กามกิเลส หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

กามกิเลส
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทาง ความพอใจ ก็คือกิเลส ความไม่พอใจ ก็คือกามกิเลส กามกิเลสนี้ อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีที่เต็ม ฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความพอใจให้อยู่ที่ใจนี่
กามตัณหา เปรียบเหมือนแม่น้ำ ไหลไปสู่ทะเล ไม่รู้จักเต็มสักที อันนี้ฉันใด ความอยากของตัณหามันไม่พอ ต้องทำความพอจึงจะดี เราจะต้องทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิก็ดี ทุกอย่างเราทำความพอดี ความพอใจก็นำออกเสีย ความไม่พอใจก็นำออกเสีย เวลานี้เราจะพักจิต ทำกายของเรา ทำใจของเราให้รู้แจ้ง ในกายในใจของเรานี้ รู้ความเป็นมา วางให้หมด วางอารมณ์ วางอดีต อนาคตทั้งปวงที่ใจนี่แหละ

เจตนาคือตัวกรรม
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว

คนเราบางคนเกิดมาแล้วชอบทำแต่ความชั่ว ทั้งก็เพราะเดิม เจตนากรรมบุญ เจตนามีบาป สองอย่างนี้ก็แหละตัวเจตนา เจตนาเป็นตัวกรรม กรรมชั่ว กรรมบุญ เจตนารักษาศีล คือการสำรวมระวัง รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจ อาศัยความอดทน อดทนด้วยใจ ตีติกขา ความอดทนคือความ อดกลั้นต่อบาปอกุศล มันสำคัญอยู่ที่กาย วาจา ใจ อกุศลเจตนากรรมบาป อดีตอนาคตไม่ข้องเกี่ยวตัดออกหมด อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา เอาใน ปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางใจปัจจุบัน

ตั้งเจตนาให้ จริงกาย จริงวาจา จริงใจ กาย วาจา ใจ เขาเป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็ไม่ไปที่ไหน คงตั้งอยู่เป็นปกติ ต้องเอาปัญญา ตัดอกุศลเจตนาออกจากใจ ตัดอย่าให้มันหมักอยู่ในใจ ประเดี๋ยวจะเดือดร้อน ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ว่า เราจะทำจิตใจของเราให้เบิกบาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
สัจจะ ความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ ขัติปารมี อดกลั้น ด้วยกาย ด้วยวาจา ขันติ ปรมัตถปารมี อดกลั้นด้วยใจ ตีติกขา ความอดกลั้นเป็นบารมีธรรมอย่างเอก ตัดอดีตอนาคต มุ่งเฉพาะปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตมันมาแต่ดึก ดำบรรพ์ ทั้งส่วนดีส่วนร้ายเนื่องมาจากตัณหาทั้งสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความพอใจหรือไม่พอใจ

ก็ตัณหานี้ ละออกจากจิตจากใจเสีย ก็สบาย รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ ทั้ง 5 ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา มันสำคัญก็ไม่ว่า ดีเขาก็ไม่ว่า มันสำคัญอยู่ที่เจตนา ตัวกรรมบุญ เจตนาตัวกรรมบาปเข้าไปครองจิตใจแล้วทำให้คิดไปปรุงแต่งไป เป็นรักเป็นชัง เป็นโกรธ เป็นเกลียด ให้ละวางตัวนี้อย่าเอามาหมักไว้ในใจ ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจไม่ใช่ที่อื่น เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วาง จึงใช้ได้ ไม่ใช่ไปจำเอาคำพูดในคัมภีร์มาพูดมาใช้ไม่ได้ มันต้องน้อมเข้ามาหากายหาใจของเรานี้ กำหนดการละ กำหนดการวางลงใจ กาย วาจา ใจ ของเรานี้รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช้ที่อื่น

อดีตอนาคตที่ใจนำมาก็ละเสีย หู ตา ก็อยู่เป็นปกติ อินทรีย์ 5 เขาก็ตั้งอยู่ปกติ รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ อันนั้น ต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่าน อย่าเอามา หมักไว้ในใจ ใจของเราให้ตั้งอยู่โดยปกติเวลาจะทำจิตใจทำใจของเราต้องวางหมด อย่าให้มีสิ่งไม่ดีอยู่ในใจจะเดือนร้อน ต้องนำออกให้หมด ทำใจให้ว่างให้มีความพอ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าปล่อยให้ใจไปเกาะเที่ยวข้องแวะส่วนที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบั่นทอนปัจจุบันธรรมให้รู้เฉพาะปัจจุบัน ละปัจจุบันให้รู้มรรค รู้ผล

“ต้องการละ ต้องหมั่นเจริญ”
ต้องการ ละ ความพยาบาท หรือ ความคิดปองร้าย ต้องหมั่นเจริญเมตตา หรือ ไมตรีจิต คิดให้ผู้อื่นมีความสุข ต้องการ ละ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่น เจริญ กรุณา หรือ เอ็นดู คือช่วยเหลือผู้อื่นพ้นทุกข์ ต้องการ ละ ความอิจฉาริษยา ต้องหมั่น เจริญมุทิตา หรือ พลอยยินดีเมื่อผุ้อื่นได้ดี ต้องการ ละ ความขัดใจ ต้องหมั่น เจริญอุเบกขา หรือ การวางใจเป็นกลาง ต้องการ ละ ความกำหนัดยินดี ต้องหมั่น เจริญอสุภะ หรือ เห็นความไม่งามเบื้อหลังความงาม ต้องการ ละ ความคือตัวถือตน ต้องหมั่น เจริญ กฎการเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24628

. . . . . . .