การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต โดยหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่
การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต
โดยพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
การฝึกตนให้มี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่ง สำคัญต่อการดำรงชีวิต ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ี่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น
๑. มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้า-ออก มีสติอยู่รู้ว่า ขณะนี้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว ก็รู้อยู่ หายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้อยู่ อาจจะ ใช้คำภาวนาในใจ อย่างใดกำกับตามไปด้วยก็ได้
๒. มีสติรู้ตัว ตามรู้จิต เมื่อมีสติ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ตามรู้จิต ธรรมชาติของจิต มีความหลุกหลิก กลิ้งกลอกอ่อนไหว ว่องไว คิดเรื่อยเปื่อยไปได้ทั้งดีและชั่ว ต้องใช้สติต่างเชือกมัดจิตไว้กับหลัก คือลมหายใจให้ได้ จิตคิดวิ่งไปที่ไหน ก็ใช้สติระลึกรู้ตาม ไปประคองจิตไว้ไม่ให้คิดในเรื่องชั่ว อันเป็น บาปทุจริต ประคอง จิตไว้ให้คิดในเรื่องดี อันเป็นบุญสุจริต เท่านั้น ความผ่องใส ในจิตจะเกิดเพิ่มขึ้น ความทุกข์ก็จะค่อยสิ้นไป
๓. มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ
๔. มีสติรู้ตัวพิจารณาให้เห็นความจริง มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาต ิที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่ายึดถือไว้เป็ีนความทุกข์
๕. มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาได ก็ฝังดินเท่านั้นเอง มันเป็นเพียงธรรมชาิติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี
เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่้านั้น
๖. มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็น จะต้องพูด ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ การพูดมากมีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้จะได้ประโยชน์ กว่าคนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือไม่มีเลย แต่เป็นผู้ได้รู้มากกว่าผู้พูด
ทั้ง ๖ ข้อนี้ ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสิ่งที่ควรสนใจฝึกอบรมสติ ควบคุมจิต ให้เกิดพลังจิตที่มีประสิทธิภาพ ที่ควรแก่การงาน การกระทำกิจการงานใดๆ จะมีความสำเร็จ ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นฐานที่ถูกต้องต่อการดำรงชีวิต
และการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า เจริญสู่ขั้นสูงได้ง่าย ต่อไป การฝึกฝนตนเอง ด้วยการมีสติควบคุมจิต ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก เพียงใดก็ตาม ก็ อย่า ได้มีความท้อถอย ที่ใดมีความตั้งใจจริง เพียรพยายามอยู่ ความสำเร็จย่อมมี
ตามมาอย่างมิสงสัย
(จากหนังสือ โลกทิพย์ ฉบับที่ ๔๑๐ ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๔๗ หน้าที่๓๐-๓๑)
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://muangput.com/webboard/index.php/topic,594.0.html