ที่พึ่งแห่งตน ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๒)

ที่พึ่งแห่งตน

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๒)

วันหนึ่ง พระมหาเถระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จได้สั่งพระให้มาอาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นให้ไปเฝ้าเพื่อที่จะสัมโมทนียกถา

โดยเฉพาะ โดยปราศจากพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง

พระมหาเถระผู้ปราชญ์เปรื่องถามพระอาจารย์มั่นเป็นประโยคแรกว่า

“ท่านอาจารย์มั่นชอบอยู่แต่ผู้เดียวในป่าในเขาไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดจนฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา

ท่านไปศึกษากับใครจึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำรับตำราพอ

ช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้ แต่ในบางครั้งบางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้เลย

ยิ่งท่านอาจารย์มั่นอยู่เฉพาะองค์เดียวในป่าในเขาเป็นส่วนมากตามที่ผมได้ทราบมา เวลาเกิดปัญหาทางธรรมะขึ้นมา

ท่านไปปรึกษาปรารถกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย”

พระอาจารย์มั่นได้กราบเรียนตอบด้วยความนอบน้อมคารวะว่า

“ขอประทานโอกาส เกล้ากระผมฟังธรรมและศึกษาธรรมอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีอิริยาบถว่าง นอกจากหลับไปเสีย

เท่านั้น พอตื่นขึ้นมาใจกับธรรมก็เข้าสัมผัสกันทันที ขึ้นชื่อว่าปัญหาแล้ว กระผมไม่มีเวลาที่หัวใจจะว่างอยู่เปล่า ๆ เลย

มีแต่การถกเถียงโต้ตอบกันอยู่ทำนองนั้น ปัญหาเก่าตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมา
การถอดถอนกิเลสก็เป็นไปในระยะเดียวกันกับปัญหาแต่ละข้อตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาก็เท่ากับรบกิเลสหน้าใหม่

ปัญหาทั้งใกล้ทั้งไกล ทั้งวงกว้างวงแคบ ทั้งวงในวงนอก ทั้งลึกทั้งตื้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ล้วนเกิดขึ้นและปะทะกัน

ที่หัวใจ ใจเป็นสถานที่รบกับข้าศึกทั้งมวลและเป็นที่ปลอดเปลื้องกิเลสทั้งปวง ในขณะที่ปัญหาแต่ละข้อตกไป ที่จะมี

เวลาไปคิดว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเราจะไปศึกษาปรารภกับใครนั้นกระผมมิได้สนใจคิดให้เสียเลา ยิ่งไปกว่าจะ

ตั้งท่าฆ่าฟันห้ำหั่นกับปัญหา ซึ่งเป็นฉากของกิเลสแฝงมาพร้อมให้สะบั้นหั่นแหลกกันลงไปเป็นทอด ๆ และถอดถอน

กิเลสออกได้เป็นพัก ๆ เท่านั้น จึงไม่วิตกกังวลกับหมู่คณะว่า จะมาช่วยแก้ไขปลดเปลืองกิเลสออกจากใจได้รวดเร็วยิ่ง

กว่าสติปัญญาที่ผลิตและฝึกซ้อมอยู่กับคนตลอดเวลา

คำว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตนนั้น กระผมได้ประจักษ์กับใจตนเองขณะปัญหาแต่ละข้อเกิดขึ้น

และสามารถแก้ไขกันลงได้ทันท่วงทีด้วยอุบายวิธีของสติปัญญาที่เกิดกับคนโดยเฉพาะ มิได้ไปเที่ยวคว้ามาจากตำรา

หรือคัมภีร์ใดในขณะนั้น แต่ธรรมคือสติปัญญาในหลักธรรมชาติ หากผุดออกรับออกรบและแก้ไขกันไปในตัวและ

ผ่านพ้นไปได้โดยลำดับไม่อับจน

แม้จะมีอยู่บ้างที่เป็นปัญหาลึกลับและสลับซับซ้อนที่จำต้องพิจารณากันอย่างละเอียดละออและกินเวลานานหน่อย แต่

ก็ไม่พ้นกำลังของสติปัญญาที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วไปได้ จำต้องทลายลงในเวลาหนึ่งจนได้

ด้วยเหตุดังที่ได้กราบเรียนมา กระผมจึงมิได้สนใจใฝ่ฝันในการอยู่กับหมู่คณะเพื่ออาศัยเวลาเกิดปัญหาจะได้ช่วยแก้ไข

แต่สนในใยดีต่อการอยู่คนเดียว ความเป็นผู้เดียวเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจ เป็นสิ่งที่พอใจแล้วสำหรับกระผมผู้มีวาสนาน้อย

แม้ถึงคราวเป็นคราวตายก็อยู่ง่ายตายสะดวก ไม่พะรุงพะรังห่วงหน้าห่วงหลัง สิ้นลมแล้วก็สิ้นเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ต้อง

ขอประทานโทษที่เรียนตามความโง่ของตนจนเกินไป ไม่มีความแยบคายแสดงออกพอเป็นที่น่าฟังบ้างเลย”

พระมหาเถระได้ฟังแล้วก็อนุโมทนาด้วยความเลื่อมใสในธรรมที่พระอาจารย์มั่นเล่าถวายเป็นอย่างยิ่งว่า
“ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้สามารถสมกับชอบอยู่ในป่าในเขาคนเดียวจริง ๆ ธรรมที่แสดงออกผมจะไปเที่ยวค้นดูใน

คัมภีร์ไม่มีวันเจอเลย เพราะธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดจากใจอันเป็นธรรมในหลักธรรมชาติต่างกันอยู่มาก แม้ธรรมใน

คัมภีร์ที่จารึกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ เพราะผู้จารึกเป็นคนจริงคือเป็นบริสุทธิ์เหมือนพระ

องค์ แต่พอตกมานาน ๆ ผู้จารึกต่อ ๆ มาอาจไม่เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริงเหมือนรุ่นแรก ธรรมจึงอาจมีทางลดคุณภาพ

ลงตามส่วนของผู้จารึกพาให้เป็นไป

?

ฉะนั้นธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดขึ้นจากใจอย่างสด ๆ ร้อน ๆ จึงน่าจะต่างกันแม้เป็นธรรมด้วยกัน ผมหายสงสัยในข้อที่

ถามท่านด้วยความโง่ของตนแล้ว แต่ความโง่ชนิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ได้ดี เพราะถ้าไม่ถามแบบโง่ ๆ ก็จะไม่ได้ฟัง

อุบายแบบฉลาดแหลมคมจากท่าน

วันนี้ผมจึงเป็นทั้งฝ่ายขายความโง่และซื้อความฉลาด หรือจะเรียกว่า ถ่ายความโง่เขลาออกไป ไล่ความฉลาดเข้ามาก็

ไม่ผิด ผมยังสงสัยอยู่อีกเป็นบางข้อ คือที่ว่าพระสาวกท่านทูลลาพระศาสนาออกไปบำเพ็ญอยู่ในที่ต่าง ๆ เวลาเกิด

ปัญหาขึ้นมาก็กลับมาเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงช่วยชี้แจงปัญหานั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจ แล้วจึงทูลลาออกไป

บำเพ็ญเพียรตามอัธยาศัยนั้น เป็นปัญหาประเภทใด พระสาวกจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ต้องมาทูลถามให้

พระองค์ทรงช่วยชี้แจงแก้ไข”

?

พระอาจารย์มั่นกราบเรียนว่า

“เมื่อมีผู้ช่วยให้เกิดผลรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลานาน นิสัยคนเราที่ชอบหวังพึ่งผู้อื่นย่อมจะต้องดำเนินตามทางลัด

ด้วยความแน่ใจว่า ต้องดีกว่าตัวเองพยายามไปโดยลำพัง นอกจากทางไกลไปมาลำบากจริง ๆ ก็จำต้องตะเกียกตะกาย

ไปด้วยกำลังสติปัญญาของตน แม้จะช้าบ้างก็ทนเอา เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้เห็นโดยตลอดทั่วถึงทรงแก้ปัญหาข้อ

ข้องใจ ย่อมทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งชัดและได้ผล

?

ดังนั้นบรรดาสาวกที่มีปัญหาข้องใจจึงต้องมาทูลถามให้ทรงพระเมตตาแก้ไขเพื่อผ่านไปได้อย่างรวดเร็วสมปรารถนา

แม้กระผมเองถ้าพระองค์ยังพระชนม์อยู่และอยู่ในฐานะจะพอไปเฝ้าได้ก็ต้องไป เพื่อทูลถามปัญหาให้สมใจที่หิวกระหาย

มานาน ไม่ต้องมาถูไถคลืบคลานให้ลำบากเสียเวลาดังที่เป็นมา เพราะการวินิจฉัยโดยลำพังตัวเองเป็นการยากลำบาก

มาก แต่ต้องทำเพราะไม่มีที่พึ่ง นอกจากตัวเองเป็นที่พึ่งของตัวเองดังที่กราบเรียนแล้ว

ความมีครูอาจารย์สั่งสอนโดยถูกต้องแม่นยำคอยให้อุบาย ทำให้ผู้ปฏิบัติตามดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและถึงเร็ว ผิด

กับการดำเนินไปแบบเดาสุ่มโดยลำพังตนเองอยู่มาก ทั้งนี้กระผมเห็นโทษในตัวกระผมเอง แต่ก็จำเป็นเพราะไม่มี

อาจารย์คอยให้อุบายสั่งสอนในสมัยนั้น ทำไปแบบต้นเตาล้มลุกคลุกคลานผิดมากกว่าถูก

?

แต่สำคัญที่ความหมายมั่นปั้นมือเป็นเจตนาที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก ไม่ยอมลดละล่าถอยจึงพอมีทางทำให้สิ่งที่เคย

ขรุขระมาโดยลำดับ ค่อย ๆ กลับกลายคลายตัวออกทีละเล็กละน้อยพอให้ความราบรื่นชื่นใจ ได้มีโอกาสคลืบคลาน

และเดินได้เป็นลำดับมา พอได้ลืมตามองโลกดูธรรมได้เต็มตาเต็มใจดังที่กราบเรียนให้ทราบแล้ว”

พระมหาเถระพอใจในคำตอบของพระอาจารย์มั่นมาก วันนั้นได้ สัมโนทนียกถากันอยู่เป็นเวลานาน แต่ละล้วนเป็น

ข้ออรรถข้อธรรมภาคปฏิบัติชั้นสูงตลอดถึงเรื่องอภิญญา 6 อันเป็นความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา

?
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3122:2011-09-20-07-17-11&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .