คาถาบารมี ๙ ชั้น บารมี ๓๐ ทัศ (ครูบาศรีวิชัย)
จากการบอกเล่ามีเนื้อความว่า …ครั้งหนึ่ง สมัยครูบาศรีวิชัยเจ้าออกเดินธุดงส์ไปตามตางแถบภาคเหนือ ในตอนท่านเดินตางผ่านโต้งนาแห่งหนึ่ง ท่านก็ได้ปะเถียงนาหรือห้างนาหลัง เถียงนาหลังนั้นถูกไฟไหม้แต่ไฟไหม้บ่หมด ยังเหลืออยูู่ตรงใจคา ท่านก็เข้าไปผ่หันใส่ปั๊บสาใบลานเหน็บอยู่ตั๊ดชายคา เขียนด้วยตั๋วเมือง ซึ่งเป็นคาถาบารมี ๓๐ ทัศ มาจนถึงปัจจุบันนี้…
สาธุ สาธุ สาธุ พระปัญญาปารมีสามสิบตั๊ด สาธุพระปัญญาปาระมีวังแวดล้อม วิริยะปาระมีล้อมระวังดี ศีลปาระมีบังหอกดาบ เมตตาปารมีผาบแป๊ทังปืน ทานนะปาระมีหื้อเป๋นผืนตั้งต่อ อุเบกขาปาระมีหื้อก่อเป๋นเวียง สัจจะปาระมีแวดระวังดีเป๋นใต้ ขันติปารมีก๋ายเป๋นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิฐานะปารมีผันผาบไปทุกแห่ง แข็งๆ แรงๆ ผายปราบฝูงหมู่มาร ผีสางพรายเผด ทุกทวีปภพถีบผั้งผายหนี นางธรณีอัศจรรย์ โสสะหมื่นผันอยู่ข้าง น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนานองนานอก เป๋นเข้าตอกดอกไม้ถวายบูชาพระแก้วแก่นไม้สะทัน พระพุทธังจุ่งมาผายโผดอนุญาโตดโผดผู้ข้าแต๊ดีหลี แม่ธรณีออกมารีดผมอยู่ที่ข้างธาตุจ้างร้ายข่ายคะจังงาสับดินพ่นน้ำนทีนองผัดผาย คอพรายหักทบท้าวพญามารอ่าวๆปูนกั๋วกราบยอมือขึ้นทูนหัวใส่เกล้า ผู้ข้านี้ได้จื่อว่าลูกศิษย์พระพุทธเจ้าต๋นมีบุญสมภารอันมากนัก พระพุทธเจ้าจึงจัดตั้งปารมีไว้เก้าจั้น ตั้งไว้ตั้งหน้าก่ได้เก้าจั้น ตั้งไว้ตังหลังก่าได้เก้าจั้น ตั้งแต่หัวแผวตีน ก่ได้เก้าจั้น ตั้งแต่ตีนแผวหัวก่าได้เก้าจั้นแสนวา ลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่า ก่จักบ่มาไก้ ข้าเจ้าก่เลยได้ว่า พุทธะคุนัง ธรรมมะคุนัง สังฆะคุนัง พุทธะอินทา ธรรมะอินทา สังฆะอินทา อัสอับอั้นแม่ธรณีผู้อยู่เหนือน้ำ ผู้อยู่ก้ำแผ่นดิน กอนข้าได้ระลึกกึ๊ดถึงคุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วตังสามผะกาน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณลม คุณกุศลราชเจ้าก่ดี คุณพรุะต๋นภาวนาก่ดี คุณนางอุตราก่ดี คุณธรณีเจ้าก่ดี ขอหื้อจุ่งมาจ่วยฮักษาตังก้ำหน้าและก้ำหลังตนตั๋วแห่งข้าพระเจ้าในคืนวันนี้ยามนี้จุ่งแต๊ดีหลีแด่เต๊อะ
พุทโธ พุทธังรักษา ธัมโม ธัมมังรักษา สังโฆ สังฆังรักษา
พุทโธ พุทธังอะระหัง ธัมโม ธัมมังอะระหัง สังโฆ สังฆังอะระหัง
พุทโธ พุทธังกัณหะ ธัมโม ธัมมังกัณหะ สังโฆ สังฆังกัณหะ
อายุ วรรณโณ สุขัง พะลัง สาธุ
แปลเป็นภาษาไทยกลาง
สาธุ สาธุ พระปัญญาบารมีสามสิบทัศ สาธุพระปัญญาบารมีวังแวดล้อม วิริยะบารมีล้อมระวังดี ศีละบารมีบังหอกดาบ เมตตาบารมีปราบแพ้ทั้งปืน ทานะบารมีให้เป็นผืนตั้งต่อ อุเบกขาบารมีให้ก่อเป็นเวียงศรี สัจจะบารมีแวดระวังดีเป็นไม้ไต้ ขันติบารมีกลายเกิดเป็นหอกดาบบังหน้าไม้และปืนไฟ อธิษฐานะบารมีผันปราบไปทุกแห่ง แข็งแข็ง แรงแรง ปราบฝูงหมู่มาร ผีสาง พรายเปรตทุกทวีปพบถีบพังพ่ายหนี นางธรณีอัศจรรย์รูดมวยผมผันอยู่คว้าง ๆ น้ำนทีนองกว้างต่อกว้างแตกตีฟองนะนอง นะนอกเป็นข้าวตอกดอกไม้ มาถวายบูชาพระแก่นไท้ทรงธรรม์ พระพุทธังจุ่งมาผายโปรดจุ่งอนุญาตโทษโปรดผู้ข้าแท้ดีหลี นางธรณีออกมารีดผมอยู่ธาตุช้างร้ายค่ายคะจังงาสับดินพ้นน้ำนทีลงพัดพ่ายคอพลายหักทบท่าว พญามารอ้าวอ้าวปูนกลัวกราบยกมือไหว้ทูนใส่หัวเกล้า ข้าผู้นี้ชื่อว่าศิษย์พระพุทธเจ้าตนมีบุญสมภารอันมาก พระพุทธเจ้าจึงตั้งพระปัญญาบารมีไว้เก้าชั้น ตั้งไว้ข้างหลังได้เก้าชั้น ตั้งแต่หัวถึงตีนก็ได้เก้าชั้น ตั้งแต่ตีนถึงหัวก็ได้เก้าชั้นแสนวาลูกปืนจักมาเสมอเหมือนฝนแสนห่าก็บ่มีจักมาใกล้ได้ ข้าพเจ้าจึงไหว้ว่า พระพุทธะคุณณัง พระธรรมะคุณณัง พระสังฆะคุณณัง พุทธะอินทรา ธรรมะอินทรา สังฆะอินทรา อัสสะอับ แม่ธรณีอยู่เหนือน้ำผู้อยู่ค้ำแผ่นดิน ครั้นข้าพเจ้าได้ระลึกถึงยังคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมะเจ้า คุณพระสังฆะเจ้า คุณพระบิดา คุณพระมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณพระแก้วเจ้าทั้งสามประการคือ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแดด คุณฝน คุณน้ำ คุณลม คุณกุสสะราชเจ้าก็ดี คุณภาวนาก็ดี คุณนางอุทราก็ดี คุณพระปัจเจกกะเจ้าก็ดี คุณแม่ธรณีก็ดี ขอจงมารักษายังตนตัวแห่งข้าในคือวันยามนี้เทอญ
พุทโธ พุทธังรักษา ธัมโม ธัมมังรักษา สังโฆ สังฆังรักษา
พุทโธ พุทธังอะระหัง ธัมโม ธัมมังอะระหัง สังโฆ สังฆังอะระหัง
พุทโธ พุทธังกันหะ ธัมโม ธัมมังกันหะ สังโฆ สังฆังกันหะ
อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
คำไหว้บารมี 30 ทัศ(แบบครูบาศรีวิชัย)
ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
คำแปล
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทาน ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือศีล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งศีลบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือศีลอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเนกขัมมะ ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเนกขัมมะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือปัญญา ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งปัญญาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือปัญญาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือวิริยะ ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งวิริยะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือวิริยะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือขันติ ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งขันติบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือขันติอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือสัจจะ ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัจจะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือสัจจะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออธิษฐาน ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอธิษฐานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออธิษฐานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเมตตา ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเมตตาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออุเบกขา ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออุเบกขาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทสบารมี ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งอุปบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งปรมัตถบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
ข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่พระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่งพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ข้าพเจ้า ย่อมถึง ซึ่พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ข้าพเจ้าย่อมนอบน้อม
อธิบาย บารมี 30 ทัศ
การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้
๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)
๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)
๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)
๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)
๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)
๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)
๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)
๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)
๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช
๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔) หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)
การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี
http://montra9mahawed.wordpress.com/