ประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

ประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

กำเนิดพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2497 “หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด”เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างให้ได้ประทานนิมิตอัน เป็นมงคลยิ่งแก่ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ห่างจากวัดประมาณ 31 กิโลเมตร ให้สร้างพระเครื่องรางเป็นรูปภิกษุชรา ขึ้นแท่นองค์ของท่าน นายอนันต์นมัสการพร้อมทั้งปรึกษาท่านอาจารย์ทิม และเตรียมงานสร้างพระเครื่องในวันที่ 19 มีนาคม 2497 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกเบ้าและพิมพ์พระเครื่องหลวงพ่อทวดเรื่อยมาทุก ๆ วัน จนถึงวันที่ 15 เมษายน 2497 พิมพ์พระเครื่อง”หลวงพ่อทวด”รุ่นแรกได้ 64,000 องค์ ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจจะพิมพ์ให้ได้ 84,000องค์ แต่เวลาจำกัดในการพิธีปลุกเสก ก็ต้องหยุดพิมพ์พระเครื่องเพื่อเอาเวลาเตรียมงานพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวดตาม เวลาที่หลวงพ่อทวดกำหนดให้พระครูปฏิบัติ และแล้ววันอาทิตย์ ที่ 18 เมษายน 2497 ขึ้น 15 ค่ำเวลาเทียงตรงได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ณ เนินดินบริเวณอุโบสถเก่า โดยมีท่านอาจารย์ทิมเป็นอาจารย์ประธานในพิธีและนั่งปรกได้อาราธนาอัญเชิญพระ วิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดพร้อมวิญญาณหลวงพ่อสี หลวงพ่อทอง และหลวงพ่อจัน ซึ่งหลวงพ่อทั้งสามองค์นี้สิ่งสถิตอยู่รวมกับหลวงพ่อทวดในสถูปหน้าวัดขอ ให้ท่านประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์ความขลังแด่พระเครื่องฯ นอกจากนั้นก็มี หลวงพ่อสงโฆสโก เจ้าอาวาสวัดพะโคะ พระอุปัชฌาย์ดำ วัดศิลาลอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อาวุโส ณ วัดช้างให้ ร่ายพิธีปลุกเสกพระเครื่องสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เสร็จลงในเวลา 16.00 น. ของวันนั้นท่านอาจารย์ทิมพร้อมด้วยพระภิกษุอาวุโสและคณะกรรมการวัดนำทีมโดย นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้ร่วมกันทำการแจกจ่ายพระเครื่องหลวงพ่อทวดให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสซึ่งมา คอยรอรับอยู่อย่างคับคั่งจนถึงเวลาเทียงคืนปรากฏว่าในวันนั้น คือ วันที่ 18 เมษายน 2497 กรรมการได้รับเงินจากผู้ใจบุญโมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาท หลังจากนั้นมาด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหาร”หลวงพ่อทวด”ได้ดลบรรดาลให้พี่น้อง หลายชาติหลายภาษาร่วมสามัคคีสละทรัพย์โมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถดำเนินไป เรื่อยๆ มิได้หยุดหยั่งจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2499 ได้จัดพิธียกช่อฟ้าและวันที่ 31 พฤษภาคม 2501 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังนี้จึงสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์

รูปหล่อหลวงพ่อทวด ที่วัดช้างให้

ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด เกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน4 ปีมะโรง พ.ศ.2125 ณ บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า “ ปู่ ” หรือ “ ปู ” บิดามีนามว่า (ตาหู) มารดามีนามว่า (นางจันทร์) มีฐานะยากจนปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้หนึ่งไว้ชื่อ “ปาน” ตาหูและนางจันทร์เป็นข้าทาสของเศรษฐีปาน แห่งเมืองสทิงพระ ระยะที่หลวงพ่อทวดเกิด เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวในนา ในระหว่างที่พ่อแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ ได้ผูกเปลให้ลูกน้อยนอน ทำงานไปก็คอยเหลียวดูลูกน้อยเป็นระยะ แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คือนางจันทร์ได้เห็นงูตัวใหญ่มาพันที่เปลลูกน้อยแล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย นายหู-นางจันทร์ได้พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง อย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตรายใดๆเลย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อยเจ้าปู่ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับปุ๋ยสบายดีอยู่เป็นปกติ แถมมีลูกแก้วกลมใส ขนาดย่อมกว่าลูกหมากเล็กน้อยส่องเป็นประกายอยู่ข้างตัวเด็ก ตาหู นางจันทร์ มีความเชื่อว่าเทวดาแปลงกายเป็นงูใหญ่นำดวงแก้ววิเศษมามอบให้กับลูกของตน เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่อง จึงไปพบตาหู-นางจันทร์แล้วเอ่ยปากขอดวงแก้วนั้นซึ่งตาหู-นางจันทร์ ไม่อาจปฏิเสธได้เศรษฐีปานจึงได้ลูกแก้วไปครอบครอง แต่ไม่นานนักเกิดเหตุวิบัติต่างๆกับครอบครัวของเศรษฐีบ่อยๆ พอหาสาเหตุไม่ได้เลยนึกได้ว่าอาจจะเกิดจากดวงแก้วนี้ จึงนำไปคืนให้ ตาหู-นางจันทร์เจ้าของเดิม ส่วนตาหู-นางจันทร์เมื่อได้ดวงแก้วกลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้อย่างดี นับแต่นั้นมาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ก็ดีขึ้นเป็นเรื่อยๆ
พออายุได้ประมาณ 7ขวบ บิดามารดาพาไปฝากไว้กับ สมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เรียนหนังสือ เมื่ออายุได้ 14ปี สมภารจวง วัดดีหลวง จึงบวชเณรให้แล้วพาไปฝากไว้กับพระครูสัทธรรมรังสี วัดสีหยง เพื่อเรียนมูลกัจจายน์
ท่านพระครูสัทธรรมรังสี องค์นี้ทางคณะสงฆ์ของแผ่นดินจากกรุงศรีอยุธยาได้ส่งท่านมาเผยแพร่ศาสนาและสั่งสอยธรรมทางภาคใต้ เมื่อ “สามเณรปู่” เรียนอยู่ได้จนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนแล้วจึงได้แนะนำให้สามเณรปู่ ไปเรียนต่อที่ สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อสามเณรปู่ อายุครบ 20ปี พระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง ได้อุปสมบทตามเจตนารมณ์ของสามเณรปู่ และทำญัตติอุปสมบทตั้งฉายาว่า “ สามีราโม” โดยเอาเรือ 4ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัตติ ณ คลองเงียบแห่งหนึ่ง ต่อมาก็เรียกคลองนี้ว่า “คลองท่าแพ” มาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นชื่อจากพิธีกรรมในครั้งอดีต

http://www.tumsrivichai.com/index.php

. . . . . . .