หัวข้อธรรมที่ต้องรู้และควรรู้ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หัวข้อธรรมที่ต้องรู้และควรรู้ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่จะพิจารณาต้องรู้ถ้าไม่รู้มันเดือดร้อนเสียหายควรจะรู้ก็ให้ได้รู้เรื่องที่จะพูดเป็นเรื่องที่ต้องรู้สำหรับพุทธบริษัทเราโดยเห็นว่าท่านทั้งหลายมาจากที่ไกลเหนื่อยมากหิวมากควรจะได้รับประโยชน์อะไรคุ้มค่ากันถ้าไม่อย่างนั้นก็เรียกใช้เวลาไม่คุ้มค่าใช้เงินไม่คุ้มค่าอาตมาผู้เป็นเจ้าของถิ่นก็ต้องรับผิดชอบด้วยเหมือนกันว่าท่านทั้งหลายมาต้องได้รับประโยชน์คุ้มค่า
เพราะฉะนั้นจึงเลือกเอาที่มีประโยชน์คุ้มค่ามาพูดกันเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นเพื่อนพุทธบริษัท จะภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาก็เรียกว่าเป็นเพื่อนพุทธบริษัทจะต้องมีสิ่งที่เข้าใจร่วมกันและประพฤติร่วมกันให้สำเร็จประโยชน์แพระพุทธศาสนาที่จะพูดไม่เรียกว่าเทศไม่เรียกว่าปรากถาเป็นเรื่องที่พูดกันภายในขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีๆให้สำเร็จประโยชน์เพราะนานๆจะได้มาพูดกันอย่างนี้เรื่องเทศธรรมเนียมปรากถาตามธรรมเนียมหลายร้อยครั้งพันครั้งแล้วก็ยังจับใจความไม่ได้เพราะว่าการพูดอย่างนั้นต้องพูดอย่างระเบียบประเพณีไม่ใช่พูดปรับทุกข์อย่างวันนี้วันจะพูดกันอย่างปรับทุกข์หมายความว่ารับผิดชอบร่วมกันในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าเราจะทำทุกอย่าง

เพื่อตั้งอยู่ได้เจริญอยู่ได้ของพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่คือสิ่งที่จะต้องรับรู้รับทราบ อย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่อนุโมทนาแน่แล้วจะสั่นพระเศียรด้วยหมอไม่ให้เทศอาตมาเปลี่ยนมาเป็นพูดดื้อหมอจะพูดเท่าที่รู้ศึกจะพูดได้ถ้าหมดแรงก็หยุดจะพูดได้กี่ข้อก็สุดแท้และมันก็เป็นเรื่องที่เขาเรียกว่าหญ้าปากข้องได้ยินกันมาแล้วแต่ไม่ได้สนใจกูจะพูดเป็นข้อๆท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีจะกำหนดไว้เป็นข้อๆข้อแรก จะพูดถึงเรื่องว่าเราทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นนี่มันก็สวดกันเป็นนกแก้วนกขุนทองกี่ครั้งมันก็ไม่สำเร็จประโยชน์แล้วก็ไม่ได้ผลด้วยเพราะมันไม่ใช่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเดี๋ยวนี้มันไม่ใช่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเราเป็นเพื่อนข้อแรกว่าเพื่อนทุกข์ข้อที่ 2 ว่าเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายนี่ขอแยกเป็น 2 ชนิดเป็นเพื่อนทางกายเราทุกคนเกิดแก่เจ็บตายทางกายด้วยกันทุกคนนี่เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทีนี้ทางจิตใจเราทุกคนก็มีกิเลสเมื่อมีกิเลสก็มีความทุกข์

นี่เราเป็นเพื่อนทุกข์ขอให้มองเห็นว่ามันเป็นอย่างนี้จริงมันเป็นเพื่อนกันอย่างนี้จริงๆให้ความรู้นี้รู้สึกลึกซึ้งไปในจิตใจเขาเรียกว่าใต้สำนึกคือไม่ต้องนึกแต่มันรู้สึกเต็มอยู่ในจิตใจ แล้วข้อนั้นมันจริงมันออกมาเป็นเรื่องจริงมันดีก็ดีจริงชั่วก็ชั่วจริงมันรู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนทุกข์ในทางใจและเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายในทางกาย

ถ้าอันนี้มันมีอยู่ในใต้สำนึกมันก็บังคับสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นไปอย่างถูกต้องจะปฏิบัติต่อคนที่เหนือกว่าเรา เสมอเรา ต่ำกว่าเราเราก็ปฏิบัติเหมือนเขาที่ว่าเป็นเพื่อนทุกข์คือเป็นเพื่อนทั้งทางกาย ทางใจมันยังไม่มากไม่น้อย ไม่สูงไม่ต่ำเป็นไปอย่างพอดีเมตตา กรุณาโดยอัตโนมัติถ้ารู้สึกว่าเป็นเพื่อนมันก็มีเมตตา เมตตาแปลว่าเป็นเพื่อนถ้าใต้สำนึกมันว่าเป็นเพื่อนการกระทำมันก็เป็นเพื่อนนี่ได้ชำระสะสางความข้อนี้ให้กระจ่างว่างก็พิจารณาว่าทั้งหมดคือเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทั้งหมดทั้งสิ้นที่มีชีวิตเพื่อนมนุษย์ก็ดี เพื่อนสัตว์เดรัชฉานก็ดีทีนี้มันก็เป็นเพื่อนรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์เหมือนกันอย่างนี้ลองคิดดูจิตใจจะเป็นอย่างไร จิตใจก็กว้างขวางครอบงำโลกแผ่เมตตาให้ทั้งหมดเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเพียงเท่านี้ก็เหลือหลายนี่เป็นข้อแรกช่วยจำไว้ให้ดีอย่าไปสวดอย่างนกแก้วนกขุนทองมันสำเร็จประโยชน์อย่างนี้มันยังรู้สึกแท้จริงว่าเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายแบ่งเป็นทางใจ และทางกายและไม่มีใครไม่ใช่เพื่อนเป็นเพื่อนแท้จริงตามธรรมชาติแต่รู้หรือไม่รู้มันอีกเรื่องถ้าจิตใจเป็นพุทธบริษัท��

http://www.vcharkarn.com/varticle/34711

. . . . . . .