ไตรภพ: กามภพ- รูปภพ-อรูปภพ โดย ท่านพุทธทาส
หน้าที่ 1 – ธรรมเทศนา
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธะสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธะสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธะสะ ตะโยภะวา สหะมะธะโว รูปธะโว อรูปธะโว ติธัมโม ตะขะจังสโคะโตติ
ณ บัดนี้จะได้วิปัสณาพระธรรมเทศนาเป็นเครื่องประดับสติปัญญาเป็นเครื่องศรัทธาความพากเพียนขอ่านทั้งหลายทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมะเทศนาในวันนี้เป็นธรรมเทศนา วันธรรมสวณะในพรรษาตามปกติ
ตามที่นิยมกันทั่วไปในหมู่พุทธบริษัท และธรรมเทศนาในวันนี้เป็นธรรมเทศนาติดต่อกันมาตามลำดับจากวันเทศนาในวันก่อน ๆ ในวันธรรมสวณะก่อน ๆ อาตมามีความตั้งใจว่าจะได้พูดวิปัสสนากันถึงเรื่อง ที่มีชื่อว่า 3 ว่าไตร หรือ 3 ทุก ๆเรื่อง ให้เพียงพอกันเสียสักเพราหนึ่ง
ดังที่ได้วิปัสสนามาแล้วในเรื่องไตรลักษณ์ ไตรสิกขา ไตรโลกุตระธรรม ไตรลักษณ์ ไตรวัต เป็นต้น
ส่วนในวันนี้ก็จะได้พูดถึงเรื่อง ไตรภพหรือไตรภูม เลข 3 อย่างนี้เป็นเลขที่ฉลาด ที่ได้มาเป็นชื่อของสิ่งที่เป็นหลัก ๆ ทั้งนั้น แล้วก็แต่ละอย่างก็มีความหมายกว้างขวางอธิบายได้จนครอบไปหมดทุกเรื่อง อย่างเรื่องไตรลักษณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้กระจาย 3 คำนี้ออกไปแล้วกลายเป็นครอบคลุมไปหมดทุกเรื่องในพระพุทธศาสนา หรือถ้าพูดว่าไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และก็ครอบคลุมไปถึงความรู้และการปฏิบัติ รวมเอาผลของการปฏิบัติของสิ่งทั้ง 3 สิ่งคือ สติ สมาธิ ปัญญา จำเอาไว้หมดสิ้น จึงไม่มีอะไรเหลือสำหรับจะเป็นปัญหาต่อไป จะพูดถึงโลกุตละธรรม ตามประการคือ มรรคผล และนิพพานนี้ก็เป็นการกล่าวเรื่องผล
สุดท้ายคือผลร่วมยอดทั้งหมดไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ และก็กล่าวคือส่วนที่เป็นปริยายหรือส่วนที่โดยอ้อมด้วยแล้วก็ยิ่งหมดจดสิ้นเชิง ลงมาถึงเรื่องผลต่าง ๆทั้งโลกียะธรรมด้วย เมื่อกล่าวถึงโลกุตละก็ต้องกล่าวถึงโลกียะจึงจะเข้าใจได้ดี นั้นมันถึงเนื่องกันอย่างนี้จะพูดไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ก็เป็นอันว่าครอบคลุมความจริงทั้งหมดทั้งสิ่งที่เกี่ยวกับสังขารธรรมทั้งปวง และตลอดถึงวิสังขารด้วย โดยบ่นว่าอนัตตา คำพูดเพียง 3 คำแทนคำพูดของสิ่งทุกสิ่งหมดไม่มีเหลือไม่มียกเว้นอะไรอย่างนี้ ที่จริงเรียกว่ากว้างขวางเหลือประมาณ สำหรับคำว่าไตรวัต คือเวียน วน ในลักษณะ 3 ประการนี้ก็คือความเป็นจริง หรือเป็นอยู่จริงทั้งหมดของสิ่งที่มีชีวิตรู้สึกคิดนึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มนุษย์เรา มนุษย์เราตามที่เป็นอยู่จริงที่คนโง่มองไม่เห็น นั้นก็คือการวนเวียนอยู่ในวัตตะ 3 นี้ ไม่มากก็น้อย คือ ว่าไม่อย่างขนาดใหญ่ก็ขนาดเล็กเป็นประจำ คือเรามีความคิดและเรามีการกระทำและก็ได้รับผลของการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้คิดต่อไปอีก
ซึ่งทำให้มีการกระทำอีกและก็มีผลขึ้นมาอีก แล้วก็คิดต่อไปอีก ทั้งวัน ทั้งคืน ทั้งเดือน ทั้งปีมันก็เป็นอย่างนี้ วัตตะส่งสารซึ่งเป็นวงกลมแต่ผ่าออกไปได้เป็น 3 ส่วนเรียกว่า ไตรลักษณ์ มันก็คือการที่เป็นอยู่จริงของคนทุกคนตามธรรมดาสามัญชนจนกว่าจะเป็นพระอริยะเจ้าหรือเป็นพระอรหันต์โดยเฉพาะ ฉะนั้นที่เรียกว่าหักวัตตะออกไปซะได้โดยสิ้นเชิง ถ้ายังมีกิเลสเหลืออยู่ก็ยังมีวัตตะอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะคนธรรมดาเราก็มีกิเลสเต็มบริบูรณ์ก็มีวัตตะอยู่เต็มบริบูรณ์ นั้นจงวางดูให้เห็นคำว่าวัตตะ หรือไตรวัตนี้ว่าเป็นลักษณะที่เป็นอยู่จริงของคนทุกคน ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปีอย่างไรแล้วก็จะได้เห็นว่านี้เป็นเรื่องที่ฉลาดกว้างขวาง นั้นก็เอาคำว่า 3 สามมาพิจารณากันเสียให้หมดสักที ดังนั้นวันนี้จึงพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ไตรภพหรือไตรภูมซึ่งมันเป็นของคู่กันแต่เป็นคำที่คนจะสับสนที่สุด ความปนเปอันนี้มันเป็นธรรมดามันช่วยไม่ได้เพราะว่าภาษามันถ่ายทอดกันมาจากภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลีในประเทศอินเดียยุคโบราณ มาเป็นภาษาไทย มันก็มีการเลือนไปไม่มากก็น้อยอยู่แล้ว ที่นี้พอมาถึงการตีความหรือการถือเอาความ คนโง่ก็คือเอาอย่างหนึ่ง คนฉลาดก็ถือเอาอย่างหนึ่ง คนไม่โง่ไม่ฉลาดก็ถือเอาอีกอย่างหนึ่ง นั้นคำมันก็เปลี่ยนเลื่อน ๆ มาเปลี่ยนความหมายเลื่อย ๆ มาคำนั้นคำเดิมแต่ความหมายก็เปลี่ยนเลื่อย ๆ มา คำว่าภพคำว่าภูมิถ้าอยู่ในลักษณะนี้ท่านคงลำบากอยู่บ้างเหมือนกันที่เอามาพูดให้เข้าใจคำว่าไตรภพหรือไตรภูมินี้กันเสียบ้างคำว่าไตรภพแปลว่าภพทั้งสาม
แต่ที่ใช้ปนเปกันนั้นแปลว่าเราใช่ปนเปไปถึงไตรภูมิและไตรโลก จะดูคำที่มันในส่วนที่ใช่กันในธรรมดาสามัญหรือชาวบ้าน ถ้าไตรภพก็มีคำที่หน้าหัวอยู่ ครั้งหนึ่งได้ยินหุ่นกระบอกร้องออกมาว่าเมื่อนั้นพระอภัยจอมไตรภพ มันก็เลยสะดุ้งว่าพระอภัยเนี่ยมันจะเป็นจอมไตรภพได้อย่างไร แต่มันก็มีคำร้องอย่างนั้นก็มีในหนังสือคำกลอนที่มีอีกมากที่ได้ยินหุ่นกระบอกทางวิทยุ พระอภัยนี้ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นคนที่เขาเรียกกันว่าเจ้าชู้แล้วจะเป็นจอมไตรภพได้อย่างไร ก็คือคนธรรมดาเขาก็คิดว่าไตรภพก็คือแผ่นดินต่าง ๆ แล้วพระอภัยนี้ก็เป็นคนที่เก่งถึงขนาดที่จะชนะไปได้ทุกบ้านทุกเมืองเลยใช่คำว่าพระอภัยจอมไตรภพขึ้นมา นี้พวกนักธรรมได้ฟังก็บอกว่ามันเป็นคนที่บ้าบอที่สุดแล้ว
ถ้าคนอย่างพระอภัยนี้เป็นจอมไตรภพได้ ก็มีกามภพ รูปภพ อรูปภพ กามภพนี้กินความหมดตั้งแต่สัตว์ทั้งหลายที่เป็นมนุษย์ขึ้นไปถึงเทวดาในสวรรค์กามาวรรจรภูมินี้เรียกว่ากามภพ แล้วพวกรูปภพก็คือพวกพรหมที่มีรูปแล้วพวกอรูปภพก็คือพกพรหมชั้นสูงสุดที่ไม่มีรูปนี้เรียกว่า ไตรภพหรือ สามภพ แล้วคนอย่างพระอภัยจะเป็นจอมของภพทั้งสามนี้ ครอบครองภพทั้งสามนี้ได้อย่างไรนั้นนะมันเป็นเรื่องที่หน้าหัว มันเป็นความดิ้นได้เปลี่ยนแปลงเรื่อยไปของภาษาที่ได้ผูกกัน ทีนี้ก็สงสารไอลูกเด็ก ๆ มันไม่เคยเล่าเรียนมาก่อนพอมันได้ยินคำนี้เข้ามันก็จำไว้ แล้วมันก็เข้าใจไปตามนั้นมันก็ผิดหมดทั้งนั้นว่าพระอภัยเนี่ยเป็นจอมไตรภพได้ เนี่ยตัวอย่างที่ว่าคำธรรมดาสามัญใช่กันอยู่นั้นไม่ได้มีความหมายเรียกว่าความจริงถูกต้องตามที่มีอยู่ในหลักธรรมะหรือพระบาลีนั้น ๆ นั้นควรจำให้ดีก่อนว่าไตรภพ ก็คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ถ้าพูดถึงไตรโลกก็อย่างเดียวกัน กามโลกก็คือโลกเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่มีจิตใจยึดมั่นอยู่ในกาม ก็คือกามภพนั้นเอง รูปโลก ก็คือโลกของสัตว์ที่มันมีจิตใจยึดมั่นในรูปธรรมล้วน ๆ คือรูปภพนั้นเอง อรูปโลกก็เหมือนกันสัตว์ที่เข้าถึงในรูปพระธรรม ก็คืออรูปภพนั้นเอง ถ้าตามความหมายธรรมดาสามัญแล้วก็ภพกับโลกนี้ก็ใช่แทนกันได้ สำหรับกามภพก็คือกามโลก รูปภพก็คือรูปโลก อรูปภพก็คืออรูปโลก
ทีนี้ก็มาถึงคำว่าไตรภูมิ แปลว่าไตรภูมิทั้งสาม ถ้าแจงตามหลักธรรมะคือกามาวรรจรภูมิหรือเรียกสั่น ๆ กามภูมิ รูปาวรรจรภูมิ เรียกสั่น ๆ ว่ารูปภูมิ อรูปาวรรจรภูมิเรียกสั่น ๆ ว่าอรูปภูมิ ได้ทั้งสามภูมิ ถ้าโดยหลักธรรมจริง ๆ ก็ได้หมายถึง ภูมิแห่งจิตใจในความสูงศักดิ์แห่งจิตใจภาวะอย่างไร อย่างจิตใจนั้นเรียกว่า ภูมินี้มีอยู่สามชั้น ภูมิอย่างหลงไหลในกาม หลงไหลในรูป ภูมิที่หลงไหลในอรูปนี้คำว่าภูมินั้นจึงหมายถึงภาวะแห่งจิตใจที่สูงต่ำอย่างไร ที่นี้มันก็ไปปนไปกลำกลวมว่าภูมิคือแผ่นดิน คำว่าภูมินี้อีกคำหนึ่งความหมายมันแปลว่าแผ่นดิน คำว่าภูมิหมายถึงชั้นหรือระดับ แห่งสภาพต่าง ๆ นี้ก็มีความหมายที่มันหลายอย่างอย่างนี้แล้วมันปนกันคำว่าภูมิหมายถึงแผ่นดิน และก็หมายถึงแผ่นดิน สามชั้นสามชนิดไปก็เลยเข้าใจผิด โลกไตรภูมิก็คือโลกสามชนิด หนังสือชั้นหลังก็คือหนังสือไตรภูมิพระร่วงอธิบายเปิดให้เข้าใจผิดอย่างนั้นได้เหมือนกัน
ไตรภูมิหมายถึงเมืองหรือแผ่นดินสำหรับพวกมนุษย์หรือเทวดาอยู่และก็พวกพรหมณ์อยู่พวกอรูปพรหมณ์อยู่คนที่อ่านไม่ดีคนที่อ่านลวก ๆ ก็เข้าใจว่าภูมิเป็นแผ่นดินหรือเป็นโลกไป มันก็ขัดกันไอหลักเดิม ๆที่แท้จริงที่ว่าภูมินั้นหมายถึงระดับแห่งจิตใจ ฉะนั้นไม่ได้หมายถึงบ้านเมืองเลย แต่ก็เอาคำว่าภูมินี้เป็นแผ่นดินเป็นภูวดลบ้างไปมันก็เลยเป็นแผ่นดินไป นี้ระวังคำพูดให้ดี ๆ มันจะเกิดการปนกันยุ่งอย่างนี้ คนหนึ่งเมื่อได้ยินคำว่าไตรภูมิก็เป็นที่อยู่ของเทวดามนุษย์ โลกของพรหมณ์ คนหนึ่งมันก็รู้ดีว่าหมายถึงจิตใจมีระดับต่าง ๆ กันคือหลงอยู่ในกามพวกหนึ่ง หลงอยู่ในรูปพวกหนึ่ง หลงอยู่ในอรูปพวกหนึ่งนี้ก็เป็นแห่งให้พูดกันไม่รู้เรื่องยี้คือความยากลำบากอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกันที่ทำให้ศึกษาลำบากจึงเห็นว่าควรเอามาพูดกันเสียที
แต่ขั้นนี้แล้วก็ประสบมาภพในความลำบากขนาดหนักยิ่งกว่านั้นไปอีกเกี่ยวกับคำสามคำนี้ แล้วคำว่าไตรภพก็ดีก็มีสองความหมาย เป็นภาษาคนก็ได้ภาษาธรรมก็ได้ คำว่าไตรโลกก็ดี ไตรภูมิก็ดี มันเป็นสองความหมายไปหมดอย่างที่เรียกว่าภาษาธรรมและภาษาคนนั้นเอง ไตรภพ ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์ ถ้าภาษาคนก็หมายถึงแผ่นดินหรือแผ่นโลก โลกมนุษย์ โลก ๆ สวรรค์ก็เป็นภพ ภพไปอย่างนั้นในภาษาคนเขาว่าอย่างนั้น
แต่ภาษาธรรมคำว่าภพทุกชนิดมันอยู่ในภาษาคน มันกลายเป็นอยู่ในคนอยู่ในจิตใจของคน นั้นไอกามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้มันเป็นสภาวะการเป็นอยู่ติดเนื้อติดตัวของคนนั้นเองไออย่างทีแรกก็หมายถึงแผ่นดินโลกต่าง ๆ กัน แล้วยังหมายความไกลไปถึงกับว่า บางภพนั้นจะไปถึงได้ก็ต่อเมื่อตายแล้ว เข้าไปโลกแล้ว ไปเกิดใหม่ไปถึงภพนั้นได้ เช่นภพสวรรค์อย่างนี้ที่เชื่อกันว่า ตายแล้วจึงจะไปได้ จะได้ไปถึงยิ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ รูปภพก็ยิ่งไกลไปกันใหญ่ ต้องรออีกนานมาก ต้องสร้างหรอทำอะไรกันอีกมาก
แต่ภาษาธรรมแท้กลับเป็นว่า มันอยู่แล้ว มันมีอยู่แล้ว เสร็จแล้วในคน คนหนึ่ง ถ้าจิตใจเขาเป็นอย่างไร ร่างกายหรือภาวะในร่างกายของเขาก็เป็นภพนั้น ๆ เช่นคนมันมีความรู้สึกไปในทางกามตัณหา เป็นเจ้าเรือน เนื้อตัวทั้งหมดของเขา การกระทำอะไรของเขาต่าง ๆ มันก็เป็นกามภพหรือกามโลกไปได้เลย คำว่าภพนี้มันอยู่ที่ความรู้สึกคิดนึกยึดถือว่าตนเป็นอย่างไร การยึดถือว่าตนเป็นอย่างไรมันก็เป็นไปตามอำนาจของกิเลสหรือตัณหา ในความรู้สึกว่า กูเป็นอย่างนี้ก็มีภพชนิดนั้นเกิดขึ้นที่เนื้อที่ตัวของคนนั้น ไม่ต้องรอว่าตายแล้วแล้วไม่ต้องรอแม้แต่อีกหนึ่งนาทีแล้วก็เป็นเสร็จในขณะที่มันมีตัณหาอย่างนั้นแล้วมีอุปทานอย่างนั้นแล้วมันก็ต้องมีภพตามชื่อของอุปทานนั้น ๆ
มันได้ไปยึดถือในอะไรเข้า ในขณะหนึ่งที่มีความรู้สึกคิดนึกด้วยกิเลสตัยหาอย่างไรก็มีภพชนิดนั้นเกิดขึ้นที่เนื้อที่ตัวของบุคคลนั้นในขณะนั้น นี้คำว่าภพในภาษาธรรมมันเป็นอย่างนี้ มันได้แต่ความเป็นที่เป็นอยู่ที่เนื้อที่ตัว ที่การประพฤติที่การกรทำก่อน แล้วบุคคลนั้นหรือบุคคลชนิดนั้นมันอยู่ที่แผ่นดินไหนไอแผ่นดินนั้นมันก็พลอยเป็นภพชนิดนั้นไปด้วย นี้มันเป็นของข้างนอกมากกว่าไปอีก มันเนื่องมาจากข้างในนั้นควรจะมีจิตใจอย่างกามภพ ให้เป็นกามภพทั้งเนื้อทั้งตัวและทางโลกภายนอกที่จิตของเขาได้สัมผัส ตา หู จมูก กาย ใจ ของเขาจะไปสัมผัสเฉพาะสิ่งที่เป็นอารมณ์แห่งกามภพทั้งนั้น
นั้นแผ่นดินนี้ก็เป็นกามภพเป็นกามโลกของบุคคลนั้นไปทันทีนี้ภาธรรมเป็นอย่างนี้ ถ้าภาษาคนก็หมายถึงแผ่นดินนี้ของสัตว์ทังหลายที่บริโภคกาม คือ สัตว์นรก สัตว์มนุษย์ สัตว์เทวดา กามวจรเขาอยู่ที่ไหนแผ่นดินนั้นที่นั้นก็เป็นกามภพเป็นกามโลกสำหรับเขา เอาข้างนอกเป็นเกณฑ์ สำหรับภาษาคนละก็เอาข้างนอกเป็นเกณฑ์ แต่ว่าภาษาธรรมเอาจิตเอาใจเป็นเกณฑ์นี้คือความยากลำบากสำหรับธรรมทุกคำมีความหมายเป็นสองชนิด ตามหลักของภาษา ภาษาคนหรือภาษาธรรม ที่เป็นภาษาคนเขาเรียกว่า บุคคลาภิสถาน คำว่า บุคคลาภิสถาน แปลว่า ที่ระบุไปยังบุคคล จึงไปเอาที่ตัวบุคคลที่เนื้อหนังของบุคคล คือวัตถุนั้นละเป็นหลัก
ส่วนธรรมภิสถานนั้นนะใช้จิตใจเป็นหลักเอาธรรมเป็นหลัก ที่ระบุไปยังที่ธรรม ธรรมนั้นคือภาวะของความเป็นอยู่ของสัตว์นั้นเป็นหลัก ยกตัวอย่างง่าย ๆ สำหรับคำนี้อีกทีหนึ่งก็ดีเหมือนกันว่า ถ้าพูดว่าคนในภาษาคนก็เรียกถึงตัวคนนั้นแหละคน ในภาษาธรรมก็หมายถึงคุณสมบัติคุณลักษณะหรือธรรมนั้นตั้งหากว่าเป็นตัวคนของธรรมะ คำแต่ละคำมันเกิดเป็นสองความหมายอย่างนี้เสมอ แล้วก็ไม่ค่อยได้พูดกันไม่ค่อยอธิบายกันในเรื่องนี้ก็เลยไม่เข้าใจต่างคนต่างเข้าใจกันไปคนละทางแล้วก็พูดกันไม่รู้เรื่องเดียวนี้ก็จะพูดให้ฟัง ให้เป็นที่ยุติกันไปเสียที่ไอทุกคำในโลกนี้มีความหมายได้เป็นสองอย่างทั้งนั้นไม่ว่าคำไหน ที่พูดอย่างภาษาวัตถุก็ได้พูดอย่างภาษานามธรรมก็ได้หรือจิตใจก็ได้
ถ้าไม่เคยฟังมาแต่ก่อนก็ไม่เข้าใจเป็นหน้าที่ ที่จะต้องศึกษาต่อให้เข้าใจ นี้ยกตัวอย่างคำว่า ไตรภพภาษาคนหมายถึง แผ่นดินโลก ภาษาธรรมหมายถึง ภาวะที่เนื้อที่ตัวแห่งบุคคลนั้นเอง ทีนี้ก็มาถึงคำว่าไตรโลก คือโลกทั้งสาม เป็นกามโลก รูปโลก อรูปโลก นี้ก็เหมือนกันอีก พูดอย่างภาษาคนก็คือตัวแผ่นดินโลก ที่เป็นที่อยู่ของมนุษย์ ของเทวดา ของพรหมณ์ของอรูปพรหมณ์ตามเรื่อง แต่ถ้าพูดในภาษาธรรมแล้วก็หมายถึงภาวะที่อยู่ที่เนื้อที่ตัวของบุคคลนั้น ๆ การที่เขามีกิเลสในระดับไหนยึดถือกาม ก็เป็นกามโลก ยึดถือรูปธรรมบริสุทธิ์ก็เป็น รูปโลก ยึดถืออรูปธรรมบริสุทธิ์ก็เป็น อรูปโลก นั้นคำว่าโลกมันก็อยู่ที่เนื้อที่ตัวของคนนั้นเอง แม้จะขยายไปว่าคนนั้น คนชนิดนั้นมีโลกรวมอยู่ในเนื้อในตัวของมันแล้ว มันไปอยู่ที่ไหนไอแผนดินนอกโลกข้างนอกก็พลอยเป็นอย่างนั้นไปหมดเพราะมันจะไม่รู้จักเรื่องอย่างอื่น นี้ก็ระดับหนึ่งแล้ว แต่ถ้าจะให้ละเอียดลงไปอีกระดับหนึ่งก็จะต้องพูดว่า ไอความเป็นที่เนื้อที่ตัวของคนเป็นความทุกข์นั้น นั้นละคือเป็นตัวโลก ถือเอาหลักพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าโลกนั้นแหละคือทุกข์ อยู่ในกายยาวประมาณวาหนึ่งที่ยังมีทั้งปัญญาและใจนี้ คือว่ายังเป็น ๆ อยู่ไม่ใช่ตายแล้ว ตายแล้วไม่มีพูดถึง คนที่ยังเป็น ๆ คนที่มีร่ายกายยาวประมาณวาหนึ่งนั้นมันมีโลกอยู่ในนั้นมันมีเหตุให้เกิดโลกอยู่ในนั้น มีดับแห่งโลกก็อยู่ในนั้น มีความถึงทางดับในโลกก็อยู่ในนั้น
ในความหมายนี้โลกคือทุกข์ ในความทุกข์ที่อยู่ที่เนื้อที่ตัวของคนมันมีหลายระดับ ความทุกข์ระดับกามโลกก็มี ความทุกข์ระดับรูปโลกก็มี ความทุกข์ระดับอรูปโลกก็มี นี้พูดอย่างสัจจะ สัจจะที่แท้จริงพูดอย่างนี้ แต่พูดในภาษาคนเขาไม่พูดอย่างนี้ เขาจะเอา รูปโลก อรูปโลก ไว้เป็นฝ่ายสุข สุขคติไปเสีย แม้แต่กามโลกบางชนิดเขาก็เอาเป็นสุขคติไปเสีย แต่ถ้าพูดอย่างสัจจะความจริงแล้วมันเป็นความทุกข์ ทุกโลกทุกแบบกามโลก ก็มันบ้ากาม ทุกแบบรูปโลกก็มันบ้ารูป ที่ไม่เกี่ยวกับกาม รูปบริสุทธิ์ แต่ทุกข์แบบอรุปโลกมันก็หลงไอสิ่งที่เป็นอรุปโลก เป็นนามธรรมที่มันหมายมั่นยึดมั่นมันก็มีความทุกข์แบบอรูปโภค ในเมื่อพูดถึงโลกก็ควรระบุถึงความทุกข์ที่อยู่ที่เนื้อที่ตัวของคน มีอยู่หลายระดับ บ้ากามก็มี บ้ารูปบริสุทธิ์ก็มี บ้าอรูปบริสุทธิ์ก็มี กามโลกก็ดี รูปโลกก็ดี อรูปโลกก็ดี โดยภาษาธรรม และมันอยู่ที่เนื้อที่ตัวของคนนั้นเองนี้เรียกว่าภาษาธรรม ถาภาษาโลกหรือภาษาชาวบ้านธรรมดาก็หันหน้ามุ่งชี้ไปทางแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินกามโลก หรือชี้ไปข้างบนโน้นกามโลกสูงสุด รูปโลก อรูปโลกถึงชั้นอัตนิกพล เป็นต้น
ถ้าเราไม่เถียงกันเราก็รู้จักแยกทั้งสองชนิดอย่างนี้แล้วก็ตกลงกันเสียก่อนว่าจะพูดกันในชนิดไหนแล้วก็ไม่ต้องเถียงกัน ถ้าต่างคนต่างเข้าใจความหมายผิดแล้วก็มาพูดกันมันก็ไม่ตรงกันเดียวมันก็เถียงกันเดียวมันก็ทะเลาะวิวาทกัน ที่นี้ก็ดูต่อไปถึงคำว่าไตรภูมิ ไตรภูมิภาคนมันก็หมายเอาแผ่นดินอย่างที่ว่า แผ่นดินมนุษย์โลก เทวาโลก พรหมณ์โลก รูปนั้นเป็นไตรภูมิของภาคน นี้ไตรภูมิภาษาธรรมหมายถึง ภูมิแห่งจิตใจ ชนิดที่ยังเวียนวายอยู่ในกิเลสมีอยู่สามชั้น ชั้นกาม ชั้นรูป ชั้นอรูป เรียกเต็มที่ยืดยาวว่า กามวรรจรภูมิ รูปวรรจรภูมิ อรูปวรรจรภูมิ
สามภูมินี้เป็นภูมิแห่งจิตใจของสัตว์ที่ยังเวียนวายอยู่ในอำนาจของกิเลส ถ้ามันเลยนั้นไปเรียกว่า โลกุตลภูมิอยู่เหนือโลกไป ไม่รวมอยู่คำว่าไตรภูมิในที่นี้ ไตรภูมิ ในที่นี้ก็คือระดับแห่งจิตใจ อย่างต่ำมากอย่างสัตว์ธรรมดา หลงไหลในอารมณ์แห่งกามคุณ รูป เสียง กลิ่น รส ที่เป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางกาม จิตในระดับนี้เรียกว่ากามวรรจรภูมิ เป็นภูมิที่หนึ่ง นี้จิตที่สูงไปกว่านั้นมันแขยะแขยงต่อสิ่งที่เรียกว่ากาม แล้วก็ไปหลงต่อสิ่งที่เป็นรูปบริสุทธิ์ ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับกามเป็นครอบคลุมใจ เป็นที่ตั้งยึดมั่นถือมั่นเหมือนกันแต่มันยังมีรูปอยู่ก็เรียกว่าชั้นที่หลงอยู่ในรูปเรียกว่า รูปวรรจรภูมิ คือภูมิแห่งจิตที่มัวแต่ท่องเที่ยวไปในรูปบริสุทธิ์ นี้ก็ยังมีจิตที่สูงไปกว่านี้อีกนี้ก็ยังหลงใหลในรูปเป็นนามธรรมล้วน
หน้าที่ 2 – กามวรรจรภูมิ
พูดอย่างง่าย ๆ ก็ยกตัวอย่างโดยเปรียบเทียบนั้นว่า หลงใหลในทางเพศหญิงชาย
ก็เรียกว่า กามภูมิ นี้ไปหลงใหลในของเล่นล้วน ๆ เงิน ทอง แก้ว แหวน เพรชเงินจินดา กระทั้งของเล่นอื่น ๆ เล่นแก้ว เล่นลายครามอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง นี้เขาเรียกว่าหลงในรูป นี้สูงไปกว่านั้นก็หลงในอรูปไม่มีรูป หลงในเกียจติยศ ชื่อเสียง สรรเสริญ เยินยอ แม้แต่ในบุยในกุศลมันก็เป็นในอรูปไปได้มันไม่ใช่อย่างเดียวกันอย่างนี้ ภูมิแห่งจิตใจของคนนี้จะแจกก็แจกเป็นสามชั้นอย่างนี้เองนี้เรียกว่า ไตรภูมิ ทุกคำที่นี้ก็ดูให้ดีกันหน่อยว่าทุกคำ คำว่า ไตรภพก็ดี ไตรโลกก็ดี ไตรภูมิก็ดี มีความหมายเป็นสองอย่างทั้งนั้น และแต่ละอย่าง ๆ ยังมีลึกซึ้งกว่ากันและกัน นี้เรามาดูว่าขึ้นชื่อว่า ภพหรือโลก หรือภูมิแล้ว มันยังเป็นเรื่องของการวนเวียน เวียนว่ายทั้งนั้น และก็มันมีต้นเหตุอยู่ที่ภูมิคือไตรภูมิ ภูมิแห่งจิตใจ จิตใจเป็นอย่างไร ไอโลกหรือภพที่เขาอยู่จะได้ชื่อเป็นอย่างนั้นไป คนที่มีจิตใจเป็นกามมันก็จะเห็นแต่สิ่งที่เป็นกาม แม้ว่าในโลกมันจะมีทุกอย่างมันก็ไม่สนใจ นอกจากสิ่งที่เป็นกาม คนที่สูงขึ้นมาเป็นชั้น
รูปมันก็หลงแต่สิ่งที่เป็นรูป มันก็ไม่ไปแยแสในสิ่งที่เป็นกาม ถ้าเป็นอรูปก็หลงใหลในสิ่งที่เป็นอรูป เพราะว่าไอความต้องการของมันนะมันจำกัดตายตัวลงไปอย่างนั้น ทีนี้ยกตัวอย่างทีเป็นง่าย ๆ อีกสักตัวอย่างหนึ่ง ว่าคนมันไปป่าหาไม้ไผ่ ไอคนที่มันจะทำบ้านทำเรือนมันก็จะเห็นแต่ไม้ไผ่ลำโต ๆ อื่น ๆ นั้นนะคือมันไม่เห็นมันไม่มองเห็นมันก็ตัดเอาแต่ลำไม้ไผ่ทื้อ ๆ เอามาทำบ้านทำเรือน นี้คนหนึ่งมันอยากจะได้คันเบ็ด มันก็ไม่สนใจไม้ไผ่ลำโต ๆ ทื้อ ๆ สวย ๆนะมันจะเอาแต่ไม้ไผ่รูปคันเบ็ดมันจะเห็นแต่อย่างนั้นก็เลือกแล้วเลือกอีก ทีนี้คนหนึ่งมันจะหากระบอกสูบ กัญชามันก็จะเห็นแต่ไม้ไผ่คดไปคดมาเจอกระบอกสูบกัญชาสั่น ๆ เท่านั้นนะ
ไม้ไผ่ที่สวยงามอย่างยิ่งมันก็ไม่เห็นก็มันไม่สนใจนี้มันเห็นแต่ไม้ไผ่ทำกระบอกกัญชา เนี่ยก็ดูว่าคนอย่างเดียวกันมีหูตาอย่างเดียวกันทำไมมันจึงไปเห็นแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ก็เพราะว่าความต้องการของมัน เป็นอย่างนั้น นี้คนเรานี้อยู่ในโลกนี้สังสารวัตนี้ ก็เช่นนั้น กิเลสของเขาเป็นอย่างไรในระดับไหนเขาก็จะเห็นโลกเป็นอย่างนั้นแต่ในระดับนั้น โดยเฉพาะแต่ที่เขาต้องการนั้นเองถ้าเขาใจในข้อนี้จะดีมาก คือบางทีจะใช้คำว่าวิเศษที่สุดคือจะได้รู้จักตนเองกันเสียบ้าง ไอคนโง่ไม่รู้จักตัวเองก็เพราะเหตุนี้ละ คือมันไม่รู้สิ่งนี้มันจึงอวดดียกหูชูหางข่มเหงคนอื่น ดูถูกดูหมิ่นคนอื่นทั้งที่ตนเองก็ไม่มีอะไรดี ลืมคิดว่าตัวเองจะดีกว่าเขา มันมีจิตใจอย่างไรมันก็รู้สึกไปอย่างนั้นมันก็ถือหมั่นยึกหมั่นแต่อย่างนั้น นั้นละมันก็ได้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
ถ้าโดยรายละเอียดมันก็มีมากอย่าง หลายสิบอย่างหลายร้อยอย่างก็ได้ และก็โดยประเภทใหญ่ ๆ ประเภทง่าย ๆ ท่านก็บัญญัติไว้เพียงสามอย่างเท่านี้ก็พอแล้ว ไอคนหนึ่งมันบ้ากาม ไอคนหนึ่งมันบ้ารูป คือ สิ่งของ ไอ้คนหนึ่งมันบ้าเกียรติ มันบ้านามธรรม ไอคนหนึ่งมันบ้ากามเรื่องเพศ ไอคนหนึ่งมันบ้าสิ่งของเรื่องกิน อย่างนี้ ไอคนหนึ่งมันบ้าเกียรติ มันบ้านามธรรม เรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ ไม่มาพร้อมกันนะแล้วแต่จิตใจของตัวเองที่จะบ้าลึกลงไปในส่วนไหน นี้ก็เป็นหลักอันหนึ่งที่จำทำให้รู้จักตนเองว่าเรามันอยู่ในภูมิไหนภพไหนโลกไหน ถ้ามองเห็นชัดอย่างนี้จะรู้ธรรมะได้ง่ายเข้า จะรู้จักธรรมะได้ง่ายเข้าขอให้สนใจกันทุกคนพยายามรู้จักตนเองว่าตนเองเป็นอย่างไร มีจิตใจอย่างไร ต้องการอะไร หลงใหลในอะไร ยึดหมั่นถือหมั่นในอะไร ก็จะรู้ว่าจิตใจนั้นนะอยู่ในภูมินั้น เมื่อจิตใจอยู่ในภูมิไหนแล้วโลกที่เขาอยู่ก็จะได้ชื่อว่าอย่างนั้นไปหมด นั้นคน คนเดียวอยู่ที่นี้ ที่นี้มันก็ได้ชื่อว่าโลกนั้นหรือภพนั้นสำหรับบุคคลนั้นไปเลย
ทีนี้คนมันมากคนหลายสิบคนหลายร้อยคนมันก็ต่างกันบ้าง เพราะมันมีต่างกัน เดียวนี้โดยมากเมื่อเอาความรู้สึกส่วนใหญ่เป็นหลักแล้วมันจะเหมือน ๆ กันตรงที่ว่ามันยังชอบเรื่องกาม คือเรื่องเพศกันอยู่ทั้งนั้น จึงต้องจัดส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้ หรือของโลกที่เขาอยู่นั้นว่าเป็นกามโลก หรือเป็นกามภูมิ แต่ถ้าเผอิญมีพระอริยะเจ้ารวมอยู่ในนั้นสักคนหนึ่ง คนนั้นมันไม่ได้อยู่ในกามภูมิและโลกสำหรับท่านมันก็ไม่ได้เป็นกามโลกหรือเป็นโลกอะไรตามความหมายของกิเลสของคนธรรมดาสามัญ เพราะว่าการที่จะเป็นอริยะเจ้า โลกุตลภูมิได้นั้นมันมีความรู้สึกอยู่เหนือกาม อยู่เหนือรูป อยู่เหนืออรูป ทั้งหมดทั้งสิ้น คือต้องมีจิตใจอยู่เหนือกาม อยู่เหนือรูป อยู่เหนืออรูป เสียก่อนจึงจะเป็นโลกุตลภูมิ ว่าจิตใจเหนือโลกเหนือภพอย่างนี้แล้ว ภพหรือโลกนั้นก็ไม่มีจิตใจเป็นโลกุตลภูมิ นั้นโลกหรือภพสำหรับพระอรหันต์นั้นจึงไม่มี เขาจึงไม่เรียกว่า อรหันต์ต่อภพ อรหันต์ต่อโลก นั้นจึงไม่มี ภพหรือภูมิมันจะมีแต่คนที่มียึดหมั่นถือหมั่น ไม่กามก็รูปไม่รูปก็อรูปรวมอยู่ 3 อย่างนี้ นี้คือสรุปให้เห็นเสียครั้งหนึ่งก่อนทีหนึ่งก่อน ว่าโลกนี้ธรรมดาสามัญอย่างนี้อย่างประเภทนี้เป็นกามโลก สำหรับคนที่มันมีจิตใจหลงใหลในกามก็เป็นรูปโลก สำหรับคนที่มีจิตใจหลงใหลในรูปโลก เขาจะมาสนใจ ก้อนหิน ต้นไม้ เมล็ดกรวด เมล็ดทรายอย่างหลงใหลก็ได้ ไม่ต้องหลงไหนในเรื่องกามเลย โลกนี้ก็เป็นอรูปโลกให้เขาได้ คนอีกคนหนึ่งเขาสนใจไอความสงบเงียบเย็นเยือกของสถานที่นี้ โลกนี้ก็เป็นโลกกว้าง โลกเย็น โลกสงบของเขา เขาก็หลงใหลสถานที่นี้ มันก็เป็นอรูปโลกสำหรับเขาก็ได้ นั้นโลกอย่างเดียวกันมันก็มองเห็นกันคนละแง่ อย่างดีก็ตาใครตาเดียวแต่มองเห็นหลาย ๆ อย่าง อย่างคนที่ต้องการไม้ไผ่นี้ก็รู้กันสักทีเสียก่อนว่าให้รู้กันทีเดียว
มันก็เป็นหลายโลกหรือหลายภพให้แก่คนหลาย ๆ ชนิดได้แล้วแต่ว่าจิตใจของเขาเป็นอย่างไร นี้มันเป็นหัวข้อใหญ่หรือมันเป็นหลักเกณฑ์อันใหญ่ จึงควรจะจำไว้ว่าเอาจิตใจข้างในเป็นหลัก และไอรูปธรรมข้างนอกก็จะเปลี่ยนความหมายไปตามความรู้สึกแห่งจิตใจของเขา นี้เอาสถานที่เป็นตัวกำหนด เป็นที่กำหนดแห่งจิตใจของคน คนมีจิตใจต่างกันก็เห็นโลกนี้ต่างกันเป็นหลักทั่ว ๆ ไป ทีนี้ก็มาดูให้แคบกว่านั้นก็คือว่า คนคนเดียวกันนี้แหละไอความรู้สึกในการลองหนอะไรมันก็เปลี่ยนไปตามวัย เมื่อเป็นหนุ่มสาวความรู้สึกก็เป็นไปทางเพศ จิตใจของเขาอยู่ในกามาวรรจรภูมิ งั้นโลกนี้ทั้งโลกก็เป็นกามโลก หรือเป็นกามภพ สำหรับเขาที่ยังหนุ่มสาว จะรู้สึกแต่สิ่งที่เป็นความหมายของกามคุณมีโลกเป็นกามโลก ทีนี้ต่อมาพอเป็นคนมีอายุมากขึ้น ความรู้สึกอย่างนั้นมันหมดไปเลยหลงใหลในวัตถุแม้จะเป็นทรัพย์สมบัติสิ่งของก็ได้ แต่ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์แล้วโลกนี้ก็เปลี่ยนไปสำหรับเขาทันทีไม่ถือความหมายของกามารมณ์ แต่ถือความหมายของค่าทางวัตถุ ของเงิน ของทอง ของอะไรต่าง ๆ เป็นวัตถุที่มีค่าไปโลกนี้ก็เปลี่ยนเป็นอรูปโลกหรือรูปภพสำหรับคนไวนั้น
นี้ถ้าคนนั้นมันดีกว่านั้นมันไม่หลงในวัตถุอย่างนั้น มันไปหลงเรื่องบุญกุศล เรื่องเกียรติยศ อะไรต่าง ๆ ไม่สนใจวัตถุสิ่งของเหล่านี้มุ่งแต่ว่าความดีอยู่ที่ไหน บุญกุศลอยู่ที่ไหน อย่างน้อยก็เกียรติยศอยู่ที่ไหนเรายอมตายเพื่อเกียรติยศนี้ ในโลกนี้มันก็กลายเป็นอรูปโลก สำหรับคนนั้นในวัยนั้นของเขา นี้ก็เอาตามวัยซึ่งถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติแล้วมันก็จะเป็นอย่างนี้จริง ๆ ด้วย หนุ่มสาวก็หลงใหลแต่ในเรื่องเพศ พ่อบ้านแม่เรือนก็หลงใหลในสมบัติทรัพย์สินเงินทอง ถ้าแก่ ชรา งอม เฒ่าก็เป็นไปอย่างถูกต้องก็หวังในเรื่องโลกอื่นคือบุญ กุศล เป็นเรื่องของโลกอื่นไป
แต่ถ้ามันมีอะไรมายั่วมากอย่างสมัยปัจจุบันนี้ คนอาจจะบ้ากามารมณ์เรื่องเพศไปจนแก่เข้าโลงก็ได้ ที่พูดนั้นมันพูดถึงเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติแท้ ๆ อย่าไปแก่ไขมันนัก คนก็จะเรื่องชั้นตนเองได้ในเวลาสมควร ไอโลกนี้ก็มีการเปลี่ยนไปตามความรู้สึกของเขาได้เหมือนกัน คนที่มีจิตใจเป็นกามภูมิก็อยู่ในกามโลก มีจิตใจเป็นรูปภูมิก็อยู่ในรูปโลก มีจิตใจเป็นอรูปภูมิก็อยู่ในอรูปโลก นี้มันเป็นไปตามวัย นี้เขาเรียกว่าดูกันอย่างละเอียดกันมาบ้างแล้ว ทีนี้จะดูให้ละเอียดยิ่งไปกว่านั้นอีก ซึ่งก็มีเหมือนกัน คือมันเป็นจิตใจที่เปลี่ยนได้ตามกรรมตางวาระเลยสิ่งที่แวดล้อมมันไม่เหมือนกัน เป็นคนหนุ่มสาวแท้ ๆ แต่มีสิ่งแวดล้อมแปลกออกมาต่างเวลาต่างสถานที่ อาจจะทำให้คนหนุ่มสาวที่มีจิตใจอยู่ในกามภูมิเปลี่ยนก็ได้บางเวลาก็ต้องการการพักผ่อน ก็เกลียดก็อายไอกามารมณ์ไปพักหนึ่งการพักผ่อนหรือมาหลงใหลกับวัตถุของมีค่าสักพักหนึ่งแค่นั้น เขาเรียกว่ามันเปลี่ยนแม้แต่เวลาเล็กน้อยมันก็เปลี่ยนภูมิแห่งจิตใจ นั้นโลกของเขาก็เปลี่ยนด้วยตามความรู้สึกของเขา มันมากไปกว่านั้นเช่นว่า เขามาเกิดศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้าเผอิญมันสำเร็จแล้วมองเห็นผลธรรมะจริง ๆ คือจิตใจมันเปลี่ยนจริง
ไอ้คนหนุ่มคนสาวแล้วก็ละภูมิแห่งกามได้ มีจิตใจสูงขึ้นมาถึงรูปถึงอรูป ในเมื่อเขาฝึกฝนในทางสมาธิมาก แล้วก็จะเป็นโลกุตละภูมิได้ถ้าเข้าใจ ธรรมะถูกต้องถึงกลับถึงความปล่อยวาง ดังนั้นเราไม่สามารถจะบัญญัติให้ตายตัวไปว่า คนหนุ่มคนสาวจะต้องหมกจมอยู่ในกามภูมิเสมอไป มันเป็นเรื่องแล้วแต่เหตุปัจจัยเข้ามาแวดล้อม ถึงแม้ว่าคนคนนั้นแหละมันจะวกกลับไปหากามารมณ์อีกมันก็เปลี่ยนไปได้อีกแต่ในขณะหนึ่งก็มีจิตใจสูงกว่ากามภูมิเป็นแน่นอน มาอยู่ในทางรูปวรรจรภูมิ อรูปรูปวรรจรภูมิบ้าง แล้วมันเกิดปุบปับกระโดนกลับไปหากามภูมิได้อีกก็เป็นไปได้ตามธรรมดา
ถ้าเกิดดูจิตใจของตัวเอง คนหนึ่ง ๆ วันหนึ่ง ๆ ปีหนึ่งก็ได้ กลับไปกลับมา เดียวมันบ้ากาม เดียวมันบ้ารูป เดียวมันบ้าเกียรติ มันกลับไปกลับมาได้ ถ้ามันเก่งมากบางทีในวันเดียวมันเปลี่ยนได้ทุกแบบอย่างนี้ก็ได้ ชั่วโมงนี้บ้ากาม ชั่วโมงหลังบ้าเกียรติ ชั่วโมงหนึ่งบ้าสิ่งของ เนี่ยโลกมันก็เปลี่ยนไปตามความรู้สึกเปลี่ยนจิตใจของบุคคลนั้น มันก็จะเข้าไอหลักที่ว่าไอทุกอย่างทุกสิ่งขึ้นอยู่กับจิตดวงเดียวแล้วแต่ว่าจิตนั้นมันเป็นอย่างไร ถ้าจิตมันไม่รู้สึกแล้ว ไอจิตต่าง ๆ มันก็คือไม่มี
ถ้าเราบอกว่าไม่รู้สึกต่อโลก โลกนี้ก็ไม่มี เดียวนี้มารู้สึกว่าแผ่นดินโลกมีก้อนหิน ต้นไม้ มันจึงมี ถ้าลองไม่รู้สึกมันก็มี ถ้ามันมีอะไรที่ทำให้มันรู้สึกได้เดียวนี้มันก็ไม่มีเดียวนี้ได้ แล้วเรื่องจิตใจมันเปลี่ยนไม่เยแส ไม่สนใจในเรื่องเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ก็มีค่าเท่ากับว่าไม่มี เพราะว่าจิตมันไปเกาะอยู่ที่อื่นไปยึดหมั่นอยู่ที่อื่น นั้นจึงเป็นอันว่าถ้าท่านเข้าใจเรื่องดังนี้ ก็จะเห็นได้ทันทีว่าทุกอย่างมันไปรวมอยู่ที่ในสิ่ง สิ่งเดียวคือจิต จะเป็นไตรภูมิ ไตรโลก กี่ร้อนโลก กี่พันโลกมันไปรวมอยู่ที่จุดเดียวคือจิตให้มันอยู่ที่จิต แล้วแต่ว่ามันจะเป็นแวดล้อมเป็นสิ่งอย่างไรโดยรู้สึกตัวก็ได้โดยไม่รู้สึกตัวก็ได้ แล้วตามสามัญธรรมดาโดยทั่ว ๆ ไปก็คือโดยไม่รู้สึกตัวนี้ปุถุชนต้องเป็นอย่างนี้ เพราะว่าปุถุชนทั้งหลายก็ไม่รู้อะไรมันก็ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ถ้าแวดล้อมปรุงแต่งก็มีจิตใจไปอย่างนั้นนั้นส่วนใหญ่มันจึงมีลำดับที่เขาวางไว้แล้ว เมื่อโตขึ้นเต็มที่จากการเป็นเด็กแล้วพอถึงวัยหนุ่มสาวแล้วก็หลงอยู่ในขั้นกามวรรจรภูมิ โลกของเขาก็เป็นกามภพ กามโลก ทั้งภายนอกและภายในมีทั้งที่เนื้อที่ตัว ที่กายที่ใจเป็นอย่างนั้น ที่เป็นแผ่นดินอยู่รอบ ๆ ตัวอยู่ก็เป็นอย่างนั้นเพราะเขารู้สึกแต่อย่างนั้น ที่น้อยนักน้อยหนาที่ว่าปุถุชนจากกามภูมิขึ้นมาหารูปภูมิ อรูปภูมิได้เพราะว่าไอสิ่งที่เรียกกามภูมินั้นมันเป็นอย่างไรใคร ๆ ก็พอจะนึกได้เพราะมันดึงดูดอย่างไรแล้วมันง่ายอย่างไรจนถึงที่เขาเปรียบว่ามันเหมือนกับที่ต่ำที่ลุ่ม การขึ้นไปหาที่ลุ่มที่ต่ำนั้นมันง่าย มันก็เคยชินอยู่แต่ที่ลุ่มที่ต่ำ จิตนั้นก็ไม่อยากจะขึ้นไปบนที่สูง เหมือนกับว่าปลามันเคยชินอยู่แต่ในน้ำก็นั้นมันไม่อยากจะขึ้นไปบนบกหรือบนดอน
นี้จิตที่อยู่ในกามวรรจรภูมิมันจึงอยากที่จะถอนตัวขึ้นมาอย่างเด็จขาด นั้นจึงถือกันว่า ปุถุชนทั่วไปที่โฆษณาว่าปุถุชนแท้ ๆ ก็จัดไว้สำหรับกามวรรจรภูมิ ที่นี้มันก็ต้องมีปุถุชนอุตริวิตถารอะไรบ้างเกิดไปค้นคว้าเรื่องแปลก ๆ ออกไป ไปพบการกระทะจิตอย่างใหม่ที่เดียวนี้เขาเรียกกับว่า ทำวิปัสสนาสมาธิ นั่งวิปัสสนาเนียรู้จักทำจิตอย่างใหม่ให้มันเกิดขึ้น ไปพบรสชาติที่ใหม่ที่สะอาดที่ดีกว่า คือความสงบที่เกิดจากชาลมันจึงรู้สึกรสของกามารมณ์เป็นของสกปรก เป็นของเปียกแฉะ เป็นของเลอะเทอะ มันก็เลยเปลี่ยนไปหาไอสิ่งที่สงบ สะอาดเยือกเย็น เรียกว่าความสุขที่เกิดจากสมาธิ เกิดจากชาล โลกของเขาก็ต้องเปลี่ยนทันทีความรู้สึกของเขาเปลี่ยนไปแล้วโลกของเขาก็เปลี่ยนทันทีมันจริงเป็นรูปโลกหรือรูปวรรจรภพ รูปวรรจรโลกไตร
แต่มันก็มีน้อย นี้มันยังมีน้อยกว่านั้นอีก เราต้องการความสงบที่ละเอียดกว่านี้เป็นไปในสิ่งที่ไม่มีรูปมาเป็นอารมณ์สำหรับสมาธิของเขา เช่นเอาอากาศความว่างเปล่ามาเป็นอารมณ์ของสมาธิและถ้าเขาทำสมาธินี้สำเร็จเขาก็ได้รับคนที่ละเอียดสุขุมนิ่มนวลไปกว่าก่อน ไอชั้นที่เรียกว่า อรูปมันก็เกิดขึ้นมา การสงบชั้นอรูปมันก็สูงกว่า ปราณีตกว่า สุขุมกว่า ระงับกว่าจึงต้องจัดไว้เป็นอีกพวกหนึ่งตังหาก เรียกว่า อรูปภูมิ หรืออรูปวรรจรภูมิ โลกของเขาก็เปลี่ยนอีกละ เพราะใจของเขาเปลี่ยนแล้วสิ่งที่เข้าสนใจรู้สึกก็มีเพียงอรูปคือความว่างจากรูป นี้เรียกว่าพูดโดยไม่ต้องกำหนดคำตายตัวลงไปว่าใคร ที่ไหน เมื่อไหร่หรืออะไร
พูดระบุไปแต่ที่จิตดวงเดียวว่าจิตนั้นถูกแวดล้อมและปรุงแต่งให้เป็นอย่างไร มันก็จะเปลี่ยนไปใน3 ภูมินี้ก่อน คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ซึ่งล้วนแต่เรียกว่าเป็นความวนเวียนอยู่ในโลกนี้ทั้งนั้นแหละก็ยังมีอวิชชายังละอวิชชาไม่ได้แม้จะดีอย่างไรมันก็ยังมีอวิชชายังเวียนอย่ในวรรตะอยู่นั้น เดียวจะไม่เข้าใจก็พูดซะเลยกามภูมิก็ดี รูปภูมิก็ดี อรูปภูมิก็ดี ยังเป็นอยู่ในวิสัยของอวิชายังว่ายเวียนอยู่ในวรรตะนั้นภูมินี้จึงเป็นโลกียะภูมิคือเวียนอยู่ในโลก จนกว่าเมื่อไรจะรู้สึกว่าไอโลกนี้บ้าทั้งนั้นเลยต้องการจะออกจากโลกจะไม่มีความหมายในโลกนั้นนะนั้นจึงจะพ้นโลกเป็นโลกุตลภูมิเป็นพระอรหันต์ไปได้ วันนี้เราพูดกันเรื่อง ไตรภพ หรือไตรภูมิ หรือไตรโลก ก็แปลว่าพูดกันแต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหา เป็นสิ่งทำอยากลำบากหรือทำความทุกข์และก็มีอยู่ 3 ชั้น ชั้นแรกนี้ก็สวยงามเอร็ดอร่อยมากเรียกว่าชั้น กามภูมิ ถ้าไม่อย่างนั้นคนก็ไม่หลงจิตอยู่ที่นี้มากมาย
นี้ภูมิที่ 2 มันก็จืดสนิทเกินไปมันไม่ยั่วยวนหอมหวนอย่างนั้น มันเป็นไปในทางจืดสนิทหรือสงบกว่าคนมันก็อยากกันน้อยคนที่จะเข้าไปสู่นั้นได้มันก็มีน้อยจึงต้องจัดไว้เป็นสิ่งที่สูงกว่าจนกว่าจะสูงไปกว่านั้นอีก ยิ่งน้อยขึ้นไปอีกคือพวกอรูปวรรจรภูมิมันเรียกว่าเป็นกันโดยเด็ดขาด แต่ที่มันเป็นชั่วคราวแล้วมันเป็นได้ทั้งนั้นแม้คนที่อยู่ในกามภูมินี้อาจจะเปลี่ยนเป็นรูปภูมิ อรูปภูมิบ้างบางขนาด เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามสิ่งแวดล้อมที่มาแวดล้อมในขณะนั้น แต่มันไม่เทียมแท้แน่นอน นั้นจึงไม่จัดว่าเขาอย่าในภูมินั้นที่แปลกออกไปและถือเอาที่เขาเป็นอยู่โดยมาก เรียกว่ามี นิสัยสันดารนอนจมอยู่ในภูมิไหนก็บัญญัติศัพท์เหล่านั้นว่าโดยปกติแล้วเขาก็อยู่ในภูมินั้น นั้นคนในโลกนี้ตามธรรมดาสามัญก็ถูกจัดว่าอยู่ในกามภูมิหรือ กามวรรจรภูมิ โลกของเขาก็เป็นกามโลก ภพของเขาก็เป็นกามวรจณภพ เป็นต้น ขอให้รู้จักตัวเอง ขอให้รู้จักโลกที่ตัวเองหมกจมอยู่ให้ดี ๆ ให้ถูกต้อง
ในลักษณะ 3 ประการนี้ ก็จะเรียกว่ารู้จักภูมิ 3 รู้จักภพ 3 รู้จักโลก 3 ถึงว่าโดยที่แท้แล้วก็เป็นปัญหาเฉพาะหรือว่าเป็นเรื่องที่กำลังจะเป็นอยู่จริงเรากำลังแก่ไม่ตกเราจึงต้องทนพบอยู่ในภพหรือในภูมินี้ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งจนกว่าจะถอนตัวออกมาเสียได้นี้จึงนับว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่เราทั้งหลายจะรู้จักสิ่งที่เรียกว่าไตรภพ หรือไตรภูมิ แต่อย่ามาร้องแบบคนหุ่นกระบอกที่ร้องว่าพระอภัยจอมไตรภพมันจะเป็นหน้าหัวเราะแม้แต่ชั้นพรมในชั้นอรูปพรหมณ์ก็ยังเป็นจอมไตรภพไม่ได้ยังหลงอยู่ในอรูปภพ ยังมีแต่พระอรหันต์พวกเดียวเท่านั้นที่จะเป็นจอมไตรภพได้ นั้นถ้าใครมาคุยว่าเป็นจอมไตรภพอย่าไปเชื่อมัน นอกจากพระอรหันต์เท่านั้น การวิสัชนาก็สมควรแก่เวลาแล้วขอยุติไว้แต่เพียงแค่นี้ก่อน
http://www.vcharkarn.com/varticle/35480