คำคมธรรมะสอนใจ พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

คำคมธรรมะสอนใจ พระพุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ (พุทธทาส อินทปัญโญ) มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช ท่านถูกปลูกฝั่งเรื่องธรรมะมาตั้งแต่สมัยเด็ก ด้วยพ่อแม่ของท่านสนใจในเรื่องของธรรมะอย่างลึกซึ้ง ครั้งเมื่ออายุท่านได้ 20 ปีก็ได้ออกบวชตามเจตนารมณ์ของพ่อและแม่ตามความเชื่อของคนไทยที่ต้องให้ลูกบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่ ท่านจึงได้ออกบวชที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านบอกเสมอว่า “ธรรมะ” นั้น คือหน้าที่…ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลมหายใจ เข้าออก ผลงานของท่านที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้ให้แก่พระพุทธศาสนานั้นมีมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ท่านจะเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก…

” ธรรมะมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างขึ้น ไม่ต้องวิ่งหา
เพียงแต่ทำให้ปรากฏแก่จิต ที่อบรมอยู่แล้วอย่างถูกต้อง
เดี๋ยวนี้มัวสร้างมัวหา เลยไม่พบทั้งที่มีอยู่แล้ว ”
สิ่งที่สมบูรณ์แล้วโดยแท้ มันก็มีความบกพร่องอยู่ สิ่งที่บกพร่องอยู่ แท้จริงมันก็สมบูรณ์ดีอยู่แล้ว
“พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องฤทธิ์ทางจิตใจ
แต่ทรงขยะแขยงที่จะแสดงฤทธิ์ในทางจิตใจชนิดนั้น เพราะเป็นมายาเท่านั้นเอง”
โลกนี้เป็นโรงละครอันแปลกประหลาด
ที่ตัวละครมีสิทธิ์แสดงบทบาทได้ตามใจตัว.
ในโบสถ์หรือพระพุทธรูปยิ่งสำคัญหรือศักดิ์สิทธิ์เท่าใด
ก็ยิ่งมีเซียมซีมากเท่านั้น.

อาจารย์ไก่…
ถ้าคนเราเปรียบกับไก่ดูให้ดี
มันไม่มีนอนไม่หลับไม่ปวดหัว
ไม่มีโรคประสาทประจำตัว
โรคจิตไม่มากลั้วกับไก่น้อย
คนในโลกกินยาเป็นตันๆ
พวกไก่มันไม่ต้องกินสักเท่าก้อย
หลับสนิทจิตสบายร้อยทั้งร้อย
รู้สึกน้อยแห่งน้ำใจอายไก่เอย
ได้เป็นคนหรือจึงได้นอนไม่หลับ
ควรจะนับว่าเป็นบาปหรือบุญเหวย
มีธรรมะกันเสียนะอย่าละเลย
อยู่เสบยไม่ละอายแก่ไก่มันฯ
สวรรค์ที่แท้จริง (ในโลกนี้) กับสวรรค์ในความฝัน (ในโลกหน้า)
นั้นมันเป็นคนละอย่าง เลือกเอาให้ดีๆ.
เพียงแต่คิดจะเป็นคนดีนั้นยังไม่พอ
ต้องพยายามเป็นคนดีให้ได้ด้วย จึงจะพอ.
” ได้เห็นก็จงเห็นให้ลึก ได้นึกก็จงนึกให้กว้าง
ได้ง้างก็ง้างให้ยาว ฯลฯ มันจึงจะถูกต้อง. ”
การปิดทองหลังพระ ได้บุญที่บริสุทธิ์แท้จริง
ยิ่งกว่าปิดทองหน้าพระ และต่อหน้าคน
” ความโศกเศร้า มิได้ทำให้ใครได้รับประโยชน์อะไร
นอกจากทำให้ศัตรูของเขาดีใจ ”
“ ธรรมะมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างขึ้น ไม่ต้องวิ่งหา
เพียงแต่ทำให้ปรากฏแก่จิตที่อบรมแล้วอย่างถูกต้อง
เดี๋ยวนี้ มัวสร้าง มัวหา เลยไม่พบทั้งที่มีอยู่แล้ว ”
“ถ้าต้อนรับความไม่สำเร็จ อย่างถูกต้อง
มันจะมอบความรู้ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
ถึงที่สุดในกาลข้างหน้า จนกลายเป็นผู้ทำอะไร สำเร็จไปหมด…”
ชีวิตอยู่โดยต้องไม่รู้สึกว่า
เราดี เด่น ดัง อะไรเลย
ผู้มีประโยชน์ที่สุดคนหนึ่ง
นั้นแหละถูกต้องและเป็นสุขแท้
ทำกับฉัน เหมือนกับฉัน นั้นยังอยู่
อยู่เป็นคู่ กันชั่วฟ้า ดินสลาย
ทำกับฉัน อย่างกับฉัน นั้นไม่ตาย
ท่านทั้งหลาย ก็อยู่กัน นิรันดร
ไม่มีรักใด ยิ่งใหญ่ เท่ารักของพ่อแม่
ไม่มีพระคุณใด ยิ่งใหญ่ เท่าพระคุณของพ่อแม่
ความกตัญญู เป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งใดๆ
…เป็นพระป่า สงบกว่า เป็นพระเมือง
ไม่มีเรื่อง แบกพรรค แบกศักดิ์ศรี
ไม่ต้องสวม หน้ากาก ผู้มากดี
มันเกิดฟรี ขึ้นมาเอง เก่งในตัวฯ
จะนั่งนอน ยืนเดิน ไม่เขินขัด
ไม่มีใคร คอยวัด ว่าดีชั่ว
ไม่มีเรื่อง ยั่วเย้า ให้เมามัว
จึงเย็นตัว เย็นใจ ไม่ขึ้นลง ฯ
…..โลกเรานี้ ที่แท้ คือโรงละคร
ไม่ต้องสอน แสดงถูก ทุกวิถี
ออกโรงกัน จริงจัง ทั้งตาปี
ตามท่วงที อวิชชา จะลากคอ
…..โลกนี้คือ กรงไก่ เขาใส่ไว้
จะนำไป แล่เนื้อ ไม่เหลือหลอ
จิกกันเอง ในกรง ได้ลงคอ
เฝ้าตั้งข้อ รบกัน ฉันนึกกลัว เอยฯ
….กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด
กำลังเกิด ภัยร้าย อันใหญ่หลวง
แก่สัตว์โลก ทั่วถิ่น จักรวาลปวง
น่าเป็นห่วง ความพินาศ ฉกาจเกิน
….กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด!
ในโลกเกิด กลียุค อย่างฉุกเฉิน
หลงวัตถุ บ้าคลั่ง เกินบังเอิญ
มัวเพลิดเพลิน สิ่งกาลี มีกำลัง
….กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด!
ความเลวร้าย ลามเตลิด จวนหมดหวัง
รีบกลับมา ทันเวลา พาพลัง
มายับยั้ง โลกไว้ ให้ทันกาล ฯ
การเวียนเทียน
คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถานสำคัญ เช่น อุโบสถวิหาร หรือพระพุทธรูปเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญ
โดยใช้เทียนธูปและดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชา ถือไว้ในมือแล้วเดินเวียน 3 รอบ ขณะที่เดินรอบนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบท”อิติปิโส” ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ
ความเจริญที่เต็มไปด้วย แสง – สี – เสียง นั้นมีไว้สำหรับ
ให้ผีหัวเราะเยาะคน ว่า ดีแต่ทำ สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำ ก็ได้
แล้วสร้าง ปัญหายุ่งยาก ทางเศรษฐกิจ และศีลธรรม ให้แก่ตัวเอง จนเป็น โรคประสาท และ มีอาชญากรรมกันเต็มบ้านเต็มเมืองแล้ว
….ความสุข….
ความเอ๋ย ความสุข
ใครๆทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
“แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา”
แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ
ถ้าเราเผา ตัวตัณหา ก็น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็”สุก” หรือเกรียมได้
เขาว่าสุข สุขเน้อ! อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอยฯ
“โลกมีคนเพิ่มมากขึ้นเหลือประมาณ ยิ่งไม่มีศีลธรรม หรือศีลธรรมยังเท่าเดิม ไม่พอจะควบคุมคน…ถึงที่สุด ก็คือ เมืองนรก”
อันความอยาก จะระงับ ดับลงได้
นั้นมิใช่ เพราะเรา ตามสนอง
สิ่งที่อยาก ให้ทัน ดั่งมันปอง
แต่เพราะต้อง ฆ่ามัน ให้บรรลัย ,
ให้ปัญญา บงการ แทนร่านอยาก
ความร้อนไม่ มีมาก อย่าสงสัย
ทั้งอาจผลิต กิจการ งานใด ๆ
ให้ล่วงไป ด้วยดี มีสุขเย็น ๆ
พ่อนั่นแหละ คือ ไพรี แม่นั่นแหละ คือ ศัตรู
ถ้าเลี้ยงลูกไม่ถูกทาง…
การกระทำของตนเอง ก็ยังมิได้ถูกใจตนเองเสมอไป
นับประสาอะไร จากการกระทำของผู้อื่น
“การกีฬาที่แท้จริง เป็นการแข่งขันเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว รู้จักให้อภัย รู้จักยอมเป็นฝ่ายเสียเปรียบแพ้เป็น ไม่ละเมิดกติกาทั้งผู้เล่นและผู้ชม”
วันเวลา ที่ท่านสามารถทำหน้าที่ได้ดีที่สุดนั่นแหละ คือ ฤกษ์ดี ยามดี สำหรับท่าน อย่าไปดูหมอให้เสียเวลา…
“โชคร้ายไม่ได้มาจาก เทวดาผีสางอะไรที่ไหน
แต่มาจาก ความประมาท ไม่รอบคอบของบุคคลนั้นๆ เอง”
เราล่วงเกินใครก็หวังให้เขาให้อภัย
ครั้นใครล่วงเกินเรา เราก็ลืมเรื่องการให้อภัย
เพื่อนทั่วไป ไม่เห็นคุณร้องไห้
เพื่อนแท้ มีหัวไหล่ไว้คอยซับน้ำตาให้
เพื่อนทั่วไป ถือขวดไวน์ติดมือมางานปาร์ตี้ของคุณ
เพื่อนแท้ จะมาแต่หัววันเพื่อช่วยเตรียมงาน
เพื่อนทั่วไป คาดหวังให้คุณเคียงข้างเขาเสมอ
เพื่อนแท้ คาดหวังที่จะอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป
เพื่อนทั่วไป เข้าหาผลประโยชน์ ที่ได้รับจากเรา
คนเราทุกวันนี้ดิ้นรนไขว่คว้าหาสิ่งที่ไม่มี และสุดท้ายทุกคนก็จะได้ในสิ่งเดียวกัน คือ ไม่ได้อะไร
เหตุผลของคน ๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่ของคน อีกคนหนึ่ง
ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้ได้เลยว่า ข้างหน้าเป็นอย่างไร
อันตรายที่สุดคือ การคาดหวัง
เริ่มต้นดีแล้ว ลงท้ายก็ต้องดีด้วย
อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่
รัตนาวลี !!
(๒๙) ตัวตนของบุคคลเกิดขึ้นมาจากความยึดมั่นว่า ” นี้ตัวกู (อหังการ) ” และผูกพันธ์อยู่กับความรู้สึกว่า ” นี้ของกู (มมังการ) ” นี้เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ .
(๓๐) เมื่อกล่าวโดยความจริงสูงสุด (ปรมัตถสัจจะ) ความยึดถือว่า ” ตัวกูมีอยู่ ” และ ” มีบางสิ่งเป็นของกู” เป็นเพียงความยึดถือที่ผิดไปจากความจริง เพราะทุกสิ่งไม่เป็นของใคร และไม่มีใครเป็นเจ้าของ .
(๓๕) ตราบใดที่ยังมีความยึดมั่นในขันธ์ 5 ตราบนั้นก็ยังมีอัตตาเป็นผู้สร้างกรรม เมื่อมีผู้สร้างกรรม ก็ย่อมมีกรรมและผลแห่งกรรม ผลแห่งกรรมนั่นเอง ย่อมสะท้อนกลับเป็นผลดี – ชั่ว ต่อผู้สร้างกรรม
(ท่านนาคารชุน)
จิตประภัสสร – จิตเดิมแท้ – พุทธะภาวะ !!
– จิตประภัสสร หมายถึง จิตเดิมแท้ที่ยังว่างอยู่ ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง ยังไม่ถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส ไม่ถูกหุ้มห่อด้วยผลของกิเลส คือความดี ความชั่ว เป็นต้น เหมือนอย่างเพชร มันมีรัศมีในตัวมันเอง มันเรืองแสงของมันได้ เหมือนอย่างจิตเดิมแท้ประภัสสร แต่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ มันจึงเปลี่ยนแปลงได้ มันจึงต้องมีการอบรมจนเป็นประภัสสรที่ถาวร ชนิดที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้ ”
– สิ่งที่เรารียกว่าจิตเดิมแท้ ที่เป็นตัวเดียวกันกับปัญญา เราหมายถึงจิตที่ว่างจากการยึดถือมั่น ”
– พุทธทาสภิกขุ
———————————
จิตหนึ่งนี้เท่านั้น เป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น จึงได้แสงหา พุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้น นั่นเอง ทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธะ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้เขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงมันได้เลย เขาไม่รู้ว่า “ ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น ” พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้ ก็คือ พุทธะ นั่นเอง
– – ฮวงโป
หลักธรรม คือ จิต !!
การสร้างสมความดีและความชั่ว ทั้งสองอย่างนี้ เนื่องมาจาก “ ความยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรม ”. ผู้ที่ยึดมั่นในรูปธรรม ซึ่งทำความชั่วจะต้องทนรับการเกิดแล้วเกิดอีก ด้วยประการต่างๆ อย่างไม่จำเป็น.
ส่วนผู้ที่ยึดมั่นในรูปธรรม ซึ่งทำความดี ก็ทำตัวเองให้ตกลงไปเป็นทาสของความพยายาม(ทำดี) มันเกิดจากความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ขาดแคลนอยู่เสมอโดยเท่าเทียมกัน อย่างไม่มีที่มุ่งหมาย. ในทั้งสองกรณีนั้นมันจะเป็นการดีเสียกว่า ถ้าหากว่าเขาจะทำให้เกิดความเห็นแจ้งในตนเองอย่างฉับพลัน และในการที่จะยึด หลักธรรม อันเป็นหลักมูลฐานของสัตว์ทั้งหลาย ดังที่กล่าวแล้ว.
หลักธรรมที่กล่าวนี้ ก็คือ “ จิต ” ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย, และ “ จิต นี่แหละ คือ หลักธรรม ” ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่มีจิต.
“จิต นั้น โดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่จิต, แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังมิใช่จิต. การที่กล่าวว่า จิต นั้นมิใช่จิต ดังนี้ ! นั่นแหละย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่ง ซึ่งมีอยู่จริง. ขอให้มีความเข้าใจอย่างนิ่งเงียบเถิด ! ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ”.
จงละ เลิก ความคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น. เมื่อนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติการณ์ของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิงแล้ว.
“ จิต นั้น คือ พุทธโยนิ ” อันบริสุทธิ์ ที่มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน. สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี, และพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี. ล้วนแต่เป็นของสิ่งหนึ่งแห่งธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย.
ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากความคิดผิดๆเท่านั้น และย่อมนำไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิด ไม่มีหยุด.
– คำสอนของฮวงโป
ธรรมะ ๙ ตา !!
๑. ความรู้จักสิ่งทั้งปวงว่า เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่ง และจะปรุงแต่งสิ่งอื่นๆอีกต่อไป ไม่มีที่สิ้นสุด นั้นคือ กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง หรือ ความไม่เที่ยง ซึ่งเรียกว่า “ อนิจจัง”.
๒. เพราะต้องเป็นไปกับด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจังหรือการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ก็เกิดอาการที่เป็นทุกข์ คือ ทนได้ยาก(ทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ตลอดไป) หรือ สิ่งที่เรียกว่า “ ทุกขัง ”.**
๓. เพราะไม่มีอะไรจะต้านทานได้ ต่อสิ่งที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์นี้จึงเรียกว่า ไม่มีตัวตน หรือ ไม่ใช่ตัวตน หรือ “อนัตตา”.
๔. การที่เป็นไปด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ เรียกว่า
“ธัมมัฏฐิตัตตา” คือ ความที่ต้องเป็นไปเช่นนี้ เป็นธรรมดา.
๕. ทั้งนี้เป็นเพราะ มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ นี้เรียกว่า “ธรรมนิยามตา”.
๖. อาการที่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างนี้ เรียกว่า
“ อิทัปปัจจยตา ” เป็นกฎธรรมชาติ มีอำนาจเสมอสิ่งที่เรียกว่า “ พระเป็นเจ้า”.
๗. การที่ไม่มีอะไรต้านทานกฏอิทัปปัจจยตานี้ได้ เรียกว่า “ สุญญตา” คือ ความว่างจากตัวตน หรือ ว่างจากความหมายแห่งตัวตน.
๘. ความจริงอันสูงสุดเรียกว่า “ตถตา” คือ ความเป็นเช่นนั้นเอง อย่างไม่ฟังเสียงใคร ใครจะฝืนให้เป็นไปตามใจตนมันก็กัดเอง คือ เป็นทุกข์.
๙. ในที่สุดก็เกิดความรู้สึกขั้นสุดท้ายว่า “ อตัมมยตา” ความที่ไม่อาจอาศัย หรือ เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้อีกต่อไป ซึ่งมีความหมายอย่างภาษาชาวบ้านพูดว่า “ กูไม่เอากะมึงอีกต่อไปแล้ว ” สลัดออกไปเสีย ก็คือ การบรรลุมรรคผล.
” ธัมมฐิติญาณ ” รู้ความจริงของสังขาร ก็สุดลงที่ อตัมมยตา นี้ ต่อจากนั้นก็เป็นกลุ่มนิพพานญาณ เป็นฝ่าย โลกุตตระ เริ่มต้นแห่งความเย็น หรือ ความหมายของนิพพาน.
(พุทธทาส ภิกขุ)
** คำว่า ” ทุกขัง ” ในที่นี้ เป็น ความทุกข์ใน ไตรลักษณ์ มิใช่ ” ทุกขัง ” ในอริยสัจ ๔
อย่าหลงของคู่ !!
เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งหลงยึดมั่นในคุณค่า อันเป็นที่ตั้งเเห่งอุปาทาน ตามสมมติสัจจะว่า ” ตัวตน ” แล้ว ดี-ชั่ว ปุญ-บาป กิเลส-โพธิ หรืออะไรที่บัญญัติกันว่าเป็นของคู่ตรงกันข้ามนั้น ก็จะเป็นของที่มีค่าเท่ากัน หรือเป็นสิ่่งเดียวกัน เช่น เป็นเพียงสังขารเสมอกัน เป็นสมมติบัญญัติที่เท่ากัน เป็นต้น.
(พุทธทาส ภิกขุ : มรดกที่ 74)
ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร !!
สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆกันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด ถ้าเมื่อเธอเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุกๆกรณีอยู่แล้ว (คือเป็นจิตหนึ่งหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว) เธอก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้น มิใช่หรือ เมื่อไรโอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไปและเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆก็แล้วกัน
ถ้าเธอยังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือ พุทธะก็ดี และถ้าเธอยังยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆอยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆอยู่ก็ดี และต่อพิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ อยู่ก็ดี แนวความคิดของเธอก็ยังผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกับทาง ทางโน้นเสียเลย
จิตหนึ่งนั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆเลย การใช้จิตจองเธอให้ปรุงความคิดฝันไปต่างๆนั้น เท่ากับเธอละทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองกับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก
พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะทางรูปธรรมหรือพุทธะของความยึดมั่นถือมั่นการปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะได้เป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าไปทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆเช่นนั้นไม่
เรื่องมันเพียงแต่ตื่น และลืมตาต่อจิตหนึ่งนี้เท่านั้นและไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือ พุทธะ ที่แท้จริงพุทธะและสัตว์โลกทั้งหลายคือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย
– คำสอนของฮวงโป : พุทธทาส ภิกขุ แปล .
อตัมมยตา !!
พุทธศาสนาบอกให้รู้ว่า ไม่มีความเป็นบวก ไม่มีความเป็นลบ, บวกก็เช่นนั้นเอง ลบก็เช่นนั้นเอง , อย่าไปแยกให้เป็นบวกเป็นลบ เป็นดีเป็นชั่ว เป็นบุญเป็นบาป เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศลอกุศลให้มันยุ่งเลย, เช่นนั้นเอง แล้วมันจะไม่ผูกพันกับสิ่งใด, มันก็จะถอนตัวออกได้จากทุกสิ่ง ที่เรียกว่า
“ อตัมมยตา ”
พุทธศาสนา ศาสนาแห่งความไม่มีของเป็นคู่ พระบาลีก็น่าฟัง ตอนนี้มีว่า “ เอกัง หิ สัจจัง น ทุติย มัตถิ เอกัง. เอกัง หิ สัจจัง. — ของจริงมีอย่างเดียว , น ทุติย มัตถิ. — ของจริงไม่มีสิ่งที่สอง, ถ้าเกิดแบ่งเป็นคู่ๆขึ้นมา ก็เป็นของเท็จ, เพราะว่า มันจะเป็นของคู่ขึ้นมาได้นี้ ต้องอาศัยอวิชชาแล้วตัณหาเป็นเครื่องแบ่งแยก.
พุทธศาสนามุ่งหมายจะสอนความจริงดั้งเดิม จึงไม่มีของเป็นคู่ จำไว้เป็นหัวข้อว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความอยู่เหนือของคู่ อยู่เหนือความเป็นคู่ คือ อยู่เหนือเสีย ไม่อยู่ตรงกลาง (เพราะ)เดี่ยวมันจะไปข้างนั้นข้างนี้ได้ จึงอยู่เหนือเสียโดยประการทั้งปวง.
(พุทธทาส ภิกขุ)
คำสอนของฮวงโป !!
๑๕. พุทธภาวะ
มันต้องเป็นไปในทางที่จะขจัดเสียซึ่งความโลภ ความโกรธ และความไม่รู้เท่านั้น ด้วยความสำรวม ความสงบ และปัญญา(ที่)ตั้งอยู่ ถ้าไม่มีความหลงผิดแล้ว การตรัสรู้จะมีขึ้นได้อย่างไร ? ด้วยเหตุนั้นท่านโพธิธรรม(ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ) จึงได้กล่าวว่า
“ พระพุทธเจ้าได้ประกาศธรรมทั้งปวง โดยมุ่งหวังที่จะขจัดเสียซึ่งลู่ทางทุกๆชนิด แห่งความคิดปรุงแต่ง ถ้าฉันปราศจากคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิงแล้ว ธรรมทั้งปวง จะมีประโยชน์อะไรแก่ฉันื ” ดังนี้ !
พวกเธอจงอย่าผูกพันตัวเองกับสิ่งใด นอกจากกับ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง สมมติว่าพวกเธอนำเพชรพลอยจำนวนนับไม่ถ้วน ไปประดับเข้าที่ความว่าง จงคิดดูเถิดว่า มันจะติดอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ?
ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น เป็นเหมือนกับความว่าง แม้เธอจะประดับมันด้วยบุญกุศลและปัญญา อันมากมายจนประมาณมิได้ ก็จงคิดดูเถิดว่า สิ่งเหล่านั้นจะติดอยู่ที่ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น ได้อย่างไร ? บุญและปัญญาชนิดนั้น ก็รังแต่จะปิดคลุมธรรมชาติดั้งเดิมของพุทธภาวะ เสีย และทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ ไปเสียเท่านั้น
ลัทธิที่มีชื่อว่า “ ลัทธิแสดงมูลฐานของจิต ” (อันปฏิบัติกันอยู่ในนิกายอื่นบางนิกาย) นั้น วางหลักคำสอนไว้ว่า สิ่งทุกสิ่งก่อตั้งขึ้นในจิตและว่าสิ่งเหล่านั้นแสดงตัวเองออกมาให้เห็นได้ ก็ต่อเมื่อได้สัมผัสกันกับอารมณ์ภายนอก และไม่แสดงอะไรเลย เมื่ออารมณ์ภายนอกไม่มี แต่นี่มันผิดอยู่ตรงที่ไปคิดว่า สิ่งแวดล้อมเหล่านั้น เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหาก นอกไปจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของสิ่งทั้งปวง
ลัทธิที่มีชื่อว่า “ลัทธิแว่นส่องสมาธิและปัญญา” (หมายถึงมหายานแต่มิใช่นิกายเซ็น ซึ่งเป็นอีกนิกายหนึ่ง)นั้น ต้องการประโยชน์ของการเห็นการฟัง การสัมผัส และความรู้ที่เกิดจากการกระทำอันเปล่านั้น ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่สภาวะแห่งความสงบ ซึ่งสลับกันอยู่กับความวุ่นวาย อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่สิ่งเหล่านี้เกี่ยวกันอยู่กับความคิดต่างๆ ซึ่งรากฐานอยู่ที่อารมณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมมัน มันเป็นการกระทำอย่างขอไปที และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรากเหง้าแห่งกุศลชั้นต่ำๆ รากเหง้าของกุศลชั้นนี้ สามารถเพียงแต่ทำให้คนเขาได้ยินได้ฟังเท่านั้น
ถ้าเธอต้องการเข้าถึงตัวความตรัสรู้ด้วยตัวเธอเองจริงๆ เธอต้องไม่ปล่อยตัวไปตามความคิดเช่นนั้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด เป็นประเภทเครื่องแวดล้อม ซึ่งเนื่องกันอยู่บนความมีอยู่ และความไม่มีอยู่ ถ้าเธอจะเพียงแต่ทำจิตให้ว่างจากความคิด เรื่องความมีอยู่และความไม่มีอยู่เกี่ยวกับทุกๆสิ่ง จริงๆ ได้เท่านั้น เธอก็จะลุถึงธรรมตัวจริงได้ .
(คำสอนของฮวงโป :: พุทธทาส ภิกขุ : แปล )
รัตนาวลี !!
(๒๙) ตัวตนของบุคคลเกิดขึ้นมาจากความยึดมั่นว่า ” นี้ตัวกู (อหังการ) ” และผูกพันธ์อยู่กับความรู้สึกว่า ” นี้ของกู (มมังการ) ” นี้เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ .
(๓๐) เมื่อกล่าวโดยความจริงสูงสุด (ปรมัตถสัจจะ) ความยึดถือว่า ” ตัวกูมีอยู่ ” และ ” มีบางสิ่งเป็นของกู” เป็นเพียงความยึดถือที่ผิดไปจากความจริง เพราะทุกสิ่งไม่เป็นของใคร และไม่มีใครเป็นเจ้าของ .
(๓๕) ตราบใดที่ยังมีความยึดมั่นในขันธ์ 5 ตราบนั้นก็ยังมีอัตตาเป็นผู้สร้างกรรม เมื่อมีผู้สร้างกรรม ก็ย่อมมีกรรมและผลแห่งกรรม ผลแห่งกรรมนั่นเอง ย่อมสะท้อนกลับเป็นผลดี – ชั่ว ต่อผู้สร้างกรรม
(ท่านนาคารชุน)
ปรัชญาปารมิตาหทัยสูตร !!
พระโพธสัตว์อวโลกิเตศวร(ผู้การุณย์)
ผู้(ประกอบ) อยู่ด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง
ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว
ขันธ์ห้านั้นว่างเปล่า,
(และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้นจึง) ได้ก้าวล่วงพ้นจาก
ความทุกข์ทั้งปวงได้
สารีบุตร !!
รูปไม่ต่างไปจากความว่าง ,
ความว่างก็ไม่ต่างไปจากรูป.
รูป คือ ความว่างนั่นเอง,
(และ) ความว่างก็คือรูปนั่นเอง.
เวทนา, สัญญา, ก็เป็นดังนี้ด้วย
สังขาร,และวิญญาณ
ก็เป็นดังนี้ด้วย
สารีบุตร !
ธรรมทั้งหลาย(สิ่งทั้งหลายทั้งปวง)
มีธรรมชาติแห่งความว่าง (กล่าวคือ)
พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,
พวกมันไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก,
ดังนั้น,ในความว่างจึงไม่มีรูป,
ไม่มีเวทนาหรือสัญญา,
ไม่มีสังขารหรือวิญญาณ;
ไม่มีตาหรือหู,ไม่มีจมูกหรือลิ้น,
ไม่มีกายหรือจิต(ใจ);
ไม่มีรูปหรือเสียง,ไม่มีกลิ่นหรือรส,
ไม่มีโผฏฐัพพะ(สิ่งที่มาถูกต้องกาย) หรือธรรมารมณ์(อารมณ์ที่เกิดกับใจ).
ไม่มีโลกแห่ง(ผัสสะคือ)อายตนะ(ภายใน)
(อายตนะภายนอก) หรือวิญญาณ.
ไม่มีอวิชชา,
และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา;
ไม่มี(กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่นำไปสู่)
ความแก่และความตาย,
และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่และความตาย.
ไม่มีความทุกข์
และไม่มีต้นเหตุ(แห่งความทุกข์);
ไม่มีความดับลง(แห่งความทุกข์)
และไม่มีมรรค(ทางให้ถึงซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์)
ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง,
เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องถูกลุถึง.
พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา,
จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา
(และ)เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจากอุปสรรค
สิ่งกีดกั้นนานา,
พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ;
(สามารถก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตาทั้งมวลได้,
(และ)ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
พระพุทธะในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคตทั้งหมด
ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา
ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้นนั้น,
(อันเป็นภาวะ)ที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่งกว่า
ดังนั้น,จงรู้ไว้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
เป็นมหามนตร์อันศักดิ์สิทธิ์,
เป็นมนตร์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่,
เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อื่นยิ่งกว่า,
เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อื่นใดมาเทียบได้,
ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง
นี่เป็นความจริง เป็นอิสระจากความเท็จ
ดังนั้น จงท่องบ่นมนตร์แห่งโลกุตรปัญญา
ดังนี้ (ว่า)
คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ .
(ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้นไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง !!
(ท่านนาคารชุน)
“ ฉันทำงานมากเหลือทน ” !!
ฉันทำงานมาก เหลือทน แต่สุขใจจน จักโลดจักเต้น เผ่นผยอง
ทั้งนี้เพราะจิต คิดปองเพียงว่า เราครองชีพอยู่ เพื่ออยู่ตามธรรม
ตามเหตุตามปัจจัยนำ อันเป็นตามกรรม สมส่ำไว้เอง* เพลงกาล
หากตายเหมือนได้ หยุดงาน หลับหนึ่ง รัตติกาล พักผ่อนหย่อนใจ ไว้ที
รุ่งขึ้นจับงาน ขมีขมันทันที สืบต่องานค้าง ปางบรรณ
วันใหม่คือ เกิดใหม่นั่นแหละ ช่างตรงกัน เท่ากับเกิดวัน ตายคืน
คลื่นวัฎฏะ* คือการปหัฎ* นานาวิบัติ เพื่อได้ สิ่งชอบปลอบใจ
ใครหวังสุขสรรค์ ปานใด นั่นแล้วแต่ใคร มองเห็นสุขได้ ด้วยตน. ฯ
ส่วนฉันมั่นหมาย ไม่ล้นไปกว่า ว่าตนเกิดมา เพียงเพื่อทำงาน
ตามเหตุ คือปัจจยาการ* เพื่อตนและท่าน รู้โลก ชนะโลก โศกสูญ
ธรรมชาติสร้างให้ สมบูรณ์กายใจ จำรูญ ขอบใจ
ธรรมชาติเหลือหลาย
แม้สร้าง เพื่อเกิดแก่ตาย แต่ก็สร้างให้ ฉันได้ สามารถแข็งขัน
ฟันฝ่าหน้าที่ ทุกอัน รุดหน้าตะบันเพื่อถึง ที่สุดก่อนใคร*
เมื่อเพื่อนพากัน หลับใหล ฉันขยันใหญ่ ดุจใคร ไล่ติดตามหลัง. ฯ
หน้าที่ชีวิต ติดคั่ง เปรียบเทียบก็ดั่ง หนี้สิน ยิ่งทับถมตน
กั้นหน้าปานว่า วัง(น้ำ)วน เมื่อไรจักพ้น พบถิ่น อิสระสุขสรรค์
จากนี่ ถึงที่นิพพาน เราต้องผ่านด่าน คืองาน ของชีพนั่งเอง
กฎนี้ แน่กว่าตาเล็ง ถึงใคร จะเก่งก็หลีก หลักนี้ ไม่ไหว.ฯ
เหตุนั้นการกิจ ชนิดใดอันจัก เป็นไป เพื่อประโยชน์ ตนท่านก็ตาม จงรีบฟันฝ่า
พยายาม ทำให้งดงาม หนี้ธรรมชาติเปลือง เปลื้องไป
กระทั่งความยึด แห่งใจ ในสรรพสิ่งไซร้ จักเบื่อจักหน่าย วายลง
ปัญญาพาให้ เห็นตรง หมดโลภโกรธหลง ก็หยุดวนวัง สังสารฎ์ *
เร็วเถิดเพื่อเรา อย่าช้า งานใดสบหน้า รีบฟันรีบฝ่า อย่าทิ้ง
งานมากตายเร็ว ก็จริง แต่มันก็กลิ้ง* ไปเพื่อ พักหยุดดุจกัน.ฯ
(พุทธทาส ภิกขุ)
*** ประหัฏ = ประหาร , วัฎฎะ = ความวนเวียน เวียนว่ายของชีวิต, ที่สุด = นิพพาน , ปัจจยาการ = การกระทำอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย , สังสารฎ์ = สังสารวัฎ , กลิ้ง = ความเป็นไป หรือ การดำเนินไปของชีวิต
(35) ตราบใดที่ยังมีความยึดมั่นในขันธ์ 5 ตราบนั้นก็ยังมีอัตตาเป็นผู้สร้างกรรม เมื่อมีผู้สร้างกรรม ก็ย่อมมีกรรมและผลแห่งกรรม ผลแห่งกรรมนั่นเอง ย่อมสะท้อนกลับเป็นผลดี – ชั่ว ต่อผู้สร้างกรรม
(ท่านนาคารชุน)
” เมื่อใดที่เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอัตตาแล้ว ภาพมายาแห่งอัตตาก็หายไป เมื่อไม่มีอัตตา ก็ไม่มีผู้สร้างกรรม และในที่สุดก็ไม่มีผลแห่งกรรมดี – ชั่ว ต่อไป. ”
(ท่านนาคารชุน)
(7) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตตากับจิต เป็นเหมือนความสัมพันธ์ระหว่างไฟกับเชื้อเพลิง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ไม่อาจแยกจากกันได้ การมีอยู่ของสิ่งหนึ่ง ย่อมก่อให้เกิดการปรากฎของอีกสิ่งหนึ่ง .
(ท่านนาคารชุน)
เมื่อจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งหลงยึดมั่นในคุณค่า อันเป็นที่ตั้งเเห่งอุปาทาน ตามสมมติสัจจะว่า ” ตัวตน ” แล้ว ดี-ชั่ว ปุญ-บาป กิเลส-โพธิ หรืออะไรที่บัญญัติกันว่าเป็นของคู่ตรงกันข้ามนั้น ก็จะเป็นของที่มีค่าเท่ากัน หรือเป็นสิ่่งเดียวกัน เช่น เป็นเพียงสังขารเสมอกัน เป็นสมมติบัญญัติที่เท่ากัน เป็นต้น.
(พุทธทาส ภิกขุ : มรดกที่ 74)
(32) เมื่อความเป็นจริงแห่งขันธ์ห้า ถูกค้นพบแล้ว ตัวอัตตาย่อมหายไป เมื่ออัตตาหายไป ใครเล่าจะเป็นผู้ปรุงแต่งขันธ์ห้า ที่ก่อให้เกิดการปรากฏขึ้นแห่งบุคคล และภาพมายาของบุคคล อัตตาจึงเป็นเพียงภาพเงาที่ปรากฏขึ้นในบุคคลเท่านั้น
(ท่านนาคารชุน)
เมื่อใดที่เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับอัตตาแล้ว ภาพมายาแห่งอัตตาก็หายไป เมื่อไม่มีอัตตา ก็ไม่มีผู้สร้างกรรม และในที่สุดก็ไม่มีผลแห่งกรรมดี – ชั่ว อีกต่อไป.
(ท่านนาคารชุน)
“การไม่กระทำบาปทั้งปวง การยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
การชำระจิตให้ขาวรอบ”
ให้นิสัย เปลี่ยนใหม่ จากก่อนเก่า
ไม่ซึมเศร้า สุขสง่า น่าสรรเสริญ
เป็นจิตกล้า สามารถ ไม่ขาดเกิน
ขอชวนเชิญ ชมธรรมรส งดกวีฯ
คำกลอนธรรมดีๆ จากท่านพุทธทาส
กรรมดี ดีกว่ามงคล
สืบสร้าง กุศล ดีกว่า นั่งเคล้า ของขลัง
พระเครื่อง ตะกรุด อุทกัง ปลุกเสก แสนฉมัง
คาดมั่ง แขวนมั่ง รังรุง
ขี้ขลาด หวาดกลัว หัวยุ่ง กิเลส เต็มพุง
มงคล อะไร ได้คุ้ม
อันธพาล ซื้อหา มาคุม เป็นเรื่อง อุทลุม
นอนตาย ก่ายเครื่อง รางกอง
ธรรมะ ต่างหาก เป็นของ เป็นเครื่อง คุ้มครอง
เพราะว่า เป็นพระ องค์จริง
มีธรรม ฤามี ใครยิง ไร้ธรรม ผีสิง
ไม่ยิง ก็ตาย เกินตาย
เหตุนั้น เราท่าน หญิงชาย เร่งขวน เร่งขวาย
หาธรรม มาเป็น มงคล
กระทั่ง บรรลุ มรรคผล หมดตัว หมดตน
พ้นจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย
บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ใจกาย อุปัทวะ ทั้งหลาย
ไม่พ้อง ไม่พาน สถานใด
เหนือโลก เหนือกรรม อำไพ กิเลสา- สวะไหน
ไม่อาจ ย่ำยี บีฑา ฯ
ความหมายของศีลธรรม
ศีลธรรม ความปกติ ตามธรรมชาติ
ศีลธรรม ตามอำนาจ คนจัดสรร
ศีลธรรม คือสุข-สะดวก บวกเข้ากัน
ศีลธรรม คนทุกวัน หันหัวลง
ศีลธรรม นำปุถุชน ดลอริยะ
ศีลธรรม รวมฐานะ ที่พึงประสงค์
ศีลธรรม ทุกทุกส่วน ล้วนเส้นตรง
ศีลธรรม นำสูงส่ง ตรงต่อญาณ
ศีลธรรม ปริยัติ จัดฐานราก
ศีลธรรม มีวิบาก ล้วนสุขศานติ์
ศีลธรรม สะอาด สว่าง สงบ บรรจบงาน
ศีลธรรม ส่วนอวสาน นิพพานแล ฯ
คำว่าบุญนั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่าเป็นเครื่องชำระชะล้างบาป
การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์
เต็มไปด้วยกามารมณ์เหล่านี้
มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า

ตายเมื่อตายย่อมกลายไปเป็นผี ตายไม่ดีได้เป็นที่ผีตายโหง
ตายทำไมเพียงให้เขาใส่โลง ตายโอ่โถงนั้นคือตายเสียก่อนตาย
ตายก่อนตายมิใช่กลายไปเป็นผี แต่กลายเป็นสิ่งที่ไม่สูญหาย
ที่แท้คือความตายที่ไม่ตาย มีความหมายไม่มีใครได้เกิดแล
คำพูดนี้ผันผวนชวนฉงน เหมือนเล่นลิ้นลาวนคนตอแหล
แต่เป็นความจริงอันไม่ผันแปร ใครคิดแก้อรรถได้ไม่ตายเอย

http://www.dookorea.com/

. . . . . . .