ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในฐานะเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ
หน้าที่ 1 – นักปราชญ์
ถ้าไม่เกี่ยวกับเรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราบัญญัติ อย่างนี้ก็พอจะจับได้สักชั้นหนึ่งก่อนว่าเรื่องความดับทุกข์นั่นแหละเป็นหัวใจของศาสนา ที่นี่ความดับทุกข์จะดับได้อย่างไรยังไม่รู้ เลยพูดออกไปได้ชัดเลยว่า ไอ้ความไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรโดยความเป็นตัวตนของตนนั่นแหละเป็นการดับทุกข์ จะพูดให้สั้นก็ว่าความไม่ยึดมั่นถือมั่นขยายความออกไปความไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นตนของตนหรือเป็นของ ของตน เป็นตนข้างในก็คือเป็นตน เป็นตนข้างนอกก็คือของตน เรียกกันทั่วๆไปว่าการไมยึดมั่นถือมั่น ที่นี่ก็มีปัญหาที่จะต้องบอกให้ทราบว่าคนเป็นอันมากที่เป็นนักปราชญ์ที่เรียกกันว่าเป็นนักปราชญ์ ก็คัดค้านว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกับคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนทั้งหลายด้วยยิ่งไม่ต้องพูดและคนทั่วไปก็ไม่ต้องพูด พูดเพียงแต่กับคนไม่กี่คนที่จะบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์จึงจะพูดเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้เสีย แต่อาตมาก็ยังยืนยันว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องพูดแก่ทุกคนทุกระดับตามสมควรแก่สถานของเขา เอาเป็นว่าเราไม่พูดถึงเรื่องความยึดมั่นถือมั่นที่ทำบุคคลให้เป็นพระอรหันต์นั่นแหละแก่ทุกคนเพราะมันเป็นเรื่องเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ทุกคนดับทุกข์ได้ ถ้ามีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดโดยความเป็นตนของตน มันก็จะเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่นนั่นเองเหมือนกับถืออะไรไว้ในมือจับอะไรไว้ในมือมันก็หนักมือ เป็นต้น ก็เข้าใจกันได้ง่ายๆอย่างนี้
แต่จิตที่ไม่ยึดมั่นไม่แบกไม่ถือไม่กุมไม่จับอะไรไว้โดยความเป็นตัวตนของตน เรียกว่าจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นมันเลยเป็นจิตที่อิสระ มีอิสระไม่มีอะไรรบกวน ไม่มีอะไรเป็นความหนักเกิดเป็นความดับทุกข์ แม้จะเคยได้ยินมาในอริยสัจว่าตัณหาเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์ นี่ก็รองคิดดูเองให้ดีว่าตัณหานั่นก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นอีกทีนึง ตัณหาแหละเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นและเมื่อยึดมั่นถือมั่นมันก็จะเป็นทุกข์และก็พูดว่าเป็นทุกข์เพราะว่าความยึดมั่นถือมั่นนี่แหละมันใกล้ชิดกว่าว่าตัณหาเป็นความอยากและถอยหลังกลับมาจากอวิชชาว่ามันเกิดความอยากโดยที่สิ่งทั้งปวงไม่ควรอยากไม่ต้องอยากมันเป็นอย่างนั้นเอง แต่มันมีความโง่มีอวิชชาแล้วมันก็จะเกิดความอยาก พอมันเกิดความอยากในจิตใจแล้วมันก็คลอดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งออกมาทางกิริยา มีผู้อยากเป็นตัวกูผู้อยาก ยึดมั่นตัวกูเป็นผู้อยาก ยึดมันไอ้อันที่อยากนั่นมาเป็นของกู อย่างนี้เขาเรียกว่าความยึดมั่นถือมั่นเต็มที่ ถ้าจิตรู้สึกอย่างนี้เขาเรียกว่า ความทุกข์ จะเปรียบกับไฟไหม้ จะเปรียบกับน้ำท่วม จะเปรียบกับถูกตี จะเปรียบกับถูกแทง จะเปรียบกับอะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละเพราะมันเกี่ยวความยึดมั่นถือมั่น และไอ้ความยึดมั่นนั่นแหละมันกัดหัวใจมันกัดเรา นั่นขอให้มองเห็นว่าถ้าเรามีความอยากนั้น ก็จะเห็นว่าความโง่นั้นคือความอยาก ถ้ามีความอยากนั้นคือความโง่ ถ้ามีความโง่นั้นคือความอยาก มีความอยากจิตเมื่อไรก็จะปรุงตัวตนผู้อยากขึ้นมาทันทีและก็ต้องเป็นทุกข์เพราะความมีตัวตนผู้อยาก อยากอย่างร้อนรนกระวนกระวายเพราะความโง่ ไอ้ความทุกข์และความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นนั้นมาจากความอยากจากความโง่ ความโง่นี้ก็มาจากอวิชชาคือไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่รู้จักสิ่งต่างๆทุกสิ่งว่าเป็นไปตามธรรมชาติตามกฎของธรรมชาติเช่นนั้นเอง พอมันเกิดมามันก็ไม่ได้เรียนรู้เรื่องของธรรมชาติเลย อะไรอร่อยน่ารักก็พอใจ อะไรไม่อร่อยไม่น่ารักก็โกรธไม่พอใจก็ขัดใจ มันก็เลยได้เป็นทุกข์ ถ้าอะไรน่ารักก็เกิดยึดมั่นถือมั่นก็เกิดอุปทานตัวกูอยากจะได้ ถ้าเกิดไม่พอใจขัดใจมันก็เกิดตัวกูอยากจะทำลายเสียมันก็เป็นอุปทานเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่นด้วยกันทั้งนั้น พุทธบริษัททุกคนควรจะรู้ความจริงข้อนี้ให้ชัดแจ้งเป็นหลักพระพุทธศาสนามิฉะนั้นจะพลัดออกไปนอกทางของพระพุทธศาสนา เช่นไสยศาสตร์ เป็นต้น เรื่องไสยศาสตร์นี่ก็ควรเป็นสิ่งที่รู้จักไว้ ว่ามันตรงกันข้ามคนละอย่างกับพุทธศาสตร์ ถ้าพุทธศาสตร์มันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เป็นไปตามกฎแห่งเหตุผลแล้วมันต้องการแก้ไขที่เหตุนั้นดังนั้นมันจึงต้องทำเองไม่รอให้ใครที่ไหนมาช่วย ถ้าเป็นเรื่องไสยศาสตร์มันง่ายกว่านั้น คือมันคิดหาที่พึ่งข้างนอกอ้อนวอนให้พระเจ้าช่วย และก็ทำพิธีต่างๆนาๆตามวิธีทางไสยศาสตร์มันก็ทำให้สบายใจได้พักนึงแต่ความทุกข์มันดับไม่ได้โดยเด็ดขาด เนี่ยพุทธศาสตร์แปลว่าศาสตร์ของคนตื่น ไสยศาสตร์แปลว่าศาสตร์ของคนหลับ ยกตัวอย่างง่ายๆเดียวนี้เลยว่า อย่างว่าเอาพระเครื่องมาแขวนคอว่าศักดิ์สิทธิ์แล้วก็จะช่วยเรา บนบาลศาลกล่าวว่าให้พระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ช่วยเราอย่างนี้เขาเรียกว่าไสยศาสตร์ เอาพระเครื่องมาแขวนคอเป็นไสยศาสตร์ แต่เขาเอาพระเครื่องมาแขวนคอด้วยความรู้ว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนความดับทุกข์ไว้และดับทุกข์ได้จริงเลยชอบใจธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วจะปฏิบัติตามและจะระลึกนึกถึงอยู่เสมอจึงเอามาแขวนคอ ถ้าเอาพระเครื่องมาแขวนคอด้วยความรู้สึกแบบก็เป็นพุทธศาสตร์ ศาสตร์ของคนตื่นไม่ใช่หลับ มันต่างกันตรงตื่นกับหลับ ถ้าทำอย่างไม่มีเหตุผลงมงายไปก็เรียกว่าไสยศาสตร์คือหลับ ถ้าทำอย่างถูกต้องตามความจริงของธรรมชาติก็เรียกว่าพุทธศาสตร์นั่นคือตื่น ทุกอย่างจะเป็นอย่างนี้หมดถ้าทำไปโดยงมงายโดยปราศจากเหตุผลหมดช่วยกัน ให้ผลอื่นมาช่วยอย่างนี้เขาเรียกว่าไสยศาสตร์มีพิธีรีตองมาก ถ้าเรารู้ว่าทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราทำผิด โง่เอง ทำผิดเองเกี่ยวกับความคิดและจิตใจ ทำขึ้นใหม่ให้มันถูกสิแล้วมันก็จะดับทุกข์เองด้วยตนเองอย่างนี้คือพุทธศาสตร์ ขอให้นักศึกษาทั้งหลายเริ่มเข้าใจสิ่งทั้งสองนี้วสามันต่างกันอย่างไร ถ้าใครเป็นไสยศาสตร์อยู่ก็เลื่อนชั้นให้เป็นพุทธศาสตร์เสียจะได้เข้าถึงหัวใจพุทธศาสนาได้โดยง่าย หัวใจของพุทธศาสนาก็คือ ความรู้ที่ถูกต้องและก็ความไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของตน คำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละเป็นจุดสำคัญของเรื่องนี้ ถ้าจะพูดกันว่าเรียนรู้เรียนรู้ เรียนอย่างวิชาความรู้เรื่องนี้คือเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าจะเป็นการปฏิบัติลงไปด้วยกาย วาจา ใจก็ปฏิบัติเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น
หน้าที่ 2 – พ่อบ้านแม่เรือน
ถ้าเป็นผลของการปฏิบัติ ถ้าได้ผลของการปฏิบัติแล้วก็ได้รับออกมาเป็นผล คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ดับทุกข์สิ้นเชิงนั่นแหละ จึงสรุปได้ว่าจะรู้ก็ดี จะปฏิบัติก็ดี จะรับผลของการปฏิบัติก็ดี มันต้องเป็นเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น มันจึงจะถูกหัวใจของพุทธศาสนา คนธรรมดาสามัญก็ยึดมั่นถือมั่นเป็นธรรมดา ยิ่งโลกสมัยนี้ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมาก เพราะว่าประดิษฐ์ไอ้สิ่งที่ทำให้หลงรัก หลงพอใจนั่นมากกว่าแต่ก่อน จึงกล้าพูดได้ว่าคนสมัยนี้มีความยึดมั่นถือมั่นมากกว่าคนโบราณดึกดำบรรพ์ จึงมีความยึดมั่นถือมั่นที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นมากกว่า นั้นจึงมีความทุกข์มากกว่า ที่จะเป็นความทุกข์น้อยๆอย่างเป็นโรคประสาทนะเนี่ย จะเป็นกันทุกๆคน ถ้าไม่มีความทรมารใจด้วยความยึดมั่นถือมั่นแล้วมันก็ไม่เป็น เด็กวัยรุ่นเด็กทารก ก็ยึดมั่นถือมั่นเพราะว่าสิ่งแวดล้อมทำให้ยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในบิดามารดา ยึดมั่นถือมั่นในอาหาร ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สวยงาม ล้วนแต่เขาเอาเข้ามาให้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนว่าเป็นของตน เขาก็จะเป็นทุกข์กับความยึดมั่นถือมั่นคือจิตใจผิดปกติแล้ว ถ้าจิตใจเป็นปกติก็จะไมยึดมั่นถือมั่นอะไรหรือไม่ได้เป็นทาสของอะไร ถ้าไปพอใจหรือไม่พอใจสิ่งนั้นก็จะไปเป็นทาสของสิ่งนั้นเพราะสิ่งนั้นทำให้รู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์มันก็หนักด้วยกันทั้งนั้น ยึดเอาไว้ด้วยความเป็นสุขมันก็เป็นทาสของความสุข รู้สึกว่าเป็นทุกข์มันก็เป็นทาสของความทุกข์ ฉะนั้นเด็กๆเล็กๆก็ควรไดรับการสั่งสอนเรื่องการไม่ยึดมั่นถือมั่น ตามสมควร คือ เท่าที่เด็กจะทำได้ เช่นว่า ตุ๊กตี่เขารักมากที่สุดมันหายหรือมันตกแตก เด็กเขาที่มีความยึดมั่นถือมั่นเขาก็ร้องไห้อย่างกับจะตายนั่นแหละมันคือส่วนที่เป็นความยึดมั่นถือมั่น ถ้ามั่นไม่มีความยึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่ต้องร้องไห้
ดังนั้นเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นเนี่ยควรสอนแม้แต่เด็กๆ แม้แต้ลูกเด็กๆ ที่ว่าไม่ควรเอามาสอนมันว่าเอาเองคือไม่มีหลักการอะไรและยังด่าคนอื่นด้วย อาตมาก็เคยถูกด่าว่าเอาเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นมาสอนชาวบ้านธรรมดามาสอนเด็กๆ ก็ไม่เป็นไรแต่เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นควรสอนแก่ลูกเด็กๆขึ้นไป ถ้าตุ๊กตาตกแตกก็ให้คลายความยึดมั่นด้วยการบอกว่ามันก็เช่นนั้นเองแหละ มันเป็นเช่นนั้นเองแหละ ถ้ามันหายมันก็เช่นนั้นเองแหละ ถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นมันก็มีเรื่องที่ยึดมั่นถือมั่นมากขึ้นถึงขั้นลักขโมย เกิดตีรันฟันแทงเพราะขัดใจ ให้เขาคลายความยึดมั่นถือมั่นลงเป็นจะไม่มีเรื่องมาก นี้มาถึงคนหนุ่ม คนสาวก็มีความยึดมั่นถือมั่นมากขึ้นไปอีก เพราะว่าเรื่องทางเพศมันแทรกเข้ามาอีกเรื่องหนึ่งเป็นที่สร้างความยึดมั่นถือมั่น ดังนั้นจึงเป็นทุกข์หนักมหาศาลถึงขั้นฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวเองตาย ฆ่าคนเกี่ยวข้องตาย ฆ่ากันตายทั้งคู่อย่างนี้ก็มี นี่เพราะว่ามันมีความยึดมั่นถือมั่นรุนแรงขึ้นมา ถ้าเขาเห็นว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง ก็ไม่ต้องมีอาการที่เรียกว่า ผิดหวังหรืออกหัก หรือชนิดที่เรียกว่าต้องมาทำลายตัวเอง นั้นควรที่จะได้รับรู้เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นไว้พอสมควรจะได้ไม่โง่มาก จะได้ไม่ต้องทำผิดมากถึงขนาดนั้น ที่นี้เป็นคนหนุ่มสาวก็ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นรุนแรงตามเรื่องของคนหนุ่มสาว ควรจะรู้จักควบคุม รู้จักป้องกัน รู้จักบรรเทา อย่าให้วัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่บ้าครั่นที่สุด และก็ทำสิ่งที่ไม่ควรจะทำก็ทำไปมากที่สุด ในเมื่อเป็นพ่อบ้านแม่เรือนก็มีความยึดมั่นถือมั่นไปในเรื่องทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียงอะไรไปทางนั้น มันก็ต้องมีความทุกข์เกี่ยวกับทรัพย์สมบัติ หิวอยู่ตลอดเวลาหายไปก็เป็นทุกข์เดือดร้อน ไม่มีความรู้สึกว่าเช่นนั้นเองหาเอาใหม่ได้ ทำให้ดีอย่าทำให้มันผิดๆหรือโง่เขลา เช่น ทำลายทรัพย์สมบัติด้วยอบายมุข เป็นต้น เขาก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นเพราะว่าเป็นการทดอยู่ในกองทุกข์ ฉะนั้นการเป็นพ่อบ้านแม่เรือนก็เหมือนกับการตกนรกทั้งเป็น ก็เรื่องก็เรื่องมันก็เข้ามาสุ่มอยู่ในจิตใจที่จะให้เป็นทุกข์ นี่ต่อไปถึงคนเฒ่าคนแก่ ก็ยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตน เรื่องความดีเรื่องบุญเรื่องกุศล เรื่องหนักอกหนักใจไปตามแบบของคนแก่ ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นเรื่องใดก็เป็นความปล่อยวงเป็นความหลุดพ้นได้ เหมือนกันตั้งแต่เด็กเล็กๆขึ้นไปจนถึงคนแก่คนเฒ่า ก็ต้องรู้เรื่องความยึดมั่นถือมั่นให้พอสำหรับจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นมาเป็นความทุกข์ เป็นความรักบ้าง เป็นความเกียจบ้าง เป็นความกลัวบ้าง เป็นความวิตกกังวลบ้าง ความอาลัยอาวอนบ้าง ความอิจฉาริษยาบ้าง ความหึงความหวงบ้างอะไรต่างๆนาๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องทำลายความสงบสุขของจิตทั้งนั้นควรจะรู้จักขจัดออกไปเสีย ควรที่จะให้การศึกษาตามสมควรแก่ระดับ ระดับเด็ก ระดับวัยรุ่น ระดับหนุ่มสาว ระดับพ่อบ้านแม่เรือน ระดับคนเฒ่าคนแก่ ควรจะได้รับการศึกษาในแต่ละระดับอย่างเด็กก็ได้รับการศึกษาจากบิดามารดาที่บ้านที่เรือนให้รู้จักว่ามันเป็นเช่นนั้นเองเสียบ้างอย่าไปโหยหาอย่าไปร้องไห้ อย่าไปกระหายชนิดที่เรียกว่าโง่เขลา เด็กนั้นก็จะมีความทุกข์น้อยเข้าจะมีใจคอปกติและก็จะทำอะไรได้ดี ถ้าจะเรียนหนังสือก็จะเรียนได้ดี ถ้ามีความยึดมั่นถือมั่นมารบกวนอยู่อย่างนี้ก็จะเรียนไม่ได้ดี หรือบางทีมันถึงกับจะเรียนไม่ได้ สำหรับนักศึกษาโดยเฉพาะจะต้องมีการกระทำที่ไม่เป็นความยึดมั่นถือมั่นคือรู้ว่ามันเป็นอะไรต้องการอะไรก็ทำให้ถูกต้องตามเรื่องของมัน ในการเรียนหรือการศึกษาต้องมีสติปัญญารู้ว่าต้องเรียนอย่างไรและก็เรียนไปอย่างสติปัญญามันเชื้อเชิญอย่าให้กิเลสตัณหามาทำให้มืด โดยเฉพาะเรื่องความหวัง ความหวังระวังให้ดีมักจะสอนให้เด็กๆตั้งความหวังและจงหวังให้มากๆ ถ้าอย่างนี้มันเป็นผิดหลังพุทธศาสนา ซึ่งต้องการที่จะให้ทำไปอย่างมีสติปัญญาและถูกต้องตามสติปัญญา อย่าไปหวังให้มันกัดหัวใจลงมือหวังเมื่อไรมันก็กัดด้วยความผิดหวังเมื่อนั้น เพราะว่าเราหวังและเราก็ไม่ได้ตามหวังคือมันผิดหวังอยู่ตั้งนาน กว่าจะได้อย่างหวังก็ตั้งนานหรืออาจจะไม่ได้เลยก็มี นั้นมันไม่ต้องไปหวังให้มันผิดหวังอยู่อย่างคนไม่ผิดหวังเสียดีกว่า ทำหน้าที่การงาน ศึกษาเล่าเรียนไปด้วยสติปัญญาในการเรียนการศึกษา แม้ในการบริหารร่างกายก็ทำไปด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็ทำไปตามเรื่องตามหลักของการบริหารร่างกาย ถ้ายึดมั่นถือมั่นมันก็จะทำเกินไปจะเป็นอันตราย การคบหาสมาคมกันก็อย่างทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นมันจะหลับตา คือมันจะเป็นเหมือนคนหลับตาหรือเหมือนกับมันจะตาบอดถูกต้องพอทำให้ถูกต้องพอเหมาะพอดีที่มีด้วยสติปัญญานั้นมีอยู่อย่างไร ศึกษาในทางของสติปัญญาก็ควรควบคุมการกระทำให้เป็นไปตามร่องรอยของสติปัญญาก็ไม่ต้องให้มันเป็นความยึดมั่นถือมั่นอย่างหลับหูหลับตา เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีก็เหมือนกัน เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีก็เป็นของดีเพราะไม่ต้องคิดเขาคิดมาให้แล้วเป็นของสำเร็จรูปแล้วถ้าไปยึดมั่นถือมั่นมันจะพาดมันจะเลยเถิด มันจะโง่ลงมาทั้งที่ขนบธรรมเนียมประเพณีเขาทำไว้ดี แต่นั่นมันพูดยากขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างต้องตีความหมายก็มี ถ้าตีเองได้ก็ดีถ้าตีเองไม่ได้ก็ถามครูบาอาจารย์หรือศึกษาเรื่องเหตุผลของมันนี่ถึงจะเรียกว่าเป็นนักศึกษา เป็นนักเรียน เป็นนักศึกษาให้รู้เรียกเหล่านี้ ที่นี้มีคำอยู่สองคำที่อยากจะ ที่จะขอร้องให้ช่วยจำกันไว้ดีๆ ว่ามีคำพูดอยู่สองคำซึ่งมันครอบคลุมทั้งหมดไว้อยู่สองฝ่ายเลย คำแรกคือคำว่า อุปทานแปลว่าความยึดมั่นถือมั่น อีกคำหนึ่งคือคำว่าสมาทาน แปลว่าถือเอาไว้อย่างดี ถือเอาไว้อย่างถูกต้องหรืออย่างดี อุปทานแปลว่ายึดมั่นถือมั่นถือไว้อย่างเครียดอย่างหลับหูหลับตาก็คือ อย่างยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละ อุปทานก็แปลว่ายึดมั่นถือมั่น สมาทานก็แปลว่าถือไว้อย่างดี
หน้าที่ 3 – สมาทาน
คำว่าอุปทานในภาษาชาวบ้านนั้นแปลน้อยเกินไปเป็นโรคอุปทานก็เป็นโรคเกี่ยวกับการหมายมั่นเกินพอดีก็ถูกแล้วก็เป็นอุปทานเหมือนกันแต่ยังไม่เต็มตามความหมาย อุปทานคือหมายมั่นด้วยความโง่ ด้วยความไม่รู้ ด้วยความงมงาย แต่ถ้าสมาทานจะไม่ทำอย่างนั้น รับถือเอาไว้อย่างถูกต้อง อย่าทำด้วยอุปทานแต่ทำด้วยสมาทานที่ถือเอาไว้อย่างดีรับเอาไว้อย่างดี แม้แต่กระทั่งการเรียนนั้นก็ไม่ต้องอุปทานหมายมั่นเอาไว้ให้มันกัดหัวใจ สมาทานถือไว้อย่างดีทำไปพอดี ทำไปถูกต้องด้วยสติปัญญาอย่างนี้เรียกว่าเรามีการศึกษาด้วยสมาทาน แต่ถ้าทำอย่างหลับหูหลับตางมงายเร่งรัดจนเป็นโรคประสาท เนี่ยเรียกว่า อุปทาน มันศึกษาด้วยอุปทาน มันอุปทานในการศึกษามันกัดเอาบางทีมันถึงกับตายก็ได้ ทุกอย่างจงกระทำด้วยสติปัญญาพอเหมาะพอดีถูกต้องก็เรียกว่าสมาทาน ถ้าทำอย่างงมงาย โง่เขลา ก็ทำอย่างเคร่งครัด คัดเครียดก็เป็นเหตุให้เกิดตัวตนรุนแรงขึ้นมาในส่วนหนึ่งมันก็เป็นทุกข์ แต่ถ้ามันเกิดตัวตนขึ้นมาแล้วมันก็ทำไปอย่างมีตัวตนคือว่าจะไปข่มผู้อื่น เรียกว่า จะมายกตนข่มท่าน ในความยึดมั่นถือมั่นมากเกินไปมันมีตัวตนขึ้นมาสำหรับยกตัวตนข่มท่าน นั้นจะพูดตามแนวท่านเราจะพูดตามแนวที่เราจะต้องประพฤติปฏิบัติหลักธรรม เช่น ว่าจะให้ทานจะทำบุญทำทาน จะให้ทานก็จงสมาทานในการให้ทาน อย่าอุปทานในการให้ทานมันจะเกินไป แล้วมันก็จะผิดพลาดได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วมันก็จะทำมากถึงกับบ้าบุญหมดเนื้อหมดตัวถึงกับทำไปจนหมดเนื้อหมดตัวเลยก็ได้ จนไม่มีอะไรกินเองเลยก็ได้ถ้าทำด้วยอุปทาน และมันก็ไม่เลือกมันก็ทำบุญอย่างไม่ต้องเลือกอย่างนี้มันทำผิดแล้ว สมาทานมีสติปัญญาควบคุมอยู่ ทำให้ถูกต้อง ทำให้พอดี ทำในที่ที่ควรกระทำ ในเวลาที่ควรกระทำ ในลักษณะที่ควรกระทำมันก็เป็นสมาทาน นี่เรียกว่าทำบุญทำทาน จะรักษาศีล รักษาศีลด้วยสมาทาน สมาทานศีล เราได้ยินคำว่าสมาทานศีลกันอยู่เป็นหลักอยู่แล้วไม่มีใครใช้คำว่าอุปทานศีล และก็มีคนโง่บางจำพวกมีอุปทานในศีลมากเกินไป ยึดมั่นถือมั่นมากเกินไปจนจะให้เป็นของที่พิเศษ ศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าธรรมดา
คนเหล่านี้จะทำเป็นพิธีรีตองทั้งนั้น รักษาศีลด้วยอุปทานจะทำเป็นพีธีรีตองโดยส่วนมาก ไม่ได้มุ่งหมายขจัดสิ่งที่ไม่ดี ที่มีอยู่ในในร่างกายนี้ที่มีอยู่ออกไป เพราะมันมืดด้วยความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปทาน คนเหล่านี้รักษาศีลจนตายเปล่าก็ไม่มีศีล ถ้าจะให้มีศีลก็ต้องทำด้วยสมาทานรู้ว่ารักษาเพื่ออะไรและก็ให้มันเป็นเพื่อสิ่งนั้นและก็ได้รับประโยชน์ คือกำจัดขัดเกลา ความไม่ถูกต้องทางกาย ทางวาจา ทางมารยาท ตลอดจนถึงงานสังคมอะไรด้วยที่มันต้องประพฤติทางกายทางวาจาให้มีแต่ความถูกต้อง ที่นี้เขาก็จะมีศีล แล้วศีลนั้นจะคุ้มครองได้จริงให้อยู่เป็นผาสุกได้จริง ที่นี้สูงขึ้นไปจะทำสมาธิถ้ามีอุปทานในการทำแล้วมันก็เพลี่ยงพล้ำ มันก็งมงายกลายเป็นเรื่องขลังเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เรื่องปาฏิหาริย์ชนิดที่ทำให้เป็นคนบ้า นั้นถ้าทำสมาธิเป็นบ้าก็ขอให้รู้ไว้เถิดว่ามันทำด้วยอุปทาน ก็มีอยู่มากเหมือนกันที่ทำสมาธิแล้วเป็นบ้าเพระมันทำด้วยอุปทานจะได้ขลัง ได้ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา มีฤทธิ์มีเดชขึ้นมา มีปาฏิหาริย์ขึ้นมา และก็ทำแบบว่าพิธีเท่านั้นมันรู้จักแต่แค่พิธีเท่านั้นแหละแล้วมันก็ทำพอทำแล้วมันก็คิดว่าจะได้ผลอย่างนั้น ถ้าทำด้วยสมาทานเราก็ทำให้ถูกวิธีทำจิตให้สงบลงไป เมื่อจิตสงบแล้วเราก็ใช้จิตนั่นแหละมาดูให้เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวงว่าเป็นอย่างไร มันก็เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวงมันก็ไม่ต้องมีปัญหาของสิ่งทั้งปวง มันไม่หลงรัก หลงเกียจ หลงกลัว หลงวิตกกังวลอะไรในสิ่งใดเรียกว่าทำโดยสมาทาน ที่นี้ถ้าว่าจะทำของเล็กๆน้อยๆไปกว่านั้น น้อยๆไปกว่านั้นจะสวดมนต์ไหว้พระ จะอธิฐานจะอะไรต่างๆก็อย่าทำด้วยอุปทาน จะไหว้พระสวดมนต์ก็อย่าทำด้วยอุปทานทำด้วยสมาทานคือทำพอดีทำถูกต้องได้รับผลอยู่ตลอดเวลาไม่งมงายไม่เพลี่ยงพล้ำ งมงายเพราะความโง่มีความโลภเกินไป สวดมนต์สักหน่อยเพื่อจะแลกเอานั่น แลกเอานี่ แลกเอาไปเอาสวรรค์วิมารบ้าง แลกเอาความเก่งความหวังความศักดิ์สิทธิ์อะไรบ้าง บางที่ก็อธิฐานด้วยการทำอย่างนี้ว่าให้สอบไล่ได้บ้างแล้วมันก็ไม่ถูกเรื่องมันก็ต้องสอบไล่ตกไปเป็นธรรมดาแหละ ในข้อปฏิบัติประเภททุดงคือเป็นการอยู่อย่างมักน้อยอยู่อย่างสันโดษนั่นแหละ ก็เหมือนกันแหละอย่าทำเป็นอุปทานก็เพลี่ยงล่ำเหมือนกันหมดแหละ งมงายอย่าง จะกินอยู่อย่างพอดี จะนุ่งห่มแต่พอดี จะใช้สอยแต่พอดี จะบำบัดโรคภัยไข้เจ็บแต่พอดีคือการไม่ทำเกินไปอยู่ในระดับพอดี เป็นการป้องปันด้วยเป็นการแก้ไขด้วย นี้ก็ต้องทำด้วยสมาทานไม่ใช่ทำด้วยอุปทานมันจะโง่หนักเข้าและมันจะเป็นโรคทางจิตใจเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง ว่าการกินผักหรือมังสวิรัติเดี๋ยวนี้ก็เป็นที่นิยมกันขึ้นมาก ก็นิยมกินผักกันขึ้นมากก็ระวังให้ดีอย่าทำด้วยอุปทาน จึงควรทำด้วยสมาทานคือมีสติปัญญาในการกระทำ อ่าทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นมันจะเป็นศีลปตพรมาส คือจะไม่เป็นสิ่งที่เป็นศีลแล้ววัดขึ้นมาได้ จิตเลยเป็นของสกปรกเป็นของงมงายเป็นของมืดบอดไปเสีย มันไม่ได้ทำด้วยสติปัญญามันทำด้วยความงมงาย แล้วมันก็จะมีตัวตนเกิดขึ้นสำหรับดูถูกผู้อื่นข่มขู่ผู้อื่น ลบลู่ข่มเหงผู้อื่นนั้นเรียกว่ายกตนข่มท่านขึ้นมาทีเดียว ที่นี้จะให้ดีขึ้นไปอีกมันต้องไม่กินทั้งเน้อและทั้งผัก ไม่ทำความสำคัญว่าเนื้อ ไม่ทำความสำคัญว่าผัก ทำความสำคัญแต่เพียงว่าอาหารที่เยียวยาความสำคัญแต่ความเป็นอัตถะภาพก็รับระทาน อย่างนี้ยิ่งต้องทำด้วยสมาทาน จะทำเป็นอุปทานไม่ได้จะไม่สำเร็จ จะต้องทำด้วยสมาทานมีสติสัมปชัญญะรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำไปด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่นว่าเนื้อไม่ยึดมั่นว่าผัก เลยกลายเป็นคนที่ไม่กินทั้งเนื้อไม่กินทั้งผัก กินแต่อาหารที่ถูกต้องพระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ อะไรที่จะทำให้ดีนั่นแหละอย่าทำด้วยอุปทานมันจะเกินไปจนเป็นบ้า แต่ต้องทำด้วยสมาทานความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและต้องอยู่ในระดับที่พอดี เดี๋ยวนี้เรามีเรื่องปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ เราจะต้องปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ด้วยจิตใจที่ลืมหูลืมตา มีสติปัญญาสัมปชัญญะ อย่าทำด้วยอุปทานถ้าทำด้วยอุปทานมันจะโง่ เมื่อโง่มันก็อยากจะกินดีเกินมันก็อยากจะนุ่งห่มแต่งตัวหรูหราเกินไป อยากจะอยู่บ้านเรือนที่เป็นวิมาร ซื้ออะไรก็เป็นไปในทางที่เป็นกิเลสตัณหาเสียทั้งหมด ปัจจัยก็เลยไม่เป็นปัจจัยที่จะบำรุงให้เกิดความสุข มันทำให้วินาถ ให้วินาถเขามีปัญหาทำผิดก็ต้อง วินาเพราะการกินอยู่ การนุ่งห่ม การอยู่อาศัย การเยียวยารักษาโรคที่เรียกว่าปัจจัยสี่นั้นเอง ที่จริงปัจจัยสี่นั้นจำเป็นแต่ว่าต้องกระทำให้ถูกต้อง อย่ากระทำให้เลยเถิดเป็นความยึดมั่นถือมั่น ที่นี่จะพูดถึงเรื่องหน้าที่การงาน เรามีหน้าที่การงานอะไรก็ทำหน้าที่การงานนั้นด้วยสมาทานอีกนั้นแหละคือมีสติปัญญาอย่างพอดีอย่างถูกต้องกระทำไป อย่าอุปทานหมายหมั่นด้วยความโง่ หน้ามืดคิดหาทางทุจริตคดโกงมันก็หาผู้ร่วมมือในทางทุจริต หน้าที่การงานนั้นแทนที่จะเป็นเครื่องช่วยให้รอดก็กลายเป็นกระทำให้วินาถ จงทำหน้าที่การงานด้วยสมาทานคือสติปัญญาที่ดีถูกต้อง อย่าทำด้วยอุปทานที่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสตัณหา ทุกคนมีหน้าที่การงานการงานโดยหลักใหญ่สำหรับจะรอดชีวิตอยู่ได้ก็มีอยู่พวกหนึ่งต้องทำให้ถูกต้อง นั้นการงานสำหรับบริหารทำให้เกิดความปกติ ในการบริหารประจำวันก็ต้องทำให้มันถูกต้อง แม้แต่การงานที่เล็กน้อยที่สุดแม้แต่จะต้องอาบน้ำจะต้องกินข้าว จะต้องถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะก็ต้องทำด้วยสติสัมปชัญญะ สมาทานสติสัมปชัญญะมีการกระทำจะได้มีความสุขความพอใจอยู่ตลอดเวลา แม้แต่นั่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่ก็ยังมีความรู้สึกที่พอใจในความถูกต้อง มันก็เป็นความสุขที่สะอาดเป็นความสุขที่ไม่เกี่ยวกับความโง่ ความเขลา ไม่เกี่ยวกับอุปทานไม่ต้องใช้เงิน
หน้าที่ 4 – ความสุขที่แท้จริง
ไอ้ความสุขที่แท้จริงนั้นไม่ต้องใช้เงินคือทำให้มันเกิดความถูกต้องขึ้นมาและพอใจในความถูกต้องและเป็นสุขในเมื่อเวลากระทำนั้นเอง เป็นสุขแท้ สุขจริง สุขไม่หลอกใครและก็สุขอย่างที่ไม่ต้องใช้เงิน ไอ้ที่ต้องใช้เงินนั้นมันเป็นความสุขที่หลอกลวงทั้งนั้นแหละที่ต้องใช้เงินมากๆจนต้องโกงจนต้องวินาถไปเพราะความคดโกงนั้นอย่างนั้นมันเรียกว่ามันเป็น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริงจะต้องเป็นคุณจะต้องเป็นประโยชน์และก็ไม่ต้องใช้เงินพูดได้อย่างนี้ว่าไม่ต้องใช้เงินก็ได้เพราะเราทำความพอใจในหน้าที่ที่ควรกระทำที่จะทำให้เกิดเงินนั้นแหละก็จะทำให้เกิดความพอใจในเงิน พอใจในหน้าที่ที่กำลังจะทำว่าปฏิบัติธรรมะอยู่มันก็พอใจและก็เป็นสุขเสียเมื่อกำลังกระทำหน้าที่หรือกระทำการงาน ส่วนเงินที่มาทีหลังก็ไม่รู้จะใช้อะไร ไม่รู้ว่าจะใช้อะไรเพราะว่ามันเป็นสุขเสียแล้วเป็นสุขนทุกอิริยาบถ ทั้งวันทั้งคืนเสียแล้วเงินมันก็เหลือ จึงพูดได้ว่าถ้าเป็นความสุขที่แท้จริงแล้วจะทำให้เงินเหลือ ถ้าทำให้เงินไม่พอใช้ก็เป็นความเพลิดเพลินที่หลอกลวงไม่ใช่ความสุข นี่เรียกว่าถ้ามันอุปทานมันก็จะทำให้ผิดหมด ถ้าเป็นสมาทานแล้วมันก็ถูกต้องเสมอ เอาดูกันไปให้ทุกเรื่องก็จะดี ที่นี้ก็มาถึงเรื่องพระรัตน์ไตร พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราว่าเรามี สรณะคม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสมาคม ก็อย่าถือเอาด้วยอุปทานอย่าถือเอาด้วยอุปทาน ให้เป็นวัตถุของขลังของศักดิ์สิทธิ์อย่างไม่มีเหตุผลอ้อนวอนแล้วก็ได้ เราจะรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระธรรมเป็นอย่างไร พระสงฆ์เป็นอย่างไร รู้จักให้ดีที่สุดพระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างไรให้ดับทุกข์ได้และก็พอใจนับถือท่านผู้สอนได้ถูกต้องดับทุกข์ได้ พระธรรมก็เหมือนกันคือคำสอนที่ดับทุกข์ได้ ไม่ใช่ขลัง ไม่ใช่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่สำหรับอ้อนวอน ขอร้องบนบาล
พระสงฆ์ก็เหมือนกันคือผู้ที่ปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์เหล่านั้นดับทุกข์ได้เห็นๆอยู่ รู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างนี้แล้วก็พอใจพร้อมที่จะปฏิบัติตาม อย่างนี้เรียกว่าสมาทานในการถือพระรัตนะไตรหรือถือไตสรณะคม ถ้าอุปทานมันก็จะเห็นเป็นของศักดิ์สิทธิ์พิเศษ อ้อนวอนเอาได้ ไปถือก็ไปกราบกราบไหว้แล้วก็ขอขอร้องอะไรก็ได้ อย่างนี้มันผิดแล้วมันไม่เป็นพระรัตนะไตรที่ถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนานาแล้ว นั้นจึงมีการถือพระรัตนไตรอย่างสมาทานอย่าถืออย่างอุปทานเลย ที่นี้ก็มาถึงศาสนาเรามีพุทธศาสนาเราก็มีด้วยสมาทานอย่างลืมหูลืมตาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่าหลับตาเข้ามาเกี่ยวข้องมันจะกลายเป็นไสยศาสตร์ไปเสีย นี้ศาสนาสำหรับอ้อนวอนมีพระเจ้าสำหรับอ้อนวอน มีอะไรที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์สำหรับอ้อนวอนก็อ้อนวอนก็ขอตามที่ต้องการ อย่างนี้ไม่ใช่ศาสนาที่ถูกต้อง เป็นความงมงายเป็นไสยศาสตร์ มันก็หลอกให้พอใจไปนิดหนึ่งนิดหนึ่งแล้วก็ไม่รู้จักจบ จะต้องขอร้องอ้อนวอนกันไม่รู้จักจบ มันก็หลอกให้พอใจได้นิดหนึ่งนิดหนึ่ง อย่างนี้มันไม่พอ จึงมีความเข้าใจต่อพระศาสนาว่าดับทุกข์ได้จริงอย่างนั้นอย่างนั้นละปฏิบัติอยู่อย่างเป็นประจำและก็ดับทุกข์ได้จริง รู้สึกด้วยตนเองอยู่อย่างนี้เข้าก็เรียกว่ามีศาสนาอย่างถูกต้อง ที่นี้ก็จะมาพูดถึงประเทศชาติกันบ้างเพราะเราจำเป็นที่จะต้องมีประเทศชาติและก็ได้รับคำสั่งสอนว่าให้รักประเทศชาติ คำว่ารักชาตินั้นขอให้เป็นเรื่องของสมาทาน สติปัญญาอย่าให้มันเป็นเรื่องหลงชาติ หลงชาตินั้นเป็นเรื่องบ้าชนิดหนึ่ง ถ้าหลงชาติแล้วก็จะทำอะไรนอกลู่นอกทาง ผิดจากครองธรรมที่ควรจะทำตามแบบของคนหลงชาติ แล้วก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้นๆ ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม แม้แต่จะรักชาติก็ให้รักด้วยสติปัญญาในรูปแบบขงการสมาทาน ถือเอาไว้อย่างที่สุดดีในจริงใจ ที่นี้ก็ว่ามองดูไปที่ชีวิต ชีวิตของตนเอง ชีวิตของตนเอง ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายมันก็หลงใหลในชีวิตตามแบบของสัญชาตญาณ เห็นแก่ตนเองเห็นแก่ตนตามสัญชาตญาณ มันก็มีชีวิตชนิดที่เรียกว่าปัญหา มันก็มีชีวิตที่ก่อปัญหา ถ้ามีชีวิตอยู่ด้วยความยึดมั่นถือมั่น โง่เขลางมงายเท่าไหร่ มันก็หันแก่ตัวจัดมากเท่านั้นและมันก็ทำผิดมากเท่านั้นและมันก็เดือดร้อนกันมากเท่านั้น แม้แต่จะมีชีวิตมันก็ต้องมีอย่างสมาทาน อย่ามีด้วยอุปทานอย่ามีอย่างอุปทาน ความดีความชั่วก็เหมือนกันไม่ต้องอุปทาน ความดีก็คือความดีให้เกิดผลทำให้สงบสุขแต่ไม่ต้องไปอุปทานจนบ้าดี ก็จำไว้ด้วยคำว่าบ้าดีนั้นใช้ไม่ได้ มีความดีอย่างถูกต้องตามปกติแล้วก็ใช้ได้ แต่ถ้าบ้าก็จะทำผิดหมดจะทำผิดพลาดหมด ชั่วก็เหมือนกันไม่ต้องไปอุปทานให้มันเป็นความทุกข์ ไม่ทำก็แล้วกันถ้าทำความชั่วมาแล้วก็ละเสียก็ไม่ทำอีกต่อไป ตั้งหน้าทำแต่ความดีความถูกต้องแต่ก็ไม่ต้องอุปทานมีแต่สมาทานเท่านั้น แม้กระทั่งบุญกุศลที่ต้องการกันก็อย่ามีด้วยอุปทานมันจะกัดเอาเหมือนกัน มันจะเป็นเหตุให้ฆ่าตัวตายได้เหมือนกันแม้จะมีบุญในกุศลแล้วก็จะเป็นทุกข์ตลอดเวลาว่าไม่มีอะไรมาทำบุญทำกุศลให้สมอยากนี้มันเป็นเรื่องอุปทานมากเกินไปแล้ว บุญก็เป็นบุญ กุศลก็เป็นกุศล เมื่อเราอยากมีบุญมีกุศลก็ทำไปให้มันถูกวิธีอย่าอุปทาน ถ้าอุปทานมันจะกัดเอา คือมันจะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาเพราะเหตุนั้น อ้าวเรื่องสุดท้ายก็คือนิพพาน แม้แต่เรื่องนิพพานท่านก็สอนไม่ให้มีอุปทานในนิพพาน ไม่มีอุปทานว่านิพพานเป็นนิพพาน ไม่อุปทานว่านิพพานเป็นตัวตนของนิพพาน หรือว่านิพพานจะเป็นของเรื่องไม่มีอุปทานแม้แต่ในนิพพาน มองให้ชัดว่าเป็นความดับทุกข์อย่างไร พระสงฆ์ก็ทำให้มันเกิดขึ้นมา มีจิตว่าจากกิเลสเป็นนิพพานนอย้อยๆอยู่ในตอนนี้ทุกวันจนกว่าจะหมดกิเลสก็จะเป็นนิพพานที่สมบูรณ์ แม้อย่างนั้นก็เป็นนิพพานก็สักว่าเป็นนิพพานตั้งอยู่ปรากฏอยู่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ อย่ายึดถือหมายมั่นเป็นตัวกูเป็นของกูเพราะว่ากูมีนิพพานได้นิพพานแล้วก็ดูถูกคนอื่น เนี่ยความยึดมั่นถือมั่นมันนำไปสู่ความเห็นแก่ตัวแล้วก็มันก็ยกตนข่มท่านอย่างนี้อย่างนี้เสมอไป นั้นจึงว่าแม้ไอ้เรื่องสุดท้ายเรื่องสูงสุดเนี่ยเรื่องนิพพานก็อย่าให้มีอุปทานในนิพพาน สมาทานนิพพาน สมาทานการปฏิบัติให้บรรลุนิพพานอย่างนี้มันถูกต้อง ที่นี้ก็จะพูดถึงตัวสิ่งที่เรียกว่าความยึดมั่นถือมั่นโดยเฉพาะไอ้ความยึดมั่นถือมั่นนี้เหมือนยืมคำพูดทางวัตถุมาใช้ คำพูดทางจิตใจยึดมั่นถือมั่นที่รารู้กันทั่วไปตั้งแต่เด็กๆว่าเอามือไปจับอะไรไว้อย่างเหนี่ยวแน่นไม่ย่อมปล่อยนี่แหละยึดมั่นถือมั่น ที่นี้มาถึงเรื่องจิตใจที่มันยึดมั่นถือมั่นไม่เกี่ยวกับมือเป็นสมาทานเหมือนกับมือ ก็ยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆอย่างที่กล่าวมาแล้วจะงมงายจนมืดบอดจนเกินพอดีไปหมดนี่เรียกว่าจิตมันไปยึดมั่นถือมั่นเขามาให้หนักบน บนอะไร บนศีรษะของมัน จะเป็นทุกข์ไม่ต้องไปยึดมั่นสิ่งใดเอามาไว้ให้หนักเป็นความทุกข์ อยู่ด้วยกันมีด้วยกันก็ได้ใช้อุปโภคบริโภคกันไปโดยไมต้องยึดมั่นถือมั่น มันเป็นความ ความยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นความรู้สึกตามสันชาตญาณของสัตว์หรือสิ่งที่มีชีวิตแต่มันยังน้อย มันยังน้อยนะยังไม่ถึงขนาดที่จะเป็นทุกข์มากมาย
หน้าที่ 5 – ความยึดมั่นถือมั่น
ไอ้ความยึดมั่นถือมั่นนี้มันเป็นสิ่งที่พึ่งมางอกงานเพิ่มพูนมาเมื่อโตขึ้นมาโตขึ้นมา อย่างเป็นเด็กก็มีความยึดมั่นถือมั่นน้อยความทุกข์ก็มีน้อย พอโตขึ้นมาเป็นหนุ่มสาวก็มีความยึดมั่นถือมั่นมามันก็มีปัญหาเพิ่มขึ้นมาเพิ่มขึ้นมาก็มีความทุกข์มาก ที่สันชาตญาณของความยึดมั่นถือมั่นนั้นมันต้องมีเพราะมันรักชีวิต มันก็ต้องเห็นแก่ชีวิ มันก็ต้องสู้หรือทำอะไรต่างๆเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต แต่ถ้าเพียงเท่านั้นมันไม่เป็นไรแต่เดี๋ยวนี้มันมากเกินไป เพราะว่ามีอุปทานเข้าไปส่งเสริมนั้นเราจงรู้จักสันชาตญาณในระดับที่ได้รับการศึกษาอบรมฝึกฝน แล้วก็จะได้ศึกษา อบรม ฝึกฝนสันชาตญาณพวกนี้ให้อยู่ครองของความถูกต้อง เป็นความรู้ใหม่เกิดขึ้นมาว่าจะทำไปอย่างไร แล้วก็ทำไปอย่างนั้น ความรู้อันนี้เรียกว่า พาวิทตยาน คือ ความรู้ที่อบรมแล้วที่พัฒนาแล้วก็เป็นสันชาตญาณที่เปลี่ยนตัวมาเป็นพาวิทตยาน คือ ความถูกต้อง ถ้าปล่อยไปตามเดิมตามสันชาตญาณอย่างสัตว์มันก็จะมีกิเลสตัณหามากขึ้นมากขึ้นเป็นอุปทาน จะเป็นทุกข์จนจะตายไปด้วยอุปทานนั้น ที่นี้ก่อนที่สันชาตญาณมันจะรุกรามขยายตัวถึงขนาดนั้น เรามีความรู้ในหลักกระทำของพระพุทธศาสนาควบคุมสันชาตญาณเหล่นั้นให้มันเป็นพาวิทตยาน ดูว่าควรทำอย่างไร คือรู้ว่าทำอย่างไรเป็นความทุกข์ทำอย่างไรไม่เป็นความทุกข์ ไม่ปล่อยไปอย่างโง่เขลาตามสันชาตญาณว่ากูจะเอากูจะได้กูจะมีกูชนะกูจะอะไรต่างๆนี้ เป็นเรื่องของความยึดมั่นถือมั่นในความโง่ที่เรียกว่า อวิชชาที่รู้โดยหลักทั่วไปว่า ชีวิตสิ่งที่มีชิวิเข้ามีความรู้ตามแบบสันชาตญาณที่เกิดเองได้ มันมีความเห็นเกี่ยวกับความรู้สึกตนเองเป็นหลัก แล้วมันก็จะทำไปอย่างมีตัวตนคือ เห็นแก่ตนมันก็ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อตนอยู่ มันไม่รู้ว่าขอบเขตเป็นอย่างไรที่ถูกที่ควรเป็นอย่างไร มันก็ทำผิดหรือถ้ามันไม่มากไปกว่านั้นมันก็เหมือนกับสัตว์เดรัจฉานทั่วไปนั้นแหละมันมีสันชาตญาณที่จะต่อสู้ทีจะเป็นอยู่ที่จะรอดชีวิตอยู่ได้แต่มนุษย์เราจะเป็นเพียงเท่านั้นไม่ได้ต้องเอาดีกว่านั้นต้องรู้จักปรับปรุงให้ถูกต้องว่าจะทำอย่างไร ทำเท่าไร ทำในลักษณะอย่างไร
ไอ้ที่เรียกว่าชีวิตนั้นจะหมดความทุกข์ลงไปทุกที ให้อยู่ในสภาพปกติที่เรียกว่าความสุขก็ได้ ที่จริงความปกติดีกว่า ไอ้เรื่องความทุกข์ก็ไม่ไหวไอ้เรื่องความสุขก็ไม่ไหว เรื่องความปกติไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์นั้นสบายกว่าถ้าไม่เชื่อก็ของให้ไปลองคิดดูเรื่อยๆไปก่อนก็ได้ ว่าเรื่องความสุขก็เหนื่อยไปยุ่งกับมันก็เหนื่อย ไอ้เรื่องความทุกข์ไปยุ่งกับมันก็เหนื่อยความปกติไม่ยุ่งกับอะไรเนี่ยสบาย เนี่ยมันไปสูงสุดอยู่ที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นสุขเป็นทุกข์ไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นความดีเป็นความชั่ว ไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นผู้ได้เป็นผู้เสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นผู้แพ้เป็นผู้ชนะ หรือว่าไดเปรียบหรือว่าเอาเปรียบหรือว่ามั่งมีหรือว่ายากจน ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นที่เป็นคู่ๆอย่างนั้นด้วยประการทั้งปวง จะอยู่ตรงกลางที่เรียกว่าปกติภาวะ เป็นความหมายของพระนิพพานเหนือสุขเหนือทุกข์เหนือได้เหนือเสียเหนือเหนือบุญเหนือบาปเหนือทุกข์อย่างนั้นก็คือจุดสูงสุดของวิวัฒนาการของจิต ถ้ามันมีวิวัฒนาการไม่ถูกต้องตามฝ่ายธรรมแล้วก็จะไปที่นั่นจะไปอยู่เหนือปัญหาด้วยประการทั้งปวงแต่ถ้าปล่อยไปตามสันชาตญาณเดิมๆ มันไปถึงนั่นไม่ได้และมันจะกลับไปอีกทางหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมาน แล้วมันก็จะไม่มีค่าอะไรแล้ว มันก็จะตายเอาเล่าอยากไม่มีค่าอะไรถ้ามันทำไอย่างโง่เขลา สันชาตญาณที่ติดมาเป็นสันดารดั้งเดิมด้วยกันทุกข์คน เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาต้องทำให้เป็นพาวิทตยานขึ้นมาแล้วก็จะไม่เสียทีที่ได้เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์พบกับพุทธศาสนา ที่นี้ก็ดูคำว่ายึด คำว่ายึดเป็นคำที่เข้าใจยากแหละถ้าเป็นเรื่องฝ่ายนามธรรมฝ่ายจิตใจ ถ้าเป็นเรื่องภายนอกร่างกายก็มือจับยึด ที่นี้ใจจับยึดด้วยอะไรใจก็ไม่มีมือนี่เป็นเรื่องของนามล้วนแต่เป็นจิตใจกันไปหมด คือเกิดความรู้สึกหมายมั่นลงไปในจิตใจนั้นเรียกว่ายึดมีความรู้สึกว่าอะไร มีความรู้สึกว่าตัวตน มีความรู้สึกว่าของตน มีความรู้สึกว่าผู้ยึดและมีความรู้สึกว่าถูกยึดเป็นของตน โดยตัวตนเป็นผู้ยึดให้เป็นของตน เป็นเพียงความรู้สึกเกิดขึ้นในใจอย่างรุนแรงเรียกว่ายึด หรือยึดถือ หรือยึดมั่นถือมั่นในทางจิตใจ ถ้าสังเกตให้ดีพยายามศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจก็จะเข้าใจถึงพระศาสนาและก็เข้าในเรื่องนี้เป็นอย่างดีที่สุด จะต้องพูดถึงเรื่องลำดับการปรุงแต่งของจิต จะยกตัวอย่างเช่น เมื่อตาเห็นรูปจะเกิดความรู้สึกทางตาเรียกว่าจักรสุวิญญาณ ตาด้วยในรูปที่ตาเห็นกำลังเห็นสามอย่างนี้กำลังทำงานกันอยู่ คือจักรสุวิญาณรู้สึกถึงรูปด้วยทางสายตา ทำงานอยู่อย่างนี้เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ นี้ประกอบด้วยองค์สาม คือ อายานะภายใน อายานะภายนอก และวิญญาณ ถ้าจำยากก็ยกตัวอย่างตากับรูป แล้วก็ตาการเห็นทางตาคือจักรสุวิญญาณ กำลังรู้สึกอยู่อย่างนี้เรียกว่าผัสสะ ที่นี้ถ้าเกิดผัสสะแล้วไม่มีสติปัญญา ไม่เกิดสติปัญญามามันก็เหมือนกับสัตว์เดรัจฉานทั่วไปแหละเกิดผัสสะแล้ว ในบางกรณีก็พอใจก็เกิดหลงหลงรัก ในบางทีถ้าไม่พอใจก็หลงโกรธหลงเกียจหรือในบางกรณีบางทีก็บอกไม่ถูกว่าจะเป็นอย่างไรแน่ ที่จริงไม่ต้องไปหลงรักหลงเกียจหลงอะไรหมดแหละเห็นอยู่ว่ามันเป็นอย่างไรมันเป็นอย่างไรมันก็เป็นไปแล้วเราควรจะทำอย่างไรก็ทำสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้อง เดียวนี้มันเป็นเวทนาคือ พอใจไม่พอใจ หรือไม่รู้ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจมันก็เกิดความยาก ความอยากไปตามความรู้สึกนั้นนั้น ถ้าพอใจก็เกิดความรู้สึกอยากได้ ไม่พอใจก็เกิดความรู้สึกอยากทำลาย เมื่อไมรู้อะไรแน่ก็เกิดคามสงสัยพะวงอยู่กับสิ่งนั้นอย่างนี้เรียกว่าความอยาก มันโง่มันจึงอยากไม่ต้องไปอยากเพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง ถ้ามีปัญญาก็จะไม่เกิดความพอใจหรือไม่พอใจ เกิดแต่ความรู้ว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งนั้นก็ทำไปได้ เดี๋ยวนี้มันเป็นเรื่องของสันชาตญาณที่ยังโง่อยู่ก็ยังคอยทำให้ใจเกิดความโลภ ถ้ามันไม่พอใจก็เกิดความโกรธเกิดโทสะขึ้นมา ถ้าไม่รู้อะไรแน่มันก็มีโมหะ โทสะ สงสัยวิตกกังวลอยู่กันสิ่งนั้น อย่างนี้มันเรียกว่าเกิดความอยาก
หน้าที่ 6 – ความอยาก
ถ้าความอยากอย่างนี้เกิดในใจเต็มที่แล้ว มันจะปรุงความรู้สึกอย่างหนึ่งขึ้นมาเรียกว่าอุปทาน ตัณหาให้เกิดอุปทานจำไว้ ใครๆก็บอกว่าความอยากทำให้รู้สึกว่ามีตัวกูคู่อยู่กับความอยาก เห็นไหมัวตนนั้นเกิดขึ้นได้จากความรู้สึกโดยความรู้สึกนั้นแหละคือความยึดมั่นถือมั่น หมายมั่นในความรู้สึกว่ามีตัวกูคู่อยากนี่มันเกิดตัวตน ตัวตนที่เป็นคู่อยากแล้วก็ยึดถือสิ่งที่มันอยากนั้นมาเป็นของตน หรือจะมาเป็นของตน ความรู้สึกว่าเป็นของตนมันก็เกิดขึ้นมาเป็นอย่างนี้ ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายยึดอีกฝ่ายหนึ่งมีความรู้สึกว่าถูกยึด ถูกยึดรู้สึกว่ามีตนผู้อยากผู้ต้องการ ก็หมายมั่นเพื่อจะให้สนองความอยากหรือความต้องการ มันจึงยึดให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นตนขึ้นมาสำหรับจะถูกยึด ความรู้สึกเป็นตนที่จะยึดก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง ความรู้สึกจะเป็นของตนมาถูกยึดนั้นก็มีอีกอย่างหนึ่ง มันจึงมีความยึดทั้งที่เป็นตัวตนและที่เป็นของตน ก็เลยเหมือนกับคนบ้าไอ้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันยึดถือว่ามันเป็นตัวตนไม่ได้เพราะว่ามันมีเหตุปัจจัยของมันเอง มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมันเองเอามาเป็นของตนก็ไม่ได้ แม้จิตนี้ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยรู้สึกนึกคิดอย่างนี้ก็คือรู้สึกโง่ๆเขลาๆว่ามาเป็นตัวตน มันก็เป็นตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ ทั้งตัวตนและของตนล้วนเป็นของไม่จริงเป็นมายาเป็นเพียงความรู้สึกทั้งนั้น ถ้ารู้ขึ้นมาแล้วนั้นเรียกว่า ยึดยึดหรือพฤติของจิต ประกอบไปด้วยอวิชชาความโง่เขลาปรุงแต่งไปจนเกิดความรู้สึกอย่างนั้น คือรู้สึกว่าตัวตนรู้สึกว่าของตน เป็นความรู้สึกเหนือความรู้สึกทั้งหลายเรื่องนี้มันก็พูดยากแต่อาจจะพูดโดยการยกตัวอย่างหรือการเปรียบเทียบ เช่นว่า คนใช้มันมีหน้าที่กวาดมันไม่กวาดมันไม่กวาดตามที่เคยกวาดมันก็ยังมีรกรุงรังอยู่ พอเราออกมาเห็นเข้าไอ้ความรู้สึกสึกประเภทตัวตนมันก็เกิดว่าไอ้นั่นมันไม่นับถือเรามันไม่เชื่อฟังเรา มันลบหลู่คำสั่งของเรานั่นมันก็เกิดตัวตนขึ้นมาอย่างรุนแรงและก็ต้องการทำลายฝ่ายที่ไม่ทำตามคำสั่งของตน ที่จริงมันก็ไม่ได้ต้องการความสะอาดอะไรนักหรือต้องการความสะอาดบ้างก็เป็นความรู้สึกที่น้อยกว่า ความรู้สึกที่ส่าไอ้นี่มันลบหลู่กู มันลบหลู่ตัวตนของกู หรือคนทำงานไม่ถูกต้องไม่ทำความพอใจให้ มันนึกถึงตัวตนมันถูกลบหลู่บางทีมันก็ไม่ได้นึกสิ่งนั้นๆ คุณค่าของสิ่งนั้นๆหนักหนา แต่มันมีความรู้สึกว่าตัวตนถูกลบหลู่ก็เลยมีความรู้สึกขึ้นมา แม้แต่คนรับใช้ทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง หรืออะไรที่แสดงว่ามันไม่เป็นไปตามที่ต้องการนั้นมันกลายเป็นว่ามันมาลบหลู่ตัวกู กูรู้สึกว่าถูกลบหลู่ก็เดือดจัดและเรื่องมันก็เกิดมาก นั้นดูให้ดีเรื่องตนนั้นมันมีอยู่อย่างรุนแรงและก็ลึกลับที่สุด ปัญหาต่างๆนั้นมันเกิดมาจากรู้สึกว่าตัวตนถูกลบหลู่ ถูกดูหมิ่นไม่ได้รับการเทิดทูล ถ้ามันเกิดตัวตนแล้วก็รู้สึกว่าทุกสิ่งสนอง เทิดทูล ถ้ามีอะไรแสดงว่าไม่เป็นอย่างนั้นมันก็โกรธ ถ้าสนองความต้องการอย่านั้นมันก็หลงรัก เราจงรู้จักสิ่งที่เรียกว่าตัวตนไว้ให้ดีๆ ว่าตัวมันนี้ไม่ได้มีจริงเป็นเหมือนกับผีต่างหากที่เกิดมาจากความรู้สึก
ตัวกูนั้นทำให้เกิดตัณหาที่มาจากอวิชชาทำให้โง่อีกต่อหนึ่ง จุดตั้งต้นมันอยู่ที่อวิชชาหรือความโง่ จะทำผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องจนเกิดความอยาก พอความยากรุนแรงก็รู้สึกตัวกูผู้อยากเมื่อไม่ได้ตามความต้องการมันก็อยากจะทำลาย มันจึงมีการทำลายกันครั้งใหญ่หลวงในโลก ถ้ามันทำถูกต้องมันก็หลงรัก หลงพอใจมาเป็นพรรคพวก เพราะฉะนั้นความรู้สึกว่าเป็นตัวหรือของตนนั้นแหละเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์และเป็นมูลเห็นแห่งปัญหาทั้งหลาย ถ้ามองในแง่ของทุกข์มันก็เป็นมูลเหตุของทุกข์ ถ้ามองในแง่ของปัญหามันก็เป็นมูลเหตุของปัญหานาๆชนิด เกิดขึ้นเพราะตัวต้นเพราะมีความยึดถือว่าเป็นตัวตนเกิดขึ้นมาในจิตใจ มันก็เลยให้อำนาจในตัวเองที่มีบัลดาลไปในสิ่งที่ต้องการโดยไม่คำนึงว่าจะผิดหรือถูกอย่างไร นี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ สิ่งที่เรียกว่า ความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีแต่ทุกข์โทษด้วยประการทั้งปวง ให้เกิดโลภะ ให้เกิดโทสะ ให้เกิดโมหะ มันทำลายรอบด้านไม่ได้ทำลายเฉพาะใครดูให้ดี นี่ของให้รู้จักหัวใจของพุทธศาสนาว่ามันเป็นเรื่องความยึดมั่นถือมั่น มีผู้มาทูลถามพระพุทธเจ้าว่าอะไรเป็นใจความทั้งหมดของพรมจัน พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ความรู้ การปฏิบัติหรือผลของการปฏิบัติที่ไม่เป็นความยึดมั่นถือมั่น พูดอีกทีก็คือว่าถ้ารู้เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็คือรู้หมดทุกเรื่องเลย ถ้าเป็นการปฏิบัติเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็เป็นการปฏิบัติถูกหมดเลย ถ้าได้รับผลของการไม่ยึดมั่นถือมันนั้นถึงที่สุดแล้วคือไม่ทีทุกข์ด้วยประการทั้งปวง มีพระนิพพานที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงถือว่าความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ไปศึกษาและปฏิบัติตนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะพบความปกติ หวังความปกติเถอะ อย่าไปหวังความสุข สนุกอะไรเลยมันเป็นเรื่องหลอกลวง ความปกติเท่านั้นเป็นเรื่องไม่หลอกลวงเป็นเรื่องจริง ขอให้สนใจในเรื่องจริงเข้าถึงในเรื่องจริงให้มากขึ้นแล้วอยู่เป็นสุขทุกทิพาราตรีด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ.
http://www.vcharkarn.com/varticle/32661