พบพุทโธวิเศษ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๘)

พบพุทโธวิเศษ

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๘)

ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้าน

ต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตาม ๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใส?

พระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย

นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พากันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรม

เพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อม

มุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม

ปัดกวาดคลานกุฏิให้สะอาดกว้างขวางน่าอยู่อาศัยกว่าเดิม?

ลงพวกชาวป่าได้เชื่อถือและเคารพศรัทธาเลื่อมใสแล้วเป็นต้อง นับถืออย่างถึงใจจริง ๆ ถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกัน ?

ตายก็ตายด้วยกัน แม้ชีวิตของพวกเขาก็ยอมสละได้ พระอาจารย์มั่นพูดอะไร พวกเขาเชื่อฟังและเคารพอย่างถึงใจ

การบริกรรมภาวนาหาพุทโธ ท่านได้ค่อย ๆ สอนให้เขยิบขึ้นไปตามขั้นตามนิสัยของแต่ละคนซึ่งมีสติปัญญาไม่เหมือนกัน

คนไหนฉลาดก็ได้รับการสอนวิปัสสนาสอดแทรกควบคู่ไปด้วยอุบายแปลก ๆ อันชาญฉลาดแยบยลให้เกิดความรอบรู้

ชำนาญขึ้นตามลำดับ

ชั่วเวลาไม่นาน ชาวบ้านหลายคนก็สำเร็จทางในได้พบดวงแก้วพุทโธเพิ่มขึ้นหลายคน ปีนั้นท่านเลยต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่น?

ไปไหนไม่ได้ เพราะชาวป่าไม่ยอมให้ไป รวมเวลาแล้วนับปีกว่า?

จำจากลา?

ครั้นเห็นว่าได้เวลาที่จะธุดงค์ต่อไป ตามวิสัยพระกรรมฐานไม่ควรจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานเกินควร ยึดมั่นถือมั่นติดสถานที่ ?

ชาวบ้านก็พากันร้องห่มร้องไห้ช่วยกันฉุดรั้งท่านไว้ทุลักทุเลไม่ยอมให้จากไป พวกเขาบอกว่าถ้าพระอาจารย์มั่นตายลง

ไปพวกเขาจะเผาศพเองให้สมเกียรติ พวกเขาขอมอบชีวิตตายด้วยกับท่าน ขออย่าได้ไปอยู่ที่อื่นเลย

จงอยู่กับพวกเขาตลอดไปชั่วชีวิตเถิด อยู่เพื่อเป็นดวงแก้วพระพุทโธปกป้องคุ้มครองพวกเขาตลอดไป

เป็นหลักชัยเป็นบุญกองใหญ่ของพวกเขา?

พระอาจารย์มั่นบังเกิดความสงสารสังเวชใจ กับความรักความเลื่อมใสศรัทธาของชาวป่าที่มีต่อท่านอย่างลึกซึ้งใหญ่หลวง?

ท่านได้พยายามชี้แจงเหตุผลที่จำต้องจากพวกเขาไปปลอบโยนไม่ให้เศร้าเสียใจจนเลยขอบเขตแห่งธรรม คือความพอดี?

ในที่สุดชาวบ้านก็เข้าใจ ยอมให้ท่านจากไปแต่แล้วสิ่งไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นอีก พอท่านออกเดินทางพวกชาวป่าทั้งเด็ก

และผู้ใหญ่ได้พากันวิ่งกรูเกรียวไปรุมล้อมท่านไว้ แย่งเอาบริขาร กลด บาตร กาน้ำจากมือพวกที่ตามส่งท่าน

แล้วเข้ารุมกอดแข้งกอดขา พระอาจารย์มั่นดึงกลับที่พักร้องห่มร้องไห้อื้ออึงวุ่นวายโกลาหลไปหมด ไม่ยอมให้จากไป

ทำเอาพระอาจารย์มั่นอ่อนอกอ่อนใจ ต้องกลับมาแสดงเหตุผลปลอบโยนใจชาวบ้านอีกพักใหญ่ แล้วจึงออกเดินทางต่อไป

แต่ก็ถูกชาวบ้านวิ่งตามกอดแข้งกอดขาร้องห่มร้องไห้อีกไม่ยอมให้ไป ?

เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ทุลักทุเลอยู่หลายชั่วโมง เสียงร้องไห้ระเบ็งเซ็งแซ่วุ่นวายฉุกระหุกไปทั้งป่า เป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอานักหนา ?

กว่าพระอาจารย์มั่นจะจากมาได้ก็แทบแย่ ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังตามส่งมาเป็นระยะทางอันไกลร้องไห้พิไรรำพันว่า

เมื่อตุ๊เจ้าไปแล้วให้รีบกลับคืนมาหา พวกเราอีก อย่าอยู่นาน พวกเฮาคิดถึงตุ๊เจ้าแทบอกจะแตกตายอยู่เดี๋ยวนี้แล้วก๊า

พระอาจารย์มั่นเต็มไปด้วยความสงสารสังเวชใจ

แต่ก็เป็นสิ่งสุดวิสัยของโลก อนิจจัง จำมาจำต้องพรากเพราะการ พลัดพรากแปรผันเป็นสายเดินแห่งคติธรรมดา

ไม่มีผู้ใดสามารถปิดกั้นหรือทำลายได้ แม้ท่านจะทราบอัธยาศัยของชาวป่าที่ศรัทธาเกี่ยวพันท่านอย่างหนักแน่นเปี่ยม

ล้นหัวใจก็จำต้องตัดใจจากไปตามวิถีทางจาริกของพระธุดงค์?

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3099:2011-07-06-06-46-37&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .