รูปหล่อจำลองสัมฤทธิ์วัดเก่าหลวงพ่อเงิน

รูปหล่อจำลองสัมฤทธิ์วัดเก่าหลวงพ่อเงิน

เมื่อราวเดือนใดปีใดไม่ปรากฏได้มี ท่านปลัดชุ่ม ปทุมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำได้ปรึกษาหารือกับบรรดาทายก แบะคณะกรรมการวัดว่า หลวงพ่อเงินขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้มาอยู่ที่วัดท้ายน้ำเป็นนิตย์ คืออยู่มากพอ ๆ กับวัดวังตะโก ท่านยังเคยปรารภกับญาติโยมแถบนั้นว่า วัดท้ายน้ำนี้มันดี คำพูดนี้ท่านยังเคยกล่าวอยู่เสมอ ๆ และท่านยังเคยก่อสร้างเสนาสนะไว้หลายอย่าง อาทิเช่น ช่อฟ้าพระอุโบสถ ท่านก็เป็นผู้แกะเอง และหอระฆังที่พังไปแล้วท่านก็เป็นผู้เขียนลวดลายเอง บางครั้งขณะที่ท่านกำลังแกะวัตถุดังกล่าวอยู่นั้น ท่านเคยถามบรรดาญาติโยม และทายกทายิกาเหล่านั้นว่า ของของข้าสวยไหม บรรดาบุคคลใกล้ชิดเหล่านั้นก็ต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า สวยมาก ท่านหัวเราะชอบใจ และกุฏิหอสวดมนต์นั้น หลวงพ่อท่านก็ไปมามิได้ขาดเลย และสิ่งของที่หลวงพ่อโปรดปรานมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช้างที่ข้างหอระฆังหลังเก่านั้น ยังมีตะลุงช้างปรากฏอยู่ถึงเวลานี้ ช้างที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าชื่อช้างนบ ช้างแหนบ เท่าที่กล่าวมานี้ก็แสดงว่า หลวงพ่อท่านได้สร้างวัดท้ายน้ำด้วย เมื่อคณะกรรมการเห็นเหตุการณ์ดังที่กล่าวมานี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเงินอยู่มาก จึงได้ปรึกษาหารือกันขึ้น เมื่อคณะกรรมการตกลงกันแล้ว ได้ไปจ้างช่างทองสุข เป็นนายช่างใหญ่และตกลงราคากันเป็นเงิน๕๐๐ บาท ช่างทองสุขจึงเดินทางไปวัดวังตะโก พอไปถึงก็ลงมือปั้นหุ่นหลวงพ่อเงินกันทันที โดยไม่ได้บอกเล่าอะไรต่าง ๆ กับหลวงพ่อ ปรากฏว่า การปั้นหุ่นครั้งที่ ๑ ไม่เหมือนรูปเดิม ช่างเลยลบรูเดิมใหม่แล้วลงมือปั้นครั้งที่ ๒ ก็ยังไม่เหมือนอี พอดีคูนโยมผึ่ง (ไม่ทราบนามสกุล) ได้แนะนำนายช่างว่าควรทำอย่างนี้ คือต้องใช้หัวหมู ๓ หัว เครื่องกระยาบวช ๓ สำรับ บายศรีซ้ายและชวา บอกเล่าให้เรียบร้อยเสียก่อน นายช่างทองสุขก็ทำตามที่โยมผึ่งแนะนำทุกประการ การปั้นหุ่นหลวงพ่อเงินครั้งที่๓ นี้จึงสำเร็จตามความประสงค์ คือเหมือนรูปเดิมอย่างกับพิมพ์เดียวกัน ให้คณะกรรมการที่วัดดูก็เห็นพ้องต้องกันว่าเหมือนแน่ แล้วจึงนำหุ่นหลวงพ่อลงเรือมาปากน้ำ จานนั้นจึงจัดกระบวนแห่เป็นการใหญ่ ทั้งประชาชนชาวบ้านท้ายน้ำตลอดทั้งเด็กและผู้ใหญ่พอมาถึงที่วัดท้ายน้ำก็กำหนดการหล่อ นายช่างได้นำเศษทองที่เหลือจากการหล่อที่วัดวังตะโกเพราะเศษทองยังมีเหลืออยู่มากจึงได้นำมาผสมหล่อรูปหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ (วัดเก่าหลวงพ่อเงิน) อภินิหารของหลวงพ่อเงินที่จำลองไว้ที่วัดท้ายน้ำ หรือความศักดิ์สิทธิ์ของรูจำลองของหลวงพ่อเงินนั้นทุก ๆ วันจะมีประชาชนทั้งใกล้และไกลมานมัสการ หรือมาปิดทองโดยทั่วกันไม่เว้นแต่ละวัน พอถึงเทศกาลไหว้พระ หรือมีงานประจำปีทุกครั้งสามารถทำรายได้ไว้บำรุงวัดท้ายน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนได้ดี

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

. . . . . . .