โอวาทสมเด็จโต; พิจารณา มหาพิจารณา
การพิจารณา สำคัญมาก สมเด็จโต ท่านสอน เรื่องพิจารณา มหาพิจารณา ว่าสำคัญที่สุด เช่นกันดังนี้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นพระเถระยอดอัจฉริยะ ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ในคราวที่แสดงธรรมต่อหน้านัก ปราชญ์ชาวต่างประเทศ ซึ่งรอบรู้ศาสนาเป็นอย่างดี ในกาลครั้งหนึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาประสาทให้ทนายมาอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยโลกและธรรมในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในนาม ประเทศสยาม ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ยินคำอาราธนาจึงรับว่า ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ
ทนายกลับไปกราบเรียนสมเด็จเจ้าพระยาประสาทว่า สมเด็จที่วัดรับแสดงในเรื่องให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้
พอถึงวันกำหนด ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปถึงที่ประชุม นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทยออกความก่อนในที่ประชุมปราชญ์ ขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังอยู่ด้วย สมเด็จเจ้าพระยาประสาทจึงอาราธนาสมเด็จที่วัดระฆังฯ ขึ้นบัลลังก์แล้วนิมนต์ให้แสดงทีเดียว
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ออกวาจาสำแดงขึ้นว่า
“พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา”
กล่าวพึมพัมสองคำเทานี้สักชั่วโมงหนึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาประสาทลุกขึ้นจี้ตะโพกเจ้าประคุณสมเด็จแล้วกระซิบเตือนว่า “เจ้าคุณขยายคำอื่นให้เขาฟังบ้างซิ”
สมเด็จท่านตะโกนดังกว่าครั้งแรกขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ขึ้นเสียงว่า
“พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา”
จากนั้นท่านอธิบายขยายความออกไปอีกว่า
?การ ของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจที่ควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันและข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ ด้วยพิจารณาเป็นขั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไป ตั้งแต่หยาบๆ ปูนกลาง และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีต ละเอียดเข้า จนถึงที่สุดแห่งเรื่อง ถึงที่สุดแห่งอาการ ให้ถึงที่สุดแห่งกรณี ให้ถึงที่สุดแห่งวิธี ให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาว พิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆ คนจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้เมื่อหน้าจะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยพิจารณาเลือกเฟ้นค้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดปรากฏแก่คนก็ด้วย การพิจารณาของคนนั้นเอง
ถ้าคนใดสติน้อยด้อยปัญญา พิจารณาเหตุผลเรื่องราว กิจการงานของโลกของธรรมแต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลาง ก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้งในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุด ไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะแลเห็นผลแก่ตน ประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังบรรยายมาทุกประการ จบที?
ทัศนะ ของสมเด็จฯ โต ว่าด้วย ?การพิจารณา เป็นที่ยอมรับของปราชญ์ต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดแสดงทัศนะเข้าต่อกร แม้ต่างคนต่างก็เขียนเตรียมมาแสดงแล้วก็จริง ด้วยเกรงว่าจะสู้วาทะของสมเด็จฯ โต ไม่ได้นั่นเอง
ขอขอบคุณ : http://www.buaplinor.com/webboard/index.php?action=printpage;topic=945.0