อาจาโรวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

อาจาโรวาท หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

อาจาโรวาท
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

๑. บุญบาปสิ่งใดๆ ใจถึงก่อน ใจเป็นรากฐาน ใจเป็นประธาน มันสำเร็จที่ดวงใจ

๒. ตัวบุญคือใจสบาย เย็นอกเย็นใจ ตัวบาปคือใจไม่สบาย ใจเดือดใจร้อน

๓. ความเจ็บไข้ได้พยาธิอาพาธโรคา เป็นของธรรมดาสำหรับสัตว์โลก

๔. เราไม่อยากเป็นกรรมเป็นเวร เราก็ต้องตัด ตัดอารมณ์น่ะล่ะ ให้อยู่ในที่รู้ ให้กำหนดดูความรู้ อยู่ตรงใหนแล้วเราก็เพ่งอยู่ตรงนั้น

๕. ปัญญาคือ ความรอบรู้ในกองสังขาร

๖. กรรมทั้งหลายไม่ได้มาจากอื่นไกล มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของเราเท่านี้

๗. พุทธะคือผู้รู้ มันมีอยู่ยังงั้น มันดับไม่เป็น สูญไม่เป็น

๘. จิตของเรามันไม่หยุด ให้มันนิ่งมันก็ไม่นิ่ง เที่ยวก่อภพน้อยๆ ใหญ่ๆ อยู่ตลอดเวลา ภะวา ภะเว สัมภวันติ

๙. ถ้าคนไม่ได้ทำ ไม่ได้หัด ไม่ได้ขัด ไม่ได้เกลา ที่ไหนเล่าจะมีพระอรหันต์ในโลก

๑๐. ให้สติกำหนดที่ผู้รู้อย่าส่งไปข้างหน้าข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวา ข้างบนข้างล่าง อดีตอนาคต กำหนดอยู่ที่ผู้รู้แห่งเดียวเท่านั้นหละ

๑๑. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจ ในใจ

๑๒. ลางคนวัดก็ไม่เข้า พระเจ้าก็ไม่นบ วันศีลก็ไม่ละ วันพระก็ไม่ถือ แล้วจะเอาดีมาจากไหน

๑๓. ให้พากันพิจารณาให้มันรู้มันเห็นลงไป เชื่อมั่นลงไป เห็นจริงแจ้งประจักษ์ลงไป

๑๔. จำไว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอะไรๆ ก็พุทโธ กลัวก็พุทโธ ใจไม่ดีก็พุทโธ ขี้เกียจก็พุทโธ

๑๕. ท่านสอนให้พิจารณากรรมฐานก่อนม๊ดเวลาบวช พิจารณาเพราะเหตุใดเล่า เพื่อไม่ให้หลงถือทิฏฐิมานะอหังหาร ถือว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา มันจึงหลง

๑๖. เราต้องปฏิบัติอย่างฝากตาย

๑๗. ศีลห้านี้คือ ขาสอง แขนสอง ศรีษะอันหนึ่ง เรารักษาห้าอย่างนี้ ไม่ให้ไปทำโทษห้า คืออันใดเล่า ปาณานั่นก็โทษ อทินนานั่นก็โทษ กาเมนั่นก็โทษ มุสานั่นก็โทษ สุรานั่นก็โทษ พระพุทธเจ้าให้ละเว้น เวรมณีคือละเว้น

๑๘. อยากสวยให้ถือศีล อยากรวยให้ทำทาน อยากปัญญาชาญให้ภาวนา

๑๙. จิตของเราสงบเป็นสมาธิ มันรู้สึกเบา ส-บ๊-า-ย เย็นอก เย็นใจ หายทุกข์ หายยาก หายลำบากรำคาญ

๒๐. ผู้รู้ไม่ใช่ของแตกของทำลาย ของตายของดับ

๒๑. ถ้าใจเราดีแล้ว ทำอะไร๊ก็ดี ไปใหนๆ ก็ดี ทำการงานก็ดี ทำราชการก็ดี ครอบครัวก็ดี พี่น้องก็ดี ชาวบ้านร้านตลาดก็ดี ประเทศชาติก็ดี

๒๒. ความสุขอันใดเสมอจิตสงบไม่มี

๒๓. ธรรมของพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น อยู่ที่ตัวเราไม่ใช่ที่ไหนอื่น

๒๔. กรรมดีกรรมชั่ว ผู้นี้เป็นผู้กำเอาเป็นผู้ทำเอา ไม่เห็นมีกรรมมาจากต้นไม้ภูเขาเลากา ไม่เห็นมีกรรมมาจากฟ้าอากาศ มาจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเท่านี้หละ

๒๕. เราเกิดมามีกรรมฐานห้ามาพร้อม ทีนี้เด็กกับคนแก่ พระกรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง ทันตา ฟันไงล่ะเด็กมันเกิดมาฟันยังไม่เกิด พระกรรมฐานขาดไปองค์หนึ่ง คนแก่ฟันหลุดหมด พระกรรมฐานก็ขาดไปองค์หนึ่ง

๒๖. วิธีอื่นไม่มีจะตัดบาปตัดกรรมตัดเวร นอกจากเรานั่งสมาธินี้

คัดลอกจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7190

http://onknow.blogspot.com/2012/05/blog-post_3113.html

. . . . . . .