ทุกขสัจจะ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๔)

ทุกขสัจจะ
ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๔)

สุขภาพของพระอาจารย์มั่น นับวันยิ่งทรุดโทรมลง ถิ่นที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่ามาลาเรีย พระเณรและ
ประชาชนที่หลั่งไหลไปกราบเยี่ยม ?ท่านตั้งสั่งให้รีบกลับถ้าจวนเข้าหน้าฝน แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย
พระเณรเป็นไข้ป่ากันมาก ใครเป็นเข้าแล้วก็ลำบากต้องใช้ความอดทนต่อสู้กับโรค เพราะยาแก้ไขไม่มีใช้กันเลยใน
วัดเนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นไข้ป่าเข้า พระอารย์มั่นจะสั่งให้ใช้ธรรมโอสถรักษาแทนยา
คือ ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาตามแนววิปัสสนาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม
ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้
ก็ปรากฏว่าด้วยวิธีนี้พระเณรลูกศิษย์ของท่านที่ป่วยไข้ก็มักจะหายไข้ในเวลารวดเร็วแทบทุกรูป

ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติกรรมฐานสายของพระอาจารย์มั่นปฏิบัติแนวสมถยานิก
คือเอาสมถะกรรมฐานเป็นยานพาหนะนำไปสู่วิปัสสนา แล้วเอาวิปัสสนาเป็นทางนำไปสู่ มรรคผล นิพพานต่อไป ?
หมายความว่าเจริญสมถะกรรมฐานจนได้ฌานแล้ว
เอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อจนรู้แจ้งเห็นจริงสัจจธรรมทั้ง 4 ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ลูกศิษย์ของท่านสำเร็จฌานสูงต่ำตามภูมิธรรมของของแต่ละคนอยู่แล้ว
เมื่อพระอาจารย์สั่งให้ใช้กำลังใจในฌานสมาธิพิจารณาทุกขเวทานาเป็นวิปัสสนา
ความเจ็บไข้นั้นก็พลันหายไปด้วยอำนาจธรรมโอสถน่าอัศจรรย์

การใช้สติปัญญาพิจารณาทุกขเวทนา พระอาจารย์มั่นพร่ำสอนพระเณรลูกศิษย์อยู่เสมอ
ทั้งเวลาปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ เพราะจิตจะได้หลักยึด ในเวลาจวนตัวเข้าจริง ๆ
จะได้ไม่อ่อนแอท้อแท้เสียทีให้กับมรณะภัยในวาระสุดท้าย
เพื่อจะได้เป็นผู้กำชัยชนะในทุกขสัจจะไว้ได้อย่างประจักษ์ใจและอาจหาญต่อคติธรรมดาคือความตาย
การรู้ทุกขสัจจะด้วยสติปัญญาจริง ๆ (ไม่ใช่รู้ด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้) ไม่มีอาลัยในสังขารต่อไป
จิตยึดแต่ความจริงที่เคยพบพิจารณาแล้วเป็นหลักใจตลอดไป

เมื่อถึงคราวจวนตัวเข้ามาสติปัญญาประเภทนั้นจะเข้ามาเทียมแอก เพื่อลากเข็นทุกข์ด้วยการพิจารณา
ให้ถึงความปลอดภัยทันที ไม่ยอมทอดธุระจมทุกข์อยู่ดังแต่ก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่เคยกำหนดรู้ทุกข์เลย
สติปัญญาแหลมคมประเภทนี้จะเข้าประชิดข้าศึกคือทุกขเวทนาทันที
กิริยาท่าทางภายนอกก็เป็นเหมือนคนไข้ทั่ว ๆ ไป มีการอิดโหยโรยแรงเป็นธรรมดา แต่กิริยาภายใน
คือใจกับสติปัญญาจะเป็นลักษณะทหารเตรียมออกแนวรบ
ไม่มีการสะทกสะท้านหวั่นไหวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมากน้อยขณะนั้นมีแต่การค้นหามูลความจริงของ
กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นที่รวมแห่งทุกข์ในขณะนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง

ไม่กลัวว่าตนต่อสู้หรือทนทุกข์ต่อไปไม่ไหว
หากกลัวแต่สติปัญญาของตนจะไม่รู้รอบทันกับเวลาที่ต้องการเท่านั้นซึ่งผู้มีกำลังใจอาจหาญในธรรมอยู่แล้ว
การพิจารณาทุกขเวทนาย่อมจะไม่พ้นสติปัญญาศรัทธาความเพียรไปได้เลย เมื่อรู้แจ้งความจริงแล้ว
ทุกข์ก็จริง กายก็จริง ใจก็จริง ต่างอันต่างจริงไม่มีอะไรรังควานรังแกบีบคั้นกัน สมุทัยที่ก่อเหตุให้เกิดทุกข์ก็สงบตัวลง
ไม่คิดปรุงว่ากลัวทุกข์กลัวตายกลัวไข้ไม่หายอันเป็นอารมณ์เขย่าใจให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปเปล่า ๆ
เมื่อสติปัญญารู้รอบแล้วไข้ก็สงบลงในขณะนั้น

การพิจารณาทุกเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์พระธุดงค์กรรมฐานในป่าที่ปฏิบัติแนวสมถะยานิกสายพระอาจารย์มั่น
ท่านชอบพิจารณาเป็นข้อวัตรของการฝึกซ้อมสติปัญญาให้ทันกับเรื่องของตัว
โดยมากก็เรื่องทุกข์ ทั้งทุกข์กาย ทั้งทุกข์ใจ การบริกรรม พุทโธ ซึ่งยึดประจำใจตลอดชีวิตนั้น
ก็ใช่ว่าจะบริกรรมแต่พุทโธอันเป็นสมถตะพึดตะพือแต่อย่างเดียวก็หาไม่
?

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3132:2011-11-30-15-24-45&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .