ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๖)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๖)

?

ม้าขาวช่วย

?

ขณะท่านมั่นกำลังขับลำเหงื่อแตก ตอบโต้กับหญิงสาวไปแกน ๆ อย่างฝืนใจนี้ พอดีก็มีพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยไว้ได้ทัน

ท่วงทีเหมือนเทวดาโปรด นั่นคือเพื่อนฝูงที่อยู่ข้างเวที ก็เห็นท่านมั่นกำลังถูกหญิงสาวต้อนเอา ๆ ด้วยเชิงกลอนต่าง ๆ ย่ำแย่

ไปเลย ขืนปล่อยให้ท่านมั่นขับกลอนลำสู้ตกดึกไปกว่านี้ ท่านมั่นมีหวังหมดภูมิ ต้องกระโดดวิ่งหนี เอาหน้าไปซุกพื้นดิน ด้วย

ความอับอายขายหน้า เป็นแน่ ๆ อย่างไม่ต้องสงสัยดังนั้น เพื่อน ๆ จึงรีบพากันไปตามหาตัวชายหนุ่มรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อจันทร์ สุภสร

ซึ่งเป็นเพื่อนคนสำคัญที่ใคร ๆ นับถือเกรงใจ อันว่าหนุ่มจันทร์ สุภสรนี้ผู้นี้ต่อมาได้บวชเรียนมีชื่อเสียงบารมีโด่งดังได้นามว่า

“ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์” วัดบรมนิวาส พระนคร

?

เมื่อพบหนุ่มจันทร์ สุภสร ในงานแล้ว ก็ขอร้องให้หาทางช่วยท่านมั่นที ขืนปล่อยให้ขับลำโต้ตอบกับหญิงสาวต่อไป มีหวังท่านมั่น

เป็นลมต้องหามลงจากเวทีแน่ ๆ หนุ่มจันมร์หัวเราะตอบว่า ได้นั่งฟังท่านมั่น ขับลำโต้ตอบกับหญิงสาวอยู่อย่างเอาใจใส่ตลอด

เวลา เห็นว่าท่านมั่นมีหวังต้องหามลงจากเวทีแน่นอน เพราะสู้กลอนลำนำอันเฉลียวฉลาด และลึกซึ้งแตกฉานของหญิงสาว

ไม่ได้ เจ้ามั่นมันไม่รู้จักแม่เสือสาวเสียแล้วเห็นเป็นหญิงสาวหน้าขาว ๆ จะฟ้อนจะรำก็อ้อนแอ้นอรชรนึกว่าเป็นหมูสนาม

เราต้องช่วยเจ้ามั่นมันไม่ให้สามเพลงตกม้าตายว่าแล้วหนุ่มจันทร์หรือท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ในกาลต่อมา

ก็รีบแหวกผู้คนนับพัน ๆ กระโดดขึ้นไปบนเวทีแล้วออกอุบายแกล้งร้องขึ้นดัง ๆ ว่า ไอ้มั่น ไอ้ห่า กูเที่ยวตามหามึงแทบตาย

แม่มึงตกจากเรือนสูงลิ่งลงมากองอยู่กับพื้นอาการเป็นตายเท่ากัน พอกูโผล่จะเข้าไปช่วย เขาก็ใช้ให้กูรีบมาตามหามึงตั้งแต่

ตอนกลางวันแล้วกูตามหามึงแทบตายข้าวยังไม่ตกถึงท้องเลย

?

หนอย …. ไอ้ห่า มึงหนีมาแอ่ว มารำอยู่ที่นี่ ก็จะเป็นลมตายอยู่แล้ว ด้วยความหิวข้าวมึงต้องรีบไปดูอาการแม่มึงเดี๋ยวนี้

( หนุ่มจันทร์เป็นเพื่อนรักอายุมากกว่าท่านมั่น ก็แบบลูกทุ่งขนานแท้แลดั้งเดิมสมัยเป็นฆราวาส ) หนุ่มมั่นได้ฟังเช่นนั้นก็ตะลึง

ตกใจจนหน้าซีด สาวหมอลำคนสวยฝีปากกล้าก็ตกตะลึงเช่นกัน หนุ่มจันทร์ ถือโอกาสฉุดแขนหนุ่มมั่น ลากลงจากเวทีไม่รอช้า

ท่ามกลางสายตาของผู้คนจำนวนพัน ๆ ที่พากันตกตะลึงพรึงเพริดไปตาม ๆ กัน

?

ทั้งสองพากันวิ่งฝ่าฝูงชนออกไปอย่างรีบร้อน พอพ้นหมู่บ้านไปแล้ว หนุ่มมั่นก็ถามซักไซร้เอาความจริงว่า

แม่กูไปทำอะไรถึงได้ตกจากเรือนชานลงมาวะไอ้จันทร์

หนุ่มจันทร์ก็ตอบว่ากูไม่รู้ ไงรีบไปดูก็แล้วกันอย่าซักถามให้สียเวลาเลย อาการแม่มึงหนักมาก

ป่านนี้อาจจะตายแล้วก็ได้ หนุ่มมั่นได้ยินยิ่งตกใจไม่ถามเป็นห่วงแม่บังเกิดเกล้า เพราะท่านรักแม่มากพอวิ่งมากันได้ไกล

จากหมู่บ้านมาก ผ่านดงใหญ่ที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าดุร้ายเช่น เสือ ช้าง หมี เป็นต้น

?

หนุ่มจันทร์เห็นว่าถ้าบอกความจริงแล้ว หนุ่มมั่นคงไม่กล้ากลับไปขับลำเพลงเป็นแน่ เพราะไม่กล้ากลับไปคนเดียว ด้วยกลัว

สัตว์ป่าจะทำอันตราย จึงได้บอกความจริงว่า แม่มึงไม่ได้เป็นอะไรหรอกโว้ยไอ้มั่น กูหลอกมึงน่ะ เพราะเห็นมึงลำกลอนอึก ๆ

อัก ๆ ตอบโต้อีสาวหมอลำคนสวยไม่ได้ กูอับอายขายหน้า เหลือเกิน

และขายหน้าบ้านเราด้วย ว่ามึงขับเพลงสู้ผู้หญิงบ่ได้ ปล่อยให้ผู้หญิงลบลายเสือเล่น เหมือนมึงเป็นเสือที่ตายแล้ว

กูได้คิดออกอุบายหลอกมึง และหลอกอีสาวหมอลำตลอด จนหลอกชาวบ้านให้เชื่อกู ว่าแม่มึงกำลังจะตาย ที่มึงต้องรับไป

โจนลงมาจากเวทีหนีมานี้ และทำให้ทุกคนเชื่อว่า มึงยังไม่หมดประตูสู้ แต่ต้องหนีมาเพราะเหตุสุดวิสัย แม่บังเกิดเกล้าประสบอุบัติเหตุ กำลังจะเป็นจะตาย กูทำเพื่อช่วยกู้หน้ามึงไว้ ไม่ให้สามเพลงตกม้าตาย เป็นที่อับอายขายหน้าชาวบ้านนะเว้ย

หนุ่มมั่นได้ฟังความจริงแล้วเช่นนั้นก็หัวเราะลั่นร้องว่า โอ้โฮ ไอ้ห่าจันทร์มึงแหกตากูถึงเพียงนี้เชียวเรอะ มึงเข้าใจผิดแท้ ๆ

กูกำลังคันฟันห้ำหั่น กับอีสาวหมอลำคนสวยอยู่อย่างสนุกสนาน มึงเสือกหาเรื่องมาฉุดกูหนีหน้าแขก ที่กูทำเป็นอึก ๆ อัก ๆ

ติดกลอนลำตอบโต้เข้าไม่ได้นั้น กูแกล้งทำให้เขาตายใจจะได้ฮึกเหิม เพราะเห็นเป็นผู้หญิงต่างหาก

?

พอตกดึกเข้า ก็จะเอาชนะเขาให้ยืนไม่ติดไปเลย เขาต้องแพ้ กูแน่ ๆ มึงไม่รู้อุบายกู เป็นอุบายเสือหลอกกินลิงเว้ย หนุ่มจันทร์

ได้ฟังแล้วก็หัวเราะเยาะตอบว่า มึงอย่าทำเป็นปากแข็ง คุยโม้อยู่เลยว้าไอ้มั่นเอ๋ย ไอ้หน้าแพ้ผู้หญิง ยังจะมาทำเป็นปากเก่งอยู่

อีก เดี๋ยวกูจะลากคอมึงกลับไปขึ้นเขียงบนเวที ให้อีสาวหมอลำสับแหลกเป็นชิ้น ๆ เป็นหมูบะช่อหรอกไอ้เวร

ว่าแล้วทั้งสองเกลอก็หัวเราะกันใหญ่

แสดงให้เห็นว่า ในสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มคะนอง ท่านทั้งสองผู้จะเป็นนักปราชญ์ในอนาคต ได้สำเร็จบรรลุธรรมชั้นสูง

เป็นพระอริยเจ้า มีเชิงพูดโต้ตอบกันอย่างเฉลียวฉลาดเพียงไร คำพูดที่ตอบโต้กันนี้ ของท่านผู้อ่านโปรดอย่าไปคิดว่า

เป็นของหยาบคายเลย เป็นภาษาพูดพื้นบ้านของคนหนุ่มลูกทุ่ง ที่ใช้กันอย่างสนิทสนมแบบไทย ๆ แท้ ซึ่งจะทำให้เรามอง

เห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนว่า สมัยท่านทั้งสองเป็นฆราวาสหนุ่มคะนองรื่นเริงมีความเป็นอยู่อย่างไร

ครั้นในเวลาต่อมา เมื่อท่านทั้งสองได้สละโลกออกถือบวชในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านก็ตัดขาดจากทางโลกอย่างเด็ด

ขาดสิ้นเชิง ครองเพศสมณะอยู่ในพระธรรมวินับอย่างเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวยิ่งยวดน่าอัศจรรย์ตลอดชีวิต

?

ภิกษุมั่น

ต่อมา เมื่อท่านมั่นอายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆราวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436

ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกวี ( อ่อน )เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ

( สุ่ย ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า “ภูริทัตโต”

?

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระภิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐาน สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่าน

พระอาจารย์เสาร์ นตสิโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนาการ ข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านพระภิกษุมั่นได้ยึดเอาคำ

“พุทโธ” เป็นคำบริกรรมภาวนาสมถะกรรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ “ พุทโธ” นี้อย่างกินใจลึกซึ้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่า

บรมธรรมอื่น ๆ และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอา คำว่า “ พุทโธ ” นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอริยา

บทต่าง ๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไปเมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็มภาคภูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทางโลกอย่างสิ้นเชิงไม่เหลียว

แลความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว

ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่มีวอกแวก ยึดถือธรรมธุดงค์วัตรอย่างเหนียวแน่น

เอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยว ไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่าน

จนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานเป็นแดนเกษม

ธรรมธุดงค์วัตรที่ท่านถือเป็นข้อปฏิบัติมี 7 ข้อ คือ

1. ถือผ้าบังสุกลเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อชำรุดเปื่อยขาดไปเย็บประชุนด้วยมือตัวเอง ย้อมเป็นสีแก่นขนุนหรือสีกรัก

จีวรเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใม่ยอมรับปติผ้าไตรจีวรสวย ๆ งาม ๆญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายด้วยมืออย่างเด็ดขาด

2. ออกบิณฑบาตรทุกวันเป็นประจำ แม้จะป่วยไข้ก็ตาม พยายามผยุงกายออกบิณฑบาตรยกเว้นเฉพาะวันที่ไม่ขบฉันอาหาร

เพราะจะเร่งบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐานด้วยความเพลิดเพลินอาจหาญร่าเริงในธรรม ซึ่งมีอยู่บ่อย ๆ ที่ท่านเดินจงกรมและ

นั่งสมาธิ ภาวนาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันโดยไม่ขบฉันอาหารเลย

3. ไม่ยอมรับอาหาร ที่ญาติโยมพุทธบริษัทตามส่งทีหลัง รับเฉพาะที่ใส่บาตร

4. ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่ยอมฉันอาหารว่างใด ๆ ทั้งสิ้น ที่เป็นอามิสเข้าปะปน

5. ฉันอาหารในบาตร คือมีภาชนะใบเดียว ไม่ยอมฉันในสำรับข้าวที่มีอาหารต่าง ๆ อาหารคาวหวานทั้งหลายคลุกเคล้าฉัน

รวมแต่ในบาตร ใม่ติดใจในรสชาติอาหาร ฉันเพียงเพื่อยังสังขารให้พออยู่ได้เพื่อเพียงจะได้บำเพ็ญเพียรภาวนาสร้างบารมีธรรม

6. อยู่ในป่าเป็นวัตร ปฏิบัติคือท่องเที่ยวเจริญสมณะธรรมกรรมฐานอยู่ใต้ร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดาบ้าง ในถูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง

ในถ้ำ ในเงื้อมผาอันเป็นที่สงัดวิเวกไกลจากชุมชน

7. ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ สังฆาติ จีวรและสบง ( เว้นผ้าอาบยน้ำฝนซึ่งจำเป็นต้องมีเป็นธรรมดา ในสมัยนี้ ) สำหรับธุดงควัตรข้ออื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ท่านพระ อาจารย์มั่นสมามานและปฏิบัติเป็นบางสมัย แค่เฉพะ 7 ข้อข้างต้นที่

ท่านปฏิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก

ท่านมีนิสัยพูดจริงทำจริงซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น เมื่อตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ต้องทำให้ได้เรียกว่าสัจจะบารมี แม้จะเอาชีวิต

เข้าแลกก็ยอม มีความพากเพียรอย่างแรงกล้า มุ่งหวังต่อแดนหลุดพ้นพระนิพพานอย่างจริงใจ รู้ซึ้งถึงภัยอันน่ากลัว ของการ

เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอย่างถึงใจ ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้เฉย ๆ

ท่านรู้จริงเห็นว่าจริงว่า การต้องเกิดแล้วตาย …….. ตายแล้วเกิด……..วนไปเวียนมาเป็นวงจักรไม่มีสิ้นสุดนี้เป็นเรื่องจริง

เป็นเรื่องน่าเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้าหามบาปหาบทุกข์ เปี่ยมแปล้ออยู่นั่นแล้วไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งคิดยิ่งพิจารณาไป ก็ยิ่งเห็นเป็นเรื่อง

น่ากลัว น่าเบื่อหน่ายเหลือประมาณ ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ ชาติหน้าเกิดแป็นเทวดาเกิดเป็นพรหม พอหมดจากพรหมลงมาเกิด

ในนรกจากนรกมาเกิดเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นสัตว์ ดิรัจฉานวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ ไม่รู้กี่ภพกี่แสนชาตินับเป็นอสงไขย

หรือหลายแสนหลายพัน ๆ ล้านปี เมื่อเกิดแต่ละภพแต่ละชาติก็ต้องใช้บาปกรรมของภพชาตินั้นอย่างถึงพริงถึงขิง

ทั้งทุกข์ทั้งสุขอันไร้แก่นสารสาระน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ

จะมีแต่แดนหลุดพ้น คือพระนิพพานเท่านั้น เป็นแดนสุขเกษมอย่างแท้จริง นิพพานปรมสุข นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง เป็น

แดนรอดปลอดจากทุกข์ เป็นแดนของพระวิสุทธิเทพ หรือพระอรหันต์ผู้เสวยความสุขที่ยอดเยี่ยม และสูงสง่า เป็นความสุข

สำราญทั้งกาย ( ธรรมกาย ) และใจ ที่สุขล้นพ้นเหนือมหาเศรษฐี เหนือพระราชาพระมหากษัตริย์ เหนือเทวดาและพรหมที่

พึงได้รับเมื่อพระอรหันต์ทิ้งร่างมนุษย์ไปแล้ว รูปก็สูญ เวทนาสูญ สัญญาสูญ สังขารสูญ วิญญาณสูญ แต่ใจยังคงอยู่ เป็นจิต

ที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ปราศจากอาสวะกิเลสทั้งหลายทั้งปวง เป็นจิตที่มีดวงสุกใสประดุจดาวประกายพรึก

จิตดวงนี้จะพุ่งไปสถิตย์อยู่ ณ แดนพระนิพพาน เมื่ออยากครองร่างสมบัติใด ๆ เช่นกายทิพย์หรือธรรมกาย ก็พร้อมที่จะนฤมิตได้

เพื่อเสวยความสุขสุดยอดนานับการ ถ้าไม่อยากจะเสวยสุข ในร่างสมมติหรือธรรมกายจะอยู่เฉย ๆ เหมือนเข้านิโรธสมาบัติทรง

อยู่แต่จิตสุกใสดวงเดียวก็ได้ เป็นแดนที่ไม่ต้องตายอีกต่อไป ไม่ต้องไปเกิดอีกต่อไป หากมีความทรงตัวอยู่เสวยความสุขอัน

ยอดเยี่ยม ที่เทวดาและพรหมทั้งหลายมีความใฝ่ฝันปรารถนาถึงยิ่งนัก

?

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php/2013-12-10-21-32-04/2012-07-14-08-21-34/1250–m-m-s

. . . . . . .