ข้อมูล ลึก ๆ การสร้างหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ข้อมูล ลึก ๆ การสร้างหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน บางคลาน จ.พิจิตร จัดเป็นพระรูปหล่อเกจิ องค์แรกสุด ได้รับความนิยมสูงสุดราคาแพงที่สุด

และประวัติการสร้างที่คลุมเครือสับสนมากที่สุด

ในวงการสากลและสื่อพระเครื่องส่วนกลาง ในระบอบพุทธพาณิชย์ ยอมรับกันว่า
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สร้างขึ้นเป็นชุดแรก ที่ บางคลาน พิจิตร
ตามด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยม ซึ่งยอมรับกันว่า สร้างโดยช่างบ้านช่างหล่อ และมาทำพิธีหล่อที่วัดชนะสงคราม (ข้อมูลจาก อ.เล็ก รูปหล่อ)
ต่อจากนั้น เป็นเหรียญจอบเล็ก สร้างโดย คุณยายวัณ ช่างฝีมือดีแห่งบ้านช่างหล่อ
ส่วนเหรียญจอบใหญ่ เป็นพระโรงงาน ที่โรงงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อเงิน สร้างมาให้วัด
เพื่อให้วัดออกเช่าบูชาชดเชยการขาดทุนจากการ จ้างหล่อรูปเหมือน ( บางคนเรียกว่ารุ่นล้างหนี้ )

ตามข้อมูล ยอมรับกันว่า พระเหล่านั้น มีการสร้างเพียงอย่างละครั้งเดียว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มีเสริมนอกจากนั้น สื่อวงการพระเครื่อง มักจะเน้นการเล่าประวัติอภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน โดยละเอียดยิบ มีคำพูดโต้ตอบราวกับหนังกำลังภายใน แต่ในทางตรงกันข้าม กลับละเลย ประวัติ การจัดสร้างพระเครื่อง ของ หลวงพ่อเงิน
นั่นอาจจะเป็นเพราะการหาข้อยุติ ไม่ได้ประการหนึ่ง และ จะยิ่งสร้างความสับสนคลุมเครือ ให้เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง
โดยความสนใจส่วนตัว ผมพยายาม ติดตามสืบเสาะ ประวัติการจัดสร้าง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน และโดยส่วนตัว เห็นว่า หนังสือของ อ. ชัยรัตน์ โมไนยพงศ์ แห่งค่ายลานโพธิ์ เป็นหนังสือที่ น่าเชื่อถือ น่าสนใจมากที่สุด เพราะท่านได้ใช้เวลาในการ สืบเสาะ ค้นคว้าประวัติและวัถุมงคลของหลวงพ่อเงิน ทั้งจากหลักฐานเอกสารและการลงพื้นที่) สัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ นับแต่พ.ศ. 2518-2526 จึงตีพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่ม และมีการปรับปรุงใหม่ ในปี 2535

ในหนังสือฉบับนี้ ทำให้ผมได้รับทราบว่า
พระหลวงพ่อเงิน”พิมพ์ขี้ตา” สร้างที่วัดท้ายน้ำ มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง และมีหลายพิมพ์ ”
พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา มีช่างจีน หน้าวัด ซึ่งมีแม่พิมพ์อยู่ ได้รับจ้างชาวบ้าน หล่อพระตามสั่ง นอกนากทองเหลืองแล้ว เนื้อหาก็แล้วแต่ออร์เดอร์ ( ไม่ได้บอกช่วงเวลา บอกเพียงว่า มีเรื่อเล่าสืบต่อกันมา )ผมจึงมีข้อสังเกตว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น การเล่นหาที่เป็นสากล จะมีการแยกแยะพิมพ์ทรง รุ่น ให้ถูกต้องได้อย่างไร
เพราะวงการพระสากล เพิ่งจะสนใจเล่นหาพระหลวงพ่อเงิน อย่างคืกคักในราคา 30 ปีที่ผ่านมา ( ราคา พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 ประมาณ 1,000 บาท อย่างสวยๆ มราคาประมาณ 2,000 บาท ข้อมูลจาก จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) หลังจากได้มีการสร้างแล้วประมาณ 60 ปี โดยเฉพาะพระที่ผ่านการใช้มาอย่างโชกโชน และพระเหล่านั้นก็เชื่อได้ว่า เป็นการ ยืมพิมพ์กันสร้างบ้าง ถอดพิมพ์จากพระองค์สวยๆมาสร้างบ้างหลวงพ่อเงินในความหมายกว้าง

ยิ่งได้มาอ่านบทความของ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ เรื่อง ประวัติ หลวงพ่อเงิน บางคลาน เทพเจ้าและเพชรน้ำเอก ของจังหวัดพิจิตร เก็บข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ ท่านพระครู พิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) เจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก หนึ่งในศิษย์ทีรัใช้หลวงพ่อเงินและเป็น ผู้สร้างพระหลวงพ่อเงิน ให้หลวงพ่อปลุกเสก ( ในหนังสือพระเครื่องกรุงสยาม ฉบับที่ 1 ปี2537 ของเสี่ยอุ๊ กรุงสยาม และตีพิมพ์ซ้ำใน ดัชนีพระ ฉบับที่ 5 ปี 2537 ก่อนยุคเสี่ย กอบชัย )ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น อาจารย์ปู่ แห่งวงการพระเครื่อง แล้ว ก็ยิ่ง ทำให้ได้รับทราบว่า พระหลวงพ่อเงิน ทุกพิมพ์ ทั้ง นิยม ขี้ตา จอบเล็ก จอบใหญ่ มีการจัดสร้าง กันหลายครั้งหลายคราว หลายวัด หลายกลุ่มบุคคล
และที่หนักกว่านั้น ก็คือ หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพแล้ว ชาวบ้าน( ช่างแม้น ช่างกรุ่น ชาวบ้านบางคลาน ) ได้มีการสร้างพระหลวงพ่องเงินกันเอง เพื่อสนองดีมานด์ ตั้งแต่ปี 2492 จนถึงปัจจุบัน พระหล่านี้ก็มีอายุปาเข้าไปเกือบ 60 ปี จนเล่นเป็นแท้ ในยระบบสากลกันไปมากแล้วการจัดสร้าง พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน ตามที่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ รายงานไว้มีดังนี้ ( อ้างข้อมูลจากท่านพระครู พิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) เจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก และ นายพริ้ง เข็มครุฑ ( บิดาเพื่อน จสอ.เอนก ) ชาววัดวังตะโก ร่วมยุคหลวงพ่อเงิน )
1. ทางวัดวังตะโก ได้จัดสร้าง พิมพ์ขี้ตา นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ ขึ้น เป็นชุดแรก
2. หลังจากพระหมด ในงานประจำปีวัดวังตะโก เดือน 11 ของทุกปี หลวงพ่อเงิน ให้จัดสร้าง พระหล่อทั้ง 4 ชนิด ขึ้นให้ประชาชนทำบุญ

3.ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงิน ได้จัดสร้างรูปหล่อไปจากกรุงเทพบ้าง นำช่างจากกรุงเทพไปหล่อที่วัดบ้าง บ้างก็ยืมแม่พิมพ์จากวัดไปให้ช่างที่กรุงเทพหล่อแล้วกลับมาให้หลวงพ่อปลุก เสก มีทั้งเนื้อทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สำริด เงิน ทองคำ แล้วแต่ฐานะ

4. พระวัดท้ายน้ำ 1
ซึ่งเป็นวัดที่หลวงพ่อเงินไปๆมาๆและมีพระรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงินสร้างขณะท่านมีชีวิต
และที่วัดนี้ โดย พระครู วัตฎสัมบัญ ( ฟุ้ง ) ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเงินก็ได้จัดสร้าง พระเครื่องรูปหล่อ ทั้ง 4 ชนิด เช่นเดียวกับวัดวังตะโก ให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก ( ต่อมาหลวงพ่อฟุ้งได้เป็นเขจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและเจ้าคณะอำเภอโพทะเล
5. พระวัดท้ายน้ำ 2
เมื่อหลวงพ่อเงิน จากวัดท้ายน้ำกลับมาอยู่ที่วัดวังตะโก และที่วัดท้ายน้ำ พระเครื่องหมด ทั้ง 4 ชนิด หลวงพ่อฟุ้ง จึงได้ให้ช่างหล่อขึ้นใหม่ทุกพิมพ์ ทั้งนิยม ขี้ตา จอบเล็ก จอบใหญ่ แล้วนำไปให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก และกลับมาแจกที่วัดท้ายน้ำ

6. พระหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ บางพิมพ์เหมือนกัน บางพิมพ์ไม่เหมือนกัน บางพิมพ์ขนาดต่างกัน เพราะมิได้สร้างในครางวเดียวกัน ( ผู้เขียนมิได้แสดงภาพประกอบ )

7. นอกจาก 2 วัด ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 5 วัดที่ได้สร้างพระรูปหล่อและพระอื่นๆให้หลวงพ่อเงิน ปลุกเสก ดังนี้

7.1 วัดหลวง หลวงพ่อหอม ได้สร้างพระ “เนื้อดิน ” ล้วนๆ พิมพ์ พิมพ์ นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์สังกัจจายน์
7.2 วัดขวาง สร้างเหนือโลหะ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์

7. 3 วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้าง เนื้อโลหะพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ และมีพระเนื้อดิน พิมพ์ นั่ง นอน ยืน

7.4 วัดบางมูลนาก พระครูพิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) (หมายเหตุ ผู้ให้ข้อมูลแก่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) กับหลวงพ่อพิธ (ก่อนอยู่วัดฆะมัง ท่านจำพรรษาอีกหลายวัด) สร้างพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา จอบใหญ่ จอบเล็ก

7.5 วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างให้ เจ๊กชัย หล่อ
และยังมีพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา เนื้อดินด้วย

ที่มา : http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=7&q_id=8193&PHPSESSID=8c66862fad6fae79a

http://siamamulet.blogspot.com/2008/08/blog-post.html

. . . . . . .