ธัมมานุปัสสนา››››› สมเด็จพระญาณสังวร

ธัมมานุปัสสนา›››››

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้

เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

การปฏิบัติพุทธศาสนาต้องปฏิบัติให้ถึงจิต จึงจะประสบผลและก้าวหน้าไปสู่ความสิ้นทุกข์ได้โดยลำดับ

การปฏิบัติให้ถึงจิตนั้นก็ต้องตั้งต้นตั้งแต่ขั้นฐานขั้นศีล สืบถึงขั้นสมาธิขั้นปัญญา

อันรวมความว่าให้เข้าทางแห่งอริยมรรคที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ หรือว่าเข้าทางบารมีทั้งสิบที่พระพุทธเจ้าได้ทรง

บำเพ็ญการปฏิบัติเข้าทางบารมีนั้นก็ตั้งต้นแต่ทาน การให้ การบริจาค ต้องปฏิบัติให้ถึงจิต คือให้จิตสละ โลภะ มัจฉริยะ

ให้จิตบริสุทธิ์ แม้จะให้น้อยก็ตาม เมื่อจิตบริสุทธิ์ก็ชื่อว่ามาก ให้มากถ้าจิตไม่บริสุทธิ์ก็ชื่อว่าน้อย

จิตที่บริสุทธิ์นั้นก็หมายถึง มิใช่ให้เพื่อเพิ่มโลภะ แต่ว่าให้เพื่อที่จะชำระโลภะความโลภอยากได้

มัจฉริยะความหวงแหนตระหนี่เหนียวแน่น เป็นการสละจิต คือสละทางจิต
ให้จิตบริสุทธิ์ดังกล่าว เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ชื่อว่าจิตประณีต จะให้เพียงนิดหน่อยเมื่อจิตประณีตวัตถุที่ให้นั้นก็ประณีต

จึงได้ผลมาก และผลมากที่ได้นั้นก็หมายถึงผลทางจิตใจ คือความบริสุทธิ์นั้นเอง

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอริยมรรคทางมีองค์ ๘ เป็นหลักแห่งการปฏิบัติในพุทธศาสนา

สรุปเข้ามาก็เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ศีลสมาธิปัญญาทั้ง ๓ นี้ก็ตั้งขึ้นในจิตทั้งนั้น ต้องให้จิตเป็นศีล จิตเป็นสมาธิ

จิตเป็นปัญญา จิตเป็นศีลนั้นก็คือว่าจิตเป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม ประกอบด้วยความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ

จากบรรดากิเลสอย่างหยาบ อันจะเป็นเครื่องดึงจิตให้ก่อเจตนาก่อกรรมที่เป็นบาปอกุศลทุจริตทั้งหลาย

จิตเป็นสมาธินั้นก็คือจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในทางที่ชอบ

เป็นจิตสงบจากนิวรณ์ คือกิเลสที่บังเกิดขึ้นในใจ ทำจิตใจให้ชอบให้ชังให้หลงไปต่างๆ ในอารมณ์ต่าง ๆ ที่บังเกิดขึ้น

จึงตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของสมาธิ ถอนจิตจากอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของกิเลสเหล่านั้น จึงเป็นการตั้งจิตไว้ในทางที่ชอบ

และเป็นจิตที่สงบ เป็นจิตที่สว่าง เป็นจิตที่โปร่ง มองเห็นเหตุผลที่เป็นจริง มองเห็นความจริงของสิ่งทั้งหลาย จึงส่งขึ้น

ไปสู่จิตที่เป็นปัญญา ซึ่งเป็นจิตรู้จิตเห็น

เมื่อกล่าวโดยสรุปในทางธรรมปฏิบัติ ก็เป็นจิตที่รู้ที่เห็นบาปบุญคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ตามความเป็นจริง เป็น

จิตที่รู้ที่เห็นในทุกข์ ในสมุทัยเหตุเกิดทุกข์ ในนิโรธความดับทุกข์ ในมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเป็นอริยมรรค

ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เมื่อนำตนเข้าสู่ศีลสมาธิปัญญา ให้จิตเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ดังกล่าว

ก็ชื่อว่าเดินเข้าไปในทางอริยมรรคของพระพุทธเจ้า มิใช่ดำเนินไปในทางของมาร

ถ้าเดินออกนอกทางอริยมรรค ก็ย่อมชื่อว่าดำเนินไปในทางของมาร ก็คือกิเลสมาร

อันได้แก่เดินทางไปในทางของตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก หรือว่าในทางของราคะ ของโลภะ ความโลภอยากได้

ในทางของโทสะความโกรธแค้นขัดเคือง ในทางของโมหะความหลง เมื่อเดินทางไปในทางของมารดังกล่าวนี้

จิตก็จะเป็นตัณหา จิตก็จะเป็นราคะหรือโลภะ จิตก็จะเป็นโทสะ จิตก็จะเป็นโมหะ ดั่งนี้ก็เป็นอันว่าเดินไปในทางของมาร

เพราะว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่อ่อน อันหมายถึงน้อมไปได้ง่าย ทั้งในทางดี ทั้งในทางชั่ว เป็นธรรมชาติที่ควรแก่การงาน

ก็ได้ทั้งสองทางเช่นเดียวกัน แต่ว่าธรรมชาติของจิตที่แท้จริงนั้น เป็นธรรมชาติที่เป็นธาตุรู้ และเป็นธรรมชาติที่ปภัสสร

คือผุดผ่อง ดังจะพึงเห็นได้ว่าเมื่อปฏิบัติให้จิตเป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญา จะปรากฏความผุดผ่องของจิต คือเดินในทาง

อริยมรรค และจิตก็ควรแก่การงานอันหมายความว่าปฏิบัติได้ เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป ปฏิบัติได้ไม่ยาก

ปฏิบัติได้ง่าย

แต่ถ้าหากว่าจิตดำเนินไปในทางของมาร จิตก็จะเศร้าหมอง ไม่ผุดผ่อง แม้ว่าจะได้ผลเป็นความพอใจจากผลต่าง ๆ

จากอารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจต่าง ๆ เป็นนันทิคือความเพลิดเพลิน เป็นความติดใจยินดี อันทำให้รู้สึกว่าเป็นสุข

เป็นความสำราญ เป็นความชื่นบานสนุกสนาน แต่ว่าอันที่จริงนั้นความเพลิดเพลินยินดีพอใจ…

( เริ่ม ๙/๒ ) ซึ่งตั้งอยู่บนความผุดผ่องอันเป็นธรรมชาติของจิต จึงจะรู้ได้ว่าอันความสุขที่ตั้งอยู่บนความผุดผ่องอันเป็น

ธรรมชาติของจิตนั้น แตกต่างจากความสุขที่ตั้งอยู่บนความเศร้าหมอง และจะมองเห็นว่าความเศร้าหมองนั้นเอง เป็น

เครื่องที่ทำให้เกิดความหลงเข้าใจผิด ว่าเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดีพอใจ

เหมือนอย่างสีต่าง ๆ ที่เขียนลงไปบนแผ่นผ้าขาวที่สะอาด สีต่าง ๆ นั้นอันที่จริงเป็นสิ่งที่เศร้าหมอง เช่นเมื่อมีสีมาเปื้อน

เสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

บุคคลจะรู้สึกว่าเป็นความสกปรก ต้องซัก ฟอก ล้าง ให้สีต่าง ๆ นั้นหมดไป แต่ถ้าหากว่าเอาสีนั้นเองที่เห็นว่าสกปรกไป

วาดเขียนบนแผ่นผ้าขาวเป็นทัศนียภาพ ภาพที่น่าดู ก็จะกลับเห็นตรงกันข้ามว่าน่าดูน่าพอใจ น่าเพลิดเพลิน ในจิตรกรรม

ที่เขียนขึ้นนั้น ไม่เห็นว่าเป็นของสกปรก ก็มีความสุขเพลิดเพลินอยู่ในภาพนั้น

แต่อันที่จริงก็คงเป็นสีที่เขียน ซึ่งเป็นความสกปรกนั้นเอง แต่เพราะเหตุที่เป็นทัศนียภาพ จึงทำให้เกิดความยินดีพอใจ

เพลิดเพลิน ทั้งนี้ก็เพราะว่า การที่เขียนลงไปเป็นภาพ ที่เป็นทัศนียภาพ เช่นภาพต้นไม้ ภาพภูเขา ภาพบุคคล ภาพสัตว์

ต่าง ๆ นี่แหละคือเป็นสังขาร ที่แปลว่าส่วนผสมปรุงแต่ง หรือสิ่งผสมปรุงแต่ง และบุคคลก็เก็บเอาสังขาร

คือสิ่งผสมปรุงแต่งนั้น มาเป็นสังขารขึ้นในจิต คือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้นในจิต ภาพที่เขียนเป็นต้นไม้ เมื่อดูแล้วก็รู้สึกว่า

เป็นต้นไม้ ก็มาตั้งเป็นสังขารคือเป็นต้นไม้ขึ้นในจิต ภาพที่เขียนเป็นภูเขา ป่า เป็นต้น ก็เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งของ

สีต่าง ๆ บนผืนผ้า แล้วเข้ามาตั้งเป็นสังขารขึ้นในจิตก็เป็นภูเขา ต้นไม้ อยู่ในจิต

และแม้ว่าไม่ใช่ภาพเขียน เป็นต้นไม้ที่เห็นเป็นต้นไม้กันอยู่ เป็นภูเขาที่เห็นเป็นภูเขากันอยู่ เป็นแม่น้ำที่เห็นเป็นแม่น้ำกัน

อยู่ หรือว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลต่าง ๆ ที่เห็นด้วยตา ที่เรียกกันว่าเป็นต้นไม้จริง ๆ เป็นภูเขาจริง ๆ เป็นแม่น้ำจริง ๆ

เป็นคนจริงๆ เป็นสัตว์เดรัจฉานจริง ๆ เหล่านี้เป็นต้น ก็ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งเหมือนกัน

เป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น เหมือนอย่างภาพที่เขียนขึ้นนั้น และเมื่อบุคคลได้มองเห็นก็เก็บมาเป็นสังขาร

คือสิ่งผสมปรุงแต่งในจิตใจ ปรากฏเป็นต้นไม้ขึ้นจริง ๆ เป็นภูเขาขึ้นจริง ๆ เป็นแม่น้ำขึ้นจริง ๆ เป็นคนขึ้นจริง ๆ เป็นสัตว์

เดรัจฉานขึ้นจริง ๆ ในจิตใจ

แม้สิ่งที่ประสบทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกาย และทางมนะคือใจ คือผุดขึ้นในใจจากสิ่งที่ได้เคยเห็นมาแล้วเป็นต้น ก็ตาม

ก็ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งที่ผสมปรุงแต่งทั้งนั้น เพราะฉะนั้นแม้ว่ากายและใจของตนเองนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่ผสมปรุง

แต่ง คือเป็นสังขาร แม้กายใจของบุคคลทุก ๆ คนก็เป็นสังขารคือเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งด้วยกันทั้งหมด และก็จิตใจนี้เองก็

รับเข้ามาเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้นในจิตใจ

แต่ว่าจิตใจนี้ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าเป็นธรรมชาติที่เป็นธาตุรู้ และเป็นธรรมชาติที่ผุดผ่อง คือปภัสสรผุดผ่อง

แต่ว่ายังมีอวิชชาคือความไม่รู้ อันหมายความว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่หมายความว่าไม่รู้อะไรเลย

เป็นต้น แต่ว่าทุกๆ คนนี้ไม่ใช่ก้อนดินไม่ใช่ก้อนหิน เพราะว่ารู้อะไรๆ ได้ ดังจะพึงเห็นได้ว่า เห็นรูปก็รู้รูป ได้ยินเสียงก็รู้
เสียง ได้ทราบถ้าไม่รู้อะไรเลยก็จะไม่ต่างอะไรกับก้อนดินก้อนหินกลิ่น ทราบรส ทราบสิ่งถูกต้อง ก็รู้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งถูกต้อง

รู้อะไรทางมโนคือใจ ก็ทราบสิ่งที่รู้นั้น จึงไม่ใช่ก้อนดินไม่ใช่ก้อนหิน เพราะว่ารู้ แต่ว่ารู้ดังกล่าวนี้ยังมีอวิชชาประกอบอยู่

อันเป็นเหตุให้เกิดโมหะคือความหลงถือเอาผิดต่าง ๆ อันสิ่งที่ผสมปรุงแต่งเป็นสังขารนั้น ดังที่ได้เปรียบเป็นภาพเขียนใน

ทีแรกก็เขียนให้สวยสดงดงาม และแม้ว่าสังขารจริงๆ คือที่เป็นต้นไม้จริง ๆ ภูเขาจริง ๆ คนจริง ๆ เป็นต้น

ดังที่ได้กล่าวต่อมา ว่าเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งเช่นเดียวกันกับภาพเขียน

ซึ่งเมื่อเห็นเมื่อได้ยินเป็นต้น ก็มาปรากฏเป็นสังขารขึ้นในจิตใจ ซึ่งเป็นธาตุรู้ แต่ว่าจิตใจที่เป็นธาตุรู้นี้ยังประกอบด้วย

อวิชชาด้วยโมหะ ฉะนั้นจึงมีความหลงถือเอาผิด ตั้งต้นแต่มีสัญโญชน์คือความผูกพัน และเกิดความยินดีเกิดความยินร้าย

เพิ่มความหลงต่าง ๆ ขึ้นอีก คือเกิดยินดีพอใจซึ่งเป็นราคะหรือโลภะขึ้นในสิ่งผสมปรุงแต่ง คือสังขารที่สวยสดงดงาม ที่

น่ายินดีพอใจต่าง ๆ เหมือนอย่างภาพที่เขียนขึ้นให้วิจิตรงดงามต่าง ๆ นั้น ก็เกิดความพอใจ เป็นราคะบ้าง เป็นโลภะโลภ

อยากได้เอามาบ้าง ถ้าสังขารคือส่วนผสมที่ปรุงแต่งนั้นไม่สวยสดงดงามเพราะร่วงโรยไป โดยธรรมชาติก็ตาม ซึ่งเปรียบ

เหมือนอย่างภาพเขียนที่เขียนให้น่าเกลียดน่ากลัวต่าง ๆ ให้ไม่สวยสดงดงามต่าง ๆ ดูแล้วก็ไม่พอใจ

ก็เป็นชนวนของความไม่ชอบความชัง ตลอดจนถึงความโกรธ ความพยาบาทมุ่งร้ายต่าง ๆ

ถ้าไม่เช่นนั้นก็เกิดความหลงยึดถือติดอยู่ ซึ่งมีเป็นพื้นฐาน ประกอบกับอวิชชาคือความไม่รู้ อันนี้เองเป็นเครื่องปิดบัง

สัจจะที่เป็นตัวความจริง ว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น เหมือนอย่างเป็นภาพเขียนทั้งนั้น ซึ่งภาพ

เขียนนั้นไม่มีความจริงอยู่ในนั้น เขียนเป็นต้นไม้ เขียนเป็นภูเขา ก็ไม่เป็นต้นไม้จริง ไม่เป็นภูเขาจริง เพราะเป็นสังขารคือ

สิ่งผสมปรุงแต่ง ซึ่งทุกคนก็เห็นว่าช่างเขียนเขาเขียนขึ้นมา

คราวนี้สิ่งที่เข้าใจว่าเป็นคนจริง ๆ เป็นต้นไม้จริง ๆ เป็นภูเขาจริง ๆ ซึ่งความเข้าใจนั้นก็ต้องพิจารณา

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ก่อน ว่านั่นเป็นเป็นอวิชชา เป็นโมหะ เพราะสิ่งที่คิดว่าจริงนั้น อันที่จริงก็เป็นสังขารคือ

สิ่งผสมปรุงแต่งเช่นเดียวกัน ไม่ต่างอะไรกับภาพเขียน ไม่มีต้นไม้จริง ๆ ไม่มีภูเขาจริง ๆ ไม่มีร่างกายใจที่เป็นอัตภาพนี้

จริง ๆ ทั้งที่เป็นคน ทั้งที่เป็นสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ล้วนเป็นสังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งนั้น

และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสั่งสอนให้บุคคลทราบถึง สังขตลักษณะ ลักษณะคือเครื่องกำหนด

หมายแห่งสังขารคือสิ่งที่ผสมปรุงแต่งทั้งหลายว่ามี ๓ ประการ คือ

๑ ความเกิดขึ้นปรากฏ

๒ ความเสื่อมสิ้นไปปรากฏ

และ ๓ เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นปรากฏ

นี้เป็นลักษณะของสังขารทั้งหลาย ดูจากภาพเขียนก่อน เมื่อช่างมาเขียนขึ้น นั่นก็คือว่ามีความเกิดขึ้นปรากฏ ปรากฏเป็น

ภาพของสิ่งต่าง ๆ และต่อจากนั้นก็เก่าเสื่อมไปโดยลำดับเป็นความเสื่อมสิ้นปรากฏ

จนถึงเสื่อมไปหมดสิ้น คือ ผุ หรือว่าเลือนหายไป และเมื่อยังตั้งอยู่ก็มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ ต้อง

เลอะเลือนไปโดยลำดับ จะเห็นได้จากภาพเขียนในโบสถ์เก่าๆ ทั้งหลาย โบสถ์รั่วบ้าง อะไรบ้าง ภาพเขียนนั้นก็เสื่อมสิ้น

เก่าเสื่อมไปโดยลำดับ และแม้สังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งที่เข้าใจกันว่าเป็นต้นไม้เป็นภูเขาจริง ๆ เป็นอัตภาพของบุคคล

ของสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายจริง ๆ ก็เช่นเดียวกัน มีความเกิดขึ้นปรากฏ ตั้งแต่เป็น กลละ ขึ้นในครรภ์ของมารดา

คลอดออกมาก็เรียกกันว่าเกิดก็ปรากฏ แล้วก็มีวัยคือความเสื่อมสิ้นไปปรากฏโดยลำดับ เรียกว่าแก่ขึ้น คือเป็นเด็กเล็ก

เด็กใหญ่ เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว แล้วก็แก่ลง เพราะชำรุดทรุดโทรม เป็นคนแก่ ผมหงอกฟันหัก ความเสื่อม

ถอยต่าง ๆ ของตาหูจมูกลิ้นกายและมนะคือใจ ไปจนถึงมรณะคือความตายในที่สุด

และเมื่อตั้งอยู่นั้นก็เปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ ไม่ใช่ว่าอยู่เฉย ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ

เมื่อพิจารณาจึงจะมองเห็น เพราะฉะนั้นจึงได้มีแสดงว่าทุก ๆ คนนั้นที่เกิดมา

เมื่อเกิดมาก็เดินบ่ายหน้าไปสู่ความดับในที่สุด ด้วยกันทุกคน ไม่มีหยุดสักขณะเดียว

พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้หมั่นพิจารณา ในเมื่อได้ปฏิบัติทำสติปัฏฐานในกาย ในเวทนา ในจิต มาโดยลำดับแล้ว

ก็เป็นอันว่าได้อบรมจิตให้เป็นศีลเป็นสมาธิขึ้นมาโดยลำดับ ก็ให้ศีลสมาธิอบรมปัญญาต่อไป

จับพิจารณาให้มองเห็นว่าเป็นสังขารดังกล่าวมาแล้ว และมีลักษณะของสังขารที่ปรากฏดังที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้

อันนี้แหละที่ตรัสสอนไว้ว่า อนิจจานุปัสสี ตั้งสติพิจารณาให้เห็นตามอนิจจะคือความไม่เที่ยง

คือความที่มีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมสิ้นไปปรากฏ เมื่อยังตั้งอยู่ ก็เริ่มแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับไม่มี

หยุดยั้งอันนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา เมื่อได้อนิจจานุปัสสนาดั่งนี้แล้ว ก็จะได้วิราคะคือความสิ้นติดใจยินดี ก็ให้ตั้งสติ

พิจารณาตามดูตัววิราคะคือความสิ้นติดใจยินดีที่บังเกิดขึ้น ก็จะได้ความดับ ดับความติดใจยินดี ดับความเพลิดเพลิน

ก็ให้ตั้งสติพิจารณาตามดูตามรู้ตามเห็นตัวความดับดังกล่าวนี้ที่บังเกิดขึ้นในใจ ก็จะได้ความปล่อยวาง

สิ่งอะไรที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราก็จะปล่อยวางลงได้

ก็ให้ตั้งสติพิจารณาตามดูตามรู้ตามเห็นตัวความปล่อยวางนี้ ที่ตามศัพท์เรียกว่าสละคืน

เหมือนอย่างว่าไปยึดเอาของเขามาก็คืนของเขาไป เมื่อไปยึดเอาสังขารมาเป็นตัวเราของเรา ก็คืนความยึดถือ

ปล่อยสังขารที่ยึดเอามาว่าเป็นตัวเราของเราลงไป ออกไป คืนให้แก่เจ้าของเขาไป ก็คืนให้แก่ธรรมดา เพราะที่จริงเป็น

ธรรมดาทั้งนั้น ซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นไปดังกล่าวนั้น แต่เพราะยังมีอวิชชามีโมหะ จึงไปหลงยึดถือเอาธรรมดานั้นมา

เป็นตัวเราของเรา ซึ่งที่จริงไม่ใช่ ของเขาเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง เขาเป็นสังขาร เป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง ที่จะต้องเป็นไป

ตามธรรมดาดั่งนั่น แต่บุคคลไปยึดเอามาเป็นตัวเราของเรา จึงได้บังเกิดความทุกข์ต่างๆ แต่เมื่อตั้งสติตามดูตามรู้ตาม

เห็น ให้รู้เห็นตามเป็นจริงได้แล้ว ก็จะปล่อยวางได้ คืนเขาไป คืนเขาไปแก่ธรรมดา ไม่ฝืนไม่ยึด

เมื่อเป็นดั่งนี้ก็เป็นอันวางทุกข์ลงไปได้โดยลำดับ จะเป็นความสิ้นทุกข์ไปโดยลำดับ

ดั่งนี้เป็นการปฏิบัติในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/3101-2011-07-07-07-29-49

. . . . . . .