ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโอวาทธรรมให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระปทุม (ปัจจุบันคือ วัด ประทุมวนาราม) กทม. ซึ่งปัจจุบันอาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้ นมัตถุ สุคตัสสะ ปัญจธัมมักขันธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระสุคต บรมศาสดาศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น บัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมขันธ์โดยสังเขปตามสติปัญญาฯ
ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน
เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน
นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย
วันหนึ่งท่านรู้จริงซึ่งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย
เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์คลาย
แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไปเมินมาอยู่หน้าเขา
จะกลับไปป่าวร้องพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้า
เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ
เดี๋ยวถูกยอถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญ ยังมีบุรุษคนหนึ่งคิดกลัวตายน้ำใจฝ่อ
มาหาแล้วพูดตรงๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน
เห็นธรรมที่จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง เอ๊ะ! ทำไมจึงรู้ใจฉัน
บุรุษผู้นั้นก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดีดีฉันอนุโมทนา
จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือ กายคตาสติภาวนา
ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์
จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ไปหลอกเล่นบอกความให้ตามจริง
แล้วกล่าวปริศนาท้าให้ตอบ ปริศนานั้นว่าระวิ่งคืออะไร
ตอบวิ่งเร็วคือวิญญาณอาการใจ เดินเป็นแถวตามแนวกัน
สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา
สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำให้จิตวิ่นวายเที่ยวส่ายหา
หลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมายา ถามว่าห้าขันธ์ใครพ้นจนทั้งปวง
แก้ว่าใจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิศวง
หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาทะลวงไม่ได้หมายหลงตามไป
ถามว่าที่ตายใครเขาตายที่ไหนกัน แก้ว่าสังขารเขาตายทำลายผล
ถามว่าสิ่งใดก่อให้ต่อวน แก้ว่ากลสัญญาพาให้เวียน
เชื่อสัญญาจึงผิดคิดยินดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน
เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น
ถามว่าใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม แก้ว่าใจกำหนดใจหมาย
เรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือว่าดีว่าชั่วผลักจิตติดรักชัง
ถามว่ากินหนเดียวเที่ยวไม่กิน แก้ว่าสิ้นอยากดูไม่รู้หวัง
ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย
ถามว่าสระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ แก้ว่าธรรมสิ้นอยากจากสงสัย
ใสสะอาดหมดราคีไม่มีภัย สัญญาในนั้นพรากสังขารขันธ์นั้นไม่ถอน
ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง เงียบสงัดดวงจิตไม่คิดตรอง
เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน
หากแม้นเหมือนรู้จริงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ
จำส่วนจำกั้นอยู่ไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้นหายดิ้นรน
เหมือนอย่างว่ากระจกส่องหน้า ส่องแล้วอย่าคิดติดสัญญา
เพราะสัญญานั้นดังเงา อย่างได้เมาไปตามเรี่องเครื่องสังขาร
ใจขยันจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป
ใจไม่เที่ยวของใจใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตใหว
แต่ก่อนนั้นหลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง
คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้ห่วง
เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา
เหมือนยืนบนยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นสินทุกตัวสัตว์แต่ว่าสูงยิ่งนัก
แลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได
ถามว่านี้ขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ ตอบว่าสังขารแปรก็ไม่ได้
ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใคร ขึ้นผลักไสจับต้องก็หมองมัว
ชั่วในจิตไม่ต้องคิดผิดธรรมดา สภาพสิ่งเป็นจริงดีชั่ว
ตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น
รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารเมื่อผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์
ธรรมก็ใจเย็นใจระงับดับสังขาร รับอาการถามว่าห้าหน้าที่มีครบครัน
แก้ว่าขันธ์แย่งแยกแจกห้าฐาน เรื่องสังขารต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ
จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญเจริญสุข
นินทาทุกข์เสื่อมยศหมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง
ทั้ง ๘ สิ่งใจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก้ไข้มิได้ถ้วน
นานก็มิได้พักเหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา
เรื่องดีถ้าเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด
เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไม่โทษใคร
อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย
เช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย
จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราว
ถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว
ถ้ารู้ได้ย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิธี
ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน
ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย
ในไม่เที่ยวของใจไหววะวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่งเล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน
ขันธ์บังธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
ถามว่า-มี-ไม่มี ไม่มีมีนี้คืออะไร
ทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด
ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน
นี่ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มีมีนี้เป็นธรรม
ที่ล้ำลึกใครพบจบประสงค์ ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง
นั่นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผันเลิศพบสงบนิ่ง
เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับยิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ
ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย
เรื่องพัวพันขันธ์ห้าชาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง
ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิศวง
ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจง เชิญเถิดขี้อีกสักอย่างหนทางใจ
ไปหน้า 1 / 3 / 4
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://goldfish.wimutti.net/a_mun/kaew04.htm