พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

หลวงปู่ชา_สุภัทโท

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) (17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 – 16 มกราคม พ.ศ. 2535) ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน

หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่

การศึกษา
หลวงปู่ชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้น เอกชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์

เมื่ออายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น สามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี เป็นอุปัชฌาย์สามเณรชา โชติช่วง ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสวดมนต์ ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระ แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมทบเป็นพระให้ได้ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดาและท่านทั้ง 2 ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อในที่ใกล้บ้าน แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเถระสำคัญที่ให้การอุปสมบทดังนี้

พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์
พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกแห่งนี้

ศึกษาปริยัติธรรมต่างถิ่น
เมื่อพระชา สุภทฺโท สอบนักธรรมตรีได้แล้ว ก็อยากเรียนให้สูงขึ้นเพราะมีจิตใจรักชอบทางธรรมอยู่แล้ว แต่ขาดครูอาจารย์ในการสอนระดับสูงต่อไป นึกถึงภาษิตอีสานที่ว่า “บ่ออกจากบ้านบ่ฮู้ฮ่อมทางเทียว บ่เฮียนวิชาห่อนสิมีความฮู้” ชีวิตช่วงนี้จะเห็นได้ชัดว่า พระชา สุภทฺโท มุ่งเรียนปริยัติธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสำนักต่างๆ มากมายจนในที่สุดก็สอบนักธรรมได้ครบตามหลักสูตร คือ สอบนักธรรมชั้นโทได้ ในสำนักของ พระครูอรรคธรรมวิจารณ์ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสำนักวัดบ้านก่อนอกถิ่นเกิด

สู่การปฏิบัติธรรม
เสร็จภารกิจการศึกษา ประกอบกับเกิดธรรมสังเวชคราวโยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนักต่างๆ ผ่านอาจารย์ก็มากมาย เช่น หลวงปู่กินรี หลวงปู่เถระชาวเขมร อาจารย์คำดี พระอาจารย์มั่น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดได้รับอาราธนาจากโยมมารดาและพี่ชาย เพื่อกลับไปโปรดสัตว์ที่บ้านเกิด เมื่อ พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม 2535 เวลา 05.30 น. อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศ

ปัจฉิมบท
หลวงปู่ชา สุภัทโท และศิษยานุศิษย์พระภิกษุวัดหนองป่าพง ภิกษุชาวตะวันตกที่ยืนอยู่หน้าสุดข้างหลวงปู่ชาคือพระสุเมโธภิกขุ พระลูกศิษย์ชาวสหรัฐอเมริกา
หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม และเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรม ดังนี้

1. ธรรมเทศนา สำหรับบรรพชิต สำหรับคฤหัสถ์ เสียสละเพื่อธรรม การเข้าสู่หลักธรรม ธรรมะที่หยั่งรู้ยาก ธรรมะธรรมชาติ ปฏิบัติกันเถิด ธรรมปฏิสันถาร สองหน้าของสัจธรรม ปัจฉิมกถา การฝึกใจ มรรคสามัคคี ดวงตาเห็นธรรม อยู่เพื่ออะไร เรื่องจิตนี้ น้ำไหลนิ่ง ธรรมในวินัย บ้านที่แท้จริง สัมมาสมาธิ ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า ความสงบบ่อเกิดปัญญา พระองค์เดียว นอกเหตุเหนือผล สมมตติและวิมุตติ การทำจิตให้สงบ ตุจโฉโปฎฐิละ ดวงตาเห็นธรรม ทำใจให้เป็นบุญ ทรงไว้ซึ่งข้อวัตร เหนือเวทนา เพียรละกามฉันทะ ทางพ้นทุกข์ ไม่แน่คืออนิจจัง โอวาทบางตอน อ่านใจธรรมชาติ อยู่กับงูเห่า สัมมาทิฐิที่เยือกเย็น มรรคผลไม้พ้นสมัย นักบวชนักรบ ธุดงค์ทุกข์ดง สัมมาปฏิปทา พึงต่อสู้ความกลัว กว่าจะเป็นสมณะ เครื่องอยู่ของบรรพชิต กุญแจภาวนา วิมุตติ

2. สำนักปฏิบัติธรรม มีสำนักปฏิบัติธรรม ในประเทศไทยซึ่งอยู่ทุกภาคของประเทศจำนวนทั้งสิ้น 82 สาขา และในต่างประเทศอีก 7 สาขา และเฉพาะศิษย์ที่เป็นพระชาวต่างประเทศซึ่งอยู่เป็นประธานสงฆ์ผู้มีพรรษาต่ำสุดคือ 16 พรรษา รายนามสาขาในต่างประเทศ มีดังนี้.-

ยุโรป และ อเมริกา
วัดจิตตวิเวก ประเทศอังกฤษ
วัดอมรวดี ประเทศอังกฤษ
วัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ
วัดรัตนคิรี (ฮาร์นัม) ประเทศอังกฤษ
เดว่อน วิหาร ประเทศอังกฤษ
วัดสันตจิตตรามา ประเทศอิตาลี่
วัดธรรมปาละ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
วัดอภัยคิรี อเมริกา
วัดป่านานาชาติ อุบลราชธานี

ออสเตรเลีย
วัดโพธิญาณ ประเทศออสเตรเลีย
โพธิญาณรามา นิวซีแลนด์
วัดและศูนย์ปฏิบัติธรรมที่เกี่ยวเนื่อง
ศูนย์ปฏิบัติธรรมแม่น้ำแอร์โร่ ประเทศแคนาดา
วัดป่าเบิร์กเคน ประเทศแคนาดา
วัดป่าสันติ ประเทศออสเตรเลีย
อัคแลนด์ วิหาร ประเทศนิวซีแลนด์
ที่วัดหนองป่าพงยังมีสถานที่พอจะเป็นที่เตือนใจของผู้ประสงค์จะนมัสการและรำลึกถึงท่านคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติและผลงานของท่านมารวมไว้ ตลอดจนรูปปั้นขี้ผึ้งของท่าน ที่ผนังพิพิธภัณฑ์ก็ยังมีภาพชีวิตของท่าน ที่ทำจากกระเบื้องดินเผา เมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์แล้วจะให้ทั้งความร่มเย็นศักดิ์สิทธิ์ และปรากฏการณ์เสมือนหนึ่งท่านยังไม่ถึงมรณภาพเลย

สมณศักดิ์
• พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ “พระโพธิญาณเถร” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516

• ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517

คำสอน
คำสอนของหลวงปู่ชาทั้งหมด สามารถสรุปลงได้ดังนี้
จุดหมาย : มรรค ผล นิพพาน พ้นทุกข์
เนื้อหา : ศีล สมาธิ ปัญญา
วิธีการ : สมถ วิปัสสนา
กลวิธี : มองเข้าหาตัว ดูธรรมชาติ เปรียบเทียบ กับธรรมชาติ ทำให้ดู แล้วรู้ตาม
หยุดชั่ว มันก็ดี
การไม่กระทำบาปนั้นมันเลิศที่สุด บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้
แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั้นนะ มันยากที่สุด
การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก การทำบุญ โจรมันก็ทำได้ มันเป็นปลายเหตุ
การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะเป็น ต้นเหตุ

นอกเหตุเหนือผล
พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่าให้ “นอกเหตุเหนือผล”ไม่ว่าจะทำอะไร
ปัญญาของท่านให้นอกเหตุเหนือผล ให้นอกเกิดเหนือตาย นอกสุขเหนือทุกข์
ลองคิดตามไปซิลองพิจารณาไปตาม คนเราเคยอยู่ในบ้าน พอหนีจากบ้านไปไม่มีที่อยู่ไม่รู้จะทำอย่างไร
เพราะเรามันเคยอยู่ในภพ อยู่ในความยึดมั่นถือมั่นเป็นภพ

ลูกศิษย์ชาวต่างชาติที่สำคัญ
พระราชสุเมธาจารย์ (สุเมโธภิกขุ) ศิษย์ชาวต่างประเทศรูปแรก เป็นพระภิกษุชาวสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2510 โดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระวิสุทธิสังวรเถร (พรหมวังโสภิกขุ) เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิญาณ ประเทศออสเตรเลีย บวชเมื่ออายุ 23 ปี ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีพระพรหมคุณาภรณ์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นอุปัชฌาย์ ภายหลังคณะสงฆ์ไทยและสงฆ์นานาชาติสายวัดหนองป่าพงได้ลงมติขับออกจากความเป็นหมู่คณะของพระวัดป่าสายวัดหนองป่าพงเมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากขืนกระทำการบวชภิกษุณี อันเป็นการฝ่าฝืนพระวินัยฝ่ายเถรวาท และตัดวัดโพธิญาณออกจากความเป็นสาขาของวัดหนองป่าพง
พระภาวนาวิเทศ (เขมธมฺโมภิกฺขุ) เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษ อุปสมบทในปี พ.ศ. 2515 ก่อนวันวิสาขบูชาเพียงไม่กี่วัน โดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้เผยแพร่ธรรมในเรือนจำ จนได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศสหราชอาณาจักร
พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ เป็นพระภิกษุชาวแคนาดา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเพลงวิปัสสนา แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2517 ในพรรษาแรกนั่นเอง ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชาโดยการแนะนำของพระอุปัชฌาย์ของท่าน ได้พำนักที่วัดหนองป่าพงและวัดสาขาอื่นๆ ตามโอกาสอันสมควร ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ และได้ปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลา 15 ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2539 ในปี พ.ศ. 2540 พระอาจารย์ปสันโนภิกขุ ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ เพื่อมาก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับพระอาจารย์อมโรภิกขุ
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ท่านอุปสมบทในปี พ.ศ. 2518 ที่วัดหนองป่าพง โดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ชยสาโร เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษ ท่านอุปสมบทในปี พ.ศ. 2523 ที่วัดหนองป่าพง โดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบัน พำนัก ณ สถานพำนักสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา

ทายาทธรรมหลวงพ่อ
หลวงปู่สี สิริญาโณ วัดป่าศรีมงคล (วัดป่าบ้านเปือย) อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต) วัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
พระครูปทุมภาวนาวิกรม (ประสพไชย กันตสีโล) วัดป่าจิตตภาวนา(ฟ้าคราม) ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน วัดมาบจันทร์ ต. แกลง อ. เมือง จ. ระยอง
พระอาจารย์อัครเดช(ตั๋น) ถิรจิตโต วัดบุญญาวาส ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
หลวงพ่อคูน อัคตธัมโม วัดป่าโพธิ์สุวรรณ ต.นาโพธิ์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ฯลฯ

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

. . . . . . .