ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์? โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์? โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

ข้อคิดพิจารณาธรรม
ท่านพุทธทาสภิกขุแห่งสวนโมกข์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์?

เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อยึดเอาประโยชน์ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นทางก้าวหน้าของสัมมาปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลมาก โดยลงทุนทางวัตถุน้อยที่สุดแต่ให้ผลมากทางใจ

ประโยชน์ทางฝ่ายธรรม
ข้อที่ ๑ เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น
เพราะพวกพืชผัก เป็นของหาง่ายในหมู่คนยากจนเข็ญใจ ซึ่งมีการปรุงอาหารด้วยผักเป็นพื้น นักกินผักย่อมไม่มีเวลาไปกระวนกระวายเพราะอาหารไม่ค่อยจะถูกปากถูกลิ้นนัก เลย ในขณะที่นักกินเนื้อมักต้องเลียบๆ เคียงๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งภัตตาหารเนื้อบ่อยๆ ญาติโยมเสียไม่ได้ในท่าทีก็พยายามหามาถวายศรัทธาญาติโยมที่มีใจเป็นกลาง เคยปรารภกับข้าพเจ้าหลายต่อหลายครั้งว่า เขาสามารถจะเลี้ยงพระได้ถึง ๕๐ รูป โดยไม่รู้สึกลำบากอะไรเลย หากเป็นอาหารที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อกับปลา แต่ที่ผ่านมาต้องฝืนใจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อย่างมากๆ ไม่ใช่ว่าจะคิดว่า เนื้อมีราคาแพงกว่าผักแต่เป็นเพราะรู้ว่าสัตว์ถูกฆ่าตาย เพื่อการทำบุญเลี้ยงพระของเรามีอีกหลายคน ที่ทีแรกค้านว่าการทำอาหารมังสวิรัติวุ่นวายลำบาก แต่เมื่อได้ทดลองทำไป ๒-๓ ครั้ง กลับสารภาพว่าเป็นการง่ายเสียยิ่งกว่าง่าย เพราะบางคราวไม่ต้องไปติดไฟเลยก็มี ตัณหาของนักกินผักกับกินเนื้อมีความแตกต่างกันอย่างไร จะกล่าวในข้อหลังเฉพาะข้อนี้ขอจงทราบไว้ว่า

“คนกินเนื้อสัตว์ เพราะแพ้รสตัณหา
กินเพราะตัณหา ไม่ใช่เพราะเลี้ยงง่าย”
ข้อที่ ๒. เป็นการฝึกในส่วน “สัจธรรม”
คนเราห่างไกลจากความพ้นทุกข์ก็เพราะมีนิสัยเหลวไหลต่อตัวเอง สัจจะในการกินผักนั้นเป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลินบริสุทธิ์ ได้ผลสูงเกินกว่าที่คนไม่เคยทดลองจะคาดถึง พืชผักเป็นอาหารที่จะหล่อเลี้ยง “ดวงธรรมแห่งสัจจะ”ในใจของเราให้สมบูรณ์แข็งแรงดังนั้นการฝึกกินผัก อาหารพืชผักจึงเป็นแบบฝึกหัดสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่ยอดเยี่ยมกว่าแบบฝึกหัดอย่างอื่นๆ เพราะแบบฝึกหัดบางอย่างค่อนข้างง่าย แต่บางอย่างก็ยากเกินจะฝึกทำให้ไม่สามารถนำมาเป็นเกมฝึกหัดประจำทุกๆวัน แต่เราผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝึกทุกวันจึงจะได้ผลเร็ว เหตุฉะนี้การฝึกใจด้วยเรื่องอาหารอันเป็นสิ่งที่เราต้องบริโภคอยู่ทุกวันจึง เหมาะมาก อย่าลืมพระพุทธภาษิตที่มีใจความว่า
“สัจจะเป็นคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์”
ข้อที่ ๓.เป็นการฝึกในส่วน“ทมะ”ธรรม
“ทมะ” คือ การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ คนเราเป็นทุกข์เพราะตัณหาอันได้แก่ ความอยากที่ข่มใจไว้ไม่อยู่ มีข้อพิสูจน์เฉพาะเรื่องผักกับเนื้อง่ายๆ เช่นข้าพเจ้าเคยเห็นชาวบ้านที่มาจากป่าดอนสูงๆ อุตสาห์หาบเอาพวกพืชผักลงมาแลกปลาแห้งๆ จากชาวบ้านแถบริมทะเลขึ้นไปกินทั้งๆ ที่ต้องเสียเวลาเป็นวันๆ ในขณะที่กลางบ้านของเขาก็มีอาหารพวกพืชผัก เผือก มัน ฟัก มะพร้าวฯลฯ อย่างอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งอาหารเหล่านี้ยังเป็นของสด สามารถบำรุงร่างกายได้มากกว่าปลาแห้งๆ และขึ้นราที่พวกเขาสู้อุตส่าห์ลงมาหามหิ้วขึ้นไปเก็บไว้กินเป็นไหนๆดังนั้น… ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหาจักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม เหตุนี้การข่มจิตด้วยเรื่องอาหารการกินจึงเหมาะมาก เพราะจะมีการข่มได้ทุกวันการข่มจิตอยู่เสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์เช่น กัน
โปรดทราบ! ว่ามันเป็นการยากยิ่งที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหา โดยพยายามเลือกกินแต่ผักจากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อ และผักปนกันมาจงยึดเอาเกมกีฬาฝึกข่มจิต ที่เป็นเครื่องชนะตนอันนี้เถิดการเลี้ยงพระในงานต่างๆ ข้าพเจ้าเคยเห็นเคยได้ยินเสียงเอ็ดตะโร เรียกเอาแต่อาหารเนื้อส่วนอาหารผักล้วนดูเหมือนว่าเป็นการยากที่จะถูกเลือก กับเขา มิหนำซ้ำยังเหลือกลับไปอีก แมกระทั่งอาหารที่ปรุงระคนกันมาก็หายไปแต่ชิ้นเนื้อคงเหลือแต่ผักติดจานกลับ ไป และยิ่งไปกว่านั้น ก็คือควรรู้ไว้ด้วยว่าบรรดาพ่อครัวแม่ครัวและเจ้าภาพเขารู้ตัวก่อนด้วยซ้ำไป จึงปรุงอาหารเนื้อสัตว์เอาไว้ให้มากกว่าอาหารผักหลายเท่านัก ทั้งนี้ก็เพราะตัณหาทั้งของฝ่ายแขกเหรื่อชาวบ้าน และฝ่ายบรรพชิตทั้งหลายร่วมมือกัน “แบ่งอิทธิพล”
ข้อที่ ๔. เป็นการฝึกในส่วน “สันโดษ”
สันโดษ คือ ความพอใจเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ตามฐานะของตน โดยทั่วไปชีวิตของผู้ออกบวชย่อมดำรงอยู่ด้วยอาหารชั้นเลว ทว่าข้าพเจ้าเคยเห็นบรรพชิตบางรูป เว้นไม่ยอมรับอาหารจากคนจนเพราะเห็นว่าเลวเกินไป คือเป็นเพียงผักหรือผลไม้ชั้นต่ำ และถึงแม้จะรับมาก็เพื่อทิ้ง นี่เป็นตัวอย่างของผู้ที่ไม่เคยมีความสันโดษหรือถ่อมตนดังนั้น… การฝึกเป็นนักกินผัก กินอาหารอย่างง่ายๆ จะแก้ได้หมด “สันโดษเป็นทรัพย์อย่างเอกของบรรพชิต”
ข้อที่ ๕. เป็นการฝึกในส่วน “จาคะ”
จาคะ คือ การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบหรือความพ้นทุกข์ นักกินผักที่แท้จริงมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส เกินกว่าที่จะมีใจนึกอยากในเรื่องจะบริโภคอาหารที่มีรสหลากหลาย เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไปกว่ากินเพื่ออย่าให้ตาย ซึ่งต่างไปจากเนื้อสัตว์ที่ยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ
ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิตความหลงใหลในรส ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ไม่มีดวงจิตของนักกินผักเลย ส่วนนักกินเนื้อนั้น ท่านจะทราบของท่านได้เองเป็นปัจจัตตัง เช่นเดียวกับธรรมะอย่างอื่นๆ
ข้อที่ ๖. เป็นการฝึกในส่วน “ปัญญา”
ปัญญา คือ ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก การใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของการยึดมั่น และให้ใจละวางความยึดมั่นในการกินอาหาร แบบฝึกหัดที่ยากและเป็นก้าวที่ใหญ่ของการปฏิบัติธรรมเช่นนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการฝึกบริโภคอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์อันบังคับให้ท่าน ต้องใช้พิจารณาตัวเองอยู่เสมอทุกมื้อเพราะเนื้อทำให้หลงในรส ส่วนผักทำให้ยกใจขึ้นไป ซึ่งเหมาะแก่สันดานของสัตว์ผู้มีกิเลสย้อมใจจนจับแน่นเป็นน้ำฝาดมาแต่เดิม ปัญญาของท่านต้องรู้อยู่เสมอว่า ไม่ใช่จะไปนิพพานได้เพราะกินผัก เป็นแต่การกินผักจะช่วยขัดเกลากิเลสทุกๆ วัน
แท้จริงแล้วข้าพเจ้าไม่ได้มีความเห็นว่าฝ่ายที่จะช่วยขัดเกลาจิตใจต้องเป็น ผักความจริงอาจจะถือว่า ผักเป็นอาหารชั้นเลวหรือไม่ประณีตก็พอแล้ว แต่เมื่อมาพิจารณาใคร่ครวญให้ดีแล้วมันมาตรงกับอาหารผัก เพราะจะทำอย่างไร เนื้อก็เป็นของชวนกินเพียงแต่ต้มเฉย ๆ พอได้กลิ่นมันก็ยั่วตัณหาอยู่ดี!เพราะฉะนั้นฝ่ายที่จะปราบตัณหา จึงกลายเป็นเกียรติยศของผักไป อาหารผักเป็นอาหารที่ข่มตัณหาได้และมีแต่ความบริสุทธิ์จึงเหมาะสม สำหรับผู้ที่ระแวงภัย และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ
ผลดีในฝ่ายโลก อาหารผักมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายยิ่งกว่าเนื้อสัตว์หรือไม่? เรื่องนี้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ก็บอกแก่เราชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอาหารผัก จะทำให้ผู้บริโภคมีกำลังแข็งแรงโรคน้อย ดวงจิตสงบ ช่วยให้ความกระหาย ในความอยาก ความโกรธ ความมัวเมา บรรเทาลงเป็นอันมาก

http://www.klongton.com/

. . . . . . .