พุทโธ คือ หัวใจ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ?(ตอนที่ ๓๕)

พุทโธ คือ หัวใจ

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ?(ตอนที่ ๓๕)

พุทโธ เป็นเพียงบาทฐานยานพาหนะของจิต คือทำให้จิตเกิดพลังงานตามหลักกรรมฐาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนา

คือการจัดระบบจิตให้บริสุทธิ์โดยถาวร เพื่อแยกความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกิเลศให้ขาดจากกันเพื่อทำให้เกิดการสุดสิ้น การเกิด

การดับ การสืบต่อ นั่นคือ มรรคผล นิพพาน

สมถะกับวิปัสสนาต่างกันที่ตัวหนังสืออย่างหนึ่ง ต่างกันที่อารมณ์อย่างหนึ่ง

** สมถะเขียนอย่างหนึ่งและมีอารมณ์ 40 อย่าง

** ส่วนวิปัสสนาเขียนอีกอย่างหนึ่งและมีปรมัตถ์คือรูปนามเป็นอารมณ์

ท่านที่เข้าใจไปว่า พระอาจารย์มั่นบริกรรมแต่พุทโธตามแนวสมถกรรมฐาน หาใช่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างใด

ไม่ จึงเป็นความคิดเห็นที่ผิดค้นเดาเอาตามสัญญาของตนเอง หาได้ใช้วิจารณญาณให้ลึกซึ้งกว้างขวางเท่าทัน

สติปัญญาของพระอาจารย์มั่นไม่ ว่าธรรมดาพระภิกษุที่บวชเรียนเข้ามาในพระบวรพระพุทธศาสนาแล้ว

ย่อมจะมุ่งกระทำให้แจ้งซึ่ง มรรคผล พระนิพพาน ตามหลักสูตรพระพุทธศาสนา

?

พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างพระอาจารย์มั่น ก็คงจะไม่หลงติดอยู่กับฌานสมาบัติอันเป็นเพียงโลกีย์ฌาน

จนมองไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเท่าที่พระเณรลูกศิษย์ลูกหาของท่านจำนวนมากมายอย่างเช่น

หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ถ้ำขาม หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม

(พระสุทธิธรรมรังษีคัมภีร์เมธาจารย์) เป็นต้น ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ต่างก็ยืนยันว่าพระอาจารย์มั่นผู้เป็น

ปรามาจารย์นั้น เป็นผู้ไม่หิว ไม่หลง ไม่ต้องแสวงหาอะไรอีกแล้ว เพราะท่านมีสัจจะธรรมทั้ง 4 อยู่ในกายในใจ

อย่างสมบูรณ์แล้ว คือบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงจบหลักสูตรสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้วนั่นเอง

?

?

ผู้ที่บรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงได้มรรค ผล นิพพาน จะต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานถ้าไม่บำเพ็ญวิปัสสนาย่อมไม่มีทาง

ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า พระอาจารย์มั่นไม่ใช่พระวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้ไม่รู้จริง

เป็นผู้ที่รู้น้อยพลอยรำคาญคอยจ้องแต่จะจับผิดผู้อื่นด้วยมิจฉาทิฐิอย่างน่าสงสาร?

สมาธิเกิดปัญญา

สมถกรรมฐาน คือ การสร้างสมาธิ วิปัสสนา คือ การสร้างปัญญา สมาธิปัญญาเหมือนป้อมหรือหลุมเพลาะปัญญา

เปรียบเสมือนอาวุธ การสร้างสมาธิเปรียบเสมือนการอัดดินปืนเข้ากระสุนหรือฝังตัวอยู่ในป้อมฉะนั้น สมาธิจึงเป็น

สิ่งสำคัญมาก มีคุณาสิสงค์มาก

ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ปัญญาอันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก

ส่วนสมาธิอันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคนั้นยากมาก เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงด้านจิตใจการทำสมาธิสมถกรรมฐาน

เปรียบเสมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวกรากย่อมเป็นสิ่งลำบากแต่เมื่อปักได้แล้วย่อมเป็นประโยชน์

แก่ศีลและปัญญาวิปัสสนา

ศีลนั้นเหมือนปักเสาสะพานในฝั่งนี้ปัญญาเหมือนปักเสาสะพานข้างฝั่งโน้นแต่ถ้าเสากลางคือ “ สมาธิ” ไม่ปักแล้ว

เราจะทอดสะพานข้ามแม่น้ำคือ “โอฆสงสาร” ได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้เอง พระอาจารย์มั่นจึงเดินเข้าป่าธุดงควัตรเพื่อ

ปฏิบัติสมถกรรมฐานภาวนา พุทโธ เป็นเบื้องต้นเพื่อสร้างฌานสมาธิคือปักเสาสะพานกลางแม่น้ำโอฆสงสาร

ส่วนปัญญาหรือวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องภายหลังที่จะพึงทำให้แจ่มแจ้งแทงตลอดนั่นแล

คนบางพวกยังเข้าใจไปต่าง ๆ อยู่เช่นเข้าใจว่าสมาธิไม่ต้องทำ ทำเอาปัญญาเลยทีเดียว เรียกว่า “ปัญญาวิมุติ”

การเข้าใจเช่นนี้ไม่ถูก ความจริงปัญญาวิมุติกับเจโตวิมุติ ทั้งสองประการนี้ย่อมมีสมาธิเป็นรากฐานจึงจะเป็นไปได้

ต่างกันแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น ลักษณะของปัญญาวิมุตินั้น ครั้งแรกต้องมีการไตร่ตรองพิจารณา

เรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ เสียก่อนจิตจึงค่อย ๆ สงบ เมื่อจิตสงบแล้วจึงเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

จนรู้แจ้งเห็นจริงในสัจจะธรรมทั้ง 4 นี้ คือลักษณะของปัญญาวิมุติ

เจโตวิมุติ นั้น ไม่ต้องมีการพินิจพิจารณาเท่าไรนัก เป็นแต่ข่มจิตให้สงบลงไปถ่ายเดียวจนกว่าจะเป็น

อัปปนาสมาธิ วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้นในที่นั้นได้รู้แจ้งเห็นจริงตามแนวความจริงของสภาวธรรม

หรือถ้าวิปัสสนายังไม่เกิด ขึ้นก็จะต้องถอนจิตลงมาอยู่ในขั้นอุปจาระสมาธิแล้วยกเอาวิปัสสนาขึ้นไตร่ตรอง

พินิจพิจารณาจนถึงที่สุด วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้น อย่างนี้เรียกว่าเจโตวิมุติ คือเจริญสมาธิก่อน

แล้วจึงค่อยเกิดปัญญาภายหลัง

ปัญญาอันใดที่พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียนมารอบรู้ในพุทธวัจนะ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะโดยสมบูรณ์แล้ว

ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้กว้างขวางสมารถที่จะชี้แจงอรรถาธิบายในข้ออรรถข้อธรรมได้โดยเรียบร้อยชัดเจน

แต่ถ้าไม่บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นในตน ดูหมิ่นว่าการบำเพ็ญสมถะไม่สำคัญก็เปรียบประหนึ่งบุคคลที่ขับเครื่องบิน

ไปในอากาศสามารถจะมองเห็นเมฆและดาวเดือนได้โดยชัดเจน แต่เครื่องบินที่ตนขับขี่อยู่นั้นได้เที่ยวเร่ร่อนไปบน

อากาศจนลืมสนามที่จะร่อนลง ในที่สุดน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะหมด เครื่องบินนั้นก็จะตกลงมาพินาศสิ้น

นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ติดอยู่ในความรู้ ความคิดเห็นของตนว่าเลิศแล้วสูงอยู่แล้ว ถ้าไม่ก่อสร้างบำเพ็ญสมาธิ

ให้เกิดขึ้น ถือเสียว่าสมาธิเป็นขั้นต่ำควรจะเจริญปัญญาวิมุติเลยทีเดียว ย่อมจะได้รับโทษเหมือนคนขับขี่เครื่องบิน

ที่ร่อนอยู่ในอากาศแต่ไม่แลเห็นสนามบินฉะนั้น

ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐานเอาสมาธิ ก็เท่ากับเป็นผู้สร้างสนามบินไว้แล้วอย่างดีก่อนที่จะขึ้นขับเครื่องบิน

ครั้นเมื่อถึงปัญญาก็จะถึงวิมุติโดยปลอดภัย พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญวิปัสสนาจนสำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดก็ได้อาศัยหลักนี้

บทภาวนาพุทโธของท่านจึงเป็นเพียงยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะประจำใจตลอดชีวิตแต่เมื่อเจริญวิปัสสนาท่านก็

จะปล่อยวางพุทโธเพื่อใช้ปัญญาห้ำหั่นกับกิเลศอย่างเต็มสติกำลังความเพ่งเพียรไม่มีลดละท้อถอย

มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นผู้รู้อริยสัจ 4 ได้อย่างไร ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมจะเป็นหลักรู้แก่ใจของนักบวชอยู่แล้ว

มรรคก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเรียกว่ามรรคสัจจ์ เมื่อไม่ทำให้เกิดขึ้นในตนก็ย่อมไม่รู้

เมื่อไม่รู้แล้วจะสามารถเป็นปรามาจารย์พาลูกศิษย์ดำเนินได้ล่ะหรือ ??

แต่ความจริงที่ปรากฏในสมัยที่พระอาจารย์มั่นมีชีวิตอยู่และภายหลังที่ท่านดับขันธ์ไปแล้ว ลูกศิษย์ของ

ท่านเป็นจำนวนมาก ต่างก็ดำเนินตามรอยของท่าน จนได้รับคำยกย่องเคารพศรัทธาเลื่อมใสว่า

เป็นพระสุปฏิปันโนปฏิบิตดีปฏิบัติชอบ อาทิเช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว พระอาจารย์ลี

วัดอโศการาม หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ฯลฯ เป็นต้น

?
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3139:2011-12-15-10-17-40&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .