ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาวต่อในหลวงและพระราชินี
ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาวต่อในหลวงและพระราชินี
เจ้าประคุณท่านพระอาจารย์ขาว อนาลโย หรือที่เป็นที่เคารพสักการะเลื่อมใสกันในนามสั้นๆ ว่า “หลวงปู่ขาว” แห่งวัดถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญญวาสี สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 อุปสมบทแล้วตั้งใจปฏิบัติฝ่ายสมถวิปัสสนาอย่างเดียว จนถึงเวลามรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริชนมายุ 96 พรรษา
ชีวประวัติของท่านระหว่างดำรงชนมายุ ถ้าใช้สำนวนของนักเขียนก็ต้องกล่าวว่า เป็นประวัติที่โลดโผน “มีรส” ที่สุดประวัติหนึ่งในทางโลก…ช่วงจังหวะที่ทำให้ชีวิตของท่านหักเหออกจากเพศฆราวาสออกบวชก็เป็นชีวิตที่ “มีรส” ส่วนในทางธรรม เมื่อท่านออกบวชแล้ว การปฏิบัติธรรมของท่านก็ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว พอใจออกท่องเที่ยวธุดงค์เพลิดเพลินอยู่แต่ในป่าลึก พักปฏิบัติบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ เฉพาะตามถ้ำตามเงื้อมหิน บนเขาสูงอันสงัดเงียบอยู่ตลอดเวลา เหมือนพญาช้างสารที่พอใจละโขลงบริวารออกท่องเที่ยวไปอย่างเดียวดายในไพรพฤกษ์ ทำให้ท่านได้เห็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งประสบพบเห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชีวประวัติของท่าน เป็นชีวิตที่โลดโผน “มีรส” เหลือจะพรรณนา ชวนให้เคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็น “เนติ” แบบอย่างให้บรรดาศิษย์ปรารถนาจะเจริญรอยตามท่านเป็นอย่างดี
ท่านผู้สนใจใคร่จะศึกษา อาจจะหาอ่านได้โดยละเอียดจากจากประวัติของท่าน ที่มีท่านผู้รู้ได้เขียนเอาไว้หลายสำนวน โดยเฉพาะที่ “เจ้าพระคุณท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน” เป็นผู้เขียน ทั้งในหนังสือ “ประวัติอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ” ของท่าน และในหนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น” หรืออีกสำนวนหนึ่งของนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ในหนังสือ “อนาลโยวาท”
ข้อเขียน “อนาลโยคุโณ” ชิ้นนี้ ไม่ใช่ประวัติของท่าน เป็นเพียงบันทึกของผู้ที่เป็นประหนึ่งผงธุลีชิ้นเล็กๆ ที่มีโอกาสถูกลมพัดพาให้ได้ปลิวไปใกล้ท่านบ้างเป็นบางขณะ ได้กราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าไป ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรมที่ท่านเมตตาสั่งสอน ก็ใคร่ที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้พบเห็นด้วยตาตนเองไว้เท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อเป็นดังหนึ่งดอกไม้ป่าช่อเล็กๆ ที่ขอกราบวางไว้แทบเท้า เป็นเครื่องสักการบูชาพระสงฆ์พระสาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติถูกต้องแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ทรงคุณควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี หากการเขียนครั้งนี้เป็นการผิดพลาด เป็นความเขลา เป็นความหลง ที่ทำให้กระทบกระเทือนเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ และบริสุทธิ์คุณของหลวงปู่ขาว อนาลโย แต่ประการใด แม้เพียงภัสมธุลี ผู้เขียนก็ใคร่ขอกราบขอขมา ขอประทานอภัย ไว้ ณ ที่นี้
ผู้เขียนเพิ่งมีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงเวลาเพียง 6-7 ปี หลังนี้เอง (เมื่อเขียนอนาลโยคุโณ พ.ศ.2527) แต่ยังโชคดีอยู่บ้าง ที่ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ไปวัดถ้ำกลองเพล นับครั้งไม่ถ้วน จึงมีโชคได้เห็นท่านแสดงคารวธรรม สนทนาธรรม แสดงธรรมสากัจฉาซึ่งกันและกันอย่างรื่นเริง ทำให้นึกถึงความในมงคลสูตรอยู่เสมอในบทหนึ่งที่ว่า
“สมาณานญฺจ ทสฺสนํ กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”
ความหมายคือ การเห็นสมณะทั้งหลาย 1 การเจรจาธรรมโดยกาล 1 ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด
ยิ้มของหลวงปู่สว่างนัก สว่างเจิดจ้าเข้าไปในหัวใจของผู้ที่พบเห็น ทำให้เรารู้สึกสงบ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก ยิ่งได้ฟังท่านเล่าหรือปรารภกันถึงเรื่องที่ท่านเคยธุดงค์ผ่านกันมาอย่างโชกโชน เรื่องเสือ เรื่องช้าง เรื่องงู เรื่องพญานาค เรื่องยักษ์ ฯลฯ เราก็จะพลอยตาโต ลืมวันเวลาที่จะต้องกราบลาท่านหมดสิ้น ไม่ประหลาดใจที่ทำไมเวลาเราจะกราบลาท่านแต่ละครั้ง จะต้องกราบเป็นครั้งที่ 4 ที่ 5 จึงจะตัดใจกราบลาท่านได้จริงๆ
การพูดถึงสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม อย่างเสือ ช้าง หรืองู ผู้อ่านคงจะผ่านเลยไป แต่เมื่อเอ่ยถึงพญานาค หรือจิตที่จะหยั่งรู้ใจคน บางท่านอาจจะหัวเราะ แต่ผู้เขียนก็ใคร่ขอร้องที่จะให้หยุดระลึกกันก่อน สิ่งที่เราไม่ได้เห็นเอง รู้เองนั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจริงในโลกนี้ เราจะเชื่อว่ามีจริงเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเท่านั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านที่ยังไม่เคยเห็นขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ หรือโลกพระจันทร์ ก็ยังไม่ควรเชื่อว่า มีขั้วโลกเหนือ มีขั้วโลกใต้ มีโลกพระจันทร์จริง (เพราะเรายังไม่เห็นด้วยตาของตนเอง)
ในการนำเสนอบทความคราวนี้ ได้นำคาถาบทที่หลวงปู่ได้มาจากในคราวที่ท่านถอดจิตไปเที่ยวเมืองพญานาคมารวมนำเสนอไว้ด้วย ท่านเล่าว่า เมืองพญานาคสวยงามมาก คราวนั้นท่านได้พบลูกสาวพญานาคด้วย นางได้มาคารวะ และกล่าวบทคาถาว่า
“อะหันนะเม นะเมนะวะ ชาตินะวะ” คาถานี้ไม่มีในบาลี ท่านกำหนดจิตถามก็ได้ความแปลว่า “ชาติใหม่ของเราไม่มี” อันหมายความว่า นางได้มากล่าวยืนยันถึงชาติใหม่ของหลวงปู่ไว้ว่า ท่านจะไม่มีชาติใหม่อีก ภพชาติของท่านสิ้นแล้ว (คาถานี้ป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย)
เรื่องการที่ท่านผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ทรงคุณธรรม จะสามารถถอดจิตไปเที่ยวสวรรค์ นาคพิภพ พรหมโลก ได้จริงหรือไม่ประการใดนั้น ใคร่ขอยกไว้ก่อน และถ้าจะวิจารณ์สงสัยต่อไป ผู้เขียนก็ใคร่ขอเล่าเหตุการณ์อันได้ประสบมา ไว้ ณ ที่นี้
เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร (ในปัจจุบัน)
วันนั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในงานทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำได้ว่าเป็นวันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2525
หลังจากทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกราบนมัสการสมเด็จพระสังฆราช และครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานในปะรำพิธี สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประทับบนพื้นสนามห่างออกมานอกปะรำพิธี โดยมีพวกเราเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ใกล้ๆ ระหว่างนั้นคณะผู้ตามเสด็จ และพวกเราต่างได้กลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นบุหงาร่ำโชยมาตลอดเวลา ปรารภกันและคิดว่าคงจะเป็นกลิ่นดอกไม้ในพวงมาลัยบุหงาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อรับเสด็จตอนเสด็จพระราชดำเนินมาถึง ขณะนั้นเราประหลาดใจกันแต่ว่า ผู้เชิญพวงมาลัยบุหงานั้นอยู่ไกลอีกฝากหนึ่งของสนาม กลิ่นหอมทำไมโชยมาไกลนัก…แต่เราก็ไม่ได้นึกอะไรมากนัก จนกระทั่งถึงเวลาจะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่มาเฝ้าเรียงรายในบริเวณวัด ขณะเสด็จผ่านพระเจดีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ผินพระพักตร์กลับมาหาผู้เขียน และรับสั่งว่า
“หลวงปู่ขาวก็มาด้วย”
พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ พระสุรเสียงนั้นดูเหมือนทรงปลื้มปีติจนทอดพระกรมาทรงจับมือผู้เขียนไว้ด้วย แม้รับพระราชกระแสนั้นไว้เหนือเกล้าแล้ว แต่ผู้เขียนก็ยังงงๆ อยู่ กราบบังคมทูลถามไปว่า “หลวงปู่มาหรือเพคะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นท่าน หลวงปู่ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเพคะ”
พระองค์ทรงรับสั่งว่า “ได้กลิ่นชานหมากของท่าน”
ผู้เขียนขนลุกซู่ นึกถึงกลิ่นหอมคล้ายบุหงาที่พวกเราคุยถึงกันอยู่ตลอดเวลาเมื่อสักครู่นี้ ชานหมากของหลวงปู่ขาวนั้น ในบรรดาหมู่ลูกศิษย์ทราบกันดีว่าหอมอย่างไร ผู้จัดถวายจะจัดใบเนียม พิมเสน ฯลฯ สารพัดใส่ไปในหมากด้วย กำลังกราบหลวงปู่เราจะได้กลิ่นหอมของเหล่านี้ ซึ่งคล้ายกับกลิ่นบุหงาโชยอยู่ตลอดเวลา และเราเองหลายต่อหลายครั้งที่หากนึกถึงหลวงปู่ นึกห่วงใย จะได้กลิ่นหอมของพิมเสน ใบเนียม ชานหมากของท่านอยู่เสมอๆ เลยกราบบังคมทูลว่า พวกเราและหลายท่านในคณะตามเสด็จ ก็ได้กลิ่นหอมกันทั้งนั้น รวมทั้งสมเด็จพระเทพฯ ก็ยังทรงออกพระโอษฐ์ด้วย เพียงแต่มิใดมีใครนึกเฉลียวใจเท่านั้น ว่าเป็นกลิ่นชานหมากของหลวงปู่
เช้าวันรุ่งขึ้นได้มีโอกาสนำหนังสือ “อาจาราภิวาท” ที่พวกเราจัดพิมพ์แจกในงานนั้น ไปกราบคารวะ ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ท่านก็ถามถึงเรื่องเสด็จพระราชดำเนินและงานเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนเล่าถวายเรื่องเหตุการณ์โดยทั่วไป และขณะกำลังคิดว่าควรจะเล่าถวายเรื่องที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มีรับสั่งเรื่องกลิ่นชานหมากของหลวงปู่ขาวดีไหมหนอ เดี๋ยวท่านพระอาจารย์ก็จะดุว่าเราสนใจแต่เรื่อง “ฤทธิ์” มากเกินไป สมควรเล่าหรือไม่หนอ…? กำลังคิดอยู่ขณะนั้นเอง ก็กลับได้กลิ่นหอมตลบขึ้นมา เป็นกลิ่นชานหมากอันหอมกรุ่นของหลวงปู่นั้นเอง
ผู้เขียนคิดว่า ท่าน (หลวงปู่ขาว) เห็นว่าสมควรแน่แล้ว จึงกล้าเล่าเรื่องถวาย รวมทั้งเรื่องกลิ่นหอมที่บังเกิดใหม่ในขณะกำลังคิดลังเลว่า สมควรจะเล่าถวาย ท่านพระอาจารย์เทสก์ ดีหรือไม่ดีด้วย ท่านพระอาจารย์แห่งวัดหินหมากเป้ง ยิ้มอย่างเมตตา และรับว่ากลิ่นหอมเช่นนี้เป็นได้เมื่อจิตของผู้รับ “เข้าถึง” ท่านบอกว่า นี่เป็นนิมิตอย่างหนึ่ง นิมิตมีทั้งภาพ ทั้งเสียง และทั้งกลิ่นหอม จิตของสมเด็จพระนางเจ้าฯ “เข้าถึง” และ “รับ” หลวงปู่ขาว ได้อย่างสนิทใจ
บ่ายวันนั้น ผู้เขียนก็ได้เดินทางมากราบหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้มีโอกาสก็กราบเรียนรายงานท่านว่า เราเพิ่งกลับมาจากการรับเสด็จฯ ที่วัดป่าอุดมสมพร และไปกราบท่านพระอาจารย์เทสก์ มาด้วย
หลวงปู่ท่านก็ว่า…ดี
กราบเรียนท่านต่อไปถึงเรื่องแม่เจ้าทรงรับสั่ง
งานหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วานนี้ หลวงปู่ไปด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
ท่านบอกว่า ไป…ไปหลายคนเนาะ
เอ๊ะ ! หลวงปู่อยู่นี่ หลวงปู่ไปได้อย่างไงเจ้าคะ
ไปด้วยนี่…ไปด้วยจิต ท่านตอบ พลางเอามือชี้ไปที่ตรงอกของท่าน
คงมีเทพมามากใช่ไหมเจ้าคะ ตอนพ่อเจ้าทรงชักโกศบรรจุอัฐิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จะให้ขึ้นไปบรรจุบนยอดเจดีย์ มีแสงรัศมีปรากฏงามมากเจ้าคะ งานนี้คงมีเทพมาอนุโมทนามากเหมือนกันใช่ไหมเจ้าคะ
ท่านว่า มาก…หลาย…เต็มไปหมด ถือพานดอกไม้มาบูชา…อนุโมทนา
เรื่องนี้เคยเล่าถวาย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ก่อน แห่งวัดราชบพิธ ท่านรับสั่งว่า ผู้เขียนควรจะบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ มิฉะนั้นนานไปจะลืม คนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรรค์นี้ จะได้รู้จักกันไว้บ้าง
หลวงปู่ท่านเทศน์เสมอถึงอานิสงส์ของการเดินจงกรม ซึ่งข้อหนึ่งมีอยู่ว่า เทพยดาจะถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา…สาธุ รวมทั้งเล่าด้วยว่า ระหว่างท่านเดินจงกรมจะมีกลิ่นหอม…หอมหลาย กราบเรียนถามว่า หอมอย่างไร…หอมเหมือนดอกอะไร
ท่านจะว่าหอมอีหยัง มันหอมบ่เหมือนดอกไม้บ้านเรา มันแม่นเทพยดาท่านมาอนุโมทนา ถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา…สาธุ
ใครฟังแล้ว จะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง อย่างไรผู้เขียนไม่สนใจ แต่ผู้เขียนเชื่อและศรัทธาอย่างสนิทใจ และเต็มหัวใจ ก็อย่าว่าแต่เทพยดาจะมาอนุโมทนาให้หลวงปู่ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ได้กลิ่นหอมเลย แม้อย่างปุถุชนคนธรรมดาผู้เต็มไปด้วยกิเลสหนาปัญญาหยาบอย่างเรา บางครั้งก็ยังได้สัมผัสกลิ่นหอมของดอกไม้ประหลาดบ่อยๆ เลย
ถ้าเมื่อใดจิตใจเต็มตื้นด้วยศรัทธา และความปรารถนาดี จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวายครูบาอาจารย์ ก็มักจะมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นให้เราชื่นหัวใจ
บางทีสงสัยว่า กลิ่นดอกอะไรหนอ ไม่เคยได้กลิ่น ไม่ใช่มะลิ ไม่ใช่พุทธชาด ไม่ใช่จำปีหรือจำปา จะมีเสียงตอบชัดแจ้ง แจ่มแจ้ง เข้าไปในใจว่า ดอกไม้นั้นไม่มีในโลกนี้ บางทีกำลังคุยกันถึงเรื่องกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าในเวลานั้นมีดอกไม้อะไรอยู่ “กลิ่นพิเศษ” ที่เกิดขึ้น จะเป็นกลิ่นดอกไม้อีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีใน ณ ที่นั้น…ให้อัศจรรย์เล่นเช่นนั้นแหละ
วันหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถยนต์บนถนนแถวๆ จังหวัดสกลนคร มีบางคนในรถที่ได้ข่าวเรื่องนิมิตดอกไม้หอมนี้ อยากทราบรายละเอียดก็ถามผู้เขียนขึ้นมา ขณะกำลังเล่ามาถึงว่า ถ้าเรามีดอกมะลิก็จะไปหอมดอกจำปี ถ้ามีดอกจำปีก็จะไปหอมจำปา และถ้ามีดอกจำปาก็จะไปหอมดอกกุหลาบ ขาดคำว่าดอกกุหลาบ ทั้งรถก็หอมตลบอบอวนด้วยกลิ่นดอกกุหลาบไปหมด ได้กลิ่นกันทุกคนในรถยนต์ รวมทั้งพระคุณเจ้าพระภิกษุ 3 รูป ที่นั่งมาในรถด้วย อย่าว่าแต่ดอกกุหลาบเลย แม้แต่ดอกไม้อื่นดอกเดียวก็ไม่มี และสองข้างทางก็เป็นทุ่งนา ไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่เลย
ตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 4:40 pm
ในหลวงทรงถวายโอสถแด่หลวงปู่ขาว อนาลโย
ประสบการณ์อภินิหารของหลวงปู่ขาวต่อในหลวงและพระราชินี
เจ้าประคุณท่านพระอาจารย์ขาว อนาลโย หรือที่เป็นที่เคารพสักการะเลื่อมใสกันในนามสั้นๆ ว่า “หลวงปู่ขาว” แห่งวัดถ้ำกลองเพล ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อรัญญวาสี สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2431 อุปสมบทแล้วตั้งใจปฏิบัติฝ่ายสมถวิปัสสนาอย่างเดียว จนถึงเวลามรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริชนมายุ 96 พรรษา
ชีวประวัติของท่านระหว่างดำรงชนมายุ ถ้าใช้สำนวนของนักเขียนก็ต้องกล่าวว่า เป็นประวัติที่โลดโผน “มีรส” ที่สุดประวัติหนึ่งในทางโลก…ช่วงจังหวะที่ทำให้ชีวิตของท่านหักเหออกจากเพศฆราวาสออกบวชก็เป็นชีวิตที่ “มีรส” ส่วนในทางธรรม เมื่อท่านออกบวชแล้ว การปฏิบัติธรรมของท่านก็ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว พอใจออกท่องเที่ยวธุดงค์เพลิดเพลินอยู่แต่ในป่าลึก พักปฏิบัติบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ เฉพาะตามถ้ำตามเงื้อมหิน บนเขาสูงอันสงัดเงียบอยู่ตลอดเวลา เหมือนพญาช้างสารที่พอใจละโขลงบริวารออกท่องเที่ยวไปอย่างเดียวดายในไพรพฤกษ์ ทำให้ท่านได้เห็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งประสบพบเห็นสิ่งอัศจรรย์ต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ชีวประวัติของท่าน เป็นชีวิตที่โลดโผน “มีรส” เหลือจะพรรณนา ชวนให้เคารพเลื่อมใสศรัทธา เป็น “เนติ” แบบอย่างให้บรรดาศิษย์ปรารถนาจะเจริญรอยตามท่านเป็นอย่างดี
ท่านผู้สนใจใคร่จะศึกษา อาจจะหาอ่านได้โดยละเอียดจากจากประวัติของท่าน ที่มีท่านผู้รู้ได้เขียนเอาไว้หลายสำนวน โดยเฉพาะที่ “เจ้าพระคุณท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน” เป็นผู้เขียน ทั้งในหนังสือ “ประวัติอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ” ของท่าน และในหนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น” หรืออีกสำนวนหนึ่งของนายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ในหนังสือ “อนาลโยวาท”
ข้อเขียน “อนาลโยคุโณ” ชิ้นนี้ ไม่ใช่ประวัติของท่าน เป็นเพียงบันทึกของผู้ที่เป็นประหนึ่งผงธุลีชิ้นเล็กๆ ที่มีโอกาสถูกลมพัดพาให้ได้ปลิวไปใกล้ท่านบ้างเป็นบางขณะ ได้กราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าไป ได้นั่งใกล้ ได้ฟังธรรมที่ท่านเมตตาสั่งสอน ก็ใคร่ที่จะบันทึกเหตุการณ์ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้สึก ได้พบเห็นด้วยตาตนเองไว้เท่านั้น อย่างน้อยก็เพื่อเป็นดังหนึ่งดอกไม้ป่าช่อเล็กๆ ที่ขอกราบวางไว้แทบเท้า เป็นเครื่องสักการบูชาพระสงฆ์พระสาวกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติถูกต้องแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้ทรงคุณควรบูชา ควรกระทำอัญชุลี หากการเขียนครั้งนี้เป็นการผิดพลาด เป็นความเขลา เป็นความหลง ที่ทำให้กระทบกระเทือนเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ และบริสุทธิ์คุณของหลวงปู่ขาว อนาลโย แต่ประการใด แม้เพียงภัสมธุลี ผู้เขียนก็ใคร่ขอกราบขอขมา ขอประทานอภัย ไว้ ณ ที่นี้
ผู้เขียนเพิ่งมีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงเวลาเพียง 6-7 ปี หลังนี้เอง (เมื่อเขียนอนาลโยคุโณ พ.ศ.2527) แต่ยังโชคดีอยู่บ้าง ที่ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ไปวัดถ้ำกลองเพล นับครั้งไม่ถ้วน จึงมีโชคได้เห็นท่านแสดงคารวธรรม สนทนาธรรม แสดงธรรมสากัจฉาซึ่งกันและกันอย่างรื่นเริง ทำให้นึกถึงความในมงคลสูตรอยู่เสมอในบทหนึ่งที่ว่า
“สมาณานญฺจ ทสฺสนํ กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”
ความหมายคือ การเห็นสมณะทั้งหลาย 1 การเจรจาธรรมโดยกาล 1 ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด
ยิ้มของหลวงปู่สว่างนัก สว่างเจิดจ้าเข้าไปในหัวใจของผู้ที่พบเห็น ทำให้เรารู้สึกสงบ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก ยิ่งได้ฟังท่านเล่าหรือปรารภกันถึงเรื่องที่ท่านเคยธุดงค์ผ่านกันมาอย่างโชกโชน เรื่องเสือ เรื่องช้าง เรื่องงู เรื่องพญานาค เรื่องยักษ์ ฯลฯ เราก็จะพลอยตาโต ลืมวันเวลาที่จะต้องกราบลาท่านหมดสิ้น ไม่ประหลาดใจที่ทำไมเวลาเราจะกราบลาท่านแต่ละครั้ง จะต้องกราบเป็นครั้งที่ 4 ที่ 5 จึงจะตัดใจกราบลาท่านได้จริงๆ
การพูดถึงสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม อย่างเสือ ช้าง หรืองู ผู้อ่านคงจะผ่านเลยไป แต่เมื่อเอ่ยถึงพญานาค หรือจิตที่จะหยั่งรู้ใจคน บางท่านอาจจะหัวเราะ แต่ผู้เขียนก็ใคร่ขอร้องที่จะให้หยุดระลึกกันก่อน สิ่งที่เราไม่ได้เห็นเอง รู้เองนั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจริงในโลกนี้ เราจะเชื่อว่ามีจริงเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเท่านั้นหรือ ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านที่ยังไม่เคยเห็นขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ หรือโลกพระจันทร์ ก็ยังไม่ควรเชื่อว่า มีขั้วโลกเหนือ มีขั้วโลกใต้ มีโลกพระจันทร์จริง (เพราะเรายังไม่เห็นด้วยตาของตนเอง)
ในการนำเสนอบทความคราวนี้ ได้นำคาถาบทที่หลวงปู่ได้มาจากในคราวที่ท่านถอดจิตไปเที่ยวเมืองพญานาคมารวมนำเสนอไว้ด้วย ท่านเล่าว่า เมืองพญานาคสวยงามมาก คราวนั้นท่านได้พบลูกสาวพญานาคด้วย นางได้มาคารวะ และกล่าวบทคาถาว่า
“อะหันนะเม นะเมนะวะ ชาตินะวะ” คาถานี้ไม่มีในบาลี ท่านกำหนดจิตถามก็ได้ความแปลว่า “ชาติใหม่ของเราไม่มี” อันหมายความว่า นางได้มากล่าวยืนยันถึงชาติใหม่ของหลวงปู่ไว้ว่า ท่านจะไม่มีชาติใหม่อีก ภพชาติของท่านสิ้นแล้ว (คาถานี้ป้องกันภูตผีปีศาจได้ด้วย)
เรื่องการที่ท่านผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ ทรงคุณธรรม จะสามารถถอดจิตไปเที่ยวสวรรค์ นาคพิภพ พรหมโลก ได้จริงหรือไม่ประการใดนั้น ใคร่ขอยกไว้ก่อน และถ้าจะวิจารณ์สงสัยต่อไป ผู้เขียนก็ใคร่ขอเล่าเหตุการณ์อันได้ประสบมา ไว้ ณ ที่นี้
เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร (ในปัจจุบัน)
วันนั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในงานทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำได้ว่าเป็นวันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2525
หลังจากทรงบรรจุอัฐิ และทรงเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกราบนมัสการสมเด็จพระสังฆราช และครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานในปะรำพิธี สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประทับบนพื้นสนามห่างออกมานอกปะรำพิธี โดยมีพวกเราเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ใกล้ๆ ระหว่างนั้นคณะผู้ตามเสด็จ และพวกเราต่างได้กลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นบุหงาร่ำโชยมาตลอดเวลา ปรารภกันและคิดว่าคงจะเป็นกลิ่นดอกไม้ในพวงมาลัยบุหงาที่ทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อรับเสด็จตอนเสด็จพระราชดำเนินมาถึง ขณะนั้นเราประหลาดใจกันแต่ว่า ผู้เชิญพวงมาลัยบุหงานั้นอยู่ไกลอีกฝากหนึ่งของสนาม กลิ่นหอมทำไมโชยมาไกลนัก…แต่เราก็ไม่ได้นึกอะไรมากนัก จนกระทั่งถึงเวลาจะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรที่มาเฝ้าเรียงรายในบริเวณวัด ขณะเสด็จผ่านพระเจดีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ผินพระพักตร์กลับมาหาผู้เขียน และรับสั่งว่า
“หลวงปู่ขาวก็มาด้วย”
พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ พระสุรเสียงนั้นดูเหมือนทรงปลื้มปีติจนทอดพระกรมาทรงจับมือผู้เขียนไว้ด้วย แม้รับพระราชกระแสนั้นไว้เหนือเกล้าแล้ว แต่ผู้เขียนก็ยังงงๆ อยู่ กราบบังคมทูลถามไปว่า “หลวงปู่มาหรือเพคะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นท่าน หลวงปู่ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเพคะ”
พระองค์ทรงรับสั่งว่า “ได้กลิ่นชานหมากของท่าน”
ผู้เขียนขนลุกซู่ นึกถึงกลิ่นหอมคล้ายบุหงาที่พวกเราคุยถึงกันอยู่ตลอดเวลาเมื่อสักครู่นี้ ชานหมากของหลวงปู่ขาวนั้น ในบรรดาหมู่ลูกศิษย์ทราบกันดีว่าหอมอย่างไร ผู้จัดถวายจะจัดใบเนียม พิมเสน ฯลฯ สารพัดใส่ไปในหมากด้วย กำลังกราบหลวงปู่เราจะได้กลิ่นหอมของเหล่านี้ ซึ่งคล้ายกับกลิ่นบุหงาโชยอยู่ตลอดเวลา และเราเองหลายต่อหลายครั้งที่หากนึกถึงหลวงปู่ นึกห่วงใย จะได้กลิ่นหอมของพิมเสน ใบเนียม ชานหมากของท่านอยู่เสมอๆ เลยกราบบังคมทูลว่า พวกเราและหลายท่านในคณะตามเสด็จ ก็ได้กลิ่นหอมกันทั้งนั้น รวมทั้งสมเด็จพระเทพฯ ก็ยังทรงออกพระโอษฐ์ด้วย เพียงแต่มิใดมีใครนึกเฉลียวใจเท่านั้น ว่าเป็นกลิ่นชานหมากของหลวงปู่
เช้าวันรุ่งขึ้นได้มีโอกาสนำหนังสือ “อาจาราภิวาท” ที่พวกเราจัดพิมพ์แจกในงานนั้น ไปกราบคารวะ ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ท่านก็ถามถึงเรื่องเสด็จพระราชดำเนินและงานเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ผู้เขียนเล่าถวายเรื่องเหตุการณ์โดยทั่วไป และขณะกำลังคิดว่าควรจะเล่าถวายเรื่องที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มีรับสั่งเรื่องกลิ่นชานหมากของหลวงปู่ขาวดีไหมหนอ เดี๋ยวท่านพระอาจารย์ก็จะดุว่าเราสนใจแต่เรื่อง “ฤทธิ์” มากเกินไป สมควรเล่าหรือไม่หนอ…? กำลังคิดอยู่ขณะนั้นเอง ก็กลับได้กลิ่นหอมตลบขึ้นมา เป็นกลิ่นชานหมากอันหอมกรุ่นของหลวงปู่นั้นเอง
ผู้เขียนคิดว่า ท่าน (หลวงปู่ขาว) เห็นว่าสมควรแน่แล้ว จึงกล้าเล่าเรื่องถวาย รวมทั้งเรื่องกลิ่นหอมที่บังเกิดใหม่ในขณะกำลังคิดลังเลว่า สมควรจะเล่าถวาย ท่านพระอาจารย์เทสก์ ดีหรือไม่ดีด้วย ท่านพระอาจารย์แห่งวัดหินหมากเป้ง ยิ้มอย่างเมตตา และรับว่ากลิ่นหอมเช่นนี้เป็นได้เมื่อจิตของผู้รับ “เข้าถึง” ท่านบอกว่า นี่เป็นนิมิตอย่างหนึ่ง นิมิตมีทั้งภาพ ทั้งเสียง และทั้งกลิ่นหอม จิตของสมเด็จพระนางเจ้าฯ “เข้าถึง” และ “รับ” หลวงปู่ขาว ได้อย่างสนิทใจ
บ่ายวันนั้น ผู้เขียนก็ได้เดินทางมากราบหลวงปู่ขาว ที่วัดถ้ำกลองเพล ได้มีโอกาสก็กราบเรียนรายงานท่านว่า เราเพิ่งกลับมาจากการรับเสด็จฯ ที่วัดป่าอุดมสมพร และไปกราบท่านพระอาจารย์เทสก์ มาด้วย
หลวงปู่ท่านก็ว่า…ดี
กราบเรียนท่านต่อไปถึงเรื่องแม่เจ้าทรงรับสั่ง
งานหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วานนี้ หลวงปู่ไปด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
ท่านบอกว่า ไป…ไปหลายคนเนาะ
เอ๊ะ ! หลวงปู่อยู่นี่ หลวงปู่ไปได้อย่างไงเจ้าคะ
ไปด้วยนี่…ไปด้วยจิต ท่านตอบ พลางเอามือชี้ไปที่ตรงอกของท่าน
คงมีเทพมามากใช่ไหมเจ้าคะ ตอนพ่อเจ้าทรงชักโกศบรรจุอัฐิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จะให้ขึ้นไปบรรจุบนยอดเจดีย์ มีแสงรัศมีปรากฏงามมากเจ้าคะ งานนี้คงมีเทพมาอนุโมทนามากเหมือนกันใช่ไหมเจ้าคะ
ท่านว่า มาก…หลาย…เต็มไปหมด ถือพานดอกไม้มาบูชา…อนุโมทนา
เรื่องนี้เคยเล่าถวาย สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ก่อน แห่งวัดราชบพิธ ท่านรับสั่งว่า ผู้เขียนควรจะบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ มิฉะนั้นนานไปจะลืม คนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรรค์นี้ จะได้รู้จักกันไว้บ้าง
หลวงปู่ท่านเทศน์เสมอถึงอานิสงส์ของการเดินจงกรม ซึ่งข้อหนึ่งมีอยู่ว่า เทพยดาจะถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา…สาธุ รวมทั้งเล่าด้วยว่า ระหว่างท่านเดินจงกรมจะมีกลิ่นหอม…หอมหลาย กราบเรียนถามว่า หอมอย่างไร…หอมเหมือนดอกอะไร
ท่านจะว่าหอมอีหยัง มันหอมบ่เหมือนดอกไม้บ้านเรา มันแม่นเทพยดาท่านมาอนุโมทนา ถือพานดอกไม้มาอนุโมทนา…สาธุ
ใครฟังแล้ว จะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง อย่างไรผู้เขียนไม่สนใจ แต่ผู้เขียนเชื่อและศรัทธาอย่างสนิทใจ และเต็มหัวใจ ก็อย่าว่าแต่เทพยดาจะมาอนุโมทนาให้หลวงปู่ผู้ทรงศีลวิสุทธิ์ได้กลิ่นหอมเลย แม้อย่างปุถุชนคนธรรมดาผู้เต็มไปด้วยกิเลสหนาปัญญาหยาบอย่างเรา บางครั้งก็ยังได้สัมผัสกลิ่นหอมของดอกไม้ประหลาดบ่อยๆ เลย
ถ้าเมื่อใดจิตใจเต็มตื้นด้วยศรัทธา และความปรารถนาดี จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดถวายครูบาอาจารย์ ก็มักจะมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นให้เราชื่นหัวใจ
บางทีสงสัยว่า กลิ่นดอกอะไรหนอ ไม่เคยได้กลิ่น ไม่ใช่มะลิ ไม่ใช่พุทธชาด ไม่ใช่จำปีหรือจำปา จะมีเสียงตอบชัดแจ้ง แจ่มแจ้ง เข้าไปในใจว่า ดอกไม้นั้นไม่มีในโลกนี้ บางทีกำลังคุยกันถึงเรื่องกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าในเวลานั้นมีดอกไม้อะไรอยู่ “กลิ่นพิเศษ” ที่เกิดขึ้น จะเป็นกลิ่นดอกไม้อีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีใน ณ ที่นั้น…ให้อัศจรรย์เล่นเช่นนั้นแหละ
วันหนึ่งกำลังนั่งอยู่ในรถยนต์บนถนนแถวๆ จังหวัดสกลนคร มีบางคนในรถที่ได้ข่าวเรื่องนิมิตดอกไม้หอมนี้ อยากทราบรายละเอียดก็ถามผู้เขียนขึ้นมา ขณะกำลังเล่ามาถึงว่า ถ้าเรามีดอกมะลิก็จะไปหอมดอกจำปี ถ้ามีดอกจำปีก็จะไปหอมจำปา และถ้ามีดอกจำปาก็จะไปหอมดอกกุหลาบ ขาดคำว่าดอกกุหลาบ ทั้งรถก็หอมตลบอบอวนด้วยกลิ่นดอกกุหลาบไปหมด ได้กลิ่นกันทุกคนในรถยนต์ รวมทั้งพระคุณเจ้าพระภิกษุ 3 รูป ที่นั่งมาในรถด้วย อย่าว่าแต่ดอกกุหลาบเลย แม้แต่ดอกไม้อื่นดอกเดียวก็ไม่มี และสองข้างทางก็เป็นทุ่งนา ไม่มีต้นไม้ใหญ่อยู่เลย
บ่อยครั้ง เมื่อเตรียมจะไปกราบหลวงปู่ขาว พอรถเราแล่นออกจากเมืองอุดรธานี ขึ้นไปวิ่งบนถนนสายอุดร-เลย อันเป็นทางมุ่งไปยังวัดถ้ำกลองเพล จะได้กลิ่นดอกไม้พิเศษหอมปรากฏขึ้น ครั้งแรกๆ พอได้กราบท่าน ก็เล่าถวายเรื่องกลิ่นดอกไม้ที่ปรากฏในรถ ท่านบอกว่า ตั้งใจดี ตั้งใจมาทำบุญ เทวดาเขาก็รัก เขาก็ไปต้อนรับพวกหนู
เป็นปรกติวิสัยมากขึ้น ครั้งหลังๆ เราก็ไม่ค่อยกราบเรียนท่านนัก และบางทีกำลังเล่าเรื่องกลิ่นหอมในรถระหว่างจะมากราบหลวงปู่ ที่ในห้องที่หลวงปู่นั่งอยู่นั้นเอง จะมีกลิ่นหอมเช่นเดียวกับที่ปรากฏในรถยนต์เกิดขึ้นอีก เป็นพยานการได้กลิ่นของพวกเรา ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
“แน่ะหอมอีกแล้ว หลวงปู่เจ้าคะ กำลังหอมเดี๋ยวนี้แหล่ะ”
ท่านจะ “หวัว” ยิ้มอย่างสว่าง เปิดโลกทั้งโลกให้แจ่มใส เบิกบานด้วยความสุขความสงบ
“เทพยดาเขากำลังถือพานดอกไม้ มาสาธุ…บูชาอยู่” ท่านบอก
“เดี๋ยวนี้หรือเจ้าคะ” ผู้เขียนกราบเรียนถาม
ท่านพยักหน้า และยิ้ม ชี้มือมาข้างพวกเรา “มื้อนี่แหล่ะ”
เราอดนึกนึกรำพึงในใจไม่ได้ โอ้…อย่าว่าแต่มนุษย์จะมากราบบูชาหลวงปู่เลย แม้เทพเจ้าก็ยังปรารถนามาคารวบูชาท่าน ด้วยถือเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ ยากจะหานาบุญใดมาเทียบได้ เราช่างมีบุญจริงหนอ ที่ได้มีโอกาสมากราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟังธรรมจากคำสั่งสอนของท่าน ได้สัมผัสจิตอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมของท่าน
เรื่องของการที่ท่านจะ “รู้ใจ” พวกเรานั้น อันที่จริงก็เป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ของครูบาอาจารย์เกือบทุกรูป ผู้เขียนถูกทรมานมาเสียนักต่อนักแล้ว แรกๆ ก็ลังเลบ้าง อัศจรรย์ใจบ้าง แต่ระยะหลังก็มีศรัทธาโดยแน่นแฟ้น โดยเฉพาะการรู้ใจของหลวงปู่นั้น อยู่เหนือการสงสัยใดๆ ของผู้เขียน
ปกติพวกเราชาวการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ จะไปทอดผ้าป่าวัดถ้ำกลองเพลกันเกือบทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ท่านจะออกมาชักผ้าเอง ให้พรเอง จนกระทั่งปีหลังๆ มานี้ จึงเห็นว่าจะเป็นภาระแก่ท่านอย่างมาก เพียงแค่ให้เราได้กราบ ได้เห็นหน้าท่าน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว โดยที่ท่านมีอายุมากแล้ว เสียงของท่านจึงค่อนข้างเบา ดังนั้น วันหนึ่งเมื่อผู้เขียนพาเพื่อนคณะใหญ่หลายร้อยคนไปทำบุญ เต็มล้นกุฏิที่ท่านพำนัก ก็แอบนึกในใจว่า น่าเสียดายที่หลวงปู่จะไม่อาจให้พร ให้พวกน้องๆ ได้ยินกันทั่วได้ ท่านมีอายุมากแล้ว น่าสงสารท่าน แต่ถ้าทุกคนได้ยินเสียงของหลวงปู่ให้พร เขาจะชื่นใจกันสักเพียงไหนหนอ วิสัยปุถุชนอดคิดละล้าละลัง กลับไปกลับมาไม่ได้
จะอย่างไรก็ดี ขณะนั้นเอง โดยไม่ได้ถวายไมโครโฟนเลย หลวงปู่ก็ยิ้มอย่างเมตตา ยิ้มอย่างสว่างหัวใจ ที่ผู้เขียนเรียกว่า “ยิ้มเปิดโลก” ชำเลืองมองมาที่ผู้เขียน แล้วก็ตั้งต้นให้พร เสียงของท่านแจ่มใส ดังกังวานไปทั่วระเบียงหน้าห้องอันกว้างใหญ่ ทุกคนได้ยินชัด แม้แต่บางคนที่ต้องนั่งล้นลงมาตามขั้นบันได ก็คุยว่าได้ยินกันถนัดชัดเจนดี พรของท่านครั้งนี้ยาวมาก ทุกคนชื่นอกชื่นใจไปตามๆ กัน เฉพาะผู้เขียนนั้น…อดน้ำตาคลอไม่ได้
บางเวลาจัดอาหารไปถวายท่าน เห็นอาหารที่ศิษย์แต่ละคนพยายามบรรจงจัดถวาย วางเรียงรายอยู่ตรงหน้าท่านแล้ว เราก็ท้อใจ ท่านจะฉันของเราได้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อท่านฉันอาหารไม่ค่อยได้อย่างนี้ แต่พอนึกเสียใจ สงสารท่าน หลวงปู่จะเหลือบตามอง นัยน์ตาของท่านแจ่มใสบริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม และเมตตาอย่างที่สุด
แล้วท่านก็จะพยักหน้าให้พระผู้ปรนนิบัติ ตักอาหารที่เป็นของผู้เขียนให้ป้อนให้ท่าน ถึงแม้ผู้เขียนจะเพิ่งได้มากราบท่านในช่วงเวลาที่ท่านมีชนย์มายุรวมได้เก้าสิบปีแล้วก็ตามที แต่ข่าวคราวเรื่องที่ท่านผ่านชีวิตธุดงค์มาอย่างทรหดอดทน ก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญ นำมายกย่องให้เป็นตัวอย่างแก่ศิษย์รุ่นหลังๆ อยู่เสมอ
หลวงปู่ออกธุดงค์ทุกปีจนอายุเจ็ดสิบกว่าปี จึงยั้งอยู่กับที่บ้าง แต่ก็ยังออกวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่เสมอ
บางเวลาที่ไปกราบท่าน ถ้าไม่มีหลวงปู่หลุย จันทสาโร หรือท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ นำไป เราก็ไปกันเอง บางครั้งท่านอาจจะเหนื่อย จะไม่ค่อยพูด ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องรับแขกศิษย์กลุ่มอื่นๆ อยู่นาน แต่จะอย่างไรก็ตามที ถ้าผู้เขียนกราบเรียนถามถึง “ถิ่นธุดงค์” เก่าของท่าน ที่ท่านเคยสร้างบารมี และเราก็เคยทราบประวัติของหลวงปู่มาจากท่านพระอาจารย์จวนอยู่บ้างแล้ว อย่างเช่นที่ถ้ำค้อ ที่ดงหม้อทอง ที่ถ้ำแก้ว และที่ภูวัว เป็นต้น
ลักษณะของป่าเขาลำเนาไพรที่ผ่านมา เสือ ช้าง งูใหญ่ ฯลฯ ท่านทรมานมาแล้วทั้งนั้น
นัยน์ตาของท่านจะแจ่มใสเป็นประกายวาว ถ้านอนอยู่ก็จะลุกขึ้นนั่ง ถ้านั่งอยู่ก็อาจจะลุกขึ้น ทำท่าเสือหมอบ เสือย่าง ให้ดู หลวงปู่ไม่เพียงแค่ทำท่าทางเท่านั้น แต่ก็ทำเสียงด้วย เสือคราง ช้างร้องโกญจนาทอย่างไร ฟังแล้วก็นึกวาดภาพตามท่านไป และพลอยสนุก อยากตามไปลิ้มรสชีวิตธุดงค์อย่างท่านบ้าง
เราพูดกันอยู่ว่า อย่างพวกเรานี้ ถ้าเข้าป่า เผชิญหน้าเสือ เผชิญหน้าช้าง ก็คงถูกมันขบกัด เหยียบตายแน่ เพราะความที่ฟังแต่ว่า สัตว์เหล่านั้นถูกท่านทรมาน อ่อนศิโรราบไปตามๆ กันแต่อย่างเดียว ก็อาจจะลืมตัวกลัวตายไป เห็นมันก็ไม่วิ่งหนี ลืมนึกไปว่า สัตว์เหล่านั้น “ยอมแพ้” เฉพาะท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ทรงคุณธรรม อย่างหลวงปู่ ต่างหาก…!
เวลาหลวงปู่เล่า ท่านจะตบเข่า ตบพื้น ชวนให้นึกสนุกตามท่านไปด้วย จนบางครั้งต้องขออาราธนาว่า พอเถิดเจ้าค่ะ เดี๋ยวหลวงปู่จะเหนื่อย จะเจ็บ ท่านจะหยุด และก็ “หวัว” อย่างพอใจ ที่เราแพ้ท่าน
ปีหลังๆ ท่านไม่ค่อยจะมีแรงที่จะคุยให้สนุกมากนัก ด้วยสุขภาพของท่านถดถอยลง แต่ไม่ว่าท่านจะแสดงท่าเหนื่อยหน่าย นิ่งเฉย ไม่ยิ้มแย้มอย่างไรก็ตามที แต่ถ้าเมื่อผู้เขียนไปกราบนมัสการ กราบเรียนเรื่องที่พวกเราตามท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ไปธุดงค์ถึงถิ่นที่ท่านเคยพำนัก เช่น ที่ดงหม้อทอง ตรงกระท่อมหลังเล็ก ข้างหลังกุฏิหลวงปู่ ที่ตาผ้าขาวอยู่ และช้างยื่นงวงเข้าไปกวาดหาข้าวของในกระท่อม จนเจ้าของต้องไปนั่งตัวลีบ แอบอยู่ที่มุมกระท่อม ที่ถ้ำยาว บนตาดปอ ที่มีพญานาคเกเร มาปรากฏให้ท่านทรมาน ท่านจะแสดงอาการสดชื่น พูดคุยด้วยอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส พอถึงตอนสนุก ผู้เขียนทำท่านเลียนเสียงที่ท่านเคยเล่า ซึ่งคงเพี้ยนจนน่าขบขัน ท่านก็จะหัวเราะอย่างขันเต็มที่
ผู้เขียนเคยตัวกับการที่มากราบหลวงปู่ และได้เห็นหลวงปู่ยิ้มแย้มแจ่มใสให้เห็นอยู่ตลอดมา จะมีข่าวอาพาธอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าเข้ากราบ กราบเรียน และให้เสียงว่าเป็นใครมากราบท่าน (ระยะหลัง นัยน์ตาของท่านแทบมองไม่เห็นเลย) ท่านก็จะยิ้มด้วยยิ้มที่สว่างหัวใจดังเดิม ผู้เขียนเคยตัวอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งวันสุดท้ายที่ได้กราบท่าน จำได้ว่า เราเพิ่งกลับจากการรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรูปหล่อท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ภูทอก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2526 รุ่งขึ้นก็ชวนกันว่า ขากลับกรุงเทพฯ ควรจะแวะมากราบหลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วย
วันนั้นมีครูบาอาจารย์นำเรามาหลายท่าน เช่น หลวงปู่หลุย ท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์บัวพา เป็นต้น หลวงปู่อาพาธ มีอาการหลอดลมอักเสบอย่างรุนแรง ท่านนอนสงบนิ่ง หลับลึกอยู่บนเตียง แต่มองแล้วก็น่าใจหาย ด้วยสุขภาพของท่านดูทรุดโทรมมาก ผอมจนแทบเห็นกระดูกใสเป็นแก้วเลย
ปกติถ้าหลวงปู่หลุยมา อย่างน้อยท่านจะลืมตาขึ้นคุยด้วย เพราะท่านสนิทสนมกันมาก ท่านเล่าว่า ท่านบวชวันเดียวกัน หลวงปู่หลุย บวชก่อนท่าน 15 นาที เป็นนาคขวา ส่วนท่านเป็นนาคซ้าย
วันนั้นท่านไม่ลืมตา รอกันอยู่พักใหญ่ หลวงปู่หลุย ก็กล่าวว่า ควรปล่อยให้ท่านนอนพักต่อไป อย่าไปรบกวนท่านเลย เราทุกคนจึงออกมาจากห้อง พร้อมทั้งรูดม่านปิดด้วย
ขณะที่ทุกคนกลับลงไปจากกุฏิหมดแล้ว ผู้เขียนกลับทรุดตัวลงนั่งหน้าห้อง กราบท่านอีกครั้ง อธิฐานจิตขอให้ท่านหายทุกข์เถิด ที่ท่านบอกรับอาราธนาเราไว้ ว่าจะอยู่ให้จนอายุครบ 100 ปีนั้น ลูกไม่ต้องการแล้ว หลวงปู่ดูทรมานเหลือเกิน ถ้าหลวงปู่จะอยู่ให้ลูกหลานชื่นใจ ก็ขอให้อยู่อย่างเป็นสุขเถิด โปรดอย่าอยู่อย่างในสภาพที่น่าเศร้าสลดใจอย่างนี้เลย
ผู้เขียนก้มหน้าลงกับพื้นหน้าห้อง…นิ่งอยู่ ใจหนึ่งก็เผอนึกรำพันขึ้นมาว่า หลวงปู่เจ้าขา วันนี้ลูกไม่ได้เห็นหลวงปู่ยิ้ม ดูเหมือนจะหายใจไม่ออก น่าประหลาด ผู้เขียนรู้สึกเหมือนว่า ได้เห็นภาพที่หลวงปู่ที่นอนสงบนิ่ง ไม่ไหวติงนั้น เหมือนจะเริ่มกระดุกกระดิก นัยน์ตาท่านขยับเหมือนจะกระพริบถี่ อันแสดงว่าท่านเริ่มที่จะรู้สึกตัว
ผู้เขียนขยับตัวจากที่หมอบกราบ และเงยหน้าขึ้นมองไปข้างหน้า ม่านข้างหน้าก็ยังรูดปิดสนิท แต่ “ใจ” เราก็มองผ่านผ้าม่านเข้าไปได้ เห็นนัยน์ตาหลวงปู่กระพริบถี่ แขนขยับ ขณะนั้นผู้เขียนไม่ได้นึกถึงความอัศจรรย์อะไร ที่ว่าทำไมเมื่อเราก้มหน้าอยู่กับพื้น เราจึงเห็น ทำไมผ้าม่านปิดอยู่ เราจึงเห็นภาพภายในห้องหลวงปู่ได้ ใจเราคิดแต่เพียงอย่างเดียวว่า หลวงปู่ตื่นแล้ว และเดี๋ยวหลวงปู่ก็จะยิ้มแล้ว ผู้เขียนให้คนเข้าไปกราบเรียนหลวงปู่หลุย และท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์บัวพา และตัวเองก็รีบเข้าไปกราบท่านข้างในห้อง ท่านกระพริบตาซ้ำๆ แล้วก็ลืมตา ตาท่านคงใสบริสุทธิ์อย่างเดิม แม้จะมีท่าทางระโหยอยู่มากก็ตามที
ท่านฟังผู้เขียนเล่าเรื่องรับเสด็จแม่เจ้า การจัดตั้งที่บูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระธาตุครูบาอาจารย์ ให้แม่เจ้าสักการบูชา อย่างเช่น พระธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ พระธาตุของหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระธาตุของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พร้อมทั้งพระธาตุของท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม พระธาตุของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร และพระธาตุของท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ด้วย
พอแม่เจ้ารับสั่งที่ภูทอกว่า คิดถึงหลวงปู่ขาว ทางขบวนเสด็จก็เตรียมตัว และวิทยุมาทางอุดรฯ แล้วว่าอาจจะเสด็จฯ มายังวัดถ้ำกลองเพล แต่บังเอิญ พระองค์ท่านต้องเสด็จฯ เยี่ยมราษฏรอยู่นานจนสองทุ่มกว่า พระองค์จึงเสด็จมายังวัดถ้ำกลองเพลไม่ได้
พระที่ปรนนิบัติหลวงปู่ก็รับสั่งว่า เมื่อคืนนี้ทางบ้านเมืองมารอรับเสด็จฯ อยู่จนถึงสามทุ่ม แน่ใจว่าพระองค์ไม่เสด็จแล้วจึงกลับ พอคุยไป สีหน้าท่านแจ่มใสขึ้น ข้อไหนเป็นคำถามต่อท่านโดยตรง ท่านก็ตอบ
ในที่สุด…แม้จะยังมีท่าทางเหนื่อยเพลียอยู่มาก แต่ยิ้มของท่านก็เป็นยิ้มที่เปิดโลก สว่างเข้าไปในหัวใจดังเดิม เมตตาธรรมของท่านยังเปี่ยมล้น แม้ในวาระที่สังขารของท่านล่วงไปเกือบจะถึงปลายทางอยู่แล้ว
ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2527 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้นปรากฏว่าวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่ กลับแคบเล็กไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกทิศานุทิศ ได้หลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ เป็นคำรบสุดท้าย นับจำนวนหลายแสนคน เป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศ
ในคืนวันถวายพระเพลิงนั้น ได้มีศิษย์ผู้หนึ่งถ่ายภาพเหตุการณ์วันนั้นไว้ หลังจากนำฟิล์มมาล้าง และอัดภาพ ปรากฏว่ามี ภาพ “ปาฏิหาริย์” เกิดขึ้นชุดหนึ่ง ภาพชุดนี้คุณวิรัช ผู้ถ่ายภาพ ยืนยันว่าเป็นภาพที่ถ่ายในคืนถวายพระเพลิงจริง เวลาประมาณ 22.30 น. ขณะถ่ายภาพมองด้วยตาเปล่า จะเห็นเพียงเปลวไฟ และกลุ่มควันขาวกระจายเท่านั้น แต่เมื่อล้างฟิล์ม และอัดแล้ว จึงเห็นเป็นภาพปาฏิหาริย์ เจ้าของภาพได้นำมาถวายให้ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล ด้วยเห็นเป็นอัศจรรย์เหมือนกัน กล้องสามารถจับแสง และรังสี อันพิสดารไว้ได้ โดยที่ตาเปล่าไม่อาจจะมองเห็นได้…อย่างงดงาม และบางภาพแม้จะดูมีลักษณะคล้ายกัน และถ่ายในมุมใกล้เคียงกัน แต่ลำแสงหรือรังสีที่ปรากฏนั้นก็แตกต่างกันไป
ก่อนจะกล่าวต่อไป ผู้เขียนเห็นสมควรจะต้องเอ่ยถึงภาพปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในกรณีของ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ศิษย์เอกของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่มรณภาพไปก่อนแล้วด้วย ภาพชุดนั้นถ่ายที่ภูทอก มีทั้งหมด 7 ภาพ ด้วยกัน ลักษณะมีรังสีในทำนองเดียวกันกับภาพชุดนี้ของหลวงปู่
ผู้ถ่ายภาพปาฏิหาริย์ของภูทอก ครั้งแรกเข้าใจว่าภาพของตนเสีย มาบ่นกับเพื่อนว่าฟิล์มม้วนเดียวกัน ถ่ายมาทุกวัดดีหมด (ผู้ถ่ายภาพร่วมไปในขบวนที่เดินทางไปทอดผ้าป่าหลายวัดด้วยกัน) ทำไมมาเสียที่ภูทอกแห่งเดียว เจ้าของจะโยนภาพทิ้ง แต่เพื่อนขอนำมาให้ผู้เขียนดู ผู้เขียนพิจารณาแล้ว ก็เห็นประหลาดอยู่ด้วย มีลำแสงแปลกๆ พุ่งจากพระประธานบ้าง จากองค์ท่านพระอาจารย์จวนบ้าง และมีลำแสงฉวัดเฉวียงในอากาศบ้าง แสงเป็นสีฟ้าบ้าง สีเหลืองนวลบ้าง บางทีภาพถ่ายในเวลาติดกัน โดยสังเกตจากภาพบุคคลในรูปเหล่านั้น เกือบจะอยู่ในท่าเดียวกัน แต่แสงก็มีลักษณะต่างกันอยู่มาก
ผู้เขียนจึงนำภาพชุดนั้นไปถวายองค์ท่านพระอาจารย์จวน ท่านถามก่อนว่า เราคิดเช่นไร ผู้เขียนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็เรียนท่าน ภาพที่ภูทอกคิดว่าคงเป็นการถ่ายภาพ “ศักดิ์สิทธิ์” หรือภาพ “เทวดา” โดยท่านคงจะมี “รังสี” ซึ่งเราไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนั้นความเคลื่อนไหวของเทพคงจะรวดเร็วยิ่งนัก ภาพที่ถ่ายในเวลาใกล้เคียงกัน ลักษณะแสงรังสี (อันแสดงถึงการเคลื่อนไหว) ถึงต่างกันไปมาก ท่านพระอาจารย์จวน พยักหน้ารับว่า ความเข้าใจของผู้เขียนถูกต้องแล้ว
ต่อมาเมื่อได้มีโอกาสนำภาพไปถวายครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ รวมทั้งหลวงปู่ขาว ดูด้วย ท่านก็รับว่าเป็นภาพถ่ายรังสีของเทพเช่นกัน
ดังนั้น ครั้งนี้เมื่อภาพที่ถ่ายในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เอง เป็นไปในทำนองเดียวกันกับภาพปาฏิหาริย์ที่ภูทอก จึงเป็นไปได้ไหมว่ารังสีที่ปรากฏในภาพต่างๆ กัน จะเป็นการถ่ายภาพ “เทพ” ได้เช่นเดียวกัน เป็นไปได้ไหมว่า ในคืนถวายเพลิงสรีระร่างของหลวงปู่นั้น ได้มี “ปวงเทพ” จากทิพย์วิมาน สวรรค์ รวมทั้งพรหมโลกเบื้องบน ลงมาถวายสักการหลวงปู่ และแสดงภาพปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ
ภาพปาฏิหาริย์ชุดนี้ผู้เขียนได้ไปเห็นครั้งแรกที่วัดถ้ำกลองเพล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2527 ทางวัดจัดใส่กรอบตั้งให้บูชา มีทั้งหมด 6 ภาพด้วยกัน โดยใส่กรอบ 2 กรอบ กรอบละ 3 ภาพ เมื่อขออนุญาตจะนำมาลงพิมพ์ทำ หนังสือ “อนาลโยปูชา” ท่านเจ้าอาวาสก็แกะออกจากกรอบมอบให้ผู้เขียน
รุ่งขึ้นวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2527 เมื่อนำภาพเหล่านี้ไปถวายให้ท่านพระอาจารย์แยง สุขกาโม และท่านพระอาจารย์เติมศักดิ์ ยุตติธัมโม ดูที่วัดภูทอก และกำลังวิจารณ์กันว่า อาจจะมีผู้สงสัยในพระบารมี และพระคุณานุคุณของหลวงปู่ขาว อนาลโย คิดว่ามีการอาศัยเทคนิคการถ่ายภาพ ล้างอัดจัดทำกันขึ้นจะได้หรือไม่ ระหว่างนั้นเราจึงสังเกตเห็นว่าภาพชุดนี้กลับกลายเป็นมี 7 ภาพ มีภาพเกินขึ้นมาอีก 1 ภาพ แทนที่จะเป็น 6 ภาพ ดังที่ได้รับมาจากท่านพระอาจารย์ที่วัดถ้ำกลองเพลเมื่อวันวาน และน่าสังเกตด้วยว่า ภาพทั้งหมดไม่มีภาพใดเหมือนหรือซ้ำกันเลย หากจะว่าเมื่อรับมาจากท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เราอาจจะนับผิด อาจจะมี 7 ภาพตั้งแต่ครั้งแรกแล้วก็เป็นได้ แต่…แกะภาพจากกรอบ 2 กรอบ และแต่ละกรอบก็มีภาพอยู่กรอบละ 3 ภาพ เช่นนี้จะไม่เรียกว่าภาพหลวงปู่แสดงปาฏิหาริย์ ก็ไม่ทราบว่าจะคิดอย่างอื่นอย่างใดได้
เราอดนึกรำพึงอีกครั้งไม่ได้ โอ…อย่าว่าแต่มนุษย์เราจะมีความชื่นชมปีติที่ได้มากราบบูชาหลวงปู่เลย แม้เทพเจ้าก็ยังปรารถนามาคารวบูชาท่าน ด้วยถือเป็นมงคลอันสูงสุด เป็นนาบุญอันประเสริฐ ยากจะหาบุญใดเปรียบปานได้เลย “เราช่างมีบุญจริงหนอ ที่ได้มีโอกาสมากราบนมัสการ ได้เห็น ได้เข้าใกล้ ได้ฟังคำสั่งสอนของท่าน ได้สัมผัสจิตใจอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมของท่าน แม้สังขารของท่านจะแตกดับไปแล้วตามธรรมดาของโลก แต่พระบารมีและพระคุณานุคุณ ‘อนาลโยคุโณ’ ย่อมจะดำรงอยู่เป็นที่ระลึกนึกถึง เป็นที่เคารพบูชา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อบรรดาศิษย์ ตลอดกาลนาน”
ผู้เขียน และเรียบเรียง : ท่านคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16543