อยู่อย่างไร ในกาลียุค: สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
ในปัจจุบันของเรา โบราณเขาเรียกว่า “เป็นกาลียุค” กาลี เป็นชื่อของพระแม่กาลี ว่ากันว่า พระแม่กาลี ท่านดุร้าย มีแต่ความตาย และทุกข์เวทนา คนโบราณเคยวาดภาพ กาลียุคเอาไว้ เป็นภาพของการฆ่าฟันกันอย่างไร้ความปรานี คนในยุคนั้น ไม่มีคำว่าเมตตา ปรานี ไม่มีคำว่า คุณธรรม หรือศีลธรรม ซึ่งพวกเราก็คงได้เห็นภาพลางๆ ปรากฏขึ้นมาแล้วในยุคของเรา อีกทั้ง ขอให้นำภัยพิบัติในปี 2554 บางคนบอกว่าเป็นแค่ลางบอกเหตุ ยังไม่ใช่ของจริง แต่อย่างไรก็ตาม ครั้งนั้นน่าถือเป็นบทเรียน สิ่งเป็นไปไม่ได้ ก็เป็นไปแล้ว กลับมาทบทวนกันอีกครั้งว่าปี 2554 เรายังเตรียมพร้อมได้มากน้อยแค่ไหน ยังขาดอะไร ยังบกพร่องอะไร คราวหน้าปีหน้า 2555 และปี ต่อ ๆ ไปเราจะเตรียมการณ์อย่างไร และภัยวิบัติยังคงเป็นเรื่องของน้ำ อยู่หรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องของ “น้ำ” ก็ถือเป็นเรื่องของโชค ถือว่าดี น้ำลดยังมีเหลือ ถ้าเป็น “ไฟ” เผาผลาญสิ้นไม่มีชิ้นดี เหลือแต่ซาก ถ้าเป็น “ดิน” แผ่นดินไหว สั่นสะเทือน พินาศย่อยยับ ก็มีตัวอย่างให้เห็น เหลือแต่ซากอีก ไม่มีชิ้นดีอีก นำมาใช้ประโยชน์อีกไม่ได้ กว่าจะฟื้นตัวยาวนาน แต่เสียหายน้อยกว่าไฟ ถ้าเป็นลม ก็มีตัวอย่างให้เห็น พายุ ทอร์นาโด ก็ถล่มทะลาย แต่ยังเหลือซาก ใช้ประโยชน์ไม่ได้อีกเหมือนกัน แต่ไอ้ที่น่ารำคาญมากที่สุด ก็เรื่องการเมือง การขัดแย้งทางการเมือง สร้างความฉิบหายให้กับประเทศไทยมากที่สุด มากกว่าภัยพิบัติทั้งปวง
อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ “ฟ้าเป็นผู้กำหนด“ ถามตัวท่านเองก่อนว่า จะยอมจำนนโดยไม่สู้ หรือจะสู้โดยไม่ยอมจำนน ถ้าจะสู้ต้องคิดเตรียมการณ์ เอาปัจจุบันเป็นบทเรียน “ปฎิวัติ รัฐประหาร” “น้ำท่วมภัยธรรมชาติ” มองปัญหาก็ต้องมองกันเอาปี 2554 เป็นบทเรียน ทั้งภัยจากความโลภ ความโกรธ ความหลวง มาในรูปของ”ธรรมชาติ” และภัยจาก โลภะ โทสะ โมหะ จะมาในรูปแบบ”การแตกแยกทางการเมือง” คนไทยลืมง่าย บางคนอาจจะลืมปี 2554 ไปแล้วก็ได้ ขอนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์เป็นศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เหมือนกันกับพวกเรา พระราชทานไว้เมื่อปีใหม่ “อย่าประมาท มีสติ” ถ้าไม่ประมาทก็ควรเตรียมการณ์ไว้อย่างไร โดยนำเอาปี 2554 เป็นบทเรียน
๑.ที่พักอยู่อาศัยไม่ได้ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ปฏิวัติ รัฐประหาร มีแต่ความตาย ความวุ่นวาย ทางแก้ ต้องหาที่พักสำรองที่ ๒ อย่าหวังเป็นผู้พักพิง อย่ายืมจมูกคนอื่นหายใจ และต้องเตรียมการณ์ ตามข้อ ๓- ข้อ ๙ เช่นเดียวกัน
๒.ที่พักต่ำเกินไป ทางแก้ ต้องหาที่สำรองที่สูง หรือไปจังหวัดอื่น
และต้องเตรียมการณ์ ตามข้อ ๓- ข้อ ๙ เช่นเดียวกัน
๓.ขาดน้ำสะอาด อาหารแห้ง ทางแก้ ต้องเตรียมสำรองอาหารแห้ง น้ำสะอาด โดยจะต้องอยู่รอดให้ได้ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ถ้าสมาชิกมากก็เตรียมเอาไว้ให้มาก
๔.ขาดแสงสว่าง ทางแก้ เตรียมตะเกียงน้ำมันก๊าซ ไม้ขีด ไฟฉาย แก๊สหุงต้ม
๕.อาหารเป็นพิษ เจ็บป่วย เตรียมยาธาตุน้ำขาว สามัญประจำบ้านพื้นฐาน โดยดูตัวของท่านเองเป็นหลัก ว่าท่านมีโรคประจำตัวอะไร และต้องใช้ยาอะไรอยู่เป็นประจำ
๖.เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์สื่อสารในครอบครัว ทางแก้ติดต่อกันให้ได้ ไปด้วยกันทั้งครอบครัว อย่าแยกกัน กำหนดจุดนัดพบหรือจุดรวมตัวเอาไว้ล่วงหน้า
๗.ถ้ามีรถ เติมน้ำมันให้เต็มถังอยู่เสมอ อย่าหวังน้ำบ่อหน้า ก่อนเข้าบ้านทุกครั้งเติมน้ำมันให้เต็มถังอยู่เสมอ ถ้านึกจะใช้รถอย่าไปเสียดายเงิน ค่าน้ำมัน การบำรุงรักษา
๘.มุ้ง ถุงนอน อุปกรณ์กันฝน เครื่องนุ่งหุ่ม ให้เพียงพอในครอบครัว ในยุโรปที่เจริญแล้วเจอวิกฤติคลื่นความเย็น พาดผ่านตายไปเกือบ ๓๐๐ คน
๙.เตรียมอาวุธ หรืออุปกรณ์ป้องกันตัว
๑๐.ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ข้อสำคัญ อย่าประมาท พร้อมที่จะทำตามแผน ที่วางเอาไว้
๑๑.หมั่นทำบุญ ทำกุศล ใช้ปัญญาพิจารณาว่า ตัวเรานั้นเกิดมาชาตินี้ ยังมีบุญ มีกุศลใด ที่เรายังไม่เคยสร้างหรือเคยกระทำ ก็จงทำตามกำลังความสามารถ บุญกุศลจะเป็นเกราะป้องกันภัยให้กับเราและครอบครัวแล้วใช้จิตเป็นตัวเลือกว่า “อันว่าความชั่ว อย่าทำเลยเสียดีกว่า”
________________________________________
สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพฯ
ขอขอบคุณ : http://122.155.0.142/f132/%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%95-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-329127-2.html