วัดป่าสาลวัน ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๓)

วัดป่าสาลวัน

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๓)

พระอาจารย์มั่นได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่พักอยู่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มีคณะศรัทธายาติโยมเป็นจำนวน

มากมาถามปัญหาธรรมพระอาจารย์มั่นได้ตอบไปเป็นที่ทราบซึ้งถึงใจทุกรายมีคำตอบอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสนใจใคร่นำ

มาลงไว้ ณ ที่นี้?

ท่านตอบว่า”อาตมาบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าในเขาคนเดียวแทบตาย สลบไปสามหนและรอดตายมาได้ ไม่เห็นมีใครเอา

มาร่ำลือเลย ครั้นพออาตมาลืมหูลืมตาธรรมะมาบ้างจึงมีคนหลั่งไหลไปหา ร่ำลือกันว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่าง

นี้ อาตมาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ใครอยากได้ของดีอาตมาจะบอกให้เอาบุญ ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคนจงพากันปฏิบัติเอา

ทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจะไม่ต้องพากันวุ่นวายเที่ยวนิมนต์หาพระมาให้บุญกุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะ

จะหาว่าอาตมาไม่บอก ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียแต่บัดนี้ โรคคันจะได้หาย?

คือจงเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้จะได้หายห่วง หายห่วงกับอะไรๆที่เป็นสมบัติของโลกมิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา

แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่า ๆ ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขแก่ตัวพอ

หาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟเผาตัวก็ทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ

?

?

?

ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปได้ด้วยความอุตส่าห์สร้างความ

ดีใส่ตน จนกลายเป็นสรณะของพวกเรา จะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่า

เป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะในสมัยของพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันหวงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย

บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับฝังหรือเผาคนตายอย่างนั้นหรือ จึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย พากันประมาทจนลืมเนื้อ

ลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กินไม่ได้นอนกลัวแต่จะไม่ได้เพลิดเพลิน ประหนึ่งโลกจะดับสูญจากไปในเดี๋ยวนี้ จึงพากันรีบตัก

ตวงเอาแต่ความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้แม้แต่สัตว์เขาก็มิได้เหมือนมนุษย์

เราอย่าสำคัญตนว่าเราสามารถเก่งกาจฉลาดยิ่งรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่าง

ซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ ถ้าไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ซึ่งอยู่ในฐานะที่ควร

อาตมาต้องขออภัยที่พูดออกจะหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดีต้องพูดถึงแก่นแบบนี้แหละ”

แดนอีสาน

พระอาจารย์มั่นพักอยู่นครราชสีมาพอสมควรแล้ว ก็ออกเดินทางไปที่อุดรฯ พักอยู่ที่วัดโพธิสมภารณ์กับท่านเจ้าคุณ

ธรรมเจดีย์ ต่อจากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์อยู่ 2 พรรษา คณะศรัทธาทางสกลนครมีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์

ซึ่งเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ได้พร้อมกันมาอาราธนานิมนต์ให้ไปโปรดทางสกลนครซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อน

ท่านยินดีรับอาราธนาในปลายปี พ.ศ.2484 และไปพักอยู่วัดสุทธารามสกลนคร โอกาสนี้เอง มีผู้มาขอถ่ายภาพท่าน

ไว้บูชากราบไหว้ท่านอนุญาติให้ถ่ายได้ นับเป็นครั้งที่ 4 ที่ท่านอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ เพราะถ้าท่านไม่อนุญาต

แล้วจะถ่ายไม่ติดเลย

นับเป็นเรื่องแปลกมหัศจรรย์ การขออนุญาตให้ถ่ายรูปครั้งแรกท่านให้ถ่ายเมื่อกลับจากงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์

เสาร์ กันตสีโร ครั้งที่ 2 ให้ถ่ายที่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ครั้งที่ 3 ให้ถ่ายที่บ้านฝั่งแดง อำเภอพระธาตุพนม

และเนื่องด้วยท่านอนุญาตให้ถ่ายภพได้ 4 วาระนี้เอง จึงทำให้บรรดาผู้เคารพเลื่อมใสในตัวท่านทั้งหลายได้มีรูปถ่าย

ของท่านไว้กราบไหว้บูชามาจนทุกวันนี้

ท่านพักอยู่วัดสุทธาวาสพอสมควรแล้วท่านก็ออกเดินทางไปพักที่สำนักป่าบ้านนามน ซึ่งเป็นสำนักกระต๊อบเล็ก ๆ

สำหรับพระธุดงค์กรรมฐานบำเพ็ญเพียร พักอยู่พอสมควรแล้วก็ย้ายมาพักจำพรรษาก็บ้านโคกห่างจากบ้านนามนราว

2 กิโลเมตร ออกพรรษาแล้วก็กลับไปพักที่วัดบ้านนามนอีก จากนั้นก็ไปพักบ้านห้วยแคนและพักที่วัดร้างชายเขาบ้าน

นาสีนวลหลายเดือนพอดีล้มป่วยลง แต่ท่าก็บำบัดด้วยธรรมโอสถจนหายเป็นปกติ ตกเดือนเมษายน พ.ศ.2485

ท่านเดินทางไปฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ที่อุบลฯ เสร็จแล้วก็กลับมาจำพรรษาที่บ้านนามน

ตำบลตองโขบ เขตอำเภอเมืองสกลนคร

บ้านหนองเสือ

พอตกหน้าแล้งพรรษาที่ 3 ก็มีญาติโยมจากบ้านหนองผือนาใน ไปอาราธนาท่านให้มาโปรดที่หมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์

มาพักจำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม สกลนคร พอมาถึงบ้านหนองผือท่านก็ล้มป่วย

ไข้มาลาเรียอยู่แรมเดือนจึงหาย บ้านหนองผือที่ท่านมาจำพรรษาอยู่นี้ ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้ง สี่ด้านมีป่าและภูเขาล้อม

รอบประชาชนทำนาได้สะดวกเป็นแพ่ง ๆ ไป ป่ามีมาก เหมาะสำหรับพระธุดงค์จะเลือกหาที่วิเวกบำเพ็ญกรรมฐาน

ตามอัธยาศัย

เมื่อข่าวว่าพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ บรรดาพระธุดงค์จากที่ต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมและ

ฟังโอวาทท่านมิได้ขาดจากพวกอุบาสกอุบาสิกาจากจังหวัดต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมาทุกวัน ทำให้บ้านหนองผือ

กลายเป็นจุดศูนย์กลางของพระธุดงค์กรรมฐานและอุบาสกอุบาสิกาไปในสมัยนั้น

พระอาจารย์มั่นพักอยู่บ้านหนองผือ 5 พรรษานานเป็นพิเศษ เพราะชราภาพอายุ 75 ปีแล้ว

ไปไหนมาไหนไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3126:2011-10-14-11-10-01&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .