สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ประวัติของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จโตมีคนบันทึกและแต่งไว้ 2-3 คน แต่มาเขียนเอาสมัยหลังก็มี สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด ไม่ตรงกันสักฉบับ ฉบับที่คนให้การเชื่อถือคือของพระยาทิพย์โกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่ง วันเดือน ปี เกิด พอเข้ากับบันทึกที่หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ ซึ่งเคยรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จโตแทบจะทุกวัน เพราะไปช่วยท่านทำพระสมเด็จนั่นเอง บันทึกย่อนี้มีใจความว่า
?พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒?
ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า ?แต่เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อปู่คำได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้?
อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำต่ออีกว่า ?พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอที่เสด็จยุโยป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว.? จบบันทึกของหลวงปู่คำเพียงเท่านี้
หลวงปู่คำ องค์นั่งด้านซ้ายมือของหลวงปู่โต ส่วนองค์ขวามือคือพระปลัดไฮ้ เป็นพระฐานานุกรมของหลวงปู่ อยู่วัดระฆัง หลวงปู่โตเรียกหลวงปู่คำว่าหลวงพี่คำ
หลวงปู่โตเกิดที่ไหน เมื่อไร ใครเป็นพ่อ
ผมเคยอ่านชีวประวัติหลวงปู่โตมาหลายครั้ง พอจำได้ว่า คุณแม่ของสมเด็จเป็นชาวไร่ชาวสวนอยู่แขวงเมืองกำแพงเพชร ปลูกกระท่อมอยู่หัวไร่ปลายนากับตาผลยายลา ผู้เป็นพ่อแม่ วันหนึ่งมีคนแปลกหน้า แต่งตัวนักรบภูมิฐาน ขี่ม้าผ่านมาที่กระท่อมนั้น ด้วยอากาศร้อนและกระหายน้ำเป็นกำลังจึงแวะที่กระท่อมน้อยขอน้ำดื่ม จึงพบสาวน้อยนามงุด นางจึงเอาขันไปตักน้ำแล้วเด็ดเอาดอกบัวคลี่เกสรโปรยลงในขันน้ำให้ดื่ม เจ้าของม้าจะดื่มเร็วก็ไม่ได้เพราะติดเกสรบัว เมื่อดื่มจนหมดขันแล้วจึงถามสาวน้อยว่า ?หนู เราหิวน้ำแทบตายจึงมาขอน้ำดื่ม ทำไมหนูจึงแกล้งเราทำให้ดื่มน้ำลำบาก?
?หนูเห็นท่านเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย และหิวน้ำมาก ถ้าให้ดื่มสะดวกอาจสำลักน้ำก็ได้ จึงเด็ดดอกไม้ใส่เพื่อให้ท่านค่อย ๆ ดื่มจะได้ไม่มีอันตราย ไม่ได้ตั้งใจกลั่นแกล้งท่านหรอกค่ะ?
ชายนิรนามได้ฟังถ้อยคำของสาวน้อย เห็นหน้าตาหมดจด น้ำเสียงสดใส ทั้งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ก็นึกรัก จึงถามว่า พ่อแม่ของหนูอยู่ไหนหรือ? สาวน้อยบอกว่า ?อยู่ในไร่จ้ะ? ชายนิรนามกล่าวว่า ?ไปเรียกท่านมาหาเราหน่อยสิ เรามีธุระจะคุยด้วย?
หลังจากตาผลและยายลามาถึงกระท่อมแล้ว นักรบนิรนามก็กราบไหว้ทั้ง ๒ ท่าน ๒ ตายายเห็นแขกแต่งตัวภูมิฐานมากราบไหว้ตนเองก็ตกใจจึงต่างฝ่ายต่างก้มลงกราบกันดูเป็นเรื่องตลก ฝ่ายแขกจึงบอกว่า ? คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องมาก้มกราบฉันหรอก ฉันมาแวะขอน้ำดื่ม จึงมาพบลูกสาวของท่าน เห็นแล้วก็ชอบใจอยากได้เป็นภรรยา ไม่ทราบคุณพ่อคุณแม่จะขัดข้องหรือไม่ ตัวฉันเองอยู่บางกอก จะไปทัพทางเหนือ วันนี้ด้วยฉุกละหุกนักไม่มีอะไรติดมือมา มีแต่แหวนวงนี้ พอจะใช้เป็นสินสอดทองหมั้นได้ เมื่อกลับจากทัพแล้วจึงจะมาไถ่ถอน ? จึงวันนั้น เมื่อได้พูดคุยถามไถ่กันจนมั่นใจแล้ว พ่อแม่ก็ถามสาวน้อย เธอก็ไม่ขัดข้อง จึงจัดงานวิวาห์ง่าย ๆ ในกระท่อมน้อยนั้นเอง นักรบนิรนามจึงอยู่พักค้างคืนที่กระท่อมน้อยหลังนั้น ๒-๓ คืน ต่อมาเมื่อมีทหารตามมาพบจึงอำลาตายายและภรรยาสาวน้อยเดินต่อไปภาคเหนือ ก่อนจากไป ท่านได้ฝากรัดประคดไว้เส้นหนึ่ง บอกว่าถ้าฉันมีลูก ขอฝากรัดประคดนี้ไว้ให้ลูกด้วย เผื่อไม่มีโอกาสได้กลับมา เมื่อลูกโตขึ้นไปบางกอกก็ให้เอารัดประคดนี้ให้คนดู ก็จะพบเจ้าของอยู่หรอก
ตั้งแต่วันที่นักรบนิรนามจากไป ก็ไม่หวนกลับมาหาอีกเลย จนนางตั้งครรภ์ ก็ปรึกษาพ่อแม่ว่า ถ้าจะอยู่หัวไร่ปลายนาเช่นนี้ต่อไปลูกเราจะลำบาก น่าจะย้ายไปอยู่ในบ้านในเมือง เผื่อลูกจะได้ศึกษาเล่าเรียนมีอนาคตในภายภาคหน้า
ตายายได้ฟังก็เห็นดีเห็นชอบด้วย จึงนำแหวนวงนั้นไปจำหน่าย ได้ทุนมาก้อนหนึ่งก็ซื้อเรือค้าขายตามแม่น้ำ แล้วพาครอบครัวย้ายมาอยู่พิจิตร จนนางงุดคลอดบุตรชายที่แพแม่น้ำในเมืองพิจิตร
เมื่อคลอดมานั้นเด็กน้อยมีปานติดกลางหลัง ยายกลัวว่าเด็กมีบุญมาก ถ้าคนเลี้ยงบารมีไม่ถึงเด็กอาจไม่สามารถอยู่ด้วยได้ จึงนำเด็กน้อยไปฝากท่านเจ้าอาวาสที่คนเคารพนับถือ ท่านผูกข้อมือรับเป็นลูกแล้วก็มอบเงินค่านมให้ส่วนหนึ่ง แล้วฝากให้เลี้ยงไว้ ต่อเมื่อโตแล้วจึงจะรับมาอยู่ด้วย และตั้งชื่อว่า?โต?
แม่งุด และตายายก็ฟูมฟักเลี้ยงดูเด็กน้อยจนโตวันโตคืน เป็นที่รักใคร่ของผู้คนรอบข้าง ตั้งแต่มีลูกคนนี้จะทำมาค้าขายอะไรก็ล้วนสะดวกราบรื่นไปทุกอย่าง จึงทำให้แม่งุดมีฐานะดี สามารถซื้อเรือลำใหญ่ทำมาค้าขายต่างเมืองได้
เมื่อลูกน้อยโตพอร่ำเรียนได้ก็นำไปถวายหลวงพ่อผู้เป็นพ่อบุญธรรม ท่านก็สั่งสอนอักขรวิธี การผสมอักษร จนเด็กน้อยอ่านออกเขียนได้คล่อง เมื่ออายุถึง ๑๒ ปี จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วให้เรียนธรรมวินัย และเรียนบาลีมูลกัจายน์ ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาบาลีสมัยโบราณ สามเณรน้อยก็ร่ำเรียนได้รวดเร็วจนจบ หลวงพ่อหมดภูมิรู้ที่จะสั่งสอนต่อไปได้ จึงเรียกตาผลยายลาและแม่งุด บอกว่าฉันหมดภูมิรู้ที่จะสอนสามเณรแล้ว ต้องไปเรียนในบางกอก เณรจึงจะมีอนาคตสดใส หลวงพ่อจึงเขียนหนังสือฝากฝังให้ฉบับหนึ่ง ให้นำสามเณรไปหาท่านเจ้าคุณวัดบางขุนพรหม ในเมืองบางกอก ตายายและแม่งุดจึงพาสามเณรไปบางกอก นำไปฝากท่านเจ้าคุณอรัญญิก(หลวงพ่อแก้ว) วัดบางลำพูใน (อินทรวิหาร)
ผมอาจจะจำคลาดเคลื่อนบ้างนะครับ อย่าได้ถือเป็นหลัก เพราะมันสับสนระหว่างพิจิตร ชัยนาท และบางกอก เพราะแม้คนที่เกิดก่อนผมตั้งร้อยปีท่านยังเล่าประวัติกันคนละทางเลย
ในประวัติที่ท่านพระมหาเฮง วัดกัลยาณมิตรเขียน บอกว่า ?เดิมชื่อโต บุตรนางเกสร บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตาชื่อผล ยายชื่อลา ถือกำเนิดในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๓๑ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาประมาณ ๖.๕๔ น.
เดิมเป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (อำเมืองปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาฝนแล้งติดต่อกันหลายปี การทำนาไม่ได้ผล จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ .อยุธยา
ต่อมา มารดาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ บางขุนพรหม และได้มอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษาอักขรสมัย เมื่ออายุครบ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ตรง ปีวอก ๒๓๔๒ ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระบวรวิริยเณร (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังได้ย้ายไปอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก)
สามเณรโตเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส จนปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พระราชทานเรือกาบกัญญาหลังคากระแซงให้ท่านได้ใช้สอยตามอัธยาศัย
เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ.๒๓๕๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า ?พรหมรังสี) และเรียกว่า ?มหาโต? ท่านอยู่วัดมหาธาตุตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แค่ผ่านไปร้อยปีกว่านิด ๆ เรื่องมันก็สับสนปนเปกันแล้วนะครับท่านผู้อ่าน แต่อย่าซีเรียสเลย จุดหมายไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ต้องนำมาเปรียบเทียบเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในบางสิ่งบางอย่าง
ผมจำไม่ได้ว่าใครแต่งเรื่องไหน แต่จำที่ประทับใจว่า
(โปรดอ่านประวัติของพระคุณท่าน ใน พระอริยสงฆ์)เมื่อสามเณรมาอยู่วัดบางขุนพรหมนั้นอายุราว ๑๘ ปี เมื่อเรียนหนังสือก็เรียนได้เร็ว และมีมารยาทเป็นที่ยอมรับของพระสงฆ์องค์เจ้าและขุนนางที่เข้าวัดตลอด จึงมีขุนนางที่มีชื่อเป็นอาจารย์สอนบางวิชา และเป็นที่รักของขุนนางมาก แต่สิ่งที่ขุนนางเห็นแล้วสะดุดตาเป็นพิเศษคือรัดประคตที่สามเณรใช้ เพราะคนสามัญหรือแม้แต่ขุนนางทั่ว ๆ ไปก็ไม่มีรัดประคดแบบนี้ใช้ จึงถามสามเณรว่ารัดประคดนี้ได้แต่ใดมา สามเณรว่า บิดาท่านมอบให้มารดาไว้ ขุนนางจึงถามว่า บิดาท่านคือใครเล่า สามเณรว่า ผู้เป็นเจ้าของรัดประคดจึงทราบ เพราะเณรเกิดมาก็ไม่เคยเห็นหน้าบิดา มีแต่รัดประคดนี้ไว้ดูต่างหน้า
ขุนนางที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือจึงนึกเอ็นดูเป็นอันมาก จึงปรึกษากันแล้วนำสามเณรโตไปเฝ้าเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งอาจดำรงตำแหน่งเจ้ากรมวังหน้าแล้ว (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคต ๒๓๔๖ พระเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรขึ้นเป็นเจ้ากรมวังหน้า แต่ประทับอยู่วังเดิมของพระเจ้าตากสิน ติดวัดอรุณราชวาราม เพราะวังหน้าถูกท่านกรมพระราชวังบวรเดิมกล่าวคำสาปแช่งไว้ว่า ?ของโต ๆ ดี ๆ กูสร้างไว้ ใครมิได้ลงทุนทรัพย์และแรงงาน มีแต่พวกข้าเจ้าบ่าวนายของกูช่วยกันลงแรงสร้างขึ้นมา มันผู้ใดมิได้เป็นลูกเป็นหลานของกูถ้ามาอยู่ให้เทพยดาผีสางทั้งหลายอย่าให้อยู่อย่างปกติสุขเถิด? พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ จึงไม่ยอมให้ใครไปอยู่ รับสั่งว่า ของของเขา เขารักแต่ลูกแต่หลานของเขา เขาสาปแช่งไว้เสียนักหนามิให้ใครอื่นอยู่ อย่าไปอยู่บ้านเขาเลย เมื่อพ่อจากไปแล้วก็ให้มาอยู่วังหลวงเสียทีเดียวเถิด?
เมื่อเจ้าฟ้าได้ทอดพระเนตรเห็นสามเณรแต่แรกก็นึกรักเอ็นดู จึงถามว่า สามเณรเป็นบุตรของใคร สามเณรตอบว่า มารดาชื่องุด แต่บิดาไม่ทราบชื่อ แต่เป็นเจ้าของรัดประคดเส้นนี้ ท่านมอบไว้ตั้งแต่อาตมายังไม่เกิด? เจ้าฟ้าได้สดับดังนั้นก็ยิ่งนึกเอ็นดูเป็นอย่างมาก จึงรับเป็นโยมอุปัฏฐากตั้งแต่นั้น และรับสั่งให้ย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุ ให้เป็นอันเตวาสิกของพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) ขณะเดียวกันก็มอบเรือกาบกัญญาไว้ให้ลำหนึ่ง เพื่อเณรจะได้พายเรือบิณฑบาตและไปนั่นมานี่ตามอัธยาศัย
ด้วยเหตุนี้เองคนสมัยหลังจึงเชื่อกันว่าท่านเป็นพระโอรสของเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๒ (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) บางคนว่าเป็นพระโอรสของรัชกาลที่ ๑ คราวไปปราบศึกพม่าแถวกำแพงเพชร ตัวผมเองก็สงสัย จึงได้ค้นคว้าเรื่องนี้
สิ่งที่ต้องค้นหาหลักฐานคือ เมื่อสมเด็จทรงมีประสูติกาล ๑๗ เมษายน ๒๔๓๑ ตรงกับปีวอก ต้องหาว่ามีใครได้ไปทางกำแพงเพชรราวปีมะแม ๒๓๓๐ บ้าง
สงครามไทยรบพม่า และอะแซหวุ่นกี้ขอสงบศึก ๑ วันเพื่อขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี ที่เมืองกำแพงเพชร ตรงกับปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๑๗ เมื่อไทยเผด็จศึกปีนั้น ก็พากันกลับบ้านกลับเมืองเพื่อพัฒนากองทัพ ต่อมาก็รบติดพันกับลาวและเขมร ไม่มีใครได้ขึ้นไปทางเหนืออีกเลย
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ปีมะแม สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จขึ้นไปเชียงใหม่เพื่อตั้งเมืองเชียงใหม่ หลังจากร้างเพราะสงครามมาหลายปี ขากลับจึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงห์ลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพ ฯ ตรงนี้ต่างหากที่น่าคิด
ส่วนเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรไม่มีโอกาสขึ้นไปเหนือเลย พระองค์มีโอกาสติดตามทัพเพื่อรบพม่าครั้งแรกเมื่อสงครามเก้าทัพ โดยติดตามสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทไปทุ่งลาดหญ้า เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ หลังตั้งกรุงแล้ว ๓ ปี จึงเป็นไปไม่ได้ท่านจะเป็นพระบิดาของสมเด็จ จึงเห็นได้ชัดว่าผู้ที่จะเป็นพระบิดาของสมเด็จ(โต)ได้คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหาท พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๑ คุณตาประถม อาจสาคร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระสมเด็จวังหน้า ก็ฟันธงเช่นเดียวกัน ว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทคือพระบิดาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
จึงมีคำถามว่า ?ทำไมพวกขุนทางจึงไม่พาสามเณรโตไปเฝ้าเจ้ากรมวังหน้า ตอบว่า ตอนนั้นเจ้ากรมวังหน้าคงสวรรคตแล้ว หรือถ้ายังไม่สวรรคต พระองค์ก็มีสุขภาพจิตไม่ปกติ เพราะทรงขัดเคืองพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ตลอดเวลา แม้คนรับใช้ใกล้ชิดก็เข้าหน้าไม่ติด เพราะสุขภาพส่วนตัวทรุดลงมาก จึงทำให้สุขภาพจิตเสื่อมลงด้วย วันดีคืนดีก็จะปลงพระชนม์พระองค์เอง คนดูแลใกล้ชิดจึงลำบากมาก ในที่สุดพระองค์สวรรคตด้วยพระโรคนิ่วในไต เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๖ ก่อนสวรรคตได้กล่าวคำสาปแช่งไว้ ?ใครไม่ใช่ลูกหลานกูอยู่ในวังหน้าไม่ได้? จนทำให้วังหน้าร้างผู้คนไประยะหนึ่ง จนถึงรัชกาลที่ ๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอของรัชกาลที่ ๓ ได้เสด็จไปประทับอยู่เพราะถือว่าได้อภิเษกสมรส
กับเจ้าหญิงดาราวดี ซึ่งเป็นพระธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คงไม่ต้องคำสาป แต่พระองค์ก็มีชีวิตครองวังหน้าได้เพียง ๘ ปีก็เสด็จสวรรคตด้วยโรคมานน้ำ วังหน้าจึงร้างมาอีกถึง ๑๘ ปี จนถึงพระปิ่นเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ารับสั่งให้ไปประทับอยู่วังหน้าซึ่งรกร้าง เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันเกี่ยว พระองค์ทรงบ่นว่า ?อยู่ดี ๆ ก็ให้มาเป็นสมภารวัดร้าง?
เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระอาการทางจิตแปรปรวน จึงไม่มีใครที่จะกล้าเสนออะไรให้พระองค์รับทราบได้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ ทรงมีพระอัธยาศัยพระทัยงดงาม ทรงมีเมตตาปราณีต่อผู้คนทุกหมู่เหล่าเสมอกัน แม้อาลักษณ์ขี้เมาอย่างสุนทรภู่ พระองค์ท่านก็มิได้รังเกียจ ทั้งให้เข้าไปรับใช้ใกล้ชิดเพื่อจะได้รับสั่งถามเวลาแต่งบทโคลงกลอนใดที่ติดขัด ขุนนางผู้อุปัฏฐากสามเณรจึงพาสามเณรไปเฝ้าฝากตัวให้สมเด็จเจ้าฟ้าทรงอุปถัมภ์ หาใช่ท่านอุปถัมภ์เพราะเป็นพระโอรสไม่
จึงสรุปได้ว่า ?พระบิดาของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต คือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ซึ่งเป็นทหารเสือของพระเจ้าตากสิน และมีพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ถ้าจะนับพระยศแล้ว สมเด็จโตต้องเป็นพระองค์เจ้า (แต่เป็นนอกกฎหมาย) สมเด็จเจ้าฟ้าจึงพระราชทานเรือกาบกัญญาให้ใช้ เพาะเรือนี้เป็นพาหนะของเจ้าชั้นพระองค์เจ้าเท่านั้น
สามเณรโตอยู่วัดมหาธาตุกับสมเด็จพระสังฆราช ก็ตั้งใจเรียนบาลี จนสอบได้เป็นเปรียญตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่ออายุครบอุปสมบทจึงเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (อาจเป็นพระสังฆราชมี หรือพระสังฆราชสุก องค์ใดองค์หนึ่ง)เป็นอุปัชฌาย์ และอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดพระสังฆราช ท่านจึงมีโอกาสศึกษากัมมัฏฐาน เวทมนต์คาถา และการทำพระเครื่อง จากสมเด็จพระสังฆราช
พระมหาโตทำพระแจก
เมื่อสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์แล้วท่านก็ทำพระพิมพ์เองตั้งแต่เป็นพระมหาโต พ.ศ.๒๓๕๕ เมื่ออายุเพียงยี่สิบกว่า การทำพระในยุคต้นนั้นใช้น้ำอ้อยและน้ำผึ้งเคี่ยวผสมผงวิเศษ เหมือนเขาทำยาลูกกลอน เมื่อน้ำผึ้งน้ำอ้อยคลุกเคล้ากับผงจนพอดีแล้วก็อัดลงแม่พิมพ์ ตากแดดไว้ เสร็จแล้วนำมาปลุกเสกตามกรรมวิธีโบราณที่ร่ำเรียนจากพระสังฆราช เมื่อเสร็จแล้วก็เอาไปแจกชาวบ้านช่วงบิณฑบาตตอนเช้า
ในช่วงเริ่มต้นคนรับคงไม่เอาใจใส่และเก็บพระของท่าน เพราะยังไม่มีชื่อเสียง แต่ผู้ทำก็มีจุดมุ่งหมายให้คนเพื่อเป็นพุทธานุสติ แต่ท่านก็ทำอย่างนี้มาหลายสิบปี พระที่ทำในช่วงนี้คงทยอยทำทีละไม่มาก พิมพ์พระก็เป็นพิมพ์ที่ชาวบ้านแกะให้ ความคมชัดยังไม่มี เอกลักษณ์ยังไม่โดดเด่น เล่ากันว่าเป็นพระองค์เล็กพิมพ์เล็บมือ และความที่ใช้น้ำอ้อยกับน้ำผึ้งเป็นตัวประสาน อายุของพระอยู่ได้ไม่นาน จะเปื่อยยุ่ยง่าย จึงไม่เหลือมาถึงยุคปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าขึ้นครองราชย์ แต่งตั้งให้พระคุณท่านเป็นพระธรรมกิตติ ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง ในปี พ.ศ.๒๓๙๕ ชื่อเสียงด้านพระเครื่องของท่านก็เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นที่กล่าวขวัญถึงเสมอว่า ใครมีพระสมเด็จของขรัวโตแล้วทำมาค้าขายคล่อง แคล้วคลาดจากภัยอันตราย แม้เจ็บป่วยยังใช้ทำน้ำมนต์กินหายได้อย่างน่าอัศจรรย์
พิมพ์พระสมเด็จยุคนี้มีนายเทด ซึ่งเป็นหลานชายของท่านแกะแม่พิมพ์ให้เป็นคนแรก จากนั้นก็มีช่างแถวบ้านช่างหล่อแกะให้อีก จนมาถึง พ.ศ.๒๔๐๘ หลวงนฤมลวิจิตร และหลวงวิจารณ์เจียรนัย ก็เข้ามาช่วยท่านทำพิมพ์ขึ้นอีก ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่สวย คมชัด และได้แนะนำใช้น้ำมันตั้งอิ๊วมาผสมผง จะทำให้ผิวพระสวยงาม และทนทาน เก็บได้เป็นร้อย ๆ ปี จึงเป็นยุคพัฒนาของพระสมเด็จ ตั้งแต่นั้นมา
จากการศึกษาค้นคว้าของท่านมัตตัญญู ในหนังสือ ?พระสมเด็จวังหน้า? ท่านได้นำพระสมเด็จที่ทางเจ้านายวังหน้าสร้างขึ้นแล้วให้หลวงปู่โตปลุกเสก มาลงไว้ในหนังสือ พระชุดนี้กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ ซึ่งเป็นพระโอรสของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ นำไปให้เจ้าสัวผู้หนึ่งที่แปดริ้วหลายสิบองค์ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๖๐ เมื่อเจ้าสัวจากไป พระเหล่านี้ก็ยังอยู่บนหิ้งบูชา ลูกก็ไม่สนใจ จนมาถึงหลานเป็นนายพลทหารเรือ จึงนำมาให้ท่านมัตตัญญูชม เพราะอยากทราบที่มา
เมื่อท่านมัตตัญญูตรวจดูแต่ละองค์แล้ว เห็นมีอักษรจารึกหลังองค์พระบ้าง ด้านหน้าล่างบ้าง ด้านข้างบ้าง บ่งผู้สร้างและปีที่สร้างด้วย พระแต่ละองค์มีอายุเก่าแก่แต่อยู่ใสภาพสวยงาม ไม่มีคราบกรุ บ่งถึงว่าเก็บไว้ดีมาก มีอยู่องค์หนึ่งเป็นพระเศียรบาตร มีจารึกหลังว่า ?อาตมาสร้างอุทิศถวายโยมฉิม โต ๒๔๐๖? องค์นี้ทำให้ท่านมัตตัญญูฟันธงว่า ?สมเด็จโตเป็นพระโอรสของเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร?(รัชกาลที่ ๒) เพราะฉิม เป็นชื่อของเจ้าฟ้า
จากจารึกหลังของพระสมเด็จวังหน้า ทำให้ทราบว่าทางวังหน้ามีการสร้างพระสมเด็จมาแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แล้ว โดยเจ้านายแกะพิมพ์แล้วถวายหลวงปู่ แต่ละองค์มีพระโบราณฝังไว้ด้านหลัง เช่นพระซุ้มกอ กำแพงเพชร พระลีลาเม็ดขนุน พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระกิ่งเขมร พระรอด ลำพูน เป็นต้น
ตามประวัติพระซุ้มกอกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) ไปเยี่ยมญาติที่กำแพงเพชร เมื่อปี ๒๓๙๒ (ปลายรัชกาลที่ ๓)นั้น เจ้าประคุณได้ใบลานเงินลานทองในการสร้างพระซุ้มกอ ว่าเป็นตำรับของฤาษีแบบฉบับเดียวกับการสร้างพระรอด
เจ้าประคุณสมเด็จ ได้พระซุ้มกอมาด้วย เนื่องจากท่านนิยมคุณวิเศษในทางสันติสุข มากกว่าสงคราม นิยมให้เกิดโชคลาภมากกว่าเกิดอำนาจราชศักดิ์ จึงอาศัยตำราการสร้างพระซุ้มกอมาเป็นตำราสร้างรูปพระสมเด็จเหมือนพระซุ้มกอ สร้างให้เป็นพระที่นำโชคลาภมาให้แบบพระซุ้มกอ
ในประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีอยู่ตอนหนึ่งว่า สาเหตุที่กรมหลวงชุมพรหันมาศึกษาไสยเวทอย่างจริงจังเพราะ เมื่อได้รับพระเครื่องวังหน้าจากพระองค์เจ้าพิบูลย์พรรณ (พระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) จึงให้เอาไปแขวนที่ต้นใม้ แล้วให้พระองค์เจ้าพิบูลย์พรรณ เอาปืน ร.ศ.ยิง ๓ นัด เสียงดังแซะ ๆ ทั้ง ๓ นัด เมื่อหันกระบอกปืนขึ้นฟ้า เสียงปืนดังลั่นทั้ง ๓ นัด เสด็จในกรมจึงเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์พระเครื่องตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อไปพบปาฏิหาริย์ของหลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงมอบตัวเป็นศิษย์และเรียนอย่างจริงจัง จนกลายเป็นผู้วิเศษจอมขมังเวทพระองค์หนึ่งทีเดียว ดังที่พวกเราทราบ ๆ กันอยู่
เมื่อเจ้านายแต่ละพระองค์ได้ทราบกิตติคุณของพระสมเด็จของหลวงปู่โตที่ชาวบ้านเลื่องลือกัน ต่อมาจึงเจ้าฟ้าอิศราพงค์ เจ้าวังหลัง ก็แกะแม่พิมพ์ถวายสมเด็จเป็นพระองค์แรก แล้วเอาพระนั้นแจกจ่ายให้เจ้านายในตระกูลของท่าน แม้เจ้าพระองค์อื่น ๆ ก็ทำเช่นเดียวกัน พระของเจ้านายจึงมีเอกลักษณ์พิเศษ ไม่เหมือนพระสมเด็จทั่ว ๆ ไป
ถ้าคนในวงการเห็นก็จะตัดสินว่าถึงแม้จะเก่าก็เป็นพระนอกพิมพ์ เขาไม่เล่นกัน หมายความว่าของปลอมนั่นเอง แต่นั่นก็เป็นเรื่องดี คนที่มีพระดี ๆ แบบนี้ก็จะไม่มีอันตราย เพราะเป็นของไม่มีราคาค่างวด มีไว้คุ้มครองป้องกันตัวเองอย่างวิเศษ ถ้าพระดังและราคาแพง นอกจากพระไม่สามารถคุ้มครองแล้ว พระนั่นเองจะฆ่าผู้ครอบครอง เพราะโจรมันเห็นก็อยากได้ จึงปล้น จี้ ตีชิง วิ่งราว ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นมีของดีอยู่กับตัวอย่าเอาไปอวดใคร และไม่จำเป็นเอาไปให้เซียนคนไหนดู เดี๋ยวกำลังใจตก นอกจากไปพบคนมีตาในให้เขาตรวจเช็คพลังอิทธิคุณก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หลวงพ่อเงินวัดบางคลานกับพระสมเด็จวังหน้า
นอกจากเจ้านายวังหน้าจะเคารพเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)แล้ว ก็ยังเคารพนับถือในเกียรติคุณของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานอีกด้วย เพราะแต่เดิมหลวงพ่อเงินบวชเรียนอยู่วัดชนะสงคราม ต่อเมื่ออายุพรรษามากขึ้นแล้วจึงย้ายไปอยู่พิจิตร (ท่านเกิด ๒๓๕๓ มรณะ ๒๔๖๐ อายุ ๑๐๗ ปี)
แต่แรกท่านเอาดินมาปั้นพระองค์เล็ก ๆ เป็นรูปเหมือนจอบ แล้วให้เด็กแขวนคอไว้ (สมัยนั้นใส่ห่อผ้าใช้เชือกผูกแขวนคอ) เด็กถูกสุนัขกัดไม่เข้า จึงฮือฮากันขึ้นมา ต่อมาพวกผู้ใหญ่ก็อยากได้บ้าง จึงขออนุญาตสร้างพระของท่าน หลวงพ่อก็อนุญาตให้สร้างพอครบคนในครอบครัวเท่านั้น ความเลื่องลือในอิทธิคุณพระเครื่องของท่านก็กระจายไปจังหวัดใกล้เคียง จึงมีคนมาขอสร้างพระของท่านเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากพิมพ์มากองค์ น่าจะมีพิมพ์มากกว่าสมเด็จวัดระฆังเสียอีก ซึ่งเป็นรูปหล่อทองเหลืองลอยองค์ และรูปแบบจอบก็มีมาก
ต่อมาชื่อเสียงของท่านระบือถึงในกรุง เจ้านายก็เคารพเลื่อมใส โดยเฉพาะเจ้านายในวังหน้า อันมีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นองค์ประธาน จึงมักนิมนต์หลวงพ่อไปวังหน้าเสมอ มีการสร้างหลวงพ่อเงินรุ่นวังหน้าไว้มากพิมพ์ ล้วนแต่มีรูปที่งดงามชัดเจน บางองค์ก็ทำพระผงแล้วฝังพระโบราณไว้ด้านหลังเหมือนพระสมเด็จหลวงพ่อโต บางองค์ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จโต ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อเงิน ซึ่งสันนิษฐานว่าหลวงพ่อเงินเป็นศิษย์ของหลวงพ่อโตด้วย
ผู้เขียนสันนิษฐานว่า การที่พระสมเด็จวังหน้าบางองค์เด่นด้านมหาอุด ปืนยิงไม่ออก บางองค์คงกระพัน ยิงแทงไม่เข้า คงมาจากการแผ่พลังจิตของหลวงพ่อเงิน เพราะถ้าเป็นพระสมเด็จของหลวงปู่โตจะเด่นทางแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม ท่านให้แคล้วคลาดไปเลย ไม่ต้องเจ็บตัว และไม่ต้องก่อให้เกิดความตระหนกตกใจ ซึ่งเป็นอิทธิคุณที่วิเศษสุดของพระเครื่อง แต่ชาวบ้านไม่เห็นผลกับตา จึงเหมือนไม่มีปาฏิหาริย์ ถ้าโดนยิงจนเสื้อเป็นรูโหว่ จนคนถูกยิงกระเด็นตามแรงกระสุน แต่ยิงไม่เข้า แบบนี้ฮือฮากันทั้งประเทศ ผมไม่อยากเจอ เพราะโดนเข้าก็เจ็บตัว อยากจะให้แคล้วคลาดไปเลย ใครปองร้ายก็หาตัวไม่พบ เหมือนท่านนายกทักษิณถูกปองร้าย เขาจะวางระเบิดท่านก็แคล้วคลาดไปมา ๆ จนที่สุดคนวางระเบิดถูกจับ นี่ก็เป็นอิทธิคุณของสมเด็จวังหน้าเช่นกัน ท่านนายกมีพระสมเด็จวังหน้าที่ทำด้วยทองคำ ซึ่งท่านสร้างไว้ไม่กี่องค์ให้แก่เจ้านายระดับสูงเท่านั้น แต่ท่านนายกได้มาจากใครไม่เป็นที่ปรากฏ
จากการนำพระสมเด็จวังหน้าแต่ละองค์มาให้ผู้ชำนาญทางในตรวจ พบว่าพระวังหน้ามีอิทธิคุณครบถ้วน ๕ ประการ คือ เมตตา โชคลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุด ทั้งพลังรวดเร็ว รุนแรง ถ้าตั้งจิตให้กระแสเข้าสู่ใจกลางตัวแล้ว ผู้เช็คพลังจะอ่อนระโหยโรยแรงหลังตรวจพระแล้ว เพราะพลังนั้นได้พุ่งเข้าเสียบใจกลางอกมีอาการแน่นอึดอัดดังใจจะขาด
คุณตาประถม อาจสาคร เคยนำพระสมเด็จวังหน้าให้คนมีญาณผู้หนึ่งตรวจ คนตรวจนั่งบนเก้าอี้หมุน เมื่อจับพระสมเด็จวังหน้า (๒๔๑๑) เก้าอี้หมุนติ้วได้ ๓๐ รอบ จึงล้มลง คนจับพลังตกใจหวาดหวั่น งุนงงสงสัยว่าพระอะไรจะมีพลังแรงปานนั้น
มีความเชื่อว่า การที่พระวังหน้ามีพลังอิทธิคุณรุนแรงรวดเร็วนั้น เพาะมีหลวงปู่ใหญ่ (โลกอุดร) ซึ่งเป็นอาจารย์ของกรมวังหน้า มาร่วมทำพิธีปลุกเสกด้วย ตามคำอาราธนาของกรมวังหน้าผู้เป็นศิษย์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าตามแรงศรัทธา และเล่ากระทั่งว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญแกล้งตาย แล้วไปฝึกวิชากับหลวงปู่ใหญ่ในดงลี้ลับ ผมไม่ทราบเรื่องนี้ รู้แต่ว่ามีบ่งไว้ในประวัติ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงด้วยโรคชนิดหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ แล้วพระราชเพลิงที่สนามหลวง พระอัฐิบรรจุไว้ ณ พระที่นั่งในพระบวรราชวังหน้านั่นเอง
แต่พระนัดดาของท่านชื่อหม่อมเจ้าไชยเดช เป็นศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่ รุ่นเดียวกับท่านอภิชิโตภิกขุ (ชาญณรงค์ ศิริสมบัติ) ท่านสอบการปฏิบัติไม่ผ่าน ต่อมาขายที่แถวบางลำพูเสียสิ้น แล้วย้ายไปอยู่อเมริกา ยังไม่ทราบว่าจะมีชีวิตถึงปัจจุบันหรือไม่
แต่เรื่องการอัญเชิญหลวงปู่ใหญ่มาปลุกเสกนี้เคยทำโดยพระอาจารย์ชาญณรงค์ (อภิชิโตภิกขุ) ที่วัดรัชดาธิษฐาน (วัดเงิน) อยู่ตลิ่งชัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ครั้งหนึ่ง พระรุ่นนั้นเรียกว่า ?รุ่นไฟดับ? คือพอหลวงปู่มาถึงพิธีไฟฟ้าก็ดับทั้งวัด พอเสร็จพิธีไฟก็สว่างขึ้น เมื่อหลวงปู่ลากลับไป
ต่อมาถึงปี ๒๕๓๗ พระอาจารย์ชาญณรงค์ได้จากไปแล้ว เจ้าอาวาสวัดกาญจนสิงห์ (วัดทอง) ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอภิชิโตภิกขุ ได้ขออนุญาตท่านไว้ก่อนท่านจะจากไป จึงได้สร้างเหรียญเบญจพิทักษ์ขึ้น เพื่อนำทุนทรัพย์มาสร้างพระพุทธกาญจโนภาส ในวัดทอง โดยทำพิธีพุทธาภิเษกที่รอยพระบาทวัดประสาท ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน (วัดนี้หลวงปู่พลอยซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่ ได้สร้างพระสังกัจจายน์ให้เป็นตัวแทนของหลวงปู่ใหญ่ไว้สมัยหลวงปู่พลอยยังมีชีวิต หรือสมัยที่ท่านอภิชิโตยังเป็นสามเณร) พิธีกรรมไม่ได้ทำใหญ่โต ขึ้นขันครู มีหมากพลูและเหรียญ ๑ บาท หย่อนลงในหลุมที่รอยพระบาท นำพระทั้งหมดวางที่รอยพระบาท โยงสายสิญจน์จากรูปหล่อหลวงปู่ดำในมณฑปมายังเหรียญเหล่านั้น มีพระ ๙ รูปมาสวดชยันโต แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญหลวงปู่ดำ พร้อมทั้งศิษย์ผู้เก่งกล้าในดง และท่านอภิชิตโต มาทำพิธีปลุกเสกให้ เมื่อถึงเวลาฤกษ์ เสียงระฆังวัดก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีคนตี
พระจริงหรือปลอมพิสูจน์ได้ด้วยการตรวจหาพลัง
แปลกแต่จริง พ่อค้าขายพระเครื่อง แต่ไม่เชื่อเรื่องการจับพลังอิทธิคุณในพระเครื่องว่ามีจริงหรือไม่ เขาว่าเป็นอุปาทาน แหกตา เล่นปาหี่ เขาเชื่อกล้องขยาย เชื่อพิมพ์ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ เชื่อความเก่าแก่ แต่พลังอิทธิคุณเขาไม่เชื่อเลยว่าสามารถตรวจได้
ก็พระเครื่องจะขลัง ดีวิเศษ ก็ต้องเกิดจากพลังจิตของผู้ปลุกเสก เมื่อมีพลังจิตก็ต้องใช้พลังจิตตรวจดูจึงจะรู้แจ้ง แว่นขยายก็รู้เพียงถูกพิมพ์ผิดพิมพ์ เก่าหรือใหม่ แม้ผงวิเศษที่ผสมยังไม่สามารถเอาเป็นข้อกำหนดตายตัวได้ ถ้ามีใครใช้แม่แบบของหลวงปู่ ใช้ผงวิเศษของหลวงปู่ พิมพ์พระขึ้นมาในยุคเดียวกัน แต่ไม่ได้ให้หลวงปู่โตปลุกเสก พระนั้นจะมีอิทธิเดชอิทธิคุณหรือ ถ้าหากเอาไปให้หลวงปู่อาจารย์อื่นปลุกเสก อิทธิคุณก็จะเกิดอีกอย่างหนึ่ง
ยกตัวอย่างพระสมเด็จของยายขำ เขาเล่ากันว่ายายขำทำพระสมเด็จปลอมแล้วบรรจุกรุไว้ คนไหนรู้ว่ามาจากรุยายขำก็ไม่เลื่อมใสศรัทธา แต่ความจริงยายขำใช้แม่พิมพ์ของสมเด็จ และผงวิเศษของสมเด็จ เมื่อพิมพ์พระแล้วก็นำไปให้หลวงปู่องค์ใดองค์หนึ่งปลุกเสก แล้วนำออกจำหน่ายช่วงนั้น ซึ่งคนกำลังตื่นแสวงหาพระสมเด็จวัดระฆังเพื่อเอาไปอธิษฐานทำน้ำมนต์รักษาโรคห่า แต่พระสมเด็จที่เก็บไว้ในวิหารน้อยวัดระฆังหมด ยายขำจึงรีบทำขึ้นมาจำหน่าย ได้เงินมหาศาลอยู่ แต่พระสมเด็จของยายขำกลับเด่นด้านมหาอุจ ปืนยิงไม่ออก คนที่รู้ก็แสวงหาสมเด็จยายขำ แต่จะหาอย่างไร เอาอะไรเป็นข้อสังเกต เพราะพิมพ์ก็ของวัดระฆัง ผงวิเศษก็ของหลวงปู่ทำไว้ กล้องส่องจะให้คำตอบอย่างไร ถ้าไม่ใช้พลังจิตตรวจจับ
ยายขำเป็นแม่ครัวของวังหลัง ซึ่งสมัยนั้นอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชเดี๋ยวนี้ ท่านมีหน้าที่นำภัตตาหารมาถวายหลวงปู่ที่วัดระฆังทุกวัน ตามรับสั่งของเจ้ากรมวังหลัง เมื่อถวายแล้วก็ช่วยเขาพิมพ์พระ หรือโขลกตำผงพระ จึงสามารถรอบรู้ส่วนผสมทุกอย่างตลอดวิธีทำพระสมเด็จ และเมื่อเป็นต้นเครื่องของเจ้ากรม ไปวัดทุกวัน ก็ต้องสนิทสนมกับพระวัดระฆัง ตั้งแต่เจ้าอาวาสยันสามเณรน้อย ใคร ๆ ก็เคารพนับถือยายขำ เมื่อหลวงปู่จากไปแล้วไม่กี่ปี เกิดโรคห่า คนตายเป็นเบือ ไปจนถึงอยุธยา-ไชยนาท
วันหนึ่งมีคนแถวอยุธยาหรือชัยนาทก็จำได้ไม่ถนัด ป่วยเป็นอหิวาต์ จะตายมิตายแหล่ กลางคืนนั้นหลวงปู่โตไปเข้าฝัน บอกว่ามึงยังไม่ถึงที่ตาย ให้รีบไปวัดระฆัง ไปเอาพระสมเด็จที่กูเก็บไว้ในวิหารน้อย เอามาอธิษฐานทำน้ำมนต์กินก็จักหาย คนป่วยก็เล่าให้ญาติฟัง เขาจึงรีบพายเรือไปวัดระฆัง จะใช้เวลากี่วันก็ไม่
ทราบ แต่ได้พระสมเด็จไปทำน้ำมนต์ให้คนป่วยกินจนหายป่วย เรื่องก็ดังเป็นพลุ จากหูหนึ่งถึงหูที่สองหูที่สิบที่ร้อย ชาวอยุธยา อุทัย ไชยนาท พากันนั่งเรือมุ่งหน้าสู่วัดระฆัง หยิบเอาพระสมเด็จติดไม้ติดมือคนละองค์สององค์ จนเกลี้ยง ถามเจ้าอาวาสก็หมด ไม่รู้จะเอาที่ไหนให้อีก วัน ๆ คนมาออกันอยู่ที่ท่าน้ำวัดระฆังราวกับคนตื่นผู้วิเศษบอกหวยสมัยปัจจุบันนี่แหละ
ยายขำทราบดังนั้นจึงไปขอแม่พิมพ์และผงวิเศษของหลวงปู่จากเจ้าอาวาส แล้วทำพระสมเด็จขึ้นมาแจก บอกว่านี่ก็เป็นสมเด็จของหลวงปู่เช่นกัน เพราะเอาผงวิเศษของหลวงปู่มาทำ และให้ครูบาอาจารย์ปลุกเสกแล้ว มีอิทธิคุณเหมือนสมเด็จที่หลวงปู่ทำ คนที่ผิดหวังจากพระของหลวงปู่โตก็ดีใจที่ยังได้สมเด็จยายขำติดมือกลับไป แต่ยายขำให้บูชาองค์ละเท่าไรไม่ทราบ เห็นมีเล่าว่ายายขำร่ำรวยขึ้นมาทันตาเห็น กลายเป็นเศรษฐินีคนหนึ่ง
เมื่อยายขำเสียชีวิต พระที่ยายขำทำเหลืออีกหลายร้อยองค์ ลูกหลานจึงทำเจดีย์องค์เล็กตั้งริมฝั่งกำแพงติดแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อบรรจุอัฐิของยาย แล้วนำพระที่ยายสร้างบรรจุไว้ เวลาผ่านไปเกือบร้อยปี น้ำเซาะตลิ่งจนเจดีย์เอียง จึงพบพระในเจดีย์มากมาย คนจึงแตกตื่นพระกรุยายขำ แต่เจ้าอาวาสบอกว่า ?เอาไปทำไมพระของยายขำ ไม่ใช่ของหลวงปู่โต? แต่คนที่แสวงหาก็มีมาก เพราะพระยายขำสุดยอดมหาอุด ทดลองกันได้ให้เห็นกับตา
ถ้าเจอแบบพระสมเด็จยายขำก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าเป็นพระที่ทำยุคเดียวกัน นำวัตถุที่คล้าย ๆ กันมาป่นผงผสมปูนเปลือกหอย ปูนขาว เศษอิฐเก่า ๆ ผสมน้ำมันตั้งอิ้ว แล้วกดพิมพ์ออกมาแจกจ่ายจำหน่าย โดยมิได้ปลุกเสก คนถือแว่นสิบแรง ยี่สิบแรงสามสิบแรง จะมิดูเป็นสมเด็จวัดระฆังไปหมดหรือ
ติ๊ต่างว่า คนเก่งทางดูพิมพ์พระเนื้อพระ ไปพบพระสมเด็จที่ท่านสร้างกับมือ ซึ่งท่านสร้างไว้ถึงร้อยหกสิบสามพิมพ์ หลายสิบพิมพ์(หรือเป็นร้อยพิมพ์) พวกเราไม่เคยพบเห็น แต่เกิดไปพบเข้า จะรู้หรือว่าเป็นพระที่สมเด็จสร้างขึ้นมา เมื่อไม่เหมือนที่ตนเห็นก็จะตัดสินว่า ?ผิดพิมพ์ ของปลอมแต่โบราณ? หรือคนมีฝีมือทำขึ้น
แว่นขยายตัดสินพระไม่ได้หรอกครับ ตานอกตัดสินความศักดิ์สิทธิ์ของพระไม่ได้ ต้องใช้ตาใน ถ้าคนตาบอดมีญาณสัมผัสพิเศษ แม้ไม่เห็นลักษณะของพระก็สามารถบอกได้ว่าลักษณะพลังที่สัมผัสได้นั้นเป็นอย่างไร คนส่องพระสมเด็จตระกูลวัดระฆัง วัดอินทร์ วัดใหม่ วัดไชโย เมื่อมาเจอพระสมเด็จพิมพ์วังหน้า ดูความเก่าความแก่ก็เท่ากัน แต่เอ๊ะ ทำไมเนื้อผงพุทธคุณต่าง ๆ มองไม่ค่อยพบ เอ๊ะ ทำไมพิมพ์เป็นอย่างนี้ เอ๊ะ ทำไมเนื้อพระเป็นอย่างนี้ ดูอายุใช่นะ แต่เนื้อไม่ใช่ ส่วนผสมไม่ใช่ เป็นพระผิดพิมพ์ คงมีอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่งทำขึ้นมาในสมัยเดียวกัน เห็นมั้ย เขาบอกไม่ได้ว่าหลวงปู่โตปลุกเสก หรือใครปลุกเสก หรือยังไม่ได้ปลุกเสก
พระเครื่องมิใช่วัตถุโบราณ คนเราแสวงหาพระเครื่องเพื่อคุ้มครองตนเอง มิได้แสวงหาความเก่าแก่ของพระเครื่อง แต่แสวงหาอิทธิคุณของพระเครื่อง ดังนั้นอย่าใส่ใจกับกล้องขยายให้มากนัก ให้ใช้พอเป็นแนวทางเท่านั้น
มีใครทราบบ้างไหมว่า ในงานประกวดพระที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง พระสมเด็จที่ได้รับรางวัลที่ ๑ เป็นพระฝีมือที่เขาทำขึ้น เมื่อได้รับรางวัลแล้ว มหาเศรษฐีคนหนึ่งบูชาไปครอบครององค์ละไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาท เป็นเรื่องตลกในวงการที่เจ้าของพระนำมาเปิดเผยในหมู่มวลมิตรชิดใกล้ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกที่เจ้าพ่อในวงการหลายคนมีพระดี ๆ ดัง ๆ บูชามาจากงานประกวดพระหรือจากเซียนพระระดับชาติ แต่แล้วก็ถึงจุดจบด้วยลูกปืน หรือจะเป็นว่า เมื่อคนเราทำชั่วมาก ๆ แม้เทวดาที่ประดิษฐานในองค์พระก็เผ่นไปก่อนแล้ว คงเหลือแต่เศษอิฐหินปูนทรายให้เขาห้อยคออยู่
ความจริงแล้ว ถ้าคนถึงศีลถึงธรรมจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องหาวัตถุมงคลแขวนคอก็ได้ ทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา คราใดให้รีบส่งบุญให้เทวดาที่รักษาตัวเองทุกวี่วัน เทวดาก็จะกลายเป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจคุ้มครองท่านได้ แต่ถ้าจะหา ก็อย่าลืม พระสมเด็จวังหน้า กรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สุดยอดพระเครื่องในแดนดินถิ่นสยาม.
การปลอมพระ
ผมพบข้อเขียนของหลวงพ่อเที่ยง ท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิเมธี เจ้าอาวาสวัดระฆังองค์ปัจจุบัน ในหนังสือพิมพ์รายเดือน ?สาสน์สวรรค์? ฉบับเดือน กันยายน ๒๕๔๙ ท่านเขียนเรื่องการปลอมพระมีหลายวิธีการ น่ารู้น่าศึกษา
สมเด็จเนื้ออบ มี ๒ แบบ คืออบเปียกแลอบแห้ง
พระสมเด็จอบเปียก พอแกะออกจากพิมพ์ เอาพระเครื่องวางเรียงบนแผ่นกระจก หรือแผ่นกระดาษเรียบ ใช้ผ้าขนหนู หรือผ้าหนา ๆ อมน้ำได้นาน ชุบน้ำแล้วบิดพอหมาด ๆ คลุมปิดพระที่วางเรียงไว้ให้มิดชิดทุก ๆ ด้าน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๓-๔ วัน จนผ้าและเนื้อพระแห้งเอง เปิดผ้าคลุมออก เนื้อพระจะพราวด้วยผุดสะสารส่วนผสมต่าง ๆ ได้รับการแตกแต่งอีกนิดหน่อยก็ดูเก่ากึกไม่เบา
พระสมเด็จอบแห้ง พิมพ์พระเสร็จตากให้แห้ง ทำตะแกรงลวดตาห่างวางบนเตาอั้งโล่ เอาพระสมเด็จวางบนตะแกรง เผากระดาษอบควัน พลิกพระกลับไปกลับมา ให้ไอระเหยจากควันจับที่องค์พระ เนื้อพระเครื่องที่ขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่เหมือนย้อมขมิ้น บางส่วนปูดขึ้นมา ถ้าไม่ระมัดระวังในการใส่ไฟหรือการพลิกกลับ เนื้อพระเครื่องจะปะทุแตกออกเป็นเสี่ยง เพราะทนความร้อนไม่ได้
พระสมเด็จทอดกรอบ หมายถึงพระสมเด็จที่ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ มาแล้ว แต่น้ำหนักยังไม่เบาโหวงเหมือนของเก่า เนื่องจากชุ่มน้ำมาไม่กี่วัน ลำดับต่อไป นักผลิตจะใส่กระทะคั่วกับน้ำเกลือ น้ำด่าง เพื่อสกัดน้ำให้เหือดแห้ง พอถึงขั้นนี้แล้วเนื้อพระจะแห้งกรอบเหมือนข้าวเกรียบ แถมตากแดดตากน้ำค้างอีก ๗ วัน เนื้อพระจะหนึกแน่นเหมือนของเก่า เนื้อพระทั้งข้างนอกและข้างในจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน
ปัจจุบันใช้อบและปั่นด้วยไฟฟ้า เซียนระดับไหนก็ดูไม่ออกว่าเก่าหรือใหม่ ส่วนจะให้ผิวเนื้อแตกลายงาเป็นหนังไก่ ผิวพระจันทร์ อะไรนั้น ขึ้นอยู่กับสูตรผสมของแต่ละสูตร
บางคนคิดการใหญ่ สร้างพระเสร็จผ่านกรรมวิธีแล้ว บรรจุในเจดีย์เก่าหรือใต้ฐานพระประธานในโบสถ์ร้าง ล่วงไปปี สองปี ต้นไม้ใบหญ้าเครือเถาต่าง ๆ ขึ้นปกคลุมหนาแน่น จึงออกอุบายทำความสะอาด ขุดโน่นถางนี่ เจอะเจอที่ซ่อนไว้ ก็โวยวายขึ้นมาว่า นี่แหละพระเครื่องที่หลวงพ่อโตสร้างบรรจุไว้ โฆษณาอิทธานุภาพสรรพคุณความขลังความเก่า ตั้งราคาค่าเช่าพร้อมเสร็จ
กรรมวิธีทำพระสร้างใหม่ให้เก่าตามคำบอกเล่าของนักผลิต และที่เคยเห็นมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่วิจิตรพิสดารกว่านี้เข้าใจว่าคงมีอีกไม่น้อย เช่นการใช้กระเบื้องดินเผาอายุเป็นร้อยปี บรรจงแกะเป็นพระสมเด็จเนื้อดินเผา และพระขุนแผนเป็นต้น นำมาบอกกล่าวเล่าต่อเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบประดับความรู้ มิได้ประสงค์จะเขียนสาธิตให้นำเอาวีการดังกล่าวไปประกอบพระเครื่องเพื่อให้เช่าบูชาแบบซื้อขายแต่ประการใด
อันที่จริง พระเครื่องทุกชนิดประมาณค่ามิได้ แต่เกิดมีราคาขึ้นมาเพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การสร้างพระสมเด็จเพราะอาศัยอิทธิพลทางเศรษฐกิจ นับว่านำเอาวงการพระเครื่องไปแขวนไว้กับศรัทธาคล้ายกับเส้นด้ายเปื่อย ๆ ล่อแหลมต่อการเสื่อมสิ้นความเคารพนับถือของประชาชน
เรื่องแปลกแต่จริง พระสมเด็จไม่ว่าใหม่หรือเก่าใครจะประมาทไม่ได้ มีอันเป็นไปเดือดร้อนทุกรายไม่ช้าก็เร็ว?
การจะเช่าพระไปบูชาต้องถามตัวท่านก่อนเป็นอันดับแรก ว่าท่านต้องการพระเครื่องไปทำไม อยากเอาไปอวดคนอื่นว่ามีของดี อยากได้ไว้เกร็งกำไร ถ้าอยากแบบนี้อย่าเช่าพระสมเด็จวังหน้ากรุวัดพระแก้ว มาตรแม้นว่าราคาค่างวดจะถูกกว่าพระสมเด็จที่นิยมกันถึง ๑๐๐ เท่า ก็ไม่ควรเช่าไปบูชา เพราะสักวันมันจะทำให้ท่านช้ำใจเมื่อถูกคนนั้นคนนี้ทักว่าพระปลอม พระฝีมือ พระไม่มีประวัติความเป็นมา
แต่ถ้าท่านต้องการพระไว้คุ้มครองป้องกันตัวเองจริง ๆ เพราะชีวิตมีอันตราย หรือขอเทวดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ไปช่วยทำมาค้าขาย ก็รีบตัดสินใจเลือกพระสมเด็จวังหน้ากรุเจดีย์ทอง วัดพระแก้ว ไปบูชาติดตัวเถิด รับประกันว่าไม่ผิดหวัง ดียิ่งกว่าเช่าพระสมเด็จองค์ละ ๑๐ ล้านเสียอีก
แต่เท่าที่สังเกตดู และมีผู้อื่นตั้งข้อสังเกตเล่าให้ฟัง พระสมเด็จมักไปอยู่กับคนที่ชอบถือศีลภาวนาเสียส่วนมาก ถ้าเราเป็นคนใจบุญ ชอบทำบุญให้ทาน ถือศีล สวดมนต์ ภาวนาอยู่เสมอ และสนใจในพระเครื่อง ก็มักได้พระสมเด็จแท้ ๆ มาง่าย ๆ ในราคาถูก ๆ เหมือนได้ฟรี เหมือนกับท่านเสด็จมาหาเอง เทวดามีอิทธิฤทธิ์ ท่านเลือกได้หรอกว่าจะให้ใครเป็นเจ้าของ คนไม่ดีแต่มีเงินทุ่ม ก็ไม่แน่ว่าที่ได้มาครอบครองจะเป็นพระสมเด็จที่หลวงปู่โตปลุกเสกหรือเปล่า เพราะการได้อยู่กับคนดีเทวดาก็มีความสุข เพราะได้รับกระแสเย็นเป็นสุข และพลอยทำให้คนที่ครอบครองก็ได้รับการส่งเสริมจากเทวดาไปในตัว เข้าทำนองน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ไม่ว่าในโลกมนุษย์ หรือเทวโลก โลกทิพย์โลกเทวดา ไม่มีใครให้อะไรใครฟรี ๆ ทุกอย่างล้วนต้องแลกเปลี่ยนเสมอ คนที่ให้คนอื่นฟรี ๆ แต่พระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น.
พระสมเด็จ ๒ พิมพ์
การแบ่งพิมพ์พระสมเด็จนั้น หลวงปู่คำท่านแบ่งตามลักษณะขององค์พระ แต่ที่ผมจะพูดถึงคือ พิมพ์นิยม และไม่นิยม หรือพระนอกพิมพ์
พิมพ์นิยมคืออย่างไร ? คือพิมพ์ที่เขานิยมเสาะหากันในราคาแพงเป็นแสนเป็นล้านหรือหลายสิบล้าน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่พิมพ์ ข้อนี้เป็นไปตามกลไกตลาดพระเครื่อง สิ่งไหนมีน้อยสิ่งนั้นย่อมมีราคา แต่พระสมเด็จมีถึง ๑๖๔ พิมพ์ เซียนพระจึงค่อย ๆ จำกัดพิมพ์ลงเรื่อย ๆ ตามวิธีการของเขา ไป ๆ มา ๆ เหลือพระที่คนมีตังค์แสวงหากันเพียงไม่เกิน ๑๐ พิมพ์ จึงเรียกพิมพ์ทรงนิยม เซียนบางคนถึงกับพูดว่า พระสมเด็จแท้ ๆ นั้นมีไม่เกินร้อยองค์หรอก
ทำไม เมื่อพระสมเด็จเหมือนกัน หลวงปู่โตปลุกเสกเหมือนกัน ไฉนต้องแสวงหาของแพง ของดี ๆ ถูก ๆ เยอะแยะ ทำไมไม่แสวงหาหรือไม่รับรองกัน
มันเป็นเรื่องศักดิ์ศรี และบารมีนะครับ คนมีเงินไม่รู้กี่ร้อยล้านพันล้าน จะให้มาห้อยพระเหมือนชาวบ้านมันก็ยังไง ๆ อยู่ คนฉลาดจึงต้องจัดพิมพ์พิเศษไว้ให้คนมีกะตังค์ต่างหาก ไม่ให้เหมือนชาวบ้านชาวเมือง
มันก็เหมือนรถนั่นแหละ รถแบบไหนใส่น้ำมันก็ขับไปได้ทั้งนั้น แต่โรงงานผลิตรถก็ต้องสร้างรถพิเศษขึ้นมาไม่กี่คันเพื่อให้เศรษฐีมหาเศรษฐีได้ซื้อขับขี่กันในราคาแพง ๆ เพื่อเป็นเครื่องเชิดหน้าชูตาในสังคม
พระสมเด็จก็เช่นกัน ในแวดวงคนมีเงินเขาแขวนพระ เมื่อเจอคอเดียวกัน เขาก็เอาออกอวดกัน แข่งขันกัน และซื้อหากัน มันเป็นเรื่องของคนมีสตังค์นะครับ ทีนี้คนชอบพระจะซื้อจะหาก็เลยต้องดูว่าพิมพ์ไหนเขานิยม เผื่อฟลุ้คจะได้ขายเอาเงินแสนเงินล้านกับเขาบ้าง ก็กลายเป็นว่าแสวงหาพระสมเด็จเพื่อเก็งกำไรจากคนรวย แต่ถามจริง ๆ เถอะ มีคนรวยกี่คนที่ควักเงินซื้อพระองค์ละสิบยี่สิบล้าน คนที่โชคดีมีสมเด็จเพียงองค์เดียวกลับขายได้เงินสิบล้านยี่สิบล้าน จะมีสักกี่คนเชียว
มันก็เหมือนที่ไร่ที่นา ใคร ๆ ก็มีได้ ใคร ๆ ก็อยากขาย แต่คนที่ขายที่ได้เงินมหาศาลจะมีสักกี่คน มันก็เป็นเรื่องของโชคเหมือนถูกหวยเหมือนกันนะครับ ถ้าไม่มีโชคเงินทองมันไม่วิ่งมาหา ทรัพย์ในดินสินในน้ำมันมีอยู่ของมันประจำโลก เฉพาะตัวของมันเองถ้าเจ้าของไม่รู้จักบริหารไม่รู้จักใช้มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ส่วนเงินทองมันเป็นของสมมติใช้กันในสังคมมนุษย์ ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ คนมีเงินทองจึงเป็นคนมีบุญ มีความสุขสมบูรณ์ สามารถครอบครองสิ่งที่ปรารถนาทุกอย่างดุจมีแก้วมณีโชติรส ถ้าบุญบารมีไม่เกื้อหนุนเงินทองไม่เกิดหรอกครับ ดังนั้นคนที่ขายพระสมเด็จได้เงินสิบล้านก็ถือว่าโชคมาเยือนเขา เราอย่าหลงประเด็นกันเลย
ถ้าเราเคารพนับถือหลวงปู่โต แสวงหาพระสมเด็จของท่าน ก็ไม่จำเป็นต้องแสวงหาพิมพ์นิยม เอาพิมพ์ที่เขาไม่นิยม หรือพระนอกพิมพ์นี่แหละ ตาดีมีบุญหาได้ราคาองค์ละร้อยองค์ละพัน องค์ละหมื่น ขึ้นอยู่กับความพอใจ ไม่ต้องไปไขว่คว้าของเล่นของเศรษฐีเขาหรอก เพราะเราต้องการพระสมเด็จไว้คุ้มครองป้องกันตัวเองไม่ใช่หรือ
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จ
มวลสารของเนื้อพระสมเด็จ
ดินสอมหาชัย ใช้เขียนลงเป็นผง วิเศษ 5 ประการ อันได้แก่
– ผงพระพุทธคุณ
– ผงปัตถะมัง
– ผงตรีนิสิงเห
– ผงมหาราช
– ผงอิทธิเจ
1.ดินสอมหาชัย เป็นผงดินสออาถรรพณ์ทำจากดินขาวอันบริสุทธิ ผสมด้วย น้ำคั้นใบตำลึง ยอดสวาท ยอดกาหลง ยอดรักซ้อน ดินโป่ง ไคลเสมา ยอดชัยพฤกษ์ ยอดราชพฤกษ์ ยอดมะลิจากข้าวในบาตร ทั้งหมดเป็นมวลสารพระพุทธคุณ และได้ถือหลักการคุลีเนื้อพระจากตำรับไสยเวทย์ และเพทางคศาสตร์
2. ข้าวหอมจากบาตร บรรจุในชามเบญจรงค์ อันเป็นของที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาโดยเฉพาะ
3. กล้วยน้ำไท ผสมยางมะตูมทั้งสองสิ่งนี้เก็บรักษาไว้ในขันสัมฤทธิ์ ไม่เสีย
4. เกสรบัวสัตตบงกช พร้อมทั้งเกสรดอกไม่ป่าจากเมืองสุโขทัย เมื่อง กำแพงเพชร เป็นเกสรที่เจ้าคุณสมเด็จฯ ได้รวบรวมไว้ถึง 108 ชนิด
5. เปลือกหอย ขาวบริสุทธิ์ นำมาป่นจนละเอียดแล้วผ่านกรรมวิธีจนกลายเป็น ปูนเปลือกหอย มวลสาร ชนิดนี้เมื่อ ปลุกเสกและอบด้วยพระเวทย์มนตราอาถรรพณ์แล้วจะเกิดทรายทองขึ้นเองด้วยวิทยาคมของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
6. น้ำมันตั้งอิ๊ว เป็นตัวประสานมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระให้ยึดรวมกันอย่างเหนียว ทั้งกระทำให้เนื้อพระ ชุ่มชื่นอีกด้วย
7. วัสดุอื่นๆ ที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าข้างต้นนี้ ฯลฯ
ปฏิกิริยาจากผงวิเศษห้าประการ
พระสมเด็จอันเกิดจากผงวิเศษห้าประการ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสิ่งที่เกิดจากปูนเปลือกหอยเป็นหลัก แต่ประชาชน เรียกกันว่า “พระผง” เมื่อพิจารณาด้วยสายตาโดยใช้เลนส์ขยาย จะแลเห็นบนพระมีจุดเล็กๆ เรียกว่ารูพรุนปลาย เข็มเกิดเป็นหมู่ๆ ประปรายอยู่ทั่วบริเวณผิวขององค์พระ รวมทั้งแผ่นพื้นฐานด้วยรอยปูไต่ มีลักษณะ บุ๋มลึกลงไปรอยนี้มักเกิดเป็นคู่ๆเรียงกันไปเป็นทางคล้ายรอบปู จึงเรียกกันว่า “รอยปูไต่” รอยนี้เกิดขึ้นประปรายทั่วแผ่นพื้นฐานขององค์พระรอยหนอนด้น
บนผิวขององค์พระ เมื่อใช่เลนส์ขยายกำลัง 10 เท่า ส่องจะเห็นรอยโค้งเล็กๆ คล้ายตัวหนอนขาดเล็กมากปรากฏอยู่ รอยนี้ไม่ปรากฏในพระแบบอื่นนอกจากพระของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เท่านั้น ผู้ศึกษาพึงพิจารณาให้ละเอียดบ่อน้ำ และลำธาร เกิดบนผิวพื้นฐานขององค์พระอยู่โดยทั่วไป สมมติว่าเราขึ้นไปอยู่บนที่สูงๆ แล้วใช่กล้องส่องดูดาวที่มีกำลังขยายมากๆ ส่องดูดวงจันทร์ เราจะแลเห็นบนพื้นผิวดวงจันทร์ปรากฏเป็นหลุมเป็นบน่อ หุบ เหว ภูเขา และสายลำธาร ซึ่งขอเรียกว่า”ผิวพระจันทร์” อันเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดในองค์พระสมเด็จโดยเฉพาะ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ปรากฏอันเป็นความงดงามขององค์พระสมเด็จ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจะมีผู้โชคดีได้เป็นเจ้าของพระสมเด็จ เมื่อใช้เลนส์ขยายดูเนื้อพระ เขาจะเฝ้าดูแล้วดูเล่าอย่างไม่รูสึกเบื่อหน่ายในความงามอันน่าอัศจรรย์ของพระผงวิเศษของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ชึ่งสามารถแลเห็นมวลสารเกสรเป็นจุดรูปต่างๆกัน มีสีสันแปลกๆเช่น สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีเขียว สีเทา สีน้ำตาล ฯลฯ มวลสารเกสรนี้ช่อนตัวของมันอยู่เงียบๆ ต้องใช้เวลาในการดูนานจึงจะปรากให้เห็น
ธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง มองทางกายภาพ จากเลนส์ขยายในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่ได้สัมผัสมา มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าประกอบด้วย มวลสารดังต่อไปนี้
1. จุดสีขาวขุ่น มีทั้งขนาดใหม่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็เคยพบ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระละเอียดแน่นนอน และ เนื้อพระชนิดหยาบเนื้อไม่แน่นนอน สันนิษฐานว่าคือเม็ดพระธาตุ และเปลือกหอย
2. จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเศษพระเครื่องหักของกำแพงเมืองเพรช สมัยที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ไปเดินธุดงค์พบพระเนื้อดินหัก แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยพระพุทธคุณ จึงนำมาสร้างพระเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความขลังแก่พระสมเด็จ
3. จุดสีดำ มีขนาดเล็ก ก็คือ เกสรดอกไม้ เม็ดกล้วย ถ้าเป็นขนาดกลาง สันนิษฐานว่าเป็นผงถ่านใบลานและถ้าเป็นลักษณะยาว สันนิษฐานว่าเป็นกานธูป
4. จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระ สันนิษฐานว่าเป็นหินเขียวหรือตะไคร่ ใบเสมา
5. จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108 (ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ)
6. เม็ดทรายเสกขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
7. เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ ส่วนมากจะพบกระจายอยู่ทั่วไปในองค์พระบางองค์ พบอยู่ด้านหลัง บางองค์ไม่พบ
8. ทองคำเปลว จากพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง ใช้บดผสมในเนื้อพระ
9. ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ ผงวิเศษที่ได้จาก ผงอิทธิเจ ผงปัตถะมัง ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
10. การยุบตัวของเนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฎิกิริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของเศษอาหาร จึงทำให้เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศ หลายๆปี ฤดูกาลธรรมชาติ
11. ที่แลเห็นพระบางองค์มีความมันบนองค์พระมาก เพราะว่าในเนื้อพระผสมนำมันตั้งอิ้วมากกว่าปกติ เนื้อพระชนิดนี้จึงหนึกนุ่มอยู่เสมอ
12. พระสมเด็จกับการลงรักปิดทอง พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีการลงรักปิดทองไว้ แล้วในภายหลังได้ถูกล้างออก ซึ่งก็ทำให้สามารถดูเนื้อพระได้ง่ายขึ้น
13. คราบสีขาวบนองค์พระ มักจะพบในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมี 2 นัย นัยแรกเกิดจากแป้งโรยพิมพ์พระในตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าใช้แป้งขาวเจ้าผสมปูนขาว) นัยที่สองเกิดจากเชื้อราบางชนิดซึ่งเกิดขึ้นเนื่องมาจากการเก่าเก็บไว้เป็นเวลานานซึ่งไม่มีผลทำให้ผิวพระเสียแต่อย่างใด ซี่งถ้าใช้นิ้วถูออกคราบสีขาวก็จะหายไปและจะไม่มีผงฝุ่นสีขาวติดนิ้วเลย แต่ไม่ควรถูออกเพราะคราบสีขาวเป็นการแสดงความเก่ ความมีอายุอันยาวนานขององค์พระ
14. รอยปริแยกแตกบนผิวพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวหดตัวของเนื้อพระเนื่องจากความชื้นและอุณหภูมิในอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเนื้อพระมีส่วนผสมน้ำมัน ตังอิ้วที่เหมาะสมเป็นตัวประสานเนื้อพระก็จะไม่พบลอยปริแตกบนผิว
15. กลิ่นหอมในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ส่วนผสมมวลสารในเนื้อพระมีดอกไม้และเกสรหลายชนิดรวมกัน รวมทั้งน้ำมันจันทน์ด้วย จึงทำให้พระสมเด็จมีกลิ่นหอม
16. รอยแตกลายงาบนผิวพระสมเด็จวัดระฆังเกิดจากการแห้งและหดตัวของผิวเนื้อพระชั้นนอกเร็วกว่าเนื้อพระชั้นใน พบได้ในองค์ที่มีผิวละเอียดหนึกนุ่ม
พบกับบาทหลวง
ในรัชกาลที่ ๔ นั้น เป็นยุคที่ชาวฝรั่งตื่นตัวเข้ามาในกรุงสยามมากที่สุด เป็นพวกพ่อค้าวานิชบ้าง เป็นนักสอนศาสนาบ้าง เป็นพวกที่ศึกษาเกี่ยวกับการล่าเมืองขึ้นบ้าง และอะไรต่อมิอะไรเป็นอันมาก เพราะยุคนี้ไม่มีนโยบายกีดกันชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศเหมือนชาติอื่น ๆ
บรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาสยามครั้งกระนั้น ปรากฏว่า มีพวกมิชชั่นนารี คือ พวกบาทหลวงสอนศาสนา และเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นมากกว่าพวกอื่น ที่มักจะเข้าเฝ้ารบกวนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในด้านขอให้พระราชทานศาสนูปถัมภ์ และไต่ถามถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับลัทธิขนบธรรมเนียม และข้อสำคัญก็คือ เรื่องอันเกี่ยวกับพระบวรพุทธศาสนา และโดยเหตุที่มิชชันนารีพวกนี้สนใจในหลักธรรมของพระบวรพุทธศาสนามาก จึงครั้งหนึ่งได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบทูลไต่ถามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
“ลัทธิหลักธรรมของพระบวรพุทธศาสนา ตลอดจนศีลที่ประชาชนและภิกษุสามเณรถือเป็นวัตรปฏิบัติ รู้สึกว่าลุ่มลึกยิ่งนัก สงสัยว่ายังจะมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้โดยสมบูรณ์อยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า?”
ครั้นฝรั่งได้ยินกระแสพระราชดำรัสว่า “มีซิ” จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็กราบทูลอีกว่า
” ผู้ใดเล่าที่เป็นผู้ทรงคุณวิเศษสามารถประพฤติธรรมและศีลสมบูรณ์เช่นนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะมีเกียรติรู้จักท่านผู้นั้นได้หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า?”
เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งให้สังฆการีเข้าเฝ้า รับสั่งว่า
“พระธรรมการ แกพาคณะบาทหลวงเหล่านี้ไปหาสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดระฆังฯ”
แล้วหันมาตรัสกับคณะบาทหลวงผู้สอนศาสนาว่า
“ท่านจงไปกับผู้นี้ เขาจะพาท่านไปพบกับผู้ทรงคุณธรรมวิเศษของพระพุทธศาสนา” เท่านั้นแล้วก็เสด็จขึ้น
ข้างพระธรรมการตำแหน่งสังฆการี เมื่อรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ก็นำคณะบาทหลวงไปหาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ที่วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อไปถึงก็กราบนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วแจ้งเนื้อความให้สมเด็จทราบตามพระบรมราชโองการทุกประการ
พอสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ทราบกระแสพระราชดำรัสเช่นนั้น ก็ทราบโดยปัญญาทันทีว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้โต้ตอบปัญหาที่เกี่ยวแก่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง อันเป็นส่วนพระปรมัตถ์แก่คณะบาทหลวง เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่พระบวรพุทธศาสนา กับอีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการแสดงให้รู้ว่าในประเทศสยามก็ยังมีผู้ปฏิบัติธรรมแห่งพระพุทธศาสนา นับเป็นหน่อเนื้อศากยบุตรอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน
มีเรื่องเล่ากันว่า การเจรจาไต่ถามและลองภูมิได้เป็นไปอย่างถึงพริกถึงขิง เพราะบาทหลวงคณะนั้นได้ศึกษาภาษาไทย และพูดไทยได้ดี ผลของการอภิปรายถึงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับศีล และการบำเพ็ญธรรมได้จบลงด้วยคณะบาทหลวงกล่าวคำสรรเสริญสมเด็จพระพุฒาจารย์ว่า
“พระคุณเจ้าเป็นผู้ทรงคุณธรรม วิเศษในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง”
แต่แล้วก็เหน็บเอาในตอนท้ายว่า “แต่ส่วนทางโลก พระคุณเจ้าไม่รู้อะไรเลย”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ย้อนตอบไปว่า
“อย่าว่าแต่อาตมภาพจะไม่แจ้งโลกเลย แม้แต่พวกท่านก็อยู่ในลักษณะ ไม่แจ้งโลกเหมือนกัน”
บาทหลวงคนหนึ่งแย้งว่า
“คณะกระผมแจ้งซิ พระคุณเจ้า คือ แจ้งว่า โลกนี้กลมไม่ใช่แบน แล้วหามีปลาอานนท์หนุนอยู่เหมือนคนไทยเข้าใจกันไม่”
คำพูดของฝรั่งเท่ากับตบหน้าท่านเจ้าประคุณสมเด็จและคนไทยทั่วไปอย่างฉาดใหญ่ทีเดียว แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์กลับหัวเราะงอหายพลางว่า
“เข้าใจกันไปคนละทางเสียแล้วละท่าน อาตมภาพคิดว่าเป็นการแจ้งโลกแบบโลกวิทู หาได้คิดไปถึงโลกกลม โลกแบนอย่างท่านกล่าวไม่ อ้ายเรืองโลกกลมอย่างท่านกล่าวนั้น อาตมภาพก็แจ้งเหมือนกัน ซ้ำแจ้งต่อไปอีกว่า ใจกลางของโลกนั้นอยู่ตรงไหนอีกด้วยซ้ำไป”
คณะบาทหลวงงุนงงด้วยคำเจรจาฉะฉานของสมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นอันมาก ต่างแลดูตากัน ครั้นแล้วบาทหลวงผู้หนึ่งกราบนมัสการถามว่า
“พระคุณเจ้า ทราบถึงที่ตั้งใจกลางโลกจริง ๆ หรือขอรับ”
“ก็จริงนะซี อาตมภาพไม่เคยกล่าวมุสาวาทเลย” ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ตอบ
“ถ้าเช่นนั้นจะพาคณะกระผมไปดูที่ตั้งใจกลางโลกได้ไหมขอรับ?” พวกบาทหลวงรุมล้อมกันหมายต้อนสมเด็จให้จนมุมจนได้
“อ๋อได้ซิจะไปเมื่อไรล่ะ” สมเด็จพระพุฒาจารย์พูด
“เดี๋ยวนี้ได้ไหมขอรับ?” คณะบาทหลวงเร่งเร้าเพื่อจะดูทีว่าสมเด็จจะสามารถไปที่ใจกลางโลก ในทรรศนะของท่านอย่างไร
“ได้” สมเด็จตอบสั้น ๆ พลางลุกขึ้นครองจีวรให้เป็นปริมณฑลตามสมณสารูป แล้วเอื้อมไปหยิบไม้เท้า และกล่าวกับฝรั่งว่า “ตามอาตมภาพมา”
บาทหลวงทั้งคณะลุกขึ้นพร้อมกัน แล้วตามท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ลงจากกุฏิ พากันออกมายืนอยู่ที่พื้นดินบริเวณหน้าบันไดเบื้องล่าง
ณ ที่ตรงนั้นเอง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้เอาไม้เท้าที่ถือปักลงไปในพื้นดินพลางชีมือให้คณะบาทหลวงดู แล้วกล่าวว่า
“ใจกลางโลกอยู่ที่ตรงนี้”
คณะบาทหลวงทั้งหมดต้องตะลึกและงุนงงในเรื่องใจกลางของโลกตามทรรศนะของสมเด็จพระพุฒาจารย์อีกครั้งหนึ่ง ครั้นแล้วค้านเสียงหลงว่า
“เป็นไปไม่ได้ดอกพระคุณเจ้าขอรับ ที่นี่มันหน้าบันไดกุฏิพระคุณเจ้าแท้ ๆ ”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ชี้มือไปที่ไม้เท้าพลางพูดยิ้ม ๆ ว่า
“ก็ท่านกล่าวยืนยันว่าโลกนี้กลมไม่ใช่แบบอยู่เมื่อครู่นี้เอง เมื่อโลกนี้กลมจริงอย่างท่านว่า ที่นี่ก็เป็นใจกลางโลก ถ้าท่านสงสัยก็ขอให้วัดดูเถิดว่าจากศูนย์กลางที่ไม้ปักนี้ อ้อมไปโดยรอบทุกด้าน แล้วที่ตรงนี้จะเป็นใจกลางโลกจริง”
คณะบาทหลวงเพิ่มความงุนงงกันเป็นครู่ใหญ่ ครั้นคิดออกก็ถอดหมวกคำนับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพร้อมกัน แล้วกล่าวว่า
“จริงของพระคุณเจ้า ใจกลางโลกอยู่ตรงนี้ พระคุณเจ้าทรงคุณธรรมวิเศษจริง ๆ” ว่าแล้วคณะบาทหลวงก็รีบนมัสการลากลับทันที
จะขอตามรอยของพ่อท่องคำว่า”เพียง”และ”พอ”จากหัวใจ
ถ้ากล่าวถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ทุกท่านคงจะนึกถึงพระคาถาชินบัญชร
ชื่อ ” พระคาถาชินบัญชร ” เป็นชื่อของท่านผู้มีศักดิ์เป็นอาจารย์ของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
กำเนิดพระคาถาชินบัญชร
เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไปในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ(โต)ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอนสมเด็จ (โต) จึงถามว่า
“ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด”
ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน
“ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก”
สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า”
หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า
“ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?”
“หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ”
มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวมต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึง ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มากสมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า “คาถาชินบัญชร” ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ
สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมาและพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว
ประวัติท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ
ในอดีตกาลครั้งองค์สมณะโคดมเจ้า ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครานั้นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระพุทธองค์ คือ พระโมคคัลลานะ ผู้เลิศในอิทธิฤทธิ์ และพระสารีบุตรผู้เลิศในปัญญา ณ แคว้นพาราณสี ปรากฏเด็กน้อยนามว่า ชินนะ บุตรของมะติโตพราหมณ์ และนางยะถานาพราหมณ์ โคตรบัญจะระ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแห่งองค์พระศาสดาแต่ครั้งเยาว์วัย ได้บวชเป็นสามเณร และเป็นศิษย์ของพระโมคคัลลานะ สามเณรชินนะ ทรงภูมิปัญญาเป็นที่เฉลียดฉลาดเป็นยิ่ง ศรัทธาในการบิณฑบาตอย่างสงบขยันหมั่นเพียรเป็นนิจ ครั้นอายุได้เพียง 7 ขวบก็สำเร็จอรหันต์สามเณร ชินนะ บัญจะระ นับว่ามีรูปงาม เสียงไพเราะ รู้พิธี เจ้าระเบียบ รอบคอบด้วยความสะอาด ตั้งอยู่ในศีลาจาวัตรอันงดงาม
ครั้นย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม รูปร่างของท่านชินนะ บัญจะระ ยิ่งสวยสดงดงาม ผิวขาวละเอียดประดุจหยก หน้าแดงระเรื่อสีชมพู คิ้วโก่งดังคันศร ไว้เกษาเกล้าจุก เยื้องย่างสง่างามประดุจราชสีห์ ด้วยรูปงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของสตรีเพศ จึงมีสตรีเพศต่างหลงใหลในตัวของท่านชินนะเป็นอย่างยิ่ง ด้วยท่านชินนะนั้นยึดพรหมจรรย์เป็นสรณะจึงมีแต่ความสงบ
แล้ววันหนึ่ง ขณะที่ท่านชินนะได้ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ได้มีหญิงผู้หนึ่งซึ่งแอบหลงรักท่านชินนะ มิอาจยับยั้งใจเอาไว้ได้จึงได้โผผวาเข้ากอดท่านชินนะอย่างลืมตัว ท่านชินนะ เห็นอาการของผู้หญิงคนนั้นกระทำแก่ท่านดังนี้ก็บังเกิดความสังเวชอย่างใหญ่หลวง อันพรหมจรรย์ของท่านต้องมาแปดเปื้อนเสียดังนี้ ความยึดมั่นในพรหมจรรย์ของท่านต้องมาสะบั้นลง ท่านจึงดำริขึ้นว่า
“ตัวท่านนี้มีรูปงามเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดอกุศลกรรมแก่อิตถีเพศ เป็นการสร้างบาปให้เกิดขึ้นด้วยมีกายรูปนี้เป็นเหตุ จะมีสักเท่าใดกันหนอที่ปรารถนาล่วงพรหมจรรย์ของท่านเช่นผู้หญิงคนนี้..”
ท่านชินนะ คิดดังนี้ เห็นกายเป็นเหตุ กายทำให้พรหมจรรย์จิตเสื่อมสลาย กายก่ออกุศลจิตให้เกิดเป็นบาปกับอิตถีเพศผู้ยังมัวเมาในรูป ท่านจึงถอดกายทิพย์ออกจากร่าง ทิ้งสังขารไว้เมื่อยังไม่ถึงกาล เมื่ออายุท่านเพียง 23 ปี 6 เดือน กายทิพย์ของท่านจึงไปได้แค่ชั้นพรหมโลกท่านชินนะ นับว่าเป็นผู้รอบรู้พิธีการต่างๆของโลกวิญญาณ ท่านสามารถสวดพระคาถาคลายพระเวทย์ได้อย่างเยี่ยมยอดยามท่านสวดพระคาถาไม่ว่าบนโลกหรือบนสวรรค์เสียงของท่านจะก้องกังวานไปทั่วนรกภูมิ และสวรรค์สามสิบสามชั้นเทพพรหมได้ยินจะสะเทือนจิตออกจากสมาบัติหมดสิ้น เพื่อรับทราบพิธีการที่ท่านชินนะจัดขึ้นท่านชินนะบัญจะระ มีกายละเอียดอยู่ในชั้นพรหม ขณะนี้เป็นชั้นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น ควบคุมทั้งหมด
ดังด้วยว่าสตรีเพศเป็นผู้ทำลายความบริสุทธิ์ของท่านเสียก่อนดังนี้ ทำให้ท่านละสังขารก่อนถึงกาลเวลาแห่งอายุดังนี้ จึงทำให้ท่านมีกำลังบุญอยู่ในแค่ชั้นพรหม ดังนั้นท่านจึงต้องสร้างบุญในโลกมนุษย์เพื่อสร้างบุญบารมีนำท่านขึ้นไปสู่แดนอรหันต์ดังนั้น ชินบัญชรคาถา หากท่านได้ภาวนาเป็นประจำสม่ำเสมอจักก่อให้เกิดผลดียิ่งแก่ผู้ภาวนา เพราะท่านท้าวมหาพรหม ชินนะบัญจะระ จะทรงแผ่อำนาจลงมาช่วยท่านตลอดเวลาคิดหวังอะไรย่อมสมหวังยิ่ง
ขอขอบคุณ : http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=229.0