พระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)
พระราชทินนาม……พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาส
หลวงพ่อเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเกิดจากโยมมารดา เจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์
ชื่อเดิม
จรัญ จรรยารักษ์
เกิด
วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ปีมะโรง เวลา ๐๗.๑๐ น. ณ ๑๕ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
อุปสมบท
วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์
วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๔๘๗ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบไล่ได้นักธรรมโท ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สามัญศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๓ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ.๒๔๙๔ ศึกษาปฏิบิติธรรมฐาน กับหลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำเครื่องลางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ
พ.ศ.๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ณ วัดระฆัง กรุงเทพฯ
– ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
– ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ พ.อ.ชม สุคันธรัต
– เดินธุดงค์รอนแรมหาที่สงบ เพื่อจำศีลภาวนาตามป่าเขตลำเนาไพรทางภาคเหนือ (เป็นต้น)
สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๐๐
รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ.๒๕๐๑
ได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ในฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณ สุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
พ.ศ.๒๕๑๑
ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
พ.ศ.๒๕๑๖
เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
พ.ศ.๒๕๑๗
รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ.๒๕๑๘
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ.๒๕๑๙
ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๒๕
ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ.๒๕๓๑
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
พ.ศ.๒๕๓๕
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระราชสุทธิญาณมงคล เมื่อวันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
พ.ศ.๒๕๔๑
ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑
พ.ศ.๒๕๔๒
ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
พ.ศ.๒๕๔๕
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔
ชีวิตในวัยเยาว์ หลวงพ่อได้อาศัยอยู่กับยายวัย ๘๐ ปี ณ เรือนทรงไทย
หลังใหญ่กลางดงใม้ร่มครึ้มด้วยมะม่วง มะปราง ขนนุ น้อยหน่า และละมุด ฯลฯ
แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างเสรี ด้วยเนื้อที่กว้างขวางด้านหลังติดกับลำน้ำลพบุรีใช้ปลูกพืช
ผักสวนครัวนานาชนิดเรื่องรางจากชีวิตจริงของหลวงพ่อเริ่มต้นจากบ้านหลังนี้
เวลาตีสี่ของทุกวัน ยายจะลุกขึ้นสวดมนต์ภาวนา เป็นเวลา ๑ ชั่วโมงส่วนเด็กชาย
จรัญ จะลุกขึ้นก่อไฟหุงข้าวให้ยายใส่บาตร หลังจากนั้นยายหลานจะลงไปพรวนดิน
ถางหญ้า พร้อมเก็บพืช ผักผลไม้ เพื่อนำไปขายในตลาด หากวันใด ที่ผัก ผลไม้ มีมาก
ยายหาบาไม่ไหว หลานชายจะแบ่งใส่สาแหรกอีกลูกหนึ่ง หาบไปส่งยายที่ตลาด แล้วจึงไปโรงเรียนในวัยที่กำลังเรียนหนังสือ เด็กชายจรัญไม่เคยสนใจเรียนหนังสือเลย
มักชวนเพื่อนๆ ไปยิงนกตกปลาถูกย้ายโรงเรียนหลายแห่ง เพราะทางโรงเรียนทนความ
ประพฤติของเด็กชายจรัญไม่ไหว ทั้งๆ ที่ยายพร่ำสอนแต่สิ่งดีๆ ให้เด็กชายจรัญ
แต่เขากลับไม่เคยรับฟังอย่างใส่ใจเลยยายให้เอาข้าวไปถวายพระแทน เพราะยาย
ไม่ค่อยสบายระหว่างทางเจอเพื่อนนักเรียนที่สร้างวีรกรรมหนีโรงเรียนด้วยกันมา
เพื่อนบอกว่า “ยังไม่ได้กินข้าวเลยเด็กชายจรัญ ก็นึกไปว่าจะเอาไปให้พระทำไม
พระก็มีของกินตั้งเยอะแยะแล้ว” เลยตั้งวงกินกันเองกับเพื่อน พอกลับถึงบ้าน ยายถาม
ก็บอกว่าถวายแล้ว วันต่อมาก็ทำอีก บังเอิญ อยู่มาวันหนึ่ง สมภารได้แวะมาเยี่ยมยายที่บ้านความเลยแตกถูกยายดุด่าและตีด้วยไม้เรียวพร้อมทั้งพูดสั่งสอน
“เอ็งทำแบบนี้มันเป็นบาป ต้องเป็นเปรตปากเท่ารูเข็มรู้ไม๊”
ช่วงวัยเยาว์ เด็กชายจรัญเรียนอยู่โรงเรียนวัดพรหมสาคร ข้ามเรือจ้างเดือนละ ๒๕ สตางค์ ที่ท่าเรือของตาก้อย ก็โกงไม่ให้เงิน ๒ เดือนแล้งก็เปลี่ยนไปขึ้นท่าของยายนวมก็โกงเงินอีก ท่าเรือมี ๓ ท่าเด็กชายจรัญโกงเงินหมดทั้ง ๓ ท่าทุกๆปี
ปีละ ๒ ครั้ง ยายจะจัดให้มีการเทศน์มหาชาติขึ้นที่บ้าน ลูกๆหลานๆ ก็มาพร้อมหน้ากัน
ยายจะนิมนต์พระมา ๓ รูป ขึ้นเทศน์ ๓ ธรรมาสน์ เทศน์โต้ตอบกันเรียกว่า “เทศน์ปุจฉาวิสัชนา” เด็กๆ จะพากันวิ่งซุกซนยายจะจับผูกขาล่ามไว้กับเสาเรือนเป็น
การบังคับให้ฟังเทศน์ เด็กชายจรัญเป็นหนึ่งในจำนวนเด็กที่ถูกผูกขาล่ามเชือกไว้ด้วย
ตอนมัธยม ๒ เด็กชายจรัญชวนเพื่อนไปกินก๋วยเตี๋ยวผัดไทยที่ร้านยายากุ่ม(ใส่ไข่ ๕ ไม่ใส่ ๓ สตางค์) ทั้งที่ไม่มีเงิน เมื่อกินอิ่มแล้วก็ออกอุบายให้เพื่อนๆ เดินกลับไปก่อนแล้วเด็กชายจรัญจึงแอบหยิบสตางค์ของลูกค้าคนอื่นที่อยู่ในชามเก็บสตางค์ของแม่ค้าแล้วโยนกลับลงไปให้เกิดเสียงเหมือนว่าจ่ายเงินแล้ว ทำอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งโดยที่แม่ค้าไม่ทราบในกลโกงของเด็กชายจรัญเลย
เด็กชายจรัญได้รับเงินค่าจ้าง๑ บาท จากพวกขี้เหล้าในการนำเต่าจำนวน ๗ ตัวไปต้มเขาจัดการก่อไฟแล้วตักน้ำใส่หม้อยกตั้งบนเตาจนน้ำเดือดแล้วจึงนำเต่าใส่ลงไปในหม้อน้ำที่เดือดนั้น เต่าทั้งหมดต่างพากันดิ้นตะกุกตะกัก ทุรนทุรายจนหม้อแตกออกเป็น ๒ เสี่ยงน้ำในหม้อไหลลงเตาจนไฟดับ
ต่อมาวันหนึ่ง เด็กชายจรัญ ได้ถอดปืนออกเป็นเอามุงพันแล้วห่อด้วยเสื่อ แล้วโกหกยายว่าจะไปเรียนพิเศษ แต่ที่จริงแล้วเด็กชายจรัญนัดกับครูฉั้ว ครูใหญ่โรงเรียนวัดแจ้งพรหมนคร เพื่อจะยิงนกให้พรรคพวกครูฉั้วที่หนองสาหร่าย เด็กชายจรัญมีอุบายในการยงนกโดยการนำปืนวางไว้บนแพหยวกกล้วยแล้วลอยตัวตามน้ำและผักตบชวามาพรางตัวอีกทีหนึ่งเพื่อรอคอยให้นกลงมากินน้ำในขณะที่บนบก ชาวบ้านหลายคนคอยไล่นกไม่ให้นกลงมากกินหนองน้ำที่หนองอื่น แต่ต้องลงมากินหนองน้ำ ที่เด็กชายจรัญดักรออยู่ พอมีฝูงนกลันลงมากินน้ำเป็นจำนวนมาก
เด็กชายจรัญก็ยืนขึ้นครึ่งตัวถือปืนยืนนิ่งเสมือนหุ่นไล่กา เพื่อให้ฝูงนกเหล่านั้นตายใจทันใดนั้นเสียงปืนก็ดังขึ้นเปรี้ยง!ๆ เหล่านกร่วงตกลงมาเป็นฝูง ตายนับร้อยตัวโดยฝีมือของเด็กชายจรัญนั่นเอง วันฉลองสนามบิน จ.สิงห์บุรี ตอนนั้นหลวงสรรพประสาทเป็นผู้ว่าราชการ เด็กชายจรัญได้ขอเงินยายจำนวน ๑๐๐ บาทเพื่อนำไปซื้อเครื่องแบบลูกเสือใส่ไปงานฉลองสนามบิน และยาย ได้ให้เงินเพียง ๑๐ บาท แต่พอยายเผลอก็เดินตัวเบาซ้ายย่างหนอ…ขวาย่างหนอ… แอบไปหยิบเงินใต้หมอนจำนวน ๕๐๐ บาท ไปซื้อเครื่องแบบลูกเสืออย่างาสมใจพอยายถามก็ไม่ยอมรับพร้อมทั้งสาบาน
“ถ้าขโมยจริงขอให้ฟ้าผ่า…แต่ไม่ตาย”
จากนั้นผลกรรมก็เกิดขึ้นกับหลวงพ่อจรัญ เมื่อหลวงพ่อกำลังเทศน์โปรดญาติโยมอยู่ที่กุฏิหลังปัจจุบัน ตอนบ่ายสี่โมงเย็น ได้เกิดสายฟ้าสีเขียวและสีแดงวิ่งมาชนกันแล้วผ่าลงมาที่ตัวของหลวงพ่อปรากฏว่าจีวรไหม้หมด แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก ที่ร่างกายของหลวงพ่อไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เป็นเพราะแรงที่สาบานกับยาย
ไว้ตั้งแต่อดีต ปี พ.ศ ๒๕๐๐ หลวงพ่อเดินทางไปแม่สอดโดยรถยนต์ รถของท่านเกิดอุบัติเหตุตกเหว รถตำไปค้างยู่บนยอดต้นยางต้องนอนหนาวอยู่ ๑ วัน ๑ คืน หลวงพ่อไต่ขึ้นมาจากเหวได้อย่างสะบักสะบอม จีวรขาดวิ่นเหลือแต่สบง ไปเรียกให้คนช่วยก็ไม่มีใครช่วย หาว่าเป็นคนบ้าวิกลจริตพากันขว้างปาจรหัวบวมไปหมด กว่าจะมีคนมาช่วย รถก็ยังอยู่ที่เดิม
พระจรัญได้กำหนดสติรับรู้กรรมที่ท่านต้องมาประสบเคราะห์กรรมในครั้งนี้เพราะ เมือตอนที่ท่านเป็นเด็กชอบแอบไปขว้างหัวชาวบ้านอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งพบคนเมาเดินโซซัดโซเซมา ชื่อตาเถิ่งเด็กชายจรัญหมั่นไส้จึงถีบตาเถิ่งตกลงไปในน้ำที่มีต้นกง ต้นแสมเต็มไปหมด ตาเถิ่งได้รับบาดเจ็บและนอนจมอยู่ในน้ำ๑ วันกับอีก ๑ คืน
ผลกรรมนี้จึงมาตกรับท่านในคราวนี้เองอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงแม่ของเด็กชายจรัญเลี้ยงไก่ไว้จำนวน ๓๐๐ กว่าตัว วันหนึ่งเด็กชายจรัญได้ไปยืนดูวิธีการตอนไก่จากหมอ
และได้ทราบว่าไก่ที่ตอนแล้วจะอ้วนและมีเนื้อเยอะมากขึ้น ดังนั้น เด็กชายจรัญจึงรีบไปซื้อเครื่องมือในการตอนไก่ที่เห็นหมอใช้สว่านเจาะท้องไก่เอาเหล็กดึงไส้ออกมาแล้วเย็บจากนั้นก็นำไส้กลับไปใส่ไว้ในท้องเหมือนเดิม
วิธีนี้ เด็กชายจรัญไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ปรากฏว่าไก่ที่เด็กชายจรัญตอนไว้นั้น ไส้ไหลเป็นน้ำเหลือง ไส้เน่าตายไปวันละหลายๆ ตัวจนหมดเล้าผลกรรมได้ตอบสนองหลวงพ่อได้เป็นโรคลำไส้ ปวดกระเพาะมากไส้เริ่มเน่าถ่ายออกมาเป็นเลือดและนานอยู่ ๓ ปีจากนั้นหลวงพ่อจึงตั้งจิตอธิษฐาน “พ่อไก่ แม่ไก่ทั้งหลายเอ๋ย เจ้าจงมารับเมตตาจากข้าพเจ้า ที่ตอนเจ้าไม่ได้เจตนาให้เจ้าตาย เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน ถ้าข้าพเจ้ารอดตายจะทำกรรมฐานไปให้ จงอย่าจองเวรจองกรรมกับเราเลยให้อภัยเราเถิด”
เมื่อสิ้นคำอธิษฐาน ก็อุจจาระ ปัสสาวะไหลออกมาทั้งเลือด ทั้งหนองเหม็นคลุ้งไปหมดพวกไก่ได้มาเต็มไปหมดและบอกหลวงพ่อว่า “นี่เป็นท่านนะถ้าไม่ใช่ท่านจะเอาให้ตายต่อมายายล้มเจ็บไม่สบายไปเข้าผันป้าเหลี่ยมลูกสาวของยาย ซึ่งเป็นป้าของนายจรัญว่า “ถ้ากูตายแล้วให้ไปขุดสมบัติในไหที่ป่ากระชายหลังเรือน ๓ วานจรัญมันคิดไม่ซื่อจะเอาทรัพย์สมบัติไปเล่นการพนัน “
อีก๒ปียายก็ตายป้าได้มาชวนนายจรัญไปขุดสมบัตินายจรัญจึงออกอุบายรู้ว่าป้าชอบกินน้ำตาลเมาจึงไปซื้อมาให้ป้ากินจนเมาและเมื่อขุดลงไปก็พบว่าไหสมบัติได้ย้ายจากที่เดิมมา ๓ วา จริงนายจรัญได้ขอห่อทองไว้และได้ให้เงินกลมแก่ป้าไปชีวิตในวัยหนุ่มของนายจรัญ เป็นวัยที่คึกคะนองแกล้งคนโน้นแกล้งคนนี้ อีกทั้งเถียงยายอยู่ตลอดเวลาแต่นายจรัญ มีดีทางการเล่นดนตรีไทยเพราะเคยเรียนมากับครูตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดยแอบยายไปเรียน
ต่อมาหลวงพ่อได้ทำกรรมกับเต่าไว้ในระหว่างเดินทางกลับบ้านฝนตกหนักถนนลื่นมากรถยนต์เกิดเสียหลักพลิกคว่ำแปดตลบรถพังหมดทั้งคันพอดีมีรถคันอื่นมาจอดและช่วยนำตัวออกมาและนำไปโรงพยาบาลเลิดสินกรุงเทพ
จากผลกรรมที่หลวงพ่อได้รับทำให้ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม(พระเทพสิงหบุราจารย์) ได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะสร้างคนโดยใช้วิธีการที่สำคัญ คือ การให้การศึกษาอบรมและสอนวิปัสสนากรรมฐาน ผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งปวงไม่เฉพาะประชาชนคนไทยเท่านั้น แม้แต่ต่างประเทศก็ยอมรับและให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่งท่านเริ่มสอนวิปัสสนากรรมฐานให้กับญาติโยมและศิษยานุศิษย์ที่วัดอัมพวัน
หลวงพ่อท่านมีเมตตาต่อผู้คนทุกถ้วนหน้าโดยไม่เลือก ชั้น วรรณะ ท่านตั้งปณิธานมุ่งมั่นในการสร้างคนแทนสร้างสัตถุจึงทุ่มเทชีวิตทั้งกำลังใจและสติปัญญาให้กับการเผยแพร่วิปัสสนากรรมฐานกว่า ๔๐ ปี
“จะใช้หนี้โลกมนุษย์ ด้วยการเผยแพร่พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่ขอสร้างวัตถุอีก”
ที่มา….http://www.tourwat.com/
ขอบคุณข้อมูล : http://atcloud.com/stories/27034