ความคลายกำหนัดเป็นสุข โดย ท่านพุทธทาส
หน้าที่ 1 – ความสุข
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ณ บัดนี้จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนาออกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลาย
ผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมะเทศนานี้เป็นเทศนาในการเข้าพรรษาซึ่งเป็น อภิรักจิตสมัยนอกเหนือไปจากวันธรรมดา ในเวลาที่สมควรแก่การแสดงธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทผู้ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ซึ่งจะได้แสดงด้วยหัวข้อว่า สิขาวิราคะตา โรเก กามานัง สุขจิตโว ธรรมะเทศนานี้แสดงถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งวึ่งมีใจความว่า ความคลายกำหนัดออกเสียได้หรือการก้าวออกเสียได้ ซึ่งกามทั้งหลายในโลกนี้เป็นความสุข เป็นการแสดงถึงความสุขอีกชนิดหนึ่ง ต่อจากที่ได้แสดงแล้วในครั้งที่แล้วมา 2 ครั้ง ในครั้งแรกแสดงเรื่อง ความสุขอันเกิดแก่ นิเวศ หรือความที่ วิเวศ ไม่มีอะไรรบกวนของบุคคลที่เห็นธรรมะแล้ว ย่อมเป็นสุข ครั้งที่ 2 ว่าการสำรวม ในสัตว์มีปาณะทั้งหลาย คือการไม่เบียดเบียน ถือว่าเป็นความสุขในโลก
ข้อนี้แสดงถึงการที่ไม่มีการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายรวมทั้งตัวเองด้วยนั้นก็ผิดจากข้อที่ 1 ความสุขจากชนิดที่ 1 ที่มุ่งหมายไปยังวิเวศ ที่จิตไม่ถูกอะไรรบกวน ข้อที่ 2 นี้คือการไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน คือความสุข ส่วนข้อที่ 3 นี้ การไม่มีความกำหนัดย้อมใจในสิ่งใด ๆ ในโลกคือก้าวร่วงสิ่งที่เรียกว่า กามทั้งหลาย เสียได้เป็นความสุข ทีนี้ก็แสดงถึงจิตใจไม่ตกอยู่ คือความผูกพันกับสิ่งใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ความใคร่ ทั้งหลาย การที่เอาพระพุทธสุภาษิตนี้มาแสดงเป็นลำดับกันก็เพื่อจะให้ได้ยิน ได้ฟังเองของความสุข ว่ามีอยู่ต่างกันเป็นอย่าง ๆ แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ตรัสอุทานคำนี้ออกมาในคราวเดียวกัน แสดงถึงความสุขหลายอย่างต่าง ๆ กันในวันที่ซึ่งตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ กำลังเสวย สุมุติสุขอยู่นั้นเอง ทุกคนจะต้องระลึกด้วยจิตใจที่สุขุมแนบเนียนเป็นพิเศษ ระลึกถึงความรู้สึกในพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในโอกาสนั้น คือการตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ที่ย่อมได้พบความสุขเหนือที่จะกล่าวได้หรือที่จะบรรยายความรู้สึกออกมาว่าอย่างไร แต่ในที่สุดก็ได้ทรงปล่อยให้ความรู้สึกนั้นหลุดออกมาเองทางพระโอษฐ์จึงเรียกกันว่า อุทาน เป็นการกล่าวโดยไม่ได้เจตนา ไม่ได้คิดไม่ได้นึกอะไรในขณะนั้น
แต่ว่าความรู้สึกในใจนั้นมันมุ่งออกมาเองเป็นคำพูด เว้นแต่พูดออกมาเป็นเรื่องของความสุขทั้งนั้นซึ่งมีอยู่ 4 อย่างด้วยกันดั้งที่ได้กล่าวมาแล้ว 2 อย่าง ในวันนี้ก็จะกล่าวอีกอย่างหนึ่งเวลานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังรู้สึกอย่างไร กินได้อย่างไร มีพระพุทธอุทานออกมาว่าอย่างนี้ ถ้าผู้ใดเข้าใจได้ก็จะรู้สึกถึงน้ำพระทัยพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดีมากทีเดียว แล้วยังจะรู้สึกรู้จักต่อสิ่งที่เรียกว่า ความสุข ได้มากอีกด้วยโดยคำนวนดูว่า ในเวลานั้นพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ กำลังเสวยความสุขที่เกิด วิมุท คือความหลุดพ้นจากกิเลสเรื่องร้อยลัดทั้งหลาย
แล้วก็อุทานความสุขข้อแรกว่า วิเวศของผู้ที่มีธรรมอันเห็นแล้ว มีอยู่เป็นความสุข ลองคำนวนคำนึงหรืออะไรก็ตามแล้วแต่จะเรียกว่าเวลานั้นพระองค์ทรงรู้สึกอย่างไรจึงตรัสออกมาว่า วิเวศ ทั้งที่ได้เห็นธรรมและอิ่มอยู่นี้เป็นความสุข อย่างน้อยที่สุดก็จะเข้าใจได้ว่าเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ นั้นเสวยวุธิสุทอยู่นั้นมันเป็นวิเวศอย่างยิ่ง แล้ววิเวศนั้นก็เป็นความอิ่มอย่างยิ่ง ถ้าไม่อิ่มความหิวโหยก็กวนก็เป็นวิเวศไปไม่ได้ มันก็อิ่มโดยไม่ต้องทำอาหารหรือไม่ต้องทำอะไร มันอิ่มเพราะว่า มีธรรมะอันเห็นแล้ว คือการตรัสรู้นี้เอง นี้ก็จะเป็นเรื่องพิเศษส่วนพระองค์อย่างยิ่ง นั้นความสุขที่หลุดออกมาจากพระโอษฐ์เป็นข้อที่ 1 เป็นข้อที่แรกคือ วิเวศ คือผู้ที่อิ่มอยู่ด้วยธรรมะคือทรงเห็นแล้วนี้ก็รู้จักพระฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ลักษณะ 1 และเป็นความสุขในลักษณะ 1 ด้วย
ทีนี้ข้อที่ว่า ความสำรวมแกกันและกันในบรรดาหมู่สัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย ไม่มีการให้ร้ายต่อกัน นี้เป็นความสุขในโลก นี้ก็แสดงให้เห็ฯว่า พระทัยของพระผู้มีพระภาคนั้นระลึกถึงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ตลอดเวลา คือเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธเจ้าที่มีจิตใจนึกถึงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง อยู่ตลอดเวลา ก็เลยรู้สึกว่า ถ้าสัตว์ทั้งปวงไม่มีการกระทบกระทั้งเบียดเบียนซึ่งกันและกันเหมือนอย่างจิตของพระองค์ในเวลานี้ หรือว่าเป็นสุข ตามธรรมดาจิตของสัตว์มุ่งร้ายกันเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ไม่สำรวมระวังต่อกันและกัน หมายความว่ากระทบกระทั้งกัน นั้นก็เป็นธรรมดาของสัตว์โลกที่หาความสุขไม่ได้ ถ้าว่าได้มารู้ธรรมะนี้แล้ว อยู่ด้วยธรรมะนี้แล้วจะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันแม้โดยจิตใจ ที่เรียกกันว่า ความคิดก็ไม่มี ไม่ต้องกล่าวที่จะเบียดเบียนกันด้วยวาจาหรือด้วยการกระทำ
แม้แต่ความคิดก็ไม่มีความมุ่งร้ายต่อกัน มีธรรมะที่เห็นแล้ว เกิดความให้ร้ายกันไม่ได้ ความหมายนี้เร่งถึง สัมพะสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงบรรดาที่ความรู้สึกทั้งปวง เป็นสัตว์มนุษย์ก็ได้เป็นสัตว์เดรฉานก็ได้ เพราะมีความรู้สึกได้ทั้งนั้น ทีนี้ที่แปลกออกไปเป็นข้อที่ 3 ทรงมุ่งหมายถึงความหลุดพ้น ในความหมายที่ชัดเจนว่า กามานัง สะมะติมะโน ก้าวร่วงสิ่งที่เป็นกามทั้งหลายเสียได้ อวิรา คตา ความมีจิต ไม่กำหนัด ถ้ามีจิตปราศจากความกำหนัดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกก็มีความสุข ซึ่งจะได้พูดกันให้ริอียดไปกว่านี้ คำแรกก็คือคำว่า วิราคะ วิราคะเนี่ยเป็นความสุข วิราคะเนี่ยมันคืออะไร ตามที่สอนกันอยู่ในประเทศไทยวิราคะ ก็แปลว่า ความคลายกำหนัด ถ้าอย่างนี้ไม่หมดเพราะว่ามันเป็นแต่สักว่าคลาย มันยังไม่ได้ออกหมด ถ้าออกหมดก็ไม่เรียกว่าคลาย นี้พอสักว่าคลายถ้าถือความหมายอย่างนี้ ก็จะเรียกว่า เป็นสุข
ในลักษณะนี้ไปได้ มันเป็นเรื่องคลาย ควรจะถือเอาความหมายตามตัวหนังสือ ให้เป็นที่ประจำคำว่า วิ ว่า วิ แปลว่า ปราศจาก ก็ได้ แปลว่า วินาศไปหมดแล้วก็ได้ วิราคะก็แปลว่ามีราคะที่ปราศจากแล้ว หรือมีราคะที่วินาสไปหมดแล้ว นั้นมีราคะในกรณีอย่างนี้ ก็จะแปลว่า ปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ถ้าจะแปลว่า คลายกำหนัด ก็ต้อง ราคะในกรณีที่เริ่มคลายและยังไม่หมด ยังมีลำดับที่จะต้องประพฤติต่อ ๆ ไป จนกว่าจะหมดสิ้น หรือคลายออกหมดสิ้น จึงจะตรงตามความหมายคำว่า คลายกำหนัด แต่ถึงอย่างไรก็ดีการคลายกำหนัดนั้นย่อมหมายความว่า เป็นการคลายที่แน่นอน เป็นการคลายที่ไม่หยุด คือคลายออกจนหมดสิ้น แต่เดียวนี้กลัวว่าจะเข้าใจผิด ก็เลยให้ถือเอาใจความทีนี้ว่า ปราศจากราคะ หรือมีราคะไปหมดสิ้นแล้ว ทีนี้คำว่า ราคะ นี้คืออะไร ตามตัวหนังสือก็เป็นชื่อของสิ่งที่ย้อมติดอยู่กับสิ่งอื่น ซึ่งสีย้อมผ้าเป็นต้น แต่พอมาเป็นภาษาสูงสุดในธรรมะนี้ เป็นชื่อของกิเลสประเภทที่ทำให้ละให้ยึดมั่นถือมั่น ความกำหนัดคือความยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นเหมือนกับสีย้อมผ้า ที่ย้อมผ้าคือย้อมจิตใจ ให้เกิดตามไปได้ราคะ มันมีราคะซึ่งหมายถึงว่า หมดสีย้อมผ้า ก็คือหมดกเลสประเภทราคะคือเสมือนกับสีย้อมผ้า ตาว่าย้อมจิตใจ ให้ติดในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ
เราต้องรู้จักราคะกันให้ดี ๆ ว่ามันคืออะไรแล้วมันย้อมอย่างไร บางทีก็เรียกว่า ความยึดมั่นถือมั่นก็ได้ มีราคะก็คือ คลายออกจางออกความยึดมั่นถือมั่น ก็ได้เป็นเรื่องเดียวกัน คำว่ามีราคะในที่นี้แปลว่า หมดความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นของตัวตนก็ได้หรือของคนก็ได้ นี้คือลักษณะของ ราคะ คือ ย้อมจิตให้จิตอยู่ด้วยความรู้สึก ว่าตัวตนว่าของตน ถ้าคลายออกได้บ้าง ก็เป็นพระอริยเจ้าชั้นต้น ๆ ถ้าคลายออกได้หมดจนสิ้นไปก็เป็นพระอริยเจ้า ชั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ ดังนั้นเมื่อได้ยินว่า วิราคะ วิราคะนี้แล้วให้รู้ไว้เถอะว่า แม้ในพระบาลีเอง ก็ใช่เป็นระดับอยู่หลายระดับ ในบางแห่งเขาแปลว่า คลายกำหนัดก็มี บางแห่งก็แปลว่า ปราศจากความกำหนัดก็มี ในบางแห่งก็เป็นการหมดความยึดมั่นถือมั่นโดยพระการทั้งปวงอย่างนี้ก็มี
สำหรับในกรณีนี้มีความหมายถึง ปราศจากความกำหนัดในสิ่งที่เป็นที่ตั้งความกำหนัดโดยสิ้นเชิง บรรดาสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก ก็ต้องเรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดแม้เป็นเรื่องที่เลยจากกามรมณ์ขึ้นไป เช่น รูปราคะ อรูปาราคะ อย่างนี้ จะต้องเรียกว่า ความกำหนัดด้วยเหมือนกัน ถ้าเป็นวิราคะ ในกรณีของพระอรหันต์แล้วจะต้องละทั้ง กามราคะ รูปราคะและ อรูปาราคะ คือทุกราคะ คือทุกชั้น กามราคะเป็นความรู้สึกกำหนัดในทางเพศ ที่ตรงกันข้ามนี้ก็เห็นชัด เข้าใจง่าย เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ เหนี่ยวแน่นยิ่งกว่าสิ่งใดสำหรับ ปุถุชนคนธรรมดา เรียกว่า กามราคะอย่างหนึ่งส่วน รูปราคะนั้น ไม่ใช่เรื่องกามรมณ์เป็นความสุขที่เกิดมาแต่จิตสงบเพราะอำนาจของรูปธรรม ที่เป็นอารมณ์ของการบำเพ็ญภาวนา คือเป็นอารมณ์ของจิตที่เข้าไปกำหนดของจิตเอาเป็นอารมณ์ก็เกิดความสงบระงับได้ มีความสุขชนิดที่จืดหรือสะอาด ไม่สกปรกเหมือนเรื่อง กามรมณ์ แต่แล้วฏ้ยังมีความผูกพันเช่นเดียวกัน เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจยินดี จึงได้เรียกว่า ราคะเหมือนกัน ก็เรียกว่า รูปราคะ เป็นราคะในรูปธรรม บริสุทธิ์ไม่เกี่ยวกับกาม หรือจะพูดให้กว้างไปอีกหน่อยก็ว่า ราคะในความสุขที่หามาได้จากรูปธรรมอันบริสิทธิ์ ที่ไม่เกี่ยวกับกาม ถ้าคนที่มีจิตใจสูงถึงขนาดนั้นก็กำหนัดยินดีในความสุขชนิดนั้น เช่นเดียวกับคนธรรมดาสามัญกำหนัดยินดีในเรื่องกามนั้นจึงกล่าว รูปราคะไว้ในฐานะเป็นราคะ ที่จะต้องขจัดออกไปด้วยเหมือนกัน สำหรับผู้ที่จะฝึกฝนในที่สุด คือเป็นพระอรหันต์ แต่แล้วก็ยังละไม่ได้ สำหรับผู้เป็นเพียงพระโสดาบัน ยังมีอีกราคะหนึ่งซึ่งไกลไปกว่านั้นที่เรียกว่า อรูปาราคะ กำหนัดยินดีในอรูปาธรรมหรือในความสุขที่มีอรูปาธรรมเป็นอารมณ์ ที่เข้าระบุไว้ในแบบแผนที่เขาเจริญกันมาแต่โบราณ อากาศคือความว่าง เป็นอารมณ์ วิญญาณเป็นนามธรรมไม่มีรูปเป็นอารมณ์ก็มี หรือเอา อากินจะนะคือความไม่มีอะไร ความไม่มีอะไรนี้เนี่ยเป็นอารมณ์นั้นก็มี กระทั้งเอาความรู้สึกที่ระงับมากจนราวกับว่าตายแล้ว
แต่ก็ไม่ใช่ตายเป็นอารมณ์อย่างนี้ก็มีเรียก อรูปาชาญ เคยปฏิบัติกันมาได้อย่างนั้น ก็เกิดความสุขอย่างอื่นซึ่งสูงหรือไกลออกไปอีกและยากทีจะมีคนพอใจแก่คนธรรมดาสามัญ หรือว่าคนธรรมดาสามัญก็ทำไม่ได้ที่ไม่ประณีตหือละเอียดขนาดนั้น ถ้าทำได้ในความรู้สึกนั้นเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมากเช่นเดียวกัน กับที่คนปุถุชนธรรมดาสามัญนี้ยินดีตาม บุคคลที่ยินดีในอรูปาธรรมหรือความสุขที่เกิดจากอรูปาธรรมก็ยินดีถึงขนาดนั้นด้วยเหมือนกัน ไอ้เรื่องยึดมั่นถือมั่นด้วยนี้เรียกว่า อรูปาราคะ ฟังดูดี ๆ ก็จะเห็นได้เข้าใจได้ ถ้ามีคำว่า ราคะ ๆ ๆ อยู่ด้วยกันทั้งนั้น กามราคะก็มีกามเป็นเครื่องย้อมจิต รูปราคะมันก็มีความสุขที่เกิดแต่รูปธรรมเป็นเครื่องย้อมจิต อรูปาราคะมันก็มีความสุขที่เกิดแต่อรูปาธรรมเป็นเครื่องย้อมจิต มันมีความหมายเหมือนกันตรงที่ย้อมจิต มันต่างกันก็ไอ้ตรงที่สิ่งที่ย้อมนั้นมันต่างกัน ย้อมด้วยสีเขียว ๆ แดง ๆ หรือย้อมด้วยโคลนอย่างนี้ ก็คงจะเป็นทีมาก เอาโคลนเอาอะไรมาย้อมหรือมันจะย้อมด้วยสีเขียว สีแดงธรรมดาอย่างนี้ ก็ยังค่อยยังชั่วกว่า หรือแม้ที่สุดจะย้อมด้วยสีขาว มันก็ยังไม่สะอาดอยู่นั้นเองมันควรจะไม่มีสีอะไรเลยขึงจะเรียกว่า ปราศจากสีที่ย้อมโดยประการทั้งปวง นี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า วิราคะตา มันเคยมีอย่างนี้ หมายถึงจิตไม่มีอไรย้อม ด้วยเหตุว่าพระองค์เองในเวลานั้นมีจิตที่ไม่มีอะไรย้อมกามราคะก็ไม่มี รูปราคะก็ไม่มี อรูปาราคะก็ไม่มีมันจึงเป็นจิตที่ไม่ถูกย้อม
มันจึงไม่มีสีแม้แต่สีขาว ก็เลยจัดว่าเป็นความสุขเพราะไม่มีอะไรย้อมจิต ความหมายที่ว่าย้อมจิตนั้นที่ว่าดึงไปตามความรู้สึกนั้นไม่ใช่ว่าอยู่เฉย ๆ ได้ถ้ามีอะไรมาย้อมจิตมันก็ต้องดึงไปตามไอ้สิ่งที่มันย้อมถ้ากามราคะก็ผูกพันอยู่กับกาม รูปราคะก็ผูกพันอยู่กับรูป อรูปาราคะก็ผูกพันอยู่กับอรูปาแต่ถ้าไม่ผูกพันอยู่กับสิ่งใดก็เรียกว่า ไม่มีอะไรผูกพันคือไม่มีการย้อมจิตอยู่ในสิ่งใด แม้แต่ขี้ฝุ่นก็ไม่ย้อมไม่ย้อมติด คำขยายความออกไปเรียกว่า กามานัง สะมะติจะโม คำนี้น่าจะใช้คำว่ากาม ก็มีความหมายอีกอย่างว่าราคะ โดยเหตุที่ข้อความนี้เป็นกาพย์กลอน เป็นคำกลอนในก็มีการยกเว้นที่มีคำแทนกันไปแทนกันมา แต่บางคำมันมีความหมายกว้างก็พอแทนกันได้ใช้แทนกันได้ เช่นคำว่า กามในที่นี้แทนคำว่า ราคะ มีใจความว่าราคะนั้นเองก้าวร่วงตามเสียได้ก็หมายถึงก้าวร่วงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความอยากจะได้ ขึ้นชื่อของกิเลสและกาม จะหมายถึงใคร่และอะไรก็ได้ใช้ในกามก็ได้ ในรูปก็ได้ ในอรูปาก็ได้ มันเป็นใคร่ทั้งนั้น คำว่ากามไม่เคยมีอย่างนี้ มีความหมายมากกว่าคำว่า กามกรรีที่เป็นไปตามธรรมดา พอมีความหมายถึงใคร่ ถ้าใคร่ในกามก็เป็น กามราคะ ใคร่ในรูปก็เรียก รูปราคะ ใครในอรูปาก็เรียก อรูปาราคะแล้วสิ่งเหล่านี้ก็มีอยู่ในโลก นั้นจึงตรัสว่า โรเกกามานัง โรสะกิจะโร มนุษย์มีสวรรค์ที่เรียกว่าโลกเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ พรหมโลกชนิดหนึ่งก็เป็นที่ตั้งแห่งรูปราคะ พรหมโลกอีกชนิดหนึ่งก็เป็นที่ตั้งแห่งอรูปาราคะ
ถ้าใครอยากจะเอา มนุษโลก สวรรคืหรือพรหมโลกไปไว้ที่ไหนที่ไหนก็ตามใจ ไว้ที่อื่นก็ตามใจ แต่ให้รู้ว่ามันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจในโลกที่มีกามก็เรียกว่า กามโลก เช่น มนุษย์ เช่น เทวดา ถ้ามีรูปเป็นที่ย้อมใจก็เรียก พรหมโลกมีรูปเป็นเครื่องย้อมใจ ถ้าเรียกว่าอรูปาพรหม พรหมโลกนี้มี 2 ชนิดคือ รูปโลก อรูปาโลก ทีนี้ถ้าไม่รู่ว่าอยู่ที่ไหนก็อย่าไปสนใจมันก็ได้ แต่ต้องไปสนใจในจิตใจของตัวเราเอง เมื่อยังเป็นคนธรรมดาอยู่จิตใจก็ยังตกต่ำไปในทางกาม กามารมณ์คือรู้สึกระหว่างเพศ เมื่อนั้นถึงเรียกว่าอยู่ในกามโลก แต่บางคราวคนเดียวกันนั้นแหละมันก็เอือมระอาได้ อยากจะอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่มีอะไรมากวนหรือบางทีก็อยากจะอยู่กับของที่มันไม่มีความหมายทางกามารมณ์ จะมีจิตใจกำหนัดยินดีกับสิ่งที่ไม่ใช่กาม จะเป็นวัตถุ สิ่งของทรัพย์สมบัติหรืออะไรก็ได้ ของเล่นก็ได้ กระทั้งว่าพักผ่อนเฉย ๆ มีจิตใจสงบไม่มีอะไรมากวนก็ได้ นึกถึงบุญกุศลก็ได้ ล้วนแต่เป็นความรู้สึกที่ทำให้สบายใจแล้วก็ยึดมั่นถือมั่น กำหนัดย้อมใจ ในคนเราคนหนึ่ง ๆ เนี่ยบางเวลามันก็มีกามราคะ
บางเวลามันก็อาจจะมีถึงรูปราคะ และอรูปาราคะแต่มันน้อยมากเพราะส่วนใหญ่อยู่ในอารมณ์ที่เป็นกาม ก็เรียกว่า กามาวจรณ์ เป็นผู้อยู่ในวิสัยแห่ง กาม ก็เลยเป็นเรื่องกามโลก แต่ไม่ใช่ว่าจิตใจคนเราจะเป็นอย่างนั้นได้ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนไปทางตรงกันข้ามบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงไม่ค่อยจะเรียกไอ้ส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ จะมาเรียกไอ้ส่วนใหญ่ นั้นก็เรียกว่าคน คนนี้ยังมีจิตใจตั้งอยู่ในภูมิ กามาวจรณ์ คือเพ้อไปในทางกาม แต่ไม่ใช่อย่างนั้นทุกคนบางคนที่มีน้อยมาก ชอบอยู่สงบไม่ยุ่งกับกาม ก็เรียกว่าทตรงนี้ก็มีจิตใจเป็นรูปวจรณ์ ที่อยู่ในนิสัยแห่งรูปธรรมอันบริสิทธิ์ไม่ตกลงมาถึงกามารมณ์ ถ้าสูงขึ้นไปก็เรียกว่า อรูปาวจรณ์ เอาของที่ไม่มีรูปร่าง อารมณ์และก็จิตใจ เกาะคือยึดถือหรือหาความสุขความเพลิดเพลินไปกับสิ่งเหล่านั้น แม้แต่ความไม่มีอะไร ว่าง ๆ นั้นมาก็ยังเรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ชอบอยู่อย่างนั้น ให้มีตัวตนอยู่กับสิ่งนั้นก็แล้วกัน นี้เพราะมันมีเหตุที่สำคัญที่เรียกว่า ตัวกูมันมีอยู่ ตัวตนนี้มันมีอยู่ ตัวตนที่ชอบกามเวลานั้นมันก็อยู่ใน กามาวจรณ์ คือจิตนั้นไปอยู่ใน กามาวจรณ์ บางเวลาก็ไปอยู่ในรูปวจรณ์ ไม่อยากยุ่งกับกาม บางเวลาก็ประณีตไปกว่านั้นอีกไม่เอาสิ่งที่เป็นรูปร่างอะไรเลยเป็นอรูปาวจรณ์ นั้นจิตของผู้ใดเป็นไปมากหรือเป็นไปเด็ดขาดนั้นในสิ่งใดก็เรียกว่า เขามีจิตในวิสัยอยู่แห่งนั้นทั้งหมดนี้เรียกว่า อยู่ในโลก นั้นกามโลกก็เรียกว่า โลก พรหมโลกก็เรียกว่า โลก จึงเป็นไปว่าทั้ง กามาวจรณ์ รูปวจรณ์ อรูปาวจรณ์ ก็เรียกว่าเป็นโลก มีที่ตั้งแห่งความใคร่ ต่าง ๆ กันอยู่ในโลกนี้
ถ้าเมื่อใด ก้าวร่วง ก้าวข้าม หรือว่าข้ามพ้น ไอ้สิ่งทั้ง 3 นี้ได้ จึงจะเรียกว่า หมดกันไม่มีความกำหนัดยินดีในสิ่งใด ๆ ถ้าอย่างนี้ไม่ได้เรียกโลกนะ เรียกว่าเหนือโลก เรียกว่า โลกุตตระ นั้นในราคะลักษณะอย่างนี้ก็หมายถึง ราคะที่สมบูรณ์แบบเป็นโลกุตตระ นั้นก็เลยเป็นความสุขเพราะว่ามันก้าวร่วงไอ้สิ่งที่มันยั้วยวนอยู่ในโลกนี้เสียได้ สิ่งที่ยั่วยวนในโลกนี้มีเท่าไร ๆ ก็ตามใจถ้าก้าวร่วง นั้นคือไม่มีอะไรย้อมใจ ไม่มีอะไรผูกพันจิตใจ มีจิตใจเป็นอิสระอย่างยิ่งก็เลยเรียกว่า เป็นความสุขนี้พระพุทธเจ้ากำลังเสวย วิมุทติสุข อยู่ในที่สงบสงัดในระยะที่ตามพระคัมภีร์ชั้นอัตตะกาถาเขียนไว้ว่า เป็นสุขโดยไม่ได้แนวอาหารอะไรเลยตั้ง 7 สัปดาห์ คือ 49 วันอยู่ด้วยความสุขที่เรียกว่า วิมุทติสุข ตลอดเวลาเหล่านี้หรือบางเวลาก็มีความอุทานคำเหล่านี้ออกมาซึ่งแสดงเป็นความสุข เป็นอย่าง ๆ ๆ ๆมีอยู่ 4 อย่างด้วยกันอย่างสุดท้ายนั้นทรงแสดงว่า อสึมิมานะสะ วินาโยเอตังเว ปะมังสุขัง สุดท้ายนี้แสดงบรมสุขสูงสุดอย่างยิ่ง โดยการถอน อสึมิมานะสะ ของกูกูออกเสียได้ ด้วยความสุขอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะได้วิสัชณากันในวันหลัง แล้วเป็นอย่างนี้ก็พูดกันถึงว่าได้พูดกันถึงความสุขก็ 3 แบบแล้วเป็นความตามที่หลุดออกมาจากพระโอษฐ์ของพระศาสดา ในขณะที่พระองค์ทรงเสวยความสุขอย่างยิ่ง ว่า วิเวศเป็นสุข อภยาปัช ความรู้สึกที่ไม่มุ่งร้าย แต่เดียวนี้เขาว่า จิตที่ปราศจากความกำหนัดนั้นจากสิ่งใด ๆ ในดลกนี้เป็นความสุขผู้ใดอยากจะใช้วิธีการอันไหนหรือว่ามีปัญหาอะไรควรทำข้อไหนก็ลองคิดดู อันไหนมันแรงนักก็จัดการอันนั้นก่อนและไม่ได้หมายความว่าจะทำได้หมดจดสูงสุดสิ้นเชิง จึงจะมีความสุข ทำได้เท่าไรก็มีความสุขเท่านั้น เช่น วิเวศนี้ทำได้เท่าไรก็มีความสุขเท่านั้นแหละ ทำให้จิตไม่หงุดหงินกระทบกระทั้ง ประทุษร้ายสิ่งใดทำได้เท่าไรมันก็มีความสุขเท่านั้น หรือความไม่กำหนัดย้อมใจในสิ่งใดทำได้เท่าไรมันก็มีความสุขเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงว่าเราจะทำได้หมดเลย สำหรับพระอรหันต์เท่านั้นที่ทำได้หมดเลย นอกนั้นก็ทำได้ตามสัดส่วนที่เกิดจากกระทำได้ แต่ที่อย่างนั้นที่คนทั่วไปยังไม่เป็นพระอริยเจ้าชั้นใด ๆ ก็ยังมีความที่ทำได้ ตามสัดส่วนของตนแล้วก็ได้รับความสุขแปลกประหลาดนี้ที่ไม่เคยรับมาก่อนนับตั้งแต่ วิเวศ มีจิตใจไม่ถูกอะไรรบกวนบางทีก็อาจจะมีการผ่านมาแล้วก็ได้แต่ไม่ได้สังเกตุ ก็รู้สึกว่าตัวเองนั้นนะวิเวศอะไรเสียเลย บางทีทางกายไม่เกิดวิงวอนอะไรก็เรียกว่า กายวิเวศ เวลาจิตไม่เกิดวิงวองอะไรด้วยก็เรียกว่า จิตวิเวศ ไอ้ส่วน อุทิศวิเวกสูงสุดนั้นอย่าพึ่งพูดถึงเลยสำหรับคนธรรมดามันจะควรน้อยก็แล้วกัน โลภะ โทสะ โมหะ กวนน้อยหน่อยแต่ว่าจิตวิเวศไม่มีนิวรกวนนี้อาจจะมีได้ บางวันรู้สึกสบายเพราะว่ามีธรรมะอะไรบ้างอย่างเกิดประสบเหมาะขึ้นมาในใจ เยือกเย็ยยิ้มกลิ่มอยู่ในใจด้วยอำนาจธรรมะนั้นก็เรียกว่า จิตวิเวศได้เหมือนกัน จึงควรจะสังเกตุดูให้ดี ๆ ต่อไปนี้เราสังเกตุดูว่า วิเวศบางชนิดเราก็เคยมีถ้ามีมากก็ยิ่งดี ส่วน อัภยาปัชนี้ก็เหมือนกันอีกนั้นแหละ ถ้าว่าคน คนใดหรือจิตปองร้ายผู้อื่นหรือมีจิตกระทบกระทั้งด้วยโทสะ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่กี่วันมันต้องเป็นบ้า นั้นก็มีเวลาที่มันหยุดความรู้สึกที่กระทบกระทั้งสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือหงุดหงิด เช่นเวลานอนก็แก้อาการนี้ไปได้ รู้จักทำจิตมันก็แก้อาการอันนี้ไปได้
เดี๋ยวนี้ก็มียาเสพติดให้กินกินแล้วเสพติดหายหงุดหงิดอย่างนี้ไม่แนะนำ มันต้องเป็นเรื่องทางวัตถุ อาจให้โทษไอ้เสพติดมันก็ให้โทษมันกินยาเรื่อย ๆ จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องของธรรมะ อย่าไปยุ่งด้วยเลยไม่ใช่เรื่องของธรรมะ เมื่อกินยาแล้วรู้สึกสบายต้องไปสูบกัญชาที่ทำกันมากในโลกเวลานี้ ต้องรู้จักทำจิตตามวิธีของพุทธบริษัทก็พอที่จะมีจิตวิเวศได้ ในที่สุดก็มานั่งกำหนดลดหายใจสักพักหนึ่งก็มีจิตวิเวศได้ เมื่อชอบใจก็ทำให้มากยิ่งขึ้นไป ทีนี้ข้อที่ 3 ที่เรียกว่า วิราคะเนี่ย ก็ได้เพียงคลายเป็นบางเวลาหรือว่าระงับไปในบางเวลาไม่สิ้นเชิง ไม่สิ้นสุด ในบางเวลามันก็ต้องระงับไม่อย่างนั้นมันจะเป็นบ้าไปที่ว่ามีจิตใจไปยึดมั่นถือมั่นไปตลอดเวลานั้นนี้มันก็ต้องเป็นบ้าเหมือนกัน บางที่เราก็มาสวดมนว่าให้เพลิน ๆ ไปจิตก็ลืมยึดสิ่งใด ๆ มันก็จะมีความสุขชนิดนี้ไปบ้าง เมื่อเรามาสวดมนด้วยจิตที่มันยึดมั่นถือมั่นมันอยากจะว่าให้ดังกว่าคนอื่น มันอยากจะว่าให้เด่นกว่าคนอื่นให้เขายกย่องนี้มันก็กลายเป็นเรื่องยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเสียอีก ก็ต้องระวังถ้าเกิดยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาอีกทั้งลำคาญ ถ้าว่างจากการยึดมั่นถือมั่นก็สบาย แม้แต่สวนมนนี้ถ้าสวดด้วยจิตที่ยึดมั่นถือมั่นก็ไม่มีความสุข ถ้าจะระงับความยึดมั่นถือมั่นไม่ให้เกิดตอนนั้นมันก็มีความสุขกลบความยึดมั่นถือมั่นไม่ให้เกิด ยกตัวอย่างเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระ เรื่องอื่นก็เหมือนกัน คือทำความดีนี้ก็ทำเพื่อจะหยุดระงับกลบเกลื่อนความยึดมั่นถือมั่น มันก็พกับความไม่ความยึดมั่นถือมั่น ถ้ามันรู้สึกหนักอึ้งขึ้นมาก็แสดงมีความยึดมั่นถือมั่น เมื่อจิตปราศจากความยึดมั่นถือมั่นเท่าไรก็มีความสุขตามข้อที่ 3 มากขึ้นเท่านั้น ในโลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่จะทำให้ยึดมั่นถือมั่น
ดังนั้นเราก็เป็นอยู่อย่างฉลาดสักหน่อย เป็นอันว่าพระพุทธสุภาษิตแสดงความสุข 3 ชนิดนี้มีความหมายชัดเจน ชนิดที่เราใคร่ครวญตามแล้วก็พอรู้สึกได้แล้วเราก็จะรู้สึกถึงพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคในเวลานั้นที่เสวย วิมุทติสุข อยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งหลังจากที่ตรัสรู้แล้วใหม่นี้จะมีจิตใจอย่างไร อย่างน้อยก็เป็น พุทธานุสติ ให้รู้จัก ให้กล่าวถึง ให้เลื้อมใสในพระพุทธเจ้าขึ้นไปที่อย่างมากกว่านั้นก็คือ เราปฏิบัติตามท่านได้แล้วก็เลยได้รับประโยชน์จากการที่มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ นี้คือความสุขที่มีชนิดต่าง ๆ กันหลาย ๆ อย่างเอามาพิจารณากันดูทีละอย่าง และในวันนี้ก็ได้กล่าวถึงอย่างที่สรุปอยู่ที่การที่ไม่มีความรู้สึกประสงค์ร้ายใด ๆ นั้นความยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ๆ ความรู้สึกที่ไม่เป็นความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ ที่ไม่มีอยู่ในโลกก็จะมีความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่สูงขึ้นมาทุกทีทุกที กว่าจะมีความหมายสูงสุด ธรรมะเทศนาที่สำควรแก่เวลาเอวังก็มีด้วยประการะฉะนี้
http://www.vcharkarn.com/varticle/35489