การทำบุญสามแบบ โดย ท่านพุทธทาส

การทำบุญสามแบบ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – พุทธบริษัท
การทำบุญสามแบบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ
เอตัง ปันยัง เนเทปนาโม ปหิรา ปัญญานิ สุขามหานิ อะถะ โลกาวิฆัง ปาฌเห สันติเบกโข ธัมโม โสคชัง โหนติ.

ณ บัดนี้จะได้วิปัสนาธรรมเทศนา ในบุญยสถาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธา ความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลาย

ผู้ที่เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า ในทางพระศาสนา ของพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาในวันนี้เป็นธรรมเทศนาอภิเษก ปราศรถให้ท่านทั้งหลาย บำเพ็ญ ทรัพสินาธานเป็น ภิเษกอีกนั้นเอง จะได้วิปัสนาในบุตยสถา คือเรื่องที่เกี่ยวกับบุญ เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่าบุญสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ สำหรับพุทธบริษัททั้งหลาย แม้ว่าท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันที่นี่ ก็มีมูลเหตุมาจากความต้องการบุญ ในที่สุดคนก็พูดถึงแต่เรื่องบุญ มาทำบุญ ไปทำบุญ คือวิ่งว่อนไปหมด นี่เรียกว่าเกี่ยวกับการทำๆบุญ แล้วนึกถึง ฝันถึงอยู่แต่เรื่องบุญ นี่เป็นที่จะต้องกระทำให้เป็นบุญ กันขึ้นมาจริงๆ จึงเป็นเรื่องที่จะนำเอามาพิจารณาอยู่บ่อยๆ เพื่อให้เป็นบุญยิ่งขึ้น และกว่าจะถึงจุดสิ้นสุด เพราะเหตุฉะนั้นผู้ใดที่ต้องการบุญ จงตั้งใจฟังให้เป็นอย่างดี อย่าฟังพอเป็นพิธีเหมือนคนโดยมาก เป็นคนโง่ ไม่รู้ว่าการทำบุญนั้นคืออะไร ทำอย่างไร เพื่ออะไร การทำบุญ โดยศักดิ์เหมาๆเอาว่าเป็นบุญ เขาทำอย่างไร ก็ทำตามเขาแล้วก็ได้บุญ อย่างนี้มีกันอยู่ทั่วไป เรียกว่าได้บุญตามเขาว่า ได้บุญอย่างละเมอ เพ้อฝันไปเท่านั้นเอง

บางทีไม่คุ้มกับบุญด้วยซ้ำไป เพราะจะเปรียบเทียบกับบุญชนิดนั้นได้ กับสิ่งที่เป็นเปลือก เท่านั้นเอง บางคนยังยิ่งไปกว่านั้นเสียอีก คือว่าศักดิ์แต่ว่าจะทำบุญก็แล้วกัน ไม่รู้ว่าเอาบุญไปทำอะไรนี้ เป็นคนโง่มาก น่าสงสารที่สุด คือว่าทำบุญก็แล้วกัน ไม่รู้ว่าเอาบุญนั้นไปทำอะไร ข้อนี้เปรียบเหมือนกันกับคนที่เลี้ยงไก่ เป็นคนโง่เลี้ยงไก่ อุตส่าห์เลี้ยงไก่ด้วยความยากลำบาก หมดเปลืองสิ่งของ หมดเปลืองเวลา ครั้นไข่โตออกมา ก็หารู้ไม่ว่าไข่นั้นมีประโยชน์ ก็ปล่อยให้ไข่นั้นเรี่ยราดอยู่นั่นเอง หาได้เก็บไว้ไม่ ปล่อยให้หมามันกิน คนเหล่านี้จะโง่เขลาเท่าใดท่านทั้งหลายลองคิดดูเถิด ก็จะเรียกได้สั้นๆว่า คนที่เลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน ตัวเองไม่ได้สนใจ เพราะไม่เข้าใจว่าไข่นั้นคืออะไรนี้ เหมือนกับทายก ทาริกาทั้งหลาย ที่มัวแต่ทำบุญแต่ไม่รู้ว่าบุญคืออะไร จะเอาไปทำอะไร ก็หาได้สนใจ

ในส่วนที่เป็นบุญจริงๆไม่ สนใจแต่เรื่องทำบุญเท่านั้น ก็เหมือนคนโง่ที่เอาแต่เลี้ยงไก่ ก็หาได้สนใจไม่ ลองพิจารณาดูเอาเถิดว่าคนชนิดไหน ทายกทายิกาพวกไหน ที่เป็นคนโง่เลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน คือทายกทายิกา ทำบุญเลี้ยงพระ บำรุงสัตว์ บำรุงศาสนา แล้วก็หาได้เอาตัวรับศาสนาไปปฎิบัติไม่ มีแต่ทำบุญเลี้ยงพระ ให้ทานบำรุงสัตว์ ศาสนาอย่างเดียว ไม่รู้จักรับศาสนามาศึกษาและปฎิบัติ และให้รับประโยชน์เต็มแต่ตามควรที่จะได้รับ คนชนิดนี้แหละที่ทำบุญ เหมือนกับเลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน ทำบุญมากมายจนตลอดชีวิตจนเป็นอย่างนั้นอยู่นั้นเอง เพราะว่าจิตใจไม่ได้ดีขึ้น กิเลสไม่ได้เบาบางลง

ไม่รู้ว่าพระพุทธศาสนาคืออะไร ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่รู้ว่าหัวใจของพระพุทธศาสนาคืออะไร เพียงแต่ไม่รู้ก็ไม่รู้ซะแล้ว แล้วจะปฎิบัติอย่างไร ก็เลยไม่ได้มรรคผลประการใดนี้ เรียกว่าทายกทายิกา ที่เลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน ขออภัยที่ต้องใช้คำตรงๆ แบบนี้เพราะว่าเป็นการช่วยความจำได้ ว่าทายกทายิกาทั้งหลาย จงหยุดการบำเพ็ญบุญชนิดเลี้ยงไก่ มีไข่ไว้ให้หมากิน เสียเถิด จงได้ขยายเลี้ยงไก่ไปในที่ว่ารู้จัก หรือเอาไข่จากไก่ไปเป็นประโยชน์ ให้ได้ให้มากถึงที่สุดเถิด ขอให้บำรุงศาสนาแล้วให้ได้รับประโยชน์ศาสนา เป็นผู้เรียนรู้ศาสนา ปฎิบัติตัวศาสนา เป็นผู้มีจิตใจที่สะอาด มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบ ความที่มีจิตใจสะอาด สว่าง สงบนี้แหละ คือตัวแท้ของศาสนา คือเยื่อเนื้อของศาสนา เหมือนกับไข่ไก่ที่มีประโยชน์ ส่วนอาการที่ศักดิ์แต่เลี้ยงทำบุญนั้นไม่สำเร็จประโยชน์ก่อน เป็นแต่เพียงได้บุญเหมาๆเอาเท่านั้นเอง ยังไม่แน่นอน ถ้าแน่นอนต้องรู้จริงว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างไร เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แล้วก็ปฎิบัติ แล้วก็ได้รับผลของการปฎิบัติจริงๆ เช่นพระพุทธศาสนาสอนให้ยึดมั่นถือมั่น

ก็สามารถนำมาปฎิบัติได้ในชีวิตประจำวัน อยู่ทุกเวลานาที เป็นผู้มีสุขสบายดี ตลอดเวลาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำการงาน หรือเวลาพักผ่อน ล้วนแต่มีความสุข สงบไปทั้งนั้น อย่างนี้เรียกว่าผู้ที่เลี้ยงไก่แล้ว ได้กินไข่ คือผู้ที่บำรุงศาสนาแล้ว ได้รับประโยชน์จากศาสนา เรียกว่าเป็นผู้ทำบุญด้วยความรู้จากบุญ แล้วก็ได้บุญนั้นมาจริงๆ ทีนี้เพื่อจะให้เข้าใจความข้อนี้ยิ่งขึ้น ในคำว่าบุญโดยละเอียดออกไป

คำว่าบุญนี้แปลว่าเครื่องปูใจก็มี แปลว่าเครื่องชำระล้างบาปก็มี เรามาเอาความสำคัญกันดีกว่า ความหมายสำคัญอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาปนั้นเอง ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนจำไว้ว่า คำว่าบุญ มีความหมายชั้นสูงสุดว่า เป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาป อย่าเอาแต่ว่าเป็นเครื่องฟูใจ อิ่มใจ สบายใจเลย เพราะว่าอาจจะเป็นเรื่องผิด ขึ้นมาไม่ทันรู้ตัวก็ได้ ถ้าเแาเป็นว่าบุญเป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาปแล้ว ไม่มีทางที่จะผิด ถึงจะผิดก็มีผิดน้อย ยังมีส่วนถูกอยู่นั้นเอง ถ้ามุ่งหมายจะให้เป็นเครื่องชะล้างชะบาป ถือว่าเราเอาใจความของบุญเป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาป ทีนี้จะพิจารณาบุญนั้นอีกต่อไป ฐานะเป็นเครื่องชะล้างซึ่งบาป เราเปรียบเหมือนกับว่าเราใช้น้ำ อาบน้ำตัวเราให้สะอาด บางคนไม่ค่อยจะมีพิถีพิถันอะไร ใช้น้ำโคลนอาบ เพราะไม่มีน้ำสะอาดอาบ ใช้น้ำโคลนขุ่นๆอาบนี้ก็มีอยู่พวกหนึ่ง

อีกพวกนึงก็ใช้น้ำที่ละลายด้วยน้ำหอม เครื่องหอมต่างๆอาบ นี่ก็พวกนึง ทีนี้อีกพวกนึงเป็นพวกสุดท้ายที่อาบด้วยน้ำที่สะอาด ใช้สบู่และน้ำที่สะอาดรวมกัน ลองคิดดูเถิดว่า คนนึงอาบน้ำโคลนจะสะอาดได้ซักเท่าไหร่ คนนึงอาบน้ำแป้งหอมจะสะอาดได้ซักเท่าไหร่ อีกคนนึงก็อาบด้วยน้ำที่ใสสะอาด ใช้สบู่ที่ถูกต้อง แล้วจะใสได้ซักเท่าไหร่ มันต่างกันอยู่ 3 อย่าง อย่างนี้ คนที่อาบน้ำโคลนเพราะไม่มีน้ำอื่นจะอาบ อาบเสร็จแล้วก็ยังมีน้ำโคลนติดอยู่ที่ตัว แม้จะเอาน้ำโคลนล้างเท้าก็ยังมีน้ำโคลน ติดอยู่นั้นเอง ถ้าอาบด้วยน้ำที่ปนด้วยเครื่องหอม เมื่ออาบเสร็จแล้วก็มีเยื่อของเยื่อหอมนั่นเอง อยู่ที่เนื้อ ที่ตัว นี่ถ้าอาบด้วยน้ำสะอาด ลูบ ไล้ ตัวแล้วก็ใสสะอาดก็ไม่มีอะไรติดอยู่ที่เนื้อ ที่ตัว เป็นเนื้อ เป็นตัวที่สะอาด เราจึงเห็นได้ว่าในตัวอย่าง 3 อย่างนี้ เป็นการล้าง การอาบที่ไม่เหมือนกัน ก็ต้องระวังให้ดีๆ ว่ามันไม่เหมือนกัน อาบน้ำโคลนเสร็จแล้วก็มีโคลนติดตัว อาบน้ำแป้งอาบเสร็จแล้วมันก็มีแป้งติดตัว อาบน้ำที่สะอาดเสร็จแล้วมันก็ไม่มีอะไรติดตัว

เมื่อเปรียบอาบน้ำการล้างตัวกับการทำบุญแล้ว การทำบุญก็มี 3 อย่าง เช่นเดียวกัน ทำบุญเช่นเดียวกับการอาบน้ำโคลน ก็คือพวกที่ฆ่าสัตส์ตัดชีวิต มาทำบุญให้ทาน การฆ่าไก่ เลี้ยงสุรายาเมา ทำการตามประสาคนที่เห็นแก่ปาก แก่ท้อง เห็นเรื่องกินเป็นใหญ่ ฆ่าสัตว์ทำบุญ หรือว่าทำบุญอวดคน คือทำบุญเอาหน้า ทำบุญโดยการต้องทำบาป ทำบุญเอาหน้า เป็นการค้ากำไรอย่างนี้ มันหมือนกับว่าบุญนี้เหมือนน้ำโคลน คนนั้นจงได้ผลเหมือนกับการอาบน้ำโคลน มีคนอยู่พวกนึงทำบุญด้วยการอุปาทาน ยึดมั่นในบุญ เมาบุญ เมาสวรรค์วิมานเป็นต้น เขาทำบุญด้วยความคิดอย่างนั้น อย่างนั้นเรียกว่าอาบน้ำด้วยน้ำที่ เกี่ยวกับแป้ง ปูนต่างๆที่เป็นของหอม มาถึงคนประเภทที่ 3 คือคนที่จะละจากความยึดมั่น ถือมั่น ไม่ให้มีความยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใด ว่าเป็นตัวเราหรือว่าของเรา ให้กิเลสหมด ออกไปจากสันดานอย่างนี้เหมือนกับคนที่อาบน้ำสะอาด มันก็อาบกับน้ำที่สะอาด มันก็เป็นตัวที่สะอาด บุญนั้นจึงเป็นบุญที่เหมือนกับน้ำที่สะอาด

ทบทวนใหม่อีกครั้งนึงว่า บุญชนิดหนึ่งเหมือนกับน้ำโคลน บุญชนิดที่ 2 เหมือนกับน้ำแป้งหอม ส่วนบุญที่ 3 นั้นเหมือนกับน้ำที่สะอาด ใครอาบน้ำอย่างไหนก็ย่อมจะได้ผลที่ต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ทั้งที่เรียกว่าน้ำเหมือนกัน แต่อาบเหมือนกัน แต่อาบแล้วได้ผลไม่เหมือนกันเลย ก็คนนึงอาบน้ำโคลน คนนึงอาบน้ำแป้งหอม คนนึงอาบน้ำที่ใสสะอาด คนนึงทำบุญเหมือนโคลน คนนึงทำบุญเหมือนแป้งหอม คนนึงทำบุญเหมือนน้ำที่สะอาด เพราะฉะนั้นบุญนั้นจึงไม่เหมือนกัน เพื่อให้เรื่องนี้เข้าใจมากขึ้น ควรจะยึดถือพระพุทธภาษิตที่จะยกไปในข้างต้นนั้น วะเอตังพนังเน มะราเนเภก คะนาโน เมื่อเพ่งเห็นภัยในความตาย คะหิราคะปิณญามานิ สิขามาหานิ ท่านทั้งหลายจงจะทำบุญ อันจะนำความสุขมา นี้อย่างหนึ่งเป็นคำกล่าวของพวกเทวดา โลกาสันภิเห สังภิเภกสุโข

ท่านทั้งหลายจงละเรื่องโลกามิด หวังต่อสันติเถิด นี้เป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้า ฟังแล้วจะฟั่นเฟือนก็ได้ ขอทบทวนใหม่ว่า พวกเทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลว่า เขามีความเห็นว่า ถ้ามีภัย มีอันตราย ความตายแล้วรีบทำบุญ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าถูก แต่เราไม่ว่าอย่างนั้น เมื่อเทวดาขออะไรพระพุทธเจ้าก็ตรัสมาว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เมื่อเพ่งเห็นภัยในความตาย จงละเหยื่อแล้วเพ่งเล่งในความหวัง และสันติเถิด เทวดาต้องการให้ทำบุญ พระพุทธเจ้าบอกให้ละเหยื่อในโลกเสีย คำข้อนี้มันจะค้านกัน ถ้าผู้ใดมีสติปัญญา รอบคอบ ละเอียดละออ สุขุม จะเห็นได้ว่ามันไม่ถึงกับค้านกันเสียทีเดียว เพราะเทวดานั้นว่าให้ทำบุญ บุญก็มี 3 อย่าง ทำบุยเหมือนกับโคลน ทำบุญเหมือนกับแป้งหอม ทำบุญเหมือนกับน้ำที่สะอาด ทำบุญเหมือนกับน้ำที่สะอาดก็เป็นการชำระชะกิเลสอยู่แล้ว แต่ว่าเทวดาจะรู้ถึงข้อนี้หรือหาไม่ ก็ไม่ทราบ แต่ก็ได้ใช้คำว่าบุญ ซึ่งเป็นชื่อของสิ่งที่ล้างบาปด้วยเหมือนกัน จนพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าให้ละเหยื่อในโลกเสีย แล้วเพ่งหาแต่สันติเถิด

นี้ก็หมายความว่า ทำจิตให้สะอาดอย่าไปเกี่ยวข้องกันกับเหยื่อในโลก และอยู่ด้วยความสงบเถิด มันก็เป็นบุญประเภทที่เหมือนกับน้ำที่สะอาด อยู่แล้วนั่นเอง เพราะบุญประเภทที่เหมือนกับอาบน้ำ ล้างสบู่ด้วยน้ำที่สะอาด นี้ก็คือ ทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่นนั่นเอง การทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่นนั่นก็มี ความหมายอย่างเดียวกัน กับข้อที่ว่า ละเหยื่อในโลกเสีย แล้วเพ่งหาแต่สันติเถิด แต่พระพุทธองค์ไม่ได้เอ่ยถึงบุญ ไปเอ่ยถึงว่าให้ละเหยื่อในโลก นี้ก็เพื่อให้ชัดเจน เพื่อไม่ใหกำกวม เพื่อไม่ให้ดิ้นได้ ไปในคำว่าบุญ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดแล้วหลงใหลในทางที่ผิด เหมือนน้ำโคลนทางนึง อีกทางนึงก็ทำบุญเหมือนกับแป้งหอม ไม่มีใครทำบุญด้วยน้ำที่สะอาด ที่ใสสะอาด ที่ล้างให้สะอาดอย่างเดียว ทายกทายิกาทั้งหลาย ที่เที่ยวแห่กันไปแห่กันมา ทำบุญบ้านนั้น เมืองนี้ วิ่งไปวิ่งมา ขึ้นรถลงเรือนี้ คิดดูเหอะว่าเราทำบุญเพื่อประเภทไหน ด้วยความหวังประเภทไหน ส่วนใหญ่ก็คงจะทำบุญเพื่อความหวังว่าจะได้บุญ เพื่อได้สวรรค์วิมาน แล้วก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ที่ทำบุญเอาหน้า อุตส่าห์เที่ยวทำบุญอวดคน เที่ยวเมืองนั้น เมืองนี้ ที่เมืองโน่น เที่ยวทำบุญเอาหน้าอย่างนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน บางคนถึงกับลงทุนทำบาป หลอกลวงเอามา ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อเอามาทำบุญ นี้มันก็เหมือนกับการทำบุญน้ำโคลน ที่ทำไปเพื่อเอาหน้า หรืออวดคน หรือต้องลงทุนที่เป็นบาปนี้ก็เหมือนทำบุญเหมือนน้ำโคลน ถ้าบุคคลใดที่เชื่อในบุญล้วนๆ ทำบุญไปตามวิธีที่ถูก มันก็เหมือนทำบุญเหมือนแป้งหอม ทำให้ชื่นใจได้ แต่ก็ไม่ใช่ความสะอาด

แม้ว่าเราจะเอาแป้งหอมมาทาที่เนื้อที่ตัว ให้มันหอมมันก็ไม่ใช่ความสะอาด มันสกปรกอยู่ที่เยื่อของ ของหอมนั่นเอง แต่มันเป็นเยื่อที่มีกลิ่นหอม เป็นความสะอาดที่มีกลิ่นหอม ใครเคยทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ ว่าจะละความถือมั่น ยึดมั่น ว่าตัวกู ของกู ดูจะหายากเต็มที ก็ปรากฎว่า แม้ที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ ดูเหมือนจะมีใครจะสมัครใจปิดทองหลังพระ อยากจะปิดทองหน้าพระ อยากจะให้เขาเห็นนั้น ถ้าใครปิดทองหลังพระ ก็จะหาว่าเป็นคนโง่ ไปปิดตรงที่ใครไม่เห็น นี่ก็เพราะว่าคนเหล่านั้นยึดมั่นในบุญ ไม่ได้ทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่น แต่มีความยึดมั่น ถือมั่นในการทำบุญ ไม่ได้ทำบุญเพื่อละความยึดมั่น ถือมั่นจึงไม่ยอมปิดทองหลังพระ ปล่อยให้หลังพระไม่ได้ปิดทองสกปรกอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีใครเอาใจใส่ บรรดาที่นั่งอยู่ที่นี่ ใครบ้างที่จะแน่ใจ สมัครใจที่จะปิดทองตรงนี้หลังพระ แล้วก็ขอให้รู้ว่าคนนั้นแหละเป็นคนที่กำลังพยายามที่จะละ ความยึดมั่น ถือมั่นเสีย ไม่ต้องการจะเอาหน้าเอาเกียรติอะไร ถึงสมัครที่จะปิดทองให้ครบ ให้ถึงที่สุด อยู่ตรงที่เขาไม่ติดกัน ที่ตรงที่หลังพระนั่นเอง ก็มีความเข้าใจถูกต้องเพราะเราไม่ได้ทำบุญเอาหน้า

จึงสามารถที่จะปิดทองหลังพระได้ ด้วยเหตุฉะนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า จงละเสียซึ่งเหยื่อในโลก และมุ่งหวังแต่สันติเถิด เหยื่อในโลกนี้คือ ความสวย ความรวย ความเอร็ดอร่อย ความหรูหรา ความมีเกียรติ ความมีหน้ามีตา นี่ก็คือเหยื่อในโลกนี้ หรือว่าตายแล้ว เกิดในสวรรค์มีนางฟ้ามาคอยบำรุง บำเรออย่างนี้ก็เป็นเหยื่อในโลกนี้ ให้ละเหยื่อชนิดนี้เสีย อย่าให้เห็นว่าเป็นของประเสริฐ วิเศษอะไร แล้วถ้าไปหวังในสันติคือ ความสงบ คือมีจิตใจสว่าง สงบ สะอาด นั้นก็สันติให้ไปหวังในข้อนั้น อย่าได้ไปหวังในเรื่องความสวย รวย เรื่องเอร็ดอร่อยทางเนื้อ ทางหนัง ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ในสวรรค์วิมานอะไรที่ไหน ไม่เมาบุญ ไม่เมาสวรรค์แล้ว นี้เรียกว่า เป็นผู้ละเหยื่อในโลกได้แล้ว เป็นผู้หวังแต่ในสันติ คือความสงบ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนี้ ว่าถ้าเห็นว่าชีวิตนี้เป็นอันตราย ไม่เท่าไหร่ก็จะต้องแตกตายลงไปแล้ว ก็ให้รีบละเหยื่อในโลกนี้เสีย แล้วเพ่งหวังแต่สันติเถิด

จนพวกเทวดาบอกให้รีบทำบุญเข้าๆ แล้วจะนำความสุขมาให้ ถ้าใครไม่เข้าใจในคำพูดเหล่านั้นแล้ว ก็คงจะทำบุญชนิดที่เป็นน้ำโคลนเข้าก็ได้ หรือคงจะไปทำบุญชนิดเอาหน้าเอาตามากกว่า เพราะว่าต้องการจะสวย จะรวย จะดี จะเด่น จะไปเกิดในสวรรค์วิมาน ด้วยเหตุฉะนี้แหละจึงได้กล่าวว่า คำว่าบุญ นั้นฟังยากกำกวม หรือเข้าเป็นเรื่องที่น่าเวทนา สงสารใครก็มี แต่ถ้าต้องละเหยื่อในโลกเสีย แล้วเพ่งหาสันติเถิด อย่างนี้ไม่มีทางที่จะผิดได้ ไม่มีทางที่เข้าใจผิดได้ ดังนั้นจึงกล่าวให้เป็นที่เข้าใจกันว่า ให้ฟังให้ดีๆ สำหรับคำว่าบุญ บุญนี้มีทางที่จะผิดได้ ส่วนคำว่าไม่ยึดมั่น ถือมั่นนี้ ไม่มีทางที่จะผิดได้ แต่ถ้าเราจะใช้คำว่าบุญกันต่อไป ก็ขอให้เข้าใจไว้เสมอว่า บุญนี้อย่างน้อยก็มี 3 ชนิด หรือ 3ชั้น 3 ระดับ บุญที่เหมือนน้ำโคลนนี้ก็อย่างนึง อาบแล้วก็ยังเปื้อนโคลน บุญที่เหมือนกับน้ำแป้งหอมนี้อย่างหนึ่ง อาบแล้วตัวก็ยังเปื้อนด้วยเครื่องหอมเหล่านั้น อีกอย่างนึงบุญเหมือนกับน้ำที่สะอาด ใช้สบู่ที่ดีเข้าช่วย

แล้วล้างด้วยน้ำที่สะอาด อย่างนี้อาบแล้วก็ไม่มีอะไรติดอยู่ที่เนื้อ อยู่ที่ตัว คำว่าบุญเป็นชื่อของการล้างบาป เครื่องล้างบาปมีความหมายอยู่กันเป็น 3 ชั้นดังนี้ บุญมีความหมายอยู่เป็น 3 ชั้นอยู่อย่างนี้ จงระวังให้ดี อย่าเสียที่ ที่ว่าเหนื่อยมาก แล้วเปลืองมาก เสียเวลามากแล้วไปได้บุญ ชนิดน้ำโคลนบ้างก็มี ได้บุญชนิดที่ทาน้ำแป้งน้ำปูน น้ำอบ ศักดิ์ว่าให้หอมๆหลอกคนอื่น หลอกตัวเองอย่างนี้ก็มี ควรจำบุญชนิดที่เป็นเครื่องล้างบาปโดยแท้จริง คือการอาบน้ำที่สะอาด แล้วชำระชะล้าง ความเข้าใจผิด ความมัวเมา ความหลงใหลเหล่านั้นออกเสียได้ นั่นแหละจึงจะเป็นบุญ ที่ถูกตรงตามความหมายในพระพุทธศาสนา ถ้าในพระพุทธศาสนานี้มีคำสอนข้อไหน ประโยชน์ ที่ไหน ว่าให้ทำบุญ แล้วก็จงหมายความว่า ทำบุญชนิดที่ล้างบาปได้จริง อย่าให้เหมือนที่พวกเทวดาพูด แล้วอะไรก็ยังไม่รู้ อาจจะเป็นเรื่องสวย เรื่องรวย เรื่องหอม เรื่องเหย้ายวน เรื่องหลุ่มหลงไปก็ได้ อย่างนั้นมันเป็นเรื่องของพวกเทวดา ซึ่งมักจะชอบอย่างนั้น

แต่พวกพุทธบริษัทนั้นต้องการบุญ ชนิดที่ล้างบาปได้ บาปคือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เพราะฉะนั้นบุญต้องเป็นเครื่องช่วยชำระชะล้างใจ อย่าให้เศร้าหมอง ถ้าทำบุญเพื่อเอาหน้า มันก็เศร้าหมองโดยฐิติ กิเลส ตัณหาขึ้นมาอีก ทำบุญอวดคนอย่างนี้มันก็มีกิเลส อวดคนนั้นแหละเป็นเรื่องเศร้าหมอง เกิดขึ้นมาใหม่ อย่าได้ทำบุญเอาหน้า อย่าได้ทำบุญอวดคนเลย ถ้าถึงกับฆ่าสัตว์ทำบุญ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาทำบุญอย่างนี้ ด้วยแล้วมันก็ยิ่งร้ายกาจลงไปอีก คือจะยิ่งกว่าน้ำโคลน คือเป็นโคลนแท้ๆ คนที่อาบน้ำโคลนแท้ๆนั้นจะสะอาดได้ อย่างไร ก็ลองคิดดู อยู่เฉยๆยังสะอาดกว่า เอาโคลนมาอาบก็สกปรกมากกว่าเดิม เหมือนกับคนธรรมดาไม่ฆ่าสัตว์ชีวิต มันก็ยังไม่บาปอะไร

แต่พออยากจะเอาหน้าขึ้นมา ก็ไปฆ่าวัวฆ่าควาย ฆ่าหมู ฆ่าไก่มาทำบุญ อย่างนี้มันก็เท่ากับไปเอาโคลนมาอาบ แล้วมันจะสะอาดอย่างไร มันจะสวยที่ตรงไหน มันจะสวย มันจะสะอาดก็แต่บางพวกที่เห็นการผลิตนั้นด้วยกัน คือพวกที่เห็นแก่กิน แก่ปาก แก่ท้อง ความสนุกสนาน เอร็ดอร่อย กันเท่านั้นจึงจะเห็นว่าอันนี้ดี ส่วนผู้มีปัญญาเมื่อพิจารณาก็เห็นว่า ไม่ไหวนี้ไม่ใช่ทำบุญเลย แต่เรายังเรียกว่าบุญ คือเป็นบุญปลอม เป็นบุญที่เหมือนกับน้ำโคลน ที่เอามาอาบเข้าแล้วมันก็เปื้อนโคลน หรือแม้แต่บุญที่อาบน้ำหอม อาบแล้วมันก็ยังมีเยื่อแป้งหอม เยื่อน้ำหอมติดอยู่ที่เนื้อ ที่ตัว หาได้สะอาดแท้จริงไม่ ต่อเมื่อทำบุญล้างด้วยน้ำชนิดที่สะอาด ใช้เครื่องซักฟอกที่ถูกต้องแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดแล้ว มีร่างกายที่สะอาดแล้ว จึงจะเรียกว่าบุญเหมือนกับน้ำที่ใสสะอาด เหมือนกับที่ท่านตรัสไว้ว่า ธรรมะนั้นเหมือนกับน้ำที่ไม่มีตม ธัมโม ระหะโต อกะตะโม ช่วยให้จำไว้กันให้ดีๆว่า ธรรมะนั้นเหมือนกับน้ำที่ไม่มีตม ธรรมะแท้ๆของพระพุทธเจ้านั้น เหมือนกับน้ำที่ไม่มีโคลน ไม่มีตะกอน มีเปลือกตม ลองมาอาบเข้าทำให้ตัวสะอาดได้ อาบชนิดนั้นแหละจึงจะเป็นบุญที่แท้จริง

ทำบุญชนิดนั้นเป็นบุญชนิดเดียวกับพระพุทธเจ้า ตรัสว่าละเหยื่อในโลกนี้เสีย แล้วเพ่งหาแต่ความสงบเถิด เดี๋ยวนี้มัวแต่ทำบุญเอาหน้ากันบ้างทำบุญหลอกลวงเอาเงินเขาบ้าง ก็มี อย่างดีที่สุดทำบุญเพื่อจะผูกพันกันไว้ เป็นมิตรกันไว้เอาประโยชน์กันก็มี อย่างนี้มันไม่ใช่บุญอะไร มันเป็นเรื่องลงทุนชนิดนึง ถ้าเป็นเรื่องที่สมส่วนแล้ว มันก็เป็นเรื่องล้างบาป ต้องเป็นเรื่องบรรเทาเสียซึ่งความยึดมั่น ถือมั่น ดังคำสุภาษิตที่ว่า ภานันจะ สมานัน สมานะมาหุ การให้ทานกับการรบนี้ เป็นของเสมอกัน การให้ทานกับการรบสงครามเสมอกันอย่างไร การให้ทานนั้นคือการรบกับกิเลส รบกับความยึดมั่น ถือมั่น การให้ทานที่แท้จริงนั้น คือการให้รบกับสวรรค์ ไม่ใช่แลกเอาความสวย ความรวย การจะให้ทานที่แท้จริงนั้น เป็นการรบพุ่งกับกิเลส รบกับความเห็นแก่ตัว รบกับความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวกู ของกู รบให้กิเลสเหล่านั้นให้หายไป นั้นแหละเรียกว่าการให้ทาน ดังนั้นจึงกล่าวว่าการให้ทาน กับการรบนี้เสมอกัน หรือเป็นสิ่งเดียวกันอย่างนี้ก็ได้ หรือจะพูดให้ยืดยื้อออกไป ก็จะพูดได้เหมือนกันว่า การให้ทานนั้นก็มีฆ่าศึก ต้องมีการตระเตรียม ต้องมีการฝึกฝน ต้องมีการสะสมอาวุธ สะสมเครื่องปัจจัยในการรบพุ่ง แล้วจึงจะไปรบกัน การให้ทานนี้ก็เหมือนกัน ต้องมีการตระเตรียมที่ถูกต้อง ถึงจะเป็นการให้ทานที่ดี เมื่อให้ไปได้เท่าไหร่ ก็ได้ทานมามากเท่านั้น เหมือนกับการรบที่ชนะเท่าไหร่ ก็คือชนะได้เท่านั้น ถ้าให้ไม่ดีรบไม่ดี มันก็เป็นการพ่ายแพ้ ต้องการถอยหลังเป็นการเห็นแก่ตัว

หน้าที่ 2 – ปัญญา
เป็นการลงทุนชนิดนึงไป ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือพวกที่อาบน้ำโคลน ทำบุญเหมือนกับน้ำแป้งหอม ส่วนผู้ที่ทำบุญให้ทานเหมือนกับการรบโดยแท้จริงนั้น เหมือนที่ทำบุญเหมือนกับน้ำสะอาด ที่ชำระล้างร่างกายนี้ให้สะอาดได้จริงๆ สรุปความแล้ว บุญนี้มีอยู่ 3 อย่าง บุญเหมือนกับน้ำโคลนอย่างหนึ่ง บุญเหมือนกับน้ำแป้งหอมคืออย่างหนึ่ง บุญเหมือนกับน้ำใสสะอาดอย่างนึง มีความแตกต่างดังที่กล่าวมาแล้ว โดยละเอียดนั้น ท่านผู้ใดต้องการบุญชนิดไหน ก็ทำเอาได้ตามใจไม่มีใครว่า ไม่มีใครห้าม ที่กล่าวนี้เป็นการกล่าวให้รู้ว่า มันมีอยู่อย่างไร ชนิดไหนเป็นอย่างไร ชนิดไหนเป็นอย่างไร เชื่อว่ายังสมัครใจจะทำบุญชนิดไหนทำตามชอบใจของตนก็ไม่มีใครห้าม ใครอยากจะตกนรกก็ไม่มีใครว่า ใครอยากจะไปสวรรค์ก็ไม่มีใครว่า ใครอยากจะดับไม่เหลือก็ไม่มีใครว่า จงเลือกเอาเองตามความชอบใจ อยากลงนรกก็ทำตามชอบใจ อยากไปสวรรค์ก็ทำบุญเหมือนน้ำแป้งหอม อยากจะดับไม่เหลือก็ทำบุญเหมือนน้ำที่สะอาด ดับเสียซึ่งความมั่นหมาย ว่าตัวกู ของกูแล้ว ไม่เกิดโรคะ โทสะ ใด ต่อไปมีความสะอาด สว่าง สงบเย็นจนตลอดชีวิตอย่างนี้ เรียกว่าดับเสียซึ่งตัวกูไม่ให้มีเหลือ มีอยู่แต่ความว่างจากกิเลส ว่างจากตัวตน เพราะไม่มีอะไรที่จะเป็นความทุกข์ ทีนี้เมื่อพูดถึงเรื่องความว่าง บางคนอาจจะเข้าผิดเช่นเดียวกับคำว่าบุญ เพราะว่าคำว่าว่างนี้ ที่เป็นคำที่เป็นมิจฉาฐิติก็มี ในครั้งพุทธกาลนั้น ก็มีคนสอนเรื่องความว่าง ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า สอนถึงมิจฉาฐิติคือ ไม่มีอะไร ไม่ต้องนึก ไม่ต้องคิดอะไร เป็นการว่างจากอันตพาล เป็นการว่างอย่างมิจฉาฐิติ การที่มีแต่ความว่างชนิดนั้น ไม่ใช่เป็นความว่าง เป็นแต่ความวุ่นที่มันเข้มงวดกวดขัน จนถึงกับไม่กลัวตาย หรือไม่ถึงกับคิดอะไร ไม่เห็นกับอะไร ไปเสียอย่างนั้น นี้เป็นความว่างอย่างอันตพาล เป็นความว่างอย่างมิจฉาฐิติ ส่วนคำว่าสุณญตาหรือความว่างในตามแบบของพระพุทธเจ้านั้น มันมีอะไรอยู่ทุกอย่าง

แต่ไม่ให้ไปถือสิ่งเหล่านั้น ว่าเป็นตัวตนหรือเป็นของตน กฎเกณฑ์ต่างๆก็ยังมีอยู่ เช่นว่าถ้าไปทำอย่างนี้เข้าจะเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ผลมันจะเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ไปทำในสิ่งที่เรียกว่าบาปเข้า ผลก็จะเป็นความทุกข์ ทำในสิ่งที่เรียกว่าบุญเข้า ผลก็จะเป็นความสุข แต่ว่าทั้งความทุกข์และความสุขนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรยึดมั่น ถือมั่น หรือสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นตัวเรา เป็นของๆเรา อย่างนี้เรียกว่าความว่างตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า เรื่องความว่างก็ดี เรื่องจิตว่างก็ดี อยู่กัน 2 ความหมายอย่างนี้ อย่างอันตพาลอย่างนึง อย่างสัมมาฐิติอย่างนึง เปรียบเหมือนกับฤทธิ์เดชเข้า ฤทธิ์อย่าง อันธพาลเข้า มันก็เหมือนยักษ์พวกมารที่มีฤทธิ์ไว้ ทำลายล้างผลาญข้าวฆ่าฟันกัน นี้ก็เป็นฤทธิ์อย่างอันตพาล ฤทธิ์อย่างนึงเป็นฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า ที่ท่านใช้ทำปาฎิหารย์ โปรดสัตว์ ให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ฤทธิ์อย่างนี้ไม่มีปัญหาอะไร

เป็นสิ่งที่พอจะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ฤทธิ์อันตพาลนั้นก็มีประโยชน์ต่อพวกอันตพาล ฤทธิ์บริสุทธิ์ก็มีประโยชน์อริยเจ้า ฤทธิ์แก่การที่จะช่วยเหลือ คนทั้งหลายพลอยให้ได้รับประโยชน์ เพราะฉะนั้นถ้าใครต้องการจะมีฤทธิ์จะมากไปไหม ก็ต้องเลือกให้ถูกฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ ฤทธิ์ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้ ปาฎิหารย์ สอนคนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ และอย่าไปหลงเอาฤทธิ์ของพวกยักษ์พวกมาร เอาไว้ฆ่าฟันกัน ล้างผลาญกันอย่าทำอย่างนั้นเลย เรื่องที่ว่างก็เหมือนกัน ความว่างอย่างอันตพาลนั้น มีไว้สำหรับเอาเปรียบผู้อื่น

โดยระการทั้งปวง เช่นไม่ทำอะไรก็เป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การไปเอาเปรียบผู้อื่นเข้าก็ไม่ถือว่าเป็นบาปอะไร อย่างนี้เรียกว่าเป็นลัทธิความว่างของพวกอันตพาลเหมาะสำหรับพวกโจร หรือพวกฝ่ายค้าน ที่จะเอาแต่ตามความคิดเห็นของตัว ย้ำยีแต่ความคิดเห็นของคนอื่นเขาเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องความว่างหรือ จิตว่าง ของพระพุทธเจ้าแล้วคือให้คงอยู่ทุกลมหายใจ ด้วยความมั่นหมายสิ่งใด ด้วยความเป็นตัวตน หรือความเป็นของ ของตนอย่าให้ความโกรธ ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นมาได้ แล้วจึงมีชีวิตอยู่สำหรับประกอบการงาน สิ่งที่ควรจะทำตามที่ควรจะทำ เท่าที่ควรจะทำ ไม่มีความทุกข์ใดๆเกิดขึ้นอย่างนี้เรียกว่าเป็นลัทธิความว่าง จิตว่างตามแบบของพระพุทธเจ้า แตกต่างกันอยู่ 2 อย่าง อย่างนี้ ความว่างหรือจิตว่างอย่างอันตพาลนั้น ย่อมดึงไปให้ทำบาป ความว่างหรือจิตว่างตามแบบของพระพุทธเจ้านั้น ย่อมดึงมาสำหรับทำบุญขั้นสูงสุด บุญเหมือนน้ำสะอาดที่จะชำรำชะล้างเสียซึ่งเหยื่อในโลก

แล้วเพ่งหวังแต่สันติ ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนใครเบียดเบียนอะไรหมด จึงทำให้โลกนี้เป็นโลกอยู่ด้วยกันสงบสุข ในเมื่อยึดมั่นตามหลักของพระพุทธเจ้า คือความว่างชนิดที่ว่างเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีความเป็นไปอย่างตัวตนหรือของตน แม้เราจะยึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ก็ไม่ใช่ความยึดมั่น เพราะความยึดมั่นนั้นเป็นอุปาทาน มีมูลมาจากอวิชชา ถ้าเรายึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น หมายความว่ายึดมั่นด้วยสติปัญญา ไม่ได้ยึดมั่นด้วยความโง่ หรืออวิชชา เพราะฉะนั้นจึงไม่เหมือนกัน แต่ในภาษาไทยนั้นได้พูดกันเอาไว้แล้ว ซึ่งความยึดมั่น ถือมั่นเหมือนกัน แต่เราก็รู้ซะเถิดว่ามันไม่เหมือนกัน ความยึดมั่น ถือมั่นที่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ละมั่น ถือมั่นนั้น ด้วยความยึดมั่น ถือมั่นของจิตใจ ที่มีมูลอวิชชาที่มีความโกรธ ความโลภ ความหลง

แต่ถ้าเรามีความตั้งใจ มีความมั่นหมายหรือยึดมั่น ถือมั่นก็ตาม ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยสติปัญญาแล้ว นั่นไม่ใช่ความยึดมั่น ถือมั่น เป็นเพียงความต้องการที่ถูกต้อง ที่ประกอบอยู่ด้วยสติปัญญา ถือว่าเป็นความพากเพียร บากบั่น พยายามที่ถูกต้อง ด้วยสติปัญญา อย่างนี้ไม่เรียกว่าอุปาทาน ไม่เรียกว่าความยึดมั่น ถือมั่น สิ่งที่เรียกว่าอุปาทาน ถือมั่น ยึดมั่นนั้น ต้องมีมูลมาจากอวิชชาความโง่เขลาเสมอไป จนความต้องการ คือการยึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนชนะจนยึดมั่น ข้อนี้เป็นสณะอย่างนี้ ไม่ใช่อุปาทาน เพราะไม่ได้มาจากอวิชชาแต่ มาจากวิชชา

ซึ่งตรงกันข้าม คือมาจากปัญญา ดังนั้นจึงกล่าวขึ้นใหม่ว่า เราจะมีความยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใด ที่จะเป็นที่พึ่งได้ก็ต้องทำไปด้วยสติปัญญา อย่าทำไปด้วยอวิชชา แล้วให้รู้ไว้ด้วยว่าเขาไม่เรียกว่า ความยึดมั่น ถือมั่น แต่ภาษาของเราพูดผิดกันไปเอง เรียกว่าเป็นความยึดมั่น ถือมั่น ทีนี้ก็มีทางที่จะพิจารณากันต่อไป เช่นว่ายึดมั่นถือมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นี้แหละ บางคนยึดด้วยอวิชชาก็ดี ขอให้พิจารณาดูให้ดีๆนะว่าความยึดมั่น ถือมั่นของเราในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น ยึดมั่นด้วยวิชชาหรือยึดมั่นด้วยอวิชชา ถ้าเรามีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หวังจะให้ดับทุกข์ได้แล้วปฎิบัติตามอย่างนี้เรียกว่า ยึดมั่น ถือมั่นด้วยวิชชา หรือปัญญา หรือที่ถูกไม่ควรเรียกว่า ความยึดมั่น ถือมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราควรจะเรียกว่า ครานาคม คือการถือเอา หรือการดึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะต่างหาก ไม่ใช่ความยึดมั่น ถือมั่น

ถ้าใครไปเรียกว่า ยึดมั่น ถือมั่น และยึดมั่น ถือมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นี้ระวังให้ดี เผลอนิดเดียวก็เป็นความยึดมั่น ถือมั่นของอวิชชา เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร เห็นได้ง่ายๆคือการไปยึดมั่นในพระเครื่องราง ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือไปยึดมั่นในที่ดินอะไรว่าเป็นของพระธรรม ยึดมั่นเครื่องหมายอย่างใด อย่างนึงว่าเป็นพระสงฆ์ อย่างนี้เรียกว่ายึดมั่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในทางอวิชชา ความยึดมั่น ถือมั่นอย่างนี้เรียกว่า อุปาทาน ได้เหมือนกัน การยึดมั่น ถือมั่นอย่างนี้ไม่ทำให้ดับทุกข์ได้ เป็นความยึดมั่น ถือมั่นอย่างเดียวกันกับ ที่ไปยึดมั่น ถือมั่นกับปัจจัยภายนอก ยึดถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ภูเขา ต้นไม้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ วัตถุศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ ภาพพระเกียรติศักดิ์สิทธิ์ หรืออะไรก็ล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ นี้เรียกว่ายึดมั่น

ถือมั่นด้วยอวิชชา ถ้าไปยึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในลักษณะอย่างนั้นแล้ว ก็เป็นความยึดมั่น ถือมั่นโดยอวิชชาได้เหมือนกัน อย่าได้ไปเข้าใจว่ายึดมั่น ถือมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จะปลอดภัยไปในทีเดียว จะต้องดูให้ดีก่อนว่าการยึดมั่น ถือมั่นนั้น ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอะไรกันแน่ ต่อเมื่อยึดมั่น ถือมั่นด้วยสติปัญญา มีหู ตาสว่างไสว รู้แจ้งประจักษ์ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คืออะไร แล้วมุ่งหมายที่จะใช้หลักเกณฑ์อันนั้น เป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งแห่งตนแล้วนี้เรียกว่าทำไปอย่างถูกต้อง ตามทำนองของพระพุทธบริษัท คือเป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยความเป็นสรณะของตน ขอให้ทุกคนนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในลักษณะอย่างนี้เถิด

อย่าได้นับถือที่เป็นความยึดมั่น ถือมั่นที่เป็นของขลัง ที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ บูชา อ้อนวอน แม้กระทั่งพระพุทธรูปก็ยังเอาข้าวปลามาเซ่นไหว้ แล้วบางทีก็ยังเลือกเฉเพาะอย่างว่า ต้องเอาไข่ต้มกับปลาร้า ไปเซ่นพระพุทธรูปองค์นั้น องค์นี้ อย่างนี้ก็ยังมี นี้เป็นความยึดมั่น ถือมั่น มาจากอวิชชาโดยแท้ มันเหมาะสำหรับคนที่มีอวิชชาอยู่ และเป็นความยึดมั่น ถือมั่นที่เรียกว่า ไม่เป็นพระพุทธศาสนาแต่ประการใด

เป็นตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป แล้วจะมาเรียกว่า ทำไปในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างนี้ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย นี่แหละคือความลึกลับซับซ้อนของถ้อยคำ ที่ใช้พูดจากันอยู่ เช่นคำว่าบุญก็ดี เช่นคำว่ายึดมั่น ถือมั่นก็ดี คำว่าจิตว่าง ความว่างก็ดี คำว่าฤทธิ์ คำว่าปาฎิหารย์ก็ดี ก็มีความหมายซับซ้อนกันอยู่อย่างนี้ เราต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงพอ แล้วรู้ว่าอะไร เป็นสิ่งที่ควรปราถนา ที่ควรจะเข้าใจแล้วนำมาประพฤติปฎิบัติให้ประพฤติปฎิบัติที่ถูกต้อง เหมือนกับว่าเรารู้จักเลือกเอาบุญ ใน3 นั้นให้เหมือนได้บุญเหมือนกับน้ำที่สะอาด ที่ชำระชะล้างให้ร่างกายสะอาดได้จริง ให้สมกับคำว่าบุญได้จริง ที่ทำไปด้วยความว่าง ด้วยความรู้สึกมีจิตว่าง ด้วยความมีจิตว่าง ในความยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใด ให้เข้าใจว่าพระพุทธศาสนานี้ มีคำสอนให้ยึดมั่น ถือมั่น ด้วยความว่าง จะมีแต่ความว่างนั้นเอง เป็นหัวใจด้วย ฟังดูแล้วก็ฟังยาก ว่าความว่างนั้นแหละเป็นสิ่งเดียวด้วย เป็นทุกๆสิ่งด้วย สิ่งเดียวมันก็คือว่างทั้งหมด ทุกสิ่งๆก็ว่างเช่นเดียวกัน เราจะไปแยกพระพุทธศาสนานี้ออกเป็นอย่างๆไปดูเช่น เรื่องอริยะสัต เรื่องทุกข์ เรื่องสมุทัย นิโรจน์ มรรค ทุกข์คือความทุกข์ สมุทัยคือเหตุที่เกิดทุกข์ นิโรจน์คือ สิ่งที่ดับสนิทซึ่งความทุกข์ มรรคคือการปฎิบัติเพื่อให้ได้นิโรจน์นั้น ทุกข์นั้นก็คือตัวธรรมชาติแท้ๆ ที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ฟังดูให้ดี แล้วเข้าใจให้ดีว่า ว่าความทุกข์นี้เป็นธรรมชาติ เป็นตัวธรรมชาติ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ จะเป็นความทุกข์ก็เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความทุกข์ที่เจ็บไข้ ปวดหัวตัวร้อนอะไรก็ตาม

มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นตัวธรรมชาติ สมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ความยึดมั่น ความทะเยอทะยาน ความอุปาทานนี้เป็น สมุทัย นี้เป็นกฎของธรรมชาติ ทีนี้มรรคนิยม 8 ที่เราปฎิบัติแล้วดับทุกข์ได้นี้ ที่มันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ ตามกฎธรรมชาติ มนุษย์ก็มีหน้าที่เดินให้ถูกทาง ให้ถูกตามกฎของธรรมชาติ จึงเรียกว่าการทำหน้าที่ให้ถูกต้องนี้ เป็นหน้าที่ตามธรรมชาติ ทีนี้ก็เกิดผลคือทุกข์ กับนิโรจน์ คือดับทุกข์ได้ขึ้นมา

นี้ก็เป็นผลตามธรรมชาติ ความทุกข์คือตัวธรรมชาติ ก็ดี สมุทัยคือธรรมชาติคือเหตุที่ทำให้เกิดอย่างนั้น อย่างนี้ก็ดี การปฎิบัติตามหน้าที่ ที่ควรปฎิบัติ นี้ก็ดี แล้วผลที่เกิดขึ้นเป็นความสงบที่แท้จริง นี้ก็ดีล้วนแต่เป็นธรรมชาติ ไม่มีส่วนไหนซักส่วนเดียว ที่จะเป็นตัวเราหรือเป็นของเราได้เลย มันเป็นของธรรมชาติ มันว่างจากตัวตนจึงได้เรียกว่าว่าง มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะยึดมั่น ถือมั่น หรือถึงจะไปยึดมั่น ถือมั่นมันก็ไม่ได้ ไปยึดมั่น ถือมั่นเมื่อไหร่มันก็ผิดพอดี เป็นความทุกข์ขึ้นมาทันที ไปยึดมั่น ถือมั่นในเรื่องดังนี้ จึงได้เรียกว่ามันเป็นของว่าง จากความที่ควรจะยึดมั่น ถือมั่น ทุกข์ก็ว่าง และไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็ว่าง ควรยึดมั่น ถือมั่น การดับทุกข์ก็ว่าง ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น หนทางไปสู่เส้นทางการดับทุกข์ก็ว่าง แล้วก็ ไม่ควรไปยึดมั่น ถือมั่น เหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสว่าความว่างนี้

มันเป็นเหมือนพ่วงแพ เรือแพ สำหรับขี่ข้ามฟากเท่านั้นเอง ไม่ใช่สิ่งที่น่ายึดมั่น ถือมั่นเอาไว้เป็นทรัพย์สมบัติ แล้วเที่ยวทูนหัว เที่ยวแบก เที่ยวพาไป อย่างนี้เป็นต้นเลย ทุกข์ก็เป็นธรรมชาติ สมุทัยก็เป็นธรรมชาติ นิโรจน์ก็เป็นธรรมชาติ มรรคก็เป็นธรรมชาติ มันจึงว่างจึงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นด้วยกันทั้งนั้น ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวงไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่มีอะไรมากไปกว่า 4 อย่างนี้ สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนั้นจำแนกได้ 4อย่างนี้ เท่านี้เป็นตัวของธรรมชาติ เป็นกฎของธรรมชาติอย่างหนึ่ง เป็นหน้าที่ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง เป็นผลทางธรรมชาติที่จะได้รับอย่างหนึ่ง รวมเป็น 4 อย่างด้วยกัน ธรรมะทั้งหลายมีเพียงเท่านี้ ทั้งหมดนี้เป็นของว่างจากตัวตนที่ควรยึดมั่น ถือมั่น

เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ทีเดียวว่า ทุกสิ่งว่างไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น พอไปยึดมั่น ถือมั่นเข้ามา เกิดความรู้สึกที่เป็นกิเลส หรือเป็นทุกข์เข้ามา ตลอดเวลาที่ยังไม่ยึดมั่น ถือมั่นก็ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์เลย เราต้องมีสติสัมปชัญะ ระวังตัวในข้อนี้อยู่เสมอ

นั่นแหละคือหลักปฎิบัติ หรือหน้าที่ ที่จะประพฤติปฎิบัติ เมื่อปฎิบัติได้สำเร็จตามนี้ ก็ไม่มีความทุกข์ นั่นแหละคือผลที่จะเกิดขึ้นมา เรียกว่าทุกอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ไม่อาจจะยึดมั่น ถือมั่นเป็นของใครได้เลย ไม่เป็นของพระพุทธเจ้า ไม่เป็นของเรา ไม่เป็นของใคร แต่เป็นของธรรมชาติ เรามีหน้าที่ ที่ต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติมาเท่านั้น เราจะไปเอามาเป็นของเราก็ไม่ได้ เราจะไปบังคับมันก็ไม่ได้ เรามีหน้าที่แต่เพียงจะต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติเท่านั้น

แล้วก็ไม่มีความทุกข์ แล้วที่เรียกว่าเรานี้ ก็ไม่ใช่ตัวเรา ที่เรียกว่าเรานี้คือ ร่างกายและจิตใจ ที่มีความรู้สึกนึกคิดมาในระหว่างกายกับใจ เมื่อกายกับใจไม่ต้องการให้มีความทุกข์ กายกับใจก็อย่าไปทำให้ผิดกฎของธรรมชาติ ซึ่งตัวมันเองก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว หมายความว่ากายกับใจนี้ก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่มีกฎธรรมชาติอยู่ในตัวมันแล้ว ก็มันต้องเคลื่อนไหวไปในกฎของธรรมชาตินั้นคือหน้าที่ของมัน มันจึงไม่มีความทุกข์ตามธรรมชาติ เรียกว่าธรรมชาติแท้ๆ ก็ทำอะไรได้ เป็นทุกข์ได้ เป็นสุขได้ เป็นอะไรได้ตามธรรมชาติ นี่แหละคือคำที่กล่าวว่า เดินก็เดินไปแล้วแต่กลัวผู้เดินไม่มี ความทุกข์ก็มีแล้วแต่กลัวผู้ทุกข์ไม่มี เรียกว่าไม่มีตัวตนที่จะเป็นทุกข์ มีแต่ธรรมชาติ ธรรมชาติจะต้องทำไปอย่างถูกต้อง ตามกฎของมันเอง มันจึงไม่เป็นทุกข์ เรานี้เป็นคำพูดของมด ใช้เรียกกายกับใจนั่นเอง เราโง่แสดงว่าร่างกายกำลังประกอบไปด้วยอวิชชา เราฉลาดก็หมายความว่า ร่างกาย จิตใจ กำลังประกอบไปด้วย สติสัมปชัญะหรือปัญญา ไม่มีอันไหนเป็นตัวเรา มีแต่ร่างกายกับจิตใจที่กำลังประกอบอยู่ด้วยอะไรเท่านั้น เมื่อมันมีความรู้ดี มีความรู้สึกในตัวมันเองดีนั้น ก็ทำไปได้ในสิ่งที่ ที่ไม่มีความทุกข์ ถ้ามันทำผิดมันก็ต้องเป็นทุกข์ นั้นมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่เราพูดกันอย่างนั้นไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่อง เราก็ต้องพูดว่าเป็นตัวเรา

เดี๋ยวนี้เราทำถูกเลยไม่มีทุกข์ เราทำผิดเรามีความทุกข์ พูดกันแต่อยู่อย่างนี้ ถ้าโง่มากไปกว่านี้ก็ไม่มีอะไรเป็นของเรา มันมีทอง มีข้าวมีของเป็นของเรา มีเกียรติยศเป็นของเรา มีบุญเป็นของเรา อะไรๆก็ล้วนแต่เป็นของเราไปหมด นั้นก็เป็นไปด้วยความทุกข์มากขึ้น แต่ถ้ารู้ว่าอะไรๆก็ไม่ใช่ของเรา แม้สุดแต่บุญนี้ก็เป็นของธรรมชาติแล้ว จิตนี้ก็ไม่มีทางที่จะเป็นทุกข์ได้เลย นี้เรียกว่าเรารู้จักธรรมะเพียงพอ ถูตรงตามหัวใจของพระพุทธศาสนา ในลัษณะที่จะเป็นบุญ ชนิดที่จะล้างบาปได้ คือเป็นบุญชนิดที่เป็นน้ำใสสะอาด ชำระชะล้างกิเลสได้จริง เราจึงขวนไขว่ในพระพุทธศาสนากว่านี้กันเถิด

อย่าได้เป็นทายกทายิกา ที่มัวแต่เลี้ยงไก่มีไข่ไว้ให้หมากินเรื่อยๆกันมาคือกว่าจะแตกตายทำลายฉัน นั้นมันน่าเวทนา น่าสงสารอย่างยิ่ง สิ่งที่ต้องพิจารณาดูที่ดี อย่างนี้มีอยู่มากมาย จงให้พิจารณาดุเรื่อยๆไป ว่าเรากำลังผิดพลาดอยู่ที่ตรงไหน ที่จริงนั้นธรรมะไม่ใช่ของยาก มีอยู่ไกล ธรรมะมีอยู่ตามธรรมชาติ ธรรมะพร้อมที่จะช่วยเหลืออยู่เสมอ แต่ไอ้สิ่งที่เรียกว่าคนนั่นแหละ มันไม่จริง เป็นคนโกหกหลอกลวงตัวเองอยู่ตลอดเวลา ถ้าอาตมาจะพูดว่าท่านทั้งหลาย ที่เป็นคนพูดเท็จตัวเองอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้จะหาว่าพูดถูกหรือพูดผิด พูดจริงหรือพูดไม่จริง ลองคิดดูว่าเราทุกคนพูดเท็จอยู่ตลอดเวลา นี้หมายความว่ารู้อยู่อย่างนี้แท้ๆแล้วก็ยังทำลงไปได้ ในสิ่งที่ไม่ควรจะทำ

รู้อยู่ว่าไม่ควรทำแต่ก็ยังทำลงไปได้ ในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ แล้วจะไม่ให้เรียกว่าเป็นคนที่โกหกหลอกลวงตัวเองตลอดเวลาอย่างไรได้ เช่นรู้อยู่ว่าไม่ควรจะโกรธเขาเลย ไปโกรธเขาได้ ไม่ควรจะถือตัว ถือตนได้ แต่ก็ไปถืออยู่ได้ ควรจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็ไม่เผื่อแผ่ ควรจะให้อภัยก็ไม่ให้อภัย อย่างนี้เป็นคนที่โกหกตัวเองอยู่ตลอดเวลา เป็นคนพูดเท็จต่อตัวเองตลอดเวลา คิดดูให้ดีว่าคนไหนบ้างที่ไม่พูดเท็จต่อตัวเองอยู่ตลอดเวลา คนนั้นถือว่าเป็นคนที่น่าเคารพนับถืออย่างยิ่ง ตามธรรมดาคนเราจะโกหกตัวเองอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ไม่ดีก็ยังทำ รู้ว่าสิ่งนี้ดีแต่ก็ไม่ทำ หาได้พยายามทำไม่ อยากแก้ตัวให้ตัวเองว่ามีเหตุอย่างนั้น

อย่างนี้ก็ไม่ต้องทำ หนักๆเข้ามาก็พูดว่าไม่อยากทำขึ้นมาเฉยๆ แม้จะรู้อยู่ว่าสิ่งนี้เป็นความดี ให้ยึดมั่น ถือมั่น รู้อยู่ว่าควรจะให้อภัยไม่ควรจะถือโทษ นี้ควรจะขอโทษ นี้ควรจะอดโทษนี้ก็รู้อยู่ดี แต่แล้วก็ไม่กระทำเช่นนั้นนี้ คนเหล่านี้พูดเท็จต่อตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่ออย่างนี้แล้วก็จะไปโทษธรรมะไม่ได้ เมื่อธรรมะช่วยไม่ได้ จะไปโทษธรรมะไม่ได้ เพราะว่าตัวเองพูดเท็จอยู่ตลอดเวลา ตัวเองพูดเท็จต่อตัวเองตลอดเวลา โกหกตัวเองอยู่ตลอดเวลา มันคนละอย่างกับการไปโกหกผู้อื่น โกหกผู้อื่นคือไปเอาของเขามา พูดจากับคนอื่น หลอกลวงเขา ไปเอาประโยชน์ของเขามา อย่างนั้นเรียกว่าพูดเท็จต่อผู้อื่น ไปเอาของเขามา ส่วนคนเหล่านี้พูดเท็จต่อตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ไม่จริงต่อตัวเองตลอดเวลา ต่างกัน ถึงขนาดที่ไปพูดเท็จต่อผู้อื่น เอาประโยชน์จากผู้อื่นมันไม่ไหวแน่ เป็นเรื่องเสียหาย เป็นเรื่องเลวร้าย อย่างเหลือประมาณ แต่ข้อที่พูดเท็จต่อตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้ ก็ไม่ใช่เล็กน้อยเพราะว่าเป็นเหตุนี้เอง เราจึงก้าวหน้าไปในธรรมะได้ สงวนเอาไว้แต่เรื่องโลภะ โทสะ สงวนเอาไว้ซึ่งความโกรธ ความอาฆาต ความพยาบาท ความอวดดี จองหอง ก็แล้วแต่มากมายล้วนแต่สงวนเอาไว้ ไม่ยอมละ เพราะเหตุฉะนั้นแหละมันจึงไม่ได้ละ เพราะเหตุฉะนั้นแหละมันถึงไม่ทำบุญชนิดที่เป็นการล้างบาป แต่บางชนิดจะเป็นที่พอกพูนบาปเหมือนกับอาบน้ำโคลน อย่างดีก็อาบน้ำแป้ง น้ำปูน

แม้จะหอมแต่ก็เลอะเทอะไปหมด ไม่น่าดู ไม่น่านับถือตรงไหน เมื่อใดทำบุญชนิดที่เป็นการอาบน้ำสะอาดล้างโคลน คืออย่าพูดเท็จต่อตัวเอง อยู่ตลอดเวลาแล้ว มันก็จะเป็นของง่ายดาย ในการที่จะทำบุญจริง แล้วก็ได้บุญจริง และล้างบาปได้จริงในพระพุทธศาสนานี้ เป็นการดับทุกข์ได้จริง เรื่องนี้มันง่ายมาก คือไม่ต้องทำอะไรมากมาย ที่ไหน แต่เข้าใจผิดแล้ว ดูว่าเรื่องมันมาก พูดว่าต้องออกไปจากทุกข์บ้าง ต้องหนีออกจาโลกไปหาโลกอุตระบ้าง นั้นมันเรื่องคนหลับตาพูด เพราะว่าโดยที่แท้แล้วมันไม่ต้องออกไปที่ไหน หนีไปที่ไหนมันไม่ต้องอะไร มันมีแต่ทำที่ตรงนี้ ทำให้มันว่างไป ดับไป ไม่มีอะไรเหลือที่ตรงนี้ ใจความรู้สึกว่าตัวกูของกู ที่ยกหัวชูหางกับคนนั้นคนนี้นั้น ดับไปว่างไปตรงนี้ นั่งอยู่ที่ตรงไหน ก็ทำที่ตรงนั้น ยืนที่ตรงไหนก็ทำที่ตรงนั้น เดินที่ตรงไหนก็ทำที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ตรงไหนก็ทำที่ตรงนั้น ไม่ต้องออกไปที่ไหน ไม่ต้องหนีไปที่ไหน ดับตัวกูของกูที่ยกหัวชูหางนั้นให้ดับไปเสีย คือทำให้มันว่างไป ความทุกข์ก็ว่างไป ผู้ทุกข์ก็ว่างไป นั่นแหละคือการออกจากทุกข์ที่แท้จริง เป็นการดับทุกข์ที่แท้จริงที่ตรงนั้น ตามที่พรุพุทธเจ้าท่านได้ตรัสท่านสอน เดี๋ยวนี้มีคนอวดดี พูดไปตามความรู้สึกของตัวเองเท่านั้น ว่าไปที่นั่น ไปที่นี่ ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ออกจากโลกนี้ไปโลอุตระ ออกจากสังสารวัตรไปนิพพาน นั้นมันเป็นเรื่องคนพูดเอาเอง ส่วนพระพุทธเจ้านั้นท่านพูดไปในทำนองที่จะสรุปได้ว่า มันเกิดที่ตรงไหน มันก็ต้องดับที่ตรงนั้น ความทุกข์เกิดที่ตรงนี้ มันก็ต้องดับที่ตรงนี้ ความทุกข์มันเกิดทางตา มันก็ต้องดับทางตา

ความทุกข์มันเกิดทางหู มันก็ต้องดับทางหู เมื่อตัวความทุกข์นั้นเป็นสังสารวัตรแล้ว ความดับทุกข์ของสังสารวัตรนั้นเองมันต้องเป็นนิพพาน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่านิพพานมันก็คือ ก็ต้องอยู่ที่สังสารวัตรดับไปนั้น ไม่ต้องวิ่งไปที่ไหน ไม่ต้องหนีไปที่ไหน ไม่ต้องออกไปที่ไหน ที่พูดว่าหนีไป วิ่งไป ออกไปอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นคนโง่พูด คนโง่ฟัง พูดกันถึงตายกี่กัปกี่กัลล์มันก็ไม่รู้เรื่องได้ มันจึงเป็นอย่างนี้ อยู่ในสภาพอย่างนี้ ลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่บุญเลย ถ้าจะเป็นบุญก็เป็นบุญน้ำโคลน เป็นบุญน้ำแป้งน้ำปูน ที่เลอะเทอะไปหมด นี่เป็นน้ำใสสะอาดที่จะชำระชะล้าง จิตใจได้ที่ตรงไหน หวังว่าท่านทายกทายิกาทั้งหลาย คงจะมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องเกี่ยวกับคำว่าบุญ จงรู้จักบุญใน 3 ลักษณะนี้ ว่าบุญเหมือนน้ำโคลนก็มี บุญเหมือนน้ำแป้งหอมก็มี บุญเหมือนน้ำใสสะอาดก็มี บุญ 2 อย่างแรกนั้นทำไปก็มักจะเหมือนกับการ เลี้ยงไก่มีไข่ไว้ให้หมากิน มีแต่บุญประเภทสุดท้ายเท่านั้น ที่ทำแล้วจะเป็นผู้ดี ได้รับประโยชน์จากสาระอันแท้จริง ด้วยการเลี้ยงไก่ คือการบำรุงพระศาสนา ในดังนี้เราเปรียบไก่กับพระศาสนา เป็นไก่ตัวใหญ่ที่ช่วยกันเลี้ยง ให้มีไข่ออกมา คนมีปัญญาเขากินไข่นั้น คนโง่ก็ไม่ได้กินเพราะไม่สนใจ ถ้าโง่มากกว่านั้นก็ไปกินขี้ไก่หรือว่าขี้ผงไก่

โดยมากเหมือนผู้ที่ทำบุญเหมือนน้ำโคลน ทำบุญเหมือนน้ำแป้งหอมนั่นเอง ไม่ใช่อยู่ที่ไหนเลยจงระวังให้ดี จงทำให้ได้รับประโยชน์ ให้เป็นประโยชน์โดยแท้จริง คือเป็นบุญที่แท้จริง อย่าให้เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วพบพระพุทธศาสนาเลย ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35490

. . . . . . .