ธรรมะและผู้มีธรรมะ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ธรรมะและผู้มีธรรมะ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ตัวธรรมชาติ
ก่อนอื่นทั้งหมดขอแสดงความยินดีในการมาสู่สถานที่นี้ในความประสงค์อย่างนี้เพื่อศึกษาธรรมะแล้วก็ขอต้อนรับด้วยที่นั่งของพระพุทธเจ้าเพราะเดี๋ยวนี้เรานั่งกันกลางดินเพราะพระพุทธเจ้าท่านประสูตกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน สอนกลางดิน ที่อยู่ของท่านก็กลางดิน และในที่สุดท่านก็นิพพานกลางดินข้อนี้ช่วยกำหนดไว้ในใจ ถ้าชอบใจธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นก็ควรจะรู้ไว้เสมอว่าท่านผู้เป็นผู้สอนธรรมะนั้นเกิดกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน และนิพพานคือตายกลางดินและโดยทั่วไปก็มักจะเป็นอย่างนี้ในทุกศาสนาไม่มีพระศาสดาองค์ใดตรัสรู้ในมหาวิทยาลัยไปค้นดูเถอะมันไม่มี มันมีแต่ในป่า ในเขา ในถ้ำตามเรื่องนั้นเราควรจะพอใจบ้างที่มานั่งกลางดิน พูดกันกลางดินตามแบบอย่างท่านเหล่านั้นเข้าใจว่าคงจะรู้สึกได้เองว่านั่งเรียนกลางดินอย่างนี้กับนั่งเรียนในตึกอย่างนั้นมันคงมีอะไรต่างกันถ้าสังเกตเป็นก็รู้สึกว่าต่างกันมากทีเดียวจิตใจต่างกันมากทีเดียวนั่งกลางดินมันเป็นธรรมชาติยิ่งนั่งบนตึกสูงเท่าไรก็ยิ่งผิดธรรมชาติ ทีนี้ธรรมะนี้มันเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างที่กล่าวได้ว่าเป็นตัวธรรมชาติ เป็นกฎของธรรมชาติ

ตามกฎของธรรมชาติและผลที่เกิดจากหน้าที่นั่งอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติมันก็รู้เรื่องธรรมชาติได้ง่ายกว่าดังนั้นขอสนใจเรื่องการเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดธรรมชาติอย่าลืมว่าตัวเราทั้งหมดมันเป็นเรื่องของธรรมชาติซึ่งมันต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติและมีหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติก็มันก็จะง่ายถ้าเราอยู่อย่างใกล้ชิดธรรมชาติถ้ายากรู้เรื่องธรรมะมันก็เป็นอย่างนี้ถ้าไม่อยากรู้ธรรมะมันก็ไม่ต้องอย่างนี้ก็ได้ถ้าอยากเรียนธรรมะก็พยายามทำตัวใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ควรปฏิบัติตัวให้เข้ากับธรรมชาติแม้เราจะมีปัญหาถ้าเข้ากับธรรมชาติไม่ได้มันจะเป็นปัญหาจะหาความสงบสุขไม่ได้นั้นความสุขทุกอย่างต้องเป็นไปได้กับธรรมชาติกลมกลืนกับธรรมชาติจงสนใจเรื่องธรรมชาติให้มากและคำว่าธรรมชาติมันเป็นคำเดียวกับธรรมะๆในภาษาบาลีเป็นอันว่า ต่อไปนี้เราจะพูดเรื่องธรรมะและผู้มีธรรมะนี้คอยฟังเอาเองว่าได้ประโยชน์อะไรธรรมะคำนี้มีความหมายคือความถูกต้องต่อความเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแก่วิวัฒนาการของเขาทั้งในแง่ส่วนบุคคลแล้วก็ส่วนสังคมเอาลองคิดดูด้วยสติปัญ๘ญาที่เรียนมาแล้วธรรมะคือความถูกต้อง ถูกต้องแก่อะไรถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ของแต่ละคน ถูกต้องเท่าไรถูกต้องทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นทั้งในแง่ส่วนบุคคล และส่วนสังคมที่อยู่ด้วยกันทั้งโลกนี่คือความหมายของคำว่าธรรมะถ้าจำไว้มันจะมีประโยชน์คุ้มเพราะมันยังไม่ถึงขนาดนี้มันไม่ใช่ธรรมะหลอกธรรมะคือความถูกต้อง แต่ความถูกต้องมันมีได้เมื่อมีการปฏิบัติถ้าไม่มีการปฏิบัติก็ไม่มีความถูกต้อง ธรรมะคือระบบของการกระทำที่ครบชุดและถูกต้องแก่การเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแห่งการเป็นมนุษย์ ของเขาทั้งในแง่ส่วนตัวและในแง่สังคมว่าความถูกต้องถือเอาตามความหมายของภาษาธรรมะภาษาศาสนา ภาษาว่าจิตภาษาฟรีระทาฟี่ไม่ค่อยจะมีจิตที่แน่นอนมันก็เถียงเลื่อยไปอย่างนั้นว่าดีอย่างนี้ว่าไม่ดีมันพูดได้มาแต่ถ้าเป็นเรื่องศาสนามันเป็นได้นิดเดียวความถูกต้องมันไม่ทำอันตรายแก่ทุกคนเท่านี้พอมันไม่ทำอันตรายแก่ผู้นั้นแก่ผู้อื่นแล้วมันทำประโยชน์แก่ผู้นั้นแก่ผู้อื่น ถ้ามันมีลักษณะอย่างนี้เราเรียกว่าความถูกต้องแก่มนุษย์นี่เราใช้คำว่ามนุษย์ไม่ใช่คน คนก็เป็นเพียงสัตว์แต่ถ้าเป็นมนุษย์มันต้องมีคุณธรรมอย่างมนุษย์มันมีจิตใจเหมือนสัตว์ว่าสัตว์เกิดมาแล้วก็เป็นสัตว์ขอทบทวนว่ามนุษย์ต้องอบรมคุณธรรมแห่งความเป็นมนุษย์ มนุษย์ก็แปลว่าสูงในทางจิตใจ จิตใจสูงจนไม่มีความทุกข์ ไม่มีกิเลส ไม่มีปัญหาใดๆครอบงำจิตใจกายอยู่สูงเหนือการครอบงำของกิเลส ของตัณหา ของความทุกข์นี่จึงจะเรียกว่ามนุษย์ตามหลักของธรรมะถ้าเป็นคนธรรมดามันก็เหมือนสัตว์ธรรมดาทั่วไปบางทีก็ไม่ต่างจากสัตว์เดรัชฉานเท่าไรมันก็เป็นคนธรรมดาการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเป็นมนุษย์ที่เต็มเรามีสิ่งที่เรียกว่าธรรมะเราทำความเป็นมนุษย์ที่เต็มเรียนหลอกๆให้จบมหาวิทยาลัยหรือบรมมหาวิทยาลัยถ้ามันมีมันก็ยังไม่เป็นมนุษย์เรียนรู้เรื่องกิเลสแห่งความทุกข์ก็เรียนแต่ด้านวัตถุที่เรียนเรื่องจิตบ้างก็เรียนเรื่องจิตเล็กๆน้อยๆต่ำๆแต่ถ้าเรียนเรื่องหลักพระพุทธศาสนาแล้วก็เรียนเรื่องจิตใจในระดับที่สูงไม่รู้สูงเท่าไรนี่เรียกว่ามีจิตใจสูงหรือมีสถานะสูงหรือมีสภาวะสูงให้มันสูง ถ้ามันสูงแล้วอะไรก็ท่วมไม่ได้เช่นน้ำท่วมไม่ได้เดี๋ยวนี้จิตใจมันอยู่สูงเหนือเช่นว่าปัญหา กิเลส หรือความทุกข์ผู้ที่อยู่ปัญหาทั้งปวง ปัญหามันจะสลายไปหมดไม่มีปัญหานั้นเลยเป็นคนที่ไม่มีปัญหารบกวนใจความคิดผิดๆที่เป็นกิเลสมันก็ไม่มีความทุกข์ทรมานความรู้สึกที่เป็นทุกข์ทรมานก็ไม่มีเรียกว่า 3 อย่างนี้มี่มีกิเลส ไม่มีปัญหาท่วมทับจิตใจแล้วก็เป็นมนุษย์นี่ธรรมะคือความถูกต้องเพื่อความเป็นมนุษย์หมายความว่าถ้ามีธรรมะแล้วจะเป็นมนุษย์เพื่อความถูกต้องใจสูงอยู่เหนือสิ่งที่กล่าวแล้วนี้บทนิยามยังมีต่อไปว่าทุกขั้นทุกตอนการมีชีวิตมันเลื่อนขั้นสูงขึ้นไปเลื่อยๆๆนั้นธรรมะมันจึงต้องมีเป็นชั้นๆๆให้สูงขึ้นไปเลื่อยให้ทันกับมนุษย์นี่จึงต้องใช้คำว่าถูกต้องแก่การเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแก่การมีวิวัฒนาการของเขา วิวัฒนาการมองดูได้ 2 อย่างวิวัฒนาการเล็กๆตั้งแต่เกิดจากท้องมารดาเป็นทารก เป็นเด็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ คนแก่คนเฒ่าอันนี้ก็เรียกว่าขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการเหมือนกันธรรมะให้ความวิวัฒนาการเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ทารกถึงคนแก่คนเฒ่าเข้าโรงทีนี้ถ้ามองถึงวิวัฒนาการใหญ่ EVERUIONตั้งแต่เป็นคนป่าจนเป็นมนุษย์ที่สูงขึ้นๆจน่เป็นมนุษย์ที่เจริญแล้วแต่ก็อย่าลืมคนในปัจจุบันบางถิ่นบางที่มันยังเป็นเหมือนคนป่าในยุคโน้นก็มีหรือว่าไอ้มนุษย์ที่อยู่บ้านเมืองมันยังมีจิตใจต่ำทรามเหมือนกับคนป่าสมัยโน้นก็มีมันยังมีคำพูดที่พูดได้ว่ามันเป็นBARBARIEN มันหยาบคายเหมือนพวกSAFVYก็มีเดี๋ยวนี้ขั้นตอนวิวัฒนาการมันยังมีอยู่นับตั้งแต่เป็นคนป่าขึ้นคนป่าแล้วก็เป็นคนค่อยๆเจริญหลายยุคหลายสมัยตามที่เรียนมากว่าจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์คือมนุษย์ที่หมดปัญหา มนุษย์ที่หมดอันตราย ถ้ามนุษย์มีอันตรายกี่ใครอยู่ยังไม่เรียกว่ามนุษย์สมบูรณ์ ถ้ามนุษย์ยังมีปัญหายังมีเรื่องทุกใจยังเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ดังนั้นจึงมีความหมายต่อไปว่าทั้งของตนเอง แก่ตนเองและแก่สังคมด้วยความเป็นมนุษย์ของเราจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและแก่คนอื่นทั้งโลกดังนั้นเราจึงต้องศึกษาและปฏิบัติมากกว่าประโยชน์ของเพื่อนทุกคนในโลกนี้ด้วยนี่ทั้งส่วนตัวและส่วนสังคมนี้ขอให้ประมวลข้อความนี้ไว้ให้ดีเถอะจะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคตจนตลอดชีวิตเลยธรรมะคือระบบที่ถูกต้องแก่การเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการของเขาทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นใช้เป็นหลักต่อไปในการที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นมนุษย์ที่เต็ม ทีนี้อย่าเพ่งอวดว่าเราเป็นมนุษย์ที่เต็มและไม่เต็มเราหมายถึงมนุษย์บ้าๆบอๆอยู่ แต่คนมันยังไม่เต็ม ถ้ามันยังมีปัญหารบกวนจิตใจมันยังเป็นมนุษย์ที่ไม่เต็มแห่งความเป็นมนุษย์นั้นจึงมุ่งหมายแห่งความเต็มของมนุษย์มันเป็นว่าพระอรหันต์ มนุษย์สุดท้ายสุดยอดและความเต็มแห่งความเป็นมนุษย์คือเป็นพระอรหันต์ไม่มีกิเลสไม่มีความทุกข์ไม่มีปัญหาใดๆมีร่างกายที่มีความสุขตลอดเวลาจนกว่าร่างกายจะหมดเหตุหมดปัจจัยคือ
ตายลง

http://www.vcharkarn.com/varticle/34245

. . . . . . .