ธรรมสุดยอด ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๒)

ธรรมสุดยอด

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๒)

ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปธุดงค์ยังป่าเขาลำเนาไพรถิ่นเชียงใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงได้เร่งความเพียรอย่างเต็มเม็ดเต็ม

หน่วย และก็ได้อย่างใจหมายทุกระยะ ภูมิประเทศและบรรยากาศอันน่าทัศนาเย็นกายเย็นใจก็อำนวย พื้นเพของจิตท่าน

ที่เป็นมาตั้งเดิมก็อยู่ในขั้นเตรียมพร้อม สุขภาพร่างกาย 38 พรรษาก็สมบูรณ์ ควรแก่ความเพียรทุกอิริยาบท

สามารถต้านทานกับดินฟ้าอากาศทั้งหน้าแล้ง หน้าฝนและหน้าหนาวของเมืองเหนือได้อย่างทรหด

ความหวังในธรรมขั้นสุดยอดอรหัตตผล ถ้าเป็นตะวันก็กำลังทอแสงอยู่แล้วทุกขณะจิตว่า แดนพ้นทุกข์กับท่านคงเจอ

กันในไม่ช้านี้แน่ท่านเทียบจิตกับธรรมและกิเลสขั้นนี้ว่า เหมือนสุนัขไล่เนื้อตัวสำคัญ เนื้อกำลังอ่อนกำลังเต็มที่

แล้วถูกสุนัขไล่ต้อนเข้าที่จนมุม รอคอยแต่วาระสุดท้ายของเนื้อจะตกเข้าสู่ปากและบดเคี้ยวให้แหลกละเอียดอยู่เท่านั้น

ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นจิตที่สัมปยุตด้วย

มหาสติมหาปัญญาไม่มีเวลาพลั้งเผลอตัวแม้ไม่ตั้งใจจะระวังรักษาเนื่องจากเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ

หมุนทับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยลำพังตนเอง

เมื่อทราบเหตุผลแล้วปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่ต้องมีการบังคับบัญญาเหมือนขั้นเริ่มแรกปฏิบัติใหม่ ๆ ว่าจะต้อง

พิจารณาสิ่งนั้นต้องปฏิบัติต่อสิ่งนี้ อย่าเผลอตัวดังนี้เป็นต้น แต่เป็นสติปัญญาที่มีเหตุมีผลอยู่กับตัวอย่างพร้อมมูลแล้ว

ไม่จำต้องหาเหตุหาผลหรืออุบายต่าง ๆ มาพร่ำสอนสติปัญญาชั้นนี้ให้ออกทำงาน เพราะในอิริยาบถทั้ง 4

เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น เป็นเวลาทำงานของสติปัญญาขั้นนี้ตลอดไม่ขาดวรรคขาดตอน เหมือนน้ำซับน้ำซึมที่ไหลริน

อยู่ตลอดหน้าแล้งหน้าฝน โดยถือเอาอารมณ์ที่คิดปรุงจากจิตเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เพื่อหามูลความจริงจาก

ความคิดปรุงนั้น ๆ ขันธ์ 4 คือนามขันธ์ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

นี่แลคือสนามรบของสติปัญญาขั้นนี้ ส่วนรูปขันธ์เริ่มหมดปัญหามาแต่ปัญญาขั้นกลางที่ทำหน้าที่เพื่ออริยธรรมขั้น 3 คือ

อนาคามีธรรมนั้นแล้ว อริยธรรมขั้น 3 นี้ ต้องถือรูปขันธ์เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณาอย่างเต็มที่ และละเอียดถี่ถ้วนจน

หมดทางสงสัยแล้วผ่านไปอย่างหายห่วง เมื่อถึงขั้นสุดท้ายนามขันธ์เป็นธรรมจำเป็นที่ต้องพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง

ทั้งที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป โดยมีอนัตตาธรรมเป็นที่รวมลง คือพิจารณาลงในความว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล

หญิง ชาย เรา เขา ไม่มีคำว่าสัตว์ บุคคลเป็นต้น เข้าไปแทรกสิงอยู่ในนามธรรมเหล่านั้นเลย

การเห็นนามธรรมเหล่านี้ต้องเห็นด้วยปัญญาหยั่งทราบตามหลักความจริงอย่างจริง ๆ ไม่ใช่เพียงเห็นตามความคาด

หมาย หรือคาดคะเนเดาเอาตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบด้นเดาเอาตามสันดาน ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วย

ปัญญาต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน

?
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2985:2011-03-21-11-11-13&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .