ธรรมทาน
สัพพะ ทานัง ธัมมะ ทานัง ชินาติ
(การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง)
๑.) คำสั่งสอนเด็ดๆของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม(วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี)
***** “สติปัฎฐาน ๔ ดีที่สุดในโลก”
*** “ สร้างความดีต้องมีอุปสรรค สร้างความดีมากเท่าใร อุปสรรคขัดขวางมากเท่านั้น เพราะคนเราเกิดมาเพื่อสร้างความดีใช้หนี้กรรมเก่า”
*** “คนเราจะยากดีมีจนเขาไม่ได้วัดความเป็นคนดีที่บ้านใหญ่โต จะมียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นรัฐมนตรี
เป็นนายพล เป็นเจ้าเมือง ดูคนดีเขาดูที่ละความชั่วได้ไหมคือวัดด้วยคุณธรรม”
*** “มารไม่มี บารมีไม่เกิด ประเสริฐไม่ได้”
*** “คนโกหกคนอื่นได้หลายคนนี่ไม่เป็นไร อย่าโกหกตัวเอง ไปสอนให้เขาทำแต่ตัวเองไม่ทำนี่เป็นการโกหกตัวเองตลอด”
*** “เกิดมาเป็นคนอย่าให้จนความดี เกิดมาทั้งทีต้องให้มีดีติดตามไป”
*** “ความดีอันดับหนึ่งคือบุญในตัวเอง สร้างบุญให้ตัวเองคือกรรมฐาน”
*** “กัลยาณมิตร ก็ต้องแปลว่า มิตรที่ไม่เห็นแก่ตัว คนใหนมีคุณธรรมประจำใจคนนั้นเป็นมิตรแท้ๆ”
*** “เราต้องสร้างความดีให้กับดวง หาใช่ดวงทำให้เราดี การสร้างความดีให้กับดวงก็คือการสร้างศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง”
*** “ไม่ใช่พระพรหมมาขีดความชั่วให้เราดีบ้างชั่วบ้าง แต่การกระทำของเราขีดตัวเราเอง ขีดดีก็ได้ดี
ขีดชั่วก็ได้ชั่ว”
*** “สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน”
*** “ วันพรุ่งนี้ อยู่ไกล ยังไม่เกิด ช่างมันเถิด อย่าร้อน ไปก่อนไข้
วันวานนี้ ตายแล้ว ให้ตายไป อย่าเอาใจ ไปข้อง ทั้งสองวัน
ถ้าวันนี้ สดชื่น ระรื่นจิต อย่าไปคิด หน้าหลัง มาคลั่งฝัน
สี่งที่แล้ว แล้วไป ให้แล้วกัน สี่งที่ฝัน ไม่มา อย่าอาวรณ์”
*** “ไปใหนปากอย่าไว ใจอย่าเบา เรื่องเก่าอย่ารื้อฟื้น เรื่องคนอื่นอย่านำมาคิด จะผิดหวังจะเสียใจตลอดชีวิต
กิจที่ชอบให้ทำ”
*****คติกรรมฐาน คือ กินน้อย นอนน้อย ทำความเพียรมาก
*** “คนเรายากดีมีจนอย่างไร สร้างคุณสมบัติไว้ให้ครบ มันจะดันให้สูงขึ้นไปเอง ยี่งให้ยี่งได้ ยี่งหวงยี่งอด หมดไม่มา เราไม่หวงเราไม่อด หมดก็มา ให้ไม่มีอด หมดก็มา หวงมีแต่อด หมดก็ไม่มา”
จงมีสติ(อย่าประมาท) 20 ข้อ
1.อย่าคบคนพาล 11.อย่าเลี้ยวเข้ารก
2.อย่าหาญสู้เสือ 12.อย่าพกปุยนุ่น
3.อย่าเชื่อตำรา 13.อย่าอุ่นของเน่า
4.อย่าว่าคนบอ 14.อย่าเผามือมิตร
5.อย่ายอคนเห่อ 15.อย่าคิดสู้ครู
6.อย่าเผลอสติ 16.อย่าอยู่ไกลปราชญ์
7.อย่าริเจ้าชู้ 17.อย่าขาดเมตตา
8.อย่ารู้ก่อนบอก 18.อย่าฆ่าความดี
9.อย่าออกนอกทาง 19.อย่าขี่เรือรั่ว
10.อย่าขวางน้ำเชี่ยว 20.อย่ามัวขี้เซา
***กฏแห่งการเจริญภาวนา = สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ
อโหสิกรรมก่อนแล้วค่อยแผ่ความเมตตา
***.. ตอไม้พอขุดได้ แต่..ตอแหล!นี่สิขุดยาก..
***การกระทำใดๆ ที่ทำเป็นไปโดยต่อเนื่องของเล็กก็กลายเป็นของใหญ่ บุญน้อยก็จะกลายเป็นบุญมาก ทำดีไม่ได้ผลเพราะทำตนลุ่มๆดอนๆ ทำดีที่ได้ผลเพราะทำตนสม่ำเสมอ
*********************************************************************
๒.) แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม : สอนธรรมะ
รู้ชอบ ชั่วดี ย่อมเกิดกับผู้มีสติ
“อย่าประมาทกับชีวิต ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนไม่เที่ยง มีสติอยู่อย่างเพียงพอ ยอมรับในสถานภาพที่กำลังเกิด กำลังเป็น ถ้าทุกคนร่วมใจกัน ไม่ทำร้ายกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับ หยิบยื่นสิ่งดีๆ ให้กันน่าจะดีที่สุด วัดจะอยู่ตรงไหนไม่สำคัญมันวัดใจมากกว่า”
“กฎแห่งกรรม” ทำอะไร ได้อย่างนั้น !!
ลูกเถียงพ่อเถียงแม่
สำหรับผู้ที่ชอบเถียงพ่อจัดว่าเป็นการทำความชั่วที่หนักหนาสาหัส เมื่อลูกผู้นั้นเริ่มเข้าสังคมจะโดนผู้อื่นว่าร้าย ถกเถียงชนิดคำต่อคำ พ่อแม่เคยเจ็บช้ำจากการเถียงของลูกเช่นไร ลูกคนนั้นก็จะโดนสังคมบีบคั้นเช่นกัน กรรมนี้สามารถพบเห็นในพบชาตินี้แน่นอน ส่วนทางร่างกายนั้น ลูกที่เถียงพ่อแม่ที่มีกรรมหนักมาก จะมีอาการลิ้นสั้นจุกปาก พูดจาไม่ถนัด พูดลิ้นพันกัน ลิ้นแข็ง ฯลฯ
ลูกที่ทำร้ายพ่อแม่
ในศาสนาพุทธนั้นสอนว่า ลูกที่ทำร้ายพ่อแม่ตายไปแล้วจะไปเกิดในขุมนรก ชื่อตปะนรก มีลักษณะเป็นบัวกลดเผาทำลายอยู่เป็นนิจ มียมบาลคอยเอาค้อนทุบหัวอยู่ร่ำไป แต่ถ้าจะให้เห็นในชาติปัจจุบันแม่ชีทศพรบอกว่า คนที่ทำร้ายพ่อแม่อกุศลกรรมจะทำให้คนผู้นั้นถูกคนรักทำร้าย เช่นอาจจะเป็นสามี ภรรยา บุตร หรือคนที่สนิททำร้ายได้
ลูกที่ใช้ให้พ่อแม่บริการตัวเอง
การที่ลูกๆ ใช้พ่อแม่ให้บริการตัวเอง หรือพ่อแม่เต็มใจบริการลูกๆ เพราะรักลูกมาก เช่นซักผ้า ล้างจาน ทำกับข้าวให้ จะถือว่าเป็นกรรมที่พ่อแม่ทำให้เกิดกับลูกทั้งสิ้น ทำให้เมื่อลูกออกไปใช้ชีวิตในสังคมจะต้องไปเป็นข้าผู้อื่น ถูกคนอื่นเอารัดเอาเปรียบเป็นต้น
การทำแท้ง
การทำแท้งถือเป็นกรรมในหมวดข้อการเบียดเบียนชีวิตหรือปาณาติบาต ผู้ที่กรรมนี้จะหากินไม่ขึ้นหาความสุขใจในชีวิตนี้ไม่ได้เลย เพราะโดนวิญญาณที่จะมาเกิดเป็นลูกของตัวเองนั้นจองเวรอาฆาต ซึ่งการเกิดการตายของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณและวิบากกรรมโดยตรง
ผลกรรมอันเกิดจากการทำแท้งมี 2 ข้อคือ 1. กรรมที่ทิ้งลูกตัวเอง 2. กรรมในการฆ่าทำลายชีวิต ซึ่งอกุศลกรรมนี้พระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่ทำแท้งเมื่อสิ้นใจยังต้องตกนรก พ้นจากนรกจึงเกิดมาเป็นเปรต จากนั้นจะเป็นอสุรกาย ตนเมื่อมีบุญพอจะเกิดเป็นคนแต่ต้องถูกพ่อแม่ทอดทิ้งแต่เล็ก หรือโดนพ่อแม่ของตนในชาติต่อไปทำแท้งตัวเองเสีย หรือแท้งลูกโดยอุบัติเหตุ
ส่วนกรรมจากการปาณาติบาตหรือทำลายชีวิตลูกของตัวเองนั้น จะทำให้มีอายุสั้น มีโรคภัยเบียดเบียนมาก หากินไม่ขึ้น และกรรมจากการทำแท้งมักจะก่อผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แม้ผู้ที่เกี่ยวข้องการการทำแท้งยังต้องมีอกุศลกรรมติดตัวตามไปด้วยเช่นกัน
*********************************************************************
๓.) นิพพาน
สมเด็จพระมหาสมเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส : ให้คำอธิบายไว้ว่า
คำอธิบายไว้ว่า
« Ba
1. นิพพานัง ปรมัง สันติ(พระนิพพาน สงบอย่างยี่ง)
2. นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง(พระนิพพาน โปร่งว่าง อิสระอย่างยี่ง)
3. นิพพานัง ปรมัง สุขัง(พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยี่ง)
4. นิพพานัง ปะระมัง เสฏฐัง(พระนิพพาน สูงส่งอย่างยี่งคืออยู่เหนือสวรรค์ เหนือพรหมสุทธาวาส
เหนือรูปพรหม เหนืออรูปพรหม)
5. นิพพานัง ปะระมัง ธัมมัง(พระนิพพาน เป็นธรรมชั้นยอด คือเหนือธรรมะใดๆทั้งหมด
จุดมุ่งหมายของพระอรหันต์อยู่ที่พระนิพพานนี้)
6. นิพพานัง ปะระมัง นิจจัง(พระนิพพาน เป็นภาวะเที่ยงแท้ไม่แปรผัน)
7. นิพพานัง ปะระมัง สัจจัง(พระนิพพาน เป็นบรมสัจจะจริงอย่างไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอื่น)
8. นิพพานัง ปะระมัง พะลัง(พระนิพพาน เป็นบรมพลังมีพลังสูงสุด เปรียบประดุจไฟฟ้าไม่มีอำนาจใดจะทำลาย
ให้สูญสลายได้เลย)
9. นิพพานัง อะตะมัง พุทธัง (พระนิพพาน คือพระพุทธเจ้าอันไม่รู้จักตาย คือ อยู่ในพระนิพพานนั้นชั่วนิรันดร)
10. นิพพานัง อะตะมัง ธัมมัง (พระนิพพาน คืออมฤตธรรมคือเป็นสี่งที่ไม่ตายมีอยู่คู่โลก แม้จะมีพระพุทธเจ้า
มาตรัสรู้อีกหรือไม่ก็ตามก็มีอมฤตธรรมนี้อยู่ตลอดกาลนิรันดร ไม่รู้จักทำลายไม่มีอำนาจอะไรจะลบล้างทำลายได้)
11. นิพพานัง อะตะมัง อรหัง (พระอรหันต์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ที่ไม่รู้จักตาย คือ
พระอรหันต์สาวกย่อมสถิตอยู่ในพระนิพพานชั่วนิรันดร)
12. นิพพานัง อะตะมัง ภาวัง (พระนิพพาน เป็นภาวะที่ไม่ตายมีอยู่ชั่วนิรันดรประดุจพลังงานไฟฟ้ามีอยู่คู่โลกธาตุ
พระนิพพานกับพลังไฟฟ้าคือสี่งเดียวกัน)
นิพพาน คือ จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
*********************************************************************
๔.) สุ จิ ปุ ลิ คือ หัวใจของนักปราชญ์หรือบัณฑิต
สุ ย่อมาจาก สุตตะ แปลว่าการฟัง
จิ ย่อมาจาก จิตตะ แปลว่า การคิด
ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า การถาม
ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า การเขียน
“ฟังอะไรฟังให้หมด จดให้มาก ปากต้องใช้ ใจต้องคิด จึงจะเป็นบัณฑิต(นักปราชญ์)ที่แท้จริง”
จาก พนพ เกษามา
*********************************************************************
๕.)รรมฐานระลึกชาติได้ ระลึกบุญคุณคนได้…
จาก หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
อาตมาไม่สอนใครไปสู่สวรรค์นิพพาน
แต่สอนกรรมฐานให้ระลึกชาติได้ ระลึกบุญคุณคนได้
นึกถึงพ่อแม่ นึกถึงตัวเองและสงสารตัวเอง
จะได้ทำแต่สิ่งดีๆ แค่นี้พอก่อน
บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต
สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่
ไม่งั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังเลยดำน้ำไม่โผล่
หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่เหลือจะนับจะประมาณนั้น
คือ หนี้พระคุณของบิดามารดา
คำพังเพยเปรียบเทียบสั่งสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว
ว่าจะเอาท้องฟ้าหรือแผ่นดินมาเป็นกระดาษ
เอาเขาพระสุเมรุมาศมาเป็นปากกา
จะเอาน้ำมหาสมุทรมาเป็นน้ำหมึก
ก็ไม่สามารถจะจารึกพระคุณของบิดามารดาไว้ได้
เพราะน้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งหมด
ก่อนที่จะจารึกพระคุณบิดามารดาได้จบสิ้น
คนอื่นที่เป็นเพื่อนที่รักหรือยอดหัวใจ ก็ยังมีโทษแก่ตัวเรา
รักเราไม่จริงเหมือนบิดามารดา
เขาพึ่งเราได้จึงมารักเรา
นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย
ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึกรามบ้านช่องมาเป็นของเราอีกหรือ
ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้แล้ว
เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ ไปทวงหนี้พ่อแม่
พ่อแม่ให้แล้ว เรียนสำเร็จแล้วยังช่วยตัวเองไม่ได้
มีหนี้ติดค้างรับรองทำมาหากินไม่ขึ้น
คนไม่ทำกิจวัตร ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่รับผิดชอบ
แปลว่า คนนั้นเกลียดตัวเอง
กินเหล้าเมาสุรา เล่นการพนัน เที่ยวสรวลเสเฮฮา กินโต้รุ่ง
พ่อแม่ก็เสียใจ ยังไปว่าพ่อแม่ ไปทวงหนี้
เอาทรัพย์สมบัติพ่อแม่มาฉุยแฉกแตกราน
นี่คือ ลูกสะสมหนี้ ไม่ยอมใช้หนี้
เดี๋ยวนี้ตัวเราไม่สงสารแล้ว กินเหล้าเข้าไป
ทรัพย์สมบัติพ่อแม่ให้มา ก็ขายแจกจ่ายให้หมด ไม่มีเหลือเลย
ตัวเองก็จะขายตัวกิน ขายตัวเอง เขาก็ไม่เอาอีก เพราะขี้เกียจเช่นนี้
ขอฝากท่านเป็นข้อคิด
พ่อแม่นั้นมีบุญคุณต่อเรามากในมาตาปิตุคุณสูตร
พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า
ลูกจะให้แม่นั่งบนบ่าขวา ให้พ่อนั่งบนบ่าซ้าย
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงไปบนบ่าลูก
ลูกเป็นผู้เช็ดให้ หาอาหารมาป้อนให้
กระทั่งจนท่านตายหรือกระทั่งลูกตายไป
ก็ไม่สามารถจะตอบแทนพระคุณค่าป้อนข้าวป้อนน้ำนม
ที่ท่านได้ถนอมกล่อมเกลี้ยงบำรุงเลี้ยงมาอย่างดีได้
ทำอย่างไรให้ได้ชื่อว่า ได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างเลิศที่สุด
สรุปคือ ถ้าพ่อแม่เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว
ลูกสามารถชักจูงพ่อแม่ให้กลับเป็นสัมมาทิฎฐิได้นั้น
ถือว่าได้ทดแทนคุณอย่างเลิศ
เช่น พ่อแม่มีความเห็นผิด เป็นต้นว่าไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ
แล้วลูกสามารถชักจูงชี้แจงให้ท่านมีความเห็นที่ถูกต้อง
เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุญบาปมีจริง
ถ้าทำอย่างนี้ได้ถือว่า ทดแทนบุญคุณอย่างเลิศที่สุด
วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลยลูกทั้งหลายเอ๋ย
จงสร้างความดีให้กับตัวเองและก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง นี่เป็นเรื่องสำคัญ
ตัวเราพ่อให้หัวใจแม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองแล้วอยู่ในตัวเรา
จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหนอีกเล่า
บางคนรังเกียจ พ่อแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม
พอตัวเองแก่ ก็เลยถูกหลานรังเกียจ
จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก
ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว ก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน
และถ้าจะทำบุญด้วยการมาเจริญกรรมฐานแล้วอุทิศส่วนกุศลไป
การทำเช่นนี้ ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
ถ้าไม่มีพ่อแม่ เราทุกคนก็ไม่ได้เกิด อันนี้เป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์
ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตก็ให้กลับไปหาแม่
ไปกราบเท้าขอศีลขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข
ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน
ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรมล้างเท้าให้ท่านด้วย
เป็นการขอขมาลาโทษ
โอ้ผู้ใดใครเล่าจะเท่าแม่
พระคุณแม่เหนือใครไปทุกสิ่ง
ลูกนึกเทียบเปรียบสิ่งใดไม่ได้จริง
ช่างใหญ่ยิ่งยากแสนจะแทนคุณ
๖.) สรุปสาระของชีวิตมนุษย์
หัวใจหรือแก่นแท้คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ตลอดจนในอนาคต ก็เหมือนกัน คือ “ละชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์” ซึ่งหากทำได้ดังนี้ก็จะมีผลตามมาเป็นสัจธรรมความจริง คือ “ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ดี ทำบริสุทธิ์ได้บริสุทธิ์”นั้นเอง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และทำการเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายใน๓๑ ภพภูมิ ให้รู้จักทุกข์ และการพ้นออกจากทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลัก “ไตรสิกขา” คือ “ศีล สมาธิ และปัญญา”ให้สมบูรณ์ จนหลุดพ้นออกจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ คือมุ่งสู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุขไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก(แต่ถ้าอยากมาอีกด้วยวัตถุประสงค์และภาระจำเป็นจริงๆก็มาได้) เมื่อมีการเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมที่ตัวเองทำไว้ จึงต้องสำรวมระวังและประพฤติดีทั้งกาย วาจา และใจอยู่เสมอ คือ “มีสติ”คอยควบคุมกำกับให้คิดดี ทำดี และพูดดีอยู่เสมอ เพราะเมื่อ ดวงจิตหรือดวงวิญญาณมีการจุติหรือการเคลื่อนไปหรือตายไป ย่อมไปตามที่พระพุทธองค์สั่งสอนไว้ว่า
“จิตเต อะสังกะลิตเถ ทุคติ ปาฏิกังขา” แปลว่า “เมื่อจิต(ดวงสุดท้ายที่จุติหรือตายหรือเคลื่อนไป เพราะเศร้าหมองจากความชั่วที่ทำไว้)ทุคติ(นรก เปรต อสุกาย สัตว์เดรัจฉาน)คือที่หมาย(ที่ไปเกิดหรือไปปฏิสนธิ)นั้นเอง” ในทางตรงกันข้าม
“จิตเต สังกะลิตเถ สุคติ ปาฏิกังขา” แปลว่า “เมื่อจิต(ดวงสุดท้ายที่จุติหรือตายหรือเคลื่อนไป เพราะสดชื่นแจ่มใสไม่เศร้าหมองจากความดีที่ทำไว้)สุคติ(มนุษย์ สวรรค์ พรหมโลก)คือที่หมาย(ที่ไปเกิดหรือไปปฏิสนธิ)นั้นเอง”
กล่าวโดยสรุปมนุษย์ทั้งหลายล้วนเวียนว่ายตายเกิดใน๓๑ ภพภูมิ หรือสังสารวัฏนี้ไม่รู้จบรู้สิ้น ยกเว้นผู้ที่สร้างบุญกุศลคุณงามความดีจนถึงพร้อมจึงจะหลุดพ้นออกจากสังสารวัฏนี้ คือบรรลุพระนิพพานได้ นั้นก็คือ “บรรลุอรหันต์” หรือ “บรรลุเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า” หรือ “ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”ได้นั้นเอง หากไม่แล้วก็จะวนเวียนเกิดเป็นเวไนยสัตว์ เช่น เป็นมนุษย์อีก เป็นต้น ซึ่งการเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นไปตามสัจธรรมความจริงที่ผู้เรียบเรียงปะติดปะต่อไว้เป็นกลอนหรือโศลกให้จำได้ง่ายๆอย่างนี้ว่า “ห้ามี สี่หาม สามแห่ หนึ่งนั่งแคร่ สองพาไป” หมายความได้ดังนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายล้วนประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
๑. “ห้ามี” คือ มี “ขันธ์๕” หรือ “กอง๕”เป็นองค์ประกอบ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดังนี้
๑.๑) รูป : คือ รูปธรรมคือร่างกายของเรานี้จับต้องได้
๑.๒) เวทนา : มีความรู้สึก เช่น รู้สึกสุข(สุขเวทนา) รู้สึกทุกข์(ทุกขเวทนา) และรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์เป็นกลางๆ(อุเบกขาเวทนา)
๑.๓) สัญญา : คือ มีการสร้างความจำได้หมายรู้ เช่น ชื่อนั้น เป็นชาย-หญิง ขาว-แดง เป็นต้น
๑.๔) สังขาร : คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ
๑.๕) วิญญาณ : จิต หรือ ใจ หรือ มโน คือ การรู้แจ้งอารมณ์หรือรับรู้อารมณ์ เช่น รับรู้ทางหู(โสตวิญญาณ) ทางตา(จักษุวิญญาณ) เป็นต้น
๒. “สี่หาม” คือ ร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย “ธาตุ๔” คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ ดังนี้
๒.๑) ดิน : คือ ส่วนประกอบที่เป็นจองแข็งต่างๆในร่างกาย เช่น กระดูก ฟัน เล็บ เป็นต้น
๒.๒) น้ำ : คือ ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำตา เป็นต้น
๒.๓) ลม : คือ สิ่งที่เป็นอากาศและช่องว่างในร่างกาย เช่น ลมหายใจ ช่องว่างในท้อง เป็นต้น
๒.๔) ไฟ : คือ อุณหภูมิ ความร้อน-เย็นในร่างกายของเรา เป็นต้น
๓. “สามแห่” คือ “กฎไตรลักษณ์” หรือ “อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา” ดังนี้
๓.๑) อนิจจัง : คือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของร่างกาย
๓.๒) ทุกขัง : คือ การทนอยู่ตั้งอยู่ได้ยาก เป็นทุกข์ของร่างกาย
๓.๓) อนัตตา : คือ ความไม่มีตัวตนต้องสลายไปของร่างกายในที่สุด
สรุป ร่างกายมนุษย์หรือชีวิตมนุษย์ทั้งหลายล้วนเป็นไปตาม “กฎของไตรลักษณ์”หรือ “สามัญลักษณะ”คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หรือ เกิด แก่ ตายไป เป็นต้น
๔. “หนึ่งนั่งแคร่” คือ “จิต” หรือ “วิญญาณ” หรือ “ใจ” หรือ “มโน” เป็นต้น ก็คือ จิต หรือวิญญาณนี้แหละเป็นผู้ควบคุมบังคัญบัญชาร่างกายให้ปฏิบัติตาม ดังคำพูดที่ว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว”นั้นเอง
๕. “สองพาไป” คือ ชีวิตมนุษย์จะไปทางใหนเมื่อตายหรือจุติหรือเคลื่อนไป จะเกิดหรือปฏิสนธิที่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับ๒ อย่าง คือ “บุญ”หรือ “บาป” กุศลหรืออกุศลนั้นเอง ถ้ามีบุญจิตผ่องใสก็ไปเกิดในที่สุคติ แต่ถ้ามีบาปจิตเศร้าหมองก็ไปเกิดในทุคติภูมินั้นเอง
สัจธรรม!ของมนุษย์ทั้งหลาย
“ห้ามี สี่หาม สามแห่ หนึ่งนั่งแคร่ สองพาไป”
ที่มา : พนพ เกษามา(๒๕๕๔)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามนุษย์ทั้งหลายล้วนเวียนว่ายตายเกิดใน๓๑ ภพภูมิหรือสังสารวัฏนี้ ตามกฎแห่งกรรมหรือการกระทำ ซึ่งเมื่อมีการเกิดก็คือมีความทุกข์เกิดขึ้น เพราะย่อมเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงจำเป็นจะต้องสร้างบุญกุศลคุณงามความดีเพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิดหรือหลุดพ้นสู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุขและเป็นจุดหมายสูงสุดตามคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเอง พระพุทธองค์ไม่สรรเสริญการเกิดขึ้นของมนุษย์แม้เพียงชาติเดียว ดังพุทธดำรัสว่า “การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป เหม็นเหมือนอุจจาระ แม้เกิดอีกเพียงชาติเดียวตถาคตก็ไม่สรรเสริญ” จึงจำเป็นต้องสร้างคุณงามความดีให้ถึงพร้อมเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์สู่บรมสุขให้ได้ของเวไนยสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง
ขอบคุณข้อมูล : http://www.sujipuli.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=321047