช้ในทางพระศาสนา ก็แปลว่าดับหมดกิเลศก็ยังเข้าใจไม่ได้ เราบอกให้รู้ว่าภาษาธรรมดา ในบ้านในเรือนนั้น คำว่านิพพานแปลว่าเย็น อาตมาก็เอามาอธิบายหลายครั้งหลายหนแล้วว่าให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่าคำสูงๆ ในพระศาสนานั้นล้วนแต่ยืมมาจากคำธรรมดาๆ ของชาวบ้านทั้งนั้นแหละ เอามาใช้ก็เพื่อให้คนชาวบ้านเข้าใจได้ทันที ถ้าผู้รู้ธรรมะสูงสุดไปตั้งคำใหม่คำอื่นขึ้นเอามาพูดมาเรียกชาวบ้านก็ฟังไม่รู้ ไม่มีประโยชน์อะไร คิดว่าเอาคำที่ชาวบ้านเขารู้กันอยู่แล้วมาใช้ เขาก็รับฟังและเข้าใจได้ทันทีว่านิพพานแปลว่าเย็น คือบอกเขาว่าเดี่ยวนี้เราพบความเย็นที่แท้จริง เย็นเพระไฟกิเลศไฟทุกข์ดับ เขาก็สนใจ เย็นถึงที่สุดก็สนใจว่าทำอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร คำว่านิพพานเป็นคำสูงสุด ในทางธรรม ทางพุทธศาสนาและศาสนาอื่น เพราะมีความหมายว่าเย็น ความร้อนทั้งหลายดับนั้นคือเย็น มนุษย์ต้องการเย็นและก็เย็นที่สุดก็คือนิพพาน แต่ว่าแม้ว่าจะดับความร้อนระดับไหนก็ตามเรียกว่านิพพานได้ทั้งนั้น ถ้าความร้อนดับไปเกิดความเย็นขึ้นมา แล้วก็เรียกว่านิพพานได้ทั้งนั้น เหมือนว่าเราร้อนมาอาบน้ำแล้วเย็นสบายอย่างนี้ก็เป็นนิพพานของความร้อนในร่างกาย อย่างนี้ก็พูดได้ เพราะมันพูดได้ถึงเรื่องในครัว ว่าถ้าต้มนิพพานแล้วกินได้เรียกกันมากิน ก็ร้องตะโกนออกมาจากในครัวว่าข้าวต้มนิพพานแล้วมากินได้ แม้ตอนมันเย็นแล้วกินได้หรือว่าไฟแดงๆ นิพพานแล้วเสร็จแล้วดับไฟแล้วหมดอันตรายแล้วอย่างนี้ ความร้อนอะไรดับไปก็เรียกว่านิพพานทั้งนั้น ความหมายสำคัญมันจึงอยู่ที่คำว่าเย็น ถ้าเราไม่มีเงินใช้เดือดร้อน พอมีเงินใช้ก็ดับและเย็น มันก็เป็นเรื่องนิพพานของการที่ไม่มีเงินใช้ หากความทุกข์ความร้อนอย่างใดๆ ดับลงไปก็เรียกว่าเย็นคือคำว่านิพพานนั้นเอง นั้นมันสูงสุดอยู่ตรงที่ความโลภความโกรธ ความหลง มันดับไปแล้วมันก็เย็นมันก็เรียกว่านิพพานอันสูงสุดที่มนุษย์จะทำได้ ก็เลยใช้คำว่านิพพานเนี่ยเป็นที่สุดของความปรารถนาสำหรับมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินเดียอันกว้างใหญ่ มีคนหลายหมู่ หลายเหล่า หลายพวก มีศาสนาหลายระบบ แต่ก็นิยมใช้ คำว่า นิพพาน กันทั้งนั้น อยากที่ปรากฏในพระบาลี ก็มีคนพวกอื่นในลัทธิอื่น มาเฝ้าพระพุทธเจ้า มาขอร้องว่าพระองค์จงแสดงนิพพานของพระองค์แก่ข้าพเจ้าเถิดนี้หมายความว่านิพพานอย่างของพระพุทธเจ้านั้นไม่เหมือนกับของเขาที่มีอยู่แล้ว เขามีลัทธิอื่นมีลัทธิตามแบบของเขาอยู่แล้ว แต่เขายังไม่พอใจต้องเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ขอให้พระองค์ตรงแสดงนิพพานของพระองค์แก่ข้าพเจ้าเถิด อย่างเรื่องราวที่มีอยู่ใน โสรสปัญญา เป็นต้น ก็มีอย่างนี้ นี่มันแสดงให้เห็นว่าทุกๆ ลัทธิ ศาสนานั้น ก็ใช้คำว่านิพพานเป็นจุดสูงสุดกันทั้งนั้น แต่มันก็ต้องต่างกันก็เพราะว่าเขามีความรู้ต่างกัน แสดงพระนิพพานต่างกัน แสดงวิธีปฏิบัติเพื่อนิพพานก็ต่างกัน ปรากฏอยู่ในพระบาลี ที่อธิบาย เช่น บรรพชามะสูด มีข้อความกล่าวไว้ว่า พวกหนึ่งก่อนพุทธกาลนานไกล ความสมบูรณ์ทางกามอารมณ์ก็เป็นนิพพาน ความสุขทางเพศ เป็นไปถึงที่สุดก็ถือว่าเป็นนิพพาน อย่างนี้ก็มี เพราะว่าเขาเพ่งเหล่ง ไปยังในการสงบระงับราคะกิเลศนั้นได้ โดยการประพฤติกระทำทางเพศก็เลยเอารสของเพศหรือเพศรสอันสูงสุดว่าเป็นนิพพาน นี้ก็มีอยู่ลัทธิหนึ่ง นิกายหนึ่ง ซึ่งจัดไว้ในพวกเห็นผิด เข้าใจผิด ที่พวกที่ดีกว่านั้นต่อมาเขาเอาความสุขที่เกิดจากสมาธิในชั้นประถมชาญว่าเป็นนิพพานก็มี เอาความสุขในชั้นทุติยชาญก็เป็นนิพพานก็มี ชั้นทติยชาญ ชตุยชาญ โดยลำดับ
หน้าที่ 5 – พุทธิบริษัท
พวกหนึ่งๆ ก็ถือเอาพระนิพพานอย่างนี้ก็มีแต่พุทธิบริษัทเรายอมรับอย่างนั้น ว่าไม่ถึงว่าจะเรียกว่านิพพาน หนึ่งปรากฏในเรื่องพระบาลีนั้นว่า พระพุทธเจ้าได้ไปศึกษากับครูบาอาจารย์ชั้นสูงสุดในสมัยที่พระองค์ออกบวช เขาสอนให้ถึง เนวสัญญา นาสัญญา ยัตนะ เพราะว่านี้เป็นนิพพาน นี้คือจบหรือสุดของการปฏิบัติ คือธรรมมะสูงสุด พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ยอมรับ ไม่พอใจว่านี้นิพพาน จึงละจากครูบาอาจารย์เหล่านั้น มาค้นหาของพระองค์เอง จนพบพระนิพพานคือการหมดไปของกิเลศ อาสวะ นี้ว่าเป็นนิพพาน แล้วก็เป็นหลักในพระพุทธศาสนา ที่ตายตัวคือมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ใจความสำคัญของคำว่านิพพาน ที่แปลว่าเย็นหรือดับไปแห่งความร้อน จะดับหลอกๆ หรือดับจริงๆ ดับชั่วคราว หรือดับทั้งหมดมันก็เรียกว่าเย็นได้ทั้งนั้นเพราะมันมีหลายระดับหลายชนิดนั้นเอง
เมื่อลูกเด็กๆ นั้นถามว่าพ่อแม่นี่ต้องการนิพพานทำไม มันดีอะไร ก็ควรจะบอกเขาไปตามที่พอจะเข้าใจได้ว่ามันเป็นเรื่องเย็น มันไม่เป็นเรื่องร้อน มันจะเย็นไปตามลำดับ ตามลำดับ จนเย็นที่สุด ไม่อาจจะกลับร้อนหรือมีความทุกข์ได้อีกต่อไป ถ้าเด็กมันโตขึ้น มันพบร้อนนั้นนี้โน้นนู้นมากขึ้นหลายๆอย่าง ก็จะแสวงหาทางเพื่อจะดับให้มันเย็น มันก็เข้าใจนิพพานได้ตามลำดับ ถึงจนโตพอที่จะรู้จักในความร้อนของกิเลศ สมมุติว่าเด็กคนนี้ประสบความสำเร็จในอาชีพในหน้าที่มีเงินมากมีอำนาจวาสนา สามารถมีเกียรติยศชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตาแต่แล้วมันก็ยังร้อน ร้อนเพราะกิเลศภายใน ร้อนเพราะกลัวเรื่องแก่เรื่องเจ็บ เรื่องตาย มันยังร้อน มันก็เห็นว่าเรื่องเงินเรื่องของเรื่องในโลกนี้ดับร้อนไม่ได้ เพราะว่ามีระบบต่างหากที่สูงกว่าโลกเหนือโลกขึ้นไป คือสิ่งที่เรียกว่าพระนิพพาน มันก็จะดับร้อนชั้นสูงสุดได้ ดับกิเลศคือโลภ โกรธ หลง ได้ ดับทุกข์คือปัญหา เกี่ยวกับเกิดแก่เจ็บตายได้ นั้นก็เป็นนิพพานที่เย็น เย็นจริงไม่มีความร้อนอะไรเหลืออยู่อีกแล้วต่อไปนี้ เมื่อจบสิ้นแห่งความร้อน สูงสุดแห่งความเย็น เด็กที่เข้าใจได้ถึงขนาดนี้ ก็ง่ายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นเราให้จุดตั้งต้นที่ถูกต้องไว้ก่อนไม่ว่าเขาไม่รู้จักสิ่งนั้นโดยเนื้อตัวแต่ให้รู้จักชื่อไว้ก่อนก็ยังดีมันจะได้เป็นจุดมุ่งหมายที่แน่นอน แล้วเขาจะพยายามเข้าไปใกล้จุดหมายนั้น แล้วเรามีจุดหมายปลายทางที่แน่นอนที่ถูกต้องไว้กันทุกคนว่ามีนิพพานเป็นจุดหมายปลายทาง แล้วก็มีด้วยจิตใจทั้งหมด ที่จะเกิดความศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจ มีอิทธิพล ที่จะบังคับจิตใจ หรือบังคับตน หรือบังคับชีวิตนี้ให้เป็นไปในตามทางของวัตถุประสงค์อันนั้นได้ นี้แหละเอาไปคิดดูเถิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่จัดระบบการศึกษาในโลกนี้ เห็นนักศึกษา ศึกษาในโลกนี้ไปคิดกันเสียบ้างว่าการที่ให้เด็กๆ เขามีความรู้อย่างนี้มันเสียหายอะไร มันเสียหายอะไรหรือมันจะเป็นผลดีแก่เด็กๆ หรือไม่ หรือเราจะให้การศึกษาหากด้วนนี้กันต่อไป ให้มันรู้เพียงหนังสือและทำมาหากิน มันไม่รู้ว่าจะเป็นมนุษย์อย่างไรให้ดีที่สุด ก็ทีนี้อยากจะพูดกับพ่อแม่ทั้งหลายว่าถ้าผู้ที่เขามีอำนาจจากการศึกษาคือ รัฐบาลที่เขามีอำนาจจัดการศึกษาเขาไม่เอาด้วย เขาปล่อยให้การศึกษามันเป็นหมาหางด้วนอยู่อย่างนั้น ก็เพราะเขาไม่เห็นด้วย ก็ตามใจเขา ก็ช่างหัวเขาใช้คำหยาบคายอย่างนี้ เรานี้แหละพ่อแม่ทั้งหลายนี้แหละจะมาช่วยเสริมการศึกษาในส่วนนี้ให้แก่ลูกเล็กๆ ตาดำๆ มันไม่มีที่เรียนที่โรงเรียน ซึ่งเราก็มาใส่ให้ที่บ้าน ใส่การศึกษานี้ให้ที่บ้าน ย้อนกลับไปหายุคโบราณที่ว่าคนทั้งหลาย เขามีพระนิพพานเป็นจุดหมาย แสดงให้เห็นอยู่ทุกวันทุกคืน จนเด็กๆ มันเข้าใจ มีพระนิพพานเป็นที่หมายในอนาคตกาล เดี่ยวนี้วัฒนธรรมชนิดนี้มันจางไปมาก ในบ้านเรือนหนึ่งๆ นั้นยากที่จะหาผู้ใหญ่ที่จะแสดงให้ลูกเด็กๆ เห็นว่าเราต้องการพระนิพพานเป็นจุดหมาย ก็ตามใจแต่มันช่วยไม่ได้ ในบ้านอื่นเขาไม่ต้องการเขาไม่ทำ ก็ตามใจเขา แต่บ้านเรานี้จะทำ จะแสดงทุกสิ่งทุกอย่างให้ลูกเด็กๆ เห็นว่านิพพานมันเป็นยอดความปรารถนาของมนุษย์ทุกคนในอนาคต โดยพรั้งปากนิพพานปติโยโหตุอยู่บ่อยๆ ถ้าลูกเด็กๆ เขาไปตักบาตรพระสักช้อนหนึ่งแล้วให้เขาพนมมือท่วมหัวว่า นิพพานปติโยโหตุ ไม่รู้ว่าอะไรค่อยถามแม่ทีหลัง ในครั้งนี้ให้พวกลูกเด็กๆ รู้จักกล่าวคำว่า นิพพานปติโยโหตุ มากขึ้น มากขึ้น แล้วเมื่อไปถามแม่ทีหลัง แม่นั้นก็อย่าโง่เกินไปจนที่จะไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไร ทั้งแม่และพ่อจะต้องมีความรู้ ที่จะอธิบายว่านิพพานนั้นเป็นอย่างไรก็เหมือนอย่างที่อาตมาได้พูดมาแล้วก็มันแปลว่าเย็น รู้ไว้ว่ามันแปลว่าเย็น อะไรอะไรที่มันเป็นความร้อน มันแก้ได้ด้วยนิพพานทั้งนั้น
หน้าที่ 6 – บรรลุนิพพาน
ความร้อนทุกชนิดมันแก้ได้ด้วยนิพพาน ถ้าแก่ต้องการนิพพานในฐานะที่ว่าเป็นเครื่องดับความร้อน จะร้อนเพราะไม่มีน้ำอาบ จะร้อนเพราะไม่มีสตางค์ใช้ หรือจะร้อนเพราะไม่มีอะไรตามใจ มันจะทำให้เย็นได้ด้วยพระนิพพาน แต่ต้องอธิบายเฉพาะเรื่องเฉพาะคราวให้เด่นชัด ว่านิพพานนั้นแปลว่าเย็น ความร้อนดับไปนั้นแหละคือนิพพาน เขาก็คงจะเข้าใจได้มากขึ้นตามลำดับ ตามลำดับกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่ได้ไปบวช ได้ไปเรียนได้ไปศึกษาเพิ่มเติม ได้ปฏิบัติสมาทะ วิปัสสนา และเขาก็รู้ได้ นี้คือความเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน ถ้าเราแสดงกับลูกหลานอย่างนี้มันก็เป็นปัจจัยแก่ลูกหลานนั้น ซึ่งมันรักมันน้อมมาในทางของพระนิพพาน มันก็อยากจะบวช มันก็อยากจะศึกษาเล่าเรียน เป็นประพฤติปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลนิพพาน พระศาสนาก็จะไม่สูญหาย ศาสนาก็ยังมีชีวิตอยู่ วัดวาอารามตามแบบพระพุทธเจ้าก็จะยังอยู่ เพื่อเป็นสถานที่สำหรับศึกษาและปฏิบัติพระนิพพาน นี้คนทั้งโลกก็มีบุญ คืออยู่เย็นเป็นสุขเพราะอำนาจของพระนิพพานนั้น เดี่ยวนี้โลกมีแต่ความร้อนก็ดูเอาเถอะว่าโลกมันมีแต่ความร้อนอย่างไร มันตรงกันข้ามกับนิพพาน กิเลศกำลังครองโลกมันก็ร้อนไปตามกิเลศ ทั้งโลกจนกว่าคนจะรู้จักกำจัดกิเลศ กำจัดได้เท่าไหร่ มันก็เป็นนิพพานเท่านั้น นี้แสดงให้เห็นว่าเราใช้คำว่าพระนิพพานในความหมายที่กว้างขวาง กลายเป็นเรื่องของโลกทั้งโลกไปก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่องบุคคล เขามักจะสอนกันว่านิพพานเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลคนเดียวทางคนเดียวเดิน คนเดียวไป คนเดียวถึง นั้นมันก็ถูกส่วนบุคคลมันก็อาจทำได้อย่างนั้น
แต่ถ้าทุกคนในโลกมันทำได้ ก็เท่ากับโลกนี้บรรลุนิพพาน แต่เดี่ยวนี้ถ้าว่าคนบางคนทำได้แล้วก็ชวนเพื่อนชวนฝูงให้ทำกันตามที่ทำได้นั้นดีกว่าทำคนเดียว ไม่รู้จักให้พระนิพพานเป็นทานกันเสียบ้าง ชี้แจงให้คนเข้าใจพระนิพพานเนี่ย เราจะเรียกว่าให้พระนิพพานเป็นทาน ไม่ต้องเสียสตางค์ สร้างโบสถ์ สร้างวัด นี้เสียเงินเป็นล้านๆ แต่ถ้าให้พระนิพพานเป็นทานเนี่ย ไม่ต้องเสียสตางค์เลยก็ได้ พูดจาให้เขาเข้าใจเรื่องพระนิพพาน จนสำเร็จเป็นประโยชน์แก่บุคคลนั้น นี้เรียกว่าให้พระนิพพานเป็นทาน ไม่ต้องลงทุน เป็นเงินเป็นทอง ขอให้ช่วยกันทำทุกคนตามที่จะทำได้ คือช่วยกันพูดจา สนทนา ปรึกษาหารือเรื่องพระนิพพาน ให้เข้าใจแจ่มแจ้งนี้เป็นเรื่องที่ทำจะเป็นสิ่งที่ทำให้โลกนี้มีความสงบสุข มันจะเปลี่ยนเป็นความสงบสุข จากความระอุทนทุกข์ มันจะค่อยๆ เปลี่ยนมาอยู่ความสงบสุข ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง เราถือเอาอันนี้เป็นจุดหมายปลายทาง ขอร้องให้ทุกคนมีจุดหมายปลายทาง คือสันติสุขส่วนบุคคล และสันติภาพส่วนสังคม สำหรับบุคคลเราใช้คำว่าสันติสุขนั้นมันถึงยอดของสันติสุข คือพระนิพพาน ส่วนสังคมของโลกเนี่ยขอให้ถึงสันติภาพ คือมีภาวะเป็นปรกติสุขทั่วกันไปทั้งโลกเป็นพระนิพพานของโลก ก็ไม่มีอะไรจะดีไปกว่านี้ มนุษย์ก็ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้รับแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู่เป็นสิ่งที่ดีกว่านี้ จึงขอให้เรามีจุดหมายปลายทางที่ถูกต้องและแน่นอนเป็นเครื่องยึดถือ ที่แล้วมากระทั่งบัดนี้ เรามองข้ามสิ่งเหล่านี้ ไม่ให้ความสำคัญในสิ่งเหล่านี้ ไม่ย้ำ ไม่เตือน ไม่พูด ไม่อะไรถึงสิ่งเหล่านี้ มันก็เท่ากับมองข้าม เพราะฉะนั้นอาตมาจึงจัดสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังมองข้าม สิ่งสำคัญที่เรากำลังพากันมองข้าม ทีนี้จะไม่พากันมองข้ามกันแล้ว มาเตือนไม่ให้มองข้ามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ 12 อย่ามองข้ามกันเลย ดึงขึ้นมาพิจารณาในฐานะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือจุดหมายปลายทางของความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องและก็เห็นแน่นอนแน่นแฟ้นที่สุด ก็เป็นอันว่าอาตมาได้กล่าวถึงสิ่งที่ 12 ในฐานเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะมองข้าม ขอทบทวนอีกสักนิดในฐานะที่ว่ามันเป็นวันสุดท้ายในการจะบรรยาย สิ่งสำคัญที่พากันมองข้าม ได้พูดไว้ถึง 12 อย่าง อย่างที่ 1 เขามองข้ามความที่มนุษย์กำลังจะสูญเสียความเป็นมนุษย์ คือมนุษย์จะสิ้นสุดในมนุษย์ธรรม เนี่ยไม่มองที่เรากำลังจะสิ้นสุดการเป็นมนุษย์ ก็ไปหลุมหลงในทางกิเลศ และก็เห็นแก่ตัว และก็รบราฆ่าฟัน และสูญเสียไปแล้วในทางจิตใจ ความมนุษย์สูญเสียไปแล้วในทางจิตใจ มีแต่กิเลศตัณหา และกิเลศตัณหานั้นแหละจะทำให้มนุษย์สูญเสียไปอีกในทางร่างกายคือทำลายโลก ด้วยลูกระเบิดหรืออะไรก็สุดแท้ จนมนุษย์ไม่เหลืออยู่สักคนหนึ่ง มนุษย์มีวินาศทางจิตใจก่อน และวินาศทางด้านจิตใจอีกทีนึง กำลังจะเป็นอย่างนี้ เรามองข้าม นี้เรียกว่าคือสิ่งที่มองข้าม สิ่งแรก และสิ่งที่ 2 เรามองข้ามว่าในโลกพระศรีอาสน์นั้นอยู่แค่ปลายจมูก
หน้าที่ 7 – ภาวนา
อย่าฟังผิดว่าโลกพระศรีอาสน์อีกไม่รู้กี่กัปกี่กันกว่าจะมาถึง โลกพระศรีอาสน์อยู่แค่ปลายจมูก พอเราทำให้ธรรมมะกลับมา ให้ศีลธรรมกลับมา มันก็มีโลกพระศรีอาสน์ทันที เรียกว่ารักผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว ทุกคนในโลกรักผู้อื่นไม่เห็นแก่ตัว โลกพระศรีอาสน์ก็กลับมาในพริบตาเดียว ที่เราต้องรักผู้อื่นเนี่ยเราสามารถจะมีโลกพระศรีอาสน์เมตตรัยแล้ว อย่ามองข้ามเสีย อย่ามองข้ามความจริงข้อนี้เสีย
ถ้าคนมันชอบใช้คำว่าหลายกัปหลายกันกี่พันกี่หมื่นกี่แสนชาติ ก็ให้ถือหลักกันเสียใหม่ว่าเกิดกิเลศว่าตัวกูครั้งหนึ่งระลึกชาติหนึ่ง เกิดความหงุนหงันพรันแล่นเป็นตัวกู เรื่องได้ เรื่องเสีย เรื่องโลภ เรื่องโกรธ เรื่องหลงครั้งหนึ่งนี้ก็เรียกว่า เกิดชาติหนึ่ง นั้นในวันหนึ่งเราเกิดหลายสิบชาติ หลายร้อยชาติก็ได้ เดือนหนึ่งก็เกิดเป็นหมื่นเป็นแสน ปีหนึ่งก็ยิ่งเกิดเป็นอสงฆ์ขัยชาติ กว่าจะตายก็เกิดหลายอสงฆ์ขัยชาติ ก็นานพอที่จะให้เกิดศาสนาพระศรีอาสน์ได้ ถืออย่างนี้มันเข้ารูปกันได้ ว่าเรามีหวังที่จะทำให้โลกของพระศรีอาสน์ยเมตตรัยเกิดขึ้นมาในลักษณะที่เราได้สัมผัส ได้เก็บเกี่ยวข้องได้ถูกต้อง ที่เราพากันมองข้ามเสียว่า มองข้ามในข้อที่ว่าโลกของพระศรีอาสน์มันอยู่แคปลายจมูกนี้ มันเห็นปลายจมูกของมัน มันก็หยิบเอาไม่ได้ มันคว้าเอาไม่ได้ และขอให้ทำกันเสียใหม่ถึงสิ่งที่ 3 เรียกว่า ภาวนา เรามองข้ามเพราะเราให้ความหมายผิดแก่คำๆ นี้ ลูกเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาสมัยนี้ เกลียดคำว่า ภาวนาหรือเจริญภาวนา เพราะพ่อแม่ครูบาอาจารย์กำลังสอนผิด ให้ความหมายผิด คำว่าภาวนา นี้แปลว่าทำให้มันเจริญ ทำร่างกายให้เจริญก็ได้ ทำจิตให้เจริญก็ได้ ทำสติปัญญาให้เจริญก็ได้ นี้เรียกว่าภาวนาทั้งนั้น ไม่ใช่มานั่งท่องบ่นอุบอับอยู่ไม่รู้ว่าอะไรแล้วก็ว่าได้แล้วอย่างนี้ นั้นมันก็หน้าดูถูก หน้าหมิ่นจริงๆ ด้วยเหมือนกันว่ามันไม่รู้ว่าทำอะไร ยิ่งทำยิ่งโง่ ถ้าภาวนาที่แท้จริงแล้วยิ่งทำยิ่งเจริญ ยิ่งพิสูจน์ความมีประโยชน์แล้วมันก็ยิ่งเจริญ ทางกายก็จะเจริญ ทางจิตก็เจริญ ทางสติปัญญา ความคิดความเห็นมันก็เจริญ เมื่อมีกำลังกายที่เข้มแข็ง กำลังจิตที่เข้มแข็ง มีกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง นี้คือผลของการทำภาวนา แต่เดี่ยวนี้ไม่มีใครอยากทำภาวนา เพราะเห็นเป็นเรื่องครึคระ ยิ่งการศึกษาสมัยใหม่หมาหางด้วนแล้วยิ่งไม่มีทางที่จะเข้าใจคำว่า ภาวนา เพราะไม่ได้รับการสั่งสอน ข้อที่ 4 ที่เรามองข้ามว่าชีวิตพื้นฐานนี้คือจิตประภัสสร เมื่อมองไปในทางที่ว่าโดยเนื้อแท้ โดยธรรมชาติ คือโดยไม่ต้องทำอะไร จิตมันประภัสสร ว่างจากกิเลศ ว่างจากความทุกข์ กิเลศซึ่งมาบ้างเป็นครั้งคราว เรื่องมันจึงไม่ยากไม่เย็น ในการที่จะรักษาจิตไว้อย่าให้กิเลศเกิด คนพวกหนึ่งเขาสอนกลับตรงกันข้าม เขาสอนว่าชีวิต โดยพื้นฐานคือกิเลศ เต็มไปด้วยกิเลศตลอดเวลา เรามีหน้าที่แกะมันแกะมันแต่มันก็ไม่ออกไปสักที เรื่องมันก็ยาก ทีนี้เรามาบอกความจริงตรงกันข้ามว่าโดยเนื้อแท้จิตเป็นประภัสสรคือว่างอยู่แล้วจากกิเลศ ตามธรรมชาติจิตว่างอยู่แล้วจากกิเลศ ความโลภ คามโกรธ ความหลง ความโง่นี้มันเพิ่งมาเป็นครั้งคราว มันไม่ยาก แล้วระวังให้ดี มั่นรักษาจิตประภัสสรนี้ไว้ได้ สบายหายใจสะดวก เยือกเย็นอยู่เป็นพื้นฐาน กิเลสหรือความร้อนมาเป็นครั้งคราวพอจะพัดเป่าได้ อยากนี้มันได้เปรียบกว่ากันอย่างนี้ นั้นอย่างมองข้ามไปเสียว่าโดยธรรมชาติแล้ว จิตนี้มันประภัสสร คือว่างจากกิเลศ พวกคนโง่มักจะมองข้ามเห็นผิดตรงกันข้าม ไม่รู้ความจริงข้อนี้ มองข้ามความจริงข้อนี้ มันก็เพิ่มความยากลำบากให้แก่บุคคลนั้นในการที่จะปฏิบัติ ข้อที่ 5 เรามองข้ามว่าไม่สำคัญนี้คือความรักผู้อื่น ขอยืนยันขอรบกวน รบเร้าว่าขอให้ท่านทั้งหลายมองกันเสียใหม่ว่า ในความรักผู้อื่นนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องที่แก้ปัญหาทั้งหมดได้ เดี่ยวนี้เราไม่รักใคร ไม่ได้รักผู้อื่นนอกจากตัวหรือพวกของเรา เรารักลูก รักเมีย รักผัวของเรา อย่างนี้มันไม่ใช่รักผู้อื่น รักผู้อื่นก็คือผู้อื่นจริงๆ เราก็ไม่ได้รัก ขอให้มองเห็นว่าการรักผู้อื่นนั้นมันจะแก้ปัญหาได้หมดสิ้น ความรักผู้อื่นแก้ปัญหาทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายโลคียะ ฝ่ายโลกุตระ ในฝ่ายโลคียะนั้น เมื่อเรารักผู้อื่นแล้ว เราก็ฆ่าใครไม่ได้ เพราะรักเขา เราขโมยเขาไม่ได้ เพราะเรารักเขา เราประพฤติผิดกาเมไม่ได้ เพราะเรารักเขาทั้งหมด เราโกหกหลอกลวงเขาไม่ได้ เพราะเรารักเขา เราทำตนเป็นคนเมามายไม่ได้เพราะว่าผู้อื่นเดือนร้อนและรำคาญ เพราะเรารักเขา เราก็ไม่ทำให้เขารำคาญ เราก็ไม่เมามาย เพราะของเมา มีประโยชน์ทางโลกก็สมบูรณ์ ไม่มีใครเบียดเบียนใครโดยประการทั้งปวง แล้วก็รักผู้อื่นนั้นมันทนอยู่ไม่ได้มันต้องช่วยกันแหละ ถ้ามันรักมันทนอยู่ไม่ได้มันต้องช่วยกัน รักผู้อื่นนี้ดีกว่าที่จะพูดว่าไม่เบียดเบียน ไม่เบียดเบียนมันอยู่นิ่งๆ ก็ได้
หน้าที่ 8 – ถะถะตา หรือ สะถาตา
แต่ถ้าเรารักผู้อื่นแล้วอยู่นิ่งๆไม่ได้มันต้องช่วยอย่างตัวรัวตัวสั่น กุลีกุจ่อช่วยทุกข์ช่วยร้อนพร้อมเขา เพราะเรารักเขา นี้เป็นอันว่าความรักผู้อื่นเนี่ยแก้ปัญหาทางโลกๆ ได้หมด โลกนี้มีสันติสุข สันติภาพ ทีนี้อยากจะให้แก้ปัญหา โลกุตระ ด้วย ขอให้เรารักผู้อื่นเถิด เราจะหมดหรือค่อยๆ หมดความเห็นแก่ตัว รักผู้อื่นทีหนึ่งก็ทำให้ลายความเห็นแก่ตัวทีหนึ่ง รักผู้อื่นทีหนึ่ง ก็ทำลายความเห็นแก่ตัวทีหนึ่ง พอทำลายความเห็นแก่ตัวหนักเข้า ความเห็นแก่ตัวมันก็หมดไป กิเลศเกิดไม่ได้ เพราะไม่มีการยึดมั่นถือมั่นว่าตัวว่าตนว่าของตน หมดความยึดมั่นว่าตัวตนเป็นของตน มันก็บรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นความรักผู้อื่น เมตตาเนี่ยไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย มันเรื่องโลกุตระได้ รักผู้อื่นจนหมดความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัวแล้วกิเลศเกิดไม่ได้ ไม่มีทางจะเกิดนานเข้ามันก็หมดอายุขัยของกิเลศ หมดการสะสมแห่งกิเลศ หมดเชื้อแห่งกิเลศ มันก็เป็น โลกุตระได้ รักผู้อื่นคำเดียว แก้ปัญหาได้ทั้งอย่าง โลคียะ อย่าง โลกุตระ
รักในที่นี้ไม่ได้หมายถึงรักด้วยกิเลศตัณหาอย่างรักผัวรักเมีย รักเงิน รักทอง แต่มันรักด้วยสติปัญญา เห็นตามความเป็นจริงว่าเราเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อเห็นมีความทุกข์เราทนอยู่ไม่ได้ก็จะต้องช่วย เมื่ออยู่กันสบายๆ ก็คงจะไม่คิดช่วยกัน พอเห็นมีความทุกข์ยากลำบากก็ทนอยู่ไม่ได้ ความคิดที่จะช่วยมันก็มี ความรักผู้อื่นมันออกมาอย่างนี้ คือมันจะออกมาเมื่อเราเห็นว่ามันเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายอยู่ นั้นขอร้องว่าอย่าได้ข้ามความรักผู้อื่นเป็นธรรมมะสูงสุดทีนี้ข้อ 6 ธรรมมะที่มีชื่อว่า ถะถะตา หรือ สะถาตา คำเดียวความหมายเดียวกัน ถะถะตา หรือ สะถาตา ก็ได้ เป็นที่สรุปธรรมมะทั้งหมดทั้งสิ้น ในพระพุทธศาสนาก็ขอให้มีความรู้เห็นแจ้ง ถะถะตา อย่างเดียวก็เป็นพอ ถะถะตา หรือ สถาตา แปลว่าความเป็นอย่างนั้น ความเป็นอย่างนั้น อวิถะถะตา ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น อนันยถะตา ไม่เป็นอย่างอื่นนอกไปจากความเป็นอย่างนั้น ธรรมมานิยาถะตา เป็นกฎธรรมดาของธรรม ธรรมมะธิถะตา เป็นความตั้งอยู่แห่งธรรม อินัตตปิถะยะตา เป็นความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จะเกิดขึ้น ทั้งหมดนี้คือความหมายของอย่างนี้เองมันเป็นอย่างนี้เองเป็นอย่างที่ว่ามานั้นแหละ จะไม่เป็นอย่างอื่นหรอก ก็เมื่อเห็นว่ามันเป็นอย่างนี้เองตามธรรมชาติตามกฎของธรรมชาติแล้วมันเป็นอย่างนี้เองแล้วจะไปรักหรือโกรธ หรือเกลียด หรือกลัวมันทำไม มันเป็นอย่างนี้เอง เห็นความเป็นอย่างนี้เองเถิดจะปกติ ใจคอจะปกติ ความรู้สึกจะปกติ จะสลัดความยึดมั่นถือมั่นออกไปซะได้ จะไม่เกิด โลภะ โทสะ โมหะ เลย คอยมองเห็นว่ามันเป็นอย่างนี้เองเท่านั้นแหละ มันจะไม่อาจจะเกิด โลภะ โทสะ โมหะเลย ไม่อาจจะรักเพราะมันเป็นเท่านี้เอง ไม่อาจจะเกลียดเพราะมันเป็นอย่างนี้เอง นี้หัวใจแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ที่ สอนให้เห็นว่ามันเป็นอย่างนี้เอง พวก สังขถะธรรม ก็เป็นอย่างนี้ พวก อสังขถะธรรม ก็เป็นอย่างนี้เอง พวก โลคียะ ก็อย่างนี้เอง พวก โลกุตระ ก็อย่างนี้เอง พระนิพพานก็อย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เองตามแบบของ อิถัตปัสจะตา หรือความที่สิ้นสุดลงแห่ง อิถัตปัสจะตา เรียกว่าความเป็นอย่างนี้เอง เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ถะถะตา เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ควรจะเอามาแขวนไว้ที่คอ หรืออยู่ที่ปากที่พ่นออกไปได้ทันทีว่า ถะถะตา มันขลังสักหน่อยพูดถึงบาลี ถ้าพูดกันไปก็อย่างนี้เอง อย่างนี้เองถ้าอย่างนี้เองออกมาได้นี้ อย่าไปมัวนั่งร้องไห้หรือว่าหัวเราะร่าอยู่ ไปรักโกรธเกลียดกลัวอยู่ มันเช่นนี้เอง มันเท่านี้เอง มันอย่างนี้เอง ถ้าจะบอกผู้มันอย่างนี้เองโว้ย มันอย่างนี้เองโว้ย ข้อนี้อย่ามองข้ามเสีย คืออย่ามองข้ามเสียว่า ถะถะตา เนี่ยหัวใจพระพุทธศาสนามีประโยชน์ ป้องกันความทุกข์โดยทั้งปวง เอาไว้กับเนื้อกับตัว จะป้องกันความทุกข์หรือที่มาแห่งความทุกข์ทั้งหลายได้ อย่ามองข้าม ถะถะตา อย่าดูถูกดูหมิ่นและมองข้าม ถะถะตา ให้เป็นเครื่องมือเป็นอาวุธ คู่มือต่อสู้กิเลศ ป้องกันกิเลศ ตามควรแก่กรณี ข้อที่ 7 ธรรมมะนั้นแหละคือพระเจ้าที่ช่วยป้องกันให้คนบางคนที่เขาถือพระเจ้า แล้วเขามาหาว่าเราไม่มีพระเจ้าแต่ว่าฉันมีเหมือนกัน มีพระธรรมเป็นพระเจ้า พระเจ้าคือสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งใด สร้างสิ่งทั้งปวง ควบคุมสิ่งทั้งปวง ทำลายล้างสิ่งทั้งปวง เรามีพระธรรมเป็นพระเจ้า ข้อที่ 8 หลักพื้นฐานทางพระศาสนา ทุกคนต้องมีหลักพื้นฐานทางพระศาสนา ซึ่งเราสรุปเอามาทางพระศาสนาว่ามันเป็นหลักพื้นฐานจะถือปฏิบัติกันอย่างไร สอนลูกเด็กๆ ให้ยึดถือเป็นหลัก หลักพื้นฐานนี้มาดูแล้วว่าตรงกันหมดทุกศาสนาที่เอามาใช้รวมกันได้ สำหรับลูกเด็กๆ ก็คือว่าให้เด็กๆ หรือทุกคนมีความเคารพตัวเอง มีความเชื่อตัวเอง มีการบังคับตัวเอง 3 อย่าง เคารพตัวเองคือเคารพว่าเราเป็นมนุษย์ เราไม่ต้องเลวกว่ามนุษย์ เราต้องได้ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์ควรจะได้ เราอย่าเป็นมนุษย์เสียชาติเกิดนี้เรียกว่าเคารพตัวเอง แล้วเราก็เชื่อตัวเอง คือเชื่อว่าเราต้องทำได้ เราเป็นมนุษย์แล้ว เราต้องทำสิ่งที่ดีที่สุดได้ เราเชื่ออย่างนี้ เรียกว่าเชื่อตัวเอง เมื่อเราบังคับตัวเองให้ทำอย่างนั้นให้ได้ด้วย เรียกว่าบังคับตัวเอง เราจึงดูแลลูกเด็กๆ ให้เราให้มีความนับถือตัวเอง เรียกว่าเคารพตัวเอง ให้มันเชื่อตัวเองและให้บังคับตัวเองให้ได้ ให้ลูกเด็กๆ ของเราเคารพความเป็นมนุษย์ อย่าทำอะไรให้มันเลวกว่ามนุษย์ย่อย่อนกว่ามนุษย์ แล้วมันมีความแน่ใจว่ามันต้องแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ในฐานะที่เป็นมนุษย์ มันต้องเรียนสำเร็จในทางที่ถูกต้องที่ดี มันต้องประกอบกิจกรรมถูกต้องที่ดี ประสบความสำเร็จได้ เมื่อมันมีความเชื่อมั่นอย่างนั้น เมื่อมันต้องเป็นอยู่ด้วยการบังคับตัวเอง ให้อยู่ในร่องในรอยอยู่ตลอดเวลา อย่าทำผิดทำเลวต่างๆ นาๆ อย่างที่เขาห้ามไว้ ซึ่งเป็นความเหลวไหลตั้งแต่เล็กอย่าให้มันมีขึ้นบังคับให้ได้
หน้าที่ 9 – ธรรมมะกามตยะตา
พอค่ำลงเรียกมาถามดูวันนี้ ทำอะไรที่เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์ เคารพตัวเองได้ ให้มันรายงานให้ได้สักอย่างหนึ่งว่า วันนี้มีความคิดดี ควบคุมตัวเองได้ อยากจะขโมยแล้วไม่ขโมย ให้มันเป็นไปในทางถูกต้องอย่างนี้ เคารพตัวเองได้ ไหว้ตัวเองได้เรื่อยไป อย่ามองข้ามหลักพื้นฐานอย่างนี้เสีย ถ้าไม่มีหลักพื้นฐานอย่างนี้แล้ว ลูกเด็กๆ ของเราจะล้มละลายหมด คือความเป็นมนุษย์ของผู้ใหญ่เนี่ยจะล้มละลายหมด ผู้ใหญ่ก็ตามเด็กก็ตามต้องเคารพตัวเอง ต้องเชื่อตัวเอง พร่ำบังคับตัวเอง
ข้อที่ 9 ความกระหายต่อธรรมมะ นี้เอายืมคำบาลีมา ว่า ธรรมมะกามตยะตา ความเป็นผู้ใคร่ต่อธรรมมะ ธรรมมะนั้นคือการปฏิบัติที่ถูกต้อง แก่ความเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา ประโยคนี้พูดมาไม่รู้กี่สิบครั้งแล้วจะจำกันหรือไม่จำก็ไม่ทราบ ว่า คำว่าธรรม ธรรมมะ ในความหมายที่เรียกว่าประยุคหรือปฏิบัติได้มากที่สุดนั้น จะบัญญัติลงไปว่า ธรรมมะ คือ ระบบการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขา นี้คือธรรมมะ เราต้องมีความรู้สึกที่ใคร่ ที่รัก ที่พอใจต่อธรรมมะ รักพระธรรมยิ่งกว่ารักสิ่งใด เหมือนกับต่อพวกมีพระเจ้า เขาก็รักพระเจ้ายิ่งกว่าสิ่งใด เรามีพระธรรมเป็นพระเจ้า เราก็รักพระธรรมยิ่งกว่าสิ่งใด ความรักต่อพระธรรม คือใคร่ที่จะมีพระธรรมมีความเป็นอันเดียวกับพระธรรมที่ต้องมี เด็กๆ ก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี จะต้องมีความรัก ความใคร่ ต่อพระธรรม ใคร่จะได้ ใคร่จะมี ใคร่จะเป็นอันเดียวกันกับพระธรรม ช่วยกันไปปลูกฝังให้มีกันเถอะอันนี้สำคัญที่สุด ช่วยกันไปปลูกฝังให้มีขึ้นมาในนิสัย ในสันดาล ของลูกเด็กๆ ของเรา กระทั้งตัวเราเองให้กระหายต่อธรรมมะ ข้อ 10 ความมีพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ ในโลกนี้ต้องมีพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ มีพ่อแม่ที่แท้จริง ปฏิบัติหน้าที่ของพ่อแม่ได้ ก็เอาตัวรอดได้กันทั้งโลก เดี่ยวนี้เรามองข้ามกันเสียไม่พยายามจะเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ เป็นพ่อแม่พอดีพอได้ เห็นแก่ความสะดวกสนุกสนานส่วนตัวไม่เอาใจใส่กับลูก เรื่องมันยืดยาวมากเวลาไม่พอจะพูด ก็ขอพูดแต่ย่อๆ ให้เป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ เลี้ยงลูกมาด้วยเลือดในอก มีความรัก มีความผูกพันกันอย่างยิ่ง ดึงไปได้แต่ตามที่พ่อแม่ต้องการ ปลอดภัยจากความชั่ว กิเลศตัณหา ทั้งหลาย พ่อแม่สมบูรณ์แบบจะทำได้อย่างนี้ ข้อ 11 ความรักดีขอให้ส่งเสริมสัญชาติญาณ ที่มันมีความรักดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อาตมาเข้าใจเอาเอง คนอื่นจะไม่ยอมก็ได้ อาตมาจะถือว่าความรักดีมันเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งที่มีชีวิตต้องการที่จะเจริญ งอกงาม จะดีที่สุด จะดีขึ้นที่สุด หันหน้าไปทางดีที่สุด เป็นสัญชาติญาณ เมื่อเราส่งเสริมใส่สัญชาติญาณแห่งความรักดีมีมาก เข้มข้นให้มันรุนแรง แล้วก็จะง่าย จะสนุกในการทำความดี เรียกว่าทำงานสนุก ทำความดีสนุก มิฉะนั้นแล้วมันจะไม่ชอบงานไม่ชอบทำความดี มันเหนื่อย มันเอือม มันระอาอะไรต่างๆ จะทำงานไม่สนุก ถ้าเรามีความรักดีเพียงพอ การงานก็จะกลายเป็นของสนุก ไม่ใช่ของน่าเบื่อ ยิ่งเหงื่อออกมาเต็มตัว ยิ่งสนุก เพราะรู้สึกว่ายิ่งได้ทำความดีมาก จนเหงื่อออกมาเต็มตัว นี้คือความรักดี มันยากที่จะมีแก่ลูกเด็กๆ สมัยนี้ซึ่งเขาเข้าใจผิดไปเลือกทางอื่นแล้ว เขาไม่อยากจะต้องทำอะไร ไปเล่าไปเรียน ให้รวย โดยไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องทำงานหนัก นี้คือมันโง่ มันก็ยิ่งเห็นแก่ตัวเท่านั้นเอง มันยิ่งทำงานมาก ยิ่งบรรเทาความเห็นแก่ตัว ความรักดียิ่งทำให้ทำงานสนุก ก็มันดีจริงไม่ต้องให้ใครมาบอก ไม่ต้องมีใครมาเชิด เพราะว่าเราได้ทำความดีจริง มีความรักดีโดยบริสุทธิ์ นี้เป็นต้นทุนอยู่ในใจ ข้อ 12 พูดมาอยู่หยกๆ เมื่อตะกี้นี้ว่าความมีจุดหมายปลายทาง มันถูกต้องและแน่นอน โดยเฉพาะในทางศีลธรรม เป็นอันว่าการบรรยาย แห่งภาค วิสาฆบูชา 12 ครั้ง นี้ จบลงไปแล้วด้วยการบรรยาย ถึงสิ่งที่เรามองข้าม เราพูดกันถึงสิ่งที่เรามองข้าม มา 12 หนแล้ว ก็หมด จบภาค วิสาฆบูชา ในวันนี้แล้ว ถ้ายังมีการบรรยายอีก ก็จะพูดเรื่องอื่น กันต่อไป ในภาค อาสาฬหบูชา อาตมาขอยุติการบรรยายในวันนี้ด้วยความสมควรแก่เวลาเพียงเท่านี้ ขอโอกาสให้พระคุณเจ้าทั้งหลายได้สวดบทพระธรรมในรูปคณะสาธยาย ส่งเสริม ศรัทธากำลังความเพียรของท่านทั้งหลายในการปฏิบัติธรรมมะให้ยิ่งๆ ขึ้นไปต่อไป
http://www.vcharkarn.com/varticle/32452