ประวัติที่มาของ สมเด็จโต วัดปากน้ำโพเหนือ จ.นครสวรรค์
วัดปากน้ำโพเหนือ
เดิมชื่อวัดทองธรรมชาติ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดปากน้ำโพ ก่อนจะมีสะพานป้อม1 ต้องเดินทางโดยทางเรือ หรืออ้อมไปทางสะพานพิษณุโลก เป็นวัด 1 ใน 3 ของประเทศไทย ที่ได้รับประทานรูปเหมือนที่สมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง ในโอกาสที่ครบ 100 ปี ในปี 2515 ที่มรณภาพของสมเด็จโต ทางวัดและกรรมการวัดได้จัดสร้างมณฑปเพื่อประดิษฐ์เก็บรักษารูปเหมือนบูฃา (พิมพ์หน้าหนุ่ม) โดยจัดสร้างวัตถุมงคล รูปเหมือนสมเด็จโตมีกริ่งขนาดห้อยคอเนื้อทองเหลืองรมดำ,เหรียญอาร์มใหญ่,เหรียญสี่เหลื่ยมเล็ก กรรมการ (หัวหน้านายสถานีรถไฟปากน้ำโพ)ได้นำพระชุดนี้ไปให้หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ปลุกเสก (พร้อมกับเหรียญรุ่นแจกทานที่โด่งดัง) โดยเหรียญสี่เหลี่ยมเล็ก ขนาดจะพอกลับเหรียญแจกทาน และทางวัดปากน้ำโพเหนือก็ได้แจกให้กับผู้มาร่วมงาน โดยรูปเหมือนปั๊มจัดให้เฉพาะผู้ทำบุญกับทางวัด 100 บาท ส่วนก้นอุดเงินให้กับกรรมการวัด เหรียญอาร์มใหญ่ให้กับผู้ที่ทำบุญ ทุกองค์ตอกโค๊ตกำกับ พระชุดนี้หมดไปอย่างรวดเร็จพร้อมประสบการณ์ที่มีอย่างต่อเนื้อง จนต้องออกรุ่นสอง โดยโค๊ตจะมี ว ท และเพิ่มเลข 2 ในปี 2518 ยังได้ออกพระบูชา และเหรียญ ปี 2518 หลังหลวงพ่อสิน พระชุดหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ราคา ขึ้นจนติดลมบนแล้ว ทำให้พระชุดนี้ ราคาเริ่มขยับ (อย่างแรงด้วย) ไม่รู้ว่าลงประวัติแล้วจะหาเก็บได้อยู่หรือไม่
เพิ่มข้อมูล :
สารวัตรเอิง นิลกำแหง (ขอบคุณพี่หน่า(ลูกสาว) ทีให้ข้อมูล) สารวัตรหัวรถจักร โดยกลุ่มคนทำงานการรถไฟรวมถึงคุณลุงวินัย อยู่เย็น กรรมการผู้สร้างมณฑป (ไว้เก็บพระบูชาที่ได้รับประทานมาจากสมเด็จพ่อโต) ได้นำวัตถุมงคลที่ออกปี 2515 ไปให้หลวงพ่อพรหม ปลุกเสก พร้อมกับเหรียญแจกทาน และนำกลับมากวัดปากน้ำโพเหนือ (วัดทองธรรมชาติ) จำหน่ายเพื่อทำบุญสร้างมณฑป เหรียญสีเหลี่ยมเล็กเหรียญละ 15 บาท อาร์มใหญ่ 20 บาท และรูปเหมือนปั๊มสมเด็จโต 25 บาท รูปเหมือนเป็นทองเหลือ รมดำ มีกริ่ง (โรงงานเดียวกับก้นระฆังของหลวงพ่อพรหม) ส่วนรูปเหมือนปั๊มอุดเงินไว้แจกกรรมการ โดยวัดพหรมรังษี จ.ลพบุรี ก็ได้ออกรูปเหมือนสมเด็จพูฒาจารย์ (โต) เหมือนกันแต่ด้านหลังจากวัดปากน้ำโพเหนือเป็นวัดพรหมรังษี ปลุกเสกโดยหลวงพ่อหรหมเหมือนกัน
ขอขอบคุณ : http://www.prachaopraya.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539538632&Ntype=4