ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ สรุปมรรค ๘ จาก แนวปฏิบัติทางจิต เทศน์ ของ สมเด็จพระญาณสังวร

ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ สรุปมรรค ๘

จาก แนวปฏิบัติทางจิต

เทศน์ ของ สมเด็จพระญาณสังวร

วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕

(ทุกขสัจจะ)

การปฏิบัติอบรมทางปัญญานั้น โดยปริยาย คือ ทางอันหนึ่ง ก็คือ การพิจารณาในสัจจะทั้งสี่ อันเป็นหลักใหญ่ที่พระพุทธเจ้าได้

ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอนไว้ คือ ทุกขสัจจะ? สภาพที่แท้จริงคือทุกข์ เป็นต้น และในทุกขสัจจะนั้น ก็ให้พิจารณาไปตาม

พระพุทธาธิบายโดยลำดับก่อนว่า

ชา ติปิ ทุกฺขา? ความ เกิดเป็นทุกข์

ชรา ปิ ทุกฺขา? ความแก่ เป็นทุกข์

มรณ มฺปิ ทุกฺขํ? ความ ตายเป็นทุกข์

โสก ปริเทวทุกฺขโทมนสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา

ความไม่สบาย กาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์

อปฺปิ เยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข

ความ ประจวบกับสิ่งที่ ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

ปิ เยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข

ความ พลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์

ยมฺปิ จฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ

ปรารถนา สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมประสงค์ เป็นทุกข์

สงฺข ติ ตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺ ขนฺธา ทุกฺขา

กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ เป็นทุกข์ดังนี้

พระพุทธาธิบายนี้ ชี้ให้เห็นสัจจะคือความจริงของชีวิต ว่าจะต้องมี เกิด แก่ ตาย จะต้องประกอบด้วยความเกิด เป็นต้น จะต้องมี

ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก จะต้องมีความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักจะต้อง มีความปรารถนาไม่สมหวัง และทั้งหมดนี้ก็

รวมเข้าที่ขันธ์ เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ อันรวมเข้าเป็นกายและใจ อันรวมเข้าเป็นตัวชีวิตนี้เอง ให้รู้สัจจะ คือ ความจริงของชีวิต

ว่าเป็นไปอยู่อย่างนี้ เป็นทุกขสัจจะ สภาพที่แท้จริงคือ ทุกข์ ที่ควรพิจารณา ให้รู้ไว้เป็นประการแรก

(สมุทัย สัจจะ)

สมุทัย สัจจะ สัจจะคือสมุทัยนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสชี้เอาตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ดังที่ตรัสไว้ในนิเทศแห่งสมุทัย

สัจจะ ทั่ว ๆ ไปว่า ตัณหา ที่ให้เกิดใหม่? สหรคต คือ ไปกับนันทิและราคะ คือความเพลินและความติดใจยินดี มีความเพลิดเพลิน

ยินดียิ่ง ๆ ขึ้นไปในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่๑. กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่า

ปรารถนา น่าพอใจ

๒. ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในภพ คือ ความเป็นนั่น เป็นนี่ต่าง ๆ

๓. วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากในวิภพ คือ ความไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ต่าง ๆ หมายถึง ความอยากที่จะให้สิ่งที่ไม่ชอบ ภาวะ

ที่ไม่ชอบ สิ้นไปหมดไป หรือความต้องการที่จะทำลายสิ่งที่ไม่ชอบ ภาวะที่ไม่ชอบ? ในปฏิจจสมุปบาท อันแสดงธรรมที่อาศัยกัน

บังเกิดขึ้นอันเนื่องกันไปเป็นสาย ได้ยกอวิชชาความไม่รู้ในสัจจะเป็นข้อต้น โดยเป็นปัจจัยแห่งข้อต่าง ๆ มาจนถึงตัณหา และตัณหา

ก็เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานคือความยึด? อุปาทาน ก็เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติก็เป็นปัจจัยให้เกิดชราและ

มรณะ และโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ต่าง ๆ กองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมเกิดขึ้น สืบมาจากอวิชชา ดังนี้? เพราะ ฉะนั้น ตามนัยปฏิจจสมุปบาทนี้

ตัณหาจึงสืบเนื่องมาจากอวิชชา และเป็นปัจจัยสืบต่อไป อุปาทานคือความยึดถือ เมื่อยกเอาเฉพาะตัณหาและอุปาทาน ก็กล่าวสั้นว่า

ได้แก่ ความอยากยึด อยากอยู่ในสิ่งใดก็ยึดในสิ่งนั้น? อยาก เป็นตัณหา ยึดเป็นอุปาทาน เพราะฉะนั้น ทั้งสองนี้จึงเนื่องกันอย่าง

ใกล้ชิด แม้จะยกขึ้นกล่าวเพียงข้อเดียว ก็จะต้องมีอยู่ถึงสอง เหมือนอย่างยกตัณหาขึ้นกล่าวข้อเดียว ก็ต้องมีอุปาทานอยู่ด้วยหรือยก

อุปาทาน ขึ้นกล่าวข้อเดียว ก็หมายถึงว่ามีตัณหาอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น เพราะตัณหาอุปาทานดังกล่าวนี้เอง ขันธ์ทั้งห้าซึ่งเป็นทุกข์อยู่

ตามธรรมชาติธรรมดา โดยไม่มีใครเป็นทุกข์ ทุกข์เป็นทุกข์เอง?? แต่ เมื่อมีตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ ขันธ์ทั้งห้าจึงเป็นอุปาทาน

ขันธ์ขึ้น คือ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ เมื่อเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น จึงมี สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นขึ้น เพราะว่าเมื่อตัณหาอุปาทานเข้าไป

เกี่ยวข้องยึดถือ ขันธ์ทั้งห้านี้ก็เป็นเราขึ้น เป็นของเราขึ้น เป็นตัวตนของเราขึ้น?? เมื่อ มีเรา มีของเรา มีตัวตนของเรา จึงมีเรา มีของ

เรา มีตัวตนของเรา เกิดเป็นทุกข์ขึ้น เมื่อขันธ์เกิดก็เราเกิด ขันธ์แก่ก็เราแก่ ขันธ์ตายก็เราตาย เพราะมีตัณหาอุปาทานอยู่ในขันธ์ จึงมี

สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นทุกข์ขึ้น ทุกข์จึงบังเกิดขึ้นเต็มอัตรา?? ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็น

ทุกข์ ตายเป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไร รัญจวนใจ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็น

ที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก? ความ ปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ แต่ละอย่าง และเมื่อกล่าวโดยย่อ ก็ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง

ห้านี้แหละเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่รวมรับทุกข์ทั้งหมด?? เมื่อ มีตัณหาอุปาทานขึ้นในขันธ์ ขันธ์ก็เป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น จึงมีสัตว์

บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นทุกข์ ทุกข์บังเกิดขึ้นเต็มอัตรา ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแล้ว แต่เมื่อไม่มีตัณหาอุปาทานในขันธ์ ขันธ์ก็

ไม่เป็นอุปาทานขันธ์?? แต่เป็นขันธ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติธรรมดา ก็เป็นทุกข์อยู่ตามธรรมชาติธรรมดา แต่ไม่มีใครเป็นทุกข์ ทุกข์

เป็นทุกข์อยู่เอง ฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้ทุกขสัจจะ สัจจะคือทุกข์แล้ว จึงได้ทรงแสดงสมุทัยสัจจะ

สัจจะ คือสมุทัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาจับตัวเหตุของทุกข์ คือตัณหาอุปาทาน ที่บังเกิดขึ้นในขันธ์ และได้ตรัสชี้ให้เห็นลักษณะ

ของตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากของใจตั้งต้นแต่ โปโนพฺภวิกา เป็นเหตุให้ถือเอาภพใหม่ คือให้เกิดอีก?? นนฺทิ ราคสหคตา ไป

กับนันทิคือความเพลิน และราคะความติดใจยินดี ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี มีความเพลิดเพลินยินดียิ่งในอารมณ์นั้น ๆ และก็ได้ทรงจำแนก

ออกเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังที่ได้กล่าวแล้ว

(สรุปมรรค ๘ – สัมมาทิฐิ)

สัมมา ทิฐิ ความเห็นชอบ คือรู้เห็นในทุกข์ รู้เห็นในเหตุให้เกิดทุกข์ รู้เห็นในความดับทุกข์ รู้เห็นในทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

กำหนดดูทุกข์ที่ตนประสบทุกข์ ดูให้รู้ทุกข์ที่ประสบนั้นที่ตน ดูว่าเบญจขันธ์ซึ่งเกิดมาเป็นชาติ? คือ ความเกิด ก็ต้องแก่ ต้องตายเป็น

ธรรมดา และเมื่อมีความยึดถือในเบญจขันธ์นั้น ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อเบญจขันธ์นั้นเป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าว เราจึงเป็นทุกข์ไป

ด้วย ดูเราที่พลอยเป็นทุกข์ไปกับเบญจขันธ์นี้? และดู เหตุให้เกิดทุกข์ คือดูตัวตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากที่ใจ ว่าจิตใจที่ยังมี

ความดิ้นรนทะยานอยากอยู่เป็นตัวก่อให้เกิดทุกข์ต่าง ๆ ดูความสงบทุกข์ คือ ดูจิตใจที่ปลอดโปร่งจากความดิ้นรนทะยานอยาก

เพราะความดิ้นรนทะยานอยากนั้นสงบดังเช่นในบัดนี้?? เมื่อความดิ้นรน ทะยานอยากซึ่งเป็นตัวตัณหาในจิตสงบ ความทุกข์ทางใจก็

สงบ นี้ก็เป็นความดับทุกข์แม้ชั่วคราว ดูความดับทุกข์ในจิตแม้ชั่วคราวนี้ และดูตัวความรู้ความเห็นที่ทำให้เกิดความดิ้นรน

ทะยานอยากสงบ? คือความ ดิ้นรนทะยานอยากสงบลงได้ด้วยความรู้ความเห็นอันใด ก็ดูความรู้ความเห็นอันนั้น นี้ชื่อว่าดูธรรม เหตุ

ให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมรรคที่ตนเท่าที่มีอยู่เป็นไปอยู่

(สัมมาสังกัปปะ)

สัมมา สังกัปปะ ความดำริชอบ คือดำริออกจากกาม ดำริไม่พยาบาท มุ่งร้ายใคร ดำริไม่เบียดเบียน กำหนดดูความดำริที่จิต คือ

ความตรึกความตรอง หรือรวมเรียกว่าความคิดที่จิต ว่ามีความคิดอย่างไรเมื่อ มีความคิดอย่างไร เมื่อมีความคิดออกจากกาม คือมี

ความคิดกำหนดธรรม ที่ไม่ชักนำให้เกิดความรักใคร่ ปรารถนาพอใจในเรื่องรูป เรื่องเสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เรื่องโผฏฐัพพะ อันเป็น

ทางกาม ก็ให้รู้ว่ามีความดำริในทางออก? เมื่อ มีความคิดไม่มุ่งร้าย เมื่อมีความคิดไม่เบียดเบียน ก็ให้รู้ว่ามีความดำริไม่เบียดเบียน ดู

ความดำริ คือ ความตรึก ความตรอง หรือความคิดที่ใจให้รู้

(สัมมา วาจา)

สัมมา วาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเหลวไหล กำหนดดูที่จิตของตน

ว่า มีความคิดเป็นตัววิรัติคือ ตัวงดเว้นดังกล่าวหรือไม่เมื่อ กำหนดดู รู้เห็นว่ามีตัววิรัติคือ ความงดเว้นที่จะพูดดังกล่าว ก็ชื่อว่ามี

สัมมาวาจา เจรจาชอบ ไม่ต้องพูด นิ่งอยู่นั่นเอง ด้วยวิรัติ ก็ชื่อว่าเป็นสัมมาวาจาได้

(สัมมากัมมันตะ)

สัมมา กัมมันตะ การงานชอบ คืองดเว้นจากการฆ่า เว้นจากการลัก เว้นจากความประพฤติผิดประเพณีในทางกาม หรือเว้นจากอ

พรหมจริยกิจ ตรวจดูจิตของตนว่าวิรัติ คือยกเว้นที่จะประพฤติดังกล่าวหรือไม่เพื่อ พบว่ามีวิรัติอยู่ก็พึงทราบว่าเป็นสัมมากัมมันตะ การ

งานชอบ ไม่ต้องทำอะไร เมื่อมีวิรัติอยู่ดังนั้น ก็เป็นสัมมากัมมัตะได้

(สัมมาอาชีวะ)

สัมมา อาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด ดำเนินเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ กำหนดดูที่จิตว่า ชีวิตคือความ

เป็นอยู่ในบัดนี้ เป็นอยู่ด้วยปัจจัยเครื่องอาศัยสำหรับเลี้ยงชีวิตอันได้มาในทางที่ชอบ หรือในทางที่ผิด? เมื่อพบว่าชีวิตเป็นอยู่ด้วย

ปัจจัยเครื่องอาศัยที่ ได้มาในทางที่ชอบ ก็ชื่อว่ามีสัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบได้

(สัมมา วายามะ)

สัมมา วายามะ พยายามชอบ คือเพียรชอบ ได้แก่ พยายามป้องกัน ไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น พยายามละอกุศลที่เกิดแล้ว พยายามทำ

กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น พยายามทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้ดำรงอยู่และเพิ่มเติมให้มากขึ้น? ตรวจ ดู อกุศลและกุศลที่จิตของตน

เพราะว่าจิตนี้เป็นเบื้องต้นของอกุศล คือ บาปและกุศลคือบุญทั้งหมด และตรวจดูออกไป ตลอดถึงกรรม คืองานที่ทำอันเนื่องจากจิต

ว่าเป็นอย่างไร ถ้าพบว่าจิตคิดจะทำอกุศลหรือทำบาป ก็เพียรพยายามป้องกันจิตไม่ให้ทำ? ถ้า ตรวจดูพบว่าได้เคยประกอบอกุศล

หรือบาปมาแล้ว จิตก็ได้คิดที่ทำบาปมาแล้ว ก็เพียรพยายามละคือไม่ทำอีก การบาปนั้นบุคคลสามารถจะเว้นได้ คือ สามารถที่จะไม่

ทำได้ แต่ยังไม่ได้ทำ ก็เพียรพยายามทำ ความดีอันใดที่ทำแล้วก็เพียรพยายามรักษาความดีนั้นไว้? และตั้งใจส่ง เสริมเพื่อจะทำ

ความดีนั้นให้เจริญมากขึ้น ในเรื่องนี้ต้องอบรม ความพยายามคือ ความเพียร ความเพียรนั้น แปลว่าความเป็นผู้กล้า คือต้อง มีความ

กล้า ที่จะละความชั่ว และที่จะทำความดี ทำไมจึงต้องกล้า ก็เพราะมีอุปสรรคอุปสรรคนั้นเป็นตัวกิเลสในจิตของตนก็มี เป็นเหตุการณ์

แวดล้อม ภายนอกก็มี ที่เป็นตัวกิเลสในจิตของตนนั้น ก็คือตัวความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือความดิ้นรนปรารถนา ที่จะชักนำ

ให้เว้นจากความดี แต่ให้ทำความชั่ว?? เหตุการณ์ แวดล้อมภายนอกนั้น คือบุคคลหรือวัตถุ หรือเหตุต่าง ๆ ข้างนอกที่เป็นเครื่องชักนำ

จะให้ทำความชั่ว จะให้เว้นความดี เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าจิตมีความอ่อนแอไม่กล้าแข็ง ก็จะพ่ายแพ้ต่อกิเลสในใจของตนเอง? พ่ายแพ้

ต่อเหตุการณ์แวดล้อมภายนอก ดังกล่าวมาแล้ว จึงเว้นจากความดี และทำความชั่วต่าง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงต้องอบรมความเพียรคือ

ความเป็นผู้กล้า? หมายความว่าต้องมีจิตใจกล้า แข็งพอที่จะเอาชนะกิเลสในใจของตนเอง ที่จะเอาชนะเหตุการณ์แวดล้อมภายนอก

และละเว้นจากความชั่ว ทำความดีดังกล่าวแล้ว? ฉะนั้น จึงให้ตรวจดูจิตใจ ว่ามีความเพียร คือ ความกล้าที่จะเอาชนะกิเลสในใจ

ของตนเอง และที่จะเอาชนะเหตุการณ์ภายนอกดังกล่าวหรือไม่ และที่จะเอาชนะความเกียจคร้านเฉื่อยชาหรือไม่? ถ้ามี จิตใจกล้า

แข็ง ไม่อ่อนแอ ไม่เกียจคร้านเฉื่อยชา ก็จะสามารถละความชั่ว และทำความดีได้ ความชั่วอะไร ๆ ก็สามารถจะละได้ ความดีอะไร ๆ

ก็สามารถจะทำได้ ถ้าจิตใจมีความเข้มแข็ง และไม่เกียจคร้านเฉื่อยชา มีความขะมักเขม้นอย่างเพียงพอ?? เมื่อตรวจดูจิตใจของตน

พบว่ามีความกล้า แข็งมีความขะมักเขม้นที่จะละความชั่ว และที่จะทำความดี ก็พึงทราบว่า มีสัมมาวายามะ ความเพียรชอบ

(สัมมาสติ)

สัมมา สติ ระลึกชอบ ตรวจดูความระลึกที่เป็นตัวสติในจิตของตนว่า เป็นอย่างไร ระลึกไปในเรื่องอันใด ถ้าระลึกไปในเรื่องที่ทำให้

เกิดราคะ หรือ โลภะ โทสะ และโมหะ ก็ไม่ใช่สัมมาสติราคะ โลภะ โทสะ และโมหะ หรือจะเรียกให้สั้นเพียง ๒ ว่า ความยินดีและ

ความยินร้าย เป็นเรื่องที่สติคือความระลึกนำให้เกิดทั้งนั้น คือจิตจะต้องระลึกคือแล่นหวนไปจับเอาเรื่องที่น่ายินดี เข้ามาจึง

เกิดยินดี ไปจับเอาเรื่องที่น่ายินร้ายเข้ามาจึงเกิดความยินร้าย? สติจึงเป็นตัว นำกิเลสดังกล่าวเข้ามาเกิดที่จิต อันนี้ไม่ใช่สัมมาสติ

สัมมาสตินั้น ต้องเป็นตัวระลึก คือจิตจะต้องแล่นหวนไปในเรื่องที่จะนำให้เกิดความสงบยินดี ความสงบยินร้าย ที่จะทำจิตให้สงบ

ให้บริสุทธิ์สะอาด? คือ ระลึกตรวจดูกายทั้งหมดของตนเอง ดังที่แสดงมาโดยลำดับในหมวดกายานุปัสสนา ตรวจดูเวทนา คือความ

รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ดังแสดงในหมวดเวทนานุปัสสนา ตรวจดูจิตว่าจิตเป็นอย่างไร ดังแสดงใน

หมวดจิตตานุปัสสนา? ตรวจดู ธรรม ดังแสดงในหมวดธรรมานุปัสสนา ที่ได้กล่าวมาโดยลำดับ โดยย่อก็คือ ระลึกดูกายของตน ดู

เวทนาของตน ดูจิตของตน ดูธรรม คือเรื่องในจิตของตน ดูให้ปรากฏอยู่ในจิตว่า กายเป็นอย่างไร เวทนาเป็นอย่างไร จิตเป็นอย่างไร

เรื่องในจิตเป็นอย่างไรให้ ส่วนเหล่านี้มาเป็นตัวอารมณ์ คือเป็นเรื่องที่ปรากฏชัดอยู่ในจิต คือเมื่อกำหนดดูกายส่วนใด ก็ให้กายส่วน

นั้นมาปรากฏเป็นอารมณ์ชัดอยู่ในจิต เวทนาให้ปรากฏชัดเป็นอารมณ์อยู่ในจิต จิตเป็นอย่างไรก็ให้ปรากฏชัด ธรรมคือเรื่องในจิตก็ให้

ปรากฏชัดนี้ ชื่อว่าดูภายนอก คือดูให้ปรากฏโดยเป็นอารมณ์รวม ๆ คราวนี้ก็กำหนดดูให้ซึ้งเข้าไปว่า ส่วนเหล่านี้มีความเป็นอย่างไร

เป็นอันหนึ่งอันเดียวอยู่ หรือมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?? ก็จะรู้สึกตามความเป็นจริงชัดลงไปว่า ส่วนเหล่านี้ไม่ได้มีเป็นอันหนึ่ง

อันเดียว แต่ก็มีเกิดดับอยู่เสมอ กายก็มีเกิดดับอยู่เสมอ เวทนาก็เหมือนกัน จิตก็เหมือนกัน ธรรมคือเรื่องในจิตก็เหมือนกัน? ดูกาย

เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดและดับอยู่นี้ ชื่อว่าดูภายใน ก็คือดูจนความเกิดและดับของอาการเหล่านี้ปรากฏ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเกิดความ

ยินดียินร้ายในอะไร เพราะว่าเกิดดับอยู่เสมอ?? ยินดี ยินร้ายไม่ทัน ที่จะมีความยินดียินร้ายในสิ่งใดก็เพราะไม่เห็นเกิดดับ

ในสิ่งนั้น เห็นแต่สิ่งนั้นเกิดปรากฏอยู่เสมอไม่ดับ?? แต่ เมื่อกำหนดดู อยู่จนเห็นเกิดดับเสมอแล้ว ยินดียินร้ายก็ไม่เกิดหรือว่าเกิดไม่ทัน

สิ่งที่จะเป็นที่ตั้งของความยินดียินร้ายนั้นไม่พอที่จะตั้งอยู่ให้ยินดี ยินร้าย เพราะว่าเมื่อเกิดแล้วก็ดับ ความยินดียินร้ายก็ไม่มีที่ตั้งจะ

เกิด ตั้งอยู่ไม่ทัน?? กำหนดดูสติคือความรู้สึกว่าเป็นอย่างไร ถ้ารู้ว่าสติของตนกำหนดอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ซึ่งเป็น

สติปัฏฐาน เพียงสติรวมเข้ามาแม้ในวาระเริ่มแรก ไม่ซัดส่ายออกไปในอารมณ์ข้างนอก รวมเข้ามาในภายในก็ชื่อว่าเริ่มเป็นสัมมา

สติ?? และเมื่อสตินี้มีความ สมบูรณ์ว่องไวทันที่จะกำหนดจับ ความเกิด ความดับ ก็จะเป็นเครื่องห้ามความยินดียินร้ายได้ เป็นสติที่ตั้ง

มั่นที่สมบูรณ์ ที่ว่องไว กำหนดดูสติของตน เมื่อเห็นว่าเป็นสติที่มีลักษณะดังกล่าว ก็ชื่อว่าเป็นสัมมาสติ?

(สัมมาสมาธิ)

สัมมา สมาธิ ความตั้งใจชอบ ก็คือตั้งใจให้เป็นสมาธิ เมื่อกำหนดอารมณ์อันใด ก็กำหนดให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันนั้น ทั้งนี้ก็ด้วย

อาศัยสติ สตินั้นระลึกอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม? สมาธิ ก็ประมวลให้ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้า

สติระลึก แต่สมาธิไม่ตั้งมั่นแน่วแน่ ความรู้ความเห็นต่าง ๆ ก็เกิดไม่ได้ หรือว่าสมาธิจะตั้งมั่นแน่วแน่ แต่สติไม่ระลึก สมาธิก็ตั้งไม่ได้

ฉะนั้น จึงต้องมีควบคู่กันไป สติระลึกไปในเรื่องอันนั้น ตรวจดูสมาธิ คือความตั้งใจแน่วแน่ในจิตของตนว่าเป็นอย่างไร ถ้าจิตยังซัด

ส่ายไม่ตั้งมั่นแน่วแน่ สมาธิก็ยังไม่เกิด ต่อเมื่อตั้งจิตมั่นแน่วแน่ควบคู่กันไปกับสติ อย่างสูงเรียกว่า ฌาน จึงจะเป็นสัมมาสมาธิตั้งใจ

ชอบ

(สรุปมรรค ๘ ลงในไตรสิกขา)

มรรค มี องค์ ๘ นี้ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ รวมเป็น ศีล เมื่อสรุปลงให้สั้น

ก็คือตัวปกติจิต คือ จิตที่เป็นปกติเรียบร้อย ประกอบด้วยวิรัติ คือความงดเว้น ไม่คิดที่จะล่วงละเมิดในทางผิด?

ฉะนั้น ตรวจดูจิต เมื่อพบว่าจิตเป็นปกติ ก็ชื่อว่าเป็นศีล และก็เป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะอยู่ในตัว ไม่ต้องกำหนด

อะไรมาก กำหนดดูว่าจิตเป็นปกติหรือไม่เท่านั้น เมื่อจิตปกติก็เป็นศีลสัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ รวมเป็น สมาธิ คือตัว

ความสงบตั้งมั่นของจิต จึงตรวจดูจิตว่า สงบ ไม่ซัดส่าย ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่มุ่งจะตั้งใจแน่วแน่หรือไม่ เมื่อพบว่า จิตสงบ ตั้งมั่น ก็

เป็นสมาธิ ไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดูตัวสงบตั้งมั่นอันเดียวเท่านั้น? สัมมา ทิฐิ สัมมาสังกัปปะ รวมเป็น ปัญญา คือ ตัว

รู้ ตรวจดูจิตว่ามีตัวรู้ รู้ทันอาการเกิดดับดังกล่าวหรือไม่ เมื่อพบว่ามีตัวรู้ที่เมื่อรู้แล้วก็ปลงกิเลส ให้ตกไปได้ทันที หรือว่ารู้ก่อนที่กิเลส

จะเกิดขึ้น และถ้ารู้ไม่ทัน กิเลสเกิดขึ้นแล้วรู้ทีหลัง? แต่ว่าเมื่อรู้แล้วก็ปลงกิเลสให้ตกไปจาก ใจได้ทันที ตัวรู้เช่นนี้เป็นปัญญา ดูตัวรู้อัน

เดียวเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ?? เพราะ ฉะนั้น เมื่อสรุปลงแล้ว ก็กำหนดดูจิตที่เป็นปกติ กับจิตที่สงบตั้งมั่น กำหนด

ดูจิตที่รู้ เมื่อกระจายออกไป ก็กระจายออกไปเป็นองค์มรรคทั้งแปดตามอาการตามที่กล่าวมาแล้ว? เมื่อ สรุปลงดังนี้แล้ว ก็กำหนดดู

ว่า จิตที่เป็นปกติ กับจิตที่สงบตั้งมั่นกับจิตที่รู้นั้น ต้องเป็นอันเดียวกัน จิตที่เป็นปกติต้องเป็นจิตที่รู้ จิตที่รู้ก็จะต้องเป็นจิตที่เป็นปกติ

และสงบตั้งมั่น?? ฉะนั้น จึงรวมเป็นอันเดียวกัน ดังที่ท่านกล่าวว่า ศีลอันใด สมาธิก็อันนั้น ปัญญาก็อันนั้น สมาธิอันใด ศีลก็อันนั้น

ปัญญาก็อันนั้น ปัญญาอันใด ศีลก็อันนั้น สมาธิอันนั้นดังนี้ จึงจะเป็น มัคคสมังคี คือ ความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวของ

มรรค? มรรคมี องค์ ๘ ซึ่งสรุปลงก็เป็น ๓ และสรุปลงไปก็เป็น ๑ คือเป็นตัวมัคคสมังคี ดังกล่าวแล้ว เป็นธรรมปฏิบัติที่ทุก ๆ คนมีอยู่

น้อยบ้างมากบ้างควร ตรวจดูองค์มรรคที่ตน โดยตรงคือที่จิตของตน ตรวจดูโดยอาการพิสดารทั้ง ๘ ตรวจรวมเข้ามาก็เป็น ๓ ตรวจ

ดูเข้าก็เป็น ๑ เมื่อคอยตรวจดูอยู่เสมอ ก็จะมีความรู้ว่ามรรคของตนนั้นเป็นอย่างไร หย่อนหรือยิ่งอย่างไรและ เมื่อคอยตรวจดูให้รู้

มรรคของตนตามความเป็นจริงอยู่เสมอแล้ว ก็จะทำให้เป็น อัตตัญญู คือ รู้ตน และสามารถที่จะอบรมมรรคของตนให้เจริญขึ้นไป

โดยลำดับต่อ ไป นี้ ก็ขอให้ตั้งใจฟังพระสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/2251-2010-05-23-19-34-09

. . . . . . .