ประวัติหลวงพ่อชา

lp_cha4

พระโพธิญาณเถร นามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี ตามประวัติท่านมีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๗๔ ได้ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ชั้นประถมปีที่ ๑

หลวงพ่อชาเป็นผู้สนใจธรรมมาก ท่านมีความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนักระยะแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ ศึกษาปริยัติธรรมกับพระมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี และพระครูอรรถธรรมวิจารณ์ วัดหนองหลัก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ปี ๒๔๘๖ เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรม หลวงพ่อชาสิ้นภาระห่วงใย มองเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อค้นหาอาจารย์ที่จะสอนด้านวิปัสสนาธุระ โดยระยะแรกมุ่งหน้าไปจังหวัดสระบุรี-ลพบุรี ที่ลพบุรีมุ่งตรงมาที่สำนักวัดป่าของหลวงพ่อเภา แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภามรณภาพเหลือแต่อาจารย์วันลูกศิษย์ จึงได้แต่ศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางไว้ และจากอาจารย์วัน อาจารย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คืออาจารย์ชาวเขมร (ซึ่งธุดงค์จากเขมรมาไทย และมุ่งไปพม่า) เป็นผู้วางหลักแนวทางปฏิบัติโดยใช้หนังสือ บุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา ซึ่งแต่งโดยพระอมรมภิรักขิต (เกิด) ในคณะธรรมยุตินิกาย หลวงพ่อชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดหนองป่าพงและสาขามาจนทุกวันนี้ปี ๒๔๙๐ หลังจากจำพรรษาที่เขาวงกต อยู่ได้หนึ่งพรรษา ได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสมาก จึงเดินทางมาที่วัดหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครวันแรกย่างเหยียบเข้าสำนัก เห็นบริเวณร่มรื่น ปฏิปทาของพระภิกษุเคร่งครัดเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หลวงปู่มั่นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับหลักธรรม อาทิศีลนิเทศ ปัญญานิเทศ พละ ๕ อิทธิบาท ๔ ให้แก่หลวงพ่อชาและศิษย์จนเป็นที่พอหายสงสัย สิ่งที่น่าสังเกตคือหลวงปู่มั่นไม่มีความคิดที่จะให้หลวงพ่อชาแปลงนิกายเป็นธรรมยุติกาย ท่านให้ข้อชี้แจ้งเป็นปรัชญาคมคายว่าในความเป็นภิกษุที่แท้จริงไม่ได้มีนิกาย ทั้งหมดคือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ดังคำกล่าวของหลวงปู่มั่นต่อหลวงพ่อชาว่า “ ไม่ต้องสงสัยนิกายทั้งสอง ” หลังจากฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชามีจิตอิ่มเอิบ เป็นสมาธิ และได้ยึดคำสอนปฏิปทาของท่านไว้เป็นแนวปฏิบัติต่อไปองค์ที่ตรัสว่า “ ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ” ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น กวาดวัด จัดที่ฉันล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม ในระหว่างวันพระถือเนสัชชิไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยถือหลักว่า “ สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ” ดังนั้นศิษย์และญาติโยมจึงเกิดความเลื่อมใสเคารพยำเกรงในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่

ในระยะแรกของการมาอยู่ป่าพงค่อนข้างลำบาก ชาวบ้าน ญาติโยมผู้ศรัทธาเข้ามาสร้างวัดเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ให้ได้อาศัย ไข้ป่าชุกชุม เพราะเป็นป่าทึบ เมื่อเจ็บป่วยยารักษาก็หายาก โยมอุปัฏฐากยังน้อย อาหารการกินฝืดเคือง แต่กระนั้นหลวงพ่อก็ไม่เคยออกปากของญาติโยม แม้จะเลียบเคียงก็ยังไม่ยอมทำ ปล่อยให้ผู้พบเห็นพิจารณาด้วยตนเอง เดือนต่อมาเกิดสำนักชีขึ้นที่วัดเพื่อสนองคุณต่อโยมมารดาให้ได้ปฏิบัติธรรม โยมแม่พิมพ์จึงเป็นแม่ชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากและทางวัดมีการแบ่งเขตสงฆ์เขตชีไว้เรียบร้อยไม่ก้าวกายปะปนกัน

วัดหนองป่าพงได้รับอนุญาตให้สร้างในปี ๒๕๑๓ ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระโพธิญาณเถร ” ปี ๒๕๑๙ สิ้นเงิน ๕ ล้านบาท ปี ๒๕๒๐ ได้เดินทางไปประกาศสัจธรรมในภาคพื้นยุโรปเป็นครั้งแรกปี ๒๕๒๒ ได้เดินทางไปอังกฤษ อเมริกา คานาดา เพื่อประกาศสัจธรรม เป็นครั้งที่ ๒

ปี ๒๕๒๕ หลวงพ่อชาอาพาธ เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง มีอาการเวียนศีรษะความจำเสื่อม จนต้องผ่าตัดสมอง หลังจากการผ่าตัด ท่านไม่สามารถพูดได้เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องอาศัยพระภิกษุในวัดช่วยปรนนิบัติเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด การบริหารวัดทั้งหมดมอบให้อาจารย์เหลื่อมเป็นผู้รักษาการแทน

หลวงพ่อชาถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖

ขอขอบคุณ http://www.kanlayanatam.com

. . . . . . .