หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก
ย่อลงคือความรักบีบใจทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์
เป็นเลิศกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต
ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี
ใจจากที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต
จิตคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว
สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลายหายความร้อน
พอดักผ่อนสืบแสวงหาทางดี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี
ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์แน่ประจำ
ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์เท่านั้นแล

คำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแก้
ส่วนสังขารขันธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน
จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศจิตก็ถอน จากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง
ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้งธรรมผิดหมดพิษใจ
จิตเห็นธรรมดีเลิศที่พ้น พบปะธรรมปลดเปลื้องเครื่องกระสัน
มีสติอยู่กับตัวบ่พัวพัน เรื่องรักขันธ์หายสิ้นขาดยินดี
สิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสัย
เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งยุ่งไป พึงรู้ได้ว่าบาปมีขื้นเพราะขืนจริง
ตอบว่าบาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง
ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ไม่สุขเลย
แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย
ยึดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย เลยเพลินเชยชมจำธรรมมานาน
ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่นขันธ์ ๕ น่าสงสาร
ให้ยกตัวออกตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไป
ไม่ได้ผลเที่ยวดูโทษคนอื่นขื่นใจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม
ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ใจของเราเพียงระวังตั้งถนอม
อย่าให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย
เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ที่มั่นหมาย
ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย เลยซ้ำร้ายกิเลสเข้ากลุ้มรุมกวน
เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งหลงนักหนักจิตคิดโทษหวล
ทั้งอารมณ์การห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่างๆ กัน
เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ร้ายไปได้เลย
ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าช้าเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย
คงได้เชยชมธรรมอันเอกวิเวกจิต ไม่เพียงนั้นหมายใจไหวจากจำ
เห็นแล้วขำดูดูอยู่ไหว อารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม
เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่
จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้วิธีจิต
รู้เท่าที่ไม่เที่ยงจิตต้นฟื้นริเริ่ม คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้
รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที
คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป
จิตต้นที่เมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เห็นธรรมอันเกิดเลิศโลกา
เรื่องจิตค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดหมดได้ไปสิ้น
ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ธรรมดาของจิตต้องคิดนึก
พอรู้สึกจิตคุ้นพ้นรำคาญ เงียบสงัดจากมารเครื่องรบกวน
ธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงไม่มีเลย
ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด มันจะเบียดให้จิตไปติดเฉย
ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย เมื่อถึงเฮยหากรู้เองพลงของจิต
เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูกิเลสจำแลงเพศ
เหมือนดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองนามว่าความเห็น
ไม่ใช่เข่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งไตรตรองแยกแยะและรูปนาม
ก็ใช่ความเห็นต้องจงเล็งดู จิตตนพ้นรำคาญ ต้นจิตรู้ตัวว่าสังขาร
เรื่องแปรปรวนใช่กระบวนไป ดูหรือรู้จริงอะไรรู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่
จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว จิตรุ้ไหวไหวก็จิตคิดกันไป
แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตเป็นอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน
ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมรสหมดสงสัย
ขาดต้นคว้หาเรื่องเครื่องนอกใน เรื่องจิตอยากก็หยุดให้หายหิว
พ้นหนักใจทั้งหลายหายอิดโหย เหมือนฝนโปรยใจก็เย็นด้วยเห็นใจ
ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตค้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว
ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย เพราะดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง
อยู่เงียบๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง
ไม่ต้องวุ่นไม่ต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต
ท่านชี้มรรคทั้งหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว
ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี
ตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรักเพลินยิ่งนัก ทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี
ว่าอย่างต่ำกามคุณห้าเป็นการดี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน
ถ้าจะจับตามวิธีมีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร
เคยทั้งปวงเพลินมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิต
ไปในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน
สิ่งใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย
เพลินโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน
โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเสียเลย
โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ลงวิบากไปตกนรกแสนสาหัส
หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้นคงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย
เมื่อเห็นโทษตนชัดถึงตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้
เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เป็นโทษไหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง
ดีไม่ดีนี้เป็นผิดของจิตนัก เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง
กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม
ความอยากดีมีมากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม
สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม
ที่จริงชี้สมุทัยนี้ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้งทางยุ่งยิ่ง
เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งใจสงบจบกันที
อันนี้ชื่อว่าขันธะวิมุติสมังคีธรรม ประจำอยู่กับที่ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา
สภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน
สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิด
พระภูริทัตโต (มั่น) วัดสระปทุมวันเป็นผู้แต่ง

ไปหน้า 1 / 2 / 4

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://goldfish.wimutti.net/a_mun/kaew04.htm

. . . . . . .